ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือแนวทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ~ พระครูอรุณธรรมรังษี ( ลุน ณ อุบล )  (อ่าน 2220 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



หนังสือแนวทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
พระครูอรุณธรรมรังษี (ลุน ณ อุบล)
ส า ร บั ญ
มหาฐาน  ๗

ตอนที่  ๑

    กามาวจรภูมิ   ภพ  ๓   ภูมิ  ๔
    มนุษย์  ๔  พวก
    ธรรมเครื่องประพฤติในสังคม
    ทางใหญ่ที่ห้ามไม่ให้จร

    คุณสมบัติอุบาสก ~ อุบาสิกา
    กามาวจรกุศล
    อารมณ์ของจิตในเวลาตาย
    สมาธิที่เป็นกามาวจร

    กรรมที่ให้ผลโดยลำดับ  ๔  กรรม
    ทวารสมมุติ ~ ทวารวิมุติ
    รู้จักทางตาย
    การเกิดเปรียบด้วยการมาค้าขาย
    ธรรมุเทศ ~ ธรรมสังเวช

ตอนที่  ๒   
    รูปาวจรภูมิ  อรูปาวจรภูมิ  และโลกุตตรภูมิ
    นิวรณ์  ๕  เปรียบเหมือนโรคเกิดทางใจ

    มหาฐาน  ๗
    ฐานที่  ๑  ให้เพ่งดูหทัยวัตถุ


         เจตสิกธรรม  ๕๒  เปรียบเหมือนธาตุต่าง ๆ
         ภวังคจิต ~ วิถีจิต
         อารมณ์ของจิต  ๘๙  ดวง

    ฐานที่  ๒  ให้วางความคิด  การฝึกจิตให้ตั้งอยู่ในสมาธิ
         มารเข้าประจญในเวลาทำสมาธิ
         วสีความชำนาญในการเข้าฌาน
         เครื่องหมายในทุติยฌาน
         เครื่องหมายในจตุตถฌาน   นิมิตเกิดในสมาธิ

         มารโดยธรรมาธิษฐาน
         อัปปนาชวนะวิถี
         ขึ้นอรูปาวจรภูมิ ,  ฌานเสื่อมอย่างไร
         จะไปนิพพานได้หรือไม่ได้ในชาตินี้
         ธาตุของจิต   และวัตถุอันเป็นที่ตั้งของจิต

    ฐานที่  ๓  วิปัสสนา
         โลกธรรม  ๘
         กามภายนอก   กามภายใน
         จิตหลุดพ้นจากภพ  ๓
         นิพพานไม่มีปฏิสนธิ
         ที่ตั้งแห่งองค์อริยมรรค

    ฐานที่  ๔  ให้เอาสติเป็นนายประตู  ดู ( มโน ) ทวาร
         เหตุปัจจัยที่ทำให้สังขารเกิด
         หทัยวัตถุเทียบกับจอหนัง

    ฐานที่  ๕  ให้อยู่กับความไม่ถือมั่น
         วิธีวางขันธ์  ๕
         การปล่อยวางอุปาทาน  ๔

    ฐานที่  ๖  ให้เลือกเฟ้นแห่งไตรลักษณ์  ๓
         เครื่องปิดบังปัญญา
         อะไรปิดบังพระไตรลักษณ์
         วิตกที่ควรตรึก  และไม่ควรตรึก
         วิปัสสนาหยุดคิด
         ขันธ์เป็นเองและขันธ์ดัดแปลง
         การกำหนดอุทยัพพยญาณ
         อธิบายอริยสัจจ์  ๔

    ฐานที่  ๗  ให้ถามถึงผู้ไม่ตาย  ๔
         พระอริยเจ้ากับปุถุชน  ถือไตรสรณาคมน์ต่างกัน
         พระพุทธตุ๊กตา ๐ พระธรรมเวทมนต์กลคาถา
         พระพุทธะ  กับ  พระปัจเจกพุทธะ
         ดวงตาเห็นธรรม ~ ไม่ลูบคลำหนทาง
         ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาทั้งสิ้น
         ทางสำหรับผู้ที่จะไปสู่พระนิพพาน

โลกบังธรรม ~ อารมณ์บังจิต

ปัญหาธรรม  ๗  ข้อ
    โลกกับอารมณ์
    จิตที่อยู่กับภพเป็นเหตุวัฏฏหมุน
    วิธีเพิกโลกจากธรรม
    สมาธิเป็นคู่ปรับกับนิวรณ์
    เพิกโลกออกจากธรรมด้วยปัญญาวิมุติโลกกุตตร
    เพิกโลกออกจากธรรมด้วยเจโตวิมุติโลกุตตร

    โลกุตตรฌาน
    อรูปาวจรจิต
    โคตรภูจิต
    อารมณ์ปัจจัย
    อารมณ์  ๖  เปรียบเหมือนลม  ๖  จำพวก
    เพิกรูปฌาน * อรูปฌานออกจากจิต

    อารมณ์ในโลกสาม
    ความเห็นตัวเราย่นลงในบุคคล  ๒  จำพวก   ยิ่ง  ๕  ยิ่ง
    สติเป็นตา  ปัญญาเป็นกล้องส่องดูตัวเรา
    อารมณ์ของจิต  เวลาเป็น  และตาย
    ไม่อยากเกิดให้ถือเอาพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์
    สัมภเวสี  สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด

    ธรรมธาตุ  ๗  หลอกให้เกิดให้ตาย
    การฆ่าผี  คือการฆ่าตัวธรรมธาตุ  ๗
    วัฏฏความหมุนเวียนของ  ชาติและภพ
    วิธีฆ่าผี  คือตัวธรรมธาตุ  ๗  ให้ตาย

สรุปเรื่อง  โลกบังธรรม ~ อารมณ์บังจิต
    อวิชาโดยบุคคลาธิษฐาน
    บุคคลาธิษฐาน  กับ  ธรรมาธิษฐาน
    โลกุตตรมโน

กายสามชั้น
สริรกาย ๐ ทิพยกาย ๐ ธรรมกาย

    ต้นสายของสัตว์โลก
    กลางสายของสัตว์โลก
    พระยายมราช
    เอกเหตุสัตว์ ๐ ทุเหตุสัตว์ ๐ ไตรเหตุสัตว์
    ปลายสายของสัตว์โลก

    ธรรมนิยมเป็นเครื่องตัดวัฏฏไม่ให้หมุน
    อิฏฐารมณ์ ๐ อนิฏฐารมณ์
    สริรกายเป็นผู้รับใช้ทิพยกาย
    เที่ยวเกิด ๐ เที่ยวตาย  ไม่มีที่สิ้นสุด
    พึงเลือกเฟ้นธรรมด้วยอุบายของปัญญา

    กรรมนิยม ๐ กรรมนิมิต
    คตินิมิต
    มโนน้อมไปสู่อารมณ์
    ธรรมกาย  อาศัยธรรมนิยมปรุงแต่ง
    สัจจญาณ ๐ กิจจญาณ  ๐  กตญาณ

    ญาณ  ๔  รอบ  ๓  อาการ  ๑๒
    อัญญาตาอินทรีย์
    สริรกายผู้รับใช้บำเพ็ญบารมี
    จิต ๐ เจตสิก ๐ รูป ๐ นิพพาน
    วิโมกข์  ๓

    เสขะบุคคล  ๓  จำพวก
    อรัมณอธิปัจจัย
    โพธิปักขิยธรรม  ๓๗  ประการ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



มหาฐาน ๗ ตอนที่  ๑

   (หัวข้อ) กรรมที่ให้ผลโดยลำดับ ๔ กรรม
            สัตว์ทุก ๆ จำพวกเมื่อจะละโลกนี้ไปสู่โลกอื่น  ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าไปสู่ภพไหนใน ๓๑ ภพ  ถ้าอยากรู้พึงดู  ตัวกรรม    เพราะตัวกรรมภพเป็นของสืบเนื่องถึงอุปปัตติภพ  ตัวกรรมภพเป็นตัวเหตุตัวอุปปัติภพเป็นตัวผล  เหตุกับผลเป็นของเนื่องถึงกัน  ตัวกรรมภพที่จะให้ผลโดยลำดับ  มีอยู่ ๔ กรรม  คือ 

            ครุกรรม  กรรมหนักที่จะให้ผลก่อนกว่ากรรมใดทั้งสิ้นในกรรมฝ่ายบุญหมายเอารูปฌาณ ๔ อรูปฌาน ๔    ฝ่ายบาปหมายเอาอนันตริยกรรม ๕ คือ  ฆ่าบิดา  ฆ่ามารดา  ฆ่าพระอรหันต์  ทำสังฆเภท  ทำโลหิตุปบาท  กรรมทั้งบุญทั้งบาปที่กล่าวมานี้  เราได้ทำไว้หรือไม่ได้ทำ  ถ้าเราได้ทำอนันตริยกรรม ๕  ภพอันเป็นที่อยู่ของเราต้องไปสู่อเวจีไม่มีทางแก้ไข  ฝ่ายบุญรูปฌาน ๔  อรูปฌาน ๔   เราทำไว้หรือไม่ได้ทำ  ถ้ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ ทำได้ยังไม่เสื่อมตัวของเราจะต้องไปเกิดในรูปพรหม  และอรูปพรหม  ตามชั้นตามภูมิของตน  ถ้ากรรมนี้ไม่มี  ให้ดูกรรมที่ ๒ รองกันมา  เรียกว่า 

            พหุลกรรม  แปลว่า  กรรมเคยชิน  กรรมทำบ่อย ๆ   ฝ่ายบาปเช่นผู้ที่ทำบาปทุกวัน  ทำประจำไม่ขาด  เช่นเที่ยวปล้นเขาเลี้ยงชีวิต  หรือทำโป๊ะทำอวนทุกวัน  ฆ่าเป็ด  ฆ่าไก่  ฆ่าสุกรขายทุกวัน  ต้องไปฝ่ายอุบายภูมิ ๔  ฝ่ายบุญ  เช่นทำทานใส่บาตรพระทุกวัน  หรือรักษาศีลไหว้พระสวดมนต์ทุกวัน  ต้องไปสุคติคือ  มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้น  ตามชั้นตามภูมิของตน  ถ้าพหุลกรรมไม่มี  ยังมีกรรมที่ ๓  เรียกว่า 

            อาสันนะกรรม  คือ  กรรมเมื่อจวนเจียนใกล้จะตาย  ถ้านึกถึงบาปก็ไปสู่บาป  ถ้านึกถึงบุญก็ไปสู่บุญ  กรรมที่ ๓ กรรมทำห่าง ๆ นี้มีหรือไม่มี  ถ้าไม่มี  กรรมที่ ๔  ซึ่งเป็นกรรมอ่อนที่สุด  เรียกว่า 

            กะตัตตากรรม  กรรมสักว่าทำ  ทำไม่มีเจตนาคิดว่าเป็นบุญเป็นบาป  กรรมทั้ง 4กรรมนี้  ครุกรรม  กรรมหนัก  กะตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ  สองกรรมนี้ไม่ค่อยจะมีใครทำ  จึงมีห่าง ๆ  โดยมากมีอยู่ใน พหุลกรรมและอาสันนะกรรม  ตัวสำคัญ ถ้าอยากรู้ว่าสัตว์ที่ตายนั้นจะไปสู่ภพใหน  ให้ดูตัวอาสันนะกรรม  คือกรรมเมื่อจวนเจียนใกล้จะตาย

   ทวารสมมุติ - ทวารวิมุติ
            ถ้าชวนะจิตส้องเสพอารมณ์อันใดในทวารสมมุติ  ทวารสมมุติคืออะไร  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น กาย ใจ  ถ้าทวารสมมุติยึดหน่วงเอาอารมณ์อันใดเป็นอารมณ์  เมื่อทวารสมมุติแตกดับลงคือ ตาย  ตัว มโนทวาร รับเอาอารมณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน  เมื่อทำสิ่งใดในอดีตหรือปัจจุบัน  ตัวมโนทวารเป็นผู้สั่งสมเก็บเอาไว้ 

            เมื่อทวารสมมุติแตกดับลง  ตัวทวารวิมุติ  คือตัวจุติจิตรับเอาอารมณ์เรียกว่า  กรรมนิมิต  ให้เห็นในทวารวิมุติดังนอนหลับฝันเห็นนั้นแหละเรียกว่า ทวารวิมุติ  ถ้าทวารสมมุติรับเอาอารมณ์ ที่ผ่องใส  ตัวทวารวิมุติก็ได้อารมณ์ที่ผ่องใส  เมื่อทวารวิมุติได้อารมณ์ที่ผ่องใส  ตัวคตินิมิตก็ให้เห็นสิ่งที่ดี  ถ้าจะได้มนุษย์สมบัติก็ให้เห็นหัวเมืองใหญ่  ให้เห็นชาติและประเทศตระกูลอันสูง  เช่น  ตระกูลเศรษฐี  และกษัตริย์  ถ้าจะได้สวรรค์สมบัติก็ให้เห็นปราสาทเงิน  ปราสาททอง  เห็นนางฟ้าเป็นบริวารเรียกว่ากุศลกรรมบันดาลให้เกิดขึ้นตามกำลังของกรรมที่ยิ่งและหย่อน 

            ถ้าทวารสมมุติรับเอาอารมณ์ที่เศร้าหมอง  อันเกิดจากฝ่ายอกุศลในเวลาอาสันนะกรรม  เมื่อทวารสมมุติแตกดับ  ตัวทวารวิมุติ  คือ  จุติจิต  รับเอาอารมณ์ต่อจากทวารสมมุติ  เมื่อทวารสมมุติได้อารมณ์ที่เศร้าหมอง  ตัวทวารวิมุติก็ได้รับอารมณ์ที่เศร้าหมอง ตัวคตินิมิตจึงได้นิมิตที่ไม่ดี  เช่นเห็นสัตว์ที่ตนเคยฆ่า  เห็นโซ่เห็นตรวน  เห็นหอกเห็นดาบ  เห็นนายนิริยะบาล  เห็นเปลวไฟเปลวนรก  ดังบางคนที่เขาป่วยหนักสลบไปเห็นนรกเห็นนายนิริยะบาลแล้วมาเล่าให้คนเราฟังอยู่เป็นอันมาก  จุติจิตของพวกนี้ตายไม่จริง  คือ  ยังไม่ถึงคราวตาย  พระยายมหลงบัญชี  ปล่อยให้กลับคืน  ส่วนผู้ที่ตายจริงพระยายมไม่หลงบัญชี    เมื่อจุติจิตได้นิมิตอย่างใดแล้วตัวปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นในภพนั้น ๆ ตามสัญญาอารมณ์ที่ตนเห็น  ตนรู้   อารมณ์ในปัจจุบันคือตัวทวารสมมุติรับเอาไว้  อารมณ์ในอนาคตคือตัวทวารวิมุติไม่มีต่างกันเลย  ตัวทวารสมมุติเป็นตัวสันตติต้นตัวทวารวิมุติเป็นตัวสันตติหลัง  ตัวสันตติต้นกับตัวสันตติหลังเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน  ตัวสันตติต้นเปรียบเหมือนเขาส่งวิทยุมาจากประเทศนอก  เมื่อเขาส่งมาด้วยอาการอย่างไร  ก็มาปรากฎในวิทยุของเราอย่างนั้น  ไม่มีต่างกันเลยฉันใด  ตัวจุติจิตที่รับเอาอารมณ์ในภพนี้  เปรียบเหมือนคลื่นวิทยุที่เขาส่งมาจากประเทศนอก  ตัวปฏิสนธิจิตที่จะเกิดขึ้นในภพหน้า เปรียบเหมือนเครื่องวิทยุของเราอันเป็นเครื่องรับ  เมื่อส่งมาอย่างไรก็ต้องรับอย่างนั้น

            ถ้าใครเป็นผู้ได้เรียนได้รู้ดังที่กล่าวมานี้  นับว่าได้วิชาตายจะตายได้สมความหวัง  ดีกว่าคนไม่รู้  คนที่รู้เปรียบเหมือนคนตาดี   คนที่ไม่รู้เปรียบเหมือนคนตาบอด  คนตาดีกับคนตาบอดจะออกเดินทางไปที่ตนประสงค์  คนตาดีอาจไปถึงก่อนและถึงได้อย่างสบาย  ส่วนคนตาบอดคงถึงทีหลังหรืออาจไม่ถึงก็ได้  คนที่รู้จักโอนจิตของตนออกจากที่เศร้าหมอง  ทั้งรู้จักอารมณ์ที่เป็นสวรรค์  อารมณ์ที่เป็นนรก  นับว่าผู้นั้นได้ฝึกทางสมาธิปัญญา  เป็นผู้มีความรู้สูงสุดในชั้นกามาวจรภูมิ  ผู้ที่ไม่รู้จักทางสวรรค์  อยากไปสวรรค์  จึงไปสวรรค์โดยทางคาดคะเนแล้วแต่มันจะถูก  ถ้าโชคดีก็ถูกสวรรค์  ถ้าโชคไม่ดีก็เลยไม่ถูก  เปรียบเหมือนทหารยิงปืนเดาสุ่มไม่เล็งใส่ศูนย์  ยิงร้อยทีพันทีก็ไม่ถูก




credit by :
อักษราภรณ์ : http://www.oknation.net/blog/Aug-saraporn/2011/02/12/entry-1
นำมาแบ่งปันโดย : baby@home
:http://agaligohome.com/index.php?topic=4753.0

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


คำอธิบายในฐานที่  ๒
ให้วางความคิด


           ให้รู้จักจุดประสงค์การกระทำ  คือ  ให้วางความคิด  ไม่ให้คิดไปในอารมณ์ภายนอก  ให้เพ่งอยู่ในจุดอันเดียว  ให้  รวม  เห็น  จำ  คิด  รู้  ๔  อย่างนี้ลงในจุดอันเดียวกัน  ไม่ให้พรากจากกันให้อาศัยปัญญา  เป็นนายสารถี  ให้เอา  สติ  เป็นเชือกผูก  ผูกจิตไว้ที่ดวงหทัยวัตถุ  ให้เอาสัมปชัญญะ  ความรู้ตัวเป็นรั้วกั้น  ให้เอา  วิริยะ  ความเพียรเป็นปฏักทิ่มแทงจิตไม่ให้กระดิกตัวไปได้ 

           การฝึกจิตไม่ใช่เป็นของง่าย  บางพวกยังหาลูกประคำมานับให้ได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้  เมื่อหยุดการนับจิตก็คิดอีก  ทั้งนี้เป็นเพราะอะไร  เป็นเพราะความเคยชินของจิต  จิตไม่ได้รับการฝึกเพียงพอ  ฝึกแต่เพียงชั่วครั้งชั่วคราว  จิตจึง หยุดคิดไม่ได้  จิตของผู้ฝึกใหม่เปรียบเหมือนช้างที่เขาจับมาได้จากป่า  มาฝึกให้เป็นช้างพาหนะ  ไม่ใช่เป็นของง่าย  เขาย่อมผูกไว้ที่เสาตลุง   ไม่ให้กินอาหาร  ให้มันอ่อนกำลัง  เวลาจะฝึกเขาต้องอาศัยขอ  อาศัยช้างบ้านเป็นผู้หัด  เมื่อช้างหนีไปไม่พ้นก็ยอมให้ฝึก เมื่อฝึกชำนาญแล้วย่อมใช้ทำการทำงานได้   ให้สำเร็จประโยชน์  จะปล่อยทิ้งไว้ที่ใหนก็อยู่

การฝึกจิตให้ตั้งอยู่ในสมาธิ
           ฉันใดจิตของคนเรา  ถ้าฝึกให้ดี  แล้วจะนำความสุข  มาให้คือ  เราจะห้ามไม่ให้คิดก็ไม่คิด  หรือเราจะใช้ให้คิดก็ได้  จะห้ามไม่ให้รักไม่ให้ชัง  ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง  ได้ทั้งสิ้น  ส่วนผู้ที่ไม่ได้ฝึกจิตแล้วย่อม  ห้ามไม่อยู่  บางคนโกรธขึ้นมาไม่ได้ด่าว่า  ไม่ได้ทุบตี  ไม่ได้แก้แค้นแล้วไม่หายโกรธ  ทั้งนี้เป็นเพราะอะไร  เป็นเพราะใจไม่มีเรือนอยู่  เป็นเพราะไม่มีเครื่องห้าม เมื่อผู้ฝึกจิตมีเครื่องห้าม  คืออาศัยธรรม 4อย่าง  ดังกล่าวแล้ว  ( ปัญญา สติ สัมปชัญญะวิริยะ)  จิต  ก็จะอยู่คงที่คือ 

           นอนลงอยู่กับ  หลัก – สมถะ
           จิต  ท่านเปรียบเหมือนดัง  ลูกโค
           อารมณ์ภายนอก  เปรียบดัง  แม่โค
           ปัญญา  เหมือนนาย  สารถี
           สติ  เหมือน  เชือกผูก  ลูกโค
           สัมปชัญญะ  เหมือน  รั้วกั้น  ลูกโค
           วิริยะ  เหมือน  ปฏัก


           ถ้าเชือกขาดโคย่อมวิ่งหนี  ถ้ารั้วไม่หักปฏักยังมี  โคยังไปไม่ได้  ถ้าเชือกก็ขาดรั้วก็หักปฏักหมุน  โคย่อมวิ่งหนีไปหาแม่  ถ้าปัญญาดี  สติตั้งมั่น  รั้วไม่หัก  ประตูก็ยังมี  โคก็ลงนอนกับหลัก 

           ถ้าโคคือจิตยังไม่หยุดคิด  จะทำอย่างไรอีก  ถ้าเขาชอบคิดลองปล่อยให้คิดดู  แต่ตัวเราให้เพ่งหทัยวัตถุ  อยู่อย่างเดียวเท่านั้น ถ้าเราจะให้คิดจริง ๆ มันก็ไม่คิดดอก  ถ้าเรามีสติมั่นอยู่เอง  ถ้าเขาชอบคิดจริง ๆ  ให้คิดกำหนดอาการ ๓๒  ให้เป็นอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมา  ถ้าคิดอย่างนี้มีประโยชน์มาก 

           หรือบางคนชอบใช้คำบริกรรมว่า  พุทโธ ๆ ก็มี  หรือจะกำหนดลมหายใจเข้าออก  ลมหายใจเข้าออก  ก็อยู่ที่หทัยวัตถุนั่นเอง

           การกำหนดลมหายใจเข้าออก  กับการเพ่งก็อันเดียวกัน  การกำหนดลม  จะกำหนดได้เฉพาะอยู่ในที่สงัด  หรือใน  อิริยาบถนั้น  แต่การ  เพ่ง  เพ่งได้ทุกเวลา  ทั้งการยืน  เดิน  นั่ง  นอน  เมื่อจิตหยุดคิดแล้ว  จิตก็สบาย  จิตสบาย  ก็เพราะจิต  หยุดทำงาน  จิตของคนเราทุกคนย่อมย่อมทำงาน  อยู่เป็นนิจ  คือ

           ๑. จิตเปิดทวาร ๕  รับอารมณ์ – ปัญจทวาราวัชชนะจิต
           ๒. จิตเห็นรูป  จิตฟังเสียง  จิตดมกลิ่น  จิตลิ้มรส  จิตถูกต้องโผฏฐัพพะ – ทวิปัญจวิญญาณ
           ๓. จิตรับธรรมารมณ์ – สัมปฏิจฉันนจิต
           ๔. จิตพิจารณาอารมณ์ – สันตีรณจิต
           ๕. จิตตัดสิน  ( กำหนดว่าจะทำอะไร – อย่างไร )  อารมณ์โวฏฐัพพนจิต
           ๖. จิตเสพอารมณ์ – ชวนะจิต
           ๗. จิตยึดหน่วงอารมณ์ – ตทาลัมพณจิต


           จิตทำงานไม่หยุดจึงลำบาก  ดังร่างกายทำงานมาก  ก็เหน็ดเหนื่อย  แต่เป็นอย่างไรใจจึงต้องคิด

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


มารเข้าประจญในเวลาทำสมาธิ
           แต่เป็นอย่างไรใจจึงต้องคิด  ร่างกายจึงชอบทำงาน  คิดวันยังค่ำ  ร่างกายทำงานวันยังค่ำ  ตากแดดตากลมก็ยังทำได้  การทำสมาธิ  เพียง ๓๐ นาทีหรือ ๑ ชั่วโมง เกิดอึดอัดรำคาญบางคนนั่งสมาธิจนเหงื่อไหล  คิด ๆ ดูก็น่าขัน  นั่งสมาธิอยู่ที่ร่มที่เงา  ไม่ต้องใช้กำลังเหมือนการทำงาน  เป็นอะไรจึงทำไม่ได้นาน

           พึงเข้าใจเถิด  การรักษาศีลก็ดี  การทำสมาธิก็ดี  การใช้ปัญญาพิจารณาสังขารก็ดี  มารเขาไม่ชอบให้ทำ  คือเขากลัวเราจะ  พ้นจากอำนาจ  ของเขา  พระยามารองค์นี้ย่อม  ครอบงำสัตว์โลก  นับตั้งแต่มนุษย์โลกถึงพรหมโลกตกอยู่ในอำนาจของเขา  พึงเห็นในสมัยที่พระพุทธองค์จะทรงตรัสรู้  ยังถูกพระยามารให้  ลูกสาวสามคน  เข้ามาหลอกลวงให้ลุ่มหลง

           เมื่อไม่สำเร็จจึงต้องเข้ามาต่อสู้เอง  กระทำอิทธิฤทธิ์บันดาลให้ฝนตกเป็นหอกดาบ  เป็นก้อนกรวดก้อนหิน  เป็นฝนเถ้าลึง  ( ขี้เถ้าขี้ฝุ่นร้อน ๆ )  ให้ตกลงมาแต่บนอากาศ  สู้  บารมี  ของพระองค์ไม่ได้   มารจึงปราชัย

           ตัวของเราที่สู้มารไม่ได้ก็เพราะ  บารมี  ของเราไม่แก่กล้า  เมื่อประกอบ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  เข้าแล้วจึงเกิดความหนักอกหนักใจ  อยู่ไม่ได้  จึงต้องลาศีล  สมาธิ  ปัญญา  ส่วนพระองค์ที่มีชัย ชนะมาร  พระองค์ตั้งพระทัยไว้ใน  จตุรงคประธานทั้ง ๔  คือ  เลือด  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  จะแตกทำลายก็ยอมให้แตก  ถ้า  คุณความดี  อันหนึ่งอันใด  ซึ่งบุรุษผู้มีกำลังจะได้ด้วย ความเพียร  คุณความดีอันนั้นยังไม่เกิด  จะไม่ลุกขึ้น 

           พระองค์ทรงกำจัดมารได้แต่เวลาพลบค่ำ  พระองค์จะได้ตรัสรู้ก็เจริญ  อานาปานสติกรรมฐาน  นี้เอง  คือพระองค์ใช้วิตกตรึกนึกในลมหายใจเข้าออก  สั้นก็ให้รู้ว่าสั้น  ยาวก็ให้รู้ว่ายาว  วิตก  ตรึกนึกในลม  วิจาร  ไตร่ตรองในลม  เมื่อ  จิตหยุด คิดในอดีตอนาคต  วางอารมณ์  สัญญาภายนอก  อันเป็น  บ่วงของมาร  ใจเพ่ง  อยู่ในจุดอันเดียว  จึงเกิด  ปีติ  ความอิ่มกาย อิ่มใจ  สุข  ความสุขกายสุขใจ  เอกัคคตา  จิตเป็นหนึ่ง  ประกอบด้วยองค์ 5  ถึง  จิตวิเวก  สงบจากนิวรณ์  เป็นปฐมฌาน 

           แต่ปฐมฌานยังมีการตรึกหรือมีการเพ่ง  การตรึกการเพ่ง  ก็หมายความว่า  รักษาจิตไว้ให้ตั้งอยู่ในองค์ฌาน  การรักษาจิตไว้ยังต้องลำบากอยู่  เปรียบเหมือนสัตว์พาหนะถ้ายังมี เชือกล่ามอยู่  การเลี้ยงดูก็ลำบาก  จึงต้องฝึกให้ชำนาญ  ให้  คุ้นเคย  เมื่อ สัตว์พาหนะคุ้นเคย  วางเชือกได้แล้วสบาย

วสีความชำนาญในการเข้าฌาน
           จิตเมื่อคุ้นเคยในอารมณ์  จะให้ออกจากอารมณ์เวลาไหนก็ได้  จึงให้ฝึก  ให้ชำนาญ  ใน  วสี ๕ ประการ   คือ 

           ชำนาญ  ในการพิจารณาเมื่อจะเข้าฌาน ๑
           ชำนาญ  ในการเข้าสู่ฌาน ๑
           ชำนาญ  ที่จะตั้งจิตไว้ในองค์ฌาน ๑
           ชำนาญ  ในการออกจากฌาน ๑
           ชำนาญ  พิจารณาเมื่อจะออกจากองค์ฌาน ๑


           ครั้นทำปฐมฌานให้ชำนาญแล้ว  จึงละเสียซึ่ง องค์ฌานอันหยาบ  คือ  วิตกวิจาร  อาศัย  ความชำนาญในการตั้งจิตไว้มั่น นั่นเอง  จึงวางวิตกวิจารได้  คือไม่ต้องเพ่งต้องตรึก  ถ้าเราวางเพ่งวางตรึก จิตวิ่งหนีออกจากองค์ฌาน  พึงเข้าใจว่าเรายังไม่ชำนาญ  สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้วไม่ต้องลำบากในการเข้า  รู้ว่า  จิต  ที่เป็น  อดีต  อนาคต  ปัจจุบัน  ที่วิ่งออกไปตาม  อารมณ์สัญญาภายนอก  เป็น  กามาวจรจิต

เครื่องหมายในทุติยฌาน
           เมื่อจะเข้าสู่ฌานอาศัยความชำนาญจึงต้อง  หยุดคิด  วางอารมณ์สามกาล  ดูหทัยวัตถุให้ว่างเปล่า  ไม่ให้มีความคิดเข้าถึง   ทุติยฌาน  เลยที่เดียวก็ได้  เมื่อหทัยวัตถุว่างเปล่าไม่ตรึกไม่คิด  มีแต่ตัว  ปัจจเวกขณะญาณ  กำหนดรู้อยู่  เมื่อไม่คิดไม่นึก   วจีสังขารดับ  นี้เป็นเครื่องหมายของทุติยฌาน  เหลือแต่ปีติสุข  เอกัคคตา  เมื่อจิตวางวิตกไว้  เปรียบเหมือนสัตว์พาหนะวางเชือกได้สบาย

เครื่องหมายในจตุตถฌาน
           ละปีติเสีย  เหลือแต่  สุข  กับ  เอกัคคตา  เป็น  ตติยฌาน
           ละสุข  เหลือแต่  อุเบกขา  กับ  เอกัคคตา  เป็น  จตุตถฌาน 

           ฌานทั้ง ๔  มีอารมณ์ ละเอียดกว่ากันเป็นชั้น ๆ  เมื่อได้จตุตถฌานเป็นที่ตั้ง  ลมดับละเอียดจนมองไม่เห็น  เมื่อลมดับกายสังขารก็ดับ  นี้เป็นเครื่องหมายแห่งจตุตถฌาน  เมื่อได้จตุตถฌานเป็นที่ตั้ง  ย่อมให้สำเร็จวิชาใด้หลายทาง  เช่น ผู้ได้วิชา ๓ และ  อภิญญา ๖  หรือโลกุตตรวิชาก็เป็นของเกิดได้ง่าย  แต่โลกุตตรภูมิจะงดไว้ก่อน


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


นิมิตเกิดในสมาธิ
           จะกล่าวถึง  นิมิต  อันเกิดขึ้นในขณะ  ก่อนฌาน  จะเกิด  มักจะมีนิมิตเข้ามาให้เห็นในมโนทวาร  นิมิตจะเกิดขึ้นอาศัยจิตลงสู่ภวังค์  คือในขณะที่ทำสมาธิอยู่  เผลอสติจิตเคลิ้มไปทวารสมมุติหยุดรับรู้อารมณ์   เกิดทวารวิมุติให้เห็นภาพต่าง ๆ มาปรากฏ   ผู้ที่มีอารมณ์สัญญาเคยได้เห็นได้ยิน  ได้ทราบ  ได้รู้อะไรไว้  ก็มักจะเห็นนิมิตนั้น   เช่นคนทำไร่ทำสวน  ก็เห็นไร่   เห็นสวน 

           คนค้าขายก็เห็นสิ่งที่ตนค้าขาย  ผู้ที่เคยทำบาปก็เห็นสิ่งที่เป็นบาป  ผู้ที่เคยทำบุญก็เห็นสิ่งที่เป็นบุญ  เช่นคนที่เคยทำโป๊ะทำอวน  ฆ่าเป็ด  ฆ่าไก่  ฆ่าสุกร  ฆ่าโค  ขายเลี้ยงชีวิต  เมื่อมาทำสมาธิมักจะเห็นสิ่งที่ตนทำ   ถ้าเห็นปูเห็นปลา  เห็นเป็ดเห็นไก่ เห็นสุกรเห็นโค  นี้แลเป็นคตินิมิตฝ่ายอกุศล  ถ้าจิตดับลงในขณะนั้นต้องไปทุคติ 

           ส่วนผู้ที่เคยทำบุญเห็นพระเห็นเณร เห็นโบสถ์วิหาร  เห็นปราสาทเงินปราสาททอง  ถ้าดับจิตลงในขณะนั้นไปสู่สุคติ  ในอสัญญกรรมเวลาจวนเจียนจะตายก็เป็นดังนี้ไม่มีต่างกันเลย  คือ ตัวทวารสมมุติกับทวารวิมุติ เป็นของต่อเนื่องถึงกัน  เมื่อทวารสมมุติรับมาอย่างไร  ตัวทวารวิมุติก็รับเอาอย่างนั้น 

           พึงเห็นดังองคุลีมารโจร  เคยฆ่าคนถึง ๙๙๙ คน  มาบวชบำเพ็ญสมาธิเห็นแต่คนที่ตนฆ่า  ถือศาสตราวุธเข้ามาจะทิ่มแทง หลับตาลงเวลาใหนก็เห็นเวลานั้น  พระพุทธองค์ทรงทราบ  จึงได้ตรัสสอนไม่ให้นึกถึงอดีต  อารมณ์ที่ล่วงแล้วห้ามไม่ให้คิด  ให้ทำจิตให้เป็นดวงเดียว  เหมือนนายพรานจะยิงปืน  ย่อมหลับตาข้างหนึ่ง   เมื่อพระองค์คุลีมาร  ทำจิตให้แน่วแน่ในองค์อริยมรรค ไม่นึกถึงกาลเก่า  จิตก็หลุดพ้น  สำเร็จมรรคผล

                 

มารโดยธรรมาธิษฐาน
           จิตที่เห็นภาพต่าง ๆ  ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น  เป็น  กามาวจรนิมิต  เป็นได้ทั้ง  สุคติ  และ  ทุคติ  จิตตอนนี้ยังไม่เข้าถึงองค์ฌานเป็นส่วนพหุลกรรม  และอสัญกรรม  นี้แหละท่านเรียกว่า  มาร  มารมี ๕

           กิเลสมาร  ได้แก่  ราคะ โทสะ โมหะ ๑
           อภิสังขารมาร  ได้แก่ความนึกคิด  ปรุงแต่งทางใจ  หยุด คิดไม่ได้ ๑
           เทวบุตตมาร  ได้แก่ภาพต่าง ๆ  ที่มาปรากฏให้เห็นในมโนทวาร ๑
           ขันธมาร  ได้แก่ขันธ์ของเรา  มีอาการเจ็บปวดร้อนรน  เกิดทุกขเวทนามี ประการต่าง ๆ ให้ห่างจากการทำความเพียร ๑
           มัจจุมาร   คือความตาย  เมื่อคุณความดี  คือมรรคผล  นิพพาน  จวนจะเกิดขึ้น  แก่เรา  ความตาย  มาตัดไป ๑ 

           ที่ว่ามารมาอาราธนาให้พระองค์สู่นิพพาน  ก็ไม่ใช่อื่นไกล  คือ  ขันธมารมัจจุมารนี้เอง  นิมิตที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในระหว่างอุปจารสมาธิ   คือจิต  เฉียด  เข้าถึงองค์  ฌาน  บางคนก็มีบางคนก็ไม่มี  คนที่มี  นิมิต  เพราะสติเผลอ  และเป็นผู้มีการงานมาก  ผู้ที่ไม่มีนิมิตเพราะไม่เผลอสติและเป็นผู้ไม่มีการงาน  อีกนัยหนึ่งผู้ทำสมาธิแบ่งออกเป็น ๓ พวก  คือ

           พวกที่ ๑  ทำสมาธิเพียงเล็กน้อย  เพียงกึ่งหรือชั่วโมงหนึ่ง แล้วก็นอนเสีย  พวกนี้ยังไม่ถึงนิมิต

           พวกที่ ๒  ทำสมาธิถึงชั่วโมง  หรือ ๒ – ๓ ชั่วโมง  จนง่วงนอน  เวลาง่วงนอนนี้แหละ  จิตหยุดรับรู้ทางทวารสมมุติ  ลง  สู่ ภวังค์เกิดนิมิต  นิมิตเหล่านี้เป็นตัว  ชาติ  ตัว  ภพ  ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น  ให้ปล่อยวาง

           พวกที่ ๓  ทำสมาธิน้อยหรือมากก็ตามเป็นผู้มี  สติ  ไม่เผลอ  และ  หนักไปทางวิปัสสนา  จิตลงภวังค์   ไม่ได้  นิมิตไม่เกิด 

           นิมิตที่กล่าวมานี้  พูดเฉพาะนิมิตที่เป็น  กามาวจร  เท่านั้น  นิมิตเหล่านี้เกิดจาก  สัญญาอารมณ์  เราไม่ได้เพ่งให้มันเกิด  มันเกิดเอง  ส่วนนิมิตที่เป็นรูปาวจร  และอรูปาวจร  นั้น  เกิดจากการเพ่ง  เช่น  เพ่งดินเห็นดิน  เพ่งน้ำเห็นน้ำ  เพ่งไฟเห็นไฟ อาศัยอัปปนาสมาธิจิตตั้งมั่น  หลับตาลงแลเห็นติดตา  เรียกว่า  อุคคหนิมิต  เมื่อเสพนิมิตที่แลเห็น  ติดตาให้มากเข้าเกิดผ่องใสดังแก้วมณี  จะนึกให้เล็กก็เล็ก  จะนึกให้ใหญ่ก็ใหญ่  นี้เรียกว่า  ปฏิภาคนิมิต  เป็นครุกรรม  ให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งสิ้น อุคคหนิมิต  และปฏิภาคนิมิต  เป็นรูปาวจรภูมิ  นิมิตที่เป็นรูปาวจรเป็นนิมิตที่ยืนที่  ไม่ใช่เผลอสติ  ปฏิภาคนิมิตย่อมได้ในกรรมฐาน ๒๒  คือ  กสิน ๑๐   อสุภ ๑๐   กายคตานุสติ ๑  อานาปานสติ ๑


           อนึ่ง  จิต ๓๕  คือ  รูปาวจรจิต ๑๕   อรูปาวจรจิต ๑๒   โลกุตตรจิต ๘   เกิดในมโนทวารอย่างเดียว



คลิ๊ก เพื่ออ่านหัวข้ออื่นๆต่อ.. :
http://agaligohome.com/index.php?topic=4753.0
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับ พี่แป๋มจัดบทความได้สวยน่าอ่านมากเลยครับ ^^ อ่านแล้วสบายตา สบายใจ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~