กิเลส จิต มารโดย
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓
ณ ศาลากาญจนาภิเษกจิตไปเร็วมาก เจ้าของตามไม่ทันไปทุกขณะ ดังนั้น คนเลยทำชั่วปล่อยให้กิเลสพาไป ไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามพูดจาหยาบคาย ส่อเสียดให้คนอื่นเดือดร้อน ดื่มสุรา
ความชั่วมี ความดีมี จิตมีสิทธิ์ที่จะเลือก ถ้าจิตฉลาด ก็เลือกเอาบุญกุศล ถ้าไม่ฉลาด ก็เลือกเอาเรื่องชั่ว พอใจทำชั่ว
จิตไม่ฉลาด ไม่สามารถสร้างหรือหา (ข้าวของ สมบัติ- deedi) ของตัวเอง ก็ไปฉกฉวยเมื่อเห็นของของผู้อื่น
ในโลกสมมุตินี้กลับเห็นผู้ฉกฉวย หลอกคนอื่นได้ เป็นคนฉลาด โลกก็เป็นอย่างนี้แต่ในทางธรรมะ ถ้าไปทำให้คนอื่นทุกข์เดือดร้อน กรรมนั้นก็จะตามสนอง ให้ต้องถูกหลอก โดนต้มตุ๋น ต้องเสียใจ คับอกคับใจ เกิดชาติใดก็จะเป็นอย่างนั้น
พระพุทธองค์ทรงสอนให้คนฉลาด มีปัญญา ไม่สอนให้โง่เขลาเบาปัญญา คำสอนล้วนแต่ทำให้เกิดปัญญา แนะนำให้คนฝึกตน อย่าปล่อยตนให้
ไหลไปตามอำนาจของ
กิเลส“
ทูรังคะมัง เอกะจะรัง …ฯลฯ”
ปกติของจิตนั้น เที่ยวไปไกล มีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อาศัยใครสำรวมจิตใจตนให้ดีก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมารสิ่งที่ยิ่งทำให้โลภ โกรธ หลง ก็คือ “
มาร” เมื่อพิจารณารู้แล้ว
ต้องไม่หลงไหลไปตามมายาของกิเลสนั้น เมื่อมีอะไรมากระทบก็อย่าวู่วาม ให้มี
สติสัมปชัญญะสกัดกั้นจิตใจไว้
มีอะไรมากระทบใจ ก็ “อดทน” ก่อน ถ้าไม่อดทนก็จะมีเรื่องอย่างมีคดีกัน ฟ้องกัน เสียเงิน เสียเวลา ไปศาลทีไรก็เสียเงินทุกที ไม่ฉลาด ถ้าฉลาดโจทก์กับจำเลยควรมาพูดคุยกันตกลงกัน สมยอมกัน ยอมสละกันบ้าง การว่าความในโรงศาลไม่ใช่ของดี ทำให้เสียเงินทอง เสียเกียรติยศชื่อเสียง
พระพุทธองค์จึงสั่งสอนให้
สำรวมจิต ซึ่งจะทำให้
มาร คือความชั่วทั้งหลายมาหลอกลวงยั่วยวนไม่สำเร็จ
เพราะว่าจิตรู้เท่าทัน เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เกิดปัญญาดังนั้น อย่าปล่อยให้จิตไหลไปตามกระแสโลก จะยืน เดินนั่ง นอน
ก็ใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาก่อน จะทำ จะพูด จะคิด ก็สำรวมจิต รักษาจิตให้ดี มารหรือความชั่วก็มาลบล้างหรือทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่ได้
ขอให้เข้าใจว่า
ความชั่วทั้งหลาย (โลภ โกรธ หลง) คือตัว
มาร ใครล่วงความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เข้าใจผิด เดินทางผิด เห็นผิดเป็นชอบไป การขอหวย รวยเบอร์ บนบานไม่ได้อะไร นี่เรียกว่า
ความหลงดังนั้น สำรวมตัวเองให้ดี ไม่ปล่อยให้ความชั่วจูงจิตใจไป เท่านี้ก็มีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว
ก่อนนอนควรสวดมนต์ไหว้พระ ฝึกฝนตน อย่าแค่กราบ ๓ ทีแล้วนอนเลย เพราะพวกเรากำลังฝึกตนอยู่ พระพุทธองค์ทรงวางระเบียบไว้อย่างไร ก็ให้ฝึกตนอย่างนั้น ทำบุญ-ทำทาน-ขยันทำงาน-ขยันทำบุญ-ควบคุมใจให้อยู่ในความดี อย่าให้โลภ โกรธ หลง มาครอบงำใจให้ไปทำไม่ดีกับคนอื่นอันจะเป็นบาปเป็นเวรต่อไป ทำความดีให้เกิดในใจตนด้วยการพยุงจิตให้แน่วแน่
จิตมีปกติเที่ยวไปไกล แต่ ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายเป็นที่อาศัยผู้ใดสำรวมจิตใจให้ดี ก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นเอง(จบ)board.palungjit.com