ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ โดย รอง ศจ.แสง จันทร์งาม  (อ่าน 12044 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mind

  • บุคคลทั่วไป




เนื้อหานำมาจากหนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
เห็นว่ามีประโยชน์ จึงนำมาทำการเผยแผ่ สู่พุทธศาสนิกชน และผู้สนใจ

    อ่านหนังสือออนไลน์



สารบัญ 001-605 พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ 
โดย รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม
         :45:  - http://www.84000.org/true/index.html


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2013, 11:43:23 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
คัดลอกบางส่วนจาก
:พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ (ฉบับสมบูรณ์)

รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



โพสท์ในลานธรรมเสวนา
กระทู้ที่ 004051 –
โดยคุณ : mayrin [ 10 ม.ค. 2545 ]
เนื้อความ :
**********************
พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
ตอนที่ ๑

**********************
สมาธิเพื่อดับอาสวะ
ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไรจึงจะทำให้อาสวะดับได้

พุทธดำรัสตอบ "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปทานขันธ์ห้าอยู่เป็นประจำว่า

"รูป"... เป็นดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
"เวทนา...ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา... ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
"สัญญา... ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา... ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
"สังขาร...ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร... ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
"วิญญาณ... ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ... ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้... ย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ..."
สมาธิสูตร
 

กิเลสหนากับการบรรลุธรรม
ปัญหา ผู้รู้บางท่านแสดงไว้ว่าคนที่มีอุปนิสัยหยาบ มีราคะ โทสะ โมหะกล้า มีโอกาสจะบรรลุมรรคผลช้าคนที่มีอุปนิสัยละเอียด มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง มีหวังได้บรรลุมรรคผลเร็ว จริงหรือไม่

พุทธดำรัสตอบ "...บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปกติเป็นผู้มีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนือง ๆ บ้าง
เป็นผู้มีโทสะกล้าย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง

(แต่)อินทรีย์ ๕ ประการ...คือศรัทธาวิริยะสติสมาธิปัญญาของเขาปรากฏว่าแก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า...

"...บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า... ไม่เป็นคนมีโทสะกล้า... ไม่เป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ ราคะ... โทสะ... โมหะเนือง ๆ
(แต่) อินทรีย์ ๕ ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาของเขา ปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน...
ปฏิปทาวรรคที่ ๒


สมถะหรือวิปัสสนาก่อน
ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี๒อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ?จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่

พระอานนท์ตอบว่า "...ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ)... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า(หรือ)...เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป...มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด..."
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
 
 
ประโยชน์ของการเดินจงกรม
ปัญหา วิธีการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน เพื่อทำจิตให้สงบระงับนั้น มีอยู่หลายวิธี การเดินจงกรมก็เป็นวิธีหนึ่ง อยากทราบว่าพระพุทธองค์ ทรงเห็นประโยชน์อย่างไร จึงแนะนำให้ภิกษุเดินจงกรม ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการเป็นไฉนคือภิกษุผู้เดินจงกรม
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการฉะนี้แล ฯ"
จังกมสูตร


การตรัสรู้โดยฉับพลันมีได้หรือไม่
ปัญหา มีพระพุทธศาสนาบางนิกายถือว่า การบรรลุมรรคผลอาจเกิดขึ้นได้โดยฉับพลัน เช่นเดียวกับแสงสว่างวาบขึ้นทันทีทันใด ขับไล่ความมืดให้หมดสิ้นไป การบรรลุมรรคผลโดยฉับพลันดังกล่าวจะมีได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "...ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปโดยลำดับไม่โกรกชันเหมือนเหวฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง...ฯ"
มหาปราทสูตร 


สมาธิกับฌาน
ปัญหา การบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌาน จะเป็นเหตุละอาสวะได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง...

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาหาร เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วเธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ นั่นสงบ นั้นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคือ อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย..."
ฌานสูตร


ศีลกับอรหัตตผล
ปัญหา การรักษาศีล จะสามารถนำไปสู่การบรรลุมรรคผลได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ  "...ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน) เป็นผล... อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล... ปราโมทย์มีปีติเป็นผล... ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล... ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล... สุขมีสมาธิเป็นผล... สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล... ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล... นิพพิทาวิราคะมีวิมุติญาณทัสสนะเป็นผล ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตตผลโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล ฯ"
กิมัตถิยสูตร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 09:30:15 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตอน ๒

เหตุให้พระพุทธเจ้าอุบัติ
ปัญหา อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลกธรรม ๓ ประการเป็นไฉน

คือ ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก...ฯ"
อภัพพสูตร


เหตุให้ขันธ์ ๕ เป็นไตรลักษณ์
ปัญหา ทำไมขันธ์ ๕เป็นไตรลักษณ์

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่เที่ยง... เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป (เป็นต้นนั้น) เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง... เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา รูป(เป็นต้น) ที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเที่ยง...เป็นสุข...เป็นอัตตาเล่า ?"
อนิจจเหตุสูตรฯ


คนที่เหมาะสมต่อการสิ้นทุกข์
ปัญหา บุคคลควรปฏิบัติต่อขันธ์ ๕ อย่างไร จึงจะสิ้นทุกข์ได้ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุคคลที่ไม่รู้จริง ไม่รู้ทั่วถึง ไม่เบื่อหน่าย ไม่สละเสียซึ่ง รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ จัดเป็นคนอาภัพต่อการสิ้นทุกข์

 "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่รู้จริง รู้ทั่วถึง เบื่อหน่ายและสละเสียซึ่ง รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณจึงเป็นผู้เหมาะสมต่อความสิ้นทุกข์"
ปริชานสูตร


วิธีดับขันธ์ ๕
ปัญหา บุคคลจะดับขันธ์ ๕ ได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความใคร่ ความพอใจ ในรูป... ในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร... ในวิญญาณเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้รูป (เป็นต้นนั้น) ก็จะเป็นอันถูกละ ถูกตัดราก เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ถูกทำให้เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ไม่มีการเกิดขึ้นอีกเป็นธรรมดา..."
ฉันทราคสูตร


คิดถึงอะไร เป็นสิ่งนั้น
ปัญหา ภิกษุรูปหนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอให้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดโดยย่อ เพื่อจักได้นำไปปฏิบัติต่อไป พระโอวาทย่อว่าอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุบุคคลย่อมครุ่นคิดในสิ่งใด ย่อมเข้าไปมีส่วนเป็นสิ่งนั้น บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่เข้าไปมีส่วนในสิ่งนั้น...

 ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ย่อมเข้าไปมีส่วน เป็นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงรูป (เป็นต้น) นั้น ก็ไม่เข้าไปมีส่วนเป็นรูป (เป็นต้นนั้น)"
ภิกขุสูตรที่ ๑


ขันธ์ตนกับขันธ์คนอื่น
ปัญหา บุคคลควรพิจารณาเปรียบเทียบขันธ์ ๕ ของตนกับขันธ์๕ ของคนอื่นหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนโสณะก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมพิจารณาเห็นว่า เราประเสริฐกว่าเขา...เราเท่าเทียมกับเขา...เราเลวกว่าเขา โดยรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่อื่นไกล นอกจากการไม่เห็นธรรมตามความเป็นจริง

"ดูก่อนโสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่า เราประเสริฐกว่าเขา...เราเท่าเทียมกับเขา...เราเลวกว่าเขา โดยรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่อื่นไกล นอกจากการเห็นธรรมตามความเป็นจริง..."
โสณสูตรที่ ๑


พระอรหันต์กับพระพุทธเจ้า
ปัญหา พระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวกเหมือนกันและแตกต่างกันในแง่ไหนบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย...คลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นในรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คนจึงเรียกว่า 'สัมมาสัมพุทธะ'

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย...คลายกำหนัดเพราะความดับเพราะความไม่ถือมั่นในรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คนจึงเรียกว่า 'ปัญญาวิมุต'

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้ จะมีอะไรเป็นข้อแปลกกัน มีอะไรเป็นลักษณะเฉพาะ มีอะไรเป็นเหตุแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะกับภิกษุผู้เป็นปัญญาวิมุต

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็นผู้นำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทำทางที่ยังไม่มีใครรู้ให้รู้ บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้แจ้งหนทาง เข้าใจทางฉลาดในทาง

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง เป็นผู้มาภายหลัง อันนี้แลเป็นข้อแปลกกัน..."
พุทธสูตร


ความหมายของอนัตตา
ปัญหา คำว่า 'อนัตตา' มีความหมายว่าอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนอันเป็นอมตภาพตามทัศนะของฮินดู) ถ้าหากว่า...จักเป็นอัตตาไซร้ รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ว่า ขอรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่ รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น...จึงเป็นเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา..."
ปัญจวัคคิยสูตร


พระพุทธเป็นหนึ่งกับพระธรรม
ปัญหา มีผู้กล่าวว่าพระพุทธเจ้ากับพระธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเห็นอย่างหนึ่ง ก็เห็นอีกอย่างหนึ่ง จริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนวักกลิผู้ใดแลเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม...
"
วักกลิสูตร


วิธีคิดเมื่อเสวยสุข-ทุกข์
ปัญหา เมื่อได้เสวยสุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกกลางๆไม่สุขไม่ทุกข์) ควรจะกระทำจิตใจอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอัสสชิ...อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่าสุขเวทนานั้นไม่เที่ยงไม่น่าพอใจไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยทุกขเวทนาก็ทราบชัดว่าทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยงไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจไม่น่าเพลิดเพลิน

"หากว่าเสวยสุขเวทนา...ทุกขเวทนา...อทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจากความยินดียินร้ายหากว่าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกำลังกายก็ทราบชัดว่าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกำลังกาย ถ้าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ก็ทราบชัดว่าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต...ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตกทำลาย ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น...อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ประทีปน้ำมันไม่มีเชื้อ เพราะหมดน้ำมันและไส้ก็พึงดับไป..."
อัสสชิสูตร


อุปทานขันธ์กับ 'เรา'
ปัญหา 'เรา' กับอุปทานขันธ์ทั้ง ๕ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

พระเขมกะตอบ "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ...ผมไม่กล่าวรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณว่าเป็นเราทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณแต่ผมเข้าใจว่าเรามีในอุปทานขันธ์ ๕แต่ผมไม่ถือว่าเราเป็น (ขันธ์ ๕) นี้...เปรียบเหมือนกลิ่นดอกอุบลก็ดี กลิ่นดอกปทุมก็ดี กลิ่นดอกบุณฑริกก็ดี ผู้ใดหนอจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่ากลิ่นใบ กลิ่นสีหรือว่ากลิ่นเกสร...
 "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ...สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะฉันทะอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า 'เรามีอยู่' ไม่ได้ ในสมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปทานขันธ์ ๕...มานะ ฉันทะ อนุสัยที่ว่า "เรามีอยู่" นั้น ที่ยังถอนไม่ได้ ก็ย่อมถึงการเพิกถอนได้ ...เปรียบเหมือนผ้าเปื้อนเปรอะด้วยมลทิน เจ้าของมอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกขยี้ผ้านั้นในน้ำด่างขี้เถ้า ในน้ำด่างเกลือหรือในโคมัย แล้วเอาซักในน้ำใสสะอาด ผ้านั้นเป็นของสะอาดขาวผ่องก็จริง...แต่ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า...กลิ่นน้ำด่างเกลือหรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้นให้แก่เจ้าของ เจ้าของเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น...แม้กลิ่นนั้นก็หายไป"
เขมกสูตร


อุปมาของขันธ์ ๕
ปัญหา เราจะอธิบายขันธ์ทั้ง ๕ โดยเปรียบเทียบกับอะไร จึงจะเป็นการเข้าใจที่แจ่มแจ้ง

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้พึงนำกลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุ...พึงพิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้นโดยแยบคาย...เมื่อบุรุษนั้น...พิจารณาอยู่...กลุ่มฟองน้ำนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย...แม้ฉันนั้นเหมือนกัน

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงในฤดูใบไม้ร่วง (สารทสมัย) ฟองน้ำในน้ำย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ...พึงพิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย...เมื่อบุรุษนั้นพิจารณาอยู่ฟองน้ำนั้นพึงเป็นของว่างเปล่า...แม้ฉันใด เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง...เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่โดยแยบคาย...ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า...แม้ฉันนั้น

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดดย่อมเต้นระยิบระยับในเวลาเที่ยง...เมื่อบุรุษพิจารณาโดยแยบคาย พยับแดดนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า...ฉันนั้นเหมือนกันแล

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุรุษผู้มีความต้องการไม้แก่น...ถือเอาจอบอันคมพึงไปสู่ป่า...พึงเห็นต้นกล้วยขนาดใหญ่ลำต้นตรง ยังอ่อน ยังไม่เกิดแกน...พึงตัดโคน..ตัดปลาย...ปอกกาบใบออก...ไม่พึงได้แม้แต่กระพี้ในต้นกล้วยนั้น...เมื่อบุรุษพิจารณาอยู่โดยแยบคาย ต้นกล้วยนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่าง...แม้ฉันใด สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง...ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักเล่นกล...พึงเล่นกลที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง...เมื่อบุรุษพิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลนั้นพึงปรากฏเป็นของว่าง...แม้ฉันใด วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง...ย่อมปรากฏเป็นของว่างฉันนั้นเหมือนกันแล"
เผณปิณฑสูตร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2012, 02:33:37 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตอน ๓

จิตสร้างความวิจิตร
ปัญหา เพราะเหตุใดขันธ์ ๕ ของคน และของดิรัจฉานจึงมีความวิจิตรแตกต่างกันออกไปใครเป็นผู้สร้างความวิจิตรเหล่านี้ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภาพวิจิตรที่ชื่อว่าจรณะ เธอทั้งหลายเห็นแล้วหรือ ? ...ภาพวิจิตรชื่อจรณะแม้นั้นแล จิตเป็นผู้คิดขึ้นเพราะเหตุนั้น จิตนั้นแหละจึงวิจิตรกว่าภาพวิจิตรชื่อจรณะนั้น...

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่พิจารณาเห็นหมู่สัตว์อื่นแม้หมู่หนึ่ง ซึ่งวิจิตรเหมือนสัตว์ในกำเนิดดิรัจฉาน...แม้สัตว์ในกำเนิดดิรัจฉานเหล่านั้นก็เป็นผู้ถูกจิตคิดขึ้นแล้วเพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย จิตนั้นเองจึงวิจิตรกว่าสัตว์ในกำเนิดดิรัจฉาน...

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายช่างย้อมหรือช่างเขียนเมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี สีเขียวก็ดี สีแดงก็ดี ทั้งเขียนรูปสตรี หรือ รูปบุรุษมีอวัยวะใหญ่น้อย ครบทุกส่วนลงที่แผ่นกระดาษเกลี้ยงเกลาหรือที่ฝาหรือที่แผ่นผ้าแม้ฉันใด...ปุถุชนผู้ไม่ได้เรียนรู้ย่อมสร้างรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณนั้นแหละให้เกิดขึ้น"
คัททูลสูตรที่ ๒


ประโยชน์ของจิตที่ใสสะอาด
ปัญหา จิตที่ใสสะอาดก่อให้เกิดประโยชน์อะไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่งพึงเห็นหอยโข่ง และหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องบ้าง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่นฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้จักประโยชน์ทั้งสองบ้าง กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษคือ อุตริมนุสธรรมอันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อันเป็นของพระอริยะได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นเรื่องที่จะเป็นไปได้ เพราะเหตุใด เพราะจิตไม่ขุ่นมัว..."
บาลีแห่งเอกธรรม


จิตเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด
ปัญหา อะไรเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียวที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่าจิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้นก็กระทำไม่ได้ง่าย..."
บาลีแห่งเอกธรรม


จิตเดิมใสสะอาด
ปัญหามีหลักฐานอะไรบ้างแสดงว่าจิตเป็นธรรมชาติใสสะอาดอยู่เดิม สกปรกภายหลัง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่รู้ข้อนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ย่อมไม่มีการอบรมจิต...ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วย่อมทราบข้อนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีการอบรมจิต..."
บาลีแห่งเอกธรรม


ตำแหน่งที่สตรีครองไม่ได้
ปัญหา ตำแหน่งอะไรบ้างที่สตรีไม่สามารถจะเข้าดำรงได้

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า...จะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ...จะพึงเป็นมาร... จะพึงเป็นพรหมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้..."
อัฏฐานบาลี


คนที่มีจิตเหมือนแผลเก่า
ปัญหา บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่าเหมือนฟ้าแลบ เหมือนเพชรคืออย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่าเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธมากด้วยความแค้นใจถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดใจโกรธเคืองพยาบาทขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏเปรียบเหมือนแผลเก่า ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมให้สิ่งหมักหมมกระจัดกระจายมากมาย...บุคคลนี้เรียกว่ามีจิตเหมือนแผลเก่า

"บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบคืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัยนี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหมือนบุรุษผู้มีดวงตาเห็นรูปในขณะฟ้าแลบในเวลากลางคืนอันมืดมิด...บุคคลนี้เรียกว่ามีจิตเหมือนฟ้าแลบ...

"บุคคลมีจิตเหมือนเพชรคืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้...เปรียบเหมือนแก้วมณีหรือหินชนิดใดชนิดหนึ่งที่เพชรจะทำลายไม่ได้ไม่มี...บุคคลผู้นี้เรียกว่ามีจิตเหมือนเพชร..."
วชิรสูตร


โทษของการคบคนเลว
ปัญหา การคบคนเลวทรามก่อให้เกิดโทษอย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลวทรามไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจมีการงานลึกลับ ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีบุคคล แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีบุคคลเน่าในภายในเยิ้มด้วยราคะเป็นเหมืองขยะบุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจไม่ควรคบ...เพราะเหตุไร เพราะแม้จะไม่เจริญรอยตามบุคคลเช่นนั้นก็จริงแต่กิตติศัพท์ที่เสียหายของเขาย่อมระบือไปว่า เขามีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหายมีคนชั่วเป็นเพื่อน เปรียบเหมือนงูที่จมอยู่ในอุจจาระ ถึงแม้จะไม่กัดก็ทำให้เปื้อนได้"
ชิคุจฉสูตร


การเลือกคบคน
ปัญหา ในการคบคนนั้นเราควรจะเลือกคบคนเช่นใด ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...บุคคลที่ไม่ควรคบเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเลว (กว่าเรา) โดย ศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้ ไม่ควรคบ ไม่ควรเสพ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเอ็นดูอนุเคราะห์กัน

"บุคคลที่ควรคบ...คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเสมอกับตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้ควรคบ...เพราะเหตุไร เพราะเราผู้เสมอกันด้วยศีล...สมาธิ...ปัญญา จักมีการสนทนากัน เรื่องศีล...สมาธิ...ปัญญา การสนทนานั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความผาสุกแก่พวกเรา

"บุคคลที่ควรสักการะเคารพแล้วคบ...คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งกว่าเราโดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา บุคคลเช่นนี้ควรสักการะ เคารพแล้วจึงคบ...เพราะเหตุไร เพราะอาจหวังได้ว่า จักบำเพ็ญศีลขันธ์...สมาธิขันธ์...ปัญญาขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักสนับสนุน ศีลขันธ์...สมาธิขันธ์...ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์แล้วด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ...

"บุคคลคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนเสมอกัน ย่อมไม่เสื่อมในกาลใด ๆ คบคนที่สูงกว่าย่อมพลันเด่นขึ้น ฉะนั้นจึงควรคบคนที่สูงกว่าตน..."
เสวิสูตร


คนที่ควรเฉยเมย
ปัญหา คนชนิดไหนเป็นคนที่เราควรเฉยเสียไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเจ้าโทสะ มากด้วยความแค้นใจ แม้ถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท...แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือนแผลเก่า ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมให้สิ่งหมักหมมกระจัดกระจายมากมาย...เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมแตกเสียงดังจิจิ...เปรียบเหมือนหลุมอุจจาระ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งขึ้น...บุคคลเช่นนี้ ควรวางเฉย ไม่ควรคบ เพราะเหตุไร ? เพราะเขาพึงด่าบ้าง บริภาษบ้าง ทำความเสียหายให้เราบ้าง..."
ชิคุจฉสูตร


คนปากเสีย และปากดี
ปัญหา คนเช่นใด"ปากอุจจาระ""ปากดอกไม้”และ "ปากน้ำผึ้ง" คืออย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 'ปากอุจจาระ'คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุมก็ดี ในฝูงชนก็ดี ไปในท่ามกลางเหล่าญาติก็ดี ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน...เขาไม่รู้ ก็กล่าวว่ารู้ หรือรู้ก็ว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็ว่าเห็น หรือไม่เห็นก็ว่าเห็น กล่าวแกล้งเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตนเอง เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย...นี้เรียกว่าคน'ปากอุจจาระ'

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน 'ปากดอกไม้'คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในที่ประชุม...ถูกเขาอ้างเป็นพยาน...เมื่อเขาไม่รู้กล่าวว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น ย่อมไม่แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเห็นแก่ตน เพราะเห็นแก่คนอื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย...นี้เรียกว่าคน 'ปากดอกไม้'

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน 'ปากน้ำผึ้ง' คืออย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ พูดแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสตเป็นที่รักจับหัวใจ เป็นวาจาของชาวเมือง เป็นที่รักที่ชอบใจของคนมาก...นี้เรียกว่าคน 'ปากน้ำผึ้ง'...."
คูถภาณิสูตร


ยอดของมิตร
ปัญหา (เทวดาทูลถาม) อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทางอะไรหนอเป็นมิตรในเรือนของตนอะไรเป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้น อะไรเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า ?

พุทธดำรัสตอบ "พวกเกวียน พวกโคต่างเป็นมิตรของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน สหายเป็นมิตรของผู้มีธุระเกิดขึ้นเนือง ๆ บุญที่ตนทำเองเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า"
มิตตสูตรที่ ๓


อันตรายของสมาธิ
ปัญหา ในการเจริญสมาธิ บางครั้งเกิดนิมิตเห็นรูปแล้ว หรือเกิดโอภาสแสงสว่างแล้ว แต่ในไม่ช้าก็หายไป ทั้งนี้เพราะเหตุใร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอนุรุธ...เมื่อก่อนตรัสรู้ยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเล) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉา ไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก

"ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้อย่างนี้ว่า มนสิการ (การไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็มนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน

ถีนมิทธะ (ความง่วงงุน) แล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...
ความหวาดเสียวแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...
ความตื่นเต้นแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...
ความชั่วหยาบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...
ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแก่เรา...สมาธิของเราจึงเคลื่อน...
ตัณหาที่คอยกระซิบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา...สมาธิของเราจึงเคลื่อน...
ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา...สมาธิของเราจึงเคลื่อน...


เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำไม่ให้เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปนั้น เกิดขึ้นแก่เราได้อีก..."


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2012, 02:30:22 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตอน ๔
ลักษณะพระนิพพาน
ปัญหา จงแสดงลักษณะของพระนิพพานว่ามีอย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้"
สรสูตรที่ ๗
 
สิ่งที่ไม่รู้จักตาย
ปัญหา สังขารร่างกายย่อมตายหายสูญไปเป็นธรรมดา มีอะไรบ้างที่ไม่ตายไปตามสังขารร่างกาย ?
เทวดาตอบ (พระบรมศาสดาทรงรับรอง)

"ชนทั้งหลายเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้เหมือนพวกเดินทางไกล ก็แบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อบุคคลทั้งหลาย เหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน..."
มัจฉริยสูตรที่ ๒
 
ชีวิตประเสริฐ
ปัญหา(เทวดาทูลถาม)

อะไรหนอเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้
อะไรหนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
อะไรหนอเป็นรสดีกว่าบรรดารสทั้งหลาย
คนมีชีวิตเป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์ ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ ?

พุทธดำรัสตอบ "ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความจริงเท่านั้น เป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ"
วิตตสูตรที่ ๓
 
ยาอายุวัฒนะ
ปัญหา จะมีวิธีบริหารกายอย่างไร จึงจะทำให้อายุยืน ?

พุทธดำรัสตอบ "มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน"
โทณปากสูตรที่๓
 
ความเพลิดเพลินและทุกข์
ปัญหา (เทวดาทูลถาม) "ข้าแต่ภิกษุ ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลินจึงไม่มี ทำไมความเบื่อหน่ายจึงไม่ครอบงำพระองค์ผู้นั่งแต่ผู้เดียว ?

พุทธดำรัสตอบ  "ผู้มีทุกข์นั่นแหละจึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั้นแหละจึงมีทุกข์ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์..."
กกุธสูตรที่ ๘
 
สิ่งที่ไม่ควรดูหมิ่น
ปัญหา มีอะไรบ้าง ที่คนไม่ควรดูหมิ่น แม้จะดูเป็นของเล็กน้อยไม่สำคัญก็ตาม
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย... คือ

๑.กษัตริย์ไม่ควรดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
๒.งูไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
๓.ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔.ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม"
ทหรสูตรที่ ๑
 
อย่าดูหมิ่นสตรี
ปัญหา เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง ขณะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังประทับนั่งเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ราชบุรุษได้เข้ามาทูลว่า พระราชินีประสูติ พระราชธิดาออกมา พระราชาทรงผิดหวังมาก เพราะพระองค์ต้องการโอรส เช่นเดียวกับชาวอินเดียทั้งหลาย ที่อยากได้บุตรชายมากกว่าบุตรหญิง

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่าปวงชน แท้จริงแม้สตรีบางคนก็เป็นผู้ประเสริฐ พระองค์จงชุบเลี้ยงไว้ สตรีที่มีปัญญา มีศีล ปฏิบัติพ่อผัว แม่ผัว แม่ผัวดังเทวดา จงรักสามีฯ
"บุรุษที่เกิดจากสตรีนั้นย่อมเป็นคนแกล้วกล้า เป็นเจ้าแห่งทิศได้ บุตรของภริยาที่ดีเช่นนั้น แม้ราชสมบัติก็ครอบครองได้"
ธีตุสูตรที่ ๖
 
สง่าราศีของสตรี
ปัญหา(เทวดาทูลถาม) อะไรหนอเป็นสง่าของรถ อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏของไฟ อะไรหนอเป็นสง่าของแว่นแคว้น อะไรหนอเป็นสง่าของสตรี ?

พุทธดำรัสตอบ"ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น สามีเป็นสง่าของสตรี"
รถสูตรที่ ๒
 
อำนาจจิต
ปัญหา (เทวดาทูลถาม) โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอเสือกไสไปได้ โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ?

พุทธดำรัสตอบ "โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ จิต"
จิตตสูตรที่ ๒
 
ใครเป็นผู้สร้าง
ปัญหา (มารเป็นผู้ถาม) รูปนี้ใครเป็นผู้สร้าง ผู้สร้างรูปอยู่ที่ไหน รูปบังเกิดในที่ไหน รูปดับไปในที่ไหน ?

เสลาภิกษุณีตอบ "รูปนี้ไม่มีใครสร้าง อัตตภาพนี้ไม่มีใครก่อ รูปเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ ดับไปเพราะเหตุดับ

พืชชนิดใดที่บุคคลหว่านลงในนา ย่อมงอกขึ้นเพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ รสในแผ่นดิน และยางในพืช ฉันใด ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้ ก็เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ ดับไปเพราะเหตุดับฉันนั้น"
เสลาสูตร
 
ทุกข์ทั้งนั้น
ปัญหา (มารถาม)สัตว์นี้ใครสร้างผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ?

วชิราภิกษุณีตอบ "ดูก่อนมาร เพราะเหตุไรหนอความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่าสัตว์ ในกองสังขารนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ เหมือนอย่างว่าเพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่การสมมติว่าสัตว์ย่อมมีฉันนั้น ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ"
วชิราสูตรที่ ๑๐
 
พระพุทธเจ้าทรงเคารพอะไร ?
ปัญหา พระพุทธเจ้าจัดว่าเป็นพระบรมศาสดาของโลก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้พระองค์ทรงเคารพใคร ? หรือว่าไม่ทรงเคารพใครเลย ?

พุทธดำรัสตอบ "...บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพอาศัยสมณะ หรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ ?"

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า"เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่

"เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิที่ยังไม่บริบูรณ์...
เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์...
เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์..
เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุติญาณทัสสนะขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์

แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะยิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่

"อย่ากระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นแหละ แล้วอาศัยอยู่"
คารวสูตรที่ ๒ 
 
ชาวนาพิเศษ
ปัญหา วันหนึ่งกสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเตรียมจะไถนา พระพุทธองค์เสด็จไปบิณฑบาต พราหมณ์เห็นแล้วกล่าวขึ้นว่า เขาเองไถและหว่านแล้วจึงบริโภค และขอให้พระพุทธองค์ไถและหว่านแล้วบริโภคเช่นเดียวกัน พระพุทธองค์ตรัสว่า เราก็ไถและหว่านแล้วบริโภคเหมือนกัน พราหมณ์จึงกล่าวว่า พระองค์ตรัสว่าเป็นชาวนา แต่เขาไม่เห็นไถของพระองค์เลย

พุทธดำรัสตอบ "ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้าด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง นำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
"นี่การไถ การไถอย่างนี้แล้ว ย่อมมีอมฤตเป็นผล ครั้นไถอย่างนี้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้"
กสิสูตรที่ ๑
 
แม้พระพุทธเจ้ายังทรงปวารณา
ปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดแล้วทั้ง กาย วาจา ใจ ไม่น่าจะมีข้อผิดพลาดบกพร่องใด ๆ ที่จะต้องสารภาพต่อผู้อื่น และให้ผู้อื่นตักเตือนมิใช่หรือ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอปวารณาเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมไร ๆ ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ ?"
ปวารณสูตรที่ ๗
 
พระอรหันต์กับภาษาสามัญ
ปัญหา พระอรหันต์ที่พ้นจากการสมมติและบัญญัติแล้ว เวลาพูดกับสามัญชนใช้ภาษาอะไรพูด

พุทธดำรัสตอบ "ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่น พูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาดทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน"
อรหันตสูตรที่ ๕


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2012, 05:02:15 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตอน ๕

ภิกษุควรหัวเราะหรือไม่
ปัญหา ได้ทราบมาว่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่มีการหัวเราะมีแต่ยิ้มแย้มเท่านั้น พระภิกษุควรจะหัวเราะหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือ การร้องไห้ในวินัยของพระอริยเจ้า การฟ้อนรำคือ ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยเจ้า การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า เพราะเหตุนั้นแหละ จงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้องฟ้อนรำ เมื่อท่านทั้งหลายเบิกบานในธรรม ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม"
โรณสูตร
 
ฤกษ์ยามในพระพุทธศาสนา
ปัญหาทางพระพุทธศาสนามีการสอนให้ถือฤกษ์ถือยามในการทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ"...สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี

 ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเที่ยงเวลาเที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น..."
สุปุพพัณหสูตร
 
พระพุทธศาสนาก็ส่งเสริมทรัพย์
ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า พระพุทธศาสนาสอนจะให้คนออกจากโลกท่าเดียว ไม่ส่งเสริมการมีโภคทรัพย์ จริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลสองตาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ มีนัยน์ตาเป็นเหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ทั้งมีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่โทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าคนสองตา..."
อันธสูตร
 
ความรักทำให้ตาบอด
ปัญหา มีคำพังเพยกล่าวไว้ว่า ความรักทำให้คนตาบอด ดังนี้ ทางพระพุทธศาสนายอมรับคำกล่าวนี้ว่า เป็นความจริงหรือไม่เพียงใด ?

พระอานนท์ตอบ "...บุคคลผู้กำหนัด อันความกำหนัดครอบงำรึงรัดจิตใจไว้ ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน ตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น ตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง...
ความกำหนัดแล ทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำให้ปัญญาดับ เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน...ฯ"
ฉันนสูตร
 
ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ?
ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "อริยสาวกนั้น มีจิตหาเวรมิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
"ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
"ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง

"ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
"ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปไม่ชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะไม่นำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นตนเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
"อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ -หาความเบียดเบียนมิได้ -มีจิตไม่เศร้าหมอง -มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ -ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ ฯ"
เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)
 
ทำอย่างไรจะได้พบกันอีกในชาติหน้า ?
ปัญหา ถ้าสามีภรรยารักกันมาก ๆ ในชาตินี้ และปรารถนาจะพบกันอีก ได้เป็นสามีภรรยากันอีกในชาติหน้า จะมีทางเป็นไปได้ไหม ? และควรจะปฏิบัติอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนคฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกัน ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ (ชาติหน้า) ไซร้ทั้งสองคนนั้นแลพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกัน ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ..."
สมชีวสูตร
 
องค์แห่งการตรัสรู้
ปัญหา ภิกษุที่จะได้ตรัสรู้หรือบรรลุอรหัตตผลนั้น ควรจะประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "๑.ดูก่อนโพธิราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า... พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ... เป็นผู้จำแนกธรรม
๒. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่ความเพียร

๓. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
๔. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๕. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดและดับ เป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ"
โพธิราชกุมารสูตร
 
กำหนดเวลาตรัสรู้
ปัญหา เมื่อภิกษุประกอบด้วยคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว จะได้บรรลุอรหัตตผลในเวลาช้านานเท่าไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนราชกุมาร... ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า... ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน (ภายในเวลา) เจ็ดปี... หกปี... ห้าปี... สี่ปี... สามปี... สองปี... หนึ่งปี... เจ็ดเดือน... หกเดือน... ห้าเดือน... สี่เดือน... สามเดือน... สองเดือน... หนึ่งเดือน... ครึ่งเดือน... เจ็ดคืนเจ็ดวัน... หกคืนหกวัน... ห้าคืนห้าวัน... สี่คืนสี่วัน... สามคืนสามวัน... สองคืนสองวัน... หนึ่งคืนหนึ่งวัน...
 ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียรห้าประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ ตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น..."
โพธิราชกุมารสูตร
 
มหาสมุทรในพุทธศาสนา
ปัญหา คำว่า 'มหาสมุทร' ตามความหมายของคนธรรมดา และตามความหมายทางพุทธศาสนาหมายถึงอะไร

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ย่อมกล่าวว่า 'มหาสมุทร' มหาสมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นมหาสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า มหาสมุทรนั้นเป็นเพียงแอ่งน้ำใหญ่เป็นห้วงน้ำใหญ่...

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ เป็นมหาสมุทรของบุรุษ
กำลังของตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ นั้นเกิดจากรูป...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์

บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์นั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ สามารถข้ามมหาสมุทร คือ ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อ น้ำ แล้วขึ้นฝั่งยืนอยู่บนบกได้...อยู่จนพรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลกข้ามถึงฝั่งแล้ว"
สมุทรสูตรที่ ๑
 
พระพุทธเจ้ายังมีอายตนะ แต่ไม่ติดในอายตนะ
ปัญหา พระโกฏฐิกะถามพระสารีบุตรว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ต่างเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวผูกมัดซึ่งกันและกันหรืออย่างไร ?

พระสารีบุตรตอบ "ดูก่อนท่านโกฏฐิกะ ตาเป็นเครื่องผูกมัดรูป และ รูปเป็นเครื่องผูกมัดตาหามิได้...หูเป็นเครื่องผูกมัดเสียงและเสียงเป็นเครื่องผูกมัดหูก็หามิได้...จมูกเป็นเครื่องผูกมัดกลิ่น และกลิ่นเป็นเครื่องผูกมัดจมูกหามิได้...ลิ้นเป็นเครื่องผูกมัดรส และรสเป็นเครื่องผูกมัดลิ้นก็หามิได้...กายเป็นเครื่องผูกมัดโผฏฐัพพะ และโผฏฐัพพะเป็นเครื่องผูกมัดกายก็หามิได้...ใจเป็นเครื่องผูกมัดธรรมารมณ์ และธรรมารมณ์เป็นเครื่องผูกมัดใจก็หามิได้...

ความพอใจรักใคร่ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป...อาศัยหูและเสียง...อาศัยจมูกและกลิ่น...อาศัยลิ้นและรส...อาศัยกายและโผฏฐัพพะ...อาศัยใจและธรรมารมณ์นั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกมัดในจักษุและรูปเป็นต้นนั้น...

"ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำและโคขาวที่เขาผูกโยงไว้ด้วยเชือกหรือด้วยสายแอกเส้นเดียว ใครเล่าจะพึงพูดได้ว่า โคดำเป็นเครื่องผูกมัดโคขาว หรือโคขาวเป็นเครื่องผูกมัดโคดำ ที่แท้เชือกและสายแอกเส้นเดียวที่ใช้ผูกโยงโคทั้งสองนั้น และชื่อว่าเป็นเครื่องผูกมัดในโคทั้งสองนั้น...

"ท่านผู้มีอายุถ้าจักษุเป็นเครื่องผูกมัดรูปหรือรูปจักเป็นเครื่องผูกมัดจักษุ ฯลฯ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงมีปรากฏได้

"ดูก่อนท่านโกฏฐิกะ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยพระเนตร...ยังทรงฟังเสียงด้วยพระโสต...ยังทรงสูดกลิ่นด้วยพระนาสิก...ยังทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา...ยังทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกาย...ยังทรงรู้ธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่พระองค์ก็ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว..."
โกฏฐิกสูตร
 
บาดาลในพุทธศาสนา
ปัญหา คนเชื่อกันว่าใต้มหาสมุทรมีบาดาล บาดาลในทางพุทธศาสนาหมายถึงอะไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมพูดว่าในมหาสมุทรมีบาดาล...ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มี ไม่ปรากฏ...

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า 'บาดาล' นี้เป็นชื่อของทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระแล ปุถุชนผู้ไม่ได้เรียนรู้ถูกทุกขเวทนา...ถูกต้องแล้ว ย่อมโศกเศร้า ลำบาก คร่ำครวญ ทุบอกร่ำร้อง ถึงความหลงเพ้อ ปุถุชนผู้ไม่ได้เรียนรู้นี้ เรากล่าวว่าไม่โผล่มาจากบาดาล ไม่ถึงแผ่นดินแข็ง...
"ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วถูกทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า...อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วนี้ เรากล่าวว่า โผล่พ้นจากบาดาลและบรรลุถึงฝั่งแผ่นดิน..."
ปาตาลสูตร
 
สิ่งที่ทำได้ยากในพระพุทธศาสนา
ปัญหา อะไรคือสิ่งที่ทำได้ยากในพระพุทธศาสนา

พระสารีบุตรตอบปริพาชกชื่อชัมพุขาทกะ "ท่านผู้มีอายุ การบรรพชาเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในธรรมวินัยนี้"
ชัมพุขาทกะ "ท่านผู้มีอายุก็อะไรอันบุคคลผู้บวชแล้วกระทำได้โดยยาก"
พระสารีบุตร "ความยินดียิ่งในการบวช ท่านผู้มีอายุ"

ชัมพุขาทกะ "ท่านผู้มีอายุอะไรที่ผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้โดยยาก"
พระสารีบุตร "ท่านผู้มีอายุ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม"
ชัมพุขาทกะ "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึงเป็นพระอรหันต์ได้ในเวลาช้านานเพียงไร"
พระสารีบุตร "ไม่นานนัก ผู้มีอายุ"
ชัมพุขาทกสังยุตต์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2012, 04:08:52 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตอน ๖

สังขาร ๓ และวิธีดับ
ปัญหา กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารคืออะไร และสังขารทั้ง ๓ นี้ดับไปเมื่อใด ?

พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดีลมหายใจเข้าและหายใจออก ชื่อว่ากายสังขาร...ลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกายฉะนั้น...จึงชื่อว่ากายสังขาร...
"วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร...บุคคลตรึกตรองก่อนจึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่า วจีสังขาร...

"สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร...สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น...จึงชื่อว่าจิตตสังขาร
"ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ..."
กามภูสูตรที่ ๒
 
ภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอย่างไร
ปัญหา การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีได้อย่างไร?

พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดีภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้คิดอย่างนี้ว่าเราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธหรือว่า เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว โดยที่แท้จิตของภิกษุนั้นเป็นจิตที่ได้รับการอบรมไว้ก่อนแล้วจนกระทั้งจิตนั้นสามารถนำภิกษุนั้นเข้าสู่สภาพตถัตตา ( คือ ภาวะเช่นนั้น ภาวะไม่มีชื่อ อันหมายถึงนิพพาน)"
กามภูสูตรที่ ๒
 
สังขารดับตามภูมิแห่งการปฏิบัติ
ปัญหา สังขารทั้งหลายย่อมดับไปตามลำดับตามภูมิแห่งการปฏิบัติทางจิตอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุ... เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับคือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตก วิจารย่อมดับ
เมื่อตติยฌาน ปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะ ของพระขีณาสพย่อมดับ"
รโหคตสูตร
 
ภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอย่างไร
ปัญหา การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธมีได้อย่างไร ?

พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดีภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้คิดอย่างนี้ว่าเราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว โดยที่แท้จิตของภิกษุนั้นเป็นจิตที่ได้รับการอบรมไว้ก่อนแล้วจนกระทั่งจิตนั้นสามารถนำภิกษุนั้นเข้าสู่สภาพตถัตตา (คือภาวะเช่นนั้น ภาวะไม่มีชื่อ อันหมายถึงนิพพาน)"
กามภูสูตรที่ ๒
 
คนตายกับสัญญาเวทยิตนิโรธ
ปัญหา คนตายกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธมีความแตกต่างกันอย่างไร ?

พระภามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดี คนที่ตายแล้วทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไปไออุ่นสงบ อินทรีย์กระจัดกระจาย
ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ แต่ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส..."
กามภูสูตรที่ ๒
 
ลำดับการออกสัญญาเวทยิตนิโรธ
ปัญหา การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธมีได้อย่างไร ? สังขารต่างๆ เกิดขึ้นอย่างไร ? ผัสสะอะไรเกิดขึ้นก่อน ? จิตน้อมไปสู่อะไร ? อะไรเป็นอุปการะแก่สัญญาเวทยิตนิโรธ ?

พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือว่าเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือว่าเราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว โดยที่แท้ จิตของภิกษุนั้นเป็นสภาพได้รับการอบรมไว้ก่อนจนสามารถนำภิกษุนั้นเข้าสู่สภาพตถัตตาได้...

 "ดูก่อนคฤหบดีเมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธจิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิดต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด...
"ดูก่อนคฤหบดีผัสสะ ๓ อย่าง คือสุญญผัสสะอนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ...
จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมน้อมไปสู่วิเวก...
ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธ"
กามภูสูตรที่ ๒
 
เหตุให้คนใจดี - ใจร้าย
ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้คนบางคนดุ ใจร้าย อะไรเป็นเหตุให้คนบางคนเป็นคนใจดี ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนนายคามณี คนบางคนในโลกนี้ ยังละราคะไม่ได้...ยังละโทสะไม่ได้...ยังละโมหะไม่ได้...เพราะเป็นผู้ยังละราคะ...โทสะ...โมหะไม่ได้ คนอื่นจึงทำให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธอยู่ จึงแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ
"ดูก่อนนายคามณีส่วนคนบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว...ละโทสะได้แล้ว...ละโมหะได้แล้ว เพราะละราคะ...โทสะ...โมหะได้คนอื่นจึงทำให้โกรธไม่ได้
คนที่ละราคะ...โทสะ...โมหะได้แล้ว ถูกคนอื่นยั่วให้โกรธก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ"
จัณฑสูตร
 
อนาคตของดารานักแสดง
ปัญหา ดารานักแสดงที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อื่นด้วยคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้างนั้น ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้หัวหน้านักแสดงนามว่าตาลปุฏะถามคำถามนั้นถึง ๓ ครั้ง แต่นายตาลปุฏะก็ยังคะยั้นคะยอจะเอาคำตอบให้ได้ พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนหัวหน้านักแสดงแท้จริงเราไม่อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้เรากล่าวว่า อย่าเลย หัวหน้านักแสดง เรื่องนี้หยุดไว้เสียเถิด อย่าถามปัญหานี้กะเราเลยแต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน

"ดูก่อนหัวหน้านักแสดง สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะถูกราคะผูกมัดไว้...ยังไม่ปราศจากโทสะ ถูกโทสะผูกมัดไว้...ยังไม่ปราศจากโมหะ ถูกโมหะผูกมัดไว้อยู่ก่อนแล้ว นักแสดงยิ่งนำเข้ามาซึ่งธรรมอันส่งเสริมราคะ...ส่งเสริมโทสะ...ส่งเสริมโมหะแก่ชนเหล่านั้นในท่ามกลางเวที ท่ามกลางโรงมหรสพ ให้มี ราคะ...โทสะ...โมหะมากยิ่งขึ้น บุคคลนั้น ตนเองก็ประมาทมัวเมาอยู่แล้ว ยังทำให้คนอื่นประมาทมัวเมาอีก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเกิดในนรกชื่อปหาสะ...

"ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่านักแสดงคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงตามคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางเวที...ผู้นั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด..."
ตาลปุฏสูตร
 
อนาคตของนักรบมืออาชีพ
ปัญหา นักรบมืออาชีพที่มีความอุตสาหะวิริยะในสงครามตายไปแล้วจะเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

คำถามนี้ประธานชุมชน (นายบ้าน) ผู้เป็นนักรบอาชีพทูลถามพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงตอบ แต่ในที่สุดก็จำต้องตอบว่า

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนนายบ้าน แท้จริงเราไม่ได้อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้ เรากล่าวว่า 'อย่าเลย นายบ้าน เรื่องนี้พักไว้เสียเถิด อย่าถามปัญหานี้กะเราเลย' แต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน

"ดูก่อนนายบ้านนักรบอาชีพคนใด อุตสาหะพยายามในสงคราม จิตของเขาเป็นสภาพต่ำ ชั่ว ตั้งไว้ไม่ดีก่อนแล้วว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มีอยู่เลย ดังนี้บุคคลอื่นย่อมฆ่าย่อมกำจัดเขาที่กำลังอุตสาหะพยายามอยู่นั้น เมื่อเขาตายเพราะกายแตกทำลายย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต...

"ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม...ผู้นั้นเมื่อตายไปเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิตดังนี้ไซร้ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด
ดูก่อนนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด..."
โยธาชีวสูตร
 
พิธีส่งวิญญาณไปสวรรค์ของพราหมณ์
ปัญหา นายบ้านชื่อสิพันธกบุตรทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิผู้ถือหม้อน้ำคล้องพวงมาลัยดอกไม้ผู้ล้างบาปด้วยน้ำ ผู้บูชาไฟ สามารถทำพิธีปลุกคนตายที่ถึงวาระสุดท้ายแล้วให้เป็นขึ้น ทำให้เขารู้ตัวแล้วส่งเขาขึ้นสู่สวรรค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าสามารถทำได้เช่นนั้นหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนนายคามณี ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในปัญหาข้อนี้...ท่านจะเห็นความข้อนั้นอย่างไร บุรุษในโลกนี้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดหมู่มหาชนมาประชุมกันแล้ว พึงสวดวิงวอนสรรเสริญประนมมือเดินเวียนรอบผู้นั้นกล่าวว่า ขอบุรุษผู้นี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลกสรรค์ ท่านจะเห็นความข้อนั้นอย่างไร บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุ การสวดวิงวอน...การสรรเสริญ หรือการประนมมือเดินเวียนรอบนั้นหรือ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า"

"ดูก่อนนายคามณีเปรียบเหมือนบุรุษโยนหินก้อนหนาใหญ่ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน...ว่า ขอจงลอยขึ้นมาเถิด ท่านก้อนหิน ท่านจะคิดเห็นอย่างไรก้อนหินนั้นถึงจะลอยขึ้น เพราะเหตุ การสวดวิงวอนของหมู่มหาชนบ้างหรือ ?"
"ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า"

"ดูก่อนนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกันบุคคลใดฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ แม้หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน...ว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไปจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็ตาม แต่บุรุษนั้นเมื่อตายไปพึงเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรกโดยแท้..."
ภูมกสูตร
 
จุดรวมของอกุศลกรรม
ปัญหา เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้ว อกุศลธรรมและกุศลธรรมทั้งสิ้นรวมลงในอะไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นได้แก่นิวรณ์ ๕...

 "เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลนี้ทั้งสิ้นได้แก่สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง..."
อกุสลราสิสูตร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2012, 04:14:17 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตอน ๗

การแสดงธรรมแบบต่าง ๆ แก่คนประเภทต่าง ๆ
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง แต่เหตุไฉนจึงทรงแสดงธรรมด้วยดีแต่คนบางพวก ไม่ทรงแสดงธรรมด้วยดีแก่คนบางพวก ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนนายคามณีถ้าอย่างนั้นเราจักย้อนถามท่านถึงข้อนี้ ท่านพึงพยากรณ์ปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นสมควร
 ดูก่อนนายคามณีท่านจะเห็นความข้อนั้นอย่างไร นาของคฤหบดีชาวนาในโลกนี้มี ๓ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นนาดี ชนิดหนึ่งเป็นนาปานกลาง ชนิดหนึ่งเป็นนาเลว มีดินแข็ง ดินเค็ม มีเนื้อดินเลว...คฤหบดีต้องการจะหว่านพืชจะพึงหว่านในนาไหนก่อน ?
"พึงหว่านในนาดีก่อน...แล้วจึงหว่านในนาปานกลาง...ในนาเลว...พึงหว่านบ้าง ไม่หว่านบ้างเพราะเหตุไร เพราะในที่สุด จักเป็นเพียงอาหารโค

"ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนนาดีฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งความหมาย (อรรถะ) และตัวอักษร (พยัญชนะ) บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง แก่ภิกษุและภิกษุณีของเราเหล่านั้นก่อน ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่หลบภัย มีเราเป็นเครื่องป้องกันมีเราเป็นสรณะ

"ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนนาปานกลางฉันใด เราย่อมแสดงธรรม...แก่อุบาสก อุบาสิกาของเราเหล่านั้นฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง...

"ดูก่อนนายคามณี นาเลว มีดินแข็ง...มีดินเหลว ฉันใด เราย่อมแสดงธรรม...แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้นฉันนั้น...ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้าอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์และปริพาชก จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมนั้นแม้บทเดียว ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่เขาสิ้นกาลนาน..."
เทศนาสูตร
 
พระภิกษุกับการรับเงินและทอง
ปัญหา ราชบริษัทในเมืองราชคฤห์สนทนากันว่า เงินและทองเป็นสิ่งควรแก่ภิกษุ พระภิกษุยังยินดีในเงินและทอง และย่อมรับเงินและทองได้ นายบ้านนามว่ามณีจูฬกะได้ยินเช่นนั้น จึงปฏิเสธคำกล่าวหานั้น แล้วภายหลังได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องนี้ให้ทราบ และทูลถามว่าที่เขาปฏิเสธไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดีละนายคามณี เมื่อท่านตอบอย่างนั้น เป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และกล่าวตอบธรรมถูกต้องเหมาะสม...เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีในเงินและทอง...ห้ามเสียซึ่งเพชรนิลจินดาและทอง ปราศจากเงินและทอง

"ดูก่อนนายคามณี กามคุณทั้ง ๕ ควรแก่ผู้ใด เงินและทองย่อมควรแก่ผู้นั้น ท่านพึงจำข้อนี้ไว้อย่างเด็ดขาดเถิดว่า ข้อนั้นไม่ใช่สมณธรรม ไม่ใช่ธรรมของสมณศากยบุตร

นายคามณี เรากล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการหาเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษจึงแสวงหาบุรุษ แต่เรามิได้กล่าวโดยปริยายใด ๆ เลยว่า พระศากยบุตรพึงยินดีและแสวงหาเงินและทอง"
มณีจุฬาสูตร
 
ความสำคัญของความเห็น
ปัญหา ความเห็นผิด และความเห็นถูก มีความสำคัญอย่างไรในการปฏิบัติทางพุทธศาสนา ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวบาเลย์ ที่จัดตั้งไว้ไม่ถูก (เมื่อ)มือหรือเท้ากระทบเข้า จักทำลายมือหรือเท้า จักทำให้ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่สิ่งที่จะเป็นไปได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเดือยนั้นบุคคลจัดตั้งไว้ผิด...

 ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแลจักทำลายอวิชชา จักยังวิชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการเจริญมรรควิชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ผิด ข้อนั้นมิใช่สิ่งที่จะเป็นไปได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นตั้งไว้ผิด

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...ข้อที่ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้งด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูกด้วยการอบรมที่มรรคตั้งไว้ถูก นี้เป็นฐานะที่จะเป็นไปได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก..."
สุกสูตร
 
เครื่องรองรับจิตคืออะไร
ปัญหา เครื่องรองรับจิตคืออะไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย หม้อที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ยากฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ยาก

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล...เป็นเครื่องรับรองจิต"
กุมภสูตร
 
สิ่งจำเป็นเบื้องต้นในการเจริญอริยมรรค
ปัญหาอะไรคือสิ่งจำเป็นเบื้องต้นในการเจริญอริยมรรค ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือแสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน แห่งความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ของภิกษุ คือความเป็นผู้มีมิตรดีฉันนั้นเหมือนกัน
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี เป็นอันหวังได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ "
กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
 
องค์ประกอบอื่น ๆ ของมรรค
ปัญหา สิ่งจำเป็นเบื้องต้นอื่น ๆ อีกในการเจริญอริยมรรค คืออะไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน...คือแสงเงินแสงทอง...สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน แห่งความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความสมบูรณ์แห่งศีล...ความสมบูรณ์แห่งฉันทะ...ความสมบูรณ์แห่งโยนิโสมนสิการ (การคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ) ฉันนั้นเหมือนกัน

 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสมบูรณ์แห่งศีล ฯลฯ ความสมบูรณ์แห่งโยนิโสมนสิการ เป็นอันหวังได้ว่า จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘..."
สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
 
จุดหมายปลายทางของอริยมรรค
ปัญหา อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่บุคคลเจริญเต็มที่แล้วย่อมนำไปสู่อะไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใดสายหนึ่งนี้คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออก...ไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทรแม้ฉันใด เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพิ่มพูนอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้นเหมือนกัน

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...ภิกษุเจริญอริยมรรคอันมีองค์ ๘...อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน ?... ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ...มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด...กำจัดโทสะเป็นที่สุด...กำจัดโมหะเป็นที่สุด...อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด...อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน...
"เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้แลจึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน..."
คังคาปาจีนนินนสูตรฯ
 
ยอดแห่งธรรมทั้งปวง
ปัญหา ยอดแห่งธรรมทั้งปวงคืออะไร

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้นฉันใด...

"รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายผู้สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่แม้ฉันใด...

"กลอนแห่งเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมไปสู่ยอด น้อมไปสู่ยอด ประชุมเข้าที่ยอด ยอดแห่งเรือนยอดนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้นเหมือนกัน...

"กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้นฉันนั้นเหมือนกัน...
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ คือจักเจริญอริยมรรคอันมีองค์ ๘ เพิ่มพูนอริยมรรคมีองค์ ๘..."
ตถาคตสูตรที่ ๑
 
ศีลส่งเสริมอริยมรรค
ปัญหา ธรรมอะไรเป็นรากฐานแห่งความเจริญงอกงามแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังที่บุคคลทำอยู่ใด ๆ งานทั้งหมดนั้น คนอาศัยแผ่นดิน ยืนอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้...แม้ฉันใด...
"พืชคามและภูตคามชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เจริญงอกงามใหญ่โต...ทั้งหมดนั้นอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต...แม้ฉันใด
"ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญ...เพิ่มพูนอริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน..."
พลกรณียสูตรที่ ๑
 
ธรรมที่ควรรู้และทำให้แจ้งและทำให้เจริญ
ปัญหา ธรรมอะไรที่ควรกำหนดรู้ และกระทำให้แจ้งและทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งคืออะไร ? คือ ธรรมที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ...

"...ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งคืออะไร ?คือ อวิชชาและภวตัณหา...
"...ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งคืออะไร ? คือ วิชชาและวิมุติ
"...ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งคืออะไร ? คือ สมถะและวิปัสสนา

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ...เพิ่มพูนอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง จึงละธรรมที่ควรละ...จึงทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง...จึงเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง..."
อาคันตุกาคารสูตร
 
คนใฝ่หา ๓ สิ่ง
ปัญหา คนในโลกใฝ่หาอะไรบ้างและเราควรทำอย่างไรเกี่ยวกับการใฝ่หานั้น ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใฝ่หามี ๓ อย่าง...คือ การใฝ่หากาม ๑ การใฝ่หาภพ ๑ การใฝ่หาพรหมจรรย์ ๑...
 ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่งการใฝ่หา ๓ อย่างนี้แล..."


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2012, 04:27:59 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตอน ๘
สนิมของจิต
ปัญหา ธรรมที่เป็นสนิมของจิตทำให้จิตเสียไปคืออะไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองของทองคำ ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ ให้ใช้การไม่ได้ดี สิ่งเศร้าหมอง ๕ อย่างคืออะไรบ้าง ?
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล็ก ...ดีบุก...ตะกั่ว...เงิน เป็นเครื่องเศร้าหมองของทองคำ ทำทองคำไม่ให้อ่อน...ให้ใช้การไม่ได้ดี

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องเศร้าหมองของจิต ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความสิ้นอาสวะ เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ๕ อย่างคืออะไรบ้าง ?
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ...พยาบาท...ถีนมิทธะ...อุทธัจจะ กุกกุจจะ...วิจิกิจฉาเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต ทำจิตไม่ให้นิ่มนวล...

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แลไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันบุคคลเจริญแล้ว...ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุติ"
อุปกิเลสสูตร
 

นิวรณ์ ๕ ระงับเมื่อใด
ปัญหา ทำอย่างไรนิวรณ์ ๕ จึงระงับ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกมุ่งต่อพระธรรม ใส่ใจ พิจารณาด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์"
อาวรณานีวรณสูตร
 

อาหารของโพชฌงค์ ๗
ปัญหา อะไรเป็นอาหารเครื่องบำรุงเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ ให้เจริญ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้นเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น...
"ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้นเป็นอาหารแห่งธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์

"ความริเริ่มความพยายาม ความบากบั่นมีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านี้ เป็นอาหารแห่งวิริยสัมโพชฌงค์
"ธรรมทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งปีติสัมโพชฌงค์

"ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
"สมาธินิมิตและอัพยัคคนิมิต (นิมิตแห่งจิตที่มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในนิมิตเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
"ธรรมทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์..."
กายสูตร
 

อานิสงส์โพชฌงค์ ๗
ปัญหา เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์และจะเกิดอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้..ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ คือ

(๑) จะได้บรรลุอรหัตตผลโดยพลัน ในปัจจุบัน
(๒) ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตตผลในเวลาใกล้ตาย
(๓) ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจจุบันในเวลาใกล้ตายจะได้เป็นพระอนาคามี ประเภทอันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุและไม่ได้เป็นพระอนาคามีประเภทอันตราปรินิพพายี...จะได้เป็น พระอนาคามีประเภทอุปหัจจปรินิพพายีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุและไม่ได้เป็นพระอนาคามีประเภทอันตราปรินิพพายี ทั้งประเภทอุปหัจจปรินิพพายี จะได้เป็นพระอนาคามีประเภทอสังขารปรินิพพายีเพราะสังโยชน์ ๕ เบื้องต่ำสิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ฯลฯ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีมีผู้อสังขารปรินิพพายี...จะได้เป็นพระอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ฯลฯ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีมีผู้สสังขารปรินิพพายี จะได้เป็นพระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป..."
สีลสูตร
 

พระพุทธเจ้าอยู่ด้วยวิชชาและวิมุติ
ปัญหา กุณฑลิยปริพพาชกทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระสมณโคดมทรงมีอะไรเป็นอานิสงส์ดำรงชีวิตอยู่ ?

พุทธดำรัสตอบ" ดูก่อนกุณฑลิยะตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่...
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์...
สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์...

สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้วย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์...
อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว...ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์...
กุณฑลิยสูตร
 

พระพุทธองค์ไม่มีคำสอนพิเศษเพื่อใคร
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงมีคำสอนพิเศษที่สงวนไว้สำหรับ พระสาวกบางประเภทหรือไม่ ?และทรงมีคำสอนพิเศษที่จะประกาศแก่พระสงฆ์สาวกก่อนจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์บัดนี้ภิกษุสงฆ์จะมาหวังอะไรในเราอีกเล่า ? พระธรรมเราแสดงไว้แล้วโดยไม่มีนอกไม่มีใน
 "ดูก่อนอานนท์ในธรรมทั้งหลายของตถาคต ย่อมไม่มีกำมือแห่งอาจารย์ (สิ่งที่อาจารย์กำไว้เป็นความลับ) ผู้ใดพึงมีความดำริอย่างนี้ว่าเราจักบริหารภิกษุสงฆ์หรือว่า ภิกษุสงฆ์มีเราเป็นที่อิงอาศัยผู้นั้นพึงปรารภภิกษุสงฆ์กล่าวประกาศเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างแน่นอน

"ดูก่อนอานนท์ตถาคตไม่เคยมีความดำริอย่างนี้เลยว่า เราจะบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่า ภิกษุสงฆ์มีเราเป็นที่อิงอาศัย ฉะนั้นตถาคตจักปรารภภิกษุสงฆ์กล่าวประกาศเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำไมเล่า ?บัดนี้เราก็แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว วัยของเราล่วงเข้าแปดสิบปีแล้ว เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ก็เพราะซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ฉันใด กายของตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน..."
คิลานสูตร
 

อะไรเกิดขึ้นในการเจริญสติปัฏฐาน
ปัญหา ในการเจริญสติปัฏฐานอะไรเกิดขึ้นบ้างและควรปฏิบัติอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย...เห็นเวทนาในเวทนา...เห็นจิตในจิต...เห็นธรรมในธรรมอยู่ อารมณ์ทางกายย่อมเกิดขึ้นบ้าง ความเร่าร้อนในกายหรือความหดหู่จิตซัดส่ายจิตไปในภายนอกบ้าง...อารมณ์คือเวทนาย่อมเกิดขึ้นบ้าง...อารมณ์ทางจิตย่อมเกิดขึ้นบ้าง...อารมณ์คือธรรมย่อมเกิดขึ้นบ้าง...ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิตอันน่าเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต...ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้วบัดนี้ เราจะคุมจิตไว้ เธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึกไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่าเราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในกายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้..."
ภิกขุณีสูตร ๑
 

บำบัดทุกขเวทนาด้วยพลังจิต
ปัญหา ได้ทราบว่า เวลาประชวรหนัก บางคราวพระพุทธเจ้าทรงบำบัดทุกขเวทนาด้วยพลังจิต พระองค์ทรงกระทำอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์ สมัยใดตถาคตเข้าเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เพราะไม่ได้กระทำไว้ในใจ ซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางอย่างแล้วอยู่สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมผาสุก เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง..."
คิลานสูตร
 

มหาบุรุษคือคนประเภทไหน
ปัญหา ที่เรียกว่า 'มหาบุรุษ' ในทางพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงคนประเภทไหน ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนสารีบุตรเราเรียกว่า 'มหาบุรุษ' เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น เราไม่เรียกว่า 'มหาบุรุษ' เพราะเป็นผู้มีจิตยังไม่หลุดพ้น
 "ดูก่อนสารีบุตรก็บุคคลเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นภายในกายอยู่เป็นปกติ...พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นปกติ...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นปกติ...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็นปกติ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย...จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
 "ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้แล เราเรียกว่ามหาบุรุษ..."
มหาปุริสสูตร
 

ไม่ใครเหนือพระพุทธองค์
ปัญหา สมณะหรือพราหมณ์อื่นซึ่งจะมีปัญญาเครื่องตรัสรู้ยิ่งกว่าพระพุทธเจ้ามีหรือไม่ ?

พระสารีบุตรตอบ "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางปัญญาเครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้ว จักไม่มีและย่อมไม่มีในบัดนี้...

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะมีเจโตปริยญาณ (การรู้จิตใจของผู้อื่น) ในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันก็หามิได้ แต่ข้าพระองค์รู้ได้ด้วยการอนุมานตามพระธรรม

 "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนชายแดนของพระราชา มีเชิงเทินมั่นคง มีกำแพงและหอรบหนาแน่น มีประตูเดียว คนเฝ้าประตู...มีปัญญาเฉลียวฉลาด ห้ามคนไม่รู้จัก ให้คนรู้จักเข้าไป เขาเดินตรวจทางรอบนครนั้น ไม่พบรอยต่อหรือช่องแห่งกำแพงโดยที่สุดแม้เพียงแมวจะลอดออกไปได้ เขาพึงมีความมั่นใจอย่างนี้ว่า สัตว์ขนาดใหญ่เหล่าใดเหล่าหนึ่งจะเข้าสู่นครนั้นหรือออกไป ย่อมเข้าออกทางประตูนี้ทั้งหมดฉันใด ข้าพระองค์รู้ได้ด้วยการอนุมานตามพระธรรมก็ฉันนั้น...

 "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดที่ได้มีมาแล้วในอดีตกาลจักมีในอนาคต...และแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทุกพระองค์ทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจทอนกำลังปัญญา ทรงมีพระหฤหัยตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทาง เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว..."
นาฬันทสูตร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2012, 06:35:29 pm โดย ฐิตา »