(๑๗)ธรรมะประเภท
โง่ ประเภท
หลง ประเภท
อวิชชานี้มันโผล่ขึ้นมาเรื่อย เพราะการเป็นอยู่ หรือชีวิตประจำวันหรือวัฒนธรรมของเราสมัยนี้
มันให้โอกาสแก่ธรรมะฝ่ายตัวกู ฝ่ายของกู คือฝ่ายอวิชชา ไม่ได้ให้โอกาสแก่ฝ่ายวิชชา เพราะฉะนั้นเราจึงต้องถูกลงโทษด้วย
Original sin คือบาปดั้งเดิมของเราที่พอเกิดมาแล้วก็มีแต่จะหลงไปในทาง
Autonomy นี้เรื่อยไปไม่เข็ดหลาบ; แม้เป็นหนุ่มเป็นสาวก็ยังไม่รู้สึก เป็นคนกลางคนแล้วก็ยังไม่รู้สึก เป็นคนแก่คนเฒ่าแล้วก็ยังไม่รู้จักก็มี. ถ้าอย่างไรก็ควรที่จะรู้สึกในวัย-กลางคน หรือเมื่อยามแก่เฒ่า จะได้พ้นโทษ จะได้ออกจาก
กรงขังของวัฏฏสงสาร จะได้รับ
อิสระภาพสู่ที่โล่งแจ้ง ไม่มีขอบเขต
ไม่มีอะไรจำกัด.
เมื่อพุทธศาสนาแผ่ไปถึงเมืองจีน คนจีนสมัยโบราณเขามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดรับเอา ได้เกิดวรรณกรรมอย่างของ
เว่ยหล่างหรือของ
ฮวงโปขึ้นมา
อธิบายเรื่องจิต เรื่องธรรมะ เรื่องพุทธ เรื่องหนทาง เรื่องความว่างให้เข้าใจกันได้ด้วยถ้อยคำเพียงไม่กี่คำ คือโผล่ขึ้นมาประโยคแรก
ก็ชี้ว่า จิตก็ดี ธรรมะก็ดี พุทธะก็ดี หนทางก็ดี ความว่างก็ดี คือสิ่งเดียวกันมันเท่านี้ก็พอ แล้วไม่ต้องพูดอะไรอีกแล้ว ประโยคเดียวเท่านั้นพอแล้ว มันเท่ากับ
พระไตรปิฎกทั้งหมดได้เหมือนกัน แต่เรา
ไม่อาจเข้าใจ
เลยก็ได้
ยิ่งพวกเราที่ศึกษาปฏิบัติกันอยู่ในแบบเก่านี้แล้ว ไม่มีทางที่จะเข้าใจประโยคนี้ได้เลย ควรที่จะละอาย มีหิริโอตตัปปะในเรื่องนี้กันเสียบ้าง มันจะไปได้เร็ว และยิ่งกว่านั้น พุทธบริษัทเมืองจีนยังพูดก้าวไปถึงว่า
ความว่างนี้มัน
เป็นอยู่เองแล้ว.. แต่เรา
ไม่เห็นเอง.
อาตมาอาจจะพิสูจน์ได้เหมือนกับที่พูดอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ว่าทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ มีจิตว่างอยู่เองแล้วในขณะนี้ แต่ก็หามองเห็นไม่และไม่ยอมรับว่านี้เป็นความว่างเสียด้วยซ้ำไป.
นี่แหละฮวงโปจึงด่าว่า คนพวกนี้เหมือนกับคนมีเพชรติดอยู่ที่หน้าผากแล้วก็ไม่รู้
แล้วก็เที่ยววิ่งหาไปรอบ ๆ โลกหรือบางทีก็นอกโลก ไปหาที่เมืองนรก เมืองสวรรค์ เมืองพรหมโลก เมืองอะไรต่ออะไร หารอบ ๆ
โลกมนุษย์นี่ยังไม่พอ ยังไปเที่ยวหาเสียหลาย ๆ โลก ทำบุญสักหนึ่งบาท แล้วก็
จะให้ได้ไปสวรรค์
ไปพบอะไรที่ต้องการ อย่างนี้เรียกว่า มันไม่ดูของที่ติดอยู่แล้วที่หน้าผาก แล้วก็จะไปหาทีรอบ ๆ โลก หรือโลกอื่น ๆ อีก. เพราะฉะนั้น ขอให้ดูให้ดีสักหน่อยเท่านั้น ว่ามันอยู่ที่หน้าผากแล้วอย่างไร และ มีวิธีที่จะคลำพบ
สิ่งที่มีอยู่ที่หน้าผาก
แล้วได้อย่างไร.
พอพูดเรื่องวิธีคลำให้พบ เขาก็พูดอย่างเหนือเมฆหรืออะไรทำนองนั้นยิ่งขึ้นไปอีก "
ไม่ต้องทำอะไร คืออยู่นิ่ง ๆ ไม่ต้องทำอะไร แล้วมันก็จะว่างเอง"
คำว่า "
อยู่นิ่ง ๆ ไม่ต้องทำอะไร" นี้ มันมีความหมายมากอยู่ คือว่าเรามันซุกซน เรามันสัปดน
เที่ยวรับเอาอารมณ์ทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเข้ามา เมื่อรับเข้ามาแล้วยังโง่พอที่จะ
เปิดโอกาสให้ธรรมะฝ่ายอวิชชานั้นขึ้นนั่งแท่น
บัญชางานเสียเเรื่อย มันจึงเป็นไปแต่ในทาง
ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู ว่าของกู เรียกว่าซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ๆ
"
อยู่นิ่ง ๆ" ก็หมายความว่า
ไม่รับเอาอารมณ์เข้ามาหรือว่า
อารมณ์มากระทบก็ให้มันตายด้าน เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง. เมื่อตาเห็นรูปก็
สักแต่ว่าเห็นเป็นต้น นี้เรียกว่ามันไม่รับเข้ามา. หรือว่า
ทำอย่างนั้นไม่ได้
มันเลยไปเป็นเวทนา คือพอใจหรือไม่พอใจเสียแล้ว ก็ให้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น อย่าได้อยากต่อไปอีก ตามความพอใจหรือตามความไม่พอใจ อย่างนี้ก็พอที่จะให้อภัย ว่ายังอยู่นิ่ง ๆ อยู่ได้ เรื่องมันจะได้
หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ถ้าพอใจแล้วทำอะไรต่อไปยืดยาว เดี๋ยวตัวกู-ของกู ก็โผล่ออกมา หรือว่าถ้าไม่พอใจแล้วก็ทำอะไรไปตามความไม่พอใจ
มันก็เป็นความทุกข์ นี้เรียกว่าไม่อยู่นิ่ง ๆ.
เพราะฉะนั้นคำว่าอยู่นิ่ง ๆ ของเว่ยหล่าง หรือฮวงโปก็ตามนั้น มันได้แก่
การปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอน
ให้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยความไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวเรา-ว่าของเรานั่นเอง
อยู่นิ่ง ๆ คำนี้มันความหมายอันเดียว อย่างเดียวกับประโยคที่วา "
สพเพ ธมมา นาล อภินิเวสาย" นั่นเอง เพราะว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว ธุระอะไรจะไปยุ่งหรือเข้าไปวุ่น หรือวิ่งเข้าไปหาที่สิ่งเหล่านั้นให้มันวุ่นทำไม ไม่อยู่นิ่ง ๆ เพราะฉะนั้นคำว่า "
อยู่นิ่ง ๆ" จึงมีความหมายอย่างนี้.
เราจงดูให้เห็น
ความว่างที่พึงประสงค์ การที่กล่าวว่ามีความว่างชนิดที่ก่อให้เกิดความหยุด หรือความสะอาด ความสว่าง ความสงบอะไรก็ตาม นี้ยังพูดอย่าง
สมมติ เพราะว่าถ้าพูดอย่าง
ความจริงหรือพูดอย่างถูกต้อง แล้วมันไม่มีอะไร
นอกจากความว่าง
มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น แล้วความว่างนั้นมันไม่ก่อให้เกิดอะไร เพราะว่าความว่างนั้น มันเป็น ตัวพุทธะ ตัวธรรมะ ตัวสังฆะ ตัวหนทาง ตัวสะอาด ตัวสว่าง ตัวสงบ อะไรหมด อยู่ที่ความว่างนั้น.
ถ้ายังพูดว่า ความว่างเป็นเหตุให้เกิดนั้นเกิดนี่แล้วก็แปลว่าเรายังไม่รู้
ถึงที่สุด ยังไม่ใช่ว่างถึงที่สุด เพราะถ้าว่างถึงที่สุด แล้วมันไม่ต้องทำอะไร อยู่นิ่ง ๆ มันก็เป็น พุทธะ ธรรมะ สังฆะ สะอาด สว่าง สงบ นิพพาน อะไรในตัวมันเอง ในตัว
ที่ไม่ปรุงแต่งให้เป็นอะไรขึ้นมานั่นเอง.
เมื่อจะสอนคนเขลา ๆ โดยวิธีที่ง่ายที่สุด ให้รู้จักสังเกตความว่างนั้น
ฮวงโปได้ให้
ปริศนาไว้อันหนึ่งว่าใ ห้ดูที่
จิตของเด็กก่อนที่จะปฏิสนธิ อาตมาก็ขอฝากท่านทั้งหลายไว้ให้หาดูจิตของเด็ก
ก่อนที่จะมาปฏิสนธิในครรภ์นั้นมันอยู่ที่ไหน ถ้าหาอันนี้พบแล้วจะหาความว่างพบได้ง่าย ๆ เหมือนกับคลำพบของที่มีอยู่ที่หน้าผากแล้ว
ขอสรุปว่า เรื่องความว่างนี้ไม่ใช่เรื่องอื่น คือเรื่องทั้งหมดของพุทธศาสนา จะว่าพระพุทธเจ้าหายใจเข้าออกอยู่ด้วยความว่าง หรือว่ามันเป็นทั้งหมดของพุทธศาสนา
เป็นความรู้ เป็นการปฏิบัติ เป็นผลของการปฏิบัติ ถ้าเรียนก็ต้องเรียนเรื่องนี้ ปฏิบัติก็ปฏิบัติเพื่อผลอันนี้ ได้ผลมาก็ต้องเป็นอันนี้ แล้วในที่สุดเราก็จะได้สิ่งที่ควรจะได้ที่สุด ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ เพราะว่าเมื่อเข้าถึงความว่างได้นั้น มันก็หมดปัญหา มันไม่ใช่อยู่ข้างบนหรืออยู่ข้างล่าง หรือมันไม่ใช่อยู่ที่ไหน มันไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร ควรหุบปากมากกว่า แต่เราก็ยังต้องพูดว่า
เป็นสุขที่สุดอยู่นั่นเอง.
เพราะฉะนั้นจะต้องระวังให้ดี เรื่อง "
นิพพาน เป็น สุขอย่างยิ่ง" กับ "
นิพพานคือว่างอย่างยิ่ง" นั้นจะต้องจับความหมายให้ถูกต้อง อย่าเอาความสุขตามความหมายที่เคยชินกันมาก่อนเหมือนกับ
พวกก่อนพุทธกาลโน้นไพล่ไปเอาความสมบูรณ์ถึงที่สุดทาง
กามารมณ์มาเป็นนิพพานก็เคยมี ไปเอาความสุขทาง
ฝ่ายรูปความสุขจาก
รูปสมาบัติ เป็นนิพพานมาแล้วก็มี; พระพุทธเจ้าท่านต้องการให้ออกมาเสีย คือเอา
เนกขัมมธาตุเป็น
เครื่องมือออกมาจากกาม เอา
อรูปธาตุเป็นเครื่องมือออกจาก
ความหลงใหลในรูปสมาบัติ และในที่สุดก็เอา
นิโรธธาตุเป็นเครื่องออกมาเสียจาก
สังขตะคือคาามวุ่นวายนานาชนิดมาสู่ความว่าง
ท่านจะเข้าใจได้หรือไม่ จะปฏิบัติได้หรือไม่ย่อมเป็นเรื่องของท่านทั้งหลายเอง อาตมามีหน้าที่แต่จะกล่าว ไปตามที่มันมีอยู่อย่างไร การรู้การเข้าใจ และการปฏิบัติย่อมตกเป็น
หน้าที่ของท่านทั้งหลาย.
อาตมาขอยุติการบรรยายในวันนี้เพียงเท่านี้.