ผู้เขียน หัวข้อ: มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร  (อ่าน 2099 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

       

มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]
๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ

[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
เรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้
ในสำนักของท่านพระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้
จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว
จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้นจงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา
เห็นผิด อันนี้เรียกว่าอกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน?
ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่าของอกุศลแต่ละอย่างๆ

กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น
ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน?
ได้แก่ อโลภะ อโทสะอโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ

ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ
รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย
บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการ
ทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว
แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

[๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ
ท่านผู้มีอายุ แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 12:39:55 pm »

อาหารวาร
[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร
เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ

๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
๒ อาหาร คือ ผัสสะ
๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]

เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหาดับ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน

ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง
ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

[๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

สัจจวาร
[๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย
ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ

สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ
ความวาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...

ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ...
แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ชรามรณวาร
[๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

[๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา
และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา
และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา
และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ
มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง
อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ
ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้
ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด
แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 12:44:46 pm »

ชาติวาร
[๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่

พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ

ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้

ภวาทิวาร
[๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด

ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

[๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน ความดับอุปทาน
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...

มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน

ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ตัณหาทิวาร
[๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ

ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 01:04:47 pm »

[๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่

โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ
เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

[๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส

กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

[๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก

ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้.

นามรูปาทิวาร
[๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต

รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา
นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

[๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 01:38:29 pm »

           

สังขารวาร
[๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร

ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อวิชชาวาร
[๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง

ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

[๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อาสววาร
[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ

ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ

ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.

จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙

ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖
นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.



baby@home : http://agaligohome.com/index.php?topic=942.0
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ

               อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร               
               [๑๑๐] สัมมาทิฏฐิสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
               พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
               คำถามที่พระเถระ (สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็นอย่างไรเล่า? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา (ถามเพื่อตอบเอง) เท่านั้นเอง.
               เพราะว่าในคำถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มี ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวหมายเอาคำถามของคนส่วนมากนั้น ย้ำถึง ๒ ครั้งว่า คุณที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ... อันที่จริงในเรื่องนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
               ท่านพระสารีบุตรนี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง ดังนี้ หมายถึงความหมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฏฐิ).

               แก้สัมมาทิฏฐิ              
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.
               ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึงทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ ๑ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ๑.
               ในจำนวนสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่า โลกิยสัมมาทิฏฐิ. ส่วนปัญญาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่าโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ. แต่คนที่มีสัมมาทิฏฐิมี ๓ ประเภท คือ ปุถุชน ๑ เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑ อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.
               ในจำนวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ พาหิรกชน (คนนอกศาสนา) ๑ ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑.
               ในจำนวน ๒ ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ.

               ส่วนศาสนิกปุถุชน ชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลูบคลำความเห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).
               เสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่นอน. ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.
               แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.
               เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
               อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้นเป็นความเห็นที่ตรง เพราะไปตามความตรง ไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาดความคดงอทุกอย่างมีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรง และผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
               อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออกไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่าผู้ได้มาสู่พระสัทธรรม กล่าวคือพระนิพพานที่หยั่งลงสู่อมตธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.

               [๑๑๑] คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา. มีอธิบายว่า ในกาลใด.
               ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือเมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็นอารมณ์.
               ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือเมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง (ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล).
               ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศลและรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.
               ในทุกวาระต่อจากวาระนี้ไป ก็เหมือนกับในวาระนี้ ควรทราบการรู้ชัดวัตถุ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณนั่นเอง.

               บทว่า เอตฺตาวตาปิ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือแม้ด้วยการรู้ชัดอกุศลเป็นต้นนี้.
               บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ มีประการดังกล่าวมาแล้ว.
               ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า อริยสาวกนั้นมีความเห็นตรง ฯลฯ ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว เป็นอันท่านพระสารีบุตรจบการแสดงโดยย่นย่อลงแล้ว. การแสดง (ของท่าน) นี้ถึงจะย่นย่อ แต่ก็ควรทราบถึงการแทงตลอดด้วยมนสิการโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งความพิสดารอยู่นั่นเอง สำหรับภิกษุเหล่านั้น. ส่วนในทุติยวารถึงการแสดง (จะย่นย่อ) ก็ควรทราบถึงการแทงตลอด ด้วยมนสิการโดยชอบอย่างพิสดารว่า ได้เป็นไปแล้วโดยพิสดารอยู่นั่นเอง.

               ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วยการแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง ๒ อย่าง ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง
               ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำมีอาทิว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง. แต่พระเถระได้กล่าวว่า มรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มี ด้วยการแสดงอย่างพิสดารก็มี.
               อนึ่ง การแสดงทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารนี้ใด เป็นการแสดงที่ข้าพเจ้าได้กระทำการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึงทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุกๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักทำเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยากที่ยังไม่ได้ (อธิบาย) เท่านั้น.
               พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดารซึ่งปฐมวารในจำนวนวาระเหล่านั้นก่อน.
               ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละเป็นอกุศล. อกุศลพึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย (เป็นธรรม) ตรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะ พึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง. นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.
 


คลิ๊กเพื่ออ่าน.. อรรถกถา.. นานาแก้.. นานาวาระ... ค่ะ
อรรถกถา
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓]
นำมาแบ่งปันโดย :
sithiphong : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=1#%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ