ผู้เขียน หัวข้อ: อุเบกขา ให้เชื่อกรรมผลของกรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)  (อ่าน 1813 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

 
อุเบกขา ให้เชื่อกรรมผลของกรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

อุเบกขาคือ ภาวะของจิตที่มีอาการเป็นกลางเห็นเสมอกันในสัตว์ บุคคลทั้งหลาย ในคราวทั้งสองคือในคราวประสบสมบัติ และในคราวประสบวิบัติ ไม่ยินดียินร้าย มองเห็นว่าทุกๆคนมี กรรมที่ทำไว้เป็นของของตน จะมีสุข จะพ้นทุกข์ จะไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้เพราะกรรม

จึงวางเฉยได้ คือวาง ได้แก่ไม่ยึดถือไว้ วางลงได้ เฉย คือไม่จัดแจงวุ่นวาย ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมหรือตามกำหนดของกรรม

อุเบกขานี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อสุดท้าย ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธี อบรม คือ ระมัดระวังใจมิให้ขึ้นลง ด้วยความยินดียินร้าย ทั้งในคราวประสบวิบัติ เมื่อภาวะของจิตเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็พยามระงับใจ หัดคิดถึงกรรมและผลของกรรมรับผิดชอบเอาไปเสีย

เมื่อทำจิตให้อุเบกขาได้ ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจง หรือโดยไม่เจาะจงทั่วไปด้วยความคิดว่า “ทุก สัตว์ บุคคล มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทรับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย ทำกรรมอันใด ดีหรือชั่ว ก็ต้องรับผลของกรรมนั้น

อันที่จริงภาวะของจิตเป็นอุเบกขานี้ ย่อมมีอยู่เป็นสามัญธรรมดาในเวลาปรกติยังไม่มีอะไรมาทำให้เกิดความยินดียินร้าย แต่ยังเจือด้วยความไม่รู้ (อัญญาณ) และจะเปลี่ยนไปเป็นความยินดียินร้ายขึ้นได้โดยง่าย

พระบรมครูสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็นธรรมขึ้น คือ ให้ เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิใช่ในเวลาที่ไม่มีเรื่องอะไรมากระทบจิตเท่านั้น แม้มีเรื่องมากระทบจิตให้ยินดียินร้ายก็ระงับได้

ทำใจให้สงบเป็นอุเบกขาได้ ด้วยความรู้ (ญาณ) เพราะว่าความยินดี (ราคะ) และความยินร้าย (ปฏิฆะ) เป็นศัตรูที่ห่างของอุเบกขา ส่วนอุเบกขาด้วยความไม่รู้ (อัญญาณุเบกขา) เป็นศัตรูที่อยู่ใกล้ของอุเบกขา

ฉะนั้น ก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรืออุปมา ดังเช่นว่า ตน ไม่ชอบให้อื่นมาเล็งชอบใจอยากได้อะไรของตน และไม่ชอบให้ใครอื่นมาหมายมั่นปองร้าย ฉันใด ตนก็ไม่ควรจะไปคิดยินดียินร้ายดังนั้นแก่คนอื่น ควรจะมีใจมัธยัสถ์คือเป็นกลางฉันนั้น

: ศีลและพรหมวิหาร ๔
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ที่มา : agalico.com/board/showthread.php?t=16366

http://www.pariyatschool.com/board/index.php?action=profile;u=10;sa=showPosts;start=350
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




อุเบกขา: การวางเฉยอย่างถูกวิธี
   พระนิพนธ์โดย...
   สมด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

   กราบขออนุญาตและกราบขอบพระคุณองค์สมเด็จพระญาณสังวร ท่าน.. ด้วยดวงใจ
   กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้
   ขอน้อมเกล้าถวายแด่ องค์สมเด็จพระญาณสังวรและจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
   แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ ทุกๆท่าน รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ


   พระนิพนธ์เรื่องอุเบกขานี้ สมเด็จพระญาณสังวรทรงแสดงถึง
   อุบายวีธีในการปฏิบัติตน
   เพื่อความสงบของจิตใจ ตั้งแต่ระดับต้นไปถึงระดับสูง ด้วยอุบายวิธีทางธรรม
ซึ่งนับว่าเป็นการวางเฉยด้วยปัญญา หรือวางเฉยอย่างถูกวิธี

   ฉะนั้น การฝึกหัดปฏิบัติตนตามอุบายวิธีดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นและมีประโยชน์ต่อทุกคน

   เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาชีวิตในระดับหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะได้ศึกษา และหัดปฏิบัติ
   ธรรมปฏิบัติข้อหนึ่งซึ่งผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัติให้มีขึ้นก็คือ อุเบกขา
    อุเบกขาที่พึงปฏิบัตินี้เป็นอุเบกขาส่วนเหตุ เพื่อที่จะได้อุเบกขาที่เป็นส่วนผล และคำว่าอุเบกขานี้ ก็เป็นคำที่พูดกันในภาษาไทย
   และก็มีคำแปลทั่วไปว่า ความวางเฉย เมื่อให้คำแปลและเข้าใจกันดังนี้ จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันก็มี เกิดความเข้าใจถูกก็มี

   ส่วนให้เกิดความเข้าใจผิดนั้นก็คือ เข้าใจว่าอุเบกขาเมื่อเป็นความวางเฉยไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง
   ก็หมายความว่าไม่ทำอะไร ไม่เอาใจใส่ในอะไร จึงดูคล้ายๆกับผู้มีใจไม่สมประกอบซึ่งไม่รู้เรื่องราวอะไร
   กลายเป็นผู้ที่มีใจเลื่อนลอย เป็นปัญญาอ่อนหรืออะไรทำนองนี้ ดังนี้เป็นความเข้าใจผิดในอุเบกขา
   ส่วนที่เป็นความเข้าใจถูกนั้นก็คือ เข้าใจอุเบกขาที่เป็นธรรมปฏิบัติอันถูกต้องใน ขั้นนี้
   พึงมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานไว้ก่อนว่า ความวางเฉยด้วยความไม่รู้ก็มีอยู่ แต่ว่าเป็นความวางเฉยที่ไม่ใช่ธรรมปฏิบัติในพุทธศาสนา

   แต่อาจเป็นอุเบกขาที่มีเป็นธรรมชาติธรรมดาเหมือนอย่างความยินดี ความยินร้าย และความวางเฉยไม่รู้จักความยินดียินร้ายที่คนทั่วไปมีกันอยู่
   คือเมื่อประสบอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีก็เกิดความยินดี ประสบอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินร้าย ก็เกิดความยินร้าย
   ประสบอารมณ์ที่เป็นกลางๆ มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีหรือความยินร้าย ก็เกิดความรู้สึกเป็นกลาง ซึ่งก็เป็นอุเบกขา

   อาการของจิตเหล่านี้ทุกคนย่อมมีอยู่โดยปกติ ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมเลยก็มีอุเบกขาเช่นนี้อยู่
   ดังนี้ เป็นอุเบกขาที่มีอยู่กันเป็นปกติ มิใช่เป็นธรรมปฏิบัติ

   แต่ ที่เป็นธรรมปฏิบัตินั้น หมายถึงความวางเฉยด้วยความรู้ คือรู้แล้วก็วางเฉย
   อันความวางเฉยด้วยความรู้นี้ เกี่ยวแก่การที่ต้องปฏิบัติทำจิตใจให้เกิดความวางเฉยขึ้น
   และความวางเฉยด้วยความรู้นี้ก็เป็นอาการของจิตที่มีความทนทาน รู้แล้วก็วางเฉยได้
   กับเป็นอาการของจิตที่ประกอบด้วยปัญญาเพ่งพินิจรู้ จึงหมายถึงรู้เรื่องที่เป็นไป กับรู้ที่เป็นปัญญา
ดังจะยกตัวอย่าง

   อันเรื่องที่เป็นไปนั้น ดังเช่น นินทา สรรเสริญ กล่าวได้ว่าบุคคลทุกๆคนจะต้องมีผู้นินทาบ้าง มีผู้สรรเสริญบ้างอยู่ด้วยกันทั้งนั้น
   และแต่ละคนก็ต้องมีผู้นินทา มีผู้สรรเสริญไม่ใช่น้อย แต่ว่าไม่ได้ยิน จึงไม่รู้ว่าเขานินทาอย่างไรบ้าง เขาสรรเสริญอย่างไรบ้าง
   จิตจึงเป็นกลางๆไม่ยินดียินร้าย เพราะไม่รู้คือไม่ได้ยินเขาพูด ไม่ทราบว่าเขาพูดอย่างนั้นอย่างนี้

   ดั่งนี้เป็นลักษณะที่วางเฉยด้วยความไม่รู้จริงๆ แต่อันที่จริงนั้นเขานินทาอยู่แล้ว เขาสรรเสริญอยู่แล้ว ซึ่งทุกคนก็จะเป็นอย่างนี้ด้วยกันทั้งนั้น
   ยิ่งเป็นคนที่มีชื่อเสียงมาก ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับคนเป็นอันมาก ก็จะต้องมีผู้สรรเสริญมาก มีผู้นินทามาก
   แต่ว่าเขาพูดลับหลังไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็เฉยๆ ดั่งนี้เรียกว่า เฉยด้วยความไม่รู้จริงๆ
   คราวนี้เมื่อได้ยินเขาพูด ได้ทราบว่าเขาพูดนินทาบ้าง สรรเสริญบ้าง ก็วางเฉยได้ ดั่งนี้เรียกว่ามีความทนทาน เป็นการวางเฉยด้วยความรู้
   คือรู้เรื่องที่เป็นไป ซึ่งน่าจะยินดีก็ไม่ยินดี น่าจะยินร้ายก็ไม่ยินร้าย วางเฉยได้ รู้ว่าเขาว่าก็วางเฉยได้ เขานินทา เขาสรรเสริญก็วางเฉยได้

อีกอย่างหนึ่งวางเฉยด้วยปัญญา คือว่าโดยปกตินั้นก็จะมีชอบใจ ไม่ชอบใจขึ้นมาก่อน
   แต่แล้วก็พิจารณาให้เกิดความรู้ที่เป็นปัญญาขึ้นมา
   เมื่อเกิดปัญญาขึ้นมาก็เกิดความวางเฉยได้
   อันความวางเฉยได้ด้วยความรู้ที่เป็นปัญญานี้ ต้องอาศัยการปฏิบัติ
   อันเรียกว่า “โยนิโสมนสิการ” ทำไว้ในใจโดยแยบคาย

   พิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล เห็นสัจจะคือความจริง
   อันนี้แหละเป็นข้อปฏิบัติให้เกิดอุเบกขา
ซึ่งเป็นที่มุ่งหมายในทางปฏิบัติธรรม


   ที่มา (-http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=1143)
-http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=940.0