ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะในข้อ “การเพ่งโทษ”  (อ่าน 2599 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ธรรมะในข้อ “การเพ่งโทษ”
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 01:01:01 pm »



การเพ่งโทษ
หลวงปู่มั่นวิสัชนาเรื่องการเพ่งโทษ

พระธรรมเจดีย์ : อาสวะ 3 ไม่เห็นมีกิเลสประเภทโกรธ แต่ทำไมการเพ่งโทษนั้น
เป็นกิเลสเกลียดชังขาดเมตตา กรุณา เพราะอะไรจึงได้มาทำให้อาสวะเกิดขึ้น?

พระอาจารย์มั่น : เพราะความเข้าไปชอบไปเป็นอยู่ในสิ่งใดที่ถูกใจของตน
ครั้นเขามาทำที่ไม่ชอบไม่ถูกใจจึงได้เข้าไปเพ่งโทษ
เพราะสาเหตุที่เข้าไปชอบไปถูกใจเป็นอยู่ในสิ่งใดไว้ซึ่งเป็นสายชนวนเดียวกัน
อาสวะทั้งหลายจึงได้เจริญแก่บุคคลนั้น

(ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา (๑๘))



หลวงปู่ชาท่านตำหนิผู้เพ่งโทษว่า “เป็นผู้พกเอาของเน่าของเสีย”
มีเรื่องเล่าว่า …
พระขี้บ่นรูปหนึ่ง ชอบติเตียนเพื่อนสหธรรมิกบ้าง ครูบาอาจารย์บ้าง สถานที่บ้าง
ว่าไม่สัปปายะ ไม่เอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติ คอยแต่จะนึกตำหนินั่น ตำหนินี่
จิตใจหมักหมมไว้แต่เรื่องอกุศลมูลจนกลิ่นตลบ
คราวนี้หลวงพ่อชา ท่านกระทุ้งเอาอย่างแรงแต่เป็นเชิงตลกว่า

“คุณนี่แปลก.. ชอบเอาขี้พกใส่ย่าม แล้วพกติดตัวไปไหนต่อไหนด้วย
แล้วมาบ่นว่าเหม็นขี้ ที่โน่นเหม็นขี้ ที่นี่เหม็นขี้
ที่ไหนๆก็เหม็นขี้ ดีแต่บ่น ทำไมไม่ลองสำรวจย่ามของตัวเองดูบ้าง “

ผู้ฝึกตน ย่อมเป็นผู้มีความสงบยิ่ง เพราะผู้ฝึกตนจะหมั่นพัฒนาตน
ไม่เอาตนเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ว่าสูงกว่าคนอื่น หรือ ต่ำกว่าคนอื่น
ทั้งยังไม่เพ่งโทษผู้อื่น ไม่ยินดียินร้ายไปกับความดี หรือ ความชั่วของผู้อื่น
ผู้ที่เพ่งโทษผู้อื่นย่อมเกิดความสำคัญตน สำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา ก็จิตใจห่อเหี่ยว

สำคัญตนกว่าดีกว่าเขา ก็กลายเป็นเห่อเหิม
ดังนั้นจึงควรมุ่งที่จะฝึกตน ละการเพ่งโทษผู้อื่น ตามพุทธศาสนสุภาษิตว่า

ผู้ปฏิบัติดี ย่อมฝึกตน




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงตรัสว่า การเพ่งโทษตนเองนั้น
เป็นการฝึกตนเองที่เกิดผลจริง
ส่วนการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวิสัยของผู้ไม่ใช่บัณฑิต เพราะผู้ที่เพ่งแต่โทษผู้อื่น
ไม่เพ่งโทษตนเอง ย่อมไม่เห็นโทษของตนเอง ๑
ย่อมไม่เห็นความบกพร่องที่จะต้องแก้ไขให้ดีขึ้น ๑ ย่อมไม่รู้ว่ามีโทษเพียงไรในแง่ใด ๑

"ผู้ไม่แก้ไขตนเอง แต่จะมุ่งไปแก้ผู้อื่น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่ตนอย่างใด
แถม ผู้อื่นนั้นไม่ใช่ว่าจะยอมให้แก้ เพราะ…ถ้าเป็นผู้อื่นที่เป็นบัณฑิต
เขาย่อมแก้ตนเองอยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ไม่เป็นบัณฑิตก็ย่อมไม่สนใจที่จะแก้ตนเองฝึกตน
ดังนั้นจะให้ ผู้อื่นจะไปแก้จึงเป็นไปได้ยาก".
นอกจาก ผู้อื่นจะไม่ยอมให้ใครแก้ไขอะไรของตนแล้ว เรื่องบางเรื่องยังเป็นไปไม่ได้
ที่จะไปเที่ยวแก้ไขให้ใครต่อใคร
“บัณฑิตไม่มีความเพ่งโทษผู้อื่น บัณฑิตจะเพ่งโทษตนเอง”


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมะในข้อ “การเพ่งโทษ”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 01:04:13 pm »



การจับผิดผู้อื่น เรียกอีกอย่างว่า “การเพ่งโทษ”

“เพ่ง” ตามพจนานุกรม (เปลื้อง ณ นคร) ให้ความหมายไว้ว่า
จ้องดู, มองดู, ตั้งใจจ้องดู; เจาะจง, หมายเอา.
ดังนั้นเพ่งโทษจึงมีความหมายว่า ตั้งใจมองดูโทษ,
หมายเอาโทษ ก็คือตั้งใจดูเพื่อจะจับผิดนั่นเอง !

สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสถึงการเพ่งโทษไว้ในพลสูตรที่ ๑
ซึ่งกล่าวถึง "กำลัง ๘ ประการ” ดังนี้
“…ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ทารกทั้งหลายมีการร้องไห้เป็นกำลัง ๑
มาตุคามทั้งหลายมีความโกรธเป็นกำลัง ๑
โจรทั้งหลายมีอาวุธเป็นกำลัง ๑
พระราชาทั้งหลายมีอิสริยะยศเป็นกำลัง ๑

คนพาลทั้งหลายมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ๑
บัณฑิตทั้งหลายการเพ่งโทษตนเป็นกำลัง ๑

พหุสุตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง ๑
สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง ๑
(พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต)

สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ผู้ที่เพ่งโทษผู้อื่น
ห่างไกลจากความสิ้นอาสวะดังนี้

"คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น
อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ"
ขุ. ธ. ๒๕/๔๙



ทรงตรัสอุปมาอุปไมยโทษของการ เป็นผู้เพ่งโทษไว้ ดังนี้
ในยุคสมัยของพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ พระยสทัตตเถระได้เกิด อยู่ในตระกูลพราหมณ์ออกบวช เป็นฤาษี อยู่ในป่าบำเพ็ญเพียร

วันหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งบุญเก่า ฤาษีนี้ก็ได้พบกับพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ผู้ซึ่งสูงสุด กว่าสัตว์โลกทั้งปวง ได้บังเกิดจิตเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ถึงกับวางสิ่งของในมือ ทำผ้าเฉวียงบ่าแสดงความ-เคารพ แล้วน้อมประคองอัญชลี กล่าวสรรเสริญ ชมเชยพระพุทธเจ้า… ด้วยอำนาจแห่งการ เคารพในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงได้ท่องเที่ยวไป ในเทวโลก (โลกของผู้มีจิตใจสูง) และมนุษยโลก (โลกของผู้มีจิตใจประเสริฐ) อยู่นาน

ต่อมา ไปเกิดในยุคสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม เกิดอยู่ในตระกูลมัลลกษัตริย์ ชอบสัญจรเที่ยวไปเป็นเพื่อนกับปริชาพกผู้หนึ่งชื่อ “สภิยะ”

วันหนึ่ง ได้มีโอกาสพบกับพระผู้มีพระภาคเจ้าในเมืองสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแก้ปัญหา ที่สภิยปริพาชกถาม ขณะนั้นเอง ยสทัตตะก็นั่งฟังไป เพ่งโทษไป อดคิดในใจไม่ได้ว่า

"เราจะแสดงโทษในวาทะของพระสมณโคดม"

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้สภาวะจิตของเขา ครั้นได้ประทานโอวาท แก้ปัญหาให้ สภิยปริพาชก สิ้นสงสัยแล้ว จึงได้หันไปตรัสกับ ยสทัตตะว่า

***"คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมเป็นผู้ห่างไกล จากสัทธรรม (ธรรมะที่ดีแท้ของผู้มีสัมมาทิฐิ) เสมือนฟ้ากับดิน ฉะนั้น
*** คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมเสื่อม จากสัทธรรม เสมือนพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
*** คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมเหี่ยวแห้ง ในสัทธรรม เสมือนปลาในน้ำน้อย ฉะนั้น
*** คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมไม่งอกงาม ในสัทธรรม เสมือนพืชเน่าในไร่นา ฉะนั้น

*** ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองดีแล้ว ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมทำอาสวะทั้งปวง ให้สิ้นไปได้ โดยรู้แจ้งธรรมอันทำให้กิเลสไม่กลับกำเริบได้อีก สามารถบรรลุความสงบ อันยอดเยี่ยม เป็นผู้ทำกิเลสสิ้นเกลี้ยงแล้วปรินิพพาน


จบโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยสทัตตะได้สติรู้ตัว บังเกิดความสังเวช ในความคิดของตน และเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น จึงขอบวชเป็นภิกษุ อยู่ในพระพุทธศาสนา แล้วกระทำความเพียรยิ่ง เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็น พระอรหันต์องค์หนึ่ง



รวบรวมข้อธรรมนำมาแบ่งปัน โดย : น้อมเศียรเกล้า
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tilltomorrow&group=2&page=5
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ