**แทนคุณแผ่นดิน แม้เจ้าสัวเฉลียวจะเป็นคนเก็บตัว ไม่ชอบออกงานสังคม ไม่ชอบให้สัมภาษณ์หรือเป็นประธานในงานปาฐกถาใดๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้คนในสังคมเห็นตรงกันก็คือเจ้าสัวเฉลียวเป็นคนที่อ่อนน้อม ถ่อมตน มุ่งเน้นคุณธรรมในการทำธุรกิจ ใช้ชีวิตอย่างสมถะ พอเพียง ต่างจากมหาเศรษฐีทั่วไป ที่สำคัญเขายังมีแนวคิดว่า “เงินทุกบาททุกสตางค์นั้นได้มาจากกำลังซื้อของพี่น้องคนไทย ดังนั้นจึงควรนำเงินกำไรที่ได้รับกลับไปตอบแทนคุณแผ่นดิน”
ดังนั้นเครือกระทิงแดงจึงมีโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคมนับร้อย โครงการตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา คิดเป็นเงินกว่ากว่าพันล้านบาท โดยแทบจะไม่มีการประชาสัมพันธ์ใดๆให้สังคมรับรู้ ที่สำคัญยังเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ได้ทำเพียงเพื่อต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้ องค์กร แต่เป็นการช่วยเหลืออย่างจริงจังถึงขั้นที่มีการจัดตั้งเป็นแผนกขึ้นมาโดย เฉพาะ โดยมี 'ตุ๊กตา' สุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ลูกสาวที่ถอดแบบการดำเนินชีวิตมาจากป๋าเฉลียว เป็นผู้ดูแลแผนกนี้โดยตรง ซึ่งในหลายโครงการคุณตุ๊กตามีคำสั่งสายตรงให้ทีมงานลงไปฝังตัวทำโครงการใน พื้นที่จนกว่าโครงจะแล้วเสร็จ ไม่ว่าเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการสร้างอาชีพ
อีกทั้งขณะนี้ยังมีการสร้างเครือข่ายเพื่อหาแนวร่วมในการพัฒนาสังคม โดยมีการดึงกลุ่มวัยรุน วัยทำงาน และประชาชนทั่วไปร่วมทำกิจกรรมพัฒนาสังคมต่างๆ ซึ่งถือเป็นการขยายเครืข่ายในการทำความดีให้กว้างออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งโครงการหนึ่งที่นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากก็คือ 'โครงการกระดานดำ' ซึ่งกระทิงแดงสนับสนุนโครงการค่ายอาสาสมัครเพื่อสร้างโรงเรียนให้แก่เด็กๆใน พื้นที่ธุรกันดาร
นอกจากนั้นน้อยคนนักที่จะทราบว่ายาที่ใช้ใน
'โครงการแพทย์อาสา' นั้น เจ้าสัวเฉลียวได้ผลิตถวายในนามบริษัท ทีซีมัยซิน จำกัด มาตลอด และในวงการแพทย์จะทราบกันดีว่าโรงพยาบาลใดขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์ก็ สามารถขอความอนุเคราะห์จากเจ้าสัวเฉลียวได้ แม้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือรักษาจะมีราคาหลายสิบล้าน จนถึงขั้นเป็นร้อยล้านก็มี แต่ทุกโรงพยาบาลที่ไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าสัวเฉลียวก็ไม่เคยผิดหวังกลับไป อย่างเช่น โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งมีผู้สร้างตึกรักษาโรคหัวใจให้ แต่ไม่มีเงินซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาซึ่งมีราคาสูงถึง 40 ล้านบาท ตระกูลอยู่วิทยาก็บริจาคให้ด้วยความเต็มใจ
“สมัยเด็กดิฉันค่อนข้างใกล้ชิดกับคุณพ่อ เห็นท่านทำงานตามเสด็จโครงการพัฒนาชนบท สร้างฝายชลประทาน อีสานเขียว คุณพ่อจะให้ทุนกับทหารที่ทำงาน ช่วงหน้าหนาวก็แจกผ้าห่มและเสื้อผ้าให้เด็กๆในต่างจังหวัด มันเป็นภาพที่เราเห็นมาตลอด ตอนเด็กๆ จะถามคุณพ่อมาตลอดว่าคราวนี้ไปจังหวัดไหนมา เอาอะไรไปให้ชาวบ้าน และเราก็ตั้งใจตั้งแต่นั้นเลยว่าถ้าเรียบจบจะทำแบบที่คุณพ่อทำ” สุทธิรัตน์ เล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เธอมุ่งมั่นทำโครงการต่างๆ เพื่อสังคม จนเป็นที่มาของฉายา 'ไฮโซเอ็นจีโอ' ที่บรรดาสื่อมวลชนตั้งให้กับเธอ แม้วันนี้ เจ้าสัวเฉลียวจะจากไป ...แต่แนวคิดเหล่านี้ยังคงมีลูกๆที่ช่วยกันสานต่อ ด้วยเชื่อมั่นในคำสอนของ 'ป๋าเฉลียว' ที่บอกลูกๆให้ “ยึดคุณธรรม และแทนคุณแผ่นดิน”
ชีวิตสมถะของเศรษฐีแสนล้าน ภาพที่เด่นชัดและคำจำกัดความของ 'เจ้าสัวเฉลียว อยู่วิทยา' ก็คือเมหาเศรษฐีที่ใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่สนใจรถโก๋ ไม่เห็นความสำคัญของแบรนด์เนม และมีเสียงเล่าลือว่าบ้านที่เจ้าสัวเฉลียวพำนักอยู่จนถึงวาระสุดท้ายของ ชีวิตนั้นเป็นเพียงบ้านสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ หาใช่คฤหาสน์หรูดังเช่นเศรษฐีทั่วไป ในสายตาของบรรดาลูกน้องในบริษัทกระทิงแดงนั้นแม้เจ้าสัวเฉลียวจะเป็นคนที่ทำ งานจริงจัง และลงมาดูรายละเอียดในทุกขั้นตอน แต่ก็เป็นเจ้านายที่ไม่ถือตัว ไม่มีมาด ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ ป๋าเหลียวจึงเป็นที่รักและเคารพของบรรดาพนักงานทุกคน
ในด้านของชีวิตครอบครัวนั้น เจ้าสัวเฉลียวมีภรรยา 2 คน และลูกด้วยกันรวมทั้งหมด 11 คน ภรรยาคนแรกคือ 'คุณนกเล็ก สดศรี' มีบุตรด้วยกัน 5 คน ได้แก่ สายพิณ เฉลิม พิณทิพย์ พึงใจ และศักดิ์ชาย ส่วนภรรยาคนที่ 2 คือ 'ภาวนา หลั่งธารา' มีบุตรด้วยกัน 6 คน ได้แก่ สุทธิรัตน์ จิรวัฒน์ ปนัดดา สุปรียา สราวุฒิ และนุชรี ซึ่งปัจจุบันนี้ลูกๆเกือบทุกคนก็ยังคงช่วยกันบริหารธุรกิจของครอบครัวอยู่ และต่างก็รับแนวคิดแบบสมถะเช่นนี้จากบิดามาเช่นกัน
ทั้งนี้ สุทธิรัตน์อยู่วิทยา หรือคุณตุ๊กตา พูดถึงคุณพ่อในขณะให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า “ ทั้งเนื้อทั้งตัวของป๋าไม่มีเครื่องประดับอื่น นอกจากนาฬิกาเรือนเดียว ยี่ห้อราโด้ เสื้อผ้าก็ไม่ยอมซื้อไม่พกเงิน โดยชีวิตประจำวันจะเริ่มจากการขี่จักรยานตอนเช้า ใส่เสื้อตัวเดียวนุ่งกางเกงแพร วาไรตี้ ใส่หมวกงอบแล้วขี่จักรยานวนไปรอบโรงงานเจออะไรไม่เรียบร้อยก็จะแวะเข้าไป ตรวจดู”
จนมีเรื่องตลกครั้งหนึ่งว่า มียามหน้าใหม่ที่ไม่รู้จัก เฉลียว อยู่วิทยา เมื่อ เห็นลุงแก่ๆ ขี่จักรยานเข้ามาในโรงงานซึ่งเป็นเขตคนนอกห้ามเข้า เขาจึงตะโกนห้ามแต่มียามเก่าแก่สะกิดบอก เฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของกระทิงแดง จึงทำให้ยามใหม่ถึงกับหน้าถอดสี
นอกจากนี้ยังเคยมีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เสนอมอบปริญญากิตติมศักดิ์ให้แก่เขา แต่เจ้าสัวเฉลียวปฏิเสธโดยกล่าวว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม เพราะเขาไม่ได้ร่ำเรียนมา การรับปริญญาจึงเป็นการเอาเปรียบคนที่ร่ำเรียนมา ซึ่งปรัชญาในการทำงานที่เรียบง่าย แต่จริงจังเหล่านี้ เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ถ่ายทอดมาจนถึงทายาทในรุ่นปัจจุบัน
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000037467