เหตุให้โลภะเกิดขึ้น เป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล เป็นธรรมดาขอนอบน้อมแด่พระผู้ัมีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แต่ละคนมีความประพฤติเป็นไปตามการสะสม แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่เหมือนกัน
เลย
ตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่ ก็ย่อมมีเหตุให้โลภะเกิดขึ้นเป็นไปตามการสะสมของแต่ละ
บุคคล เป็นธรรมดาจริง ๆ ถ้าได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมแล้วจะเห็นได้ว่า การเจริญ
กุศล ก็เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง เพราะเหตุว่ามากไปด้วยกิเลส ถ้าไม่ได้รับการขัด
เกลาทีละเล็กทีละน้อยในชีวิตประจำวัน จะถึงการหมดสิ้นกิเลสได้อย่างไร เพราะฉะนั้น
ผู้ที่เห็นคุณของกุศล และ เห็นโทษของอกุศล จึงไม่ละเลยโอกาสสำคัญในการเจริญกุศล
ไม่ว่าจะเป็นไปในเรื่องใด ๆ ก็ตาม
เพราะถ้ากุศลไม่เกิด ก็ย่อมเป็นโอกาสของการเกิดขึ้น
แห่งอกุศล และประการที่สำคัญ ที่กล่าวถึงการทำบุญ หรือการเจริญกุศลนั้น ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ
การให้ทาน เพียงอย่างเดียว
เพราะบุญ(ความดีที่ชำระจิตให้สะอาด) นั้น มีถึง ๑๐ ประการ
ได้แก่๑. ทาน การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
๒. ศีล ได้แก่ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เป็นกุศล คือ ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น
ให้เดือดร้อน
๓. ภาวนา การอบรมจิตให้สงบ คือ สมถภาวนา ๑ และการอบรมให้เกิดปัญญา วิปัสสนา
ภาวนา ๑
๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม ก็เป็นบุญ เพราะว่าจิตใจในขณะนั้นไม่
หยาบกระด้างด้วยความถือตัว
๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์ ไม่เลือกสัตว์ บุคคล ผู้ใดที่อยู่ใน
สภาพที่ควรสงเคราะห์ช่วยเหลือให้ความสะดวก ให้ความสบาย ก็ควรจะสงเคราะห์แก่ผู้นั้น
แม้เพียงเล็กน้อยในขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต เป็นบุญ
๖. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนา ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลจิตของ
บุคคลอื่นเกิดได้
๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาแก่ผู้อื่นที่ได้กระทำกุศล เพราะเหตุว่าถ้าเป็นคนพาล
ไม่สามารถจะอนุโมทนาได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ทราบการกระทำบุญกุศลของ
บุคคลอื่น ก็ควรเป็นผู้ที่มีจิตยินดี ชื่นชม อนุโมทนาในกุศลกรรมของบุคคลอื่นที่ตนได้
ทราบนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตระหนี่แม้แต่จะชื่นชมยินดีในบุญกุศลของบุคคลอื่น
๘. ธัมมเทศนา การแสดงธรรมแก่ผู้ต้องการฟัง ไม่ว่าเป็นญาติมิตรสหาย หรือบุคคลใด
ก็ตามซึ่งสามารถจะอนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจเหตุผลในพระธรรมวินัย ก็ควรที่จะได้
แสดงธรรมแก่บุคคลนั้น
๙. ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง
ก็เป็นบุญ
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การกระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมและเหตุผลของสภาพ ธรรม
นั้นๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า เป็นกุศลจริงๆ ธรรมใดที่
เป็นอกุศล ก็ให้พิจารณากระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมจริงๆว่า สภาพธรรมนั้น
เป็นอกุศล ไม่ปะปนกุศลธรรมกับอกุศลธรรม
เพราะฉะนั้น
เรื่องของการเจริญกุศล จึงเป็นสิ่งที่ควรจะสะสมเท่าที่สามารถจะกระทำได้
ไม่ควรเป็นผู้ประมาท
เรื่องของคนอื่น ก็เป็นเรื่องของคนอื่น แต่เรา ควรที่จะได้กระทำกิจที่ควรทำสำหรับตนเอง
คือ ทำดี และ ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ต่อไป ครับผม
หากเข้าใจความเป็นไปของชีวิต คือ จิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ก็คือ การเกิดขึ้นของ
จิต เจตสิก ที่เป็นไป
ในกุศลบ้าง อกุศลบ้างเป็นธรรมดา และ ไม่มีใคร ไม่มีสัตว์
บุคคลที่เกิด กุศลจิต เกิด อกุศลจิต
เพราะเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา และ ในความ
เป็นจริง สัตว์โลกสะสมกิเลสมามาก ทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ และ กิเลสอื่นๆ
จึงเป็นธรรมดาที่จะเกิดกิเลสประการต่างๆ เป็นธรรมดา แม้แต่การทำกุศล การทำบุญ ก็
เป็นธรรมดาอีกเช่นกัน ที่จะทำบุญแล้ว เกิดโลภะ เกิดกิเลส ที่อยากได้บุญ อยาก
ได้ผลของบุญ เป็นต้น
เพราะ ไม่มีอะไรที่โลภะ ความต้องการ ความติดข้อง ที่ไม่
สามารถจะไม่ติดข้องได้เลย เว้นเสียแต่ สภาพธรรมที่เป็น
พระนิพพาน เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อทำกุศล ทำบุญก็เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล ได้ เป็นธรรมดา ซึ่ง ไม่ใช่
เฉพาะในสมัยปัจจุบันเท่านั้น
ที่ จะทำบุญและเกิดอกุศลต่อ ที่อยากได้ผลของบุญ
ติดข้องผลของบุญ เกิดอกุศลประการต่างๆ หลังจากทำบุญแล้ว แม้ในอดีตกาล
สมัยพุทธกาล และ ในอนาตกาล สัตว์โลกก็เป็นดังเช่นนี้ สมดังที่พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้ใน ปฐมทานสูตร ที่ว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกายอัฏฐกกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 472
ทานวรรคที่ ๔
๑. ปฐมทานสูตร
[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ
เป็นไฉน คือ บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑ บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑
บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาให้แก่เราแล้ว ๑ บางคนให้ทาน
เพราะนึกว่า เขาจักให้ตอบแทน ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า
ทานเป็นการดี ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราหุงหากิน ชน
เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้
ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทาน
กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่ง
จิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล.
จะเห็นนะครับว่า บางคนให้ทาน เพราะ หวังอยากได้ จึงให้ก็มี และ บางคนให้
เพราะ กลัว จึงให้ก็มี บางคน ให้เพราะ หวังว่าเขาจะให้คืนกลับมาก็มี บางคน
ให้ทาน แล้วคิดว่า ให้แล้ว จะมีชื่อเสียงก็มี นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่สมัยปัจจุบัน
สภาพธรรมที่เป็นอกุศลก็เกิดขึ้นได้ ทุกยุค ทุกสมัย ตราบใดที่ยังมีกิเลส
และ อีกพระสูตรหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นธรรมดาของสภาพธรรม ที่ให้ทาน ก็
ยังเกิดกิเลส เกิดความหวังในการได้รับผลของทานได้เป็นธรรม ดังข้อความที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 140
-------------------......................
-------------------......................
ฯลฯ
พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า
ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม
สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่
ความเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
- ข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
แสดงถึงความจริง ของจิตใจของสัตว์โลกที่
ยังมีกิเลส ย่อมเกิดความหวัง เกิดโลภะ แม้ทำบุญแล้วก็หวังผลบุญได้เป็นธรรมดา
นี่คือ
ความละเอียดของจิตใจของสัตว์โลกที่มากไปด้วยกิเลส และ ที่สำคัญที่สุด
แม้แต่จะไม่ทำบุญ เราๆ ท่านๆทั้งหลาย
ก็เกิดกิเลสเป็นปกติธรรมดาอยู่แล้ว ยังหวัง
ที่จะได้ทรัพย์ เกิด อิจฉา ริษยา เกิดกิเลสประการต่างๆ นับไม่ถ้วน แม้จะไม่ได้ทำบุญ
ให้ทานเลย
กิเลสก็เกิดเป็นปกติ เป็นธรรมดาของปุถุชน เพราะฉะนั้น
ควรอยู่กับกิเลส
คนอื่น ด้วยความเข้าใจ เข้าใจว่า ทุกคนก็ยังมี และ เราก็มีเช่นกัน และ เป็นอย่างนั้น
ได้เช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเกิด กุศลจิต ที่เข้าใจความจริงของ
ชีวิตแต่ละหนึ่ง ที่เป็นไปด้วยกิเลส และ เข้าใจละเอียดลงไปอีกว่า ไม่มีใคร
ไม่มีสัตว์
บุคคลที่มีกิเลส เพราะเป็นแต่เพียง สภาพธรรมที่เป็นอกุศลจิตเป็นไปเท่านั้น ไม่มีใคร
มีแต่ธรรม การเข้าใจเช่นนี้ ประโยชน์ คือ
สะสมปัญญา สะสมความเห็นถูกของตนเอง
และ
ละคลายกิเลสตนเองเป็นสำคัญ นี่คือ ประโยชน์สูงสุด คือ ประโยชน์ตน ที่จะ
เข้าใจความจริง มีหน้าที่ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม
ปัญญาที่เจริญขึ้น ย่อมเข้าใจเหตุการณ์ทีเกิดขึ้นในชีวิต ประจำวัน
ด้วยกุศลจิต แม้แต่ เรื่องการให้ทาน
ของบุคคลต่างๆ ในลักษณะต่างๆ G+ ชาวพุทธ -
สนทนาธรรมตามกาล