การเพ่งโทษหลวงปู่มั่นวิสัชนาเรื่องการเพ่งโทษพระธรรมเจดีย์ : อาสวะ 3 ไม่เห็นมีกิเลสประเภทโกรธ แต่ทำไมการเพ่งโทษนั้น
เป็นกิเลสเกลียดชังขาดเมตตา กรุณา เพราะอะไรจึงได้มาทำให้อาสวะเกิดขึ้น?
พระอาจารย์มั่น : เพราะความ
เข้าไปชอบไปเป็นอยู่
ในสิ่งใดที่ถูกใจของตนครั้น
เขามาทำที่ไม่ชอบไม่ถูกใจจึงได้เข้าไปเพ่งโทษ
เพราะสาเหตุที่เข้าไปชอบไปถูกใจเป็นอยู่ในสิ่งใดไว้ซึ่งเป็นสายชนวนเดียวกัน
อาสวะทั้งหลายจึงได้เจริญแก่
บุคคลนั้น(ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา (๑๘))
หลวงปู่ชาท่านตำหนิผู้เพ่งโทษว่า “เป็นผู้พกเอาของเน่าของเสีย”
มีเรื่องเล่าว่า …
พระขี้บ่นรูปหนึ่ง ชอบติเตียนเพื่อนสหธรรมิกบ้าง ครูบาอาจารย์บ้าง สถานที่บ้าง
ว่าไม่สัปปายะ ไม่เอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติ คอยแต่จะนึกตำหนินั่น ตำหนินี่
จิตใจหมักหมมไว้แต่เรื่องอกุศลมูลจนกลิ่นตลบ
คราวนี้หลวงพ่อชา ท่านกระทุ้งเอาอย่างแรงแต่เป็นเชิงตลกว่า
“คุณนี่แปลก.. ชอบเอาขี้พกใส่ย่าม แล้วพกติดตัวไปไหนต่อไหนด้วย
แล้วมาบ่นว่าเหม็นขี้ ที่โน่นเหม็นขี้ ที่นี่เหม็นขี้
ที่ไหนๆก็เหม็นขี้ ดีแต่บ่น ทำไมไม่ลองสำรวจย่ามของตัวเองดูบ้าง “
ผู้ฝึกตน ย่อมเป็นผู้มีความสงบยิ่ง เพราะผู้ฝึกตนจะหมั่นพัฒนาตน
ไม่เอาตนเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ว่าสูงกว่าคนอื่น หรือ ต่ำกว่าคนอื่น
ทั้งยังไม่เพ่งโทษผู้อื่น ไม่ยินดียินร้ายไปกับความดี หรือ ความชั่วของผู้อื่น
ผู้ที่เพ่งโทษผู้อื่นย่อมเกิดความสำคัญตน สำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา ก็จิตใจห่อเหี่ยว
สำคัญตนกว่าดีกว่าเขา ก็กลายเป็นเห่อเหิม
ดังนั้นจึงควรมุ่งที่จะฝึกตน ละการเพ่งโทษผู้อื่น ตามพุทธศาสนสุภาษิตว่า
“ผู้ปฏิบัติดี ย่อมฝึกตน”สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงตรัสว่า การเพ่งโทษตนเองนั้น
เป็นการฝึกตนเองที่เกิดผลจริง
ส่วนการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวิสัยของผู้ไม่ใช่บัณฑิต เพราะผู้ที่เพ่งแต่โทษผู้อื่น
ไม่เพ่งโทษตนเอง ย่อมไม่เห็นโทษของตนเอง ๑
ย่อมไม่เห็นความบกพร่องที่จะต้องแก้ไขให้ดีขึ้น ๑ ย่อมไม่รู้ว่ามีโทษเพียงไรในแง่ใด ๑
"ผู้ไม่แก้ไขตนเอง แต่จะมุ่งไปแก้ผู้อื่น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่ตนอย่างใด
แถม ผู้อื่นนั้นไม่ใช่ว่าจะยอมให้แก้ เพราะ…ถ้าเป็นผู้อื่นที่เป็นบัณฑิต
เขาย่อมแก้ตนเองอยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ไม่เป็นบัณฑิตก็ย่อมไม่สนใจที่จะแก้ตนเองฝึกตน
ดังนั้นจะให้ ผู้อื่นจะไปแก้จึงเป็นไปได้ยาก".
นอกจาก ผู้อื่นจะไม่ยอมให้ใครแก้ไขอะไรของตนแล้ว เรื่องบางเรื่องยังเป็นไปไม่ได้
ที่จะไปเที่ยวแก้ไขให้ใครต่อใคร
“บัณฑิตไม่มีความเพ่งโทษผู้อื่น บัณฑิตจะเพ่งโทษตนเอง”