ผู้เขียน หัวข้อ: กำหนดเงื่อนไขกองทุนภัยพิบัติคาดอีก10วันเปิดขายได้  (อ่าน 1762 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กำหนดเงื่อนไขกองทุนภัยพิบัติคาดอีก10วันเปิดขายได้         
ครม.ไม่เพิ่มสินไหมน้ำท่วมSME

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2555 21:57:31 น.

ครม.คลอดกองทุนประกันภัยพิบัติ แต่ไม่เพิ่มสินไหมสำหรับเอสเอ็มอีเป็น 50% ตามที่กิตติรัตน์ต้องการ ส่วนรายบละเอียดของกองทุนฯเนไปตามที่กก.กองทุนฯ กำหนดออกมาแล้วก่อนหน้านี้ มั่นใจเงิน 5 หมื่นล้าน พอรองรอบรับความเสี่ยง อีก 10 วันเปิดขายให้กับรายย่อยได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายกิตติรัตน์ ณ.ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้มอบโนยายให้ คณะกรรมการกองทุนภัยพิบัติแห่งชาติปรับเงื่อนไขของกองทุนฯ โดยเพิ่มความคุ้มครองในส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจาก 30% เป็น 50 % ก่อนที่จะนำเรื่องเงื่อนไขของกองทุนประกันภัยพิบัติทั้งหมดเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555 ประชุมครม.ได้พิจารณา รายละเอียดเงื่อนไขของกองทุนฯ ตามที่กก.กองทุนประกันภัยฯเสนอเข้ามา และมีมติเห็นชอบให้กองทุนภัยพิบัติดำเนินการได้ เต่ยังคงให้ใช้อัตราการจ่ายสินไหมทดแทนของเอาเอ็มอีแค่ 30 % เหมือนเดิม ตามที่กก.กองทุนประกันภัยพิบัติได้สรุปเงื่อไนออกมาแล้วก่อนหน้านี้ ก่อนที่นายกิตติรัตน์ จะมีคำสั่งให้เพิ่มเติมในส่วนของความคุ้มครองผู้ประอบการเอสเอ็มอี

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองของกองทุนส่งเสริมาประกันภัยภิบัติ ตามที่คปภ.เสนอ โดยครัวเรือนจะได้รับการคุ้มครองรายละ 1 แสนบาท เบี้ยประกัน 0.5% วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทุนประกันไม่เกิน 50 ล้านบาท คุ้มครอง 30% ของทุนประกัน เบี้ยประมาณ 1% และภาคอุตสาหกรรมคุ้มครองไม่เกิน 30% ของทุนประกัน เบี้ยประมาณ 1.25% โดยใช้อัตราเบี้ยประกันเดียวกันทั่วประเทศ

หลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยประกันคิดตามระดับน้ำ หากน้ำท่วมระดับ 50 ซม.จ่าย 50,000 บาท 70 ซม. 75,000 บาท และ 1 เมตร จ่าย 1 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถขายกรมธรรม์ให้กับภาคครัวเรือนได้หลังจากนี้ 10 วัน โดยกรมธรรม์ครอบคลุมทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหว อุทกภัย และวาตภัย

ด้านนายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเพิ่มเติมในราบละเอียดของกองุนฯ ว่า ผู้เอาประกันภัยบ้านที่อยู่อาศัย วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 1แสนบาท อัตราเบี้ยประกัน 0.5% ต่อปี ถ้าน้ำท่วมพื้นอาคารจ่ายค่าสินไหม 30,0000 บาท น้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตรจ่าย 50,000 บาทและถ้าน้ำท่วมสูง 75 เซนติเมตร จ่าย 75,000 บาทและถ้าสูง1เมตร จ่าย 100,000บาท ส่วนเอสเอ็มอี ที่ทุนประกันไม่เกิน 50 ล้านบาท โดยจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ไม่เกิน 30%ของทุนประกัน อัตราเบี้ยประกัน1 % ต่อปี และอุตสาหกรรม ทุนประกันตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป จำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ไม่เกิน 30%ของทุนประกัน อัตราเบี้ยประกัน 1.25%ต่อปี โดยในส่วนการจ่ายสินไหมให้บริษัทประกันภัยสำรวจและประเมิณความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์

นอกจากนี้ในส่วนรายละเอียด โดยภัยพิบัติครอบคลุมถึงน้ำท่วม แผ่นดินไหวเกิน 7 ริกเตอร์ และลมพายุเกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยครม.เห็นชอบให้ดำเนินการรับประกันภัยให้เร็วขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการประกันภัย ซึ่งต้องเริ่มดำเนินการในเดือนมี.ค.เป็นต้นไป

ปัจจุบันนี้ บ้านท่อยู่อาศัย มี 1.3ล้านกรมธรรม์ วงเงินความคุ้มครองสูงสุด 130,000 ล้านบาท ส่วนเอสเอ็มอีและอุตสาหกรรมมี 245,000กรมธรรม์ วงเงินความคุ้มครองสูงสุด 2,598,486 ล้านบาท และคาดว่า 90% ต้องการเอาประกันภัยพิบัติ

อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการกองทุนประกันภัยพิบัติได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญในเบื้องต้น สำหรับการขายกรมธรรม์ภัยพิบัติ ได้แก่ คำจำกัดความของภัยพิบัติจะแตกต่างจากภัยธรรมชาติทั่วไป เพราะต้องให้กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ.ยื่นเรื่องเสนอให้ ครม.เห็นชอบก่อนว่าเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ซึ่งเมื่อประกาศจาก ปภ.แล้ว ผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ถึงได้รับความคุ้มครอง หรือ อีกกรณี หากผู้ซื้อประกันภัยแล้วได้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินเกินกว่า 5 พันล้านบาท และต้องมีผู้เรียกร้องความเสียหายมากกว่า 2 รายขึ้นไปถึงจะได้รับความคุ้มครอง

นอกจากนี้ ค่าสินไหมทดแทนที่อาจเป็นไปได้สูงสุด ( Probable Maximum Loss หรือ PML ) ใช้ในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งจะพิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในอดีตและจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง พีเอ็มแอลของกองทุนประกันภัยอยู่ที่ระดับ 300,000 ล้านบาท โดยดูจากความเสียหายน้ำท่วมในปี2554 ซึ่งเป็นความเสียหายสูงสุด โดยกองทุนประกันภัยพิบะติมีวงเงินในการบริหารความเสี่ยงด้านภัยพิบัติได้สูงสุด50,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถรองรับความเสียหายได้สูงสุด 300,000 ล้าน บาทเทียบกับความต้องการเอาประกันภัยหรือวงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ โดยมีความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งนโยบายและการดำเนินการของรัฐบาลทั้งการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลและ การสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมใน 7 นิคม

-http://www.ryt9.com/s/nnd/1361658-

.

http://www.ryt9.com/s/nnd/1361658
.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)