ผู้เขียน หัวข้อ: ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ  (อ่าน 3046 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 09:34:05 pm »

 
 
คำนำสำนักพิมพ์
 
เมื่อกองทัพของจีนคอมมิวนิสต์บุกเข้ายึดคริงธิเบตนั้น ในด้านหนึ่งนับเป็นความสูญเสีย
อย่างใหญ่หลวงของธิเบต แต่อีกด้านหนึ่งกลับเป็นโอกาสให้ธิเบตนำศาสนาและวัตนธรรม
อันลึกซึ้งของตนเอง ออกไปเผยแพร่แก่โลกภายนอกอย่างไม่เคยมีมาก่อน พุทธศาสนา
อย่างธิเบตไม่เพียงแต่ย้ายที่มั่นไปอยู่ ณ อินเดีย หากยังเผยแพร่ไปสู่โลกตะวันตกโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา และได้รับความนิยมเป็นอันมาก เช่นเดียวกับเซนจากญี่ปุ่น ซึ่งแพร่
หลายอยู่ก่อนหน้าแล้ว ทั้งนี้ด้วยความสามารถของผู้นำศาสนาของธิเบตนั่นเอง
ในบรรดาผู้ศาสนาของธิเบตที่ได้รับความนิยม ที่มีอิทธิพลถึงคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมากมีสอง
ท่าน คือ ทารถัง ตุลกุ และ เชอเกรียม ตรุงปะ สำหรับท่านแรกนั้นมีลีลาการแสดงธรรมอย่าง
เรียบๆ ง่ายๆ ดังที่มูลนิธิ ได้เคยเสนอผลงานบางชิ้นของท่านออกสู่พากษ์ไทยด้วยแล้ว ในชื่อ
ดุลยภาพแห่งชีวิต (วัชรา ทรัพย์สุวรรณ แปลจาก Gesture of Balance)
ส่วนท่านหลังนั้นตรงกันข้าม คือมีลีลาการเทศนาและเขียนที่มีชั้นเชิงน่าสนใจไปอีกแนวหนึ่ง
ทั้งยังมีปฏิปทาบางอย่างที่ท้าทายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากด้วย และมูลนิธิ ก็ได้เคยจัด
พิมพ์ผลงานชิ้นนั้นของท่านเผยแพร่มาแล้วเช่นกัน ในชื่อ ลิงหลอกเจ้า : ลอกคราบวัตถุนิยม
ทางศาสนา(วีระ สมบูรณ์ และ พจนาถ จันทรสันติ แปลจาก Cutting Through
Spiritual Materialism)
 

 
หนังสือ ซัมบาลา : หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบนี้ แปลจากเรื่อง Shambhala : The
Sacred Path of the Warrior ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องล่าสุดของเชอเกียม
ตรุงปะแล้ว ยังเป็นเล่มสุดท้ายก่อนสิ้นชีพอีกด้วย จึงนับเป็นหนังสือที่น่าสนใจมากเล่มหนึ่ง เนื้อหา
ในเล่มนอกจากจะกล่าวถึงความจริงแท้และความดีงามในตัวของปัจเจกบุคคลที่สามารถฝึกฝนตน
ให้สมบูรณ์พร้อมด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน มีชีวิตชีวา อาจหาญและลุ่มลึก จนเข้าถึงการดำรงอยู่
อย่างแท้จริงและกว้างใหญ่ไพศาล พร้อมกับให้หลักการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนจนถึงจุดหมาย และ
ให้คุณลักษณะของนักรบอาจารณ์ผู้นำทางเป็นแบบอย่างอันสมบูรณ์ไว้แล้ว ยังให้ความรู้เกี่ยวกับ
ธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมความเชื่อแต่โบราณของธิเบต สอดแทรกอยู่ด้วยอย่างน่าติดตาม
อีกทั้งยังได้ผู้แปลซึ่งนอกจากมีความสามารถทางอักษรศาสตร์แล้ว ก็ยังมีศรัทธาปสาทะในชีวิตการ
แสวงหา บรรจงแปลไห้อย่างดี หนังสือเล่มนี้จึงควรแก่การลิ้มลองอย่างยิ่ง
 
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2016, 01:45:47 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 09:50:18 pm »


ประวัติผู้เขียน
 
เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ได้ก่อตั้งชมรมชาวพุทธผู้ภาวนาขึ้น หลายแห่งในอเมริกาเหนือ
ชุมชนที่ใหญ่ที่สุดคือกรรม ซอง ในบุลเดอร์ โคโรลาโด และ กาเม โนหลิง ในบาร์เนต เวอร์
มอน ท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันนโรปะ อันเป็นสถานศึกษา ซึ่งนักศึกษาอาจค้นคว้าภูมิ
ปัญญาแบบพุทธควบคู่ไปกับภูมิปัญญาของตะวันตก ในฐานะผู้อำนวยการและครูใหญ่ใน
สถานศึกษาแห่งนี้ ท่านยังเป็นทั้งกัลยาณมิตรและเป็นครูวิปัสสนาของนักศึกษาจำนวนมาก
ในฐานะที่ท่านถูกนับเนื่องเป็นอวตารชาติที่สิบเอ็ดของตรุงปะ ตุลกุ ในวัยเด็ก ท่านจึงได้รับ
การอบรมบ่มเพาะอย่างเข้มงวด เพื่อให้สืบทอดเป็นเจ้าอาวาสอารามเชอร์มังในธิเบตตะวัน
ออก หลังจากผ่านการฝึกฝนอบรมอย่างหนัก ท่านก็ได้รับการอภิเษกให้สืบทอดเป็นธรรม
ทายาทของมิลาเรปะและปัทมสัมภาวะ ท่านได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและปรัชญาตาม
แนวทางสายกาคิวและยิงมาจนเจนจัด
 
ตรุงปะ จำต้องอพยพลี้ภัยออกจากแผ่นดินถิ่นเกิดเมื่อครั้งที่จีนคอมมิวนิสต์ ได้เข้ายึดครอง
ธิเบตเมื่อปี ๑๙๕๙ หลังจากได้พำนักอยู่ในอินเดียเป็นเวลา ๓ ปี ท่านได้เดินทางไปประเทศ
อังกฤษเพื่อศึกษาศาสนาเปรียบเทียบและจิตวิทยา ณ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด สี่ปีหลังจากนั้น
ท่านได้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาแบบธิเบตและภาวนาขึ้นในโลกตะวันตกเป็นแห่งแรก นั่น
คือสัมเย หลิงในสกอตแลนด์ ตรุงปะได้ไปเยือนอเมริกาเหนือในปี ๑๙๗0 และด้วยเหตุที่มี
ผู้สนใจในคำสอนของท่านเป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้ตัดสินใจพำนักอยู่ในประเทศนั้น
 
ท่านได้ตระเวณไปทั่วสหรัฐอเมริกา และ แคนาดา เข้าร่วมสัมมนาและแสดงปฐกถาธรรม
ท่านยังได้เขียนหนังสือขึ้นหลายเล่ม เป็นอัตชีวประวัติเล่มหนึ่งชื่อว่า Born in Tibet
นอกจาก นั้นยังมีงานทางด้านพุทธธรรมหลายเล่ม อาทิเช่น มุทรา :Cutting Through
Spiritual Materialism ( ลิงหลอกเจ้า : ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ) ;
Meditation in Action ; The Myth of Freedom ; Journey
Without Goals ; The Tibetan Book of theDead และ Shambhala :
The Sacred Path of the Warior.
 
ตรุงปะถึงแก่กรรมเมื่อ ๔ เมษายน ๑๙๘๗ มีอายุเพียง ๔๗ ปี
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 10:05:40 pm »

 
 
 
คำนำ
 
ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้นำเสนอ ญาณทัศนะซัมบาลาไว้ในหนังสือเล่มนี้ สารัตถธรรมนี้เองคือสิ่ง
ที่โลกกระหายและต้องการ อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าจะต้องกล่าวไว้อย่างชัดเจนในที่นี้ว่า เนื้อหา
สาระในหนังสือเล่มนี้ มิได้เผยถึงความลี้ลับประการใด ๆ แห่งพุทธศาสนาสายตันตระ ซึ่งสืบ
เนื่องอยู่ในหลักธรรมคำสอนของซัมบาลา ทั้งมิได้นำเสนอถึงหลักปรัชญาของกาลจักร หากทว่า
หนังสือเล่มนี้คือคู่มือของบรรดาผู้คน ซึ่งได้หลงลืมหลักการแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เกียรติภูมิและ
ความเป็นนักรบในชีวิตของตน เนื้อหาของหนังสือจึงยืนพื้นอยู่บนหลักการของนักรบ ซึ่งแฝงเร้น
อยู่ในอารยธรรมโบราณของอินเดีย ธิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า จะขัดเกลา
วิถีชีวิตของตนได้อย่างไร และจะก่อเกิดความหมายที่แท้จริงของนักรบขึ้นมาได้อย่างไร มันได้รับ
แรงบันดาลใจมาจากแบบฉบับและปรีชาญาณของมหาราชธิเบตองค์หนึ่งคือ เกซาร์ แห่งหลิง
จากความลุ่มลึกสุดหยั่งถึงและ ความไม่หวาดหวั่นของพระองค์ รวมถึงการที่ทรงมีชัยต่อความ
ป่าเถื่อน โดยใช้หลักการแห่ง พยัคฆ์ ราชสีห์ ครุฑ มังกร ซึ่งได้กล่าวถึงแล้วในหนังสือเล่มนี้
ในฐานะของเกียรติภูมิสี่ประการ
 
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ในอดีตได้มีโอกาส นำเสนอถึงปรีชาญาณและ
เกียรติภูมิแห่งชีวิตมนุษย์ ภายใต้แนวคิดของหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา ทว่าบัดนี้
ก็ยังรู้สึกยินดีที่จะได้นำเสนอหลักการนักรบซัมบาลาเป็นที่สุด ทั้งชี้ให้เห็นว่า เราอาจประพฤติ
ตนเยี่ยงอย่างนักรบ โดยปราศจากความหวาดหวั่น และ เต็มไปด้วยความเบิกบานได้อย่างไร
โดยไม่จำเป็นต้องทำร้ายกันและกัน โดยนัยนี้เองที่ญาณทัศนะแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่จะได้
รับการฟูมฟักขึ้นมา และดวงใจทุก ๆ ดวงก็จะประจักษ์แจ้งถึงความดีงามอย่างไม่ต้องสงสัย
 
ดอราจ ดราดุล แห่งมุกโป
บุลเดอร์ โคโลราโด
สิงหาคม ๑๙๘๓
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2016, 01:55:11 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 10:07:00 pm »

 
โอม ! ท่านผู้ปราศจากจุดเริ่มต้นและไร้จุดจบ
ผู้ครอบครองความรุ่งรุ่งโรจน์ของพยัคฆ์ ราชสีห์ ครุฑ และ มังกร
ผู้ครองครองความเชื่อมั่นอันเปี่ยมล้นเกินถ้อยคำ
ข้าขอกราบประณต ณ เบื้องบาทแห่งองค์จักรพรรดิริกเดน

 
 
จากกระจกเงาอันยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล
ซึ่งปราศจากจุดเริ่มต้นและไร้จุดจบ
สังคมมนุษย์ก็อุบัติขึ้นมา
ในครั้งนั้น การหลุดพ้นและความสับสนก็อุบัติขึ้นด้วย
เมื่อมีความกลัวและความสับสนสงสัย
เกิดขึ้นกับความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาล
ผู้คนอันขาดเขลาจำนวนมากก็อุบัติขึ้น
เมื่อความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาล
ได้รับการยอมรับและดำเนินตาม
นักรบจำนวนมากก็อุบัติขึ้น
ผู้คนอันขลาดเขลามากมายเหล่านั้น
พากันซ่อนตัวอยู่ตามถ้ำเถื่อนพงไพร
ฆ่าพี่น้องและกัดกินเนื้อกันเอง
ต่างประพฤติเยี่ยงอย่างสัตว์
ต่างกระตุ้นเร้าความป่าเถื่อนในกันและกัน
ต่างมีชีวิตอยู่เยี่ยงนี้
เขาหล่อเลี้ยงและสุมไฟแห่งความเกลียดชังไว้
เขากวนสายน้ำแห่งราคะให้ขุ่นข้นตลอดเวลา
เขาเกลือกกลิ้งอยู่ในโคลนตมแห่งความเกลียดคร้าน
ยุคสมัยแห่งความอดอยากและโรคระบาดก็อุบัติขึ้น
สำหรับผู้ที่อุทิศตนแด่ความเชื่อมั่นแห่งปฐมกาล
เหล่านักรบมากมายเหล่านั้น
บ้างก็ขึ้นสู่ที่สูงบนภูเขา
และสร้างปราสาทแก้วผลึกอันงดงามขึ้นที่นั่น
บ้างก็ไปสู่ดินแดนแห่งทะเลสาบและเกาะแก่งอันงดงาม
และสถาปนาเวียงวังอันน่ารื่นรมย์ขึ้น
บ้างก็ลงสู่ที่ราบลุ่ม
การเกษตรเพาะปลูกข้าวเจ้า ข้าวบารืเลย์และข้าวสาลี
ต่างอยู่ร่วมกันโดยไม่ทะเลาะเบาะแว้ง
มีแต่ความรักใคร่และเอื้อเฟื้อแบ่งปัน
โดยไม่ต้องมีใครมากระตุ้นเตือน
ผ่านความลี้ลับสุดหยั่งถึงซึ่งการดำรงอยู่ด้วยตนเอง
เขาต่างอุทิศตนต่อจักรพรรดิริกเดน .
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2016, 02:00:05 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 10:08:27 pm »

 
 
 
 
สารบาญ
 
ภาค ๑ จะเป็นนักรบได้อย่างไร
 
บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
บทที่ ๒ ค้นหารากฐานแห่งความดีงาม
บทที่ ๓ ใจเศร้าที่แท้จริง
บทที่ ๔ ความกลัวกับความไม่หวาดหวั่น
บทที่ ๕ ประสานจิตกับกาย
บทที่ ๖ รุ่งอรุณแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่
บทที่ ๗ รังดักแด้
บทที่ ๘ การตัดทอนและความกล้า
บทที่ ๙ เฉลิมฉลองการเดินทาง
บทที่ ๑o ปล่อยให้เป็นไป
 
ภาค ๒ ความศักดิ์สิทธิ์ : โลกของนักรบ
 
บทที่ ๑๑ ปัจจุบันขณะ
บทที่ ๑๒ ค้นหาอำนาจวิเศษ
บทที่ ๑๓ จะปลุกอำนาจวิเศษขึ้นมาได้อย่างไร
บทที่ ๑๔ เอาชนะความหยิ่งยโส
บทที่ ๑๕ เอาชนะนิสัยและความเคยชิน
บทที่ ๑๖ โลกศักดิ์สิทธิ์
บทที่ ๑๗ ระบบธรรมชาติ
บทที่ ๑๘ จะปกครองอย่างไร
 
ภาค ๓ ปัจจุบันขณะอันแท้จริง
 
บทที่ ๑๙ กษัตราธิราช
บทที่ ๒o การดำรงอยู่อย่างแท้จริง
บทที่ ๒๑ สืบสายสกุลซัมบาลา
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 10:28:45 pm »

 
บทที่ 1 สร้างสังคมอริยะ

 
 
" คำสอนของซัมบาลาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มีปรีชาญาณ
อันเป็นรากฐานของมนุษย์อยู่ ซึ่งอาจช่วยคลี่คลายปัญหา
ของโลกได้ ปรีชาญาณประการนี้มิได้ เป็นสมบัติเฉพาะ
ของวัฒนธรรมใด หรือลัทธิศาสนาใด ทั้งมิได้มาจาก
ตะวันตกหรือตะวันออก ทว่ามันสืบสายวัฒนธรรมของ
นักรบอันเก่าแก่ ซึ่งดำรงอยู่ในกระแสวัฒนธรรมต่าง ๆ
ตลอดช่วงกาลเวลาที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ "


 
 
......เช่นเดียวกับประเทศทางเอเชียหลายประเทศ ในธิเบตก็เช่นกัน มีตำนานเล่าขาน เกี่ยวกับอาณาจักรในฝัน ซึ่งเป็นต้นตอแห่งศิลปศาสตร์และอารยธรรมของสังคมเอเชียปัจจุบัน ตามตำนานเล่าว่า อาณาจักรแห่งนี้เป็นสถานที่แห่งสันติสุขและความรุ่งเรือง ซึ่งปกครองโดยผู้ปกครองผู้ทรงสติปัญญาและการุณย์ ดังนั้นอาณาประชาราษฎร์ก็ล้วนแล้วรอบรู้และเมตตาปราณี ดังนั้นเองอาณาจักรนี้จึงเป็นสังคมในอุดมคติ สถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า"ชัมบาลา"
 
 
..... เล่ากันว่าพุทธศาสนาได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมชัมบาลา ตามตำนานกล่าวว่า ศากยมุนีพุทธได้แสดงธรรมว่าด้วยตันตระขั้นสูงแก่ดาวะ สังโปปฐมกษัตริย์แห่งชัมบาลา บรรดาพระธรรมเหล่านี้ได้สืบทอดกันมาเป็น "กาลจักรตันตระ" ซึ่งถือว่าเป็นปรีชาญาณที่ลึกซึ้งที่สุด ของพุทธศาสนาแบบธิเบต หลังจากที่องค์กษัตริย์ได้สดับพระธรรมเทศนานี้แล้ว เล่ากันว่าบรรดาอาณาประชาราษฎร์ แห่งชัมบาลาต่างพากันปฏิบัติสมาธิภาวนาและดำเนินชีวิตตามพุทธมรรคา ด้วยการมีเมตตาจิตและเอาใจ ใส่ทุกข์สุขของสัตว์ทั้งหลาย โดยนัยนี้เอง ไม่เพียงผู้ปกครองเท่านั้น แต่บรรดาทวยราษฎร์ในอาณาจักร ล้วนแล้วเป็นอริยบุคคลผู้มีใจสูงทั้งสิ้น
 
 
...... ในหมู่ชาวธิเบต มีความเชื่อว่าอาณาจักรชัมบาลานี้ยังดำรงอยู่ ซ่อนเร้นอยู่ในหุบเขาอันลี้ลับในเทือกเขาหิมาลัย ทั้งยังมีบันทึกอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งบรรยายถึงสถานที่ตั้งและทิศทางที่จะไปสู่ชัมบาลา ทว่าข้อมูลเหล่านั้นเลอะเลือนมาก จนกระทั้งมีผู้สงสัยว่านี่จะเป็นจริงหรือ เป็นเพียงข้อเปรียบเปรยเท่านั้น ทั้งยังมีคัมภีร์หลายฉบับซึ่งบรรยายอย่างละเอียดลออ ถึงอาณาจักรแห่งนี้ ยกตัวอย่างเช่นตามที่อ้างอิงอยู่ใน "มหาอรรถกถาแห่งกาลจักร" ซึ่งเขียนโดย มิฟัม คุรุ ผู้มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่สิบเก้า ดินแดนชัมบาลานี้ตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำสิตะ ดินแดนแห่งนี้ถูกแบ่งออกโดยแนวเทือกเขาทั้งแปด พระราชวังของริกเดนหรือราชันผู้ปกครองชัมบาลานั้น สร้างอยู่บนยอดเขาทรงกลมซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางดินแดน มิฟัม บอกต่อไปว่า ขุนเขาลูกนี้ชื่อว่า ไกรลาส พระราชวังซึ่งมีชื่อว่า กัลปะ กว้างยาวหลายร้อยเส้น เบื้องหน้าพระราชวังทางทิศใต้มีสวนรุกขชาติอันงดงามที่ชื่อว่า มาลัย ตรงกึ่งกลางสวนรุกขชาตินี้มีวิหารซึ่งสร้างอุทิศถวายแด่กาลจักรโดยดาวะ สังโป
 
 
...... ตามตำนานอื่นๆ กลับกล่าวว่า อาณาจักรชัมบาลานี้ได้สาบสูญไปจากโลกหลายร้อยปีแล้ว มาถึงจุดหนึ่งเมื่อทั้งราชอาณาจักรได้บรรลุถึงการตรัสรู้ จึงได้สูญสลายไปดำรงอยู่ในมิติอื่น ตามตำนานกล่าวว่ากษัตริย์ริกเดนแห่งชัมบาลายังคงเฝ้าดูกิจกรรมทั้งมวลของมนุษย์โลกอยู่ แล้วสักวันหนึ่ง จะลงมาช่วยมนุษยชาติให้รอดหายนะ ยังมีชาวธิเบตอีกไม่น้อยที่เชื่อว่าราชันนักรบผู้ยิ่งใหญ่ กษัตริย์เกซาร์แห่งหลิง ทรงได้รับแรงบันดาลใจและได้รับการชี้นำจากกษัตริย์ริกเดน และปรีชาญาณชัมบาลานี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ที่ว่าอาณาจักรชัมบาลาดำรงอยู่ในมิติอื่น เพราะเชื่อกันว่าเกซาร์ก็ไม่เคยเดินทางไปยังชัมบาลา ดังนั้นสายสัมพันธ์กับชัมบาลา จึงเป็นเรื่องของการเชื่อมโยงทางภาวะธรรม ราชันเกซาร์มีชีวิตอยู่ประมาณศตวรรษที่สิบเอ็ด และได้ปกครองแว่นเคว้นหลิง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวิดคัมธิเบตตะวันออก จากรัชสมัยนี้เอง จึงอุบัติเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับปรีชาสามารถทั้ง ในแง่ของการศึกและการปกครอง เล่าขานกันไปทั้งธิเบตกลายเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ ของวรรณกรรมธิเบต บางตำนานก็กล่าวว่าเกซาร์จะปรากฎขึ้นมาอีกครั้งจากชัมบาลา นำทัพมาบำราบมารและพลังอันมืดดำในโลก
 
 
...... เมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิชาการชาวตะวันตกบางคนได้สันนิษฐานว่า อาณาจักรชัมบาลาอาจจะเป็นอาณาจักรโบราณแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีบันทึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ดังเช่นอาณาจักรชางซุงในเอเชียกลาง อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการหลายคนที่เชื่อว่าเรื่องราวเกี่ยวกับชัมบาลา เป็นเพียงเรื่องเล่าขานที่ไม่เป็นจริง แต่ในขณะที่อาจสรุปกันง่ายๆว่าอาณาจักรแห่งนี้เป็นเรื่องโกหกทั้งเพนั้น เราก็อาจเห็นได้ขัดถึงร่องรอยของความปรารถนาของมนุษย์ อันฝังรากแน่นอยู่ในสิ่งสูงและชีวิตอันดี มีประเพณีซึ่งถือว่าอาณาจักรชัมบาลามิใช่สถานที่ซึ่งดำรงอยู่ภายนอกหากเป็นรากฐานของสภาวะการหยั่งรู้และการประจักษ์แจ้ง อันเป็นศักยภาพที่ดำรงอยู่ภายในตัวมนุษย์ทุกคน จากทัศนะนี้เอง จึงไม่สำคัญว่า อาณาจักรชัมบาลาเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ หากควรที่เราจะเห็นคุณค่าและดำเนินตามอุดมคติของสังคมอริยะซึ่งแสดงนัยอยู่
 
 
..... ในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้นำเสนอข้อเขียนว่าด้วย "คำสอนของชัมบาลา" ซึ่งใช้ภาพของอาณาจักรชัมบาลาเพื่อแสดงถึงอุดมคติของการตรัสรู้ซึ่งปราศจากลัทธินิกาย นั่นก็คือ เสนอให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการยกระดับจิตวิญญาณของตนและของผู้อื่น โดยไม่ต้องอาศัยแนวทางหรือ ญานทัศนะของศาสนาใด เพราะแม้ว่าสายความคิดของชัมบาลาจะยืนพื้นอยู่บนหลักคิดและความนุ่มนวลของ วัฒนธรรมแบบพุทธ แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีรากฐานที่เป็นอิสระของตนเอง ซึ่งมุ่งตรงสู่การขัดเกลาให้เป็นมนุษย์ที่แท้ สังคมมนุษย์ปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหาอันหนักหน่วงนานับประการ จึงดูยิ่งจำเป็นจะต้องแสวงหาแนวทางอันเรียบง่าย และไร้ลัทธิเพื่อนำมาปฎิบัติและแบ่งปันประสบการณ์นั้นร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเองคำสอนชัมบาลาหรือ "ญานทัศนะชัมบาลา" ซึ่งเรียกกันอย่างกว้าง ๆ ตามนัยนี้ จึงเป็นเสมือนความพยายามอันหนึ่ง ที่จะผลักดันเกื้อหนุนให้ไปสู่ภาวะการดำรงอยู่อันสมบูรณ์สำหรับตัวเราและผู้อื่นด้วย
 
 
...... สภาวการณ์ของโลกปัจจุบันคือต้นตอแห่งความกังวลห่วงใยของเราทุกคน เป็นต้นว่า ความน่าหวาดเสียวของสงครามปรมาณู ความยากจนที่แผ่ลุกลามออกไป ความไม่มั่นคงทางภาวะเศรษฐกิจ ความปั่นป่วนวุ่นวายของสภาพสังคมและการเมือง และความวิกลวิการทางจิตใจแบบต่างๆ โลกนี้ล้วนตกอยู่ในความปั่นป่วนยุ่งเหยิง คำสอนของชัมบาลาตั้งอยู่บนพื้นปัญหาทั้งหลายของโลกได้ ปรีชาญาณประการนี้มิได้เป็นสมบัติเฉพาะของวัฒนธรรมใด หรือลัทธิศาสนาใด ทั้งมิได้มาจากตะวันตกหรือตะวันออก ทว่ามันสืบสายวัฒนธรรมของนักรบอันเก่าแก่ ซึ่งดำรงอยู่ในกระแสวัฒนธรรมต่างๆ ตอลดช่วงกาลที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์
 
 
..... ความเป็นนักรบในที่นี้มิได้หมายถึงการไปรบรากับผู้อื่น ความก้าวร้าวนั้นเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาทั้งหลายแหล่ มิใช่การแก้ไข คำว่านักรบนี้มาจากภาษาธิเบตว่า ปาโว ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้กล้า" ความเป็นนักรบตามนัยนี้ จึงเป็นวัฒนธรรมแห่งความกล้าหาญของมนุษย์ หรือเป็นวัฒนธรรมแห่งความไม่หวาดกลัว ชาวอเมริกันอินเดียนฝ่ายเหนือก็มีวัฒนธรรมดังกล่าว ทั้งในสังคมของอเมริกันอินเดียนฝ่ายใต้ก็มีอยู่เช่นกัน ซามูไรในอุดมคติของญี่ปุ่นก็แสดงออกถึงปรีชาญาณของนักรบด้วยเช่นกัน ทั้งในสังคมคริสเตียนของชาวตะวันตก ก็มีแนวความคิดเรื่องนักรบผู้เห็นธรรมอยู่ด้วย กษัตริย์อาเธอร์นั้นเป็นตำนานซึ่งเป็นแบบฉบับของนักรบที่แท้จริงในวัฒนธรรมตะวันตก และผู้ปกครองผู้ยิ่งใหญ่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ดังเช่นกษัตริย์เดวิด ก็เป็นแบบฉบับของนักรบซึ่งรู้จักกันดีทั้งในวัฒนธรรมของยิว และคริสเตียน บนโลกของเรานี้มีตัวอย่างของความเป็นนักรบอันเลอเลิศอยู่มากมาย
 
 
...... กุญแจที่ไขสู่ความเป็นนักรบและหลักการเบื้องต้นของญาณทัศนะชัมบาลาก็คือ การไม่กลัวความจริงในตนเอง ไม่ว่าเราจะเป็นใครก็ตามถึงที่สุดแล้ว คำจำกัดความของความกล้าคือ "ไม่กลัวตัวเอง" ญาณทัศนะชัมบาลาสอนดังนั้น เบื้องหน้าปัญหาอันยิ่งใหญ่ของโลกซึ่งเรากำลังเผชิญหน้าอยู่ เราก็อาจหาญกล้าและเมตตาได้ในขณะเดียวกัน ญาณทัศนะชัมบาลาคือสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว เมื่อเราเริ่มกลัวตัวเองและกลัวภัยคุกคามจากโลกปัจจุบัน เมื่อนั้นเราก็กลับเห็นแก่ตัวเองและกลัวภัยคุกคามจากโลกปัจจุบัน เมื่อนั้นเราก็กลับเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ เราปรารถนาจะสร้างรังเล็กๆ ของต้นขึ้น สร้างเปลือกขึ้นห่อหุ้มตัวเอง เพื่อว่าเราจะได้อยู่เพียงลำพังอย่างปลอดภัยในนั้น
 
 
...... ทว่าแท้จริงเราอาจกล้าได้มากกว่านั้น เราต้องพยายามคิดให้กว้างไกลออกไปกว่าบ้านของเรา คิดให้ไกลออกไปกว่าไฟที่ลุกอยู่ในเตา ไกลกว่าการส่งลูกหลานไปเข้าโรงเรียน หรือการตื่นขึ้นมาทำงานในตอนเช้า เราจะต้องพยายามขบคิดว่าเราจะสามารถช่วยโลกนี้ได้อย่างไร เพราะถ้าเราไม่ช่วยแล้วก็จะไม่มีใครอื่นช่วยเลย เป็นภารกิจของเราที่จะต้องช่วย ในขณะเดียวกัน การช่วยผู้อื่นมิได้หมายถึงการสละชีวิตส่วนตัวไป คุณไม่จะเป็นต้องลนลานรีบไปเป็นนายกเทศมนตรีหรือเป็นประธานาธิบดี เพื่อที่จะช่วยผู้อื่น แต่คุณสามารถเริ่มต้นจากญาติมิตรและผู้คนรอบ ๆ ตัว ที่จริงแล้วคุณอาจเริ่มต้นที่ต้นเองด้วยซ้ำ ข้อสำคัญก็คือต้องตระหนักอยู่เสมอว่าคุณจะต้องไม่ทอดทิ้งภารกิจของตนเอง คุณไม่อาจทำเป็นเพิกเฉยอยู่ได้ เพราะเหตุว่าโลกนี้ต้องการความช่วยเหลืออย่างยิ่ง
 
 
...... ในขณะที่ทุก ๆ คนต่างมีภาระรับผิดชอบที่จะต้องช่วยเหลือโลกแต่การณ์กลับจะเป็นว่า เราไปก่อกวนให้ยุ่งเหยิงมากยิ่งขึ้น หากเราพยายามจะไปยัดเยียดความคิดของเราหรือยัดเยียดความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น มีคนไม่น้อยที่รู้ทฤษฎีว่าโลกต้องการสิ่งใดบ้าง คนบางคนคิดว่าโลกต้องการคอมมิวนิสต์ บางคนคิดว่าโลกต้องการประชาธิปไตย บ้างก็คิดว่าเทคโนโลยีจะข่วยโลกให้รอด บ้างก็คิดว่าเทคโนโลยีจะทำลายล้างโลก คำสอนซัมบาลานั้นมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่จะปรับเปลี่ยนโลกให้เข้าไปอยู่ในทฤษฎีใด ๆ รากแก้วของญาณทัศนะชัมบาลามีว่า ในการที่จะสถาปนาสังคมอริยะสำหรับมนุษย์ เราจำเป็นที่จะต้องคนให้พบว่าเรามีของจริงสิ่งแท้อะไรอยู่ในตัวบ้าง ซึ่งอาจสามารถมอบไว้แก่โลก นั่นก็คือแรกสุด เราจะต้องพยายามพิจารณาดูประสบการณ์ของเราทั้งหมด เพื่อที่จะหยั่งเห็นให้ได้ว่าเรามีสิ่งมีค่าอะไรอยู่ในตัว ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับสภาวะความเป็นอยู่ทั้งหมดของตนเองและผู้อื่น
 
 
......ถ้าเราตั้งใจมองอย่างปราศจากอคติ เราจะพบว่านอกเหนือจากปัญหาและความสับสนทั้งมวลที่เรามีอยู่ นอกเหนือจากภาวะจิตและอารมณ์ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ แล้ว ยังมีบางสิ่งบางอย่างอันเป็นความดีงามรากฐานของการเกิดมาเป็นมนุษย์ นอกเสียจากเราจะสามารถค้นพบถึงรากฐานแห่งความดีงามในชีวิตของเราอันนั้น หาไม่เราก็มิอาจหวังที่จะช่วยเกื้อหนุนขีวิตของผู้อื่นไปในทางสูงได้เลย ถ้าหากเราเป็นเพียงสัตว์โลกผู้โชคร้ายและน่าสงสาร เรายังจะสามารถฝันถึงสังคมอริยะได้อยู่อีกหรือ
 
 
.... การค้นพบถึงความดีงามที่แท้จริง ย่อมเกิดจากการแลเห็นถึงคุณค่าความหมายของประสบการณ์แม้ที่ธรรมดาสามัญที่สุด เรามิได้กำลังพูดถึงความหมายของประสบการณ์แม้ที่ธรรมดาสามัญที่สุด เรามิได้กำลังพูดถึงความรู้สึกดีๆ ซึ่งเกิดจากการที่เราหาเงินได้เป็นล้าน หรือการเรียนจบมหาวิทยาลัย หรือการซื่อบ้านใหม่ได้ แต่เรากำลังพูดถึงความดีงามรากฐานของการมีชีวิตอยู่ ซึ่งมิได้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จหรือการบรรลุถึงสิ่งที่มุ่งหวัง เราได้สัมผัสถึงความดีงามชั่วแวบหนึ่งอยู่เสมอ แต่เราพลาดที่จะประจักษ์เราได้สัมผัสถึงความดีงามชั่วแวบหนึ่งอยู่เสมอ แต่เราพลาดที่จะประจักษ์แจ้งอย่างถ่องแท้ เมื่อเราแลเห็นสีสันอันสดใสนั้น แต่เราพลาดที่จะประจักษ์พยานถึงแก่นสารอันดีงามซึ่งมีอยู่ในตัวเรา เมื่อเราได้ยินเสียงอันไพเราะก็เท่ากับเรากำลังสดับฟังแก่นแท้อันดีงามของเราเอง เมื่อเราก้าวออกไปสู่สายฝนเราย่อมรู้สึกสะอาดสดชื่น และเมื่อเราเดินออกจากห้องที่อึดอัดปิดล้อม เราย่อมดื่มด่ำในอากาศสดชื่นที่พรั่งพรูเข้ามา เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วเศษเสี้ยววินาที แต่มันล้วนเป็นประสบการณ์ที่แท้จริงของความดีงาม มันอุบัติขึ้นกับเราอยู่ตลอดเวลา แต่โดยปรกติแล้วเรากลับไม่ใส่ใจ ถึอว่าเป็นเพียงสิ่งดาษ ๆ เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น ทว่าตามหลัการชัมบาลาแลัว กลับถึอว่าจำเป็นยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงและหยิบฉวยชั่วขณะเหล่านั้นไว้ ด้วยว่ามันแสดงออกถึงรากฐานแห่งอหิงสาและความสดใสใหม่ในชีวิตของเรา ซึ่งก็คือรากฐานแห่งความดีงามนั่นเอง
 

..... มนุษย์ทุกคนมีรากฐานแห่งธรรมชาติอันดีงามนี้อยู่ มันเป็นสิ่งที่เข้มข้นและชัดเจนยิ่ง ความดีงามนั้นบรรจุไว้ด้วยความอ่อนโยนและความละเอียดอย่างล้นเหลือ ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ เราอาจร่วมเพศทั้งอาจสัมผัสใครอย่างอ่อนโยน เราอาจจุมพิตใครบางคนด้วยความรู้สึกเข้าอกเข้าใจอันละเอียดอ่อน เราอาจดื่มด่ำซาบซึ้งในความงาม อาจเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีที่สุดในโลกนี้ เราอาจชื่นชมในความสดใสกระจ่างของสีสันต่างๆ ในความเหลืองใสของสีเหลือง ในความแดงจ้าของสีแดง ในความเขียวสดของสีเขียวและในความม่วงเข้มของสีม่วง ประสบการณ์ของเราล้วนจริงจังยิ่ง ในเมื่อสีเหลืองเป็นสีเหลือง เราจะสามารถบอกได้หรือว่ามันเป็นสีแดง เพียงเพราะว่าไม่ชอบความเหลืองของมัน ถ้าทำดังนั้นก็เท่ากับบิดเบือนความจริง เมื่อเรามีแดดสว่างสดใสเราจะปฎิเสธมันโดยการกล่าวว่าแดดนั้นเป็นสิ่งเลวได้ละหรือ คิดหรือว่าเราจะสามารถพูดดังนี้ได้ เมื่อใดก็ตามที่มีแดดส่องสว่างหรือมีหิมะตก เราทำได้ก็แต่เพียงตระหนักซึ้งถึงคุณค่าของมัน เมื่อเราตระหนักและยอมรับได้ถึงความจริง สิ่งนั้นย่อมส่งผลถึงตัวเราด้วย เราอาจต้องลุกขึ้นมาในยามเช้าหลังจากได้นอนเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ถ้าหากเรามองออกไปนอกหน้าต่างและได้เห็นดวงอาทิตย์ฉายแสงสิ่งที่เห็นอาจช่วยให้เรากระปรี้กระเปร่าขึ้น เราอาจเยียวยาตนเองให้หายจากความรู้สึกกดดันต่างๆ ได้ ถ้าเราตระหนักว่าโลกของเรานี้ดีงาม
 
 
 
..... การที่ว่าโลกนี้ดีงาม มิใช่เป็นเพียงความคิดอย่างผิวเผิน ทว่ามันดีเพราะเหตุที่เราสามารถสัมผัสถึงความดีงามของมัน เราอาจสัมผัสได้ว่าโลกของเรานี้สมบูรณ์และเที่ยงตรง ตรงไปตรงมาและจริงยิ่ง ด้วยเหตุว่าธรรมชาติพื้นฐานของเราดำเนินร่วมไปกับความดีงามของสถานการณ์ศักยภาพของมนุษย์ในเชิงภูมิปัญญา และความสง่างาม ย่อมมุ่งสู่การสัมผัสถึงความแจ่มกระจ่างของฟากฟ้าสีครามสดใส สู่ความสดฉ่ำของท้องทุ่งเขียวขจี และความงามของแมกไม้และป่าเขาอยู่กับความจริงซึ่งอาจปลุกเราให้ตื่นขึ้นและทำให้เรารู้สึกดี ๆ อย่างแท้จริงญาณทัศนะชัมบาลาจึงมุ่งผสานเข้ากับศักยภาพของเราเพื่อปลุกเราให้ตื่นขึ้น และตระหนักถึงสิ่งดีๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับเรา ซึ่งที่จริงมันได้เกิดขึ้นแล้วด้วยซ้ำ
 
 
.... กระนั้นก็ตาม ยังมีสิ่งน่ากังขาอยู่อีก คุณอาจจะสร้างสายใยเชื่อมโยงอย่างวิเศษกับโลกของคุณได้ คุณอาจแลเห็นแสงแดดส่องสว่าง เห็นสีสันอันสดใส ได้ยินดนตรีอันไพเราะ ได้กินอาหารรสดีหรืออะไรก็ตามแต่ทว่าการและเห็นชั่วแวบถึงความดีงามเหล่านั้น จะสัมพันธ์กับประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่อย่างไรเล่า โดยนัยหนึ่ง คุณอาจรู้สึกว่า "ฉันต้องการจะได้ความดีงามซึ่งมีอยู่ในตัวฉันและในโลกแห่งปรากฎการณ์นั้นมา" ดังนั้น คุณจึงวิ่งพล่านเที่ยวเสาะหาหนทางทีจะครอบครองมันไว้ หรือหยาบยิ่งไปกว่านั้น คุณอาจจะพูดว่า "ถ้าอยากได้ จะขายเท่าไร ประสบการณ์นั้นงดงามมาก ฉันอยากจะได้มันไว้" ปัญหาของวิธีการชนิดนี้ก็คือ คุณจะไม่มีวันพึงพอใจแม้ว่าคุณจะได้สิ่งที่ต้องการมา เพราะว่าคุณก็ยังคงมีความอยากอย่างรุนแรงอยู่นั่นเอง ถ้าคุณลองเดินไปตามถนนสายที่ห้า คุณจะเห็นเรื่องน่าเศร้าใจทำนองนี้ คุณอาจจะกล่าวว่าผู้คนที่เดินซื้อของอยู่ตามถนนสายที่ห้า ล้วนเป็นผู้มีรสนิยม ดังนั้น เขาจึงมีโอกาสที่จะตระหนักได้ถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ แต่อีกนัยหนึ่ง ก็ประหนึ่งว่าคนเหล่านั้นห่มคลุมอยู่ด้วยหนาม เขาต้องการจะหยิบฉวยมาครอบครองไว้ให้ได้มากขึ้นๆ
 
...... และแล้ว ก็ยังมีวิธีการอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือการยอมหมอบราบคาบแก้ว หรือการน้อมตนลงเพื่อเข้าถึงความดีงามชนิดนั้น มีใครบางคนบอกว่า เขาอาจทำให้คุณมีความสุขได้ ถ้าคุณจะเพียงแต่มอบชีวิตให้เขาจัดการ ถ้าหากคุณเชื่อเขาก็จะมอบความดีงามที่คุณต้องการให้ คุณอาจจะเต็มใจยอมโกนหัวหรือนุ่งห่มจีวรหรือกระทั่งยอมคลานบนพื้นหรือกินอาหารด้วยมือด้วยหวังจะเข้าถึงความดีงาม คุณพร้อมที่จะแลกด้วยศักดิ์ศรีของตนเองและยอมตนเป็นทาส
 
 
..... สภาพการณ์ทั้งสองอย่างล้วนเป็นความพยายามเพื่อจะเข้าถึงบางสิ่งบางอย่างที่ดีงามและจริงแท้ ถ้าคุณร่ำรวย คุณคงพร้อมที่จะเสียเงินมากมายเพื่อให้ได้มา หรือถ้าหากคุณจน คุณก็คงพร้อมที่จะอุทิศชีวิตเพื่อมันแต่ทว่าวิธีการทั้งสองนั้นล้วนผิดพลาด
 
 
...... สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ เมื่อเราเริ่มประจักษ์แจ้งถึงศักยภาพแห่งความดีงามในตนเอง เรามักจะถือเอาการค้นพบนี้เป็นจริงเป็นจังเกินไป เราอาจจะฆ่ากันเพื่อความดีงาม แม้กระทั่งยอมตายเพื่อความดีงาม เราปรารถนามันอย่างสุดจิตสุดใจ แต่สิ่งที่เราขาดก็คือ อารมณ์ขันในที่นี้มิได้หมายถึงการเล่าเรื่องขำขัน หรือเป็นคนตลก หรือเที่ยววิพากษ์วิจารณ์คนอื่นและหัวเราะเยาะ อารมณ์ขันที่แท้จริงนั้นคือ การสัมผัสอย่างแผ่วเบา มิใช่การปฎิเสธความจริงโดยสิ้นเชิง หากแต่หมายถึงการชื่นชมในความจริง ด้วยอาการอันนุ่มนวลแผ่วเบา รากฐานของญาณทัศนะชัมบาลาก็คือการค้นให้พบถึงอารมณ์ขันอันสมบูรณ์และจริงแท้ ค้นให้พบถึงสัมผัสแผ่วเบาของความชื่นชมนั้น
 
..... ถ้าคุณลองมองดูตัวเอง ลองมองดูจิตใจมองดูกิจกรรมของตนเองคุณอาจจะได้อารมณ์ขัน ซึ่งสูญหายไปในอดีตกลับคืนมา จุดเริ่มต้นก็คือ คุณจะต้องเฝ้าดูความจริงอันธรรมดาสามัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นมีด เป็นส้อมจาน โทรศัพท์ เครื่องล้างจานหรือผ้าเข็ดตัว เฝ้าดูเจ้าสิ่งสามัญเหล่านี้แหละ มันไม่มีอะไรที่ดูลึกลับซับซ้อนหรือ แปลกประหลาดหรอก แต่ถ้าหากไม่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างตัวคุณกับเหตุการณ์ธรรมดาสามัญในชีวิตเหล่านั้น ถ้าคุณไม่ได้เฝ้าดูวิถีชีวิตอันต่ำต้อยสามัญนี้แล้ว คุณจะไม่มีวันได้ค้นพบอารมณ์ขัน หรือศักดิ์ศรี หรือแม้แต่ความจริงใด ๆ เลย
 
..... ไม่ว่าจะเป็นการหวีผม การแต่งตัว การล้างจาน กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งแห่งสติสัมปชัญญะ มันล้วนเป็นหนทางที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความจริง แน่นอน ส้อมก็คือส้อม คือเครื่องมือพื้น ๆ สำหรับใช้ในการกิน แต่ในขณะเดียวกัน ในการขยายปริมณฑลของสติสัมปชัญญะให้กว้างไกลออกไป อาจจะขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้ส้อมอย่างไรด้วย พูดง่ายๆ ก็คือญาณทัศนะชัมบาลานั้นก็คือความพยายามที่จะกระตุ้นคุณให้ประจักษ์ว่าคุณมีชีวิตอยู่อย่างไร มีความสัมพันธ์กับชีวิตสามัญอย่างไร
 
..... ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ เราจึงมีสถาวะที่ตื่นอยู่เป็นพื้นฐาน ทั้งยังมีความสามารถที่จะเข้าใจความจริงได้ด้วย เรามิใช่ทาสของชีวิต หากเป็นอิสระ การเป็นอิสระในที่นี้มีความหมายง่าย ๆ ว่าเรามีร่างกายและจิตใจ ดังนั้นเราจึงสามารถยกระดับตนเองขึ้นมา เพื่อที่จะสามารถกระทำการร่วมกับความจริงอย่างสง่างามและเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน แต่มันก็มิได้เยาะเย้ยเรา เราจะพบว่าในที่สุดเราจะสามารถจัดการกับโลกของเรา จัดการกับจักรวาลของเราอย่างเหมาะสม และเต็มเปี่ยมด้วยอาการอันแยบยล
 
...... การค้นพบถึงความดีงามรากฐานนี้มิใช่ประสบการณ์ทางศาสนาโดยเฉพาะเจาะจง หากแต่เป็นการประจักษ์ว่าเราสามารถสัมผัสและกระทำการร่วมกับความจริงได้โดยตรง คือโลกที่เป็นจริงซึ่งเรามีชีวิตอยู่นั้นเอง การสัมผัสได้ถึงความดีงามรากฐานในชีวิตของเรา ย่อมทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้มีสติปัญญาและใช้การได้ ทั้งโลกนี้ก็มิใช่ศัตรูของเรา เมื่อเรารู้สึกว่า ชีวิตของเรานั้นดีงามและถูกทำนองคลองธรรม เราก็ไม่จำเป็นจะต้องหลอกตัวเอง หรือลวงคนอื่นอีกต่อไป เราอาจและดูชีวิตอันแสนสั้นนี้โดยไม่รู้สึกผิดหรือไร้ค่า และขณะเดียวกันก็อาจแลเห็นถึงศักยภาพที่จะแผ่ขยายความดีงามออกไปยังผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็มั่นคงยิ่ง
 
..... แก่นแท้ของความเป็นนักรบหรือแก่นแท้แห่งความกล้าหาญของมนุษย์นั้น ย่อมไม่ยอมสยบพ่ายแพ้ต่อสิ่งใดทั้งสิ้น เราไม่มีวันพูดว่าเรากำลังจะแตกกระจายออกเป็นเสี่ยงๆ เราไม่อาจพูดว่าคนอื่นก็จะต้องเป็นเช่นนั้น และโลกด้วยเช่นกัน ชั่วชีวิตของเราอาจจะมีปัญหาอันหนักหน่วงมากมายในโลก แต่ขอให้เรามั่นใจว่าชั่วชีวิตนี้จะไม่มีความหายนะใด ๆ อุบัติขึ้น เราอาจป้องกันได้ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา อย่างน้อยที่สุดเราอาจช่วยโลกให้รอดจากหายนะ ญาณทัศนะชัมบาลามีอยู่เพื่อสิ่งนี้ มันเป็นอุดมคติเก่าแก่ที่มีมานานนับศตวรรษ นั่นคือ โดยการรับใช้โลกนี้ เราก็อาจช่วยมันให้รอด แต่การช่วยให้รอดก็ยังไม่เพียงพอ เรายังจะต้องกระทำการเพื่อสร้างสังคมมนุษย์ที่เป็นอริยะขึ้นมาด้วย
 
..... ในหนังสือเล่มนี้ เรากำลังจะพูดถึงรากฐานแห่งสังคมอริยะและหนทางที่นำไปสู่ แทนที่จะมามัวพูดถึงสังคมอุดมคติว่าควรจะเป็นเช่นไร ถ้าเราปรารถนาจะช่วยโลกให้รอด เราจะต้องก้าวเดินไปด้วยตัวเอง แทนที่จะมาขบคิดถึงแต่ทฤษฎีหรือคาดเดาถึง จุดหมายปลายทาง ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับเราแต่ละคนว่าจะสร้าง ค้นหาความหมายของสังคมอริยะได้อย่างไรและจะบรรลุถึงได้อย่างไร ข้าพเจ้าเพียงมุ่งหวังว่าการนำเสนอซึ่งวิถีแห่งนักรับของชัมบาลานี้ อาจมีส่วนช่วยเกื้อหนุนให้เกิดการค้นพบได้อีกโสดหนึ่ง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2016, 02:01:27 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...