ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (18/58) > >>

sithiphong:
ลดหนี้ภาคครัวเรือน-ต้องช่วยกันหลายฝ่าย
ช่วยกันคิดช่วยกันคุย : ลดหนี้ภาคครัวเรือน ต้องออกแรงช่วยกันหลายฝ่าย : โดย...ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี
-http://www.komchadluek.net/detail/20130809/165329/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html#.UgcOEm0h-AI-
 

                             หนี้ครัวเรือนของไทยที่เกิดจากระบบสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นเร็วจนมีขนาดร้อยละ 75 ของจีดีพี ในไตรมาสแรกปีนี้ จากร้อยละ 57 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยโครงสร้างหนี้ครัวเรือนตามการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ แบ่งหลักๆ ได้เป็นสินเชื่อเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 46 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ร้อยละ 29 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคอื่นๆ (รวมสินเชื่อเงินสด) ร้อยละ 24  ซึ่งหากสังเกตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเห็นได้ชัดว่าการกู้เพื่อมาอุปโภคบริโภคนั้นมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ

                             สถานการณ์หนี้ที่เน้นการอุปโภคบริโภคอย่างการซื้อรถ เครดิตการ์ด และสินเชื่อเงินสดต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณเตือนใจให้เราต้องกลับมาคิดใหม่ว่าควรปรับการบริหารการใช้จ่ายใหม่หรือไม่ เนื่องจากสถิติช่วงประมาณ 6 ปีที่ผ่านมา พบว่า การใช้จ่ายภาคเอกชนต่อหัวโดยประมาณว่าเป็นตัวแทนของครัวเรือนเพิ่มร้อยละ 5.4 ต่อปี

                             เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินฝากถัวเฉลี่ยต่อบัญชีที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท เพิ่มจาก 72,389 บาท เป็น  87,141 บาท ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนประกันชีวิตมีจำนวนเงินเอาประกันต่อกรมธรรม์เพิ่มจาก 194,745 บาท เป็น 230,880 บาท แสดงให้เห็นว่าการออมผ่านเงินฝากและการทำประกันชีวิต ซึ่งถือเป็นการออมขั้นพื้นฐานเพราะเข้าถึงได้ง่าย เพิ่มขึ้นในอัตราพอๆ กัน คือประมาณร้อยละ 3 ต่อปีเท่านั้น ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของการใช้จ่าย

                             เราจึงต้องหันกลับมาใส่ใจและปรับตัวก่อนที่เหตุการณ์จะสายเกินแก้ ไม่ว่าจะเป็นการลดการบริโภคในสิ่งที่เกินตัวหรือเกินความจำเป็น โดยหันมาเก็บออมให้มากขึ้น การที่เราจะประสบความสำเร็จดังกล่าวได้ ต้องมีการร่วมกันในทุกภาคส่วน กล่าวคือ ด้านสถาบันการเงินควรนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมที่หลากหลายแก่ผู้บริโภคให้ออมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ขณะที่ทางการควรพิจารณาและดำเนินการออกกฎหมายสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการออมมากขึ้น

                             รวมถึงการสร้างวินัยการออมที่ดูเหมือนเป็นการบังคับ แต่จริงๆ แล้วมีความสมัครใจเป็นพื้นฐานอย่างกองทุนการออมแห่งชาติที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 11 พฤษภาคม 2554 แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดแรงจูงใจที่ผู้บริโภคสามารถรู้สึกและสัมผัสได้ว่า การเก็บออมคุ้มค่ากว่าการใช้จ่าย ระดับการออมก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและการก่อหนี้ก็จะลดลงโดยปริยาย

                             การออมของประชาชนจึงมีความสำคัญมากต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศ ทั้งในระยะสั้นและยาว เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยที่จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะเราไม่ควรหวังพึ่งน้ำบ่อหน้ามากนัก เนื่องจากจะไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่า เมื่อถึงเวลาต้องชะโงกหน้าเหนือบ่อแล้ว ท้ายสุดจะมีน้ำเหลือให้เราหรือไม่

sithiphong:
9 ความคิด มหาเศรษฐีโลก บิลล์ เกตส์
-http://money.sanook.com/66102/9-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B9%8C/-



9 กฎแห่งความคิดของบิลล์ เกตส์ เจ้าพ่อแห่งไมโครซอฟต์ ที่เรานำมาให้อ่านกันนี้


พออ่านจบแล้วรู้เลยว่า เป็นวิถีชีวิตของคนที่จะเป็นมหาเศรษฐีจริงๆ นับว่าทุกนาทีของเขา มีค่ามากกว่าสิ่งใด

บางข้อที่อ่าน อาจจะขัดใจเราไปบ้าง มันอาจจะยากเกินไป ถ้าเป็นแบบนั้น ลองเลือกความคิดดีๆ ของมหาเศรษฐีโลก "บิลล์ เกตส์"

ไปลองทำตามดู มันน่าจะเปลี่ยนความคิด และการใช้ชีวิตของคุณได้ไม่น้อยเลยนะ


1.ชีวิตมันไม่มีความยุติธรรมหรอก - ทำใจซะ

2.โลกไม่สนใจหรอกว่าคุณจะภูมิใจกับตัวเองรึเปล่า โลกสนแต่คุณจะสามารถประสบความสำเร็จอะไรได้บ้างก่อนที่คุณจะภูมิใจกับตัวเอง

3.คุณไม่มีทางที่จะได้เงินเดือน 60,000 หมื่นเหรียญต่อปี หลังจากที่คุณเรียนจบหรอก

4.ถ้าคิดว่าครูที่สอนอยู่หนักแล้ว ลองมาเจอเจ้านายตอนทำงานดูสิ

5.ถ้าชีวิตคุณยุ่งเหยิง มันไม่ใช่ความผิดของพ่อแม่คุณหรอก อย่ามัวแต่บ่นกับเรื่องที่เคยทำผิด แต่จงเอามันมาเป็นบทเรียน

6. ที่โรงเรียนคุณจะสอบกี่ครั้งก็ได้จนกว่าคุณจะได้คะแนนที่พอใจ แต่ชีวิตจริงคุณมีโอกาสเพียงแค่ครั้งเดียว

7.ชีวิตจริงไม่เหมือนในโรงเรียน ไม่มีหยุดปิดเทอม ให้คุณได้หยุดยาวไปพักผ่อน

8.ในทีวีกับชีวิตจริงไม่เหมือนกัน ชีวิตจริงคนเค้าไม่มานั่งแช่ในร้านกาแฟทั้งวัน ก็ต้องมีงานทำทั้งนั้น

9.ทำตัวดีๆกับพวกเด็กเรียนเอาไว้ เพราะบางทีคุณโตขึ้นไปอาจจะต้องไปเป็นลูกจ้างของพวกเขาก็ได้

 

--------------------------------------------------------------------

บิล เกตส์ เจ้าของบริษัทไมโครซอฟท์ มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา

ติดต่อกันเป็นสมัยที่ 19 ด้วยทรัพย์สิน 66,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดิม 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

sithiphong:
กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน สาเหตุเพราะอะไร มาดูกัน
-http://home.kapook.com/view69303.html-

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน สาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน เพราะอะไร และควรทำอย่างไรเพื่อให้การกู้ซื้อบ้านผ่าน มาดูกัน

          แน่นอนว่าความใฝ่ฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง แต่เอ...เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน วันนี้เรามีคำตอบมาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

สำหรับสาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน อาจมีเหตุผลหลายประการ เช่น

      นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน
      ภาระหนี้ที่มีอยู่ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
      หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน/ผู้ค้ำประกัน
      โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
      ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้

การตรวจสอบความสามารถชำระหนี้

1. สำรวจความสามารถในการผ่อนชำระหนี้
       
          ปกติแล้วการผ่อนชำระหนี้ ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน เช่น ถ้าผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ 12,000 บาทต่อเดือน จะสามารถผ่อนหนี้ได้ประมาณ 4,000 บาท

2. ตรวจสอบภาระหนี้เดิมรวมกับหนี้ที่จะขอใหม่ ว่ามีเยอะหรือไม่
       
          โดยนำยอดการผ่อนชำระหนี้เดิมและยอดหนี้ที่จะขอใหม่ต่อเดือนมารวมกัน แล้วดูว่ามีสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือนหรือไม่

ตัวอย่าง

          ผู้ขอสินเชื่อต้องการกู้เงิน 100,000 บาท ระยะเวลาชำระหนี้คืน 5 ปี ผ่อนชำระหนี้ (เงินต้นรวมดอกเบี้ย) ประมาณเดือนละ 1,667 บาท นอกจากนี้ ผู้ขอกู้ยังมียอดหนี้เดิมที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนอีก 1,700 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณภาระหนี้ทั้งสิ้นที่ต้องผ่อนต่อเดือนยังไม่เกิน 4,000 บาท ถือว่าผู้ขอกู้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้

          อย่างไรก็ดี หากพบว่า รายได้สุทธิของคุณไม่เพียงพอที่จะกู้ คุณอาจจะหา "ผู้กู้ร่วม" มาช่วยทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระมีมากขึ้น หรืออาจจะลดภาระหนี้ของคุณ เช่น ไปปิดบัญชีบัตรเครดิต บัญชีเงินกู้สหกรณ์ หรือไม่ก็ลดขนาดและราคาของบ้านลงมาให้สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระ

          ทั้งนี้ หากท่านต้องการตรวจสอบภาระหนี้สินที่ตนมีกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ว่ามากน้อยแค่ไหน สามารถติดต่อขอทราบรายละเอียด และตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองได้ที่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ โดยเลือกหัวข้อ สำหรับเจ้าของข้อมูล


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
bot.or.th
ghbhomecenter.com
ai-premiumcondo.com
home.thaibizcenter.com

sithiphong:
รถคันแรก-บัตรเครดิต ทำคนเป็นหนี้พุ่ง แนะถือเงินรอลงทุนของถูก
-http://hilight.kapook.com/view/90848-


สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม


             ประธานชมรมคนออมเงิน เผย ยอดคนเป็นหนี้พุ่ง หลังแห่รูดบัตรเครดิต-ซื้อรถคันแรก แนะถือเงินสด รอซื้อของถูก

             นายสุวรรณ วลัยเสถียร ประธานชมรมคนออมเงิน และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยวันนี้ (8 กันยายน 2556)  ว่า จำนวนประชาชนที่มีหนี้สิน มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากภาระการซื้อรถยนต์ ในโครงการรถยนต์คันแรก รวมถึงการนำเงินในอนาคตจากบัตรเครดิตมาใช้จ่าย ทำให้มีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ อยากให้ประชาชนควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อให้มีเงินออม ซึ่งส่วนตัวมีหลักการใช้จ่าย คือ จะซื้อของที่มีความจำเป็นเท่านั้น ส่วนสิ่งของที่ไม่จำเป็น ก็จะหลีกเลี่ยง

             พร้อมกันนี้  นายสุวรรณ ยังได้กล่าวถึงสินทรัพย์ที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับเงินในกระเป๋า ด้วยว่า ตอนนี้อยากให้นักลงทุนหรือประชาชนถือเงินสดมากกว่าที่จะนำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพราะอนาคตเชื่อว่า จะมีสินทรัพย์ราคาถูกออกมาขายเป็นจำนวนมาก และถึงเมื่อนั้นก็ค่อยนำเงินมาลงทุน


INN News

http://hilight.kapook.com/view/90848

sithiphong:
มาย้ำกัน สำหรับสูตรทางการเงิน ที่ต้องใข้ เพื่อตัวเราเอง

รายได้ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย
เป็นสูตรที่ใช้ต่อเดือน


.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version