แก่นพุทธศาสน์ เรื่อง ความว่างพระราชชัยกวี (ภิกขุ
พุทธทาส อินทปัญโญ)
ธรรมกถาในโอกาสพิเศษ ณ
ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (
ศิริราช)
ในอุปการะ
ของคณะแพทยศาสตร์และ
ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์, ๗ มกราคม ๒๕๐๕
ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย
การบรรยายในวันนี้จะได้ว่าด้วยเรื่อง "
ความว่าง" ทั้งนี้เป็นความต้องการของท่านผู้อำนวยการ การอบรม
เนื่องจากการบรรยายครั้งที่แล้วมา ได้กล่าวถึงความว่าง ในฐานะที่เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง แต่โอกาสไม่อำนวยให้กล่าวถึงเรื่องนั้นแต่เรื่องเดียวโดยเฉพาะ เพื่อความเข้าใจที่ทั่วถึง เพราะฉะนั้น เรื่องความว่างจึงยังมีความคลุมเครืออยู่บางประการ จึงได้มีการบรรยายเฉพาะเรื่องความว่างอย่างเดียวในวันนี้
ท่านทั้งหลายควรจะทราบว่าเรื่อง ความว่าง นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุด ในบรรดาเรื่องของพุทธศาสนา ทั้งนี้ เพราะว่าเป็นเรื่อง
หัวใจอย่างยิ่งของพุทธศาสนา นั่นเอง
สิ่งที่เรียกกันว่าหัวใจ
ก็พอจะมองเห็นหรือเข้าใจกันได้ทุกคนว่า หมายถึง สิ่งที่ลึก ที่ละเอียด สุขุม ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งการเดา หรือความตรึกไปตามความเคยชิน หรือตามกิริยาอาการของคนธรรมดา แต่จะเข้าใจได้ก็ด้วยการตั้งอกตั้งใจศึกษาคำว่า "ศึกษา" นี้ มีความหมายอย่างยิ่งอยู่ตรงการสังเกตสนใจ
สังเกตพิจารณาอยู่เสมอ ทุกคราวที่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับใจ
ที่เป็นความทุกข์หรือเป็นความสุขก็ตาม
ผู้ที่มีความคุ้นเคยกับการสังเกตในเรื่องทางจิตใจเท่านั้นที่จะเข้าใจธรรมะได้ดี
ผู้ที่เพียงแต่อ่านๆ ไม่สามารถจะเข้าใจธรรมะได้ บางทียิ่งไปกว่านั้นก็คือจะเฝือ
แต่ถ้าเป็นผู้ที่พยายามสังเกตเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของตัวเอง
โดยเอาเรื่องจริงในใจของตัวเองเป็นเกณฑ์อยู่เสมอแล้ว ย่อมไม่มีทางที่จะฟั่นเฝือ
จะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า " ความทุกข์และความดับทุกข์ " ได้ดี
และในที่สุดก็จะเข้าใจธรรมะ คือจะไม่อ่านหนังสือก็จะรู้เรื่องดี
ลักษณะอย่างนี้เราเรียกว่า มี spiritual experience มาก
คนเราตั้งแต่เกิดมาจนกว่าจะตาย ย่อมเต็มไปด้วยสิ่งๆ นี้ คือ การที่ใจของเราได้
สัมผัสกันเข้ากับสิ่งแวดล้อมแล้ว
เกิดผลเป็นอะไรขึ้นมา คราวไหนเป็นอย่างไร
และคราวไหนเป็นอย่างไร
เพราะว่าเรื่องที่เป็นไปเองนั้น ย่อมมีได้ทั้งฝ่ายที่เป็นทุกข์ และทั้งฝ่ายที่ไม่เป็นทุกข์ คือทำให้ฉลาดขึ้น และมีจิตใจเป็นปกติเข้มแข็งขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเราคอยสังเกตว่า
ความคิดเดินไปในรูปใดมัน
ก่อให้เกิด "
ความว่างจากความทุกข์ "; อย่างนี้แล้วจะมีความ
รู้ดีที่สุด และมีความ
เคยชินในการที่จะรู้สึกหรือเข้าใจ หรือ
เข้าถึงความว่างจากความทุกข์นั้นได้มากขึ้น เพราะฉะนั้น จะต้อง
ทำในใจไว้อย่างนี้ จึงจะเข้าใจเรื่อง
ที่เรียกว่า ลึก หรือประณีต ละเอียดสุขุม
เช่นเรื่องความว่างนี้ได้
ท่านทั้งหลายควรจะ
ระลึกถึงข้อที่ได้กล่าวในการบรรยายครั้งก่อนว่า พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายเรียกพระพุทธเจ้าว่า เป็นแพทย์ในทาง
วิญญาณ และแบ่งโรคของคนเราออกเป็น
โรคทางฝ่ายร่างกายจิตใจ และโรคทางฝ่ายวิญญาณ โรคที่เรา
จะต้องไปโรงพยาบาลตามธรรมดา
หรือไปโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาที่ปากคลองสาน เหล่านี้เรียกว่า โรคทางกาย
ทั้งนั้น ส่วนโรคทางวิญญาณนั้น หมายถึง
โรคที่ต้องแก้กันด้วยธรรมะ; เพราะฉะนั้น
จึงมีโรคทางจิต หรือทางวิญญาณอีกประเภทหนึ่ง
ต่างหากจากโรคทางกาย ข้อความใน
อรรถกถาเรียกโรคอย่างนี้ว่า
โรคทางจิต
แต่ว่าในภาษาไทยเราเอาคำว่า "โรค" นี้มาใช้กับโรคทางกาย เช่น โรคที่จะต้องไปโรงพยาบาลที่ปากคลองสานนั้น เราเรียกกันว่า
โรคจิต แต่โรคอย่างนี้ใน
ภาษาบาลีในทางธรรมะ ยังเรียกว่าเป็น
โรคทางกายอยู่นั่นเอง การ
แบ่งโรคเป็นโรคกายกับโรคจิต
จึงมีต่างกันกับที่เราแบ่งกันในภาษาไทยเรา
เพราะฉะนั้น อาตมาจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าท่านทั้งหลายจะเข้าใจโรค ก็ควรจะแยกเป็นโรคทางกายแท้ๆ คือ ทาง
physical และโรคทางกายที่ลึกเข้าไป คือ ทาง
Mental ทั้งสองอย่างนี้เอาไว้ทางฝ่ายร่างกาย
ส่วนอีกฝ่ายหนึงนั้น ก็คือ ฝ่าย
spiritual คือ โรคที่เกิดจากสติปัญญา ไม่ใช่ที่เกิดแก่ระบบประสาท หรือมันสมอง แต่เกิดแก่ระบบของสติปัญญา ที่จะรู้จะเข้าใจชีวิตหรือโลกตามที่เป็นจริง เพราะฉะนั้น ท่านจึงหมายถึง
ความหลง หรืออวิชชา หรือความเข้าใจผิดที่เนื่องมาจาก
อวิชชานั้น จะมีการกระทำที่ผิดๆ จนต้องเป็น
ทุกข์ ทั้งนี้เราไม่เป็นโรคทาง
physical หรือทาง
Mental นี้เป็นความหมายข้อแรกที่ต้อง
กำหนดไว้เป็น
พื้นฐาน ที่ว่าเมื่อเรามีโรคทาง
Spiritual แล้วเราจะ
แก้กันด้วยอะไร? ถ้ากล่าวทางธรรมะ ต้องแก้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า "
ความว่าง" นั่นเอง และ
ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือว่า สิ่งที่เรียกว่า
ความว่าง หรือสุญญตา ใน
ภาษาบาลีนั้น มันเป็นทั้ง ยา
แก้โรค และเป็นทั้ง
ความหายจากโรค เพราะว่าเราไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น
ยาที่จะแก้โรค ก็คือ
ความรู้ หรือการปฏิบัติ จนทำให้เกิดความว่าง ทีนี้ ถ้าความว่างเกิดขึ้นมาแล้ว ก็จะเป็นยาแก้โรค และเมื่อหายจากโรคก็ไม่มีอะไร
นอกจากความว่างจากความทุกข์ หรือจาก
กิเลสที่เป็น
เหตุให้เกิดทุกข์
เพราะฉะนั้น คำว่า "
ความว่าง" จึงหมายถึง ทั้งยาแก้โรคและความหายจากโรค ความว่างที่มีขอบเขตกว้างมีความหมายกว้างนั้น
หมายถึง ความว่างอยู่ในตัวมันเอง
คือ ถ้าว่าเป็นความว่างแล้ว
ต้องเป็นตัวเอง คือตัวมันเอง
ไม่มีอะไรมาแตะต้อง ปรุงแต่งแก้ไข หรือทำอะไรกับมันได้ จึงถือว่าเป็นสภาพที่เป็นนิรันดร คือไม่ต้องเกิดในทีแรก แล้วดับไปในที่สุด มันจึงมี "
ความมีความเป็น" อยู่อีกชนิดหนึ่ง ไม่เหมือนกับความมีของสิ่งอื่นๆ
ซึ่งมีการเกิดขึ้นแล้วดับไป
แต่เราก็ไม่มีคำอื่นใช้
เราจึงเรียกว่าความมี มีสภาพที่เรียกว่า ความว่างนี้อยู่เป็นนิรันดร ถ้าใคร
เข้าถึง หมายความว่า ถ้าจิตใจของผู้ใดเข้าถึงสิ่งๆ นี้มันก็จะเป็นยา
แก้โรค และเป็นความ
หายจากโรคขึ้นมาทันที
เป็นสภาพที่ว่างนิรันดร คือไม่มี
โรคนั่นเอง
ท่านทั้งหลายลองพยายาม
คอยจับความหมายของคำว่า"
ความว่าง" หรือที่เรียกเป็นบาลีว่า "
สุญญตา" นี้ให้ดี ๆ ซึ่งอาตมาจะได้กล่าวเป็นลำดับไป