ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง

<< < (2/2)

sithiphong:
.

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

พระราชประวัติ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังถูกยกเป็นพระราชเทวี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง[1] เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 และทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี[1] พระนมอยู่พระองค์หนึ่ง คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน[1]
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระอนุชาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่

    เจ้าฟ้าอภัยทศ
    เจ้าฟ้าน้อย
    พระไตรภูวนาทิตยวงศ์
    พระองค์ทอง
    พระอินทราชา

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชกุมาร" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์
พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหารย์มหัศจรรย์ตาม ลำดับ คือ

    เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
    เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี

สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้ว นั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลาย
การเสด็จสวรรคต

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา



พระราชานุสาวรีย์ องค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


พระราชโอรส-ธิดา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชโอรส และธิดา ได้แก่

    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี[2] เจ้าฟ้าสุดาวดีถือเป็นท่านแรกที่ปรากฏพระนามว่าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงกรม และยังมีอีกหนึ่งพระองค์คู่กันกับท่านก็คือ กรมหลวงโยธาทิพ[3] ทรงมีพระคลังสินค้า เรือกำปั่น และเงินทุน[4] แต่พระองค์มีเรื่องหมางพระทัยอยู่กับพระราชบิดา ด้วยเหตุที่พระบิดาทรงกว้านการค้ากับต่างประเทศไว้เสียหมด[5] ภายหลังพระองค์ทรงถูกบังคับให้อภิเษกกับพระเพทราชาขึ้นเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ทั้งที่กรมหลวงโยธาเทพเองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มการปฏิวัติผลัดแผ่นดิน แต่กลับกลายตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์นี้เสียเองทั้งที่ไม่เต็มพระทัยต่อพระ เพทราชานัก[1] และให้ประสูติการพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย[6] และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2278 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[7]
    หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ พระราชโอรสลับที่ประสูติแต่พระนางกุสาวดี

ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พระองค์มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เมื่อโสกันต์แล้วพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้าอไภยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่มีพระราชโอรส โดยเจ้าฟ้าอไภยทศพระองค์นี้เป็นพระราชอนุชาของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระโอรสบุญธรรม คือ พระปีย์ หรือบางแห่งเรียก พระปิยะ



ภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออก โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตจากฝรั่งเศสเข้าเฝ้า


พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่าง ยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
การต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีก ครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมุหนายกขณะ เดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระ เกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุด ในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่าง ประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า คริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก
ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้ กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียม สร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะ นั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมา ก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บงฝ่าย สมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้น ก็มิใช่ว่าจะปลอดภัยนัก ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้า หลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
วรรณกรรม

เข้าไปดูบทความเฉพาะของเรื่องนี้ วรรณกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง


ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์


วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น

    สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
    คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2203 เป็นต้น

ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2524 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นจากแนวคิดของชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี กับนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีใน ขณะนั้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงสร้างเมืองลพบุรี ให้เจริญรุ่งเรือง อีกประการหนึ่งคือต้องการพัฒนาจังหวัดลพบุรีให้เป็นเมืองท่องเที่ยว การจัดงานครั้งแรกตั้งชื่องานว่า "นารายณ์รำลึก" ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ "งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์" ซึ่งเป็นชื่อที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ซึ่งก่อตั้งชื่อของงานนี้ขึ้น
งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของลพบุรีถูกถ่ายทอดการจัดงานโดยมีการตั้งคณะ กรรมการกว่า 20 คณะ รูปแบบของงานมีทั้งภาคกลางวันและกลางคืนมีการจำลองเหตุการณ์ในครั้งประวัติ ศาสตร์ มีขบวนแห่ของชาติต่างๆที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเข้ามาพึ่งพระบรม โพธิสมภาร มีการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและคำประพันธ์ต่างๆ มีร้านจำหน่ายและสาธิตสินค้า ตลอดจนขนมหวานในสมัยนั้น มีการจุดประทีปโคมไฟให้เหมือนราตรีแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในอดีตมี การประกวดการแต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้ง ส่งเสริมให้ชาวลพบุรีแต่งกายไทยทั้งเมืองซึ่งมีผู้ให้ความสนใจและร่วมงาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากมาย
ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย

    วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง) จังหวัดนครราชสีมา
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    ถนนนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
    หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    วงเวียนพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    โรงพยาบาลเมืองนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ค่ายนารายณ์ศึกษา จังหวัดลพบุรี
    สวนสาธารณะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    นารายณ์ฮิลส์กอลฟ์ จังหวัดลพบุรี
    ค่ายลูกเสือพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    สโมสรโรตารีพระนารายณ์ลพบุรี จังหวัดลพบุรี

อ้างอิง

    ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 M.L. Manich Jumsai (เขียน) ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน (แปล). สมเด็จพระนารายณ์ และโกษาปาน. กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว, 2531, หน้า 17
    ^ ภาสกร วงศ์ตาวัน. ไพร่ขุนนางเจ้า แย่งชิงบัลลังก์สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2553. หน้า 161
    ^ "สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่", จุลลดา ภักดีภูมินทร์, 14 พฤษภาคม 2545. สืบค้นวันที่ 2010-12-29
    ^ La Loubère. Du Royaume de Siam. p. 142
    ^ ภัตรา ภูมิประภาส. นางออสุต:เมียลับผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 94
    ^ ๔๙ ราชินี (๖)-11. กรมหลวงโยธาเทพ
    ^ พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


    วิชาการ.คอม
    หอมรดกไทย

ดูเพิ่ม

    ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
    Cruysse, Dirk van der (2002). Siam and the West. Chiang Mai: Silkworm
    Marcinkowski, M. Ismail (2005). From Isfahan to Ayutthaya: Contacts between Iran and Siam in the 17th Century. With a foreword by Professor Ehsan Yarshater, Columbia University . Singapore: Pustaka Nasional
    Muhammad Rabi' ibn Muhammad Ibrahim, J. O'Kane (trans.) (1972). The Ship of Sulaiman. London: Routledge
    Smithies, M. (1999). A Siamese Embassy Lost in Africa, 1686. Chiang Mai: Silkworm
    Smithies, M., Bressan, L., (2001). Siam and the Vatican in the Seventeenth Century. Bangkok: River
    Smithies, M., Cruysse, Dirk van der (2002). The Diary of Kosa Pan: Thai Ambassador to France, June-July 1686. Seattle: University of Washington Press
    Wyatt, DK (1984). Thailand: A Short History. Chiang Mai: Silkworm


-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-

.

sithiphong:


รัชกาลที่ 5 ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
Posted by ลูกเสือหมายเลข9 , ผู้อ่าน : 12508 , 20:07:53 น.

-http://www.oknation.net/blog/chai/2007/09/09/entry-2-


เพิ่งอ่านหนังสือ"พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์นักสู้" จบครับ
เป็นหนังสือที่เขียนโดยนายแพทย์วิบูล วิจิตรวาทการ บุตรชายหลวงวิจิตรวาทการ
อ่านแล้วอยากบอกว่า"สนุกมาก" เพราะมีครบทุกรส พระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2172 - 2199) เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 ของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งได้รับการวิพาษ์วิจารณ์ค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงลบและเชิงบวก

มีทั้งวิจารณ์ว่า ทรงมีจิตใจที่โหดร้าย ไร้คุณธรรม เจ้ายศเจ้าอารมณ์ มักใหญ่ใฝ่สูง
นาย Woods นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก บันทึกว่าพระเจ้าปราสาททองเสวยน้ำเมาตลอดวัน จนขาดสติสัมปชัญญะ จนมีเรื่องเล่าว่า ทรงทอดพระเนตรเห็นพระราชโอรส คือพระนารายณ์ มี 4 กร จึงตั้งชื่อ"นารายณ์"

แต่ในอีกมุม พระองค์ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์นักสู้ ผู้ไต่เต้าจากตำแหน่งเสนาบดีกลาโหม กระทั่งได้ครองราชย์บัลลังก์ และเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์"ปราสาททอง"


วัดไชยวัฒนาราม


ตามประวัติศาสตร์ ระบุว่า แผ่นดินอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง บ้านเมืองมีแต่ความสงบร่มเย็น พระองค์ทรงเสื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนาราม วัดชุมพลพิศายาราม บูรณะปฎิสังขรณ์วัดต่างๆ รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังบางประอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน


พระราชวังบางปะอิน


หนังสือ เล่มนี้ เล่าตั้งแต่เรื่องโชกุนญี่ปุ่นขอปืนใหญ่จากสมเด็จพระเอกาทศรถ ซามูไรญี่ปุ่นแผลงฤทธิ์ข่มเหงพระเจ้ากรุงสยาม กรุงศรีอยุธยาขอม้าจากโชกุนญี่ปุ่นมาผสมพันธุ์ม้าไทย ซามูไรญี่ปุ่นพยายามประทุษร้ายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในทรรศนะของฝรั่งและญี่ปุ่น
หนังสือวิเคราะห์เรื่องตั้งแต่พระเจ้าทรงธรรมสวรรณคต แล้วทรงรับสั่งให้พระเชษฐาธิราชขึ้นครองราชย์ โดยกำจัดพระศรีศิลป์ แล้วต่อเนื่องถึงพระเจ้าปราสาททองประหารชีวิตของพระเชษฐาธิราช กำจัดพระอาทิตยวงศ์ ก่อนขึ้นครองราชย์ แล้วทรงเปลี่ยนปฏิทิน

สำหรับพระเจ้าปราสาททอง เดิมรับราชการในราชสำนักสมเด็จพระเอกาทศรถ(บางฉบับระบุว่าพระองค์เป็นพระราช โอรสนอกสมรสของพระเอกาทศรถ) ในตำแหน่งมหาดเล็ก ต่อมาได้เป็นที่จมื่นศรีสรรักษ์ ได้ร่วมกับพระศรีศิลป์สำเร็จโทษพระศรีเสาวภาคย์ แล้วเชิญพระอินทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า"สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"

จมื่น ศรีสรรักษ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระมหาอำมาตย์ และออกญาศรีวรวงศ์ และเมื่อญี่ปุ่นนำกำลังเข้ามาจะควบคุมพระองค์สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระยาศรีวรวงศ์ก็สามารถปราบปรามลงได้ จึงได้รับความดีความชอบ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้ดูแลรักษาพระเชษฐาธิราช พระราชโอรสที่ทรงวางพระทัยให้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์

ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระยาศรีวรวงศ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ มีอำนาจและอิทธิพลมาก ทำให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช ทรงระแวงและคิดกำจัด แต่เจ้าพระยากลาโหมรู้ตัวก่อนและควบคุมพระองค์สมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ แล้วอัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชย์

เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2172 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 รวมทั้งทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่เป็น"ราชวงศ์ปราสาททอง" พระองค์มีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 7 พระองค์

พระองค์เคยเสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่แข็งเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และชนะจึงทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม

ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ
ในปีจุลศักราช 1000 ตรงกับปีขาล (พ.ศ. 2181) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่
ในปี พ.ศ. 2175 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน

พระ เจ้าปราสาททอง มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญหลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายาราม รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย

สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2199 ครองราชย์ได้ 27 ปี


รัชกาลที่5 พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ฉายเมื่อปี 1881


ตอนที่ผมอ่านแล้ว"สนุก" จนขอนำมาเล่าต่อ คือพระปิยะมหาราช ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
เรื่องนี้ปรากฎในหนังสือหลายเล่ม เช่น พระราชกระทู้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และคำสนองพระราชกระทู้ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ว่าด้วย พระเจ้าปราสาททอง

แต่เนื่องจากเป็นการวิจารณ์กราบบังคมทูลสนองพระราชกระทู้ยาวมาก...จึงขอยกมาบางเรื่องให้สั้นลง

"ฉลาด ในทางอุบายมารยา ฉลาดในทางที่จะเรียนวิชาความรู้ว่องไว แต่ไม่มีความอุสาหะที่จะเรียนให้รู้จริง คือ ปากรู้มากกว่าใจ จนที่ไหนเดาที่นั่น ด้วยความเชื่อว่าคงถูกเชื่อตัวว่ามีสติปัญญา มีบุญ ไม่มีผุ้ใดเสมอซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งชอบยอ และกล้าทำอะไร ๆ ไม่มีความละอาย ด้วยนึกว่าไม่มีใครรู้เท่าเป็นไพร่ตามสันดานเดิมในเมื่อเวลากริ้ว..." พระราชวิจารณ์ของรัชกาลที่ 5 ถึงพระเจ้าปราสาททอง

"ฉลาด ในอุบายมารยานั้น คือเมื่อเวลาพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต มีความปรารถนาจะใคร่ได้สมบัติ ข้อนี้ควรจะยกเว้นไม่ติเตียน เพราะพระเจ้าทรงธรรมไม่ได้เป็นผู้ที่ควรเป็นพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกว่าพระเจ้า ปราสาททอง วิชาก็มีด้วยกัน ฝ่าสยหนึ่งถนัดข้างพระไตรปิฏก ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่ามีเวมมนตร์ขลัง และสติปัญญามากกว่าเอาเป็นตีรั้งกันควรปรารถนา

"อาการที่จะเป็นพระเจ้า แผ่นดินนั้น เอาโดยทางมารยา คือยกพระเชษฐาซึ่งคงจะเป็นคนโง่ยิ่งกว่าพระศรีศิลป์ พระบิดาคงมุ่งให้พระศรีศิลป์รับสมบัติ จึงแกล้งไม่ยกสมบัติให้ พระศรีศิลป์ซึ่งเป็นคนฉลาดแต่ไม่ใช่ฉลฃาดดี ฉลาดอย่างกักฬะ พระศรีศิลป์จึงได้หนีออกไป คงจะด้วยถุกอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงไม่ได้ทันต่อรบอย่างหนึ่งอย่างใดให้กับสมกับที่เป็นกบถ หลอกให้พี่น้องแหนงกันเอง ฆ่ากันสมประสงค์"

พระยาโบราณราชธานินทร์ได้แก้ต่าง....
"ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า อาการที่พระเจ้าปราสาททองจะเอาแผ่นดินนั้น เอาโดยทางมารยา คือแกล้งยกพระเชษฐาซึ่งคงเป็นคนโง่ยิ่งกว่าพระศรีศิลป์ที่พระบิดาคงมุ่งหมาย ที่จะให้รับราชสมบัติและหลอกให้พี่น้องแหนงกันจนฆ่ากันสมประสงค์นั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า ถ้าพระเจ้าปราสาททองปองที่จะเอาสมบัติอยู่แล้ว ถึงพระศรีศิลป์จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็คงรักษาพระองค์ไม่รอดเหมือนกัน เพราะกำลังวังชาและอำนาจของพระเจาปราสาททองในเวลานั้นมีมากนัก

ซึ่งยกพระเชษฐาขึ้นครงอราชสมบัตินั้น เห็นด้วยเกล้าฯว่าคงทำตามโบราณราชประเพณี ที่ต้องยกพี่ขึ้นใหญ่กว่าน้อง ประการหนึ่ง ถ้าหากยกพระศรีศิลป์ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระเชษฐกับพระศรีศิลป์ก็คงจะบาดหมางไม่ปรองดอง คิดฆ่ากันไปเหมือนกัน"

ร.5 ทรงวิพากษ์ต่อ...

"แกล้ง ทำการศพให้คึกคัก แต่งคนให้ลือให้พระเจ้าแผ่นดินตกใจ ผู้ที่ลือนั้นคือจมื่นสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นผู้ส่งข่าวนั้นเอง เข้ามาเป็นใส้ศึก พอหลอกให้ตกใจให้ไปรับสั่งให้หาก็เลยพาลเป็นกบถ หาว่าพระเจ้าแผ่นดินเตรียมให้คนขึ้นป้อมวัง ความนี้ก้ไม่จริง ปรากฎเมื่อยกมาแต่เวลาบ่ายสามโมง อยู่าจนสองทุ่มเข้าไปฟันประตู ไม่มีใครรู้ทัน ไม่ได้ต่อสู้กันเลย คำอธิษฐานที่อ้างเอาความปรารถนาโพธิญาณเป็นสัจจาธิษฐาน นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเย่อหยิ่งมาก"
พระยาโบราณราชธานินทร์ แก้ต่าง...

"ตามที่ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าปราสาททองแกล้งทำการสพให้คึกคัก แต่งคนให้ลือให้พระเจ้าแผ่นดินตกพระทัย พอให้รับสั่งให้ไปหาก็เลยพาลเป็นถบถนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่าในเวลานั้น พระเจ้าปราสาททองเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นยประธานในราชการแผ่นดิน จะทำการงานใดก็คงมีผู้ไปช่วยเพือ่การประจบ และพระเชษฐาในเวลานั้นก็คงจะง่อนแง่นเต็มทีอยู่แล้ว

ถึงในข้อที่ว่า ตระเตรียมคนให้ขึ้นป้อมวังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า น่าจะรับสั่งให้ตระเตรียมจริง เพราะทรงตกพระทัยและหวาดอยู่แล้ว แต่เห็นด้วยเกล้าฯว่าคงจะไม่ได้คนมาขึ้นป้อมล้อมวังตามรับสั่ง ด้วยข้าราชการคงจะไปฝักใฝ่กับพระเจาปราสาททองเสียหมด จึงไม่ได้ต่อสู้กัน
คำอธิษฐานซึ่งอ้างเอาความปราถนาโพธิญาณซึ่งทรงพระราชฃดำริเห็นว่าเป็นการ เย่อหยิ่งนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า คงจะทรงตามๆกันไป เช่นพระเจ้าทรงธรรมเองก็น่าจะได้กล่าวอย่างนี้เหมือนกัน"

ร.5 ทรงวิพากษ์ต่อ

"ตั้งพระอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จนกระทั่งถอดเสียเป็นการมารยาทั้งนั้น.."

พระยาโบราณราชธานินทร์ แก้ต่างอีก..

"ซึ่ง ทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่ตั้งพระยาอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินจนกระทั่งถอดเสียเป็นการมารยา นั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่าในเรื่องนี้จำเป็น พระเจ้าปราสาททองจะต้องทำเช่นนั้น ด้วยพระอาทิตยวงศ์ยังมีอยู่ ถ้าจะเอาราชสมบัติทีเดียวคนทั้งปวงก็จะเห็นว่าเป็นขบถ ฆ่าพระเชษฐาเพื่อจะเอาราชสมบัติ"
(ความทั้งหมด อยู่ในบันทึกพระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เดชะคุปต์ ) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 125)


พระนารายณ์มหาราช ฝีมือช่างวาดชาวฝรั่งเศส


ความจริง..พระปิยะมหาราช ยังทรงวิพากษ์อีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องมีพระราชบุตรออกมาเห็นเป็น 4 กร เรื่องฟ้าผ่าไม่ถูกพระองค์พระนารายณ์และช้าง เรื่องลบศักราช เรื่องเอากับข้าวรดศีรษะทูตพม่า เรื่องโหรถวายฎีกาว่าไฟจะไหม้วังจึงขนของหนีออกไปอยู่วัด
แต่เนื่องจากจะยืดเยื้อ...จึงสรุปเท่านี้ครับ..


.

รัชกาลที่ 5 ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
-http://www.oknation.net/blog/chai/2007/09/09/entry-2-

.

sithiphong:
.

ayodtaya3

-http://www.youtube.com/watch?v=JTsDDJ6CELE&feature=player_embedded-


ayodtaya3
.

sithiphong:
ราชวงศ์ต่อไปก็คือ  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ติดตามอ่านได้ในกระทู้  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7514.0.html-

ที่เป็นราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7514.0.html

.

sithiphong:

--- อ้างจาก: sithiphong ที่ กรกฎาคม 21, 2012, 11:20:13 am ---
--- อ้างจาก: sithiphong ที่ กรกฎาคม 21, 2012, 10:31:03 am ---ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

โดยชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้

    สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 (6 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (25 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - ปี พ.ศ. 2310 (9 ปี)

อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-

.

--- End quote ---


ราชวงศ์ก่อนหน้า  ก็คือราชวงศ์ปราสาททอง

ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ก็คือ พระเจ้าปราสาททอง

ติดตามอ่านได้ในกระทู้ จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new-

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new

.

--- End quote ---


สมัยก่อนหน้านี้ (เป็นสิบกว่าปี)  มีความรู้สึกที่เกลียดราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นอย่างมาก  ตอนที่ไปเที่ยวที่อยุธยา  ไปเห็นวัดวาอารามต่างๆ  พระพุทธรูปต่างๆ  ที่โดนพม่าเผา(เพื่อลอกทองคำ)  อีกทั้งมีการฆ่าคนไทย  และกวาดต้อนคนไทยกลับไปยังพม่า 

แต่หลังจากนั้น  ก็กลับมาคิดว่า  หากไม่มีราชวงศ์บ้านพลูหลวงและราชวงศ์ปราสาททอง  ก็คงไม่มีการกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และราชวงศ์จักรี  และวีรกรรมการป้องกันประเทศของชาวบ้านบางระจัน  ให้คนไทยทั้งหลายได้ระลึกนึกถึงคุณงามความดี ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวบ้านบางระจัน  อีกทั้งทำให้คนไทยโชคดีที่ได้พบกับราชวงศ์จักรี  เปรียบได้กับ  มารไม่มี บารมีไม่เกิด ครับ

.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version