ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ

ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว

(1/38) > >>

sithiphong:
ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว


http://board.palungjit.com/f179/พระวังหน้า-ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก-ถ้าต้องการที่จะได้-22445-883.html

.


http://board.palungjit.com/f6/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-228518-4.html

PaLungJit.com > ทั่วไป > จักรวาลคู่ขนาน

ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงิน


.

sithiphong:
บทความนี้เขียนโดย sithiphong
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามนำบทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนไปหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ยกเว้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น


ที่มา พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
และ
"พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....."
http://www.agalico.com/board/showthr...t=8477&page=32

เรื่องของการเงินและการธนาคาร เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นใคร เราจึงควรที่จะเรียนรู้ และรู้เท่าทันกับเรื่องต่างๆที่เป็นเรื่องการเงินหรือการธนาคาร อีกทั้งกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพที่นับวันจะพัฒนามากขึ้นไปเรื่อยๆ เพิ่มความซับซ้อนมากตามเทคโนโลยี จนบางครั้งบางคนตามเหล่ามิจฉาชีพไม่ทัน ผมจึงได้นำเรื่องราวต่างๆที่เคยประสบพบเห็นและได้เจอ นำมาเล่าสู่กันฟังครับ

sithiphong:
เรามาว่ากันเรื่องของบัญชีออมทรัพย์ ,บัญชีกระแสรายวัน และบัญชีฝากประจำกันก่อน
บัญชีออมทรัพย์ เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่มีความต้องการฝากและถอนเงิน โดยมีบัตรเอทีเอ็มเป็นสิ่งที่สามารถถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มจากบัญชีของตนเอง หรือการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง อัตราดอกเบี้ยของบัญชีออมทรัพย์เป็นบัญชีที่ให้อัตราดอกเบี้ยน้อย
บัญชีกระแสรายวัน เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่มีความต้องการใช้ในธุรกิจของตนเอง มีการสั่งจ่ายเงิน(ถอนเงิน)ในบัญชีกระแสรายวันได้หลายทาง เช่น การจ่ายเช็ค ,การถอนเงินจากบัตรเอทีเอ็ม หรือการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง อัตราดอกเบี้ยของบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ยให้
บัญชีฝากประจำ เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่ต้องการออมเงิน โดยมีระยะเวลาต่างๆ เช่น การฝาก 3 เดือน , 6 เดือน , 12 เดือน , 24 เดือน เป็นต้น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารแต่ละแห่งเป็นผู้ที่กำหนดเองว่า จะให้อัตราดอกเบี้ยจำนวนเท่าไร แต่โดยปกติหากการฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ ถ้าระยะเวลาที่น้อย จะได้อัตราดอกเบี้ยน้อยว่า การฝากที่ใช้ระยะเวลาที่มากกว่า ส่วนการถอนเงินเมื่อครบกำหนดที่ระบุไว้( เช่น 3 เดือน , 6 เดือน , 12 เดือน , 24 เดือน) ผู้ฝากเงินย่อมมีสิทธิที่สามารถถอนเงินจากบัญชีนั้นๆได้ โดยถอนเงินที่ทำการธนาคาร แต่ถ้าหากว่าบัญชีเงินฝากประจำที่มีกำหนดระยะเวลามากกว่า 3 เดือน เช่น ระยะเวลา 12 เดือน แต่หากเจ้าของบัญชีมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน สามารถถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำนั้นๆได้ แต่ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารต้องจ่ายให้กับผู้ฝากเงินนั้น จะได้เป็นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์

การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์และบัญชีฝากประจำ จะมีอีกเรื่องที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องคือ การเสียภาษีเงินได้ของกรมสรรพากร บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หากได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษี 15 % ส่วนบัญชีเงินฝากประจำ ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากจำนวนเท่าไร ต้องเสียภาษี 15 % เสมอ ภาษีที่ผู้ฝากเงิน(บัญชีเงินฝากประจำ) เสียให้กับกรมสรรพากร สามารถนำไปหักลดหย่อนในการยื่นแบบการเสียภาษีประจำปีได้

sithiphong:
นอกเหนือจากบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทแล้ว ยังมีบัญชีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นบัญชีที่หลายๆคนชอบ และอีกหลายๆคนไม่ชอบ นั่นก็คือบัญชีเงินกู้
บัญชีเงินกู้จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ก็คือ
1.บัญชีเงินกู้ประจำ
2.บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
3.บัญชีเงินกู้อื่นๆ

สำหรับบัญชีเงินกู้นั้น เมื่อเอ่ยคำว่า “กู้เงิน” ต้องมีสิ่งหนึ่งตามมา นั่นก็คือ “ดอกเบี้ย” ดอกเบี้ยจะแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ “MOR (Minimum Overdraft Rate) ” , “MLR” (Minimum Loan Rate) , “MRR” (Minimum Retail Rate) และประเภทสุดท้าย (ที่ใครๆไม่ต้องการ)คือ อัตราดอกเบี้ยผิดนัด

สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ “MOR (Minimum Overdraft Rate) ” เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ “MLR” (Minimum Loan Rate) , “MRR” (Minimum Retail Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับบัญชีเงินกู้ประจำ หรือบัญชีเงินกู้อื่นๆ

อัตราดอกเบี้ยทั้งสามประเภท เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ลอยตัว ไม่ใช่ล่องลอยไปในอากาศ แต่เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารสามารถปรับขึ้นหรือลง ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศและการบริหารของธนาคารนั้นๆ

sithiphong:
ผมมาอธิบายต่อสำหรับบัญชีเงินกู้ประเภทต่างๆนะครับ

1.บัญชีเงินกู้ประจำ เป็นบัญชีที่ธนาคารให้กู้เงินเพื่อใช้สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย (แม้บางครั้ง ผู้กู้จะไม่ได้ซื้อไว้เพื่ออยู่อาศัยเอง แต่อาจจะเป็นการให้บุคคลอื่นเช่าก็มี) อัตราดอกเบี้ยก็จะแตกต่างกันในแต่ละธนาคาร จะใช้ประเภทของอัตราดอกเบี้ยอยู่ 2 ลักษณะคือ “MLR” (Minimum Loan Rate) หรือ “MRR” (Minimum Retail Rate) แล้วแต่ แต่ละธนาคารเป็นผู้ที่กำหนด

2.บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นบัญชีที่บุคคลที่ทำธุรกิจต่างๆ ใช้กันโดยบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีจะเป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นบัญชีที่ใช้สำหรับการหมุนเวียนในธุรกิจ โดยผู้ที่มีบัญชีประเภทนี้ ต้องนำโฉนดที่ดิน(จะมีสิ่งปลูกสร้างด้วนหรือไม่ ก็ไม่เป็นไร) หรือนำบัญชีเงินฝากประจำ มาเป็นหลักประกันเงินกู้ประเภทนี้ หรือในบางครั้งก็จะเป็นผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้ค้ำประกันส่วนตัวเต็มวงเงินก็มี บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีนี้ จะใช้อัตราดอกเบี้ย คือ “MOR (Minimum Overdraft Rate)

3.บัญชีเงินกู้อื่นๆ เช่น การมีวงเงินหนังสือค้ำประกัน ,การมีวงเงินการเปิด LC และTR , วงเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคล ,บัตรเครดิต สำหรับบัญชีเงินกู้ในกลุ่มนี้ ผมขออธิบายเฉพาะเรื่องของวงเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตในช่วงต่อๆไป แต่เรื่องของวงเงินกู้ในประเภทอื่นๆ เป็นเรื่องเฉพาะ ผมไม่ขออธิบายครับ

สิ่งต่างๆที่ผมได้นำมาเล่าให้ฟังนี้ หลายๆท่านคงทราบกันดีแล้ว แต่ผมนำมาเกริ่นเรื่องราวที่จะบอกกันต่อๆไป และเผื่อท่านใดที่ไม่ทราบ จะได้ทราบกัน

มาว่ากันต่อ

เรื่องของการนำเอกสาร(ของตนเอง) นำไปเปิดบัญชีกับธนาคาร เช่นบัตรประชาชน เวลาที่เราจะเซ็นชื่อเพื่อรับรองสำเนาถูกต้องนั้น เราควรที่จะเขียนลงบนสำเนาบัตรประชาชนว่า ใช้เพื่อเปิดบัญชี(ออมทรัพย์หรือกระแสรายวันหรือฝากประจำ) กับธนาคาร.....เท่านั้น และควรเขียนลงบนรูปสำเนาบัตรประชาชนด้วย

เรื่องของบัญชีธนาคารต่างๆที่เปิดไว้ เราควรจดประเภทของบัญชี ,เลขที่บัญชี ,ธนาคาร-สาขา และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกับสาขาที่เราเปิดบัญชีไว้ อีกทั้งหมายเลขโทรศัทพ์ที่สามารถติดต่อกับธนาคารกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน(เช่นบัตรเอทีเอ็มหาย)ไว้

ไม่ว่าจะเป็นบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากประจำ เราไม่ควรจะนิ่งนอนใจ ควรที่จะไปปรับสมุดบัญชีเงินฝากทุกๆครั้งที่มีโอกาส หรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากบางครั้งเราถอนเงิน ก็ไม่ได้ไปถอนเงินที่ทำการของธนาคาร แต่ถอนกับตุ้เอทีเอ็ม หรือการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง เพื่อที่จะได้ตรวจสอบการเงินของตนเองให้ถูกต้องตลอดเวลา

คงมีคำถาม ถามว่า ทำไมจึงต้องปรับสมุดบัญชีเงินฝากให้เป็นปัจจุบัน คำตอบผมจะมาบอกต่อๆไป ติดตามกันนะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version