พระพุทธาธิคุณจาก เอกอัจฉริยะบรมบุรุษ "พระพุทธเจ้า"
Credit:"เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT)
เพื่อเป็นการแสดงพระพุทธอัจฉริยภาวะอันประเสริฐสูงสุด หาใดเสมอสองมิได้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ให้ปรากฏทั่วไป อันจะพึงเป็นมหากุศลใหญ่และแรงบันดาลใจอย่างไร้ขอบเขตที่สิ้นสุดสืบไปเมื่อหน้า
จึงเป็นการอันสมควรแล้วที่จะได้รวบรวมเอาพระพุทธาธิคุณทั้งปวงอย่างสรุปรวบยอดมาประมวลบันทึกและนำเสนอไว้ ณ ที่นี้แท้ทีเดียว....
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีเป็นเอนกประการ สุดที่จะพรรณนา
แต่เมื่อรวบรัดกล่าวโดยย่อแล้วก็มี ๙ ประการ คือ
๑.
อรหํ เป็นผู้ไกลจากข้าศึก คือ กิเลส อีกนัยหนึ่งว่า เป็นผู้ที่ไม่มีที่รโหฐาน หมายความว่า แม้แต่ในที่ลับ ก็ไม่กระทำบาป
๒.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ที่ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง
๓.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ วิชาและจรณะนี้ได้แสดงแล้วในปริจเฉทที่ ๗ ตอน สัพพสังคหะ ตรงมรรคอริยสัจจ ขอให้ดูที่นั่นด้วย
๔.
สุคโต แปลว่า ทรงไปแล้วด้วยดี ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึง ๔ นัย คือ
ก. เสด็จไปงาม คือไปสู่ที่บริสุทธิ์ อันเป็นที่ที่ปราศจากโทษภัยทั้งปวง ซึ่งหมายถึง
อริยสัจจทั้ง ๔ข. เสด็จไปสู่ฐานะอันประเสริฐ คือ
อมตธรรม อันเป็นธรรมที่สงบระงับจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง
ค. เสด็จไปในที่ถูกที่ควร คือพ้นจาก
วัฏฏะ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ง. ทรงตรัสไปในทางที่ถูกที่ชอบ คือทรงเทศนา
ในสิ่งที่เป็นความจริงและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้ฟัง
ประมวลลักษณะแห่งพระพุทธดำรัสได้เป็น ๖ ลักษณะ ดังจะแสดงโดยย่อที่สุด ดังนี้
(๑) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส
(๒) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส
(๓) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส
(๔) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส
(๕) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์ถึงจะไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นก็รู้กาลที่จะตรัส
(๖) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์และเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นด้วยก็รู้กาลที่จะตรัส๕.
โลกวิทู พระพุทธองค์ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้งด้วยประการทั้งปวง คือ ทรงรู้จัก
โลก รู้จัก
เหตุเกิดของโลก รู้จัก
ธรรมที่ดับของโลก และรู้จัก
ทางปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับของโลก
อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงการแจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลกก.
สังขารโลก หมายถึง สังขารธรรม คือ รูปนาม ได้แก่ จิต เจตสิก รูปทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ด้วยการปรุงแต่ง ทำให้หมุนเวียนไปในสังสารวัฏฏ จำแนกโลกได้เป็นหลายนัย เช่น
โลกนับว่ามี ๑ ได้แก่ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิกา สัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่ได้ด้วยต้อง
อาศัยอาหารเหมือนกันหมด
โลกนับว่ามี ๒ ได้แก่ นาเม จ รูเป จ คือ
นาม ๑ รูป ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง ว่าได้แก่ อุปาทินนกสังขาร ๑ อนุปาทินนกสังขาร ๑
โลกนับว่ามี ๓ ได้แก่ ตีสุ เวทนาสุ คือ
เวทนา ๓ มี สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา
โลกนับว่ามี ๔ ได้แก่ จตูสุ อาหาเรสุ คือ
อาหาร ๔ มี กพฬีการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่
สติปัฏฐาน ๔โลกนับว่ามี ๕ ได้แก่ ปญฺจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ คือ
อุปาทานขันธ์ ๕ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่
อินทรีย ๕โลกนับว่ามี ๖ ได้แก่ ฉสุ อชฺฌตฺติเกสุ อายตเนสุ คือ
อายตนะภายใน ๖ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่
นิสสรณียธาตุ ๖โลกนับว่ามี ๗ ได้แก่ สตฺตสุ วิญฺญาณฏฺฐิตีสุ คือ
วิญญาณฐีติ ๗ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่
โพชฌงค์ ๗โลกนับว่ามี ๘ ได้แก่ อฏฺฐสุ โลกธมฺเมสุ คือ
โลกธรรม ๘ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่
อริยอัฏฐังคิกมัคค ๘โลกนับว่ามี ๙ ได้แก่ นวสุ สตฺตาวาเสสุ คือ
สัตตาวาส ๙ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่
โลกุตตรธรรม ๙โลกนับว่ามี ๑๐ ได้แก่ ทสสุ อกุสลกมฺมปเถสุ คือ
อกุสลกรรมบถ ๑๐ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่
กุสลกรรมบถ ๑๐โลกนับว่ามี ๑๒ ได้แก่
อายตนะ ๑๒โลกนับว่ามี ๑๘ ได้แก่
ธาตุ ๑๘ข.
สัตวโลก บาลีเป็น สัตตโลก หมายถึง บุคคล คือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งทรงแจ้ง ประเภท (บุคคล ๑๒) , เหตุให้เกิด, นิสัย, จริต, บารมี แห่งสัตว์เหล่านั้นทั้งสิ้น
ค.
โอกาสโลก หมายถึง ภูมิ อันเป็นที่ตั้งแห่งสังขารธรรม คือ เป็นที่อาศัยเกิด อาศัยอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนรวม ๓๑ ภูมิ
๖.
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงสามารถฝึกอบรมสั่งสอนแนะนำผู้ที่สมควรฝึกได้เป็นอย่างเลิศไม่มีใครเสมอเหมือน ทั้งนี้เพราะทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์นั้น ๆ
๗.
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งไม่มีศาสดาใดจะเทียมเท่า เพราะทรงนำสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ได้
๘.
พุทฺโธ ทรงเห็นทุกอย่าง (สพฺพทสฺสาวี), ทรงรู้ทุกสิ่ง (สพฺพญฺญู) ทรงตื่น , ทรงเบิกบานด้วยธรรม
๙.
ภควา ทรงเป็นผู้ที่มีบุญที่ประเสริฐสุด ทรงสามารถจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ตามควรแก่อัตตภาพของสัตว์นั้น ๆ