อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล

หลวงปู่เทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ)

<< < (2/4) > >>

sithiphong:
ต่อมาในปี พ.ศ.239 พระโสณกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุไทย 10 รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยสามเณร 3 รูป อุบาสก อุบาสิกา ไปเรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตร แคว้นมคธ นับเป็นเวลา 5 ปี (พระญาณจรณะ (ทองดี) ท่านนี้ ปรากฏหลักฐานเพียงรูปของพระพิมพ์มีลักษณะอวบอ้วนคล้ายพระมหากัจจายนะเถระเจ้า ด้านหลังมีรูปพระ 9 องค์เป็นอนุจร หรือบวชทีหลัง คนเรียกกันมานานนับพัน ๆ ปี ศัพท์สังขจายไม่มีคำนิยามในพจนานุกรม พุทธสาวกทุกพระองค์จะมีนามเป็นภาษาบาลีทั้งสิ้น ไม่มีนามเป็นภาษาไทย พระญาณจรณะ (ทองดี) บรรลุอรหันต์และจบกิจ นานนับพันปีแล้ว ปัญหาเช่นดังกล่าวนี้ หากนำพระปิดตาขึ้นมาพิจารณาก็ยากที่จะตัดสินว่าเป็นพุทธสาวกองค์ใดกันแน่ อาจจะเป็นพระมหากัจจายนะเถระเจ้า ปางเนรมิตวรกายก็ได้ อาจจะเป็นพระควัมปติก็ได้ เป็นพุทธสาวกทรงเอตทัคคะด้วยกัน แต่เป็นคนละองค์ คำพระควัมบดี ไม่มี)

   ลุปี พ.ศ.245 พระเจ้าโลกละว้าสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้า ราชบุตรขึ้นครองราชย์ นามตะวันอธิราชเจ้า ถึงปี พ.ศ.264 พระโสณใกล้นิพพาน พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิ วางรากฐานะกรรมวินัยในพระบวรพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา 29 ปี และท่านนิพพานในปีนั้น

   หลักฐานต่าง ๆ ตามที่กล่าวจารึกด้วยอักษรเทวนาครี ขุดพบที่โคกประดับอิฐ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี พบรูปปั้นลอยองค์ ลักษณะนั่งห้อยเท้า มีลีลาแบบปฐมเทศนา มีเศียรโล้น ด้านหนึ่งจารึกว่าโสณเถร ด้านล่างอุตตรเถร ด้านล่างสุด สุวรรณภูมิมีอยู่ด้วยกัน 5 องค์ ผู้ค้นพบทุบเล่น 3 องค์เหลือเพียง 2 องค์ ตกเป็นสมบัติของวัดเพชรพลี ส่วนครบชุด 5 องค์ คือ พระโสณเถระ พระอุตรเถระ พระฌานียเถระ พระมูนียะเถระ พระภูริยะเถระ ในท่านั่งแสดงธรรม สมัยต่อมาในรัชกาลที่ 4 ที่ 5 มีการสร้างแบบพระสมเด็จขึ้น แล้วเห็นเป็นพระสมเด็จผิดพิมพ์อีกด้วย จึงเป็นการสับสนสำหรับผู้ที่ไม่รู้จริง
   จะเห็นได้ว่าตามหลักฐานบันทึก กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตรเถระ (อุตร ก็คือ อุดร) เป็นปัญหาว่าหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่ เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระโสณเถระ

   ข้อเท็จจริง ท่านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต องค์พี่ คือ พระอุตรมีร่างกายสันทัด องค์น้องมีร่างกายสูงใหญ่ มีฉายาว่าขรัวตีนโต ถ้านำพระธาตุมาตรวจนิมิตจะบอกว่า โสณ-อุตร ไม่แยกจากกัน องค์น้องบรรลุอรหันต์ก่อนองค์พี่ แต่มีความเคารพองค์พี่มากต้องกราบองค์พี่ ถือว่าเป็นภันเต แต่เหตุที่บรรลุธรรมก่อนพี่ชาย จึงเรียก “โสณ-อุตร” ไม่เรียก “อุตร-โสณ” ฉะนั้นหลวงปู่ใหญ่ก็คือพระอุตรนั่นเอง เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวพระนามขององค์ท่านว่า พระโสณอุดร พระโลกอุดร ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมเกิดความคิดจัดกลุ่มพระเทพโลกอุดรขึ้น และเขียนเรื่องลงในวารสารพระเครื่อง โดยแบ่งกลุ่มออก ดังนี้:-
      กลุ่มที่ 1 มีพระโสณ
      กลุ่มที่ 2 พระมูนียะ หรือหลวงปู่โพรงโพ เป็นเอกเทศ
      กลุ่มที่ 3 พระฌานียะ (หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) พระภูริยะ (หลวงปู่หน้าปาน)
รวมเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน แต่ไม่เป็นการถูกต้องตามข้อเท็จจริง ได้เกิดนิมิตครั้งแรกพบเพียงพระอุตรเถระเจ้า ปรากฏกายเพียงครึ่งท่อน (สอบแล้วตรงกับคนใต้ท่านหนึ่ง) ท่านบินเข้าสู่โดยลักษณะการที่รวดเร็วยิ่ง ตรงเข้ากอดรัดด้วยความเมตตา ผมทักท่านว่า “หลวงปู่ใหญ่” ท่านยิ้มแล้วบอกกับผมว่า “ปู่ชื่อเปลี่ยนนะลูก” ขอให้ลูกจงหลุดจาดการยึดมั่นถือมั่น ท่านสอนธรรมง่าย ๆ แต่มันลึกและเป็นขั้นสูงไม่ธรรมดา ท่านมาองค์เดียว ท่านอภิชิโตภิกขุก็เคยเล่าให้ฟังว่าหลวงปู่อยู่องค์เดียว นอกนั้นก็เป็นเพียงศิษย์ในสำนัก เรื่องนี้ผมไม่ได้คุยให้ใครฟังมาก นักเกรงจะไม่เชื่อ คนที่มาหาก็ชอบแต่ส่องพระด้วยแว่น ไม่ส่องด้วยจิต และผมจะดีใจในเมื่อพบคนส่องพระทางจิตคุยกันถูกคอ

   อยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์บุญส่ง สามผ่องบุญ โรงเรียนทวีธาภิเศก ได้มาเยือนผมถึงบ้านพัก ท่านมาด้วยกันหลายคนพร้อมภรรยา แต่ทิ้งไว้ในรถยนต์ ท่านเล่าว่าที่มานี้ก็เพราะได้รับประสบการณ์ คือ มีพรรคพวกของท่านคนหนึ่งแขวนพระพิมพ์โลกอุดรรุ่นเทิดพระเกียรติวังหน้าพิมพ์ปิดตาสี่กร เกิดไปปะทะกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อเข้าอย่างจัง แต่หาอันตรายมิได้ พระพิมพ์วิเศษชนิดนี้หากเอาพระสมเด็จวัดระฆังที่เขานิยมกันองค์ละ 3 ล้าน 3 องค์ มาแลกอย่าได้เอา แล้วท่านก็แนะนำตนเองว่าได้ฝึกฝนในด้านสมาธิมานานจบธรรมกายอรหันต์ละเอียดแล้ว ไปศึกษาพุทโธสาย ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ละเลิกการติดฤทธิ์แล้ว ตัวท่านเองรู้จักกับพระภิกษุและวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ มากมาย แต่น่าอัศจรรย์ใจ คือ มีบุคคลท่านหนึ่งประสงค์จะอุปสมบท และขอร้องให้ท่านช่วยไปหาสำนักที่ดี ๆ ให้ด้วย ท่านพาดุ่มไปยังวัดหนึ่ง ไม่เคยรู้จักกับสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้นมาก่อน เป็นสมภารหนุ่มเรียนจบขั้นปริญญาโทจากต่างประเทศ และมีภาพพระเทพโลกอุดรขนาดใหญ่ตั้งบูชาอยู่ ท่านอาจารย์บุญส่งก็ถามว่า “อาจารย์ก็นับถือหลวงปู่เทพโลกอุดรเหมือนกันหรือ” ท่านอาจารย์บุญส่งตอบว่า “ท่านสอนให้สิ้นการยึดมั่นถือมั่น ผมจึงสิ้นฤทธิ์ไม่ติดฤทธิ์ต่อไป” ผมจึงตอบท่านอาจารย์บุญส่งว่า “ใช่ครับเป็นคำสอนของหลวงปู่ใหญ่ ผมขอรับรอง ไม่ใช่คำพูดของเจ้าอาวาส” ตัวผมเองไม่ได้ฌานได้ญาณอะไรกับเขาหรอก ท่านอาจารย์บุญส่งไม่เรียกผม อาจารย์ขอเรียกพี่ ครั้งแล้วท่านอาจารย์บุญส่งก็เล่นงานผมเข้าให้บ้าง แผล็บเดียวก็คุกเข่าลงกราบ ผมถามว่า “อาจารย์ทำไมทำเช่นนี้” อาจารย์บุญส่งไม่ตอบ เรียกคนในรถทุกคนให้ขึ้นบ้าน บอกว่าเข้ามากราบได้สนิท ผมก็ยิ่งสงสัยว่านี่มันอะไรกัน ท่านอาจารย์บุญส่งจึงไขข้อปัญหาว่า “พี่ก็เป็นอย่างเดียวกันท่านเจ้าอาวาสนั่นแหละ เพียงแต่ว่ารังสีไม่เฉิดฉายเท่ากับท่านเจ้าอาวาส เพราะท่านเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ แสดงว่าพี่เป็นคนของหลวงปู่ และสิ้นการสงสัย” ต่อจากนั้นท่านก็ทำนายทายทักว่าผมจะเจ็บป่วยอีกครั้งและกำหนดระยะเวลาให้ ซึ่งผมก็ต้องเข้าโรงพยาบาลรามาธิบดี ทำการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดี และพักอยู่นานวัน ท่านสงสารในสุขภาพของผม ท่านบอกว่าเรามาถ่ายทอดพลังปราณกันเถอะ แล้วเราก็เอามือทั้งสองยันกันทำสมาธิถ่ายทอดพลังลมปราณสู่กัน ท่านถ่ายทอดพลังเย็น คือ อาโปธาตุสู่ตัวผม ผมเองก็ถ่ายไปตามเรื่อง ท่านบอกว่าของผมเป็นเตโชพลังร้อน ซึ่งก็เป็นความจริง ก่อนที่ท่านจะลากลับ ผมแจกพระพิมพ์โลกอุดรเป็นที่ระลึกให้กับท่านและผู้ติดตาม และเห็นท่านเดินไปทางหลังบ้านคิดว่าจะเข้าห้องน้ำ ภายหลังปรากฏความจริงว่าท่านได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับลูกสาวผมไว้ โดยที่ลูกสาวไม่รู้เรื่องและปฏิเสธ ท่านพยายามยัดเยียดเงินให้แล้วรีบเดินทางกลับ หลังจากนั้นเราไม่ได้พบกันอีก ท่านเป็นคนดีมากคนหนึ่ง

   คำสอนของหลวงปู่เป็นตัวสุดท้ายในมหาสติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม สักแต่ว่า... ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขา อย่างที่เขาสอนกัน กายในกาย จิตในจิต ไม่ติดมันก็หลุด ก็ไม่รู้จะหลุดอย่างไร ตามความเข้าใจของผม ธรรมตัวนี้ก็คือสภาวธรรม มันแปรเปลี่ยนไม่คงที่ คือ ทุกข์การทนอยู่ไม่ได้ในสิ่งที่มีชีวิต และปราศจากชีวิตมันเสื่อมสิ้นไปตามสภาวธรรมไม่ยืนยงคนที่ หลวงปู่จึงให้ปริศนาว่า “ปู่ชื่อเปลี่ยนนะลูก” เมื่อมันไม่ดำรงคงที่ มันก็ไม่เที่ยงนะซิ มันทุกข์ อนิจจัง ก็เมื่อมันไร้สาระเช่นนี้ จะไปยึดถือเป็นตัวเป็นตนทำไม อนัตตา สัพเพธัมมาทุกขา สัพเพธัมมาอนิจจา สัพเพธัมมาอนัตตา ติ ถ้าจะตัดรูปนาม ปล่อยเวทนา สัญญา ไว้ ละเพียงสังขารเครื่องปรุงแต่งจิตอันเป็นตัวอุปทาน ตัดตัวนี้เปรียบเหมือนการตัดคั๊ดเอาท์สวิทไฟฟ้า ไฟฟ้าดวงอื่นพากันดับหมด เป็นสูญญตนิพพาน ท่านอาจารย์วิชัย แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำผาจม เชียงราย เคยนำมาแสดงธรรมในรายการธัมมะทาง TV ผมฟังแล้วถึงกับก้มลงกราบเพราะความถูกใจ ไปเรียนให้มากทำไม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ฌาณวรเถระ) อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ให้ไหว้ 5 ครั้ง ให้มีศีลบริบูรณ์ ไหว้พระเสร็จให้ทำสมาธิ ก่อนตายให้พิจารณาถึงสัพเพธัมมาอนัตตา จะไม่กลับมาเกิดอีก จึงว่าหลวงปู่ท่านสอนตามขั้นภูมิธรรมปัญญา ฟังดูง่าย ๆ แต่ทำยาก

   นิมิตครั้งที่ 2 พบกับพระโสณเถระเจ้า ท่านมากับพระอิเกสาโร จิตผมทราบทันทีว่าเป็นหลวงปู่องค์ที่สอง รูปกายท่านสูงใหญ่เกศายาวประมาณ 1 องคุลี ผมคิดอยู่ภายในใจว่าอยากจะได้เกศาของท่านไว้บูชา หลวงปู่เรียกผมเข้าไปใกล้ ผมก้มลงกราบท่าน ๆ ยิ้มด้วยความปราณี ยกมือลูบศีรษะของผมพลางเรียกชื่อ ท่านมิได้กล่าวธรรมอันใด ส่วนองค์ที่นั่งถัดไปประมาณ 4 ว่า ปรากฏเกศายาวคลุมด้านหลังห่มจีวรสีกรัก แสดงว่าเป็นพระอิเกสาโร (เกศา แปลว่า ผม) มิได้กล่าวธรรมใดเช่นกัน แสดงชัดว่าพระอิเกสาโร เป็นสานุศิษย์พระโสณ ภาพนิมิตเลือนหายไป ปรากฏเห็นพระภิกษุชรารูปหนึ่งร่างกายสูงใหญ่ ยืนเทียบแล้วยังสูงไม่พ้นไหล่ท่าน มีขนตายาวพิเศษประกอบอารมณ์ขัน ท่านยกมือลูบศีรษะของผมพลางกล่าวว่า “ลงศีรษะมามากจริง” ทันใดนั่นท่านก็หัวเราะก๊ากผลักผมกระเด็นไปประมาณ 2 วา แล้วกล่าวว่า “โอ้โฮมีพระมากจัง” แล้วท่านก็พาเดิน ผมก็ตามหลังท่านไป ในจิตรู้ว่าท่านคือ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า จนที่สุดไปพบกลุ่มพระภิกษุและฆราวาสกลุ่มหนึ่ง มีฆราวาสท่านหนึ่งอุ้มขันสำริดเดินอยู่ในกลุ่ม ท่านชี้มือไปยังบุคคลผู้นั้นแล้วกล่าวว่า “ท่านผู้นี้เป็นสามี” ทำให้ผมต้องตีปัญหาพักใหญ่ ขันนั้นน่าจะหมายถึงขันธ์ห้า คำว่าสามีแปลได้หลายอย่าง เจ้าของ ผัว ตำแหน่งพระสังฆราช บัณฑิต น่าจะเป็นบัณฑิตนั่นเอง ท่านผู้นี้จิตบอกว่าเป็นหลวงปู่ขรัวหน้าปาน องค์ที่ห้า เป็นอันว่าผมได้เห็นหน้าพระเทพโลกอุดรครบทุกพระองค์

   9.พระมหินทรเถระ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมด้วยพระภิกษุหลายรูป ไปลังกาทวีปแห่งหนึ่ง

sithiphong:
ปริเฉทสอง
พระอุตรเถระเจ้าอวตารเป็นพระอุทุมพรมหาสวามี

   พระอุตรเถระเจ้า อวตารเป็นพระอุทุมพรมหาสวามี ในสมัยพระเจ้าลิไท แห่งราชวงศ์สุโขทัย ปี พ.ศ.1900 ห่างจากระยะแรกประมาณ 1,600 ปี มีบางท่านกล่าวว่าในสมัยหริภุญไชย ท่านมาเกิดเป็นครูบาบุญทา แต่เป็นเรื่องของความฝัน ไม่ปรากฏหลักฐานแจ้งชัด และมีผู้เล่าให้ฟังว่าในครั้งกระนั้นผมเป็นสามเณรอาศัยอยู่กับท่าน มีชื่อว่า “น้อยคำอ้าย” เป็นสล่า คือ ช่างปั้นพระ คนเล่าเป็นพนักงานออมสิน สำนักงานใหญ่ โดยการผ่านร่างแต่ไม่ถึงกับประทับทรง จึงเกิดปัญหาว่า คนฝันกับคนที่เป็นร่างผ่านให้ข้อความไม่ตรงกัน จึงตัดออก เอาแต่เรื่องที่มีหลักฐานมากล่าวและมีบันทึก คณะพระเทพโลกอุดร มีหน้าที่ดูแลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไปจนกว่าจะสิ้นพุทธธันดร (พ.ศ.5000) คราใดที่พระพุทธศาสนาอ่อนแอลง ท่านมักจะมาโปรด ท่านเป็นพระธรรมทูตเดินทางมาจากประเทศลังกาสู่ประเทศมอญ ความว่าในสมัยนั้นมีพระอาจารย์ชาวลังกาท่านหนึ่ง นามว่า “พระมติมา” เป็นศิษย์ในสำนักพระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราช ซึ่งมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดที่สุดในประเทศลังกา มาตั้งสำนักที่เมืองนครพัน หรือเมืองเมาะตะมะของมอญ ในสมัยพระสุตโสมเป็นพ่อเมือง พระเถระทางกรุงสุโขทัยได้ทราบข่าว เกิดความศรัทธาปสาทะ จึงพากันมาขออุปสมบทใหม่ในสำนักพระมติมา และข่าวได้แพร่ไปถึงพระเจ้าลิไท แห่งกรุงสุโขทัย จึงจัดส่งสมณทูตอาราธนาพระมติมามาอยู่ ณ กรุงสุโขทัย แล้วพระองค์ได้ทรงผนวชในสำนักพระมติมา ประกาศปรารถนาพุทธภูมิแล้วลาสิกขาบท เพื่อบำเพ็ญพระราชกรณียกิจตามเม แต่งตั้งพระมติมาให้เป็นที่พระสวามี (ตำแหน่งพระสังฆราชาของลังกา) พระมติมาได้พยากรณ์ไว้ว่า พระพุทธศาสนาจะไม่ตั้งมั่นในมอญ แต่จะตั้งมั่นในไทย จนถึง พ.ศ.5000 (เป็นอันแสดงว่าพระสังฆราชรูปนี้เป็นชาวลังกา) บางท่านยังอ้างข้อความบางตอนในศิลาจารึกกล่าวความเคร่งครัดของท่านว่า มีจริยาวัตรเยี่ยงพระอรหันต์

   แต่หลักฐานในหนังสือชินกาลบาลีปกรณ์ ระบุความตอนหนึ่งว่า พระสังฆราชรูปนี้ความจริงเป็นชาวสุโขทัย ชื่อ พระสุมนเถระ เดิมได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก จากเมืองอโยชฌปุระ (อยุธยา) จนความรู้แตกฉาน แล้วกลับมาอยู่ที่เมืองสุโขทัยตามเดิม ครั้งต่อมาได้ทราบข่าวว่าพระมหาสวามีองค์เถระชาวลังกาผู้ทรงคุณอันเลิศในทางธรรม ชื่อว่า “อุทุมพร” ได้จาริกจากลังกามาอยู่ที่รัมนะประเทศ (ในพงศาวดารโยนก เรียกชื่อว่า เมืองเมาะตะมา ในศิลาจารึก เรียกนครพัน) พระสุมนเถระจึงชักชวนพระภิกษุซึ่งเป็นสหายทางธรรมจำนวนหนึ่ง พากันเดินทางจากกรุงสุโขทัย ไปนมัสการพระมหาสวามีอุทุมพร แล้วอยู่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมกับพระมหาสวามีอุทุมพร นั้น

   กาลต่อมา ความทราบถึงพระกรรณพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงสุโขทัย (คือ พระยาศรีสูรยพงศ์ราม มหาธรรมราชาธิราช พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งก็คือ พระเจ้าลิไท แต่คำในลายสือไท อ่านยาก มิได้จารึกคำว่า “ลิไท” โดยตรง มีพระนามก่อนเสวยราชย์ว่า พญาฤาไท อ่านอย่างภาษามคธว่า       “ลิไท” “ลิเทยย” คำว่า พระยาศรีสูรยพงศ์ เป็นพระนามเดียวกับพระราชบิดา เพียงแต่เติมคำว่าบุตรต่อท้ายคำ) ว่าพระมหาสวามีอุทุมพรจาริกมาจากเมืองลังกา มาอยู่ที่เมืองรัมมประเทศ ก็ทรงมีพระราชประสงค์ใคร่จัดได้พระภิกษุสงฆ์ผู้สามารถคงแก่เรียน กระทำสังฆกรรมได้ครบถ้วนมาประจำที่สำนักเมืองสุโขทัย จึงจัดส่งสมณทูตไปนมัสการพระมหาสวามีอุทุมพร เพื่อขอพระภิกษุผู้ทรงคุณธรรมดังกล่าว พระมหาสวามีอุทุมพรจึงได้ส่งพระสุมนเถระ พร้อมด้วยคณะที่มาด้วยกัน ให้แก่พระมหาธรรมราชามาประจำกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาทรงดีพระทัยยิ่งนัก โปรดเกล้าให้สร้าง “วัดอัมพวนาราม” (คือ ว่าป่ามะม่วง ในปัจจุบัน) แล้วนิมนต์พระสุมนเถระให้อยู่ที่วัดนั้น (ในศิลาจารึกไม่มีคำว่าวัด มีแต่อาวาส สุมม่วง สุม คือ ซุ้ม หมายถึง ซุ้มมะม่วง ป่าม่วง ปรากฏว่าเป็นสถานที่เดียวกัน)

sithiphong:
ปัญหาที่เคยสงสัยกันว่า ถ้าพระมหาสวามีสังฆราชเป็นภิกษุชาวลังกาจริงแล้ว ได้ทำการเผยแพร่ธรรมแก่ชาวบ้าน เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ (ความคิดเช่นนี้ยังไม่ลึกซึ้งพอ ไม่ได้ศึกษาในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณสี่ จะเข้าใจผิดกันไปใหญ่ และก็เมื่อตอนที่คณะพระธรรมทูตชุดแรกที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิเล่า ท่านจะทำประการใด ท่านก็เทศน์โปรดตามภาษาพื้นบ้านนั่นเอง และในการตรวจพระพิมพ์โลกอุดร โดยพระวิปัสสนาจารย์รูปหนึ่ง ท่านไม่มีความรู้เรื่องพระโลกอุดร จึงใช้จิตถาม พระพิมพ์ตอบว่า ข้าคือบรมครูศรีสัชนาลัย ซ้ำอยู่ 2 ครั้ง ซึ่งหมดภูมิปัญญาของผู้ตรวจ จึงได้รับคำอธิบายจากตัวกระผมผู้เขียนเรื่องว่า ถูกแล้วเพียงศิษย์ท่านยังเป็นถึงพระสังฆราช องค์ท่านจะเป็นอะไรดี เลิกเรียกพระครูโลกอุดรกันเสียทีเถอะ) และการที่พระสุมนเถระ เพียงถวายพระธรรมคำสอนแก่พระมหาธรรมราชาช่วงระยะพรรษาเดียว ก็ทรงบรรลุภูมิธรรมแตกฉาน ก็คือ ภาษาไทยนี้เอง ต่อมาได้ทรงสถาปนา พระสุมนเถระ ขึ้นดำรงตำแหน่ง “พระสวามีสุมนเถระ”

   อนึ่ง พิจารณาแผ่นศิลาจารึกของวัดป่ามะม่วง เป็นศิลาจารึกลายสือไท หลักที่ 27 ได้กล่าวถึง พระยาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชา ทรงผนวช แต่อักษรจารึกด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ชำรุดอ่านไม่ได้ความ คงเหลือเพียงด้านที่ 2 และด้านที่ 4 ตัดเฉพาะด้านที่ 2 ถอดความเป็นภาษาไทยปัจจุบัน ดังนี้:-
   “...อั (น)...นี้ ในกลางสุมม่วงให้ประดิษฐานกุฎี พิหาร แถลงเมื่อพระนิรพาน ทางกุสินารนคร แลลงฝูงขสินาสรพนั่งบริพาร แถลงทั้งพระอารยกัสสป มาทูลฝ่าตีนพระเจ้าอันชำแรกจากโลงทอง แถลงทั้งขุนมัลลราชสี่คนมากระทำบูชา ประดิษฐานทั้งปฏิมากะลาอุโบสถ แลเสมานั้นโสดเทียน ญ่อมฝูงสงฆ์อันคง...ปรัชญา...ร...อันมีสังฆราชา...พระไตรปิฏกอันหด้...บวชแต่...ไ...ฝูงมหาสมณลังกาทวีป น...มานั้น...นั้น ที่พระยาศรีสูรยพงศ์ธรรมราชาธิราชออกผนวชแลแผ่นดินป่าม่วงนี้ไหว...มหาสมณทั้งอัน...เลิก...น ปลายพ ...ปาลย...น นำให้ฝูง...ทั้งหลายเห็น”

   ซึ่งผมขอถอดและขยายความดังนี้:- ภายในบริเวณศูนย์กลางของอาวาสสุมม่วงหรือวัดป่ามะม่วง มีการก่อสร้างเป็นกุฎี วิหาร ปรากฏภาพเขียนภายในผนังพระวิหาร แสดงภาพพระอรหันต์ขีณาสพ มาประชุมกันหนาแน่นดุจกำแพงกั้นน้ำ เพื่อเตรียมถวายเพลิงพระบรมศพพระผู้เป็นเจ้าซึ่งดับขันธปรินิพพาน แสดงภาพพระมหากัสสปเถระเจ้า ก้มถวายบังคมเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งยื่นจากโลกทองบรรจุพระบรมศพ แสดงภาพขุนมัลลราช คือ มัลลกษัตริย์ทั้งสี่ (ทรงเชียวชาญในวิชามวยปล้ำ) กำลังถวายสักการะ ภายในพระวิหารมีพระประธานประกอบด้วยพระอัครสกวกซ้ายขวา มีตู้พระไตรปิฏก รอบ ๆ พระวิหารประกอบด้วยพัทธเสมา แสดงภาพพระภิกษุสงฆ์ผู้คงแก่เรียน อันได้แก่พระสุมนสวามีสังฆราช ฝูงมหาณแห่งลังกาทวีป คือ คณะของพระอุทุมพรสวามีสังฆราช (บรมครูพระเทพโลกอุดร) ปรากฏในศิลาจารึกเนินปราศาท ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 17 – 18 “เมื่อได้สมเด็จพระมหาเถระกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมา”

   พระยาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช มีพระบัญชาให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสวามีอุทุมพร จากเมืองนครพัน ทราบว่าท่านรับการอาราธนา และเดินทางมาได้ครึ่งทางแล้ว (ทราบทางจิต) พระยาศรีสูรยพงษ์มหาธรรมราชาธิราช ทรงจัดให้หมู่อำมาตย์มุขมนตรี และบรรดาราชตระกูลไปเตรียมการต้อนรับทำการสักการบูชาพระมหาสวามีอุทุมพรสังฆราชตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ทรงจาริกผ่าน เริ่มจัดเครื่องสักการะบูชา ตั้งแต่เมืองเชียงของ เมืองบางจันทร์ เมืองบางพาร ตลอดมาจนถึงเมืองสุโขทัย นับว่าเป็นการต้อนรับเป็นพิธีการอันยิ่งใหญ่ของเมืองสุโขทัย

   วันทรงผนวช ขณะที่พระยาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช รับผ้าไตรจากพระอุปัชฌาย์ แล้ว ทรงอธิษฐานจิตปรารถนาพุทธภูมิ ได้บังเกิดแผ่นดินไหวไปทั่วทุกสารทิศในบริเวณอาวาสสมุม่วง เป็นที่ประจักษ์แก่ฝูงชนทั้งหลายทั่วกัน พระองค์ได้รับพระฉายาในสมณะเพศว่า “ปัลละวะราชา” (ปลลุวราชา) แปลว่า พระราชาผู้เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร

   สันนิษฐานว่า พระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราช พร้อมคณะ น่าจะพำนัก ณ อาวสสุมม่วง ชั่วระยะหนึ่ง โดยธรรมเนียมพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณมักนิยมสร้างพระพุทธรูป พระพิมพ์ พระเครื่อง เพื่อหวังอานิสงค์ แลบรรจุกรุเจดีย์ไว้สืบพระพุทธศาสนา จึงมีการสร้าระพิมพ์เนื้อดินขึ้นชุดหนึ่ง นิยมเรียกกันว่าพระพิมพ์วัดป่ามะม่วง สมัยสุโขทัย หลวงพ่อโอภาสี แห่งอาศรมบางมด ยืนยันว่าวิเศษกว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มากมาย สิ่งนี้เป็นข้อยีนยันสำหรับปริเฉทสอง

sithiphong:
ปริเฉทสาม
พระอุตรเถระเจ้าอวตารเป็นพระครูเทพผู้วิเศษ

   พระอุตรเถระเจ้า อวตารเป็นพระครูเทพ ผู้วิเศษในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ประมาณปี พ.ศ.2127 ระยะเวลาห่างจากสมัยสุโขทัยประมาณ 227 ปี คันคว้าจากตำราไสยศาสตร์ ประกอบความรู้อันบังเกิดจากญาณหรือสิ่งบันดาลใจ จากคำที่ว่าตอนที่สร้างกำแพงเมืองลพบุรี ข้ายังได้เห็น หมายถึง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิใช่สมัยลพบุรี (ขอม) และยังมีคำว่า “เทพ” (มาจากคำเทพโลกอุดร) ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่า นับจากแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินถึง 9 รัชกาลด้วยกัน แต่ปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์คำนวณอายุได้ประมาณ 53 ปี เท่านั้น กล่าวคือ
      พระเอกาทศรถ         16 ปี
      พระศรีเสาวภาคย์      ไม่ถึงปี
      พระเจ้าทรงธรรม      8 ปี
      พระเชษฐาธิราช         3 ปี
      พระอาทิตย์วงศ์         37 วัน
      พระเจ้าปราสาททอง      25 ปี
      เจ้าฟ้าลั่น         1 ปี
      พระศรีสุธรรมราชา      3 เดือน
      พระนารายณ์มหาราช      32 ปี (คิดเพียงด้านรัชกาลขณะสร้างกำแพงเมืองให้เวลา 3 ปี)
   รวมรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คงไม่ถึง 100 ปี และองค์พระครูเทพ ผู้วิเศษน่าจะมีอายุยืนยาวเป็นกรณีพิเศษ

   มีบันทึกว่าพระครูเทพ ผู้วิเศษเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างพระโพ ปางยืนห้ามสมุทร (โพ เป็นชื่อต้นไม้ โพธิ แปลว่า ตรัสรู้ ไม่ใช่เรียกชื่อต้นไม้) และพระควัมปติ (ไม่ใช่พระควัมบดี) แต่จะเป็นพระควัมปติ หรือพระมหากัจจายนะเถระเจ้าปางยกหัตถ์ปิดพระพักตร์อธิษฐานวรกาย ยังเป็นปัญหา เพราะเป็นคนละองค์ตามรายพระนามสาวกผู้ทรงเอกะทัคคะ 80 รูป แต่เมื่อสร้างเป็นพระพิมพ์แล้วมีลักษณะอย่างเดียวกัน จงเข้าใจเสียใหม่ว่าพระควัมปติกับพระมหากัจจายนะเถระเจ้า เป็นคนละองค์แน่นอน และพระพิมพ์โลกอุดรส่วนใหญ่มักจะสร้างเป็นรูปพระปิดตา (ยกหัตถ์ปิดพระพักตร์)

sithiphong:
ตำราสร้างพระปางห้ามสมุทร

   สิทธิการิยะ พระตำราของพระครูเทพ ผู้วิเศษ มีแต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาจากพระมหาเถรสิทธิเมธังกร วัดหัวเมืองสิงห์บุรี ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครองเมืองลพบุรี ได้รับตำราสืบทอดจากมหาเถรเทียรราช วัดงู ตกทอดมาถึงพระวิชัย วัดท่างูเห่า สืบทอดมาถึงพระอาจารย์โหรคง และได้จากท่านอาจารย์ผู้วิเศษสืบทอดกันต่อมา หาที่จะอุปมามิได้ หากท่านผู้ใดมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา และเพื่อจะก่อเกื้อบุญบารมีแห่งตนแล้ว จงจัดทำขึ้นเถิด ถ้าแม้นเป็นชีพราหมณ์ บรรพชิต ฆราวาสก็ดี ย่อมจะได้เป็นพระยา และอัครเสนาบดี หรือในที่สุดจะได้เป็นถึงพระยามหากษัตริย์ มีมามากต่อมากแล้ว ดังบุคคลสองคนที่ได้กระทำพิธีสร้างพระมาแล้ว คือ นายเทียนและนายสาม เป็นผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นเลขเข้าเดือนออกเดือน อยู่ในกรมพระสัสดี บุรุษสองท่านนี้ได้ไปเรียนความรู้ คือ สร้างพระปางห้ามสมุทรบรรจุดวงชะตาไว้สำหรับบูชาจากพระมหาเถรสิทธิเมธังกร ต่อมานายเทียรได้เป็นกษัตริย์เสวยราชสมบัติในพระนคร ส่วนนายสามได้กินเมืองวิเศษไชยชาญ คือ เมืองอ่างทอง แล้วพระตำรานี้ได้ตกทอดมาถึงพระสังฆราชแตงโม วัดมหาธาตุกรุงเก่า แล้วได้ตกถึงตาโหรคง อยู่วัดลอดช่อง ต่อมานายสังข์ได้สร้างขึ้นบูชา ก็ได้เป็นสมเด็จเจ้า กับทำให้นายมาเป็นกรมขุนสุนทร นายปิ่นมหาดเล็กได้เป็นพระยาราชมนตรี ทำให้นางเพ็งพี่สาว แต่เดิมเป็นคนใช้ ก็ได้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวงแล นับว่าพระตำรานี้ได้ทำประโยชน์ให้กับบุคคลที่สร้างบรรจุดวงชะตาไว้บูชา เป็นปฐมเหตุดังกล่าวไว้เป็นสังเขปแล้วนั้น จึงได้ให้ตำรานี้คัดลอกไว้สำหรับโลกภายหน้า เมื่อบุคคลใดใคร่จะให้เกิดความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ประกอบด้วยความสุขสำราญยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุกที หาที่เปรียบมิได้เลย กับสามารถกำจัดภัยพิบัติภยันตราย ซึ่งจะมีมากับตน หรือบุตรภรรยา วงศาคณาญาติ ทาส กรรมกรในครอบครัว กระทำให้ได้รับความสุขอย่างโอฬารทั้งภพนี้และภพหน้าได้ดียิ่ง อย่างได้สนเท่ห์เลย

   ท่านให้หากิ่งไม้โพซึ่งชี้ไปทางทิศตะวันออก (ตายพราย) แห้งหักลงมาเอง กะพอที่จะสร้างเป็นพระยืนปางห้ามสมุทรได้ขนาดสูงจากพระบาทถึงพระเมาลีประมาณ 11 – 13 นิ้ว ของเจ้าภาพสุดแต่จะพอใจ กลางพระเมาลีแกะให้กลวงสำหรับเปรียบไม้ชุมแสงซึ่งแกะเป็นเปล่งรัศมี ฐานรองพระบาทใช้ไม้นนทรี ฐานพระใช้ไม้แก่นขนุนแกะภายในให้กลวงและให้มีลิ้นสำหรับรองไม้นนทรี เมื่อยกองค์พระขึ้นตั้งบนฐานให้แนบกันลิ้นพอดี

การเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อบรรจุในฐานพระ

   ....(ขอเว้นไว้ครับ)......

 การสร้างพระโพปางยืนหน้าสมุทรนี้ ต้องกระทำให้ถูกต้องตามตำราจริง ๆ หากผิดตกบกพร่อง ผลที่จะได้ไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้สร้างมิได้รับผลตามปรารถนา ก็จะหาว่าพระตำรานี้ไม่จริง เราต้องทราบว่าพระปางห้ามสมุทรองค์สำคัญนี้ ควรให้มีความงดงามและลงรักปิดทอง งานแต่ละขั้นตอนจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วทันใจมิได้ การกลึงฐานพระต้องมีส่วนสมดุลกับพระองค์ และแต่งจนเรียบร้อย การเข้าลิ้นก็ต้องทดสอบดูให้แนบเนียน ฉะนั้น จึงเชื่อว่ามีการแกะองค์พระและขัดเกลาไว้เรียบร้อยเป็นส่วนใหญ่ เหลือเคล็ดไว้แกะตามฤกษ์เท่านั้น น่าจะเรียกว่าฤกษ์บรรจุดวงมากกว่า คงดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้:-

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version