ข้อนี้อธิบายว่า
การเจริญโพชฌงค์ ก็เป็นเช่นเดียวกับ
การเจริญอานาปานสติ กล่าวคือ มีหลักเกณฑ์อย่างหลายวิธี ต่อเมื่อเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์เท่านั้น จึงจะสำเร็จประโยชน์ หรือตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงประสงค์.
อานาปานสติ อย่างของอริฏฐภิกษุ ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์
ต้องเป็นอานาปานสติที่มีวัตถุ ๑๖ จึงจะสำเร็จประโยชน์. ข้อนี้ฉันใด กรณีของการเจริญโพชฌงค์ ก็ฉันนั้น กล่าวคือการเจริญโพชฌงค์ในลักษณะอย่างอื่น ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ แต่ต้องเป็น
โพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก ที่อาศัยวิราคะ ที่อาศัยนิโรธ และที่น้อมไปเพื่อโวสัคคะเท่านั้น จึงจะสำเร็จประโยชน์.
คำว่า
อาศัยวิเวก หมายความว่า การปฏิบัติของบุคคลนั้นปรารภวิเวกมีวิเวกเป็นที่มุ่งหมาย. คำว่า วิเวก โดยเฉพาะหมายถึงทั้งกายวิเวก จิตตวิเวกและอุปธิวิเวก. การเจริญอานาปานสติในที่สงัด ชื่อว่าปรารภหรืออาศัยกายวิเวกอยู่แล้ว ;
การทำจิตให้สงบในอานาปานสติขั้นที่หนึ่งถึงขั้นที่สี่ เป็นการปรารภหรืออาศัยจิตตวิเวก ;
อานาปานสติขั้นที่ห้าขึ้นไป จนถึง
ขั้นสุดท้าย ย่อมปรารภหรืออาศัย
อุปธิวิเวกโดยตรง และจัดเป็นวิเวกอื่นโดยอ้อม.เพราะฉะนั้นการเจรญิสัมโพชฌงค์ โดยอาศัยอานาปานสติเป็น
บาทฐานจึงเป็นการกระทำที่อาจกล่าวได้ว่า อาศัยวิเวกโดยสมบูรณ์.
กายวิเวกแปลว่าสงัดทางกาย คือกายไม่ถูกรบกวนด้วยสิ่งแวดล้อม.
จิตตวิเวกแปลว่าความสงัดทางจิต หมายถึงจิตที่ไม่ถูกนิวรณ์รบกวน.
อุปธิวิเวก แปลว่า ความสงัดจากอุปธิหมายถึงสันดาน
ไม่มีกิเลสอันละเอียดประเภทสัญโญชน์ อนุสัยรบกวน ข้อนี้ทำให้เห็นได้ว่า
ข้อปฏิบัติที่อาศัยวิเวก ย่อมเป็นข้อปฏิบัติที่ถูกตรงถึงที่สุด.
คำว่า
อาศัยวิราคะ หมายความว่า ปรารภหรืออาศัยความจางคลายกล่าวคือ
ความคลายออกของความกำหนัด ซึ่งมีอาการเหมือนกับการย้อมติดของสิ่งที่ย้อมผ้า เป็นต้น ข้อปฏิบัติ
ที่ทำให้ราคะหน่ายออก เรียกว่าข้อปฏิบัติอาศัยวิราคะทั้งนั้น การเจริญอานาปานสติ ทำให้มีการ
คลายออกจากอารมณ์ทางกามไปตั้งแต่ต้นจนปลาย แต่ในขั้นต้น ๆ ยังเป็นไปโดยอ้อมมากเกินไป จึงสังเกตได้ยาก นับตั้งแต่อานาปานสติ
ขั้นที่ห้าเป็นต้นไป
ย่อมเห็นอาการที่เป็นไปเพื่อวิราคะโดยชัดแจ้ง และชัดแจ้งเป็นพิเศษในอานาปานสติ
ขั้นที่ ๑๔. เพราะฉะนั้นการเจริญโพชฌงค์
ที่ตั้งรากฐานอยู่บนอานาปานสติ จึงเป็น
โพชฌงค์ที่อาศัยวิราคะ.
คำว่า
อาศัยนิโรธ หมายถึงปรารภหรือ
อาศัยความดับ หรือธรรมเป็นที่ดับ ด้วยความมุ่งหมายจะไม่ให้มีการเกิดขึ้น โดย
นัยแห่ง
ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร ; แต่ประสงค์จะให้มีการดับลง โดยอาการแห่ง
ปฏิจจนิโรธ ซึ่งมักชอบเรียกกันว่า
ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร. การเจริญอานาปานสติไม่เปิดโอกาสให้แก่
การเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร โดยประการทั้งปวง กล่าวคือไม่มีการปรุงแต่งของ
สังขารธรรม จนกระทั่งความทุกข์เกิดขึ้น โดยเฉพาะ เช่นเวทนา จะถูกทำ ให้ดับไป
ไม่ปรุงแต่งสัญญาและวิตก ดังที่กล่าวแล้วในอานาปานสติ
ขั้นที่แปดโดยละเอียด และใน
ขั้นที่ ๑๕ อีกครั้งหนึ่งโดยสรุป. การปฏิบัติโดยทำนองนั้น มีแต่จะทำให้
เกิดความดับ มาเสียตั้งแต่ขั้นที่ยังเป็นเพียง
ผัสสะด้วยซ้ำไป กล่าวคือ
พอสักว่ากระทบผัสสะ ก็มี
สติควบคุมไม่ให้เกิดเป็น
เวทนาขึ้นมาได้ เรียกว่าดับไปเสียตั้งแต่ในขั้นที่เป็นผัสสะ
ถ้าดับไม่ได้ในขั้นผัสสะ คือเกิดเป็นเวทนาขึ้นเสียแล้ว ก็ให้ดับเสียเพียงขั้นที่เป็นเวทนา ไม่ปล่อยให้ปรุงเป็นสัญญา คือความสำคัญว่าเวทนาเป็นของเรา เป็นต้น และไม่ปล่อยให้สัญญาปรุงจนเกิดวิตก หรือตัณหา อันได้แก่ความคิดอยากอย่างนั้นอย่างนี้จนกระทั่งเกิดทุกข์ตามควรแก่ตัณหานั้น. อานาปานสติ ย่อมเป็นไปเพื่อความรำงับ ความดับแห่งปฏิจจสมุปบาทธรรมโดยอาการอย่างนี้เสมอไป เพราะฉะนั้นการเจริญโพชฌงค์ ที่ตั้ง
รากฐานอยู่บน
อานาปานสติ จึงเป็นการปฏิบัติที่อาศัย
นิโรธโดยสมบูรณ์อีก อย่างเดียวกัน.
คำว่า “
น้อมไปเพื่อโวสัคคะ” หมายความว่า เป็นไปเพื่อ
ความสลัดหรือการปล่อย การวาง ซึ่งสิ่งที่เคยยึดถือไว้ โดยความเป็นตัวตน หรือโดยความเป็นของของตน. ตามปกติ
เบญจขันธ์ที่เป็นภายในทั้งหมด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งถูกยึดถือไว้โดยความเป็นตัวตน
เบญจขันธ์ภายนอก หรือเบญจขันธ์ที่เหลือจากนั้นถูกยึดถือไว้โดยความเป็นของของตน
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกสละ จึงได้แก่เบญจขันธ์ทั้งปวง ที่กำลังถูกยึดถืออยู่ด้วยอุปาทานนั่นเอง. การเจริญอานาปานสติที่เป็นไปอย่างถูกต้อง กล่าวคือ ที่เป็น
สติปัฏฐานทั้งสี่อยู่ในตัว ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นย่อมสลัดความยึดถือว่าตน หรือของของตนมาแล้วตั้งแต่ต้นทีเดียว กล่าวคือ เมื่อมีการพิจารณาลมหายใจ โดยประการใดก็ตาม ย่อม
กำหนดลมหายใจ หรือ
กายนั้นโดยความเป็นของไม่ใช่ตน หรือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มาแล้วโดยปริยาย ; ในการกำหนด
เวทนาและจิต ก็มีการพิจารณาโดยทำนองนั้นเป็นลำดับมาและสูงยิ่งขึ้น. ครั้นมาถึง
อานาปานสติขั้นที่ ๑๖ มีการย้อนกลับไปพิจารณาโดยความไม่ใช่ตนนี้ ตั้งต้นมาใหม่ตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งเป็นลำดับมาอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นในการเจริญอานาปานสติ ที่สมบูรณ์ด้วยวัตถุ ๑๖ จึงมีการพิจารณา ที่เป็นการ
สลัดคืนสิ่งทั้งปวง โดยประการทั้งปวง จากความเป็นตัวตนและเป็นของของตนอย่างสิ้นเชิง. โดยเหตุดังกล่าวมานี้ การเจริญโพชฌงค์ที่ตั้งรากฐานอยู่บนอานาปานสติ มีวัตถุ ๑๖ จึงได้ชื่อว่า “
โวสสัคคปริณามี” คือ
น้อมไปรอบเพื่อการปล่อยลง หรือสลัดลงโดยสมบูรณ์ ดังนี้.
เมื่อพิจารณาดูอีกทางหนึ่ง ย่อมพบว่าชื่อทั้ง ๔ นี้ คือ
วิเวกก็ดี วิราคะก็ดี นิโรธก็ดี และโวสัคคะก็ดี เป็นคำ แทนชื่อของคำ ว่า “
นิพพาน” เพราะว่า
อาการทั้ง ๔ นั้นเมื่อเป็นไป
ถึงที่สุดแล้ว ย่อมหมายถึงการบรรลุถึงนิพพาน :
วิเวกเป็นชื่อของนิพพาน เพราะสลัดจากกิเลสและความทุกข์.
วิราคะเป็นชื่อของนิพพาน เพราะความจางออกของกิเลส โดยไม่มีส่วนเหลือ.
นิโรธเป็นชื่อของนิพาน เพราะการดับความปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง.
โวสสัคคะ เป็นชื่อของนิพพานเพราะความไม่มีอะไรเกี่ยวเกาะโดยประการทั้งปวง. ฉะนั้น เมื่อถือเอาโดยนัยนี้เป็นอันกล่าวได้ว่า
การเจริญโพชฌงค์ ที่ตั้งรากฐานอยู่บน
อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ นั้น ย่อมเป็นการปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อนิพพานโดยตรง แล้วทำไมจะไม่ทำให้
วิชชาและวิมุตติสมบูรณ์ได้เล่า. เมื่อมีการแยกกล่าวเป็นวิชชาและวิมุตติ ก็หมายความว่า กล่าวถึง
ความรู้กับความหลุดพ้น.
ญาณต่าง ๆ ในอานาปานสติทั้งหมด เรียกว่า
วิชชาในที่นี้,
ผลของ
อานาปานสติ คือความหลุดพ้นจากิเลสและความทุกข์เรียกว่า
วิมุตติในที่นี้. เพราะฉะนั้น การเจริญโพชฌงค์ ที่ตั้ง
รากฐานอยู่บน
อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ย่อมทำ
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.
จากข้อความทั้งหมดนี้ ทำให้สรุปความได้ว่า การเจริญอานาปานสติที่มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่นั้น ได้แก่การเจริญ
อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ดังที่กล่าวมาแล้ว เพราะเป็นอานาปานสติ ที่ทำ
สติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ และทำ
โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ และทำ
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ในที่สุด หรือถ้ากล่าวกลับกันก็กล่าวได้ว่า การ
เจริญสติปัฏฐานและการเจริญโพชฌงค์ ที่เป็นไปอย่างสำเร็จประโยชน์ถึงที่สุดนั้น ต้องตั้งรากฐานอยู่บนอานาปานสติ หรือประกอบด้วยอานาปานสติอยู่ในตัว สมดังพระพุทธภาษิตที่ควรอ้างถึงเป็นข้อสุดท้ายจาก
มหาวาร. สํ. (๑๙ / ๓๙๕ / ๑๓๐๘) อีกครั้งหนึ่งว่า :-
“ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
อย่างไรเล่าจึงมีผลใหญ่
มีอานิสงส์ใหญ่ ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ สหรคตะด้วยอานาปานสติ (คือทำพร้อมกับอานาปานสติ)…. ; ย่อมเจริญ
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สหรคตะด้วยอานาปานสติ…. ; ย่อมเจริญ
วิริยสัมโพชฌงค์ สหรคตะด้วยอานาปานสติ…. ; ย่อมเจริญ
ปีติสัมโพชฌงค์ สหรคตะด้วยอานาปานสติ…. ;ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สหรคตะด้วยอานาปานสติ…. ; ย่อมเจริญ
สมาธิสัมโพชฌงค์ สหรคตะด้วยอานาปานสติ…. ; ย่อมเจริญ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ สหรคตะด้วยอานาปานสติ…. ; เป็น
โพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก เป็นโพชฌงค์ที่อาศัยวิราคะ เป็นโพชฌงค์ที่อาศัยนิโรธ เป็นโพชฌงค์ที่
น้อมไปเพื่อ
โวสสัคคะ.
ภิกษุ ท. !
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่” ดังนี้.
Credit by :
http://sites.google.com/site/smartdhamma/smartdhamma.googlepages.compart23_anapanอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ