ผู้เขียน หัวข้อ: BODYGUARDS AND ASSASSINS : อุดมการณ์บนเส้นขนาน  (อ่าน 1780 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
BODYGUARDS AND ASSASSINS : อุดมการณ์บนเส้นขนาน
« เมื่อ: กันยายน 28, 2011, 08:40:18 am »


บทความชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์ทั้งหมด

ย้อนกลับไปปลายราชวงศ์ชิง ช่วงบ้านเมืองระส่ำระสาย รางวงศ์ภายใต้การนำของซูสีไทเฮาพยายามรักษาอำนาจเดิมของตนด้วยการพยายามจะกำจัดนักคิดหัวก้าวหน้าประชาธิปไตยอย่างดร.ซุนยัดเซ็น ปี 1906 ดร.ซุนยัดเซ็นเดินทางจากญี่ปุ่นมาเกาะฮ่องกงซึ่งเป็นเขตเช้าอังกฤษ โดยมีจุดมุ่งหมายมาประชุมเตรียมการกับตัวแทนของแต่ละมณฑล   ราชสำนักส่งมือสังหารชั้นยอดมาเพื่อลอบสังหารซุนยัดเซน และในห้วงเวลานั้นเองชะตากรรมก็พัดพาคนหลากหลายชนชั้นให้เข้ามาอยู่ร่วมในปฏิบัติการก่อนการก่อการปฏิวัติ
 
หนังโฟกัสไปเฉพาะเหตุการณ์ช่วงก่อนการมาถึงขอซุนยัดเซน และบรรดาผู้คนที่หมุนไปรอบๆเหตุการณ์นั้นจวบไปจนจบสิ้นภารกิจพิทักษ์ซุนยัดเซน บรรดาผู้คนที่มีแกนนำเป็นนักหนังสือพิมพ์ ผู้ซึ่งเป็นมิตรสนิทของซุนยัดเซน และมีนายทุนหนุนหลังเป็นท่าคหบดี ที่กำลังฉลองใหญ่ให้กับลูกชายหัวแก้หัวแหวนที่เพิ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัยของอังกฤษได้ โดยมีกองกำลังพะบู๊เป็นกลุ่มนักแสดงงิ้วลึกลับที่เดินทางมาฮ่องกงเพื่อลี้ภัยการเมืองหลบซ่อนเปิดแสดงงิ้ว หากในขณะเดียวกันราชวงศ์ชิงก็ส่งมือสังหารเหี้ยมโหดซึ่งนำโดยอดีตศิษย์เอกที่ตอนนี้ยืนกันคนละข้างกับอาจารย์เสียแล้ว ในขณะเดียวกัน ยังมีผู้คนอีกกลุ่มที่ถูกชักนำให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับภารกิจครั้งนี้ ตั้งแต่ คนลากรถบ้านท่านคหบดีที่มาจากชนชั้นล่างสุดและมุ่งหมายเพียงปกป้องนายของตน และเฝ้าฝันถึงคนรักลูกสาวช่างถ่ายรูป เด็กสาวลูกเจ้าของโรงงิ้วที่เข้าร่วมเพื่อล้างแค้นให้พ่อและชาวตณะที่ถูกสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหด คนขายเต้าหู้เหม็นที่ชื่นชมอุดมาการณ์ต้านฝรั่งของท่านคหบดี ขอทานอดีตคุณชายที่ชีวิตพังพาบเพราะหลงรักหญิงต้องห้ามนางหนึ่ง ตำรวจชั้นเลวผีพนันที่ถูกดึงเข้ามามีเอี่ยวเพียงเพราะต้องการช่วยคนรักที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน บรรดาผู้คนมากหลาย ร่วมอยู่ในปฏิบัติการคุ้มภัย ซุนยัดเซน ปฏิบัติการซึ่งแลกด้วยเลือดและความสูญเสียอันไม่สุดสิ้น
 
ภาพยนตร์โดย TEDDY CHAN ผู้กำกับหนังฮ่องกงเจ้าของหนังอย่าง PURPLE STROM (พายุเดน) และ หนังเฉินหลงอย่างACCIDENTAL SPY (วิ่งระเบิดฟัด) หรือหนังหลิวเต๋อหัวเดี๋ยวเด็กเดี๋ยวแก่ จะว่าไปหนังของเขาก็เข้าฉายเมืองไทยเกือบทุกเรื่อง (เข้าใจว่าออกแผ่นในเมืองไทยครบด้วยซ้ำ) แต่เราก็ไม่คุ้นเคยกับเขามาก่อนจนกระทั่งหนังเรื่องนี้ (ซึ่งใครต่อใครรวมถึงผู้เขียน เข้าใจไปว่าเป็นหนังของปีเตอร์ ชาน) ซึ่งจริงๆหนังก็มีเงานของปีเตอร์ ชานที่ทอดสืบต่อมาจาก WARLORDS อยู่ไม่น้อย เพราะถึงแม้ WARLORDS จะรีเมคหนังเก่าของจางเชอะ แต่หนังก็กลับเล่าประเด็นย้อนกลับประเด็นที่จางเชอะทิ้งไว้อย่างน่าสนใจด้วยการวิพากษ์ความเชื่อเก่าของชาวจีนว่าด้วยคุณธรรมน้ำมิตรในช่วงราชวงศ์ชิง กระทั่งมาถึงหนังเรื่องนี้ที่เล่าเรื่องราวในเวลาซึ่งเชื่อมต่อกันมาและหนังก็ทำหน้าที่วิพากษ์ อุดมการณืการปฏิวัติอย่างแยบคายมากกว่าจะเชิดชูมัน
 
สิ่งแรกที่หนังกล่าวกับผู้ชมตรงๆคือ การปฏิวัติไม่เคยสำเร็จลงได้โดยคนชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเพียงชนชั้นเดียว หากมันเกิดจากผู้คนหลากหลายที่มา ตั้งแต่คหบดีไปจนถึงยาจกขอทาน ชาวบ้านธรรมดา หรือข้าราชการ กลไกที่ผลักการปฏิวัตเกิดจากการ่วมใจของผู้คนมากหลายเกินกว่าที่จะยึดกุมเอาวาทกรรมผู้ก่อการไว้ที่คนชนชั้นเดียว ไม่ว่าจะเป็น กรรมกร นักศึกษา หรือนักวิชาการ เพราะทุกสัดส่วนล้วนถูกขับเคลื่อนไปพร้อมกันผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไป โดยบางคน(หรือหลายต่อหลายคน)จำต้องยอมให้กงล้อประวัติศาสตร์นี้เบียดบีฑาทับร่างของตน
 
เพราะในขณะที่อุดมการณ์ขับเคลื่อนผู้คน หนังแสดงให้เห็นว่าเอาเข้าจริงๆแล้วคนที่พากันมาตายในภารกิจครั้งนี้ ไม่ได้กอปรขึ้นเพียงจากคนที่มีอุดมการณ์ลึกซึ้งเกี่ยวกับประชาธิปไตย พวกเขาหลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะถูกพามาตายที่นี่ ชายลากรถไม่ได้มาเพื่อปกป้องประชาธิปไตย เขาเขียนไม่ออกอ่านไม่ได้ด้วยซ้ำ(ฉากหนึ่งเขาขอให้หญิงคนรักช่วยอ่านหนังสือของซุนยัดเซนให้เขาฟัง เขารู้เพียงเขาจะไปช่วยคนที่เขียนหนังสือเล่มนี้) ชีวิตเขามีเพียงนาย และนายน้อยผู้มีพระคุณ นายผู้ซึ่งเดินเข้าไปขอเมียให้เขาทันทีที่เขากล่าวถึง เขาทำเพียงปกป้องนายเขาจนนาทีสุดท้าย เฉกเช่นเดียวกับเด็กสาวที่ต้องสูญเยคนทั้งครอบครัวให้กับการปฏิวัติ เธอไม่คยรู้ว่าทำไมพ่อของเธอถึงต้องพาชาวคณะงิ้วเร่ร่อนไปยังเมืองต่างๆ สำหรับเธอการปฏิวัติได้ทำลายชีวิตของเธอด้วยซ้ำ และการเข้าร่วมภารกิจของเธอเป็นไปเพียงเพื่อล้างแค้นแทนครอบครัวของตนเช่นนั้น ในขณะที่เจ้ายักษ์ปักหลั่นคนขายเต้าหู้ทอด เข้าร่วมภารกิจนี้ด้วยเพียงชื่นชมท่านคกบีดที่กล้าต่อกรกับคนของจักรภพอังกฤษ ที่ครอบครอง(ผ่านการเช่าซื้อ)เกาะฮ่องกง ผลักชาวบ้านให้กลายเป็นพลเมืองชั้นสอง นี่ยังไม่ร่วมถึงนายตำรวจผีพนัน ที่ตัดสินใจเข้าร่วมเพียงเพราะค้นพบความลับเกี่ยวกับคนรักของเขาในอดีต และเขาหวังเพียงปกป้อง ‘อนาคตส่วนบุคคล’ ของเขาเท่านั้น หรือที่หนักไปกว่านั้นคืออดีตคุณชายที่สิ้นเนื้อประดาตัวเพียงเพราะหลงรักผู้หญิงต้องห้าม เขาตัดสินใจเข้าร่วมภารกิจนี้เพียงเพื่ไถบาปส่วนบุคคล เพื่อหลุดพ้นไปจากโลกนี้เสียที
 
บรรดาผู้คนเหล่านี้ต่างพากันพาเหรดเข้าสู่ความตายเพื่อปกป้องคนที่เขาไม่รู้จัก สิ่งซึ่งยังไม่มีชื่อเรียกในสังคมที่เขาอยู่อาศัย ในขณะเดียวกัน บรรดาผู้คนที่เปี่ยมอุดมการณ์ในภารกิจครั้งนี้ กลับทำหน้าทีเป็นเพียงคนที่คอยดูอยู่ไม่ไกล หรือและท้ายที่สุดไม่ได้จบชีวิตลง อย่างไรก็ดี ทุกคนก็ล้วนสูญเสีย


 
ในทางกลับกันหัวหน้ามือสังหารผู้โหดเหี้ยม ก็ไม่ใช่เพียงตัวชั่วช้าที่คลั่งชาติ หากเขาเองก็รับใช้อุดมการณ์อีกชนิดหนึ่งบ ในฉากสำคัญของเรื่องเขาปะทะคารมกับอาจารย์ของตนเองอย่างเผ็ดร้อนว่าเหตุไฉนคนที่เรียนมาแบบตะวันตกอย่างเขากลับแปรใจไปสวามิภักดิ์ราชวงศ์สมมติเทพที่กดขี่บีฑาผู้คน หากถูกสวนกลับมาว่า เป็นเพราะการเรียนแบบตะวันตกนี้เองที่ทำให้เขาได้ค้นพบว่าพวกฝรั่งมังค่าหาเคยให้อะไรกับเรานอกจาการกดขี่ไม่! แม้การกลับไปรับใช้ราชวงศ์เพื่อต้านฝรั่งของเขาอาจฟังดูพิลึกพิลั่น (ยิ่งเมื่อเรามองผ่านแว่นตาของประชาธิปไตย) แต่ใช่หรือไม่ว่านี่คือการรับใช้อุมดการณ์อีกชนิดหนึ่งซึ่งต่างออกไป และกระทั่งจวบลมสุดท้ายของหายใจเขาก็ยังเพรียกขานว่าได้รับใช้ชาติ
 
การปะทะกันในครั้งนี้ จึงไม่ได้มีต้นตอของเหตุการณ์อยู่ร่วมด้วยเลย พระนางซูสีไทเฮาสั่งการอยู่ในแผ่นดินแม่ ขณะที่ซุนยัดเซนก็ถูกพิทักษ์เอาไว้อย่าแน่นหนา บรรดาผู้คนที่ลงสนามพากันมาตายตามท้องถนน ล้วนเป็นเพียงเหล่าคนเล็กคนน้อยซึ่งที่แท้ล้วนต่างมาเพื่อรับใช้อุมดารณืส่วนตนของตัว พวกเขาและเธอผู้ซึ่งตายตกบางคนอาจกลายเป็นวีรบุรุษ (ส่วนที่น่าสนใจคือการที่หนังขึ้นชื่อปีเกิดและปีตายของตัวละครหลักๆซึ่งหากหนังมุ่งเชิดชูคนเล็กคนน้อย การกระทำนี้ก็น่าขัน เพราะมีคนเล็กคนน้อยอีกจำนวนมากที่ตายในหนังโดยไม่ได้รับการอ้างถึง และต่อให้คิดว่าคนเหล่านี้เป็นภาพแทนของคนอื่นๆ มันก็ยังนับได้ว่าหนังพยายามจะเชิดชูพวกเขาให้โดดเด่นขึ้น ) บางคนกลายเป็นตัวชั่วช้า หากทั้งหมดทั้งมวลล้วนจะถูกจดจารด้วยมือของผูนะ และทั้งหมดทั้งมวลนั้นหาได้มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าการสูญเสียที่ไม่อาจเรียกคืนได้
 
ฉากไคลแมกซืของเรื่องบนทางลาดลงเนินนั้นกล่าวชัดถึงประเด็นนี้ เพราะในฉากนี้เราได้เห็นการรีเมคฉากสำคัญของโลกภาพยนตร์อย่างฉากบันไดโอเดสซ่าในหนังเรื่องBATTLESHIP POTEMKINอีกครั้ง ในต้นฉบับนั้นรถเข็นเด็กคันหนึ่งไหลเลื่อนลงไปบนบันไดในห้วงขณะที่กลุ่มทหารตบเท้าเข้าไล่ฆ่าประชาชน ในครั้งนี้ รถลากของนายน้อยก็ลื่นไถลไปตามทางลาด ตามติดโดยมือสังหารที่เข้าใจว่าในรถนั้นคือซุนยัดเซนก่อนจะลงมือปลิดชีพอย่างเหี้ยมโหด ในทางหนึ่งนายน้อยเป็นเฉกเช่นเดียวกับทารกบนรถเข็น เขาคือตัวแทนความบรสุทธิ์ เด็กหนุ่มวัยรุ่นซึ่งกำลังจะไปเรียนต่อเมืองนอก เข้าร่วมในภารกิจที่ไม่มีทางออก ความตายของนายน้อยคือบทจบของการปฏิวัติ นั่นคือ ‘การตายลงของความบรสุทธิ์’ เมื่อสิ่งนั้นสูญสิ้น ก็ไม่เหลืออะไรอีกต่อไป ภารกิจทั้งหมดจบลงตรงนี้ จบลงตรงความสูญเสีนที่ไม่อาจเรียกคืนของคหบดี และของนักปฏิวัติสายตาสั้น อาจจะรวมถึงของชายผู้ต่อสู้เพื่อต้านฝรั่ง แต่คงไม่ใช่ของราชสำนักที่อยู่ไกลออกไป
 
 
แม้ฟังดูเหมือนหนังเรื่องนี้จะมีประเด็นอันหนักแน่น แต่ที่จริงแล้วตัวหนังนั้นออกแบบมาให้เป็นหนังฮ่องกงบลอคบัสเตอร์ชั้นดี แฟนคลับของดอนนี่ เหยิน จะได้ดูเขาพะบู๊แบบ นันสตอปในชั่วมโมงท้ายของเรื่อง (ฉากาการต่อสู้ด้วยรูปปั้นเทพเจ้านั้นน่าสนใจมาก) ในขณะเดียวกันหากชื่นชมหนังชวนกดดันอย่างINFERNAL AFFAIR ชั่วโมงแรกของหนังก็ทรงประสิทธิภาพยิ่งในการสร้างอารมณ์กดดันอันมหาศาล หนังมีพลังดาราใหญ่ที่อาจจะขาดบ้างเกินบ้าง (โดยเฉพาะในรายของหลี่หมิง) และมีการแสดงชั้นยอดของเซียะถิงฟงในบทไอ้หนุ่มรถลาก (ปกติผมไม่ได้ชอบเขาในฐานะนักแสดงมากนัก) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WANG XUEQI ในบทท่านคหบดี ที่เล่นได้ทรงพลังอย่างยิ่ง (มีช่วงหนึ่งที่หนังทั้งเรื่องมีท่านคหบดีเป็นแกนกลาง) ตัวหนังโดยรวมอาจไม่ใช่หนังชั้นเลิศในแง่ของการเป็นหนังการเมือง แต่นี่คือหนังที่บันเทิงอย่างเต็มที่และกล้าหาญในการเล่าเรื่องอย่างยิ่ง
 
ฉากปิดท้ายของเรื่องคือภาพของซุนยัดเซนซึ่งยืนอยู่บนเรือสำเภา ที่ค่อยๆลอยแล่นออกไกลจากเกาะฮ่องกง หนังตัดไปที่ดวงตารื้นน้ำตาของเขาที่ยืนมองแผ่นดินไกลออกไป ฉากนี้นำเราไปสู่คำถามและความหมายของการปฏิวัติอีกครั้ง จริงๆแล้วฉากนี้ออกจะเป็นฉากสามัญดาษดื่นที่มีขึ้นเพื่อเชิดชูความอ่อนไหวของนักปฏิวัติผู้ซึ่งในที่สุดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน นำการจบสิ้นมายังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศจีน (ก่อนที่หลายสิบปีต่อมาจะถูกผ่องถ่ายเปลี่ยนมสือไปสู่สังคมนิยมใต้การนำของประธานเหมา) หากในอีกทางหนึ่งฉากนี้กลับพาเราย้อนกลับไปหาความตายของบรรดาผู้คนมากมายตลอดเรื่อง หรือย้อนไปไกลได้ถึงประเด็นหลักที่อยู่ในหนังอีกเรื่อง สิ่งที่LAV DIAZ เคยทำไว้ในหนังเรื่อง MELANCHOLIA ในหนังเรื่องนั้น LAV บอกกับคนดูให้เห็นว่าถึงที่สุดแล้วการต่อสู้ทางการเมือง การปฏิวัติใดๆ หาได้ทิ้งสิ่งยิ่งใหญ่อันใดเอาไว้นอกไปเสียจากความเสร้ารันยทดอันยิ่งใหญ่ซึ่งกดทับเราไปชั่วนิรันดร์ ตัวการปฏิวัติเองที่แท้ก็เกิดขึ้นมาจากความเศร้ารันทดอันใหญ่หลวง การถูกทำลายให้ย่อยยับไปโดยผู้ซึ่งมีอพนาจมากกว่า ความเศร้ารันทดปลุกเร้าผู้คนให้ลุกขึ้นต่อสู้ ซึ่งถึงที่สุดแล้วกระทั่งชัยชนะ (อันไม่เคยจีรังยั่งยืน)ก็ไม่ได้ให้อะไรเรามากไปกว่าความรันทดหดหู่ที่ไม่อาจเรียกคืนได้ และในน้ำตาของซึนยัดเซ็น ผมมองเห็นความรันทดหดหู่ชนิดนั้น ซึ่งบางทีนี่คือคำสาปของกาเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เป็นได้
 
หมายเหตุ ชื่อบทความจากชื่อหนังสือ ‘อุดมการณ์บนเส้นขนาน’ โดย อรุณมัย
ขอขอบคุณ ไกรวุฒิ จุลพงศธร สำหรับการแลกเปลี่ยนประเด็นในหนังเรื่องMELANCHOLIA

http://www.onopen.com/littleprince2/10-01-23/5230

<a href="http://www.youtube.com/v/smK9nSMRNa4" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.youtube.com/v/smK9nSMRNa4</a>

<a href="http://www.youtube.com/v/q4rYQMx0VXU" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.youtube.com/v/q4rYQMx0VXU</a>
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...