ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (19/58) > >>

sithiphong:
คนกรุงกว่าครึ่งชำระบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ
-http://money.sanook.com/163108/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3/-


เอแบคโพล เผย พฤติกรรมคนเมืองเกินครึ่งนิยมถือบัตรรูดปื๊ด 2 ใบขึ้นไป และมักใช้ควบคู่กับบัตรเงินสด

โดยเฉพาะกลุ่ม "เจนบี" และผู้ถือบัตรครึ่งหนึ่งเลือกชำระยอดใช้บัตรในอัตราขั้นต่ำเท่านั้น

(25ก.ย.56) น.ส.ปภาดา ชินวงศ์ ผู้จัดการโครงการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง "พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของคนเมือง" ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง

พบว่าตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.5 ระบุจัดสรรรายรับ รายจ่ายแต่ละเดือนไปกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ขณะที่ร้อยละ 29.9 ใช้เงินเดือนชำระหนี้สิน และร้อยละ 17.6 เก็บเป็นเงินออม
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการใช้บัตรเครดิต พบกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.4 มีการถือบัตรเครดิต 2 ใบขึ้นไป และตัวอย่างร้อยละ 88.2 มักใช้บัตรเครดิตควบคู่กับบัตรสินเชื่อเงินสด

โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 25-33 ปี หรือ Generation Y เป็นกลุ่มที่ใช้บัตรเครดิตสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 46.7 และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 40-60 ปี หรือ Generation B เป็นกลุ่มที่มีการใช้บัตรเครดิตควบคู่กับสินเชื่อเงินสดสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ

โดยคิดเป็นร้อยละ 52.9 ส่วนการชำระหนี้บัตรเครดิต พบว่าผู้ถือบัตรครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50.4 เลือกชำระยอดบัตรเครดิตในอัตราขั้นต่ำเท่านั้น
 
น.ส.ปภาดา กล่าวว่า ปัจจุบันคนเมืองมีความนิยมใช้บัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Generation Y โดยมักจะใช้บัตรเครดิตควบคู่กับบัตรสินเชื่อเงินสด ซึ่งปัจจุบันธนาคาร และสถาบันการเงิน

มักร่วมกับบริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ในการจัดส่งเสริมการขายขึ้น สำหรับลูกค้าที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต มากกว่าการใช้เงินสด ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาระหนี้สินได้


http://money.sanook.com/163108/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3/

sithiphong:
เงินเฟ้อ คืออะไร!!
-http://club.sanook.com/8732/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-

วันนี้จะขอพูดเรื่องที่ฟังเผินๆ เหมือนจะดูยากสักนิดนึงค่ะ แต่จริงๆ แล้วจะบอกเลยว่ามันไม่ได้ยากเลย และก็ไม่เกินความสามารถของประชาชนคนธรรมดา พ่อบ้าน แม่บ้าน แน่นอนค่ะ และก็คิดว่าคำศัพท์บริหารพื้นฐานเหล่านี้ ก็มีความจำเป็นสำหรับเราๆ ที่ต้องรู้จักความหมายกันไว้บ้างก็ดี เวลาเค้าพูดกันจะได้เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น และก็จะได้ไม่งงกันค่ะ

หลายคน คงเคยได้ยิน “ภาวะเงินเฟ้อ-ภาวะเงินฝืด“ อยู่บ่อยครั้งใช่ไหมคะ แต่หลายคนคงยังไม่ทราบความหมายว่า “เงินเฟ้อ” คืออะไร ซึ่งในวันนี้เรามีความหมายของ “เงินเฟ้อ” มาบอกกันค่ะ

เงินเฟ้อ คือ

ภาวะเงินเฟ้อ (inflation)  คือ ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา ผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ

ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก

ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ปัจจัยที่สอง เกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

ซึ่งถ้าสรุปง่ายๆ เป็นภาษาธรรมดาๆ ก็จะมีความหมายประมาณว่า  “เวลาจะที่เราจะจับจ่ายใช้สอยหรือซื้ออะไร อาจได้ของที่แพงขึ้น แต่ค่าเงินที่มีอยู่นั้นมีมูลค่าน้อยลงค่ะ ซึ่งอาจจะซื้อของได้น้อยลง หรือต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ของปริมาณที่เราต้องการเท่าเดิม”  ซึ่งภาวะเงินเฟ้อนี้อาจทำให้เราต้องประหยัดมากขึ้น จากที่ข้าวของมีราคาแพงขึ้นนั่นเองค่ะ

เห็นไหมคะว่าจริงๆแล้ว เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวและยากเกินไป ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับเราทุกคนที่จะต้องเรียนรู้ไว้  แล้ววันหลังเราจะมาบอกความหมายของ “เงินฝืด” กันต่อในโอกาสหน้ากันค่ะ อย่าลืมมาติดตามกันต่อนะคะ

http://club.sanook.com/8732/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

sithiphong:
เงินฝืด คืออะไร!!
-http://club.sanook.com/8735/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B7%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-

กลับมาอีกครั้งค่ะ หลังจากครั้งที่แล้วเราพูดถึงเรื่อง “เงินเฟ้อ”  ว่า “เงินเฟ้อ” นั้น คืออะไร ซึ่งครั้งที่แล้วเราได้สรุปความหมายของ “เงินเฟ้อ” ไว้ว่า  “การที่สินค้านั้นมีราคาเพิ่มขึ้นหรือแพงขึ้น แต่มูลค่าเงินที่เรามีอยู่นั้นเท่าเดิมหรือลดลงค่ะ” นั่นก็หมายถึงว่า เราจะซื้อของแพงขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งวันนี้เราก็จะเรียนรู้ความหมายของคำว่า “เงินฝืด” กันต่อค่ะ ว่าเงินฝืดคืออะไร แล้วมีความหมายว่าอะไรกันต่อค่ะ

เงินฝืด คืออะไร

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

http://club.sanook.com/8735/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B7%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

sithiphong:
สูตรคำนวณราคาทองไทย และที่มา
« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2008, 01:24:26 pm »

-http://www.thaigold.info/Board/index.php?/topic/275-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2/-


หลายท่านสงสัยที่มาของสูตรคำนวณราคาทองคำที่ใช้กัน จริงๆก็เคยตอบไปแล้ว แต่ก็หล่นๆไปตามกาลเวลา วันนี้ลอกกลับมาปรับปรุงให้อ่านกันใหม่ และปักหมุดไว้เลย เผื่อท่านที่มาทีหลังจะได้ไม่ต้องไปหาขุดขึ้นมาอีก

ราคาทองไทยเป็นทองชนิด 96.5% เปอร์เซนต์ และประกาศที่น้ำหนัก 1บาท ครับ
ส่วนของ Newyork เป็นการประกาศทองชนิด 99.99% ที่น้ำหนัก 1 ออนซ์
การคำนวณจะใช้สูตรนี้ครับ

ราคาทองไทย = (( Spot Gold + Premium ) x 32.148 x THB x .965 )/65.6
โดย Premium เป็นค่าธรรมเนียมอะไรนี่แหละครับ เท่ากับ 1 เหรียญ ( บางทีก็ 2 เหรียญ)

อย่างตัวอย่างสดๆ (22.5.51 13.13 น.) ที่ ThaiGoldRealTime goldspot 932.7 USD/THB 31.95 คำนวณได้ 14107 บาท

ลองเข้าสูตรเป็น
ราคาทองไทย = (( 932.7 +1 ) x 32.148 x 31.95 x .965 )/65.6
ราคาทองไทย = 14107.68 บาท สมาคมประกาศ 14100-14000 (ขึ้นสดๆเลย หุหุ)

ปล. รวบสูตรข้างบนง่ายๆเข้าก็เอา 32.148x .965 /65.6 มารวมกันได้เป็น 0.4729 หรือ 0.473
ได้สูตรนี้ครับ
ราคาทองไทย = ( Spot Gold + 1 ) x THB x 0.473 ก็ได้เช่นกันครับ

ส่วนตัวเลข ตัวเลข 32.148 และ 65.6 มาจากไหน
เพราะว่าปกติ 1 ออนซ์ เท่ากับ 31.104 กรัม
และ 15.244 กรัม ( 1 บาททองคำ ) เท่ากับ 0.49 ออนซ์

solve ออกมาได้ว่า

SpotGold ของฝรั่งเป็นราคาทอง 9999 และเป็น USD ต่อออนซ์ครับ

ราคา ทอง9999 ต่อ กก = (SpotGold +Premium) x นน ทอง9999เป็นออนซ์ ต่อ กก
นน ทอง9999เป็นออนซ์ ต่อ กก = 32.1508 ออนซ์

แปลงไปเป็นทองชนิด 100% ก่อนครับ ดังนี้

นน ทอง100% เป็นออนซ์ ต่อ กก = 32.1508x0.9999
= 32.14758
= 32.148 .......... ที่มาของเลขที่สงสัยครับ

ราคาทอง100% ต่อ กก = (SpotGold + Premium) x นน ทอง100% เป็นออนซ์ ต่อ กก
= (SpotGold + Premium) x 32.148 ..................................(1)

แปลง นน. จากออนซ์เป็นทองไทย 1 บาท

หา นน ทอง100% ของทอง 1 บาทไทย
ทอง965 1 บาท = 15.244g หรือ 0.015244 กก หรือ 1/65.6 กก
ทอง100%1 บาท = 0.965/65.6 กก ............................................................(2)
= 0.01471 กก
ราคาทองไทย 96.5% 1บาท ได้จาก (1) x THB x (2) ก็คือสูตรนี้

= (SpotGold + Premium) x 32.148 x THB x 0.965/65.6
หรือก็คือสูตรที่ใช้กัน = (( Spot Gold + Premium ) x 32.148 x THB x .965 )/65.6

sithiphong:
ลูกหนี้บัตรเครดิตอ่วม ข้าวของแพง รายได้ไม่พอจ่าย แห่รีไฟแนนซ์เพียบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 ตุลาคม 2556 23:51 น.
-http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000125684-

ลูกหนี้บัตรเครดิตอ่วม ข้าวของแพง รายได้ไม่พอจ่าย แห่รีไฟแนนซ์เพิ่ม แก้ปัญหาเงินขาดมือ
       
       นายประชา ชัยสุวรรณ ประธานชมรมติดตามหนี้ที่เป็นธรรม และกรรมการผู้จัดการ บริษัท รีโซลูชั่น เวย์ เปิดเผยว่า มีลูกค้ามาใช้บริการปรับโครงสร้างหนี้ (รีไฟแนนซ์) เพิ่มกว่า 100% จากเดิมที่เคยปล่อยกู้เฉลี่ยเดือนละ 10 ล้านบาท ก็เพิ่มเป็นเดือนละ 20 ล้านบาท ซึ่งโดยเฉลี่ยลูกค้าแต่ละรายจะกู้เงินประมาณ 2-3 แสนบาท
       
       ทั้งนี้ บริษัทจึงปรับเป้าการปล่อยสินเชื่อในปีนี้เป็น 200 ล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะปล่อยได้ 120 ล้านบาท
       
       “ยอมรับว่าการติดตามหนี้ในช่วงนี้ยากลำบากมาก ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจ และค่าครองชีพที่แพงมากกว่าปัญหาจากน้ำท่วม ทำให้ลูกค้าเงินขาดมือ” นายประชา กล่าว
       
       สำหรับลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาขอรีไฟแนนซ์ จะเป็นลูกค้าที่บริษัทซื้อหนี้จากสถาบันการเงินมาบริหาร รวมทั้งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีประวัติการค้างชำระหนี้อยู่แล้ว จึงไม่สามารถไปกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ รวมทั้งอยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version