แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม
เราอยู่ในโลกของ "ความคิด" ๒ อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ฐิตา:
07993 เราอยู่ในโลกของ "ความคิด" ๒
ถ้าฟังสิ่งที่ถูกต้อง ปัญญารู้ถูกต้อง นั่นคือปัญญา ความรู้ถูกต้องเกิดขึ้นเมื่อไร
เมื่อนั้นคือปัญญา และต้องเจริญขึ้นมากกว่านี้มากมาย ถึงจะรู้ความจริงของสภาพธรรม
ซึ่งเราไม่เคยรู้มาก่อน และทั้งหมดนี้มีในพระไตรปิฎก เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่
ตรัสรู้ความจริง และทุกคนพิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย มีตา ไม่ใช่เห็นชาตินี้ชาติเดียว ชาติ
ก่อนเป็นใครก็ไม่ทราบ ก็เห็นอย่างนี้แหละ และก็สุขทุกข์ไปตามเรื่องของชาติก่อน และ
อีกไม่นานเราก็จะจากโลกนี้ แต่เราก็จะเห็นอีก แล้วเราก็เปลี่ยนสุขเปลี่ยนทุกข์ใหม่ ตาม
เรื่องใหม่ที่เราเห็น
เพราะฉะนั้นเราก็อยู่ใน โลกของความคิด ถึงสิ่งที่กระทบตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง
นี่เป็นปัญญาหรือยังคะ ที่เข้าใจ ไม่ใช่เราเลย เป็นปัญญา ขณะที่เข้าใจก็เป็นปัญญา
พอหลงลืมสติ ไม่ระลึกให้ถูกต้อง ไม่เข้าใจอย่างนี้ ก็หายไปอีกแล้ว ปัญญาก็หมดไป
นี่คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เข้าใจเรื่องที่ต้องเจริญขึ้นแล้วใช่ไหมคะว่า นิดเดียวแค่นี้ไม่พอ ถ้าเข้าใจแล้ว
เอาอะไรมาแลกกับปัญญาก็ไม่เอา จะให้กลับเป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย ก็คงไม่เอา ใช่ไหม
คะ
ที่จริงก็คงไม่ยากเกินไปนะคะ เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่มีปรากฏ เพียงแต่ว่าเราไม่
เคยฟัง เราก็เลยไม่เคยคิดในแนวของธรรม เราก็ไปคิดเอาเอง เป็นตัวตน เป็นเรื่องราว
ตลอดไปตั้งแต่เกิดจนตาย ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ ทั้งๆที่เรื่องราวต่างๆ ไม่มีเลย ก็
คิดเอา พอถึงชาติหน้าก็ลืมหมด เสียเวลา จริงๆแล้วก็ไม่ต้องคอยจนถึงชาติหน้า เพียง
แค่คืนนี้ เดี๋ยวเราก็ลืมหมด วันนี้เรามานั่งที่นี่ ฟังอะไร ตอนที่เราหลับสนิท เราเป็นใคร
ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ก็หมดเลย พอตื่นมาก็ต่อเรื่องเก่า คือจำไว้ ตราบใดที่ยังเป็นคนนี้ก็จำ
เรื่องของโลกนี้ พอเป็นคนใหม่ ชาติหน้าเราก็ลืมเรื่องนี้สนิท ใครจะมาบอกอะไร เราก็ไม่
มีทางที่จะจำได้
คนที่เราจากเขามาจากโลกก่อน ป่านนี้เขาก็อาจจะยังคิดถึงเรา ร้องไห้ เป็นลูก
เป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย แต่เราก็ไม่รู้ ไปเห็นเขากำลังนั่งร้องไห้คิดถึงใคร เราก็ไม่รู้อีกว่า
อาจจะเป็นเราก็ได้ จำไม่ได้เลย หมด แล้วคืนนี้ก็คืออย่างนี้ ทุกคืนๆ
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะต้องทุกข์ไป สุขไปในวันหนึ่งๆ ชั่วระหว่างที่ยังไม่หลับ ก็
ให้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้ว เดี๋ยวก็ลืมหมด
เพราะฉะนั้นก็ไม่มีอะไรสำคัญมากมายที่เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน สิ่งที่
สำคัญ คือ การอบรมเจริญปัญญาให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ถูกใครหลอก
เอาสิ่งที่ไม่จริงมาบอกว่าจริง ซึ่งในพระธรรมได้อุปมาไว้ไพเราะมากว่า
คนตาบอดแสวงหาผ้าขาว ก็มีคนหนึ่งที่เอาผ้าดำไปให้เขา แล้วบอกว่า ผ้าขาว
คนตาบอดนั้นก็แสนจะดีใจ คิดว่าตัวได้ผ้าขาว ความจริงก็เป็นผ้าดำ
เพราะฉะนั้นคำสอนที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง แล้วเราหลงเชื่อ เราก็คิดว่า สิ่ง
ที่เราเชื่อเป็นความถูกต้อง หรือว่าเป็นพระธรรมที่ทรงแสดง แต่ต่อเมื่อใดที่เราตาดี เราก็
รู้ว่า นี่ผ้าดำ ไม่ใช่ผ้าขาว ใช่ไหมคะ เราก็รู้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ถูก แต่
ต้องอาศัยการฟัง เพราะว่าคำว่า “สาวก” คือ ผู้ฟัง สาวโก คือ ผู้ฟัง ถ้าไม่ฟัง ไม่มีทางที่
เราจะคิดเองได้
คลิ๊กเพื่อฟัง..
เสียงบรรยายธรรมะตอนนี้โดย ท่านอ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ...
: http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7993
suggestions อ่าน-ฟัง หัวข้อธรรมอื่นๆ
ขันธ์ ๕ ได้แก่ปรมัตถธรรม ๓
ต้องค่อยๆรู้ขึ้น
ไม่มีเจตนาฆ่า ไม่ล่วงกรรมบท
กรรมเหมือนต้นไม้
คิด ไม่่ใช่วิบาก
เราอยู่ในโลกของความคิด ๑
เห็นจริงๆ เห็นอะไร
ส่งเสริมศาสนาคือเข้าใจศาสนา
ปัญญาต้องรู้สิ่งที่มีจริงๆ
ชื่อเปลี่ยนได้แต่ลักษณะไม่เปลี่ยน
กราบอนุโมทนาสาธุ.. ธรรมบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์..
ขอบพระคุณลิ้งค์ที่มา.. จากที่น้อง 時々Sometime เคยให้ไว้ค่ะ
และกราบอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...
ฐิตา:
07992 เราอยู่ในโลกของความคิด ๑
สุ. เวลาฝัน เห็นอะไรคะ
ผู้ฟัง เห็นเป็นรูปร่าง สมมติว่าฝันว่าลอยน้ำ ก็เห็นน้ำ
สุ. จริงๆแล้ว ไม่เห็นเลย ถูกไหมคะ ในฝันไม่เห็น จำเรื่อง คิดเรื่อง คิดถึงเรื่อง คิด
ถึงสิ่งที่เคยเห็นเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่เห็นอย่างนี้ ใช่ไหมคะ นี่เป็นสิ่งที่เราแยกได้ว่า ฝัน
คือ ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ เราฝันหรือเปล่าคะ เวลานี้
ผู้ฟัง เวลานี้เป็นความจริง
สุ. เวลานี้เป็นความจริง เพราะว่ามีสีสันวรรณะกระทบตา เราก็เลยบอกว่า เวลานี้
จริง ไม่ใช่ฝัน แต่เวลาที่เราฝัน สีสันวัณณะไม่ได้กระทบตา เรานอนหลับตาเลย แต่ใจ
เรานึก เหมือนเห็น แต่เป็นเพียงนึก
เพราะฉะนั้นขณะนี้ก็เหมือนกัน ต่างกันกับฝัน คือ มีสิ่งที่ปรากฏจริงๆให้เรารู้ว่า
เราไม่ได้ฝัน เพราะว่ามีจริงๆปรากฏ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องจริงที่ปัญญาจะค่อยๆรู้
ความจริงว่า เราอยู่ในโลกของความคิดนึกตลอด สิ่งที่มากระทบตา เราจะคิดก็ได้ ไม่คิด
ก็ได้ เราคิดถึงเรื่องอื่นก็ได้
นี่แสดงให้เห็นว่าเราอยู่ในโลกของความคิด และสิ่งที่ปรากฏ เราจะคิดว่าเป็น
คนนั้นคนนี้ แล้วเกิดโกรธในกิริยาอาการนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เหมือนเราดูรูปภาพใน
โทรทัศน์
นี่แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นของจริงอย่างหนึ่ง ส่วนความคิดนั้น
เป็นอีกอย่างหนึ่ง อีกขณะหนึ่ง เราอยู่ในโลกของความคิด โดยอาศัยสิ่งกระทบตา แล้ว
เราก็คิดแต่เรื่องนั้น จำแต่เรื่องนั้น หมกมุ่นอยู่ในเรื่องนั้น พอเสียงมากระทบหู เราก็คิด
แต่เรื่องของเสียงที่กระทบหู เป็นเสียงสูงๆต่ำๆ แต่สร้างเรื่องมหาศาล สุขทุกข์ก็มาจาก
การที่เราไปปรุงแต่งจากสิ่งที่กระทบหูแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้นปัญญาของเราจะเริ่มรู้ปรมัตถธรรม คือสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องเรียกชื่อก็
ได้ เรียกก็ได้ แต่สิ่งนั้นมีจริง และก็รู้ด้วยว่า เราอยู่ในโลกของความคิด และสภาพที่เป็น
ปรมัตถธรรมนั้นเราไม่ต้องคิด อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตา เราคิดไม่ได้ ใช่ไหมคะ มีจริงๆ
กระทบตา เราไม่ต้องคิดเลย อย่างเสียง เราก็คิดไม่ได้ ใครจะไปคิดเสียงขึ้นมาได้ แต่
เสียงมีจริงๆ ปรากฏจริงๆ แต่เราคิดเรื่องเสียงหลังจากที่เสียงปรากฏ เราก็คิดถึงความ
หมายของเสียง
เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความคิดของเราเอง เป็นโลกใบหนึ่ง คนหนึ่งๆ ก็
อยู่ในโลกของตัวเอง แล้วแต่ว่าอะไรจะมากระทบตาก็คิดเรื่องตาเห็น อะไรมากระทบหู ก็
คิดถึงเรื่องหู เวลาที่สิ่งเหล่านี้ไม่มี เราก็จำเอาไว้ วันนั้น คนนั้นทำอย่างนี้ ๒๐ ปีก่อน คน
นั้นทำอย่างนั้น ก็เป็นแต่เพียงความคิดของเราเอง ถ้าทราบว่า เราเหมือนเล่นกับความ
คิดของเรา ปรุงแต่งคิดไปต่างๆนานาให้สุข ให้ทุกข์จะเห็นว่าไม่มีใครทำอะไรเราได้เลย
นอกจากความคิดของเราอย่างเดียว จะคิดสุขก็ได้ จะคิดทุกข์ก็ได้ จะคิดให้คนนี้รักเรา
คนนี้เกลียดชังเรา ก็แล้วแต่เราจะคิดไป ทั้งๆที่คนนั้นอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นเลยก็ได้
คลิ๊กเพื่อฟัง.. http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7992
เสียงบรรยายธรรมะตอนนี้โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ...
กราบอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...
ฐิตา:
กรรมที่ได้กระทำเป็นปัจจัยให้วิบากเกิดขึ้น รู้สภาพธรรม
ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ทุกขณะ
จิตที่รักษาดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่
จิตฺตํ รกฺขิตํ มหโต อตฺถาย สํวตฺตติ{เอกนิบาต ๒๐/๗}
เมนูวีดิโอคลิป หน้า ๑ รายการที่ 1 - 20 จาก 492 รายการ
คลิ๊กเพื่อเลือกฟัง... - http://www.dhammahome.com/front/videoclip/list.php?gid=9
เสียงบรรยายธรรมะ โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่อภิธรรมค่ะ...
กราบ.. อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...
๐ สรุปประเด็นธรรม ช่วงหลัง ประจำวันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๕๒
๐ เยื่อใยของความยึดถือผิด ๒ อย่าง
๐ กำลังของจิตโดยนัยต่างๆ
๐ เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอยู่เสมอว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๐ จิตที่เกิดแล้วดับไปดับ มีกำลังหรือไม่
๐ สรุปประเด็นธรรม ช่วงแรก ประจำวันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๕๒
๐ จิตฝ่ายอกุศลธรรมมีกำลังอ่อนแอกว่าฝ่ายกุศลธรรม
หัวข้อธรรมตอนนี้ค่ะ
๐ 01025 จิตที่เกิดแล้วดับไป มีกำลังหรือไม่
คลิ๊ก... - http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?id=1025
ฐิตา:
ความสงัด ปวิเวกกถา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บทว่า ปวิเวกกถํ ได้แก่ กถาเกี่ยวกับความสงัด. จริงอยู่ ความ
สงัดมี ๓ อย่าง คือ สงัดกาย ๑ สงัดจิต ๑ สงัดจากอุปธิ (กิเลส) ๑.
ในความสงัด ๓ อย่างนั้น รูปหนึ่งเดิน รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน
รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาต รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งเดินจงกรม รูปหนึ่ง
เที่ยวไป รูปหนึ่งอยู่ นี้ชื่อว่า กายปวิเวก (สงัดกาย). สมาบัติ ๘ ชื่อว่า
จิตตปวิเวก (สงัดจิต). นิพพานชื่อว่า อุปธิปวิเวก (สงัดจากกิเลส). สมดัง
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า กายปวิเวกของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด จิตตปวิเวกของ
ผู้ยินดีในเนกขัมมะแล้ว อุปธิปวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ผู้มีจิตบริสุทธิ์
ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ถึงนิพพานแล้วดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
-----------------------
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ปวิเวกกถา คือคำพูด ถ้อยคำที่เป็นไปเพื่อความสงัด
วิเวก คือ ความสงัด
ความสงัดที่เป็นวิเวก มี 3 อย่างคือ
1.กายวิเวก
2. จิตวิเวก
3.อุปธิวิเวก
กายวิเวก คือ ความสงัดทางกาย ในที่นี้คือเป็นผู้หลีกออกจากหมู่
เป็นผู้ ผู้เดียวเที่ยวไปแต่ข้อที่สำคัญที่สุดคือ กายวิเวกเป็นเรื่องของการเห็นโทษ
ด้วยปัญญา ในการที่จะต้องอยู่กับผู้คนมากมาย เห็นคุณในการอยู่ผู้เดียว
จึงเป็นผู้ปัญญา มีความเข้าใจพระธรรมและเห็นโทษของการคลุกคลีด้วยหมู่
จึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ผู้เดียว ด้วยปัญญา ด้วยความเข้าใจครับ
ดังนั้นไมได้หมายความว่าผู้ที่จะอบรมปัญญา ต้องเป็นผู้หลีกออกจากหมู่
แต่ผู้เดียว เที่ยวไปผู้เดียว แต่เป็นเรื่องของอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ครับ
ว่าเป็นผู้มีอัธยาศัยหลีกผู้เดียวหรือไม่มีอัธยาศัยหรือกำลังที่จะเป็นผู้มีกายวิเวก
แต่สำคัญที่สุดคือการมีปัญญาเข้าใจหนทางในการดับกิเลสนั่นเอง
ย่อมเป็นทาง ที่จะทำให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้
ซึ่งสภาพธรรมไม่ได้เลือกเลยว่าจะเกิดตอนอยู่ผู้เดียวหรืออยู่กับผู้คนมากมาย
ดังนั้นหากเข้าใจหนทางในการอบรมปัญญาแล้ว ย่อมทำให้ไม่ว่าอยู่ที่ใด
อยู่ผู้เดียว ด้วยกายวิเวกหรืออยู่กับสิ่งต่างๆมากมาย
ปัญญาก็สามารถเกิดรู้ความจริงได้ เพราะได้สะสมปัญญามานั่นเองครับ
พระพุทธเจ้าจึงไมได้บังคับให้ภิกษุทั้งหลาย หรือ อุบาสก อุบาสิกา
เป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นกายวิเวก แต่พระองค์ทรงแสดงหนทาง
ในการอบรมปัญญา เพื่อว่าไม่ว่าอยู่ที่ไหน มีสภาพธรรม
ก็สามารถแทงตลอด ปัญญาเกิดละกิเลสได้ในขณะนั้น
ซึ่งก็มีตัวอย่างในพระไตรปิฎกมากมายที่มีผู้ที่บรรลุธรรม ท่ามกลางบริษัท
ผู้คนมากมาย ขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมครับ
จิตวิเวก คือขณะที่จิตสงบจากกิเลส สูงสุดคือขณะที่ได้ฌาน เป็นสมบัติ 8
อุปธิวิเวก คือสภาพธรรมที่สงัดจากสิ่งที่เป็นไปในทุกข์ เป็นไปในกิเลส
นั่นก็คือพระนิพพานครับ อุปธิวิเวก จึงเป็นความสงัดจากสังขารธรรม
สงัดจากกิเลสธรรมและสภาพธรรมที่ทุกอย่างคือพระนิพพานนั่นเองครับ
----------------------------
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
วิเวก หมายถึง ความสงัด ความสงัดที่ว่านี้ไม่ไ้ด้หมายถึงสถานที่ แต่เป็น
สภาพจิตที่สงัดจากอกุศล สงัดจากกิเลส ซึ่งก็มีหลายระดับขั้นด้วยกัน
เพราะว่าในบางแห่ง จะแสดงวิเวก(ความสงัด) ไว้ ๕ ประการ คือ
๑. ตทังควิเวก ความสงัดจากอกุศล ชั่วขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น
๒. วิกขัมภนวิเวก ความสงัดจากอกุศล ด้วยการข่มไว้ด้วยกำลังของฌานขั้นต่าง ๆ
๓. สมุจเฉทวิเวก ความสงัดจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่มัคคจิตเกิดขึ้น
ทำกิจประหารกิจ ดับกิเลสตามลำดับมรรค
๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก ความสงัดจากกิเลส ซึ่งเป็นความสงบระงับจากกิเลส
เป็นผลของการดับกิเลส นั่นก็คือ ขณะที่ผลจิตเกิดขึ้น
๕. นิสสรณวิเวก ความสงัดอย่างแท้จริง คือ พระนิพพาน เป็นสภาพธรรม
ที่สงัดจากกิเลส สงัดจากสังขารธรรมทั้งปวง
(สังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ พระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ)
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ต้องอาศัยการฟังการศึกษา
จึงจะเข้าใจ แม้แต่ในเรื่องของวิเวกก็เช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะโดยนัย ๓ หรือ โดยนัย ๕ ก็ตรงกัน
เพราะเป็นเรื่องความสงัดจากกิเลส สงัดจากอกุศล ไม่ใช่สถานที่
สำคัญอยู่ที่ปัญญาเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ความสงัด มีเป็นลำดับขั้นตั้งแต่ขั้นต้น ที่เป็นกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน
จนกระทั่งถึงความสงัดขั้นที่สามารถ ดับกิเลสทั้งปวง ได้อย่างเด็ดขาดครับ
-http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=18403
ฐิตา:
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม 1 ภาค 6 - หน้าที่ 285
อุฏฐานสูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยตื่นจากความหลับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๒๗] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด
เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไร ด้วยความหลับ
เพราะความหลับจะเป็น ประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อน
เพราะโรค คือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูก ลูกศร คือ ราคะเป็นต้นแทงแล้ว
ย่อยยับอยู่ เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จง หมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด.
มัจจุราชอย่ารู้ว่าเธอทั้งหลายประมาท แล้ว อย่ายังเธอทั้งหลาย
ผู้ตกอยู่ในอำนาจ ให้ลุ่มหลงเลย เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหา
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดาและมนุษย์
ผู้มีความต้องการอาศัยรูป เป็นต้น ดำรงอยู่. ขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย
เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียด กันในนรก เศร้าโศกอยู่.
ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้อง แล้วเพราะความมัวเมาในปฐมวัย
นอกนี้ ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้องแล้วเพราะ ความมัวเมาในวัย
เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้ เป็นบัณฑิต พึงถอนลูกศร คือ กิเลสมีราคะ เป็นต้น
ของตนเสีย ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชา.
ฤกษ์ดีเวลาดี อย่างไรจึงเป็นเวลาดี สภาพธรรมอะไรคือเวลา ถ้าไม่มี สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเลย (จิต เจตสิก รูป) จะมีเวลาไหม มีเพราะคิดเท่านั้น ถ้าไม่ มีจิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีอะไรที่จะคิดสมมติขึ้นว่าเป็นเวลา เป็นดวงดาว เป็นภูเขา ถ้า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น โลกก็ไม่มี เวลาไม่มี คน สัตว์ไม่มี ความเห็นของชาวโลก ขณะที่เห็น ได้ยินเหมือนได้อะไรดี ๆ ทั้งวัน
แต่ความจริงแล้วได้ขยะสะสมไว้ทุกวัน ๆ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม แค่เห็นแต่ละครั้ง ได้ยินแต่ละครั้งอกุศลก็เกิดแล้วมากมาย ไม่ เคยรู้เลย มีเพียงพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นให้เข้าใจ ว่าแต่ละขณะในชีวิตนั้นเต็มไปด้วยอกุศล เห็นโทษของอกุศลที่พอกพูนมากขึ้นอยู่ เกือบทุกขณะ ทุกวัน ทุกเดือน ทุกชาติ แท้จริงแล้วขณะที่ทำความดีเป็นฤกษ์ดี ขณะใดกาย วาจา ใจดี ขณะนั้นเป็นเวลาดี ไม่ใช่เวลาเป็นเครื่องกำหนด แต่ขณะที่ กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นเวลาดี ฤกษ์ดี ทุกอย่างสำคัญที่จิต ถ้าไม่มีจิต
อะไร ๆ ก็ไม่ เกิด ขณะที่จิตเกิดขึ้นดีขณะนั้นตื่นจากความหลับ เป็นเวลาที่ดี จะเห็นได้ว่าใน แต่ละวันที่ผ่านพ้นไป จิตที่เกิดขึ้นเป็นอกุศลนั้นมีมากกว่าจิตที่เป็นกุศลตามการสะสม แต่เมื่อได้ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดให้เห็นว่า ขณะที่ดีก็คือขณะของความดี ซึ่ง แต่ละขณะของความดี จะเกิดขึ้นได้ก็จากความเข้าใจพระธรรม สะสมความดีเพิ่มขึ้น หากไม่ได้ฟังพระธรรมก็จะไม่มีทางรู้เลยว่า แต่ละขณะเป็นธรรม แต่ละอย่างที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเราที่จะไปทำความดี แต่ความดีนั้นเกิดจากการอบรมให้มีขึ้น อบรมให้กุศลต่างๆ เจริญขึ้นตามลำดับขั้นได้ด้วยความเข้าใจธรรม จนกว่ากุศลขั้นสูง สุดคือ อรหัตตมรรค เกิดขึ้นดับกิเลสหมดสิ้น เมื่อนั้นแต่ละขณะที่เกิดขึ้นไม่ว่า เช้า กลางวัน กลางคืน ก็เป็นวันดี คืนดี แต่กว่าจะถึงขณะนั้นได้ก็ต้องมีขณะนี้ที่ค่อย ๆ สะสมความดีเพิ่มขึ้น ขณะที่ดีก็เป็นเวลาดี เป็นฤกษ์ที่ดี
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่อภิธรรม
-http://powerlife.fix.gs/index.php?topic=1834.msg4173#new
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version