ตอน ๑๕ คุณของโลกปัญหา มีคนกล่าวว่า พุทธศาสนาเป็นลัทธินิยม มองโลกแต่ในแง่ร้าย มองเห็นแต่ความทุกข์ความโศกของโลก มีความจริงเพียงใด ?
พุทธดำรัสตอบ "
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณในโลกนี้จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงกำหนัดยินดีในโลก แต่เพราะคุณในโลกมีอยู่ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดยินดีในโลก
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าโทษในโลกนี้ไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะโทษในโลกมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในโลก"
อัสสาทสูตรเหตุให้เกิดภพปัญหา อะไรเป็นเหตุให้สัตว์เกิดในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์
เมื่อกรรมที่อำนวยผลให้กามธาตุ... ในรูปธาตุ.. ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้วกามภพ... รูปภพ... อรูปภพ พึงปรากฏบ้างหรือหนอ (เมื่อพระอานนท์ทูลตอบว่า ไม่พึงปรากฏเลย ได้ตรัสต่อไปว่า) ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณ... เจตนา... ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลว... อย่างกลาง... อย่างประณีตของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดใหม่ใน
ภพต่อไปอีก"
นวสูตรวัฏสงสารที่ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลายปัญหา เราอาจจะทราบได้ไหมว่า เราเริ่มเกิดขึ้นในวัฏสงสารเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อใด
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้
กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย
ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี
อวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มี
ตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้
สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด
ส่วนว่าหญ้า กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี
อวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มี
ตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้"
ติณกัฏฐสูตรผู้เสียสละนั้นดีแล้วหรือ ?ปัญหา คนบางคนชอบสละเวลาของตนทำประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างเดียว เพิกเฉยละเลยประโยชน์ของตน ชาวโลกสรรเสริญว่าเป็นคนเสียสละเห็นแก่ส่วนรวมควรได้รับการยกย่อง พระพุทธองค์ทรงยกย่องคนประเภทนี้อย่างไรหรือไม่ ?
พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น๑ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน๑ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น๑
ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ๑ ...บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ เป็นประธาน อุดม และเป็นผู้ประเสริฐ..."
ฉลาวาตสูตรวิธีตอบคำถามปัญหา ถ้ามีคนมาถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่เรา เราควรจะพิจารณาตอบอย่างไรบ้าง ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีตอบปัญหามีอยู่ ๔ ประการ ๔ ประการนั้นคืออะไรบ้าง
คือ
ปัญหาที่พึงตอบทันที ๑ ปัญหาที่พึงแยกตอบบางประเด็น ๑ ปัญหาที่พึงย้อนถามก่อนแล้วจึงตอบ ๑ ปัญหาที่ควรงดไว้ (ไม่ตอบ) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิธีตอบปัญหามี ๔ อย่างนี้แล...
ปัญหาสูตรรู้มาก ๆ เพียงพอหรือยัง ?ปัญหา ความเป็นพหูสูตร คือได้เรียนรู้มาก พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเป็นมงคลประการหนึ่ง แต่ถ้าเราเป็นพหูสูตอย่างเดียวจะเพียงพอหรือไม่ ? มีอะไรที่จะต้องเรียนรู้อีก ?
พุทธดำรัสตอบ "...บุคคลบางคนในโลกนี้เล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เขาไม่รู้
ทั่วถึงตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ บุคคลนี้เป็นดุจวลาหก (เมฆ) คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก...
"...การก้าวการถอยการเหลียวการแลการคู้การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรของบุคคลบางคนในโลกนี้ ล้วนน่าเลื่อมใส
แต่เขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ บุคคล (นี้)เป็นดุจห้วงน้ำตื้นเงาลึก... เป็นดุจหม้อเปล่าที่เขาปิดไว้... เป็นดุจมะม่วงดิบผิวสุก... เป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่..."
วลาหกสูตรที่ ๖ควรศึกษาค้นคว้าอวกาศหรือไม่?ปัญหา ในห้วงอากาศอันหาที่สุดมิได้นี้ จะมีที่แห่งใดแห่งหนึ่งหรือไม่ ซึ่งสัตว์ทั้งหลายไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ซึ่งเราควรไปถึง ควรรู้ ควรเห็น เพื่อความดับทุกข์ ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนผู้มีอายุ สัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติในที่ใด เราไม่ประกาศว่าที่นั่นเป็นที่สุดแห่งโลกที่ควรรู้ที่ควรเห็นที่ควรไปถึงได้ด้วยการเดินทางอีกทั้งเราก็ไม่ประกาศว่า จักมีการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ โดยไม่ไปถึงที่สุดแห่งโลก
"ผู้มีอายุ...
เราย่อมบัญญัติโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับแห่งโลก ลงที่ร่างกายอันมีความยาวประมาณหนึ่ง มีสัญญาและมีใจครองนี้เท่านั้น..."
โรหิตตัสสูตรที่ ๑ศาสนาอื่นมีพระอริยบุคคลหรือไม่ ?ปัญหา พระอริยบุคคลที่ได้บรรลุมรรคผล เช่น
พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอานาคามีและพระอรหันต์มีอยู่ในศาสนาอื่นหรือไม่ ? หรือว่ามีเฉพาะในพระพุทธศาสนา ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะมีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๑...สมณะที่ ๒...สมณะที่ ๓... สมณะที่ ๔... มีในธรรมวินัยนี้ที่ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาท (ประกาศ)
โดยชอบอย่างนี้เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน ?
"ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะ
สิ้นสังโยชน์ ๓ (สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาา) เป็น
พระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะที่ ๑
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
สิ้นสังโยชน์ ๓และเพราะ
ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง เป็น
พระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ (เป็น
พระอนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๔ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน...นี้สมณะที่ ๔
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑... ที่ ๒... ที่ ๓... ที่ ๔... มีใน
ธรรมวินัยนี้
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลาย
จงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด"
กรรมวรรคโทษของความโกรธปัญหา ความโกรธมีโทษอย่างไรบ้าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ระงับและกำจัดเสีย ?
พุทธดำรัสตอบ "...คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะอาบน้ำ ไล้ทาตัดผมโกนหนวดนุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็ตาม...
ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม...
"...คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าขนสัตว์ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อนลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีผ้าดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้าแดงทั้งสองข้างก็ตาม..
ย่อมนอนเป็นทุกข์...
"...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งเป็นประโยชน์ แม้จะถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งไม่เป็นประโยชน์
ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ... ถือเอาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาล "...คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะมีโภคะที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรสั่งสมได้ด้วยกำลังแขนอาบเหงื่อต่างน้ำ
เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม พระราชา
ย่อมริบโภคะของคนขี้โกรธเข้าพระคลังหลวง...
"...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะได้ยศมาเพราะความไม่ประมาท ก็
เสื่อมจากยศนั้นได้...
"...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้เขาจะมีมิตร อมาตย์ ญาติสายโลหิต เหล่านั้น
ก็เว้นเขาเสียห่างไกล...
"...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ครั้นแล้วเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาตนรก..."
โกธนาสูตรวิธีแก้ความอาฆาต ๑ปัญหา ถ้าเกิดความอาฆาตขึ้นในจิตใจเรา ทำให้เราคิดมุ่งร้ายหมายแก้แค้นต่อบุคคลบางคน ซึ่งได้ล่วงเกินเราก่อน ควรจะแก้ไขอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคใด พึง
เจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใดพึง
เจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใดพึง
เจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลคนนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน ให้มั่นในบุคคลนั้นว่า
ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นดังนี้ ๑... พึง
ระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้"
อาฆาตวินัยสูตรที่ ๑เหตุให้อายุสั้นปัญหา ในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า คนเกิดมามีอายุสั้น เพราะในชาติก่อนเป็นผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสำหรับในชาติปัจจุบันนี้เล่า มีปฏิปทาใดบ้างที่เป็นเหตุให้บุคคลมีอายุสั้น หรือตายเร็ว ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม (เหล่า) นี้เป็นเหตุให้อายุสั้น... คือ บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑เป็นผู้เที่ยวไปในกาลไม่สมควร ๑ไม่ประพฤติเพียงดังพรหม ๑...
เป็นคนทุศีล ๑ มีมิตรเลวทราม ๑ "
อนายุสสสูตรที่ ๑ - ๒พวกเดียวกันคบกันปัญหา ตามปกติคนที่มีอะไรคล้ายกันย่อมคบหาสมาคมกัน ใช่หรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
โดยธาตุทีเดียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่หิริ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกเกียจคร้านย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกเกียจคร้าน สัตว์จำพวกมีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกมีสติหลงลืม สัตว์จำพวกมีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกมีปัญญาทราม
แม้ในอดีตกาล... แม้ในปัจจุบันกาล..."
อสัทธมูลกสูตรที่ ๑กรรมเก่าทั้งนั้นหรือปัญหา ตามหลักกรรมในทางพระพุทธศาสนานั้นเราจะถือว่า ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดีที่เราได้รับอยู่ในบัดนี้เป็นผลของกรรมเก่าที่เราได้ทำไว้แล้วในชาติก่อน ดังนี้ได้หรือไม่ ?
พุทธดำรัสตอบ ..."
เวทนาอันบุคคลเสวยในโลกนี้บางเหล่าเกิดขึ้นมีดี เป็นสมุฏฐานก็มี...บางเหล่าเกิดขึ้นมีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี บางเหล่าเกิดขึ้นมีลมเป็นสมุฏฐานก็มี มีส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นรวมกันเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดแต่ความแปรแห่งฤดูก็มี เกิดแต่การบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอก็มี เกิดแต่ความพยายาม (ของตน) ก็มี เกิดแต่วิบากแห่งกรรมก็มี... ข้อนี้อันเจ้าตัวเองก็รู้เช่นนั้น
อันโลกก็สมมติว่าเป็นจริง สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด มักกล่าวและมีความเห็นในข้อนั้นอย่างนี้ว่า
'บุคคล... เสวยเวทนาทั้งปวง (สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำแล้วในก่อน' เขาย่อมเพิกเฉย
ข้อที่ตนเองก็รู้ดี ย่อม
เพิกเฉยต่อข้อที่โลกสมมติว่าเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า การกล่าวแลความเห็นอย่างนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นการกล่าวผิดแลเห็นผิด" ดังนี้
สิวกสูตรพุทธโอวาทสำหรับคนใกล้ตายปัญหา พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทแก่คนป่วยใกล้ต่อความตายไว้อย่างไรบ้าง ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้
ว่าเราจักมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ จักประกอบด้วยศีลอันเป็นที่รักของพระอริยเจ้า... ท่านตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นองค์ประกอบแห่งพระโสดาบัน ๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป... คือ...ท่านจงพิจารณา
เห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ... ในการคลายความกำหนัดยินดี... ในความดับทุกข์ ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ..."
ทีฆาวุสูตรวิธีละสังโยชน์เบื้องสูงปัญหา ทำอย่างไรจึงจะละ
สังโยชน์เบื้องสูงทั้ง ๕ ได้ ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้รอบ เพื่อความสิ้นไป เพื่อ
ละสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล..."
คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตต์ที่ ๖จบบริบูรณ์ด้วยจิตกราบบูชา
จากคุณ : mayrin [ 18 ม.ค. 2545 ]เรียนขออนุญาต ท่านผู้คัดลอก นำมาแบ่งปันค่ะ...:http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-07-01.htmsookjai.com * tairomdham.net* Agaligo Home บ้านที่
แท้จริง
อกาลิโก โฮมกุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ
ไว้ ณ ที่นี้... นะคะอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ