ผู้เขียน หัวข้อ: อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑  (อ่าน 3627 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑
« เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 10:02:23 am »



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑

[๖๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจะแสดงอสังขตะ และทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดา-
-ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย
นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

[๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทาง
ที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ

             [๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร
นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สติปัฏฐาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สัมมัปปธาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
อิทธิบาท๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
อินทรีย์ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
พละ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
โพชฌงค์ ๗ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ

             [๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ


   ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
เราแสดงแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำ
แก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง
อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเรา เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

จบนิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค



รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร ๓. วิตักกสูตร ๔. สุญญตสูตร
๕. สติปัฏฐานสูตร  ๖. สัมมัปปธานสูตร 
๗. อิทธิปาทสูตร ๘. อินทรียสูตร ๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌงคสูตร ๑๑. มรรคสูตร
-----------------------------------------------------



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๙๐๒๖ - ๙๐๗๘. หน้าที่ ๓๘๙ - ๓๙๑.
:http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=9026&Z=9078&pagebreak=0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2011, 04:35:55 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                         

อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค อสังขตสังยุตต์
วรรคที่ ๑
               อสังขตสังยุตต์
             
               อรรถกถาวรรคที่ ๑ และที่ ๒               
               บทว่า อสํขตํ ได้แก่ อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว.
               บทว่า หิเตสินา แปลว่า ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล.
               บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า อนุเคราะห์อยู่.
               บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ความว่า กำหนดด้วยจิตคิดช่วยเหลือ. ท่านอธิบายว่า อาศัย ดังนี้ก็มี.
               บทว่า กตํ โว ตํ มยา ความว่า ศาสดาเมื่อแสดงอสังขตะและทางแห่งอสังขตะนี้ ชื่อว่าทำกิจแก่เธอทั้งหลายแล้ว กิจคือการแสดงธรรมไม่วิปริตของศาสดาผู้อนุเคราะห์ ก็เพียงนี้เท่านั้น.
               ส่วนการปฏิบัติต่อจากนี้ เป็นกิจของสาวกทั้งหลาย.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอตานิ ภิกฺขเว รุกฺขมูลานิ ฯเปฯ อมฺหากํ อนุสาสนี ดังนี้ ด้วยบทนี้ ทรงแสดงเสนาสนะคือโคนไม้.
               ด้วยบทว่า สุญฺญาคารานิ นี้ ทรงแสดงสถานที่ที่สงัดจากชนและด้วยบททั้งสองทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางกายและใจ ชื่อว่าทรงมอบมรดกให้.
               บทว่า ฌายถ ความว่า จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๓๘ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นด้วยลักขณูปนิชฌาน โดยเป็นอนิจจลักษณะเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า จงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา.

               บทว่า มา ปมาทตฺถ แปลว่า อย่าประมาท.
               บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ความว่า ชนเหล่าใด เมื่อก่อนเวลาเป็นหนุ่มไม่มีโรค สมบูรณ์ด้วยความสบาย ๗ อย่างเป็นต้น ทั้งศาสดาก็อยู่พร้อมหน้า ละเว้นโยนิโสมนสิการเสีย เสวยสุขในการหลับนอน ทำตัวเป็นอาหารของเรือดทั้งคืนทั้งวัน ประมาทอยู่ ชนเหล่านั้น ภายหลัง เวลาชรา มีโรค ตาย วิบัติ ทั้งศาสดาก็ปรินิพพานแล้ว นึกถึงการอยู่อย่างประมาทก่อนๆ นั้น และพิจารณาเห็นความตายที่มีปฏิสนธิว่าเป็นเรื่องหนัก ย่อมเดือดร้อน แต่เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นเช่นนั้น

               พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงดังนี้ จึงตรัสว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ดังนี้.
               บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี มีอธิบายว่า นี้เป็นอนุศาสนีคือโอวาทแต่สำนักของเรา
               เพื่อเธอทั้งหลายว่า ฌายถ มา ปมาทตฺถ จงเพ่ง อย่าประมาท ดังนี้.

               บทที่ควรจะกล่าว ในบทว่า กาเย กายานุปสฺสี ดังนี้ เป็นต้นนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวข้างหน้า.
               ในบทว่า อนฺตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

               ชื่อว่าอันตะ เพราะไม่มีความยินดีด้วยอำนาจตัณหา. ชื่อว่าอนาสวะ เพราะไม่มีอาสวะ ๔. ชื่อว่าสัจจะ เพราะเป็นปรมัตถสัจจะ. ชื่อว่าปาระ เพราะอรรถว่าเป็นส่วนนอกจากวัฏฏะ คือฝั่งโน้นหมายถึงวิวัฏฏะ. ชื่อว่านิปุณะ เพราะอรรถว่าละเอียด. ชื่อว่าสุทุททสะ เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้แสนยาก. ชื่อว่าอชัชชระ เพราะไม่คร่ำคร่าด้วยชรา. ชื่อว่าธุวะ เพราะอรรถว่ามั่นคง. ชื่อว่าอปโลกินะ เพราะเป็นธรรมไม่บุบสลาย. ชื่อว่าอทัสสนะ เพราะใครๆ ไม่พึงเห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ. ชื่อว่านิปปปัญจะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหามานะและทิฏฐิ ชื่อว่าสันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ. ชื่อว่าอมตะ เพราะไม่มีความตาย. ชื่อว่าประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด. ชื่อว่าสิวะ เพราะอรรถว่ามีความเยือกเย็น. ชื่อว่าเขมะ เพราะปราศจากอันตราย. ชื่อว่าตัณหักขยะ เพราะเป็นปัจจัยให้สิ้นตัณหา.

               ชื่อว่าอัจฉริยะ เพราะควรปรบมือให้ เพราะอรรถว่าตั้งมั่นมาแต่สมาธิ. เรื่องที่ไม่เคยมีเคยเป็นนั่นแหละ ชื่อว่าอัพภูตะ ควรจะกล่าวว่า ไม่เกิดแล้วมีอยู่. ชื่อว่าอนีติกะ เพราะปราศจากทุกข์. ชื่อว่าอนีติกธรรมะ เพราะเป็นธรรมปราศจากทุกข์ เป็นสภาวะ. ชื่อว่านิพพาน เพราะไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด. ชื่อว่าอัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความเบียดเบียน. ชื่อว่าวิราคะ โดยเป็นปัจจัยแก่การบรรลุธรรมเครื่องคลายกำหนัด. ชื่อว่าสุทธิ เพราะเป็นธรรมบริสุทธิ์โดยปรมัตถ์ ชื่อว่ามุตติ เพราะเป็นธรรมพ้นจากภพ ๓ ชื่อว่าอนาลยะ เพราะไม่มีอาลัย ชื่อว่าทีปะ เพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่ง ชื่อว่าเลณะ เพราะอรรถว่าควรที่จะพัก ชื่อว่าตาณะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ต้านทาน ชื่อว่าสรณะ เพราะอรรถว่ากำจัดภัย. อธิบายว่า ทำภัยให้พินาศ. ชื่อว่าปรายนะ เพราะเป็นที่ดำเนินไป เป็นที่ไป เป็นที่พึ่งอาศัยเบื้องหน้า.

บทที่เหลือในที่นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง ดังนี้แล.
จบอรรถกถาวรรคที่ ๑ และที่ ๒   จบอรรถกถาสังขตสังยุต
           


:http://www.84000.org/tipitaka/pitaka
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สังขต - อสังขต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 28, 2011, 04:23:46 am »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

สังขตสูตร

            [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
*ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

.......................................................

อสังขตสูตร
            [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความ
เสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๙๔๔ - ๓๙๔๘. หน้าที่ ๑๖๙ - ๑๗๐.
:http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3944&Z=3948&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิพพาน เป็น สิ่งที่ถูกรู้ (ปฐมนิพพานสูตร)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 28, 2011, 04:31:09 am »

   ปฐมนิพพานสูตร  ว่าด้วยอายตนะ  คือ  นิพพาน
   
   [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้น มีอยู่
   ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
   อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
   โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ ทั้งสอง
   ย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น
   
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่ง อายตนะนั้น ว่า
   เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ
   อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
   นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์
.
   
   จบปฐมนิพพานสูตรที่  ๑   
   พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓   หน้าที่ 711
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2011, 04:36:09 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

   ทุติยนิพพานสูตร ว่าด้วยฐานะที่เห็นได้ยาก คือ นิพพาน
   
   [๑๕๙] ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่า นิพพาน
   ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย
   ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มี
   แก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่
.
   
   จบทุติยนิพพานสูตรที่  ๒   
   พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓   หน้าที่ 719

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


   อาสวักขยสูตร
   ว่าด้วยความสิ้น
อาสวะ

   
                [๑๗๐๕] ดูกร.. ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น ไม่กล่าวความ
   สิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น
ก็ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อะไร ผู้เห็นอะไร?  ความสิ้นอาสวะของ
   ผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกร.. ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อย่างนี้
   ผู้เห็นอย่างนี้แล ดูกร.. ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ  เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้
   ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
   จบ สูตรที่ ๕
   
   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๒๔๕ - ๑๐๒๖๓. หน้าที่ ๔๒๘.
   :http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=10245&Z=10263&pagebreak=0             
   ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1698



ขอบพระคุณผู้รวบรวมพระสูตรนำมาแบ่งปัน.. baby@home
ลิ้งค์รวมพระสูตรจากพระไตรปิฎก : http://agaligohome.com/index.php?board=67.0
Pics by : Google
อกาลิโกโฮมดอทคอม * สุขใจดอทคอม
ใต้ร่มธรรมดอทเนต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สังขตธรรมและอสังขตธรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 09:10:20 pm »


               

สังขตธรรมและอสังขตธรรม

เห็นเอาเรื่องบัญญัติมาเถียงกัน มันก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก เพียงแต่อยากแนะนำว่า
จะเถียงกันในบัญญัติ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเอาปรมัตถ์มาเทียบเคียง
มิฉะนั้นจะเถียงกันไม่รู้จบ มันก็ต่างคนจะแปลบัญญัติไปตามจริตตน

ถ้าพูดกันโดยสภาพตามปรมัตถ์ธรรมแล้ว แบ่งธรรมออกเป็นสองชนิด
นั้นก็คือ.....สังขตธรรมและอสังขตธรรม

.....สังขตธรรม ก็คือธรรมที่มีปัจจัยมาปรุงแต่ง หมดเหตุ ธรรมก็ดับไปพร้อมเหตุ
ได้แก่ จิต เจตสิกและรูป

.....อสังขตธรรม ก็คือ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่แปรปรวน ไม่ทุกข์ หมดเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
อสังขตธรรมได้แก่นิพพาน

กล่าวโดยสภาวะธรรมที่เป็นปรมัตถ์ ทั้งจิต เจตสิกและรูปมันเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ(สัจจะ)
ที่เอามาใช้แทน สภาวะที่มีอยู่จริง สภาวะที่ว่าก็คือ เหตุปัจจัยต่างๆ

ดังนั้น ทั้งจิต เจตสิกและรูป เป็นเพียงสิ่งที่สมมุติขึ้นมา
ตัวตนจริงๆมันไม่มี มันเป็นเพียงแค่เหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น หมดเหตุมันก็ดับ


แม้แต่สภาวะจริงยังเกิดแล้วก็ดับ ที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ก็เพื่อดับเหตุแห่งการปรุงแต่ง
แล้วจะไปสร้างตัวสมมุติมันขึ้นมาให้เป็นเหตุอีกทำไม

สรุปให้ฟัง ที่เถียงกันอยู่ว่าตัวนี้เป็นนั้น ตัวนั้นเป็นนี้
แท้จริงแล้วมันก็เหมือนกัน นั้นก็คือเป็นสภาวะที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ
และที่เราดูมันแตกต่างกันเป็นเพราะ การเปลี่ยนไป
จากเหตุกลายเป็นผล และจากผลกลายเป็นเหตุ


                 

43272.เรื่องของ "จิต" และ เรื่องของ "วิญญาณ"
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43272