ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ
ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว
sithiphong:
เตือนภัย เว็บไซต์หลอกลวง (Phishing) ว่าเป็น ธนาคารแห่งประเทศไทย !!!!!!!!!
ด้วยปรากฎว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพ ได้จัดทำเว็บไซต์ลอกเลียนแบบเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมีข้อความ เนื้อหา และรูปภาพเลียนแบบเว็บไซต์ของ ธปท. รวมทั้งส่งเมล์ในนาม ธปท. แจ้งว่า บัญชีผู้ใช้งานมีปัญหา หรือ มีการพัฒนาระบบใหม่ เพื่อประกอบธุรกรรมทางเงินต่าง ๆ เช่น Internet Banking ซึ่งในเมล์ได้แนบ URL ที่มิจฉาชีพได้สร้างเลียนแบบไว้ ทำให้ผู้ที่ได้รับเมล์ความเข้าใจผิดและอาจหลงเชื่อดำเนินธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอแจ้งเตือนทุกท่าน อย่าได้หลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อ ของกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว เนื่องจาก ธปท. ไม่มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินโดยตรงกับประชาชนทั่วไป และโปรดสังเกต URL ของเว็บไซต์ ธปท. จะต้องขึ้นต้นด้วย www.bot.or.th หรือ www2.bot.or.th เท่านั้น
ตัวอย่าง : หน้าจอเว็บไซต์หลอกลวง
ตัวอย่าง : ช่องทางติดต่อเพื่อลงทะเบียน
ตัวอย่าง : Internet Banking
ตัวอย่าง : หน้าจอ Login เพื่อเข้าใช้งาน
ที่มา http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PopularConner/Fraudalert/Pages/phishing_web.aspx
.
.
.
sithiphong:
ฉบับที่ 3/2553
เรื่อง มิจฉาชีพโทรศัพท์หลอกลวงเกี่ยวกับหนี้บัตรเครดิต
ด้วยปัจจุบันได้มีกลุ่มมิจฉาชีพโทรศัพท์หลอกลวงประชาชน เพื่อให้ประชาชนทำธุรกรรม โอนเงินให้กลุ่มมิจฉาชีพ ทำให้ประชาชนหลายรายได้รับความเดือดร้อนและบางรายต้องสูญเสียเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบถึงวิธีการหลอกลวง และแนะนำแนวทาง ที่ควรปฏิบัติ
ทั้งนี้ พฤติกรรมการหลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่นหลอกลวงว่าประชาชนเป็นหนี้บัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์และจะช่วยเหลือแก้ไขรายการ หรือหลอกลวงเพื่อให้ได้รับข้อมูลส่วนตัวของประชาชน เพื่อให้ทำรายการโอนเงินที่ตู้ ATM เข้าบัญชีของกลุ่มมิจฉาชีพ นอกจากนี้ยังหลอกลวงว่าประชาชนจะได้รับสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยต่ำตามโครงการพิเศษจากหน่วยงานรัฐ และให้ทำรายการโอนชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าเข้าบัญชีกลุ่มมิจฉาชีพ เพื่อให้จะได้รับสินเชื่อนั้น ๆ ต่อไป
การโทรศัพท์หลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากขึ้นเป็นลำดับ โดยที่ ศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาสินเชื่อ ธปท ได้รับเรื่องร้องเรียนช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2552 จำนวน 489 ราย แต่ในครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2553 นี้ การร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกหลอกลวงเพิ่มขึ้น 316 ราย รวมเป็นทั้งสิ้น 805 ราย
ทั้งนี้ ธปท. มีข้อแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ คือ
(1) หากท่านได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ ธปท. หรือธนาคารพาณิชย์ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งว่าท่านเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อหรือ ขอตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของท่าน ขอให้ท่านอย่าตกใจและอย่าให้ข้อมูลส่วนตัว แต่ให้โทรศัพท์ไปสอบถามที่ Call Center ของธนาคารติดต่ออยู่ หรือมีบัตรเครดิต หรือให้ไปติดต่อที่ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกอ้างชื่อสาขาใดก็ได้ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
(2) หากท่านมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามที่ ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทยโทรศัพท์ 02-2835900 ในวันทำการ ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
20 มกราคม 2553
.
http://www.bot.or.th/Thai/PressAndSp...553/n0353t.pdf
.
.
.
.
.
sithiphong:
เครดิตบูโร
ที่มา http://www.ncb.co.th/CreditBureau_What.htm
ใครมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาดูรายงานข้อมูลเครดิต
นอกจากสถาบันการเงินที่ผู้ขอสินเชื่อได้ให้ความยินยอม จะสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อได้แล้ว ผู้ขอสินเชื่อเองก็ยังมีสิทธิ์ที่จะมาขอดูรายงานข้อมูลเครดิตของตนได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่ะ โดยการยื่นคำขอได้ที่ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภค บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และบริษัทยังได้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น โดยให้ยื่นคำขอผ่านธนาคารนครหลวงไทยทุกแห่งทั่วประเทศก็ได้ค่ะ มีค่าธรรมเนียม 200 บาท ค่ะ (ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 ค่าธรรมเนียมลดเหลือ 100 บาท) ทั้งนี้บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติมีหน้าที่เก็บรักษารายงานดังกล่าวเป็นความลับ และไม่สามารถเปิดเผยให้แก่ผู้อื่นใด เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนดไว้ค่ะ
การรักษาความลับ
นอกจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลเครดิตเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อแล้วนั้น บริษัทยังมีหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลด้วยนะคะ โดยบริษัทจะเปิดเผยรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย หรือถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยคุ่ะ ดังนั้นคุณผู้ฟังก็มั่นใจได้เลยนะคะว่า ข้อมูลเครดิตของคุณผู้ฟังจะไม่ถูกนำไปเปิดเผยในทางอื่นใดค่ะ
การติดแบล็กลิส (Black List)
ท่านคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ไม่ได้รับสินเชื่อเพราะติดแบล็กลิสจากเครดิตบูโรใช่ไหมค่ะ จริงๆ แล้ว เครดิตบูโรไม่มีสิทธิ์ในการจัดแบล็กลิสผู้ขอสินเชื่อนะคะ เพราะเครดิตบูโรจะทำหน้าที่รวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของสินเชื่อทุกบัญชีจากสถาบันการเงินตามข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันการเงินใช้ข้อมูลเครดิตเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อค่ะ เพราะการตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ให้สินเชื่อนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น รายได้ของผู้สมัครสินเชื่อ หลักประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน เป็นต้นค่ะ ในทางกลับกัน หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อตรงเวลา ข้อมูลเครดิตก็จะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ
รายงานข้อมูลเครดิต=รายงานผลการศึกษา
ท่านอาจเคยสงสัยว่า เหตุใดเมื่อผู้ขอสินเชื่อได้ชำระสินเชื่อที่เคยผิดนัดชำระไปเรียบร้อยแล้ว ประวัติการผิดนัดชำระยังปรากฏอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิตอีก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าข้อมูลเครดิตถูกเก็บเป็นประวัติคล้ายกับรายงานผลการศึกษาค่ะ โดยการชำระหนี้ก็เหมือนผลการเรียน ที่จะได้ดีหรือไม่ อย่างไร ก็จะบันทึกตามข้อเท็จจริง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหากต้องการแก้ไขให้มีประวัติชำระที่ดีขึ้น ก็ต้องชำระหน้าที่ค้างไว้ให้เสร็จสิ้น เพราะจะเป็นเหมือนการสอบซ่อมเพื่อให้มีผลการเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีวินัยและความตั้งใจที่ดีนั่นเองค่ะ แต่ทางที่ดีที่สุด ก็คือการไปชำระหนี้ให้ครบถ้วนและตรงเวลาทุกครั้งนะคะ
sithiphong:
การขอข้อมูลของตนเอง ณ ที่ทำการบริํษัทฯ
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูลให้เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตน โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความยินดีที่ให้ท่านตรวจสอบข้อมูล ดังนี้
ณ ที่ทำการบริษัทฯ (ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภคและข้อโต้แย้ง) มีขั้นตอนดังนี้
1. เจ้าของข้อมูลกรอก แบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล) และยื่นแบบฟอร์มพร้อมแนบหลักฐานประกอบคำขอ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ หลักฐานประกอบคำขอมีดังนี้
กรณีบุคคลธรรมดา
• บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง หรือหนังสือเดินทางฉบับตัวจริงมาแสดง
ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ ให้นำ
• หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
กรณีนิติบุคคล
• สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ ให้นำ
• หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล
• สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องโดย กรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมประทับตราสำคัญบริษัท (ถ้ามี)
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
2. ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครดิตต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ
3. เจ้าของข้อมูลสามารถขอรับรายงานภายในวันยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ ฉบับละ 20 บาท)
สถานที่ตรวจสอบข้อมูลเครดิต
ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภคและข้อโต้แย้ง
ชั้น 2 อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่)
เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250
โทรสาร: (66) 02-612-5895
sithiphong:
รายงานข้อมูลเครดิตแสดงอะไร
http://www.ncb.co.th/credit_report.htm
1.ข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้าและคุณสมบัติของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ
รายงานจะแสดงข้อมูลบ่งชี้ของท่าน ได้แก่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขประำจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และที่อยู่ตามข้อมูุลที่ท่าน แจ้งในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อ ที่เป็นสมาชิกของบริษัทฯ
2.การชำระหนี้ที่ดี
รายงานบัญชีที่มีประวัติการชำระที่ดี หมายถึง ท่านได้ชำระยอดหนี้ครบถ้วนและตรงตามกำหนดที่ระบุในเงื่อนไขสัญญา ข้อมูลในรายงานจะแสดงดังนี้
3.การผิดนัดชำระหนี้ หรือชำระหนี้ล่าช้า
หากท่านไม่ได้ชำระยอดหนี้หรือยอดใช้ไปของบัตรเครดิตตามเงื่อนไขการชำระเงิน ข้อมูลในรายงานจะแสดงดังนี้
4.กรณีชำระหนี้เดิมที่เคยผิดนัดหรือชำระล่าช้า
หากท่านได้กลับมาชำระยอดหนี้บัตรเครดิตที่ค้างชำระ ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2550 ในวันที่ 5เมษายน 2550 รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 4,000 บาท รายงานจะแสดงข้อมูลดังนี้
.
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version