วิญญาณ วิญญาณเป็นตัวแทนของปฏิกิริยาหรือการตอบ
สนองของอินทรีย์ (อายตนะภายใน) ต่ออารมณ์ภายนอกที่เข้า
มากระทบ นี้คือลักษณะพื้นผิวด้านนอกสุดของ
วิญญาณขันธ์ มนัส เป็นตัวแทนของลักษณะการทำงาน การคิด
การใช้เหตุผล การสร้างมโนทัศน์ของจิต เป็นต้น
จิต ซึ่งในที่นี้เรียกว่า อาลยวิญญาณ เป็นตัวแทน
ของลักษณะวิญญาณขันธ์ในระดับที่ละเอียดอ่อนและลึกที่สุด
จิตประกอบด้วยวาสนาหรือรอยประทับของกรรมใน
อดีต(เหตุ) และศักยภาพ(ผล)ที่จะก่อเกิดในอนาคตทั้งที่ดีและชั่ว
วิญญาณ ๓ ระดับจิตหรือวิญญาณของคนเรามีการทำงาน ๓ ระดับ แต่ละระดับมี
ชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
(๑) ระดับที่เรียกว่า
จิต คำนี้หมายเอาจิตระดับลึกหรือระดับ
มูลฐาน ซึ่งเรียกว่า อาลยวิญญาณ หรือ มูลวิญญาณ จิตระดับนี้
มีหน้าที่เก็บวิบากกรรมและวาสนาต่าง ๆ
เสมือนเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ คล้ายกับคำที่เรียก
ในภาษาทางจิตวิทยาว่า จิตไร้สำนึก (unconscious mind)
หรือ จิตใต้สำนึก (subconscious mind)
(๒) ระดับที่เรียกว่า
มนัส คำนี้หมายเอาจิตในแง่ที่ทำหน้าที่ปรุง
แต่งสร้างสรรค์โลกแห่งความทุกข์ หรือโลกแห่งมายาภาพขึ้น
มา โดยอาศัยเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ในอาลยวิญญาณนั่นเองเป็น
วัตถุดิบสำหรับคิดปรุงแต่ง เนื่องจิตระดับนี้
ทำงานบนฐานของ
ความไม่รู้หรืออวิชชา จึงตามมาด้วยความยึดมั่นถือมั่นในตัว
ตน สร้างโลกแห่งความเป็นคู่ (ทวิภาวะ) ระหว่างตัวกู
(อหังการ) กับของกูขึ้นมา (มมังการ) (๓) ระดับที่เรียกว่า
วิญญาณ หมายถึง วิญญาณที่รับรู้อารมณ์
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เรียกอีก
อย่างว่า วิถีวิญญาณ หรือปวัตติวิญญาณ
อาศัยการแยกอธิบายวิญญาณออกเป็น ๓ ระดับนี้
เอง จึงทำให้เกิดทฤษฎีวิญญาณ ๘ ขึ้น คือ
(๑) วิญญาณทางตา
(๒) วิญญาณทางหู
(๓) วิญญาณทางจมูก
(๔) วิญญาณทางลิ้น
(๕) วิญญาณทางกาย
(๖) วิญญาณทางใจ
(๗) มนัส
(๘) อาลยวิญญาณ หรือ มูลวิญญาณ
หรือเรียกว่า• วิญญาณ 5 ได้แก่จักขุวิญญาณ , โสตวิญญาณ ,
ฆานวิญญาณ , ชิวหาวิญญาณ , กายวิญญาณ
• วิญญาณที่ 6 คือ มโนวิญญาณ จิตรู้และจำแนก สิ่งต่าง ๆ
• วิญญาณที่ 7 คือ มนัสวิญญาณ จิตรับ
ทำหน้าที่ตรึกตรองนึกคิด ปรุงแต่ง ยึดมั่น ตัวกู – ของกู
(กูมี มีกู คือ อัตตา – มานะ)
• วิญญาณที่ 8 คือ อาลยวิญญาณ ศุนย์เก็บสภาว
ธรรมทั้งหลาย = CPU = ราชาจิตวิญญาณ
อาลย หมายถึงคลัง ที่เก็บรวบรวม เรือนคลังอันที่
เก็บ ที่ก่อ ที่สั่งสมเมล็ดพันธุ์ทั้งหลายทั้งปวง (สรรพพีชะ)
เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวนี้ ก็คือ
วาสนา(พฤติกรรมเคยชิน) และวิบาก
กรรมต่าง ๆ ที่ได้กระทำลงไป ทั้งที่เป็นบุญและบาป
กุศลและอกุศล สิ่งต่างๆ ที่ถูกเก็บสะสมไว้ในเรือนคลังแห่ง
อาลยวิญญาณนี้
เปรียบเสมือนเมล็ดพืชนานาพันธุ์ พร้อมที่จะพัฒนา
ไปเป็นไม้แห่งความทุกข์ใน
สังสารวัฏก็ได้ ไปเป็นไม้แห่งความ
ดับทุกข์คือ
นิพพานก็ได้
ในอาลยวิญญาณจึงมีทั้ง อกุศลกรรม และกุศล
กรรม มีทั้งเหตุปัจจัยก่อเกิดผล ผลกลายเป็นเหตุอันใหม่ หมุน
เวียนมิสิ้นสุด พร้อมด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน ปนเป็น
จน “
อวิชชาบดบังสภาพปรมัตถ์” สรรพสัตว์
จึงยากที่จะรู้สภาพ
ที่เป็นจริง มิอาจเข้าถึงสัจธรรมได้ง่าย ต้องบำเพ็ญปัญญาเท่า
นั้น จึงจะดับราชาแห่งจิตวิญญาณนี้ได้ อาลยวิญญาณเป็นธาตุรู้ มีหน้าที่ 3 ประการ คือ1. หน้าที่
รู้เก็บ คือสามารถเก็บเอาพลังต่างๆของกรรม
โดยไม่ขาดตกบกพร่อง สิ่งที่เก็บไว้ในอาลยวิญาณ เรียกว่า
"พีชะ" อันประกอบด้วยกุศลพีชะ อกุศลพีชะ อัพยากตพีชะ
เพราะฉะนั้น บางครั้งก็เรียกอาลยวิญญาณว่า "สรวพีช
วิญญาณ" ท่านเปรียบเหมือนยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกไว้ฉะนั้น
2 . หน้าที่
รู้ก่อ คือก่อสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ออกมาเป็นปรากฏ
การณ์ของพีชะในอาลัยวิญญาณนั้น ผลิดอกออกผล รวมทั้ง
วัตถุด้วยเช่น ภูเขา แม่น้ำ ล้วนเป็นพีชะในอาลัยวิญญาณก่อขึ้นมา
3 . หน้าที่
รู้ปรุง คือปรุงแต่งอารมณ์ให้วิจิตรให้พิสดารต่างๆ
เป็นไปตามคลองแห่งตัณหา ทำให้ประกอบกรรม เกิดวิบาก ส่ง
ผลเป็นพีชะเข้าไปเก็บไว้ในอาลัยวิญญาณอีก แล้วงอกเงยเป็น
อารมณ์ออกมาอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะหมดภพหมดชาติ
บรรดา
พีชะใน
อาลยวิญญาณต่างแยกกันอยู่เป็นส่วนๆ
กุศลก็อยู่ฝ่ายกุศล อกุศลก็อยู่ฝ่ายอกุศล แต่สถานที่เก็บเป็น
คลังแห่งเดียวกัน พีชะเหล่านี้เมื่อก่อปฏิกิริยาออกมาก็คือ
อารมณ์ต่างๆ ทั้งฝ่ายนามธรรมและรูปธรรม
บุญเป็นปัจจัยนำเกิด ปัญญาเป็นปัจจัยหยุดเกิด บุคคล 5 จำพวก อาจแบ่งบุคคลตามพีชะที่ฝังอยู่
ในอาลยวิญญาณได้ 5 ระดับ เรียกว่า
ปัญจโคตร คือ
•
พุทธพีชบุคคล คือผู้สร้างบารมีสู่พุทธภูมิ
•
ปัจเจกโพธิพีชบุคคล คือผู้สร้างบารมีเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
•
สาวกพีชบุคคล คือผู้สร้างบารมีเป็นพระอรหันต์
•
อนิยตพีชบุคคล ผู้มีคติไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการอบรม
•
กิจฉันติกพีชบุคคล คือผู้ที่โปรดไม่ได้ในชาตินี้ แต่
อาจบรรลุได้ หากปรับปรุงตัวในชาติต่อๆไป
Credit by :
http://www.navagaprom.com/oldsite/con1.php?con_id=536อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ