ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
เงินเดือน 15,000 บาท เก็บลงทุนอย่างไรให้รวยระเบิด
-http://money.kapook.com/view89420.html-
เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Panphol.com
เงินเดือนของคุณตอนนี้เท่าไหร่ ?
คุณเก็บเงินในแต่ละเดือนกี่เปอร์เซ็นต์ ไว้ใช้จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์ มีไว้ลงทุนหรือไม่ ?
หากคุณตกงานกะทันหันจะมีเงินไว้ใช้จ่ายหรือไม่ ?
ต้องเก็บเงินเท่าไหร่จึงจะทำให้วัยเกษียณมีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่าย ?
เงินเดือน 15,000 บาท เก็บแบบไหน ทำอย่างไรจึงจะรวย ?
นี่คือคำถามเบื้องต้นที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องคิดและบริหารการเงินในกระเป๋าในแต่ละเดือน แต่บางคนอ่านแล้วก็อาจฉุกคิดในใจว่า ทุกวันนี้ใช้หนี้ยังไม่พอเลย แล้วจะเอาที่ไหนมาเก็บ ?
เกี่ยวกับเรื่องนี้เรามีคำแนะนำจาก คุณพรพรหม ภักตร์เปี่ยม ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์หุ้นปันผล Value Investor ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านการออม การลงทุน หุ้น LTF RMF มาฝาก โดยคุณพรพรหมเขียนบทความแนะนำ “เงินเดือน 15,000 บาท เก็บลงทุนไงให้รวยระเบิด” ว่า “มีหนี้ จงใช้หนี้ก่อน หลังจากนั้นอย่าเพิ่งเก็บเงิน ให้บริหารต้นทุนให้ได้ก่อน” ส่วนวิธีการบริหารเงินนั้น ลองไปอ่านบทความเรื่องนี้กัน ซึ่งคุณพรพรหมได้อนุญาตให้กระปุกดอทคอมนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์เงินเดือน ที่ต้องการเก็บเงินได้อ่านกัน
เงินเดือน 15,000 บาท เก็บลงทุนไงให้รวยระเบิด
ผมเองก็เริ่มจากเงินเดือน 9,000 บาท ช่วงนั้นยังเป็นหนี้อยู่มากเหมือนกัน จำได้เลยว่าสมัยนั้นมีบัตร EASY BUY ที่จ่ายเท่าไหร่ก็ไม่หมดสักที เพราะไปจัด SONY T1 มา 20,000 เศษ ใช้หนี้อยู่พักใหญ่ จนมีเงินพิเศษจำนวนหนึ่งจึงนำไปชำระทั้งหมด และหักบัตรนั้นทิ้งทันที บอกกับตัวเองว่า “แบบนี้ไม่เอาอีกแล้ว” ฉะนั้น มีหนี้ จงใช้หนี้ก่อน ถ้าหนี้นั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะสร้างรายได้ในอนาคต จัดการมันซะ และ ควรทำมันพร้อมกับความต้องการที่ฟุ้งเฟ้อ อย่างไม่มีเหตุผล
ผมไม่รู้ว่าท่านมีหนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าท่านมีเงินเดือน 15,000 ต้องบังคับให้ตัวเองใช้หนี้ต่อเดือนคิดเป็น 70% ของรายได้ หรือ 10,500 บาท ต่อเดือน เลข 70% เป็นตัวเลขที่ผมชอบ หากเกินนี้เกรงว่าท่านจะไม่มีกินเอาเท่านี้ล่ะพอแล้ว (หรือใครใจหินจะลองสัก 80% ก็ได้) ส่วน 30% ที่เหลือเชื่อผมท่านอยู่ได้ และผมทำมาแล้ว ในช่วงที่ได้เงินเดือน 15,000 ครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน พอขยับฐานเงินเดือน มันก็มีสิ่งที่อยากได้เหมือนคนอื่นเค้าหลายอย่าง และอันดับต้น ๆ ก็คือ โทรศัพท์มือถือ จึงหันไปพึ่งบริการของบัตรเครดิตตอนนั้นเงินเดือน 15,000 ทำได้พอดีเลย แต่วงเงินที่ได้ประมาณ 30,000 บาท ก็จัดเต็มไป บางยอดเป็นเงินผ่อน แต่บางยอดกดเงินสดมาใช้เพราะอยากป๋าบ้าง อะไรบ้าง มันจะไม่สนุกก็ตอนบิลเรียกเก็บนี่ล่ะเล่นเอาหน้ามืด ผมเลือกที่จะจ่ายขั้นต่ำเพราะยังมีเรื่องที่ใช้จ่ายอีกเยอะแยะ หมุนไปได้หลายเดือนหลอกตัวเองไปสักพัก ก็ได้สติว่าจ่าย 2,000 แต่มันมีดอกเบี้ยเพิ่มมาอีกบานตะไท จึงเลือกตัดค่าใช้จ่าย ปกติ 15,000 ต่อเดือนแทบไม่พอกิน เพราะกินข้าววันละ 2 มือ (เช้ากินกับที่บ้าน) มื้อละ 30 + ค่าเดินทางวันละ 120 โดยประมาณ (บ้านอยู่พระราม 2 ทำงาน บางกะปิ)
สรุปค่าใช้จ่ายพื้นฐาน
ค่าข้าว 60*30 บาท = 1800 บาท
ค่าเดินทางไม่รวมอาทิตย์ 26*120 = 3120 บาท
บวกใช้หนี้ 2,000 บาท
รวมทั้งหมดแล้วเดือนนึงต้องจ่ายประมาณ 6,920 บาท ก็น่าจะเหลือประมาณ 9000 บาท เอาไว้เหลือออม ใช่มะ แต่จริงแล้วไม่เหลือแฮะ สาเหตุมาจาก
1. เมื่อวงเงินเครดิตเหลือ ก็จะถูกดึงเอามาใช้เนื่องจาก เหตุผล “จำเป็น” ?
2. มีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่มาก จนไม่รู้ว่ามันหายไปไหน ซึ่งสรุปให้สั้น ๆ เรียกมันว่า “ค่าใช้จ่ายทางสังคม” ซึ่งค่าใช้จ่ายพวกนี้แหละที่มากกว่า “รายจ่ายประจำ”
ฉะนั้นถ้าจะลดหนี้จงหยุด “ความอยาก” และ รีบใช้หนี้ให้เร็วที่สุด
เหลือแค่เฉพาะอยู่ได้ ส่วนไอ้ที่อยากได้เอาไว้ทีหลัง
-----------------> ขอขีดเส้นใต้ตรงนี้ ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ไม่ต้องอ่านต่อ <------------------
หากเคลียหนี้ได้แล้ว ท่านจะเหมือนมนุษย์ผู้เอาชนะได้ทุกสิ่ง เพราะท่านชนะตัวเองไปเรียบร้อยแล้ว ความภูมิใจจะทวีคูณ ไม่ต่างจากการควบคุมอาหาร สิ่งที่จะได้ตามมาคือ วินัยทางการเงินที่เข้มแข็ง ท่านจะรู้จักใช้เงินอย่างรู้คุณค่ามากขึ้น ย้ำว่า "รู้คุณค่ามากขึ้น" แต่ไม่ใช่ตระหนี่ขี้เหนียว
หากท่านเคลียหนี้ได้แล้ว เราจะกลับเข้าสู่สังคมอีกครั้ง ปล่อยให้มีค่าใช้จ่ายทางสังคมบ้าง ไม่เช่นนั้นแล้วสุขภาพจิตท่านจะแย่เอาได้เหมือนกัน อย่าบีบคั้นตัวเองมากไป เอาให้พอดี หลังจากนี้ อย่าเพิ่งคิดจะเก็บก่อน "เพราะการเก็บก่อน เป็นวิธีหักดิบที่ทำได้ยาก" ต้องบริหารต้นทุนให้ได้ก่อน โดยแยกค่าใช้จ่ายเป็น 5 เรื่องหลักต่อเดือน ดังนี้
1. เพื่อให้พอดำเนินชีวิตได้ 5,000 บาท คิดเป็น 33.33% ของรายได้
2. เพื่อให้สิ่งที่อยากได้ แต่เป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้ในอนาคต 1,000 บาท คิดเป็น 6.6% ของรายได้
3. เพื่อให้สิ่งที่ทำให้อยู่ในสังคมได้ 1,000 บาท คิดเป็น 6.6% ของรายได้
4. เพื่อการศึกษาเรื่องเฉพาะที่จะสร้างเงินได้ในอนาคต 1,000 บาท คิดเป็น 6.6% ของรายได้
5. เพื่อการลงทุน 7,000 บาท คิดเป็น 46.66% ของรายได้
หากได้เงินเพิ่ม ท่านก็เอา % ของแต่ละเรื่องไปคูณเงินเดือน ก็จะได้ตัวเลขที่ต้องจัดสรรในแต่ละเดือน
ข้อ 2 ถึง ข้อ 4 ให้นำเอาไปฝากออมทรัพย์ที่ดอกเบี้ยสูง 3% หรือ กองทุนตราสารหนี้ T+1 ผลตอบแทน 2.8% เพื่อพักเงิน
ข้อ 5 นำไปลงทุนที่ได้ผลตอบแทนดี และ รับความเสี่ยงได้ ไม่แนะนำให้ลง LTF เพราะเงินเดือนประมาณนี้ ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีแน่นอน หลังหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว และ อื่น ๆ แล้ว แนะนำให้ไปลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ณ ทีนี้ขอยกตัวอย่างเป็น BGH ซึ่งมีทิศทางการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง หากไม่กล้าใจไม่ถึง ให้ลงเรียนหรือหาหนังสือมาอ่าน "ความรู้จะทำให้มั่นใจ"
เมื่อลองคำนวณด้วย DCA ย้อนหลัง 3 ปี จะเห็นว่าเราออมเงินไปทั้งหมด 252,000 บาท เกิดเป็นผลกำไรทั้งหมด 216,393.69 บาท (+86%) รวมแล้วมีเงินในมือทั้งหมด 468,393.69 บาท
3 ปี นอกจากจะได้เงินเก็บในหุ้น 468,393.69 บาท แล้ว ยังได้เงินจากข้อ 2 และ ข้อ 3 ที่ไม่ได้นำไปใช้(ไม่รวมผลตอบแทนเงินฝาก) อีก 72,000 บาท เงินจำนวนนี้ ซื้อไรดี ^^
แต่เมื่อลองดูย้อนหลัง 5 ปี จะเห็นว่าเราออมเงินไปทั้งหมด 420,000 บาท เกิดผลกำไรทั้งหมด 1,133,300.93 บาท รวมแล้วมีเงินในมือทั้งหมด 1,553,300.93 อุแม้เจ้า
5 ปี นอกจากจะได้เงินเก็บในหุ้น 1,553,300.93 บาท แล้ว ยังได้เงินจากข้อ 2 และ ข้อ 3 ที่ไม่ได้นำไปใช้(ไม่รวมผลตอบแทนเงินฝาก) อีก 120,000 บาท เงินจำนวนนี้ ซื้อไรดี ^^
แน่นอนว่าปัจจุบันผมมีเงิน 1 ล้านบาท แต่เป็นล้านบาท ที่สะสมมาจาก เงินเดือน งานพิเศษ รับเขียนเว็บไซต์ เขียนโปรแกรม ค่าสมาชิกเว็บและจากกำไรหุ้น ช่วงปี 2008 2009 2010 ชีวิตผมเองก็ไม่ได้ โรยด้วยดอกกุหลาบ ปี 2011 ต้องแยกกับภรรยา ทำให้ต้องแบ่งทรัพย์สินและกลับมาเริ่มลงทุนใหม่ในช่วงปี 2012 แต่ก็โชคดีที่ตอนนั้นยังมีหุ้นหลายตัว Under Value อยู่มาก ทำให้กลับมาได้ในปี 2013 ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ และ คุณลูก ที่ให้กำลังใจมาตลอด
ผมเชื่อว่าหากท่านตั้งใจจริงก็ทำได้ เจอกันที่ความสำเร็จในปี 2015 เมื่อ AEC พร้อม
sithiphong:
8 นิสัยการเงินที่มีผลต่อสุขภาพ มาจัดการกันเถอะ
-http://money.kapook.com/view89563.html-
เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแมว
เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็มีผลต่อสุขภาพของคนเราอยู่เหมือนกัน นิสัยการเงินเหล่านี้ คือสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของคุณ ดังนั้นลองมาจัดการนิสัยการเงินเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่า
การใช้เงินของคนส่วนใหญ่ มักจะเน้นไปที่สิ่งของที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า เช่น อุปกรณ์ไอที, ไอโฟน, ไอแพด, กล้องถ่ายรูป, เสื้อผ้า เป็นต้น แต่ทว่ากลับมองข้ามความสำคัญของการใช้เงินเพื่อซื้อสุขภาพร่างกายที่ดี ที่แข็งแรง เพื่อต่อยอดในการใช้ร่างกายทำงานหาเงิน ดังนั้น คุณหมอแมว จึงอนุญาตให้กระปุกดอทคอมนำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการนิสัยการเงินที่มีผลต่อสุขภาพมาฝากกัน ลองไปอ่านแล้วเปลี่ยนนิสัยการเงินของคุณดูนะคะ
8 อุปนิสัยทางการเงินที่คุณควรจัดการเพื่อสุขภาพ โดย คุณหมอแมว
1. ควบคุมเงินที่ใช้ซื้อสินค้าวิตามินอาหารเสริม
พูดในแง่รวม ๆ วิตามินและอาหารเสริมที่มีผลดีต่อร่างกายมีจำกัด ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ออกมาใหม่ ๆ และตั้งข้อสงสัยถึงประโยชน์ของวิตามินอาหารเสริม
อาหารเสริมหลายชนิดที่เดิมเคยเป็นที่นิยมและเชื่อว่ามีประโยชน์ เมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่าไม่ได้มีประโยชน์ หนำซ้ำยังอาจจะก่อเกิดโทษได้อีกด้วย (อย่างใบแปะก๊วยที่ไปพบว่าอาจจะทำให้เลือดออกมากขึ้น เบต้าแคโรทีน ที่พบว่าอาจจะทำให้คนที่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งมากขึ้น และวิตามินอี ที่สงสัยกันว่าการกินมาก ๆ อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น หรือสมุนไพร ที่หลาย ๆ ชนิดกินเข้าไปแล้วเกิดตับอักเสบได้)
หากจะกินวิตามินเสริม แนะนำว่าปรึกษาแพทย์ก่อน แต่หากเป็นคนที่กินอาหารได้ปกติ แนะนำว่าพยายามปรับการกินให้หลากหลาย และเก็บเงินตรงนี้เอาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า
2. ออกกำลังแบบ Dollar Cost Average
Dollar Cost Average ในทางการเงิน คือการเลือกหาหุ้นหรือการลงทุนที่พื้นฐานดี จากนั้นลงเงินไปเรื่อย ๆ เป็นประจำ โดยไม่ต้องสนใจว่าหุ้นจะขึ้นจะลง ... ถ้าเรามั่นใจว่าเลือกถูกตัวแล้วพื้นฐานดีจริงมันก็จะให้กำไรเราในระยะยาวเอง
หลักการนี้นำมาปรับกับการออกกำลังกายก็คือ หาวิธีออกกำลังกายที่ใช่กับตัวเรา เหมาะกับสไตล์ของเรา จากนั้นออกกำลังเรื่อย ๆ เป็นระยะ ไม่ต้องหักโหมมาก แต่ว่าทำอย่างสม่ำเสมอ ช่วงไหนว่างมากมีกำลังก็ออกมากอีกหน่อย ช่วงไหนเหนื่อยเพลียจากการทำงาน (ที่ไม่ถึงกับป่วย) ก็ออกลดลงอีกนิด แต่อย่าหยุดออกกำลังกาย ในระยะยาวสุขภาพจะดีกว่าการไปออกกำลังกายตอนแก่ (เปลี่ยนคำว่าออกกำลังกายเป็นรักษาสุขภาพก็ได้เหมือนกัน)
3. ระวังอุบัติเหตุทางสุขภาพด้วยประกันสุขภาพ ... แบบเชิงรุก
ปัจจุบันมีประกันสุขภาพหลายชนิด ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ตรวจสอบว่าคุณมีสิทธิการรักษาในแบบใด ประกันสังคม สวัสดิการ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) ราชการ ... จากนั้นลองคิดดูว่าคุณสามารถรับได้กับระดับการรักษาในโรงพยาบาลที่คุณมีสิทธิแค่ไหน (พอใจกับหมอไหม พอใจกับยาหรือไม่ พอใจกับการรอคอยหรือไม่)
หากไม่พอใจหรือคิดว่าอยากจะเสริม เช่น จะใช้ประกันภัยเฉพาะเวลาตรวจเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน หรือใช้ประกันสุขภาพเพื่อร่วมกับสิทธิการรักษาปกติเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าห้อง ก็ไปซื้อประกันอีกที
ทั้งนี้เวลาจะซื้อก็ให้ประเมินสิทธิการรักษาของคุณกับสิ่งที่คุณต้องการ จากนั้นติดต่อตัวแทนประกันและแจ้งเขาไปเพื่อให้เขาเลือกประกันที่ตรงกับเรามากที่สุดมาให้เราดู ... อย่ารอให้ตัวแทนประกันมาหาเอง เพราะคนที่มาเสนอขายให้เรา เขามักจะมีประกันที่เขาต้องการขายให้เราอยู่แล้วซึ่งอาจจะไม่ดีสำหรับเรา
4. เลือกใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ในบางโรคที่ไม่ซีเรียส
สำหรับการป่วยที่ไม่หนักหนามาก อาจจะให้แพทย์เลือกยาที่ผลิตในประเทศแทนการใช้ยาตัวของแท้ เนื่องจากราคายาอาจจะต่างกันได้ 5-10 เท่า ในคุณภาพและผลข้างเคียงที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย
5. อาหารเพื่อสุขภาพควรเลือกแบบสายกลาง
สูตรอาหารแบบสุดขั้วที่ออกมากันมากมาย บางแบบมีการให้กินน้ำมันพืชบางชนิดมากแบบสุด ๆ บางแบบมีการให้กินอาหารโปรตีนมากสุด บ้างก็ให้กินอาหารที่ผ่านความร้อนน้อย ๆ หรือกินดิบ ๆ ฯลฯ
อาหารในกลุ่มพวกนี้ นอกจากจะไม่มีงานวิจัยชัดเจนว่าช่วยให้อายุยืนยาว ยังเป็นอาหารที่มีราคาแพงกว่าปกติและเสียเวลาเตรียมมากกว่าปกติ ... ซึ่งทำให้เราอาจจะต้องเสียเงินเกินความจำเป็นโดยอาจจะไม่ได้สุขภาพดีขึ้นเท่าไหร่
6. ตรวจสอบสุขภาพของคุณอย่างสม่ำเสมอ และพอดี
ผมเคยเจอทั้งคนที่ไม่ยอมตรวจสอบสุขภาพของตนเองเลยจนกว่าจะแย่ และเคยเจอทั้งคนที่ตรวจเลือดตรวจเอ็กซ์เรย์ถี่ระดับ 1-2 เดือนต่อครั้ง
การไม่ตรวจเลย จะทำให้เมื่อคุณป่วย คุณก็จะป่วยอย่างที่ไม่มีการวางแผนไว้ก่อน การตรวจถี่เกินไป จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป และเสียค่าใช้จ่ายไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นได้มาก โรคส่วนใหญ่ที่ไม่ร้ายแรง
การตรวจประจำปี ปีละครั้งก็เพียงพอแล้ว (และบางครั้งการตรวจบางชนิดอาจจะเว้นได้นานถึง 2-3 ปี)
7. อย่าหลอกตัวเอง
ผมพบคนที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือแม้แต่มะเร็ง ที่เมื่อตรวจพบในตอนแรกที่เป็นไม่มากแล้วปฏิเสธการตรวจต่อเนื่องหรือรับการรักษา บ้างเห็นว่าตนเองยังมีอาการปกติ บ้างเชื่อว่าหมอมักจะบอกให้โอเว่อร์ไว้เพื่อจะได้รักษาหรือขายยา ทำให้สุดท้ายไม่ตรวจต่อหรือไม่สนใจรักษา เมื่อมารักษาอีกครั้งตอนที่มีอาการมากก็สายเกินไปเสียแล้ว
การรักษาตนเองตั้งแต่ค้นพบโรคแต่แรก ใช้เงินน้อยกว่าการรอให้เป็นมาก ๆ แล้วมาไล่แก้ไล่รักษาหลายสิบเท่าครับ
8. ตัดค่าใช้จ่ายสินค้าที่ทำลายสุขภาพลง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่คือสินค้าที่ทำลายสุขภาพอย่างหนัก ซึ่งนอกจากทำลายสุขภาพ มันยังกินเงินของเราอย่างมหาศาลอีกด้วย
หากปกติเราสูบบุหรี่วันละซอง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้น 18,250 บาท (คิดที่บุหรี่ซองละ 50)
หากดื่มเบียร์วันละกระป๋อง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้นราว 10,950 บาท (คิดที่เบียร์ กระป๋องละ 30)
รวมเป็นเงิน 29,200 บาท ... ซึ่งหากนำเงินจำนวนนี้ไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี คุณจะได้เงินเพิ่มมาอีก 876 บาท เป็น 30,076 บาท
นี่ยังไม่นับถึงเงินที่คุณไม่ต้องเสียเพิ่มไปกับการเป็นโรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอ หรือตับแข็ง ไขมันเกาะตับอีกด้วย
จะเห็นว่าเรื่องสุขภาพ หากเรามองให้เป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เพื่อวางแผนในชีวิตก็สามารถทำได้ ปรับเปลี่ยนอุปนิสัยและแนวคิดทางการเงินเพื่อสุขภาพของคุณในวันหน้านะครับ
sithiphong:
รู้เท่าทัน ก่อนจะหันมาใช้ ‘บัตรเครดิต’
- ไขปัญหาผู้บริโภค
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/244665/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99+%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+%E2%80%98%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E2%80%99+-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-
เมื่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง ความทันสมัยหรือกระแสวัตถุนิยม ถือเป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความฟุ้งเฟ้อ ความอยากมี อยากได้ ทำให้หลายคนหันไปพึ่งเงินพลาสติกอย่างบัตรเครดิต
วันเสาร์ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
เมื่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง ความทันสมัยหรือกระแสวัตถุนิยม ถือเป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความฟุ้งเฟ้อ ความอยากมี อยากได้ ทำให้หลายคนหันไปพึ่งเงินพลาสติกอย่างบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางในการกู้ยืมเงินสด และการผ่อนชำระสินค้า มาใช้ตอบสนองความต้องการของตน
ปัจจุบัน การใช้บริการบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อต่าง ๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะความสะดวกสบายที่สามารถรูดซื้อสินค้าโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือผ่อนชำระสินค้าโดยสามารถเลือกช่วงระยะเวลา และดอกเบี้ยได้หรือการกดเงินสดเป็นเงินหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ชื่นชอบความรวดเร็ว ทันใจ จึงหันมาเลือกใช้บริการมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายก็จัดทำโปรโมชั่นต่าง ๆ ออกมาเพื่อโฆษณา เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาสมัครใช้บริการบัตรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
โดยส่วนมากจะนำเสนอสิทธิประโยชน์การใช้บริการตามห้างร้านต่าง ๆ แต่ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับเงื่อนไขในสัญญา เช่น ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าติดตามทวงถาม ค่าผิดนัดชำระหนี้ ที่เป็นข้อมูลสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้บริการบัตรเครดิต และบัตรสินเชื่อ
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคควรตระหนักในการเลือกใช้บริการบัตรเหล่านี้ คือ ศึกษาเงื่อนไขข้อตกลงการใช้บัตร ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการของผู้ให้บริการหลาย ๆ รายเปรียบเทียบกัน เช่น คิดค่าธรรมเนียมรายปี ค่าติดตามทวงถามหนี้ ค่าผิดนัดชำระหนี้ มากน้อยเพียงใดเป็นไปตามที่ ธปท.กำหนดไว้หรือไม่ รวมถึงข้อความที่ต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา แล้วจึงมาตรวจสอบเรื่องสิทธิประโยชน์การใช้บัตร และการเปรียบเทียบส่วนลดค่าใช้จ่ายที่จะตามมาจากการใช้บัตร สุดท้ายจึงมาพิจารณาของแถมต่าง ๆ ว่ามีเงื่อนไขอื่นแอบแฝงหรือไม่
บัตรเครดิตถือว่ามีประโยชน์หลายประการสำหรับผู้ที่มีระเบียบวินัยทางการเงิน หากรู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างถูกวิธี และไม่ใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น ในทางกลับกัน หากไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และไม่คำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ตลอดจนขาดความยับยั้งชั่งใจ ย่อมส่งผลให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น
ฉะนั้น เราควรพึงตระหนักไว้ว่า “เมื่อเรานำเงินของผู้อื่นมาใช้ก่อน เราจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินนั้นคืน”.
sithiphong:
สิ่งที่ผู้ใช้มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต
-http://money.kapook.com/view89986.html-
เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณฉัตรพงศ์ วัฒนจิรัฏฐ์ และคุณสุนิติ ถนัดวณิชย์ ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย
บัตรเครดิตกับการใช้งานให้ถูกวิธี ยังมีอีกหลายคนที่ใช้งานบัตรเครดิตด้วยความเข้าใจผิด ดังนั้นวันนี้เราเลยมีสิ่งที่ผู้ใช้มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตมาบอกกัน
การมีบัตรเครดิตเอาไว้ในครอบครอง กลายเป็นเรื่องสามัญที่คนทำงานส่วนใหญ่มักจะมีเอาไว้เพื่อความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย แต่บางครั้งการมีบัตรเครดิตที่ใช้งานง่ายก็อาจทำให้ลืมใส่ใจในเรื่องสำคัญอย่างการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต หรืออาจจะยังเข้าใจผิด ๆ อยู่ ดังนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำเอาบทความดี ๆ จาก คุณฉัตรพงศ์ วัฒนจิรัฏฐ์ และคุณสุนิติ ถนัดวณิชย์ ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย มาฝากให้ได้ทำความเข้าใจกันค่ะ
ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าและบริการ เมื่อมากับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอาจทำให้เกิดนิสัยการใช้เงินเกินตัวได้ การใช้จ่ายเงินมากกว่าที่หามาได้นั้นเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ก่อน จึงเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ นอกจากนี้ยังเพิ่มภาระทางการเงินหากคุณไม่สามารถชำระหนี้ก้อนดังกล่าวแบบ เต็มจำนวนเมื่อครบกำหนด เพราะคุณจะต้องเสียดอกเบี้ยจ่ายและ/หรือค่าธรรมเนียม รวม ๆ กันแล้วอยู่ในอัตรา 20% ต่อปี ซึ่งอาจเป็นภัยเงียบใกล้ ๆ ตัวคุณได้
สิ่งที่ผู้ใช้บัตรเครดิตมักจะเข้าใจผิด คือ วิธีการคำนวณดอกเบี้ยจ่ายของบัตรเครดิต ยกตัวอย่างเช่น รูดบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าอาหาร และค่าซ่อมรถยนต์ไป จำนวน 25,000 บาท เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2554 คุณได้รับใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
(รูปที่ 1)
ยอดเงินถึงวันที่ 5 ส.ค. 54 (Billing Date)
วันครบกำหนดชำระ 30 ส.ค. 54 (Payment Due Date)
ยอดรวมที่ต้องชำระ 25,000 บาท (Outstanding Bal.)
ยอดเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระ 2,500 บาท (Minimum Payment Due)
ในวันที่ครบกำหนดชำระ คุณสามารถที่จะเลือกชำระเต็มจำนวน 25,000 บาท หรือ เลือกชำระขั้นต่ำเพียง 10% ของยอดเต็ม คือ 2,500 บาท โดยปกติแล้วบริษัทบัตรเครดิตมักเสนอให้จ่ายขั้นต่ำ 10% ของยอดฯ หากคุณเลือกจ่ายขั้นต่ำจะทำให้คุณชำระเงินมากขึ้นจาก "ดอกเบี้ย"
ถ้าในกรณีนี้ คุณตัดสินใจที่จะชำระบางส่วน จำนวน 20,000 บาท และเป็นหนี้คงค้างจำนวน 5,000 บาท เมื่อคุณกลับมาคิด "ดอกเบี้ย" ที่ต้องจ่ายสำหรับเงินต้นคงเหลือจำนวน 5,000 บาท คุณอาจจะคิดว่าดอกเบี้ยจ่ายคงไม่เท่าไร แต่เมื่อรอบบัญชีถัดมา (5 ก.ย. 54) ดอกเบี้ยจ่ายที่พบอาจทำให้คุณตะลึง !! แทนที่คุณจะจ่ายดอกเบี้ยเพียง 19.17 บาท (อัตราดอกเบี้ยต่อปี (20%) x จำนวนวัน (30 ส.ค. – 5 ก.ย. 54) x เงินต้น (5,000 บาท)) แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ !!! คุณจะต้องจ่ายถึง 469.04 บาท ดังตารางคำนวณต่อไปนี้
(รูปที่ 2)
สิ่งที่ทำให้ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น มาจาก 2 ส่วน คือ ยอดหนี้ที่ใช้คิดดอกเบี้ย และจำนวนวันที่ใช้คำนวณดอกเบี้ย
ปัจจัยแรก แน่นอนว่ายอดหนี้ที่ใช้คิดดอกเบี้ย ไม่ได้มีเพียงแต่ยอดหนี้คงเหลือนับจากวันครบกำหนดชำระเพียงอย่างเดียว (5,000 บาท) แต่คิดจากยอดหนี้เต็มจำนวนโดยคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่รูดซื้อสินค้าและบริการ
ปัจจัยที่สอง คือจำนวนวันที่คิดดอกเบี้ย ซึ่งคิดตั้งแต่วันที่บันทึกจนกระทั่งถึงก่อนวันครบกำหนดชำระ 1 วัน โดยใช้ยอดหนี้ซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินต้นในการคำนวณ (ส่วนที่ 1) และจำนวนวันที่คิดดอกเบี้ยยังคิดต่ออีก ในวันที่ครบกำหนดชำระจนกระทั่งถึงวันตัดยอดของรอบบัญชีถัดไป (5 ก.ย. 54) อาจจะกล่าวในทางเทคนิคได้ว่า คุณเปิดโอกาสให้ผู้ออกบัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยในระยะปลอดดอกเบี้ยได้เต็มที่เลยทีเดียว ซึ่งรายละเอียดในการคำนวณดอกเบี้ยจะไม่ได้แสดงในใบเรียกเก็บหนี้ แต่จะแสดงอยู่ในข้อควรปฏิบัติและเงื่อนไขในการใช้บัตรเครดิต ซึ่งจะเป็นเอกสารแนบในใบเรียกเก็บในแต่ละเดือน
(รูปที่ 3)
ถึงแม้บัตรเครดิตจะดูดเงินในกระเป๋าคุณได้ คุณก็สามารถควบคุมการใช้บัตรเครดิต อย่างระมัดระวังได้ วิธีที่ดีที่สุดในการใช้บัตรเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ คือเมื่อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว คุณต้องแน่ใจว่าจะมีเงินจ่ายเต็มจำนวนเมื่อครบกำหนด หรือพยายามจ่ายคืนให้เร็วที่สุด บัตรเครดิตจึงเป็นเหมือนดาบสองคม ดังนั้นควรใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวังด้วย
หมายเหตุ รูปที่ 1 , รูปที่ 2 และรูปที่ 3 ลิงค์จากเว็บกระปุก แต่หากไม่เห็นรูป ให้ดูจากรูปที่โหลดลงกระทู้ฯด้านล่าง
sithiphong:
ดอกเบี้ยของธนาคารไหนดี ตรวจสอบได้ที่
-http://www.checkraka.com/-
-http://www.checkraka.com/price/saving-2-68/-
ติดตามได้ตามลิงค์ครับ
http://www.checkraka.com/price/saving-2-68/
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version