ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ
ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว
sithiphong:
ปัจจุบันนี้ โลกเราพัฒนาไปไกล เรื่องของการฝากเงิน ,การถอนเงิน ,การโอนเงิน สามารถกระทำได้ในสถานที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปที่ทำการสาขาของธนาคาร คือเรื่องของ “อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง” การสมัครใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ก็ไม่ได้ยากอะไร
อีกทั้งการโอนเงินก็สามารถโอนเงินผ่านต่างธนาคารได้อีกด้วย นับว่าเป็นการเพิ่มความสดวกให้กับผู้ใช้บริการกับธนาคาร เพียงแต่ผู้ที่ขอใช้บริการมีคอมพิวเตอร์และติดตั้งการใช้อินเตอร์เน็ต เท่านี้เองก็สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งได้แล้ว
เรื่องของการใช้บริการนี้ เราเองต้องมีการตรวจสอบบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ในทุกๆบัญชีและทุกๆธนาคาร นี่เป็นเรื่องนึงที่ต้องปรับสมุดบัญชีอยู่บ่อยๆและให้เป็นปัจจุบัน
สิ่งที่สำคัญอีกประการก็คือ เรื่องรหัสผ่าน การเก็บรหัสผ่านไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง หากมีผู้ที่ไม่ประสงค์ดี แฮกเข้าเครื่อง อย่างนี้เสร็จแน่นอน ถ้าจะเขียน(เพื่อกันลืม) ก็ต้องรู้ว่า เราจดไว้ที่ไหน จดอย่างไร(ให้เป็นสัญลักษณ์ที่เรารู้คนเดียว) และควรเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ เพื่อป้องกันผู้อื่นล่วงรู้ในรหัสผ่านของตนเอง
ส่วนบัญชีกระแสรายวัน ที่ทุกๆธนาคารจะไม่มีสมุดบัญชีให้ แต่จะเบิกเงินต้องเบิกผ่านเช็คส่วนบุคคล (ปัจจุบันราคาเช็คส่วนบุคคล ใบละ 15 บาท) เมื่อถึงสิ้นเดือน ธนาคารจะออกรายการทางบัญชีหรือStatement ให้กับลูกค้า ดังนั้น ควรตรวจสอบการจ่ายเช็คกับรายการทางบัญชีที่ธนาคารออกมาให้ถูกต้องตรงกัน หากมีข้อผิดพลาด ควรที่จะไปตรวจสอบกับธนาคาร ส่วนเรื่องการจ่ายเงินตามเช็ค(ส่วนบุคคล) หากมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย หรือด้วยเหตุอื่นๆ ธนาคารจะคิดค่าปรับ(จากผู้สั่งจ่ายหรือเจ้าของบัญชี) ขั้นต่ำ 300 บาท หรือ 0.20ของจำนวนเงินหน้าเช็ค
เรื่องต่อมาเป็นเรื่อง “บัตรประชาชน” ทุกๆท่านคงเคยได้รับรู้เรื่องที่ผู้ไม่ประสงค์ดีนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้เคราะห์ร้าย ไปใช้ในเรื่องต่างๆ เช่น การไปซื้อโทรศัพท์ก็ดี ,การไปสมัครบัตรเครดิตก็ดี แต่ยังมีอีกเรื่องก็คือ มีผู้ไม่ประสงค์ดีนำสำเนาบัตรประชาชน ไปให้กลุ่มที่รับทำบัตรประชาชนปลอม แล้วนำไปเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อวัตถุประสงค์(ร้าย)ต่างๆ เช่น การหลอกลวงให้ผู้เคราะห์ร้ายโอนเงินเข้าบัญชี หรือ การเปิดบัญชีธนาคาร แล้วเปิดใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ซึ่งจะใช้บัญชีที่เปิดขึ้นใหม่ ผูกกับบัญชีที่มีเงินมากๆ วิธีนี้ผู้ไม่ประสงค์ดี ต้องได้บัตรประชาชนปลอม ที่ข้อมูลบนบัตรประชาชนเหมือนกับข้อมูลบนบัตรประชาชนของผู้ที่มีเงินมากๆ เพียงแต่รูปในบัตรประชาชน(ปลอม) จะเป็นของผู้ไม่ประสงค์ดีเท่านั้น นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องปรับสมุดบัญชีอยู่บ่อยๆและให้เป็นปัจจุบัน จากสาเหตุของอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งนี้ มีกรณีตัวอย่างมาแล้ว ผู้เคราะห์ร้ายสูญเสียเงินไปหลายล้านบาท กว่าจะแจ้งความดำเนินคดี กว่าที่ตำรวจและธนาคารจะตรวจสอบ จนธนาคารคืนเงินให้(ต้องเป็นกรณีที่ธนาคารผิดเท่านั้น หากพิสูจน์ได้ว่า ผู้เคราะห์ร้ายประมาทเลินเล่อหรือผิดเอง ก็ไม่ได้รับเงินคืน) ก็ใช้ระยะเวลาหลายๆเดือน บางกรณีเป็นปีก็มี ดังนั้นเวลาที่ท่านนำสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ประกอบการกู้ยืมเงิน หรือการซื้อโทรศัพท์ หรือในเรื่องต่างๆ ท่านต้องเขียนบนสำเนา(บนรูปสำเนาบัตรประชาชนจริงๆ)ว่า ท่านใช้เพื่ออะไร เช่น ใช้ในการซื้อโทรศัพท์ยี่ห้อ....ที่ศูนย์บริการ.......เท่านั้น หรือใช้ในการเปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคาร...เท่านั้น เป็นต้น
มาว่ากันต่ออีกเรื่อง มีผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดี ได้มาขอกู้เงินเพื่อซื้อที่ดินเปล่ากับธนาคาร ซึ่งเอกสารต่างๆไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชนตัวจริง ,สำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง ,รายการทางบัญชี(หรือstatement)ตัวจริงที่มีตราของอีกธนาคารประทับพร้อมกับลายเซ็นของผู้มีอำนาจลงนาม ,หนังสือรับรองรายได้จากบริษัทตัวจริง ซึ่งธนาคารได้อนุมัติวงเงินกู้ไปจำนวน 3,000,000 บาท เดือนแรกผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดีผ่อนตามปกติ เดือนที่สองก็หยุดผ่อน และเดือนต่อๆไปก็ไม่ผ่อนอีกเลย ธนาคารจึงฟ้องร้องกับผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดีรายนี้ ตอนที่ทนายความยื่นจดหมายทวงถามไป ผลปรากฏว่า ผู้เคราะห์ร้ายรีบมาที่ธนาคารทันที และแจ้งว่าตนเองไม่ได้กู้เงินกับธนาคารนี้ พร้อมทั้งแสดงเอกสารคือบัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วพบว่า เอกสารต่างๆที่ผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดี นำมากู้เงินนั้น เป็นเอกสารปลอมทั้งหมด แต่กว่าจะตรวจสอบเรียบร้อยก็ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ผู้เคราะห์ร้ายก็ต้องเสียทั้งเงิน(ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าเดินทาง) และเสียเวลาการทำงานอีก
sithiphong:
ว่ากันต่อในเรื่องของโทรศัพท์ หากมีผู้ที่โทรศัพท์มาเพื่อชักชวนให้เราสมัครไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต ,สินเชื่อบุคคล หรือสิทธิในการใช้บริการต่างๆ ฯลฯ เราควรที่จะต้องจดรายละเอียดไว้ว่า มีใครโทร.มา โทร.มาวันไหน เวลากี่โมง เบอร์ที่ผู้โทร.มาเบอร์โทร.อะไร สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เราเองสามารถตรวจสอบกลับไปได้ว่า บุคคลนั้นมีจริงหรือไม่ บริษัทนั้นมีจริงหรือไม่ และสิ่งที่สำคัญที่สุด จะต้องไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวไปโดยเด็ดขาด หรือการโทรศัพท์มาแจ้งเรื่องต่างๆ และให้ไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็ม ขอให้รู้ไว้ว่า เป็นกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพร้อยเปอร์เซ็น โปรดย้ำกับตัวเองว่า อย่าโลภ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ไม่มีอะไรที่ได้มาโดยง่าย สำคัญที่สุดคือย้ำและเตือนตนเองไว้เสมอ
เรื่องต่อมาเป็นเรื่องบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต การเก็บรักษาควรมีความระมัดระวังให้มากๆ คงมีคนสงสัยว่า ปกติบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ก็ต้องเก็บรักษาอย่างดีอยู่แล้ว ต้องเก็บไว้ในกระเป๋าเงิน เรื่องแค่นี้ไม่น่าจะมาบอกกัน แต่ผมจะบอกว่า เคยมีกรณีที่เกิดขึ้นมาแล้ว ลองดูนะครับ
กรณีที่ว่านี้เป็นอย่างนี้ มีผู้หญิงคนนึง(เป็นผู้ชายก็ได้) เวลาไปทำงานก็นำกระเป๋าถือซึ่งในกระเป๋าถือใส่กระเป๋าเงิน (ใส่กันซับซ้อนเหลือเกิน) ไว้ในล็อกเกอร์ของบริษัท(เป็นประจำ) มีอยู่วันนึง ได้นำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า ปรากฏว่า ทางห้างสรรพสินค้าไม่รับบัตรเครดิต และแจ้งว่า บัตรเครดิตหมดอายุ ผู้หญิงท่านนี้ ก็นำบัตรเครดิตมาดู ปรากฏว่า บัตรเครดิตที่ตนเองนำออกมาเพื่อใช้ซื้อสินค้านั้น ไม่ใช่บัตรของตนเอง เนื่องจากชื่อที่ปรากฏบนบัตรเป็นชื่อของใครก็ไม่รู้ พอกลับไปถึงบ้านก็ไปตรวจสอบที่บ้านว่า บัตรเครดิตของตนเองอยู่ที่ไหน และทำไมจึงมีบัตรเครดิตของคนอื่นมาอยู่ในกระเป๋าของตน ผลปรากฏว่า ที่บ้านไม่มีใครรู้เรื่อง จึงได้โทรศัพท์ไปที่บริษัทบัตรเครดิต และสอบถามถึงบัตรเครดิตของตนเอง ปรากฏว่ามีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไปเป็นแสนบาท ผู้หญิงคนนี้ตกใจ (ไม่รู้ว่าเป็นลมหรือเปล่าครับ) จึงแจ้งว่า เขาไม่ได้ใช้ และขออายัดบัตรเครดิตใบนั้น ซึ่งการตรวจสอบต่อมาพบว่า มีพนักงานในบริษัทเดียวกัน แอบสับเปลี่ยนบัตรเครดิตของผู้เคราะห์ร้ายไป จึงมีการแจ้งความดำเนินคดี ณ ปัจจุบัน ผมไม่ทราบเรื่องราวต่อ รู้แต่ว่า ผู้หญิงคนนี้ยกเลิกบัตรเครดิตทุกใบครับ
ส่วนอีกท่านเป็นผู้ชาย ท่านนี้เวลาไปที่ทำงาน มักจะนำกระเป๋าเงินใส่ไว้ในลิ้นชักที่โต๊ะทำงาน(และไม่ได้ล็อกลิ้นชักเสมอ) ในห้องที่ทำงานนั้น มีคนอยู่กันประมาณ 8 คน และโต๊ะก็อยู่ติดๆกัน มีอยู่วันนึง ในช่วงบ่าย ผู้ชายคนนี้ได้นำบัตรเอทีเอ็มไปกดเงิน (สงสัยว่าเงินในกระเป๋าเริ่มจะหมดหรือตอนเย็นจะไปเที่ยว) ผลก็คือ เครื่องเอทีเอ็มบอกว่า เงินในบัญชีไม่พอจ่าย ทั้งๆที่ผู้ชายท่านนี้มีเงินในบัญชีหลักหลายหมื่นบาท จึงนำสมุดบัญชีไปตรวจสอบที่ธนาคาร ผลปรากฏว่า มีการถอนเงินจากบัญชีออกไปประมาณ 5 ครั้ง จนหมดบัญชี ผู้ชายท่านนี้จึงได้แจ้งกับธนาคารว่า เขาไม่เคยไปกดเงินเลย ทำไมมีการถอนเงินจากบัญชีไปได้ ธนาคารโกงเขา ทางธนาคารจึงได้ตรวจสอบการถอนเงิน(และตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่ที่ตู้เอทีเอ็ม) ปรากฏว่า มีผู้หญิงมาถอนเงิน ทางธนาคารจึงได้เชิญผู้ชายท่านนี้ไปดูว่า ผู้หญิงที่มาถอนเงินนี้ เป็นใคร เมื่อผู้ชายคนนี้ได้เห็นแล้วก็ตกใจ เนื่องจากผู้หญิงที่มาถอนเงินเป็นเพื่อนร่วมงานที่สนิทกับตนเอง ผู้ชายคนนี้จึงกลับไป เหตุการณ์ที่หลังจากนี้ก็ไม่ได้รับทราบอีก
sithiphong:
อีกเรื่องก็คือ บัตรเครดิต เรื่องนี้จริงๆสามารถเขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ เพราะมีเหตุเกิดขึ้นอยู่มากมาย แต่เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าให้ฟัง จะขอเล่าเพิ่มอีกสัก 2 เรื่องก็คือ ปัจจุบันนี้ มีเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลหลังบัตรเครดิต ที่มีขนาดเล็ก(ไม่เกินฝ่ามือ) ซึ่งเวลาที่ใช้บัตรเครดิต เราต้องใช้สายตาติดตามไปตลอด และให้รู้ว่า บัตรเครดิตของเรา ไปไหนบ้าง หรือทางที่ดีและเป็นไปได้ เดินตามไปเลยครับ จะได้สบายใจ เรื่องต่อมาก็คือ การใช้บัตรเครดิตในบางเรื่อง เช่น อาจจะมีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี หลอกลวงในเรื่องต่างๆ เช่นการขอข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต และมีการขอรหัส 3 ตัวหลังสุด รหัส 3 ตัวหลังสุดนี้แหละสำคัญ เพราะเป็นรหัสการตัดบัญชี เช่น บัตรเครดิตเลขที่ 1234 5678 9012 3456 789 ตัวเลข 789 หลังสุดนี้แหละครับ สำคัญมากๆ ต้องระวังอย่าให้ใครทราบ ก็อย่างที่ผมบอกไว้แล้วว่า การใช้บัตรเครดิต ต้องดูด้วยว่า บัตรเราไปไหนบ้าง เกิดผู้ถือบัตรเราไป แอบไปก๊อบข้อมูล (ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลลงบนเครื่องเก็บข้อมูลหรือการจดรายละเอียดของเลขบัตรเครดิต) เราจะได้ทราบและป้องกันตนเองไว้ครับ
บทความนี้เขียนโดย sithiphong
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามนำบทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนไปหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ยกเว้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น
sithiphong:
ที่มา fwd mail
sithiphong:
ระวังถูกหลอก
http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PopularConner/Fraudalert/Pages/Fraudalert.aspx
ปัจจุบันสถาบันการเงินมีการให้บริการทางการเงินหลายรูปแบบ ให้ผู้ใช้บริการได้เลือกใช้ตามความต้องการ อย่างไรก็ดี มีผู้ทุจริต อาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้บริการทางการเงิน โดยใช้กลโกงต่าง ๆ ในการหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินหรือทำผลิตภัณฑ์ทางการเงินปลอม โดยที่ผู้ใช้บริการที่เป็นเจ้าของไม่รู้ตัว ดังนั้น ผู้ใช้บริการทางการเงิน ควรเพิ่มความระมัดระวัง ดังนี้
กลโกงบัตรเครดิต
กลโกงการปลอมแปลง E-mail และ Website สถาบันการเงินปลอม
กลโกงสินเชื่อส่วนบุคคล
การล่อลวงข้อมูลลูกค้าจากกลุ่มมิจฉาชีพ
การแอบอ้างชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อล่อลวงให้หลงเชื่อและทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ
ระวังกับดักเงินกู้นอกระบบ
เชิญชมวิดิทัศน์ ระวังการกู้เงินนอกระบบ
โทรศัพท์หลอกลวงแอบอ้างชื่อ ธปท.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version