ผู้เขียน หัวข้อ: หมากรุกไทย  (อ่าน 5666 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
หมากรุกไทย
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:26:41 am »
หมากรุกไทย

 :08:  :08:  :08:
 :02:  :02:  :02:
 :19:  :19:  :19:  :19:  :19:
 :13:  :13:  :13:  :13:  :13:

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:30:49 am »
หมากรุกไทย > กระดาน ตัวหมาก และวีธีเดิน

-http://www.thenpoor.ws/chess/board_chess.html-


หมากรุกไทย ภูมิปัญญาไทย โดดเด่นแตกต่างจากชาติอื่น ๆ มีสักกี่ประเทศ ที่มีรูปแบบหมากรุก เป็น ของตัวเอง ประเทศที่มีหมากรุก แบบฉบับเฉพาะตัว ล้วนเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงทั้งสิ้น ประเทศไทย คือ ๑ ประเทศที่มีเอกลักษณ์นั้น การเรียนรู้หมากรุกไทย จึงเป็นการเรียนรู้ ความเป็นไทยที่ชัดเจนอีกแขนง

 

ปล. หลายคนบอกประเทศไทยได้รูปแบบหมากรุกมาจากอินเดีย แต่จน ทุกวันนี้ยังไม่เคยเห็น การเล่น หมากรุกแบบอินเดียเลย อาจสาปสูญไปแล้ว ก็ได้

 

 
กระดานหมากรุกไทย

 

กระดานของหมากรุกไทย เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบ่งเป็นทางกว้าง ๘ ช่อง ทางยาว ๘ ช่อง แต่ละช่อง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังนั้นในกระดานแผ่นหนึ่ง จึงมีตาตารางอยู่ทั้งหมด ๖๔ ช่อง

 
ตารางกระดานหมากรุกไทย


การเรียกชื่อตารางหมากรุกไทยนั้นไม่แน่นอน แล้วแต่ความพอใจของเจ้าของตำราหมากรุก เป็นสำคัญ บางคน เรียกไล่ไปตามลำดับ จาก ๑ จนถึง ๖๔



บางแห่ง แบ่งไปอีกแบบหนึ่ง คือ ทางแนวตั้ง หรือแนวนอน เรียกเป็นตัวอักษรไทย คือ ก ข ค ง จ ฉ ช ญ และ ทางอีกแนว หรืออีกแกน เรียกเป็น ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ รวมเป็น ๖๔ ช่องเหมือนกัน เวลาจะเรียก ก็ เรียก ช่อง ก๑ , ญ๘ เป็นต้น

 
กระดานหมากรุกกำหนดตัวเลขปนอักษร



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:36:05 am »
หมากรุกไทย > กระดาน ตัวหมาก และวีธีเดิน

-http://www.thenpoor.ws/chess/board_chess.html-


ตัวหมากรุกไทย

 
ทิศทางการเดินของตัวหมากรุกไทย ทั้ง ๖ ประเภท

 
๑. ขุน

ทำหน้าที่เป็นนายพล หรือ จอมทัพ เดินได้ทีละตา โดยรอบทั้ง ๘ ทิศ มีตาเดินได้ทั้งหมด ๘ ตา

 
ทางเดินของขุน เดินได้ทุกทาง ครั้งละ ๑ ตา มี ๘ ตา




๒. เม็ด

หน้าที่หลักเป็นองครักษ์ของขุน เดินเป็นแนวเฉียง โดยรอบ มี ๔ ตา

 
ทางเดินของเม็ด มี ๔ ตา


 

 
๓. โคน

ทำหน้าที่คล้าย แม่ทัพ รองลงมาจากขุน มีทางเดินเหมือนกับเม็ด แต่เพิ่มอีกหนึ่งตา คือ เมื่อขึ้นไปข้าง หน้า ก็เดินในทางตรงได้ ๑ ตา รวม ๕ ตา

 
ทางเดินของโคน มี ๕ ตา


 

โคน แม้ว่าจะมีแนวทางเดินเพียงสั้น ๆ แต่มีความสำคัญในการเล่นอยู่มาก มีคำกล่าวว่า "ถ้ามีโคนคู่แล้ว ก็เปรียบเสมือนหนึ่งมีขุนอยู่ถึง ๓ ขุนด้วยกัน" คำกล่าวนี้ เป็นความจริง เพราะโคนมีอำนาจ ในการ ป้องกันขุน และสามารถกระทำการรุก ให้อีกฝ่ายหนึ่งหมดทางเดิน และขุนอีกฝ่าย จะไม่สามารถขยับ เขยื้อน เมื่อถูกรุก ทำให้ต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด

 

 
๔. ม้า

เป็นหมากตัวสำคัญมาก ในกระบวนทัพของหมากรุกไทย เพราะเหตุว่า ม้ามีทางเดินไกลกว่าเม็ดหรือโคน แนวทางเดินของม้า จะเฉียงไปก่อน แล้วจึงเดินขึ้นไปในแนวตรง

 
ทางเดินของม้า มี ๘ ตา


หรือ ให้ขึ้นแนวตรงก่อน ๑ ตา แล้วจึงเฉียงไปสองด้านในแนวขวาและซ้ายอีก ๑ ตา หรือ ขึ้นตรงไป 2 ตา ก่อน แล้ววางด้านตาขวาหรือตาซ้ายตามต้องการ ก็ได้่

 





 

ม้าจึงมีแนวทางเดินทั้งหมดจากจุดเดียวถึง ๘ ทางด้วยกัน นักเล่นหมากรุกไทย ที่มีความเก่งกล้าสามารถ บางท่าน ยินยอมเสียเรือ เพื่อเอาม้าไว้ เพราะถ้าได้จังหวะเมื่อไร ก็อาจจะรุกฆาตฝ่ายตรงข้าม และกินฟรี จนมีชัยชนะ แก่ฝ่ายตรงข้ามในที่สุด

 

หมากจะดีหรือไม่ ก็อยู่ที่ม้าเป็นตัวหมากที่สำคัญตัวหนึ่ง ซึ่งบทบาทของม้าในหมากรุกไทยมีอยู่มากด้วยกัน มีคำกล่าวว่า

 

คนที่จะเดินม้าให้เก่งแล้ว ต้องสามารถเดินม้าให้ครบทั้ง ๖๔ ตาของกระดาน
โดยไม่ให้ซ้ำกันเลย แม้แต่ครั้งเดียว

 

สำหรับผู้ที่ฝึกฝน และสนใจในวิชาหมากรุกไทย ก็ลองกระทำดูบ้าง เพราะม้าเป็นยุทธปัจจัย ที่สำคัญอย่าง หนึ่ง ของกระบวนหมากรุกไทย

 

 
๕. เรือ

เป็นอาวุธ หรือหมากที่มีการเดินทางได้ยาวที่สุด มีวิธีการเดินในแนวตรงโดยตลอด อาจจะเดินจากปลาย กระดาน ด้านหนึ่งไปจดปลายอีกด้านหนึ่งของกระดานได้ ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งกีดขวาง หรือหมากตัวอื่น กัน ทาง เดินเอาไว้ เรือจึงเป็น ตัวหมากที่สำคัญมาก นักเล่นหมากรุกที่เพิ่งเล่นเป็นใหม่ ๆ จะไม่ยอมเสียเรือ แลกกับฝ่ายตรงข้ามเลย ทีเดียว เพราะ ส่วนใหญ่ผู้ที่เล่นหมากรุกเป็น จะต้องหัดเดินเรือให้ชำนาญ เสีย ก่อน จึงจะหัดเดินตัวหมากอื่นต่อไป

 
ทางเดินของเรือ แนวตรง ๔ ทิศทาง


 

รูปทางเดินของเรือไปในแนวตรงตามทิศทั้งสี่ จะเดินช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ การเดินของเรือนั้น จะ เดินกี่ช่องก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของผู้เดินเป็นสำคัญ

 

 
๖. เบี้ย

หากจะกล่าวกันแล้ว เบี้ยคือพลทหารประจำในแนวรบนั่นเอง เพราะในหมากรุกทั้งหมด เบี้ยมีจำนวนมาก ที่สุด และ ตั้งแถวหน้ากระดานอยู่เบื้องหน้านายทัพนายกองทั้งปวง ที่เป็นเช่นนี้ก็เข้าหลักการรบของไทย หรือของประเทศ ส่วนใหญ่ ซึ่งต้องพิทักษ์รักษาจอมทัพไว้เบื้องหลัง ส่วนทหารเลว ก็ตายเป็นจำนวนไม่ น้อย แต่ ถ้าหากเบี้ยเดินไปถึง ที่มั่นของฝ่ายพลทหารหรือเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามแล้ว เบี้ยก็มีศักดิ์หงาย หรือกลายเป็น เม็ดได้ ดังนั้น เบี้ยเมื่อเลื่อนตำแหน่งแล้ว ก็เปรียบเสมือนหนึ่งองครักษ์ของขุน ในโอกาส ต่อไป ทางเดินเของเบี้ย ให้คืบหน้าไปในแนวตรงโดยตลอดทีละหนึ่งตา ห้ามถอยหลังโดยเด็ดขาด

 
ทางเดินของเบี้ย ใช้การคืบหน้าทีละ ๑ ช่อง ห้ามถอยหลัง


 

แต่เมื่อถึงการกินหรือการทำลายกัน การกินหรือกำจัดฝ่ายตรงข้ามให้กระทำในแนวเฉียงทั้งด้านขวา และ ด้านซ้าย ทางหนึ่งทางใดก็ได้
 
เวลากินหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม กินแนวเฉียง ทั้ง 2 ทาง


 

ในเรื่องของหมากรุกไทยนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งสามารถกินหรือทำลายอีกฝ่ายหนึ่งลงได้แล้ว หมากของอีกฝ่าย หนึ่ง ต้องถูกกำจัดออกไปจากกระดานทันที

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:37:21 am »
หมากรุกไทย > กระดาน ตัวหมาก และวีธีเดิน

-http://www.thenpoor.ws/chess/board_chess.html-


จำนวนตัวหมาก

 
ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องมี ๑๖ ตัว

ก. ขุน ฝ่ายละ ๑ ตัว

ข. เม็ด ฝ่ายละ ๑ ตัว

ค. โคน ฝ่ายละ ๒ ตัว

ง. ม้า ฝ่ายละ ๒ ม้า

จ. เรือ ฝ่ายละ ๒ ลำ

ฉ. เบี้ย ฝ่ายละ ๘ เบี้ย

 

 
ตำแหน่ง การวางหมากรุกไทย

 
กระบวนหมากรุกไทย กำหนดการตั้งหมาก ดังนี้

ก. เรือทั้ง ๒ ลำ วางชิดขอบกระดานด้านริมสุด ทั้งซ้ายและขวา
ข. ม้าทั้ง ๒ ม้า วางชิดกับเรือ ถัดเข้ามา ทั้งซ้ายและขวา
ค. โคนทั้ง ๒ วางเรียงถัดม้าเข้ามา ทั้ง ซ้ายและขวา
ง. ตรงกลาง เหลือ ๒ ตำแหน่ง เป็นที่ตั้ง ขุน กับ เม็ด หลักควรจำคือ เม็ดต้องวางทางขวาของขุน
จ. เบี้ยวางเรียงตามลำดับในช่อง โดยเว้นช่องว่างระหว่างตัวหมากจากเรือทางซ้ายจรดเรือทางขวา ๑ ช่อง

 
การเรียงตัวหมากรุกไทย จึงมีลักษณะนี้



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:39:47 am »
กฏ กติกา การเล่นหมากรุกไทย
-http://www.oknation.net/blog/seri1324/2009/05/14/entry-2-

กลหมากรุก เป็นรูปแบบของหมากรุกทั้งสองฝ่าย ที่ปรมาจารย์หรือผู้ชำนาญได้ค้นคว้า หรือมีประสบการณ์ว่า ถ้าหมากทั้งสองฝ่ายตั้งอยู่ในรูปที่กำหนด ฝ่ายใดเดินก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ และชนะในกี่ทีเรียกว่าเป็นกลหมากรุก และยังมีกุญแจกลเพื่อบอกวิธีการเดินทั้งการไล่ และการหนีที่ดีที่สุดไว้ด้วย มักจะเป็นหมากรุกที่เล่นไปกินไปจนเหลือหมากน้อยตัว เรียกว่า หมากรุกปลายกระดาน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า end play เมื่อสนใจกลหมากรุกใดก็จะตั้งตัวหมากรุกให้ตรงตามกล แล้วพยายามไล่ให้จนตามกำหนด ฝ่ายหนีก็ต้องหนีให้ได้นานตามกำหนด

กลหมากรุก ที่ผู้ชำนาญได้ค้นคว้าไว้นั้น หลายกลจะมีชื่อกำกับไว้ด้วย ชื่อของกลอาจชี้ให้เข้าใจถึง รูปแบบของการตั้งหมาก หรือเป็นคำอธิบายลักษณะการเดิน เช่น จรเข้ข้ามฟาก ปลาดุกยักเงี่ยง พระรามเข้าโกษฐ์ เป็นต้น

หนังสือกลหมากรุกซึ่งมีคุณค่า และถูกอ้างอิงบ่อยที่สุดเล่มหนึ่งคือ ตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เจ้าพระยาอภัยราชา มหายุติธรรมธรให้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2465 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไท ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คำนำ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2465 ซึ่งในบทความนี้ก็ได้อัญเชิญทั้งคำนำ และตำนานหมากรุกไทยไว้ทั้งหมด และเป็นอักขระ สะกด การันต์ตามของเดิมด้วย

การนับ

เมื่อเล่นหมากรุกไปจนทั้งสองฝ่ายต่างเหลือตัวน้อยได้เปรียบเสียเปรียบกันไม่มาก และทั้งสองฝ่ายต้องไม่มีเบี้ยคว่ำ หากจะให้เล่นต่อไปโดยไม่มีกำหนดก็จะเป็นการเสียเวลา จึงกำหนดให้มี การนับ โดยฝ่ายที่เป็นรองจะขอให้มีการนับ และจะเริ่มนับเมื่อมีการร้องขอ ในกรณีนี้จะนับตั้งแต่ 2 เมื่อถูกขอให้นับไปจนถึง 64 เท่ากับจำนวนตาในกระดานหมากรุก เรียกการนับแบบนี้ว่า นับตาม ศักดิ์กระดาน ถ้านับไปถึง 64 แล้วฝ่ายไล่ยังไม่สามารถไล่ให้จนได้ ถือเป็นเสมอกัน

ถ้าฝ่ายเสียเปรียบเหลือ เพียงขุนตัวเดียว ฝ่ายได้เปรียบมีตัวมากกว่าและไม่มีเบี้ยคว่ำ กติกากำหนดให้มีการนับ วิธีนับ ต้องนับตัวหมากรุกทั้งหมดที่มีอยู่ในกระดาน รวมขุนทั้งสองฝ่าย เมื่อฝ่ายหนีเดินครั้งแรกก็ ให้นับต่อจากจำนวนตัวหมากรุกที่มีอยู่ในกระดานขณะนั้น และนับต่อไปจนถึงกำหนดสูงสุดตามศักดิ์ของตัวหมากรุกที่ฝ่ายไล่มีอยู่เรียกว่า ศักดิ์หมาก โดยใช้เกณฑ์ดังนี้ มีหลักจำง่ายๆว่า เรือ 26 โคน 44 ม้า เม็ดหรือเบี้ยหงาย 64 มีรายละเอียดคือ

เรือคู่นับ 8  เรือเดี่ยวนับ 16  โคนคู่นับ 22  โคนเดี่ยวนับ 44  ม้าคู่นับ 32  ม้าเดี่ยวนับ 64   เบี้ยหงายไม่ว่ากี่ตัว 64

(โคน 2 ม้า 2 เบี้ยหงาย 2 นับ 22   ม้า 2 เบี้ยหงาย 3 นับ 32   เรือ 2 เบี้ยหงาย 2 นับ 8 ถือการนับหมากที่มีศักดิ์สูงที่สุด)

ตัวอย่าง ฝ่ายขาวเป็นฝ่ายเดินก่อน รูปที่ 2 ยังไม่เริ่มนับเพราะฝ่ายดำยังมีเบี้ยคว่ำอยู่ สมมติฝ่ายขาวเดินเรือกินเบี้ยคว่ำ จะมีหมากเหลือรวม 5 ตัว ตามรูปที่ 2 ฝ่ายดำเมื่อเดินหนีครั้งแรกจะเริ่มนับ 6 เมื่อนับไปถึงทีที่ 8 ถ้าฝ่ายขาวรุกจนได้ ถือว่าฝ่ายดำแพ้ ถ้าฝ่ายดำสามารถเดินนับ 9 ได้ ถือว่าเสมอกัน โดยไม่ต้องเดินต่อ ตามตัวอย่างนี้ ถ้าฝ่ายขาวยังไม่กินเบี้ยคว่ำในตอนแรก ก็สามารถไล่ให้จนได้โดยไม่ต้องนับ

กิน

หมายถึง การเดินหมากของฝ่ายหนึ่งในเขตอำนาจของหมากตัวนั้น ไปกินหมากฝ่ายตรงกันข้ามได้ โดยฝ่ายกินต้องวางหมากลงไปบนตาของหมากที่ถูกกิน และยกหมากตัวที่ถูกกินออกนอกกระดาน หมากตัวที่จะถูกกินต้องอยู่ในเขตอำนาจของหมากที่จะกิน ฝ่ายตรงข้ามก็จะกินตอบแทนได้ในทำนองเดียวกัน

ในกรณีกินปกติ หมากตัวใดเดินได้อย่างไรก็กินได้ตามตาที่สามารถเดินไปได้แต่มีข้อยกเว้นคือเบี้ยคว่ำซึ่ง เวลาเดินเดินตรงไปข้างหน้าทีละตา แต่เวลากิน ต้องกินตาทะแยงด้านหน้าซ้ายหรือขวาได้สองทิศ แต่ถ้าเบี้ยคว่ำตัวนั้นหงายเป็นเบี้ยหงายแล้ว สามารถเดินและกินตาทะแยงได้ทั้งสี่ทิศ และไม่อาจเดินตรงๆเหมือนเบี้ยคว่ำ

อนึ่ง กติกาหมากรุกไทยไม่ได้บังคับว่าเมื่อถึงตากินแล้ว ต้องกิน จะกินหรือไม่กินก็แล้วแต่ผู้เล่น

กินรุกกิน

ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่ง และตาที่กินนั้นเป็นตาที่รุกขุนได้ด้วย เรียกว่า กินรุก(กินด้วย รุกด้วย)

กินสอง

ในการเล่นปกติถ้าฝ่ายหนึ่ง กินหมากของอีกฝ่ายหนึ่งไปหนึ่งตัว อีกฝ่ายหนึ่ง ก็น่าจะกินหมากของปรปักษ์เป็นการตอบแทน เรียกว่ากินแลกเปลี่ยนกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด สามารถกินหมากฝ่ายตรงข้ามได้สองตัว โดยเสียหมากของตนไปเพียงหนึ่งตัวเรียกว่า กินสอง ถือเป็นการได้เปรียบอย่างหนึ่ง ถ้าตัวที่ได้กินสองตัวมานั้นมีศักดิ์สูง ฝ่ายที่เสียหมากไปสองตัว โดยได้กินคืนมาเพียงตัวเดียวเรียกว่า เสียสอง

แก้ที เป็นที

ในการไล่หมากรุกปลายกระดาน จะมีขณะหนึ่งซึ่งตัวหมากจะตั้งเหมือนกัน แต่ถ้าฝ่ายไล่เดินก่อน จะไล่จนโดยเร็ว ฝ่ายหนีเดินก่อนจะยังไม่จน เรียกว่า หมากเป็นที ฝ่ายไล่ถ้ามีประสบการณ์ก็จะมีวิธีแก้ทีได้ ฝ่ายหนีก็ต้องพยายามหนีให้เป็นที เพื่อฝ่ายไล่ที่ประสบการณ์น้อยจะได้ไล่ไม่จนเร็ว

เมื่อหมากเป็นที ฝ่ายไล่จะต้อง แก้ที คือปรับจังหวะการเดินให้ถูก เพื่อให้สามารถไล่จนได้ในเวลาอันรวดเร็ว การแก้ที มีหลักว่า พยายามบังคับขุนฝ่ายหนีให้เดินอยู่ในตาที่จำกัด เช่น ฝ่ายไล่จะเดินขุนให้เป็นรูปสามเหลี่ยม คือเดินตาตรงสองครั้ง เดินทะแยงหนึ่งครั้ง หรือถ้ามีหมากหลายตัว ฝ่ายไล่อาจเดินหมากตัวอื่นเสียหนึ่งครั้ง เป็นการปรับจังหวะ ขุนฝ่ายหนีจำเป็นต้องเดิน และจะเป็นการแก้ที แบบง่ายๆ การแก้ทีนี้ บางกรณีสลับซับซ้อนผู้สนใจต้องดูจากกลหมากรุก ที่ผู้ชำนาญได้ค้นคว้าแสดงไว้

ตัวอย่าง ทั้งสองรูปฝ่ายขาวเดินก่อน ถ้าดำเดินก่อนจะต้องเดินขุนดำเข้ามุม ฝ่ายขาวจะรุกด้วยโคนทีเดียวจน แต่เมื่อฝ่ายขาวต้องเดินก่อน จึงเรียกว่า หมากเป็นที หรือ เป็นที ในรูปที่ 2 มีหมากตัวอื่นด้วย ฝ่ายขาวเพียงเดินเบี้ยหงายหลังโคนไปตาใดก็ได้ ฝ่ายดำก็จะต้องเดินขุนเข้ามุม ฝ่ายขาวรุกด้วยโคนจน เรียกว่า เป็นการแก้ที หรือแก้จังหวะเดินอย่างง่าย ในรูปที่ 2 ไม่มีหมากตัวอื่น ต้องเดินขุนขาวเป็นรูปสามเหลี่ยม คือเดินตาตรงสองครั้งตาทะแยงหนึ่งครั้ง ขุนขาวจะกลับที่เดิม แต่ขุนดำจะเปลี่ยนที่ หายเป็นที ฝ่ายขาวก็จะรุกจนได้

ขาด

หมายถึง ตัวหมากที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของหมากฝ่ายเดียวกัน คือไม่มีหมากตัวอื่นมาผูก ถ้าฝ่ายตรงข้ามมากินหมากตัวนี้ได้ ก็จะไม่มีโอกาสกินตอบแทน ถือว่าถูกกินเปล่า หรือกินฟรี ถ้าหมากตัวนั้นอยู่ไกลจากขุนหรือหมากตัวอื่นฝ่ายเดียวกัน บางครั้งเรียกว่า ลอย หรือหมากลอย

ขึ้น

หมายถึงการเดินหมากรุกตัวแรก ตอนต้นกระดาน อาจมีการเสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นก่อน หรือเดินก่อน หรือขึ้นหมากก่อน แต่ละคนก็จะมีลีลาการเดินในตอนต้นเกมของตนเอง ตัวอย่างเช่น เปิดหมากหรือขึ้นหมากแบบม้าผูก ในรูปที่ 2 ขึ้นหมากแบบม้าเทียมในรูปที่ 2

ขุนอับ

หมายถึง การที่ขุนไม่สามารถเดินได้ หรือไม่มีตาเดิน โดยไม่ถูกรุก ถ้าขุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอับ และต้องไม่มีหมากตัวอื่นเดินได้ด้วย ให้ถือว่าหมากรุกกระดานนั้นเสมอกัน ไม่ว่าจะมีหมากได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร ตามตัวอย่างในรูปแรก ถือว่าเสมอกัน เพราะขุนอับ และไม่มีหมากตัวอื่นที่จะเดินได้ แต่ถ้ายังมีหมากตัวอื่นเดินได้ตามรูปที่ 2 ก็ต้องเดินหมากตัวอื่น และฝ่ายตรงข้าม อาจเดินหมากมารุกขุนที่อยู่ในที่อับนั้นให้จนได้ และถือเป็นแพ้ ไม่ใช่เสมอ

โคน

เป็นชื่อของตัวหมากรุกไทย ฝ่ายหนึ่งจะมีโคน สอง ตัว บางทีเรียกว่า คน เพราะเข้าใจว่าน่าจะเป็นเหล่าทัพ มีทัพม้า ทัพเรือ และทัพคน แต่ปัจจุบันส่วนมากเรียกว่า โคน บางตำราที่เรียกว่าโคน อธิบายว่าได้พัฒนามาจากตัวหมากรุกสมัยโบราณ เดิมเป็นช้าง

คน ดูโคน

คู่

หมายความว่ามีสองตัว ภาษาหมากรุกมักใช้คำว่า คู่ แทนสองตัว เช่น โคนคู่ ม้าคู่ เรือคู่

จน

หมายความว่า ขุนถูกรุกและไม่มีตาเดิน ไม่สามารถเดินหนีออกจากตารุกได้ถือว่าจน และเป็นฝ่ายแพ้

รุก

หมายความว่า ฝ่ายหนึ่งเดินหมากตัวใดตัวหนึ่ง ยกเว้นขุน เดินเข้าไปถึงตาที่ขุนของฝ่ายตรงข้าม อยู่ในเขตอำนาจของหมากตัวนั้น หรือหมากตัวที่มารุก จะมากินขุนนั่นเอง ขุนฝ่ายที่ถูกรุก จะต้องแก้ไขด้วยการหนีไปจากตาที่ถูกรุกนั้น หรือกินหมากตัวที่มารุก หรือในกรณีเรือ อาจหาหมากตัวอื่นมาปิดทางเรือ เป็นต้น ถ้าไม่มีตาหนี และไม่สามารถแก้ไขให้การรุกยุติได้ ถือเป็นแพ้ เรียกว่า จน ขุนจะรุกขุนด้วยกันเองไม่ได้

จับตัววางตาย

เป็นภาษาพูดหรือกติกา กำหนดว่าถ้าจับหมากตัวไหนต้องเดินตัวนั้น และเมื่อวางลงไปตาไหน ให้ถือว่าเดินไปตานั้นเป็นแน่นอน เปลี่ยนไม่ได้

ตากด

ฝ่ายหนึ่ง เดินเรือไปไว้ในแถวเดียวกับขุนฝ่ายตรงข้าม เรียกว่า เรือกด เป็นการเดินหมากเชิงได้เปรียบ เพราะขุนฝ่ายที่อยู่ในตากด ไม่อาจเดินหมากตัวที่อยู่หน้าขุนได้ เพราะถูกเรือกดบังคับรุกอยู่ ตามตัวอย่าง

ตาโป่ง

ปกติม้าจะต้องเดินตามแบบตาม้า แต่บางครั้งผู้เล่นมือใหม่ หรือมือเก่าอาจเผลอเดินม้าเป็นตาทะแยงมุม เรียกว่าเดินตาโป่ง หรือตาโปร่ง ตามตัวอย่าง

ถูกมุม

มักใช้กับเบี้ยหงาย หรือเม็ดถ้าเบี้ยหงายตัวใด สามารถเดินเข้าตามุมกระดานได้ เรียกว่า เบี้ยถูกมุม ถ้าไม่สามารถเดินเข้ามุมได้ เรียกว่าเบี้ยไม่ถูกมุม ถ้าเป็นเบี้ยคู่หนึ่งผูกกัน เรียกว่า เบี้ยผูก ถ้าเข้ามุมได้ก็เรียก เบี้ยผูกถูกมุม ตามตัวอย่าง มีประโยชน์ในการไล่ตอนปลายกระดาน เบี้ยถูกมุม ไม่ถูกมุมมีวิธีการไล่แตกต่างกัน

ตามตัวอย่าง เบี้ยหงายขาวถูกมุม ซึ่งจะถูกมุมที่อยู่ตรงกันข้ามด้วย แต่ถ้าเดินมาที่มุมด้านขวา เบี้ยหงายตัวเดียวกันนี้ จะเป็นเบี้ยหงายไม่ถูกมุม และจะไม่ถูกมุมที่มุมตรงกันข้ามด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น บางครั้งการไล่ที่จำเป็น ต้องใช้เบี้ยหงายที่ถูกมุมจึงจะไล่ให้จนได้ ผู้ชำนาญจะหนีไปมุมที่เบี้ยหงายไม่ถูกมุม แต่ผู้ไล่ที่ชำนาญต้องพยายามไล่บังคับฝ่ายหนี ให้ไปมุมที่เบี้ยหงายถูกมุม เรื่องนี้เป็นจุดเด่นน่าสนใจของหมากรุกไทย

นางแพลม หรือ อังแพลม

เบี้ยคว่ำของฝ่ายหนึ่ง ถ้าเดินไปหรือกินหมากของฝ่ายตรงข้าม พอดีถึงแถวตั้งเบี้ยคว่ำของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ก็จะมีสิทธิหงาย และจะมีอำนาจเหมือนเม็ด ในขณะที่เบี้ยคว่ำจะหงายเป็นเบี้ยหงายนั้นเรียกว่า อังแพลม อีแพลม นังแพลม หรือนางแพลม และถ้าเบี้ยคว่ำที่เพิ่งหงายนั้นไปทำหน้าที่ด้วยเช่น รุก หรือว่ารุกจน จะเรียกว่า รุกด้วยอังแพลม หรือรุกจนด้วยอังแพลม

ผูก

หมายความว่า หมากตัวหนึ่ง อยู่ในเขตอำนาจของหมากตัวอื่นคุมอยู่ ถ้าฝ่ายตรงข้ามมากินหมากตัวนั้น หมากฝ่ายเดียวกันที่ผูกอยู่หรือคุมอยู ่ก็จะสามารถกินตอบแทนได้ทันที เช่น เบี้ยคว่ำอาจผูกหรือคุมม้าอยู่ ขุนของอีกฝ่ายไม่อาจมากินม้าได้ เป็นต้น ม้าอาจผูกเรือไว้ เบี้ยหงายคู่หนึ่งของฝ่ายเดียวกัน ถ้าอยู่ในตาทะแยง สามารถคุมหรือผูกกันเองได้ เรียกว่า เบี้ยผูก หรือม้าฝ่ายเดียวกันคู่หนึ่ง ต่างอยู่ในตาม้าของกันและกันก็เรียกว่า ม้าผูก

ฝ่ายไล่

ถ้าสองฝ่ายมีตัวหมากรุกไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีกำลังมากกว่า จะได้เปรียบหรือหมากเป็นต่อ เรียกว่าเป็นฝ่ายไล่

ฝ่ายหนี

ฝ่ายที่มีหมากรวมแล้วมีกำลังด้อยกว่า หรือหมากเป็นรองจะเป็นฝ่ายหนี

เดิน

คือการเคลื่อนกำลังของตัวหมากรุกไปตามเขตอำนาจ แต่ละฝ่ายต้องผลัดกันเดินคนละครั้ง สำหรับการเดินคร้งแรกในการแข่งขันต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เป็นผู้เดินก่อนหรือขึ้นก่อน เพราะการเดินก่อนอาจช่วงชิงความได้เปรียบได้

เดินก่อน

ในการแข่งขัน ผู้ที่เสี่ยงทายแล้วได้เป็นผู้เดินหมากก่อนเรียกว่าเป็นผู้เดินก่อน

เดี่ยว

หมายถึง มีหนึ่งตัวหรือตัวเดียว ในภาษาหมากรุกมักใช้คำว่าเดี่ยวแทนหนึ่งตัว หรือตัวเดียว เช่น ม้าเดี่ยว โคนเดี่ยว

เทียม

หมายความว่า อยู่เรียงหน้าเสมอกันคู่กัน ถ้าเป็นเบี้ยหงายฝ่ายเดียวกันคู่หนึ่งถ้าเดินมาชิดกันได้เรียกว่าเบี้ยเทียม ถ้าเดินมาใกล้กันในรูปทะแยงจะเรียกว่าเบี้ยผูก หรือเดินม้ามาอยู่เรียงกัน ก็เรียกว่าม้าเทียม ถ้าม้าอยู่ตาม้าด้วยกันเรียกม้าผูก

เบี้ยผูก

เบี้ยสองตัวหรือหลายตัวเมื่อเดินมาใกล้กันไม่อาจมาเรียงติดกันได้ แต่อยู่ตาทะแยง

เบี้ยสูง

หลังจากการขึ้นหมากแล้ว ฝ่ายหนึ่งสามารถเดินเบี้ยคว่ำขึ้นไปสูงอีกหนึ่งแถวได้ เรียกว่าขึ้นเบี้ยสูง ถ้าสามารถรักษาไว้ไม่ให้เสียเบี้ยสูงนั้นไปถือว่าเป็นการได้เปรียบ

เบี้ยหงาย

ตัวหมากรุกตามปกติจะมีเฉพาะเบี้ยคว่ำ แต่เบี้ยคว่ำของฝ่ายหนึ่ง ถ้าสามารถเดินขึ้นไปถึงแถวตั้งของเบี้ยคว่ำของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ก็จะได้รับการสถาปนาเป็นเบี้ยหงาย ทำหน้าที่เหมือนเม็ด ในขณะที่เบี้ยคว่ำเปลี่ยนสภาพเป็นเบี้ยหงายนั้นเรียก อังแพลม

เป็นต่อ

เมื่อเล่นหมากรุกไประยะหนึ่ง ฝ่ายที่เหลือหมากมีกำลังรวมมากกว่า เรียกว่าเป็นต่อ หรือแม้มีหมากไล่เรี่ยกันแต่มีทางเดินที่ดีกว่าหรือได้เปรียบกว่า ก็เรียกว่าเป็นต่อ ฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังน้อยกว่าหรืออยู่ในทางเดินที่ไม่ดี เรียกว่าเป็นรอง

เป็นที

ในการไล่หมากรุกปลายกระดานจะมีขณะหนึ่งซึ่งตัวหมากจะตั้งเหมือนกัน แต่ถ้าฝ่ายไล่เดินก่อนจะไล่จนโดยเร็ว ฝ่ายหนีเดินก่อนจะยังไม่จน เรียกว่าหมากเป็นที ฝ่ายไล่ถ้ามีประสบการณ์ก็จะมีวิธีแก้ทีได้ ดูแก้ที ฝ่ายหนีก็ต้องพยายามหนีให้เป็นที เพื่อฝ่ายไล่ที่ประสบการณ์น้อยจะได้ไล่ไม่จนเร็ว

ตัวอย่าง ทั้งสองรูป ฝ่ายขาวเดินก่อน ถ้าดำเดินก่อน จะต้องเดินขุนดำเข้ามุม ฝ่ายขาวจะรุกด้วยโคนทีเดียวจน แต่เมื่อฝ่ายขาวต้องเดินก่อน จึงเรียกว่า หมากเป็นที หรือ เป็นที ในรูปที่ 2 มีหมากตัวอื่นด้วย ฝ่ายขาวเพียงเดินเบี้ยหงายหลังโคนไปตาใดก็ได้ ฝ่ายดำก็จะต้องเดินขุนเข้ามุม ฝ่ายขาวรุกด้วยโคนจน เรียกว่าเป็นการ แก้ที หรือแก้จังหวะเดินอย่างง่าย ในรูปที่ 2 ไม่มีหมากตัวอื่น ต้องเดินขุนขาวเป็นรูปสามเหลี่ยม คือเดินตาตรงสองครั้งตาทะแยงหนึ่งครั้ง ขุนขาวจะกลับที่เดิม แต่ขุนดำจะเปลี่ยนที่ หายเป็นที ฝ่ายขาวก็จะรุกจนได้

เป็นรอง

ฝ่ายที่เหลือหมากมีกำลังรวมน้อยกว่า หรืออยู่ในทางเดินที่แคบกว่า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:40:24 am »
กฏ กติกา การเล่นหมากรุกไทย
-http://www.oknation.net/blog/seri1324/2009/05/14/entry-2-

ปิดรุก ดูรุก

เมื่อขุนฝ่ายหนึ่ง ถูกอีกฝ่ายหนึ่งรุกด้วยเรือ ฝ่ายที่ถูกเรือรุกเอาหมากตัวอื่นมาปิดทางเรือ เรียกว่า ปิดรุก ถือว่าการรุกด้วยเรือขณะนั้นยุติ

ปิดรุก รุก

ถ้าหมากตัวที่เอาไปปิดทางเรือ นั้น เมื่อปิดแล้ว ทำหน้ารุกขุนอีกฝ่ายหนึ่งในขณะเดียวกัน เรียกว่า ปิดรุก รุก คือปิดรุก แล้วรุกเป็นการต่อสู้ด้วย

ตามตัวอย่างข้างบน เรือขาวรุกขุนดำ ถ้าฝ่ายดำเดินโคนดำมาที่ตาข้างขุนดำ เรียกว่าปิด หรือปิดรุก แต่ถ้าเดินม้ามาที่ตาเดียวกันนอกจากปิดตาเรือแล้วยังทำการรุกขุนขาวเป็นการตอบแทนด้วย เรียกว่า ปิดรุก รุก คือปิดรุก และรุกฝ่ายขาวด้วย

เปิดรุก

เมื่อขุนดำอยู่ในตากด และในทางเรือของฝ่ายขาวมีหมากของฝ่ายขาวขวางอยู่ เช่นโคน ตามตัวอย่าง ถ้าฝ่ายขาวเดินโคนถอยหลังตาทะแยงมาหลังขุนขาว เรือจะทำหน้าที่รุกทันที เรียกว่า โคน เปิดรุก แต่ถ้าเดินโคนตาทะแยงไปที่หน้าขุนขาว ก็เป็นการเปิดรุกเช่นกัน แต่โคนทำหน้าที่รุกด้วย จึงเรียกว่าโคน เปิดรุก รุก คือทั้งเปิดรุกโดยเรือ พร้อมกับรุกด้วยโคนพร้อมกันทำให้ยากแก่การแก้ไข

เปิดรุก รุก ดู เปิดรุก

เปิดหมาก

หมายถึง ลีลาการเดินหมากตอนต้นกระดาน เพื่อวางแผนช่วงชิงความได้เปรียบ มีรูปแบบการเปิดหมากหลายอย่าง เช่น การเปิดหมากแบบม้าผูก หรือแบบม้าเทียม เป็นต้น ดู ขึ้น

เม็ดเดิม

หมายถึง เม็ดตัวเดิมตั้งแต่เริ่มเล่นหมากรุกกระดานนั้น ถ้าสามารถไล่จนด้วยเม็ดที่มีมาแต่แรก เรียกว่าไล่จนด้วยเม็ดเดิม ถ้าเม็ดเดิมถูกกินไป และต่อมาภายหลังเดินเบี้ยคว่ำไปหงายเป็นเบี้ยหงาย ซึ่งมีอำนาจเหมือนเม็ดทุกประการ แต่ไม่เรียกเบี้ยงหงายตัวใหม่ว่า เม็ด หรือเม็ดเดิม คงเรียกว่าเบี้ยหงาย ผู้ชำนาญจะให้ความสำคัญ และรักษาเม็ดไว้เป็นอย่างดี เพราะช่วยคุ้มกันป้องกันขุนได้ในหลายกรณี

เรือลอย

หมายถึง เรือที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของหมากฝ่ายเดียวกัน คือไม่มีหมากตัวอื่นมาผูกหรือมาคุมไว้ ถ้าฝ่ายตรงข้ามมากินเรือตัวนี้ได้ ก็จะไม่มีโอกาสกินตอบแทน ถือว่าถูกกินเปล่า หรือกินฟรี ยิ่งถ้าเรือตัวนั้นอยู่ไกลจากขุนหรือหมากตัวอื่นฝ่ายเดียวกัน บางครั้งเรียกว่า เรือลอย ผู้มีประสบการณ์ จะเดินหมากรุกให้หมากแต่ละตัวผูกหรือคุมอย่างรัดกุมเสมอ มีเรื่องเล่าว่า ขณะที่คุณลุงผู้มีประสบการณ์สูง เล่นหมากไม่เคยขาด กำลังเล่นหมากรุกอยู่อย่างเพลิดเพลินจริงจัง มีเด็กมาบอกว่า ลุง เรือลอย คุณลุงบอกว่า เรือไม่ลอย เอาม้าผูกอยู่ กว่าจะรู้ว่า เรือที่คุณลุงพายมาเล่นหมากรุกจอดไว้ที่ท่าน้ำนั้นโซ่ขาด เรือลอยไป เรือของคุณลุงก็ลอยตามน้ำไปไกล เสียเวลานานกว่าตามเรือได้ ปัจจุบันก็ยังใช้เป็นที่เล่าขานกันอยู่

ตามตัวอย่าง เรือดำลอย ไม่มีหมากตัวอื่นมาผูกหรือคุ้มกัน แต่เรือขาวมีเบี้ยหงายผูกอยู่

ม้าขโมย

เป็นลีลาการขึ้นหมากแบบหนึ่งที่เดินม้าขึ้นสูงสามารถไปจับเบี้ยได้ถึงสองตัว ทำความลำบากให้ฝ่ายตรงกันข้าม ดูรูปประกอบ ฝ่ายดำขึ้นหมากแบบม้าขโมย

ม้าผูก

เป็นลีลาการเดินหมากตอนต้นกระดาน โดยเดินม้าให้อยู่ในตาที่ม้าผูกกัน

ม้าเทียม ดู เปิดหมาก ขึ้นหมาก

เป็นลีลาการเดินหมากตอนต้นกระดาน โดยเดินม้าให้ดาหน้าเรียงกันทั้งคู่

ไม่ถูกมุม

มักใช้กับเบี้ยหงายหรือเม็ด มีความสำคัญในตอนไล่ให้จนในปลายกระดาน การที่เบี้ยถูกมุก หรือไม่ถูกมุมมีวิธีการไล่ต่างกัน ไม่ถูกมุมหมายถึงเบี้ยหงายที่เดินไป ณ มุมนั้นไม่สามารถเดินเข้าตามุมกระดานได้

รุก

หมายความว่า ฝ่ายหนึ่งเดินหมากตัวใดตัวหนึ่งยกเว้นขุน เดินเข้าไปถึงตาที่ขุนของฝ่ายตรงข้ามอยู่ในเขตอำนาจของหมากตัวนั้น หมายความว่า หมากตัวที่ไปรุกนั้นจะกินขุน ขุนฝ่ายที่ถูกรุกจะต้องแก้ไขด้วยการหนีไปจากตาที่ถูกรุกนั้น หรือกินหมากตัวที่มารุก หรือในกรณีเรือ อาจหาหมากตัวอื่นมาปิดทางเรือ เป็นต้น ถ้าไม่มีตาหนี และไม่สามารถแก้ไขให้การรุกยุติได้ ถือเป็นแพ้ เรียกว่า จน ขุนจะรุกขุนด้วยกันเองไม่ได้

รุกกินเรือ

ในขณะที่เดินหมากตัวใดตัวหนึ่งไปรุกขุนฝ่ายตรงข้ามและในชณะเดียวกันกับที่รุกอยู่ก็เป็นตาที่สามารถกินเรือได้ด้วย เรียกการรุกนั้นว่า รุกกินเรือ และเช่นเดียวกัน ถ้ารุกแล้วสามารถจะกินตัวอื่นก็เรียกในทำนองเดียวกัน เช่น รุกกินโคน รุกกินม้า ฯลฯ ถ้าตัวที่รุกเป็นม้ามักเรียกว่ารุกฆาต แต่จะใช้กับหมากที่รุกตัวอื่นด้วยก็ได้

รุกฆาต

มักใช้กับม้า เมื่อเดินม้าไปรุกขุนฝ่ายตรงกันข้าม ขณะที่รุกขุนอยู่นั้น มีหมากตัวอื่นที่อาจจะถูกม้ากินได้อีกด้วย กรณีทั้งรุกและอาจกินตัวอื่นได้นี้เรียกว่า ม้ารุกฆาต เช่น อาจจะรุกฆาตกินโคน หรือรุกฆาตกินเรือ เป็นต้น รุกฆาตอาจใช้กับหมากตัวอื่นนอกจากม้าได้ด้วย ผู้เล่นหมากรุกฝีมือดี จะสังเกตอยู่เสมอว่าขุนกับหมากตัวอื่นของตน โดยเฉพาะเรือจะอยู่ในตาที่เข้าเกณฑ์ถูกม้ารุกฆาตได้หรือไม่ ผู้ที่เดินม้าเก่ง จะสามารถเดินม้าให้รุกฆาตกินเปล่าหมากของฝ่ายตรงข้ามได้บ่อยๆ

ลอย

ลอย หมายถึง ตัวหมากที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของหมากฝ่ายเดียวกัน คือไม่มีหมากตัวอื่นมาผูกหรือมาคุมไว้ ถ้าฝ่ายตรงข้ามมากินหมากตัวนี้ได้ก็จะไม่มีโอกาสกินตอบแทน ถือว่าถูกกินเปล่าหรือกินฟรี ถ้าหมากตัวนั้นอยู่ไกลจากขุนหรือหมากตัวอื่นฝ่ายเดียวกันเรียกว่า ลอย หรือหมากลอย

ศักดิ์กระดาน

ในกระดานหมากรุก มีตาเดินรวม 64 ตา ในการนับ เพื่อเป็นการตัดสินว่าฝ่ายได้เปรียบ จะสามารถไล่ฝ่ายเสียเปรียบให้จนในกำหนดได้หรือไม่ ถ้าไล่จนในกำหนดถือว่าเป็นฝ่ายชนะ ถ้าไม่สามารถไล่จนในกำหนด ก็ถือว่าเสมอกัน ไม่ว่าหมากจะได้เปรียบมากน้อยเพียงใด ถ้าหมากได้เปรียบเสียเปรียบกันไม่มากเรียกว่า คู่คี่กัน เช่น ฝ่ายหนึ่งมีเรือเดี่ยว อีกฝ่ายหนึ่งมีเรือเดี่ยวกับเบี้ยหงายเดี่ยว ฝ่ายเสียเปรียบอาจขอให้มีการนับ และการนับจะต้องนับตามศักดิ์กระดาน โดยเริ่มนับหนึ่ง เมื่อมีการขอร้องให้นับ จนถึง 64 ถ้านับถึง 64 ฝ่ายได้เปรียบไม่สามารถไล่ให้จนได้ ถือว่าเสมอกัน

ถ้ารุกจนในตานับที่ 64 (สุดท้าย)ถือว่าฝ่ายไล่เป็นฝ่ายชนะ และการรุกจนในตานับครั้งสุดท้ายนี้ ใช้เหมือนกันกับการนับตามศักดิ์หมากตัวอื่นด้วย ในขณะที่กำลังนับด้วยศักดิ์กระดานอยู่นั้น ถ้าฝ่ายเป็นรองหรือฝ่ายหนี ถูกกินหมากอื่นจนหมดเหลือแต่ขุน ก็จะต้องเปลี่ยนไปนับตามศักดิ์หมากทันทีที่ฝ่ายหนีเหลือขุนตัวเดียว ไม่นับต่อจากศักดิ์กระดาน และต้องเริ่มนับตามกติการของการนับตามศักดิ์หมาก

ศักดิ์หมาก

ในการไล่หมากรุกปลายกระดาน ถ้าฝ่ายหนีเหลือขุนตัวเดียว ฝ่ายไล่มีตัวมากกว่าและไม่มีเบี้ยคว่ำ (ถ้ายังมีเบี้ยคว่ำเหลืออยู่จะไม่มีการนับ) จะอนุญาตให้นับได้เท่าใดก็แล้วแต่ชนิด และจำนวนของหมากที่มีอยู่เรียกว่า ศักดิ์หมาก โดยมีกำหนดดังนี้ เรือคู่ นับ 8 เรือเดี่ยว นับ 26 โคนคู่นับ 22 โคนเดี่ยว นับ 44 ม้าคู่ นับ 32 นอกจากนั้นนับ 64 และการเริ่มนับ จะต้องนับจำนวนหมากทุกตัวที่มีอยู่ในขณะจะเริ่มไล่ก่อน รวมขุนทั้งสองฝ่าย แล้วนับต่อไปตามเกณฑ์ดังกล่าว ถ้ามีหมากผสมกันให้นับตามศักดิ์หมากที่สูงสุด

สูตรเม็ด

ตอนขึ้นหมากในตอนแรก ถ้าเล่นกันเองไม่ใช่การแข่งขัน เมื่อเดินเม็ดครั้งแรกอาจตกลงกันว่า เฉพาะการเดินเม็ดครั้งแรกให้เดินเม็ดได้คนละสองครั้งคือ เดินทะแยงสองครั้ง ผู้ดูจะเห็นว่าผู้เล่นเดินเม็ดครั้งแรกตรงไปข้างหน้าทีเดียวสองตา เรียกว่า สูตรเม็ด แต่ในการแข่งขันไม่อนุญาตเช่นนั้น ต้องเดินทีละตาตามเขตอำนาจ

เสมอ

หมายถึง ไม่แพ้และไม่ชนะ หมากรุกเมื่อเล่นไป จนแต่ละฝ่ายเหลือขุนกับหมากตัวอื่น ไม่มากพอที่จะไล่ฝ่ายตรงข้ามให้จนได้ สองฝ่ายอาจตกลงขอเสมอกันได้ หรือถ้ามีตัวหมากรุกที่ได้เปรียบเสียเปรียบกันไม่มาก ฝ่ายเสียเปรียบอาจขอให้มีการนับ ก็จะนับตามศักดิ์กระดาน (ดูการนับ) ถ้านับตามศักดิ์กระดานแล้วยังไล่ไม่จน ถือว่าเสมอ หรือฝ่ายหนีเหลือขุนตัวเดียวฝ่ายไล่มีหมากมากกว่า และไม่มีเบี้ยคว่ำนับตามศักดิ์หมากแล้วไล่ไม่จนถือว่า เสมอ หรือฝ่ายไล่เดินหมากและทำให้ขุนฝ่ายหนีอับ โดยไม่ถูกรุก และไม่มีหมากตัวอื่นที่จะเดินได้ ถือว่า หมากรุกกระดานนั้นเสมอกัน

เสียสอง

เสียหมากไปสองตัวโดยได้กินคืนมาเพียงตัวเดียว ดู กินสอง

หงาย

เบี้ยคว่ำของฝ่ายหนึ่ง ถ้าเดินตรงไปข้างหน้าถึงแถวตั้งเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามได้ เบี้ยคว่ำตัวนั้นจะได้รับสถาปนาให้เป็นเบี้ยหงาย โดยหงายเบี้ยตัวนั้น ทำหน้าที่เหมือนเม็ดทุกประการ เบี้ยคว่ำทุกตัวมีสิทธิหงายได้ ขณะจะหงายเบี้ยที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นนั้นเรียกว่า อังแพลม (ดูอังแพลม)

หงายรุก ดู รุก

ขณะที่กำลังหงายเบี้ยคว่ำอยู่นั้นเมื่อหงายทันทีก็อยู่ในตาที่สามารถรุกขุนฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย เรียกว่าหงายรุก

หมากป้อง

เป็นการลดแต้มต่อของผู้มีฝีมือดี โดยฝ่ายที่มีฝีมือดีต่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีข้อตกลงกันว่า ถ้าอีกฝ่ายหนึ่ง สามารถรุกขุนของฝ่ายมีฝีมือดีจนต้องเดินขุน เพื่อให้หนีจากตารุกถือว่าฝ่ายฝีมือดีเป็นฝ่ายแพ้ทันที

คำเต็มน่าจะมาจากคำว่า หมากป้อง(กัน) แต่ฝ่ายมีฝีมือดีจะต้องเดินหรือไล่อีกฝ่ายหนึ่งให้จนตามกติกาเดิม นับว่าเป็นการลดแต้มต่อที่น่าสนใจ เพราะอีกฝ่ายหนึ่งอาจเอาชนะได้ แม้มีตัวเหลือน้อย เช่น เหลือเบี้ยหงายเพียงสองตัวก็อาจเอาชนะหมากป้องได้ เพราะเพียงแต่ต้องทำให้ขุนเดินหนีจากตารุกเท่านั้น การต่อแบบนี้อาจเรียกว่า การรุกขุนให้เคลื่อนที่ก็ได้ การต่อแบบนี้ ขุนฝ่ายฝีมือดีจะเดินไปได้ เพียงต้องระวังไม่ให้ถูกรุกจนต้องเดินขุนเท่านั้น

เคยมีการต่ออีกแบบว่า ขุนไม่เคลื่อนที่ออกจากที่ตั้งเลย ถ้าอีกฝ่ายหนึ่ง สามารถทำให้ขุนฝ่ายฝีมือดีต้องเดินออกจากที่ตั้งได้ ก็ถือเป็นชนะ การต่อแบบนี้ ความสามารถของทั้งสองฝ่ายคงแตกต่างกันมาก อาจมีการต่อกันแบบอื่นๆอีกได้ เช่น ลดเบี้ยหน้าเม็ด ลดเบี้ยหน้าโคน ยกเม็ด ยกเรือทั้งคู่ หรือยกเรือเดี่ยว หรือลดเรือเป็นเบี้ยหงาย สุดแต่จะตกลงกัน เพื่อให้การเล่นได้สนุกใช้ความสามารถเต็มที่ทั้งสองฝ่าย

หมากเป็นที หมากรุกเป็นที ดู เป็นที แก้ที

หมากกล ดู กลหมากรุก

หมากรุกกล ดู กลหมากรุก

หมากรุกคน

นับเป็นมหรสพหรือการแสดงอย่างหนึ่ง โดยจะมีผู้ชำนาญเล่นหมากรุกกันอยู่จริงๆ และในสนามข้างล่าง ก็จะจำลองทำเวทีให้คล้ายกระดานหมากรุกขนาดใหญ่ มีตัวหมากรุกซึ่งจะใช้คนแต่งตัวตามแบบนาฎศิลป์ เช่น ขุนก็จะเป็นพระราชา โคนก็จะเป็นนักรบ ม้าก็จะเป็นทหารม้ามีม้าเป็นสัญลักษณ์ เรือก็เช่นกัน เบี้ยก็จะเป็นทหารธรรมดา เม็ดก็จะเป็นขุนนาง เมื่อกระดานจริงเดินหมากตัวใด ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงให้สมฐานะของหมากตัวนั้น และ ตัวหมากในสนามก็จะเดินหรือรำไปตามลีลาจังหวะของเพลง เป็นที่สนุกสนาน เมื่อถูกรุก ก็จะมีการต่อสู้กัน ถ้าถูกกินก็จะต้องตายมีเพลงโอด และตัวหมากที่ถูกกินจะต้องเดินเข้าฉากไปปัจจุบันหาดูได้ยาก

หมากรุกปลายกระดาน

เมื่อเล่นหมากรุกไป ก็จะมีการกินกันของทั้งสองฝ่าย หมากแต่ละฝ่ายก็จะเหลือน้อยตัวลงไป เมื่อหมากเหลือน้อยตัว ผู้ที่มีความชำนาญในการเล่นหมากรุกบางคน สามารถจดจำได้ว่าถ้าหมากอยู่รูปนั้น ฝ่ายใดจะได้เปรียบ และควรจะไล่อย่างไร เรียกหมากรุกที่เหลือตัวน้อยว่า หมากรุกปลายกระดาน

หมากรุกชั้นเดียว สองชั้น สามชั้น

ผู้ที่เล่นหมากรุกเป็นใหม่ๆ นึกอยากจะเดินหมากตัวไหน หรือเห็นว่าเดินไปแล้วจะดี ก็จะเดินไปเลย บางครั้งอาจเสียเปรียบคู่ต่อสู้ แต่ผู้ชำนาญจะคิดก่อนว่า ถ้าเดินหมากตัวนี้ไปตานั้น ฝ่ายตรงข้ามจะเดินมาอย่างไรได้บ้าง และเราจะแก้ไขอย่างไร คิดต่อไปหลายครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าเดินไปแล้ว จะไม่เสียเปรียบ ถ้าคิดครั้งเดียวแล้วเดิน ก็เรียกว่า เดินหมากรุกชั้นเดียว จะเป็นในมือใหม่ ถ้าคิดสองรอบก็เรียกว่า หมากรุกสองชั้น คิดมากรอบก็จะเป็น หมากรุกสามชั้นสี่ชั้นเรื่อยไป แต่ถ้าคิดนานไป คู่ต่อสู้ก็จะต้องคอยและเบื่อ บางทีก็บ่นเชิงล้อเลียนว่า เก่งไม่กลัว กลัวช้า หรือ เดินเสร็จแล้วปลุกผมด้วย ฯลฯ ในการแข่งขัน จึงกำหนดให้มีการจับเวลา เพื่อป้องกันปัญหาคิดช้าดังกล่าว

อังแพลม

เบี้ยคว่ำจะเดินตรงไปข้างหน้าได้ทีละตา เมื่อเดินไป หรือกินหมากของฝ่ายตรงข้าม พอดีถึงแถวที่ตั้งเบี้ยของฝ่ายตรงกันข้าม จะมีสิทธิหงายเป็นเบี้ยหงาย และถูกสถาปนาให้เป็นหมากที่มีอำนาจเหมือนเม็ด ในขณะที่เบี้ยคว่ำกำลังจะหงายเป็นเบี้ยหงายอยู่นั้น จะเรียกว่า อังแพลม บางทีก็เรียก อีแพลม นางแพลม หรือนังแพลม ถ้าเผอิญทำหน้าที่รุก หรือรุกจน ขุนฝ่ายตรงข้าม ก็จะพูดว่า ขุนฝ่ายตรงข้ามถูกรุกจนด้วยอังแพลม

อับ

หมายถึง การที่ขุนไม่สามารถเดินได้ หรือไม่มีตาเดิน โดยไม่ถูกรุก ถ้าขุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอับ และต้องไม่มีหมากตัวอื่นเดินได้ด้วย ให้ถือว่าหมากรุกกระดานนั้นเสมอกัน ไม่ว่าจะมีหมากได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร แต่ถ้ายังมีหมากตัวอื่นเดินได้ ก็ต้องเดินหมากตัวอื่น และฝ่ายตรงข้าม อาจเดินหมากมารุกขุนที่อยู่ในที่อับนั้นให้จนได้ และถือเป็นแพ้ ไม่ใช่เสมอ


.

http://www.oknation.net/blog/seri1324/2009/05/14/entry-2

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:42:11 am »
หมากรุกไทย
-http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=22-

"เก่งไม่มีในโลก เพียงแต่เขารู้วิธีมากกว่าเราเท่านั้น"

วิธีเรียนรู้และการสอน(สำหรับอย่างอื่นด้วยครับ)
1.เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน ข้อกำหนด การปฏิบัติเบื้องต้น โดยเลียนแบบและทำตามไปก่อน
2.เรียนรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ โดยเน้นเรื่องที่จำเป็นก่อน
3เรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่ม สามารถจัดหมวดหมู่ และอธิบายได้
4.สะสมความรู้และประสพการณ์ สามารถสร้างแนวทางใหม่เพิ่มเติม โดยมีแนวทางหลักตามที่เรียนมา สอนผู้อื่นตามหลักการ หวังระดับคาดหวังได้ค่อนข้างแน่นอน
5.สูงสุดคืนสามัญ เรียนรู้แนวทางอื่น ปรับใช้ แก้ปัญหาได้ตลอด ไม่ยึดติดแนวใดแนวหนึ่ง สอนผู้อื่นตามความเหมาะสมกับวิถีและระดับการเข้าใจของผู้เรียน
กรอบและแกนการเล่น
1.เริ่มเกม 2.ดำเนินเกม 3.หาทางให้มีเปรียบมากกว่า 4.ทำให้มีโครงสร้างการถูกรุกจน 5.การรุกให้จน 6.การหาทางเสมอ 7.การพลิกสถานการณ์

การแบ่งเพื่อระยะเข้าใจ
...1.ระยะเตรียมพร้อม 2.ระยะดำเนินการและเฝ้าระวัง 3.ระยะแตกหัก 4.และระยะทำลายขั้นสุดท้าย
หรือ
...1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน

สิ่งควรจำและระลึกในใจ และประกอบการคิดหาตัวเดิน

การเล่นแบบไว
-อย่าหลับหูหลับตาเดินตามที่ตั้งใจ
-ดูตัวที่เขาเดินมา และที่เดินก่อนหน้า
-ดูตัวใกล้ ดูตัวไกล จะให้ดี ดูครบ8แนวตั้งและ8แนวนอน
-หาทางให้ได้เปรียบ อย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่าให้เขามีช่องบุก โดยเฉพาะการบุกแบบสายฟ้าแลบ
-ไม่ว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ให้ระลึกว่า มักมีสิ่งที่ตรงข้ามอยู่ด้วยเสมอ อาจแฝงอยู่หรือแสดงออกชัดเจน และผลกระทบอาจมากน้อยต่างกัน
-หาทางขยายความได้เปรียบหรือทำให้ชัดขึ้น แต่อย่าให้ความเสียเปียบที่แฝงอยู่แสดงฤทธิ์ได้ นั่นคือหาหมากเด็ด
-หาทางลดการเสียเปรียบ หรือให้พลิกกลับข้าง และพยายามขยายความได้เปรียบที่มีบ้างให้ชัดเจน แต่หาให้เจอ นั่นคือหาตัวพลิกสถานการณ์
-พยายามอย่าให้พลาด เบี้ย 1ตัว อาจเสียหายทั้งกระดานได้
-อย่าท้อ ปาฏิหารย์มีเสมอ
-อดทนจนกว่ามีการพลาด

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:42:46 am »
หมากรุกไทย
-http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=22-

พื้นฐานการฝึกที่จำเป็น

ในบท "หมากรุกไทย เข้าใจตรงกันเสียก่อน(กติกา)" ได้กล่าวถึงวิธีการเรียนรู้แบบผมเองว่า ควรเข้าใจกฎกติกาเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน จากนั้นเลียนแบบการปฏิบัติจากผู้ที่เป็นอยู่แล้ว โดยดูแล้วทำตาม จากนั้นมาทำด้วยตัวเอง เมื่อเดินตัวได้คล่องแลัวรู้ข้อผิดพลาดเบื้องต้นจากตัวเองแล้ว ก็ต้องจำข้อกำหนดเกี่ยวกับการแพ้ชนะ แล้วจึงมาเรียนรู้พื้นฐานของเรื่องนั้นๆต่อไป

อันนี้คือวิธีเรียนรู้ ในสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ในแต่ละอย่าง

ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่า จะจำทั้งหมดในตอนแรกนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ และจึงต้องรู้พื้นฐานเพื่อการปฏิบัติก่อน และถ้าไม่รู้วิธีชนะ ก็จะชนะไม่ได้ ทำให้เวลาฝึกจะฝึกไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง เหมือนเรือไม่มีหางเสือ (ขัดกับหลักการของผม "MBO... manage by objective การบริหารโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย" )

ดังนั้นหลักท่ใช้เป็นแนวทางลำดับเนื้อหาที่เขียน จึงเน้นค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆจำ และให้ง่ายไว้ก่อน จึงจัดการเขียนเป็นลำดับดังนี้
1.เรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ (ยังไม่ถึงคำว่า Basic)
2.เรียนรู้พื้นฐานBasic จากนั้นเดินเลียนแบบ ทำตามเขาเดิน และฝึกเดินเอง

*เรียนรู้วิธีทำให้ชนะ
* รู้จักวิธีการได้เปรียบเบื้องต้น รู้จักประโยชน์ของของหน้าเบี้ย
* รู้อำนาจของหมาก หน้าที่ที่ควรเป็น ตำแหน่งหมากที่หมากแต่ละตัวจะได้ประโยชน์สูงสุด ในแต่ละรูปหมาก
* รู้รูปหมากหลายรูป (คือรู้แบบการเปิดหมาก การแปรทางเบื้องต้น จุดเด่น จุดอ่อน จุดด้อย จุดแข็ง รูปแบบการโจมตี การทำช่องทางเพื่อยึดตำแหน่งและโจมตี การป้องกันช่องทางขึ้นบุกของเขา และเก็บช่องทางตัวเองไว้ การยึดครองตำแหน่งที่สำคัญ )
* รู้จักวิธีขึ้นรูปและการปรับรูปเมื่อบางตัวขึ้นไม่ได้เต็มรูปแบบ

3.เมื่อคล่อง จึงจะเริ่มเข้าสู่หลักการที่เกี่ยวข้องต่อไป

4.ส่วนระดับสูงๆ อันนี้ผมยังไปไม่ถึงครับ(เป้าหมายแต่ละระยะ การเล่นระยะกลางของเกม การต่อสู้ หมากเด็ด การทำให้จนกลางกระดาน แนวทางคิดแต้มและเลือกตัวเดิน การเล่นกับตัวเองหรือการถอดหมาก )---จะศึกษาไปเรื่อยๆแล้วนำมาเขียนเพิ่มครับ

ตอนนี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ก็ควรรู้กันมาแล้ว ถึงเวลามาเรียนรู้พื้นฐานBasicกันต่อไป

ก่อนอื่นควรเข้าใจแนวทางการเล่น การแบ่งระยะ หรือขั้นตอนการเล่นอันเป็นเบื้องต้นของการเรียนรู้ขั้นเบื้องต้นถึงขั้นกลางก่อนนะครับ เพื่อที่เวลาเรียนรู้จากตำราอื่น จะได้ไม่งง ทั้งนี้เพราะหลายตำราสอนตั้งแต่ ขั้นต้นไปท้ายสุดตามลำดับไป แต่ผมแบ่งตามความเหมาะสมตามรูปแบบ MBOดังกล่าวครับ จึงอาจฝึกสลับจากปลายมาหาต้นได้บ้าง หากไม่รู้ก็อาจงง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่จะเป็นไปในท้ายสุด เมื่อเรียนรู้ครบจะเป็นอันเดืยวกันครับ

แนวทางการเล่นหมากรุกไทย(ขั้นเบสิคสู่ขั้นกลาง)
ผู้ที่เข้ามาอ่านบทนี้ คงจะมีพื้นฐานการเดินตัวและรู้กติกาหลักๆกันแล้วนะครับ เราจะมาเข้าใจแนวทางการเล่น และเป้าหมายการเล่นกันต่อ (จะเห็นว่าผมไม่ได้ใช้คำว่าเป้าหมายของเกม ซึ่งกว้างและลึกซึ้งเกินกว่าผมจะเข้าใจ)
เป้าหมายการเล่นของเกมหมากรุกไทย
อันนี้ขอให้เข้าใจว่าเป็นแนวคิดที่ผมสรุปมา เพื่อการเรียนรู้เท่านั้น เมื่อแตกฉานขึ้น ผู้เรียนรู้อาจได้รับความรู้จากทางอื่นเพิ่ม และเห็นขัดแย้งกับความรู้นี้ ก็แสดงว่าได้พัฒนามากขึ้นกว่าผู้เขียนแล้ว ซึ่งจะนับว่าน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
ในความหมายต่อไป ผมจะกล่าวให้ป็นแบบรูปธรรมซึ่งเห็นและเข้าใจได้ ส่วนในแบบนามธรรมอาจมีบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งถ้างง ขอให้ comment เข้ามานะครับ

เป้าหมายของวิธีเล่นมีแค่คำว่า
"จากจุดเริ่มเกมและมีการดำเนินไปของเกม ต้องหาวิธี หาทางให้ได้เปรียบมากกว่า และพยายามทำให้ฝ่ายตรงข้าม เข้าสู่รูปโครงสร้างการถูกรุกจนแบบใดแบบหนึ่ง แล้วรุกให้จน แต่ถ้าพลาดให้หาทางเสมอไว้ก่อน แล้วพยายามพลิกสถานการณ์ แต่อย่าฝืนความเป็นไปได้ในเกมนั้น"

ถ้าเราแยกคำออกมา จะมีส่วนประกอบวิธีการเล่นหลายส่วนคือ
1.เริ่มเกม 2.ดำเนินเกม 3.หาทางให้มีเปรียบมากกว่า 4.ทำให้มีโครงสร้างการถูกรุกจน 5.การรุกให้จน 6.หาทางเสมอ 7.การพลิกสถานการณ์
ทั้ง 7 นี้คือสิ่งที่ต้องพบและต้องปฏิบัติในทุกๆเกม(จริงๆแล้วควรกล่าวว่า ทุกๆการต่อสู้ เพราะอันนี้คือกฏและทักษะการต่อสู้ทุกกรณี...บอกอีกทีว่า คือความเห็นผม)

ในเรื่องที่แคบลงมาเช่นหมากรุกไทย อาจเคยมีการแบ่งวิธีการเล่นเพื่อให้สะดวกต่อการเรียน การสอนและการคิดไว้หลายแบบ เท่าที่พบก็มี
แบ่งแบบที่หนึ่ง...1.ระยะต้น 2.ระยะกลาง 3.ระยะปลาย
แบ่งแบบที่สอง...1.ระยะเตรียมพร้อม 2.ระยะดำเนินการและเฝ้าระวัง 3.ระยะแตกหัก 4.และระยะทำลายขั้นสุดท้าย
หรือแบบที่สาม...1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน
จะเลือกเข้าใจแบบใดก็แล้วแต่ความชอบนะครับ แต่ทั้งหมดจะมีส่วนประกอบหลักๆแบบที่ผมกล่าวถึงเสมอ

การแบ่งในแบบที่หนึ่งเป็นการแบ่งแบบง่ายๆ
แบบที่สอง เน้นแบ่งให้เข้าใจในรูปแบบที่ค่อนข้างนามธรรม แต่สามารถทำให้คิด และเข้าใจแบบกว้างๆคลอบคลุมแนวคิดหมากรุกไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น และในบางครั้งสามารถปรับการเล่นให้สนุกๆตามสภาพได้ง่าย ขอให้อยู่ใน concept ก็พอ
แบบที่สาม เน้นเป็นขั้นตอนรูปธรรมมากกว่า มองเห็นเป็นการกระทำได้ง่ายๆ จะแบ่งไปตามเหตูการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในช่วงเวลาที่การเล่นดำเนินไป แต่ในบางครั้งก็อาจมีเหตุการณ์อื่นเกิดขึ้นก่อนหรือหลังขั้นตอนที่ระบุในการแบ่งแบบนี้ ก็ขอให้อย่างงนะครับ เพราะในระดับหนึ่งแล้ว บางทีรูปหมากเข้ากับที่เคยเห็นมา และรู้วิธีการโจมตีแล้ว ก็อาจปรับช่วงการเล่นให้เหมาะกับเหตุการณ์ได้...ไม่ถือสาครับ

....ข้อควรจำไว้ก่อนคือ หมากรุกไทยจุดสำคัญต่อเกมคือ เปิดหมากให้ได้เปรียบ แปรทางให้มีประสิทธิภาพ รอบคอบ ไม่สุ่มสี่มุ่มห้าเดิน ส่วนช่วงต่อสู้และเบียดไล่นั้น อยู่ที่ความละเอียดคิดถี่ถ้วนเป็นหลัก
ในบทที่จะเขียนต่อไป อาจมีการแบ่งปะปนกันไปมา ก็ขอเข้าใจเบื้องต้นไว้นะ ขั้นตอนการเรียนรู้ต่อไปอาจจะแปลกๆไปบ้าง เพราะหลายท่านเน้นการสอนตั้งแต่เปิดหมากไปถึงแปรทาง เรื่อยไปจนถึงบทการไล่ แต่ผมขอเริ่มที่รูปแบบการรุกจนและรูปแบบการไล่ที่ควรรู้ เป็นอันดับแรกก่อน เพราะในเวลาเล่นจริง เป้าหมายอันนี้ต้องถูกมองหา และหาทางบรรลุเป้าหมายนี้ก่อนเสมอ
(การเรียนจากต้นไปหาปลาย หรือจากปลายไปหาต้น ผมว่าไม่มีแบบไหนดีกว่าแบบไหน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะเรียนจะสอนมากกว่า)

อันดับแรกก็คือเรียนรู้วิธีทำให้ชนะ ซึ่งเวลาเล่นจะได้เฝ้ามองหา และปฏิบัติทันที เมื่อได้โอกาส เพื่อทำให้เขาจนได้ ไม่ใช่จะชนะอยู่แล้ว ขอแค่เดินให้ถูกตัว แต่ดันมองไม่เห็น เพราะไม่รู้วิธี จึงทำให้เสมอกันไปในที่สุด นั่นคือเราต้องรู้รูปรุกจนและดูให้เป็นกันก่อน

ไปบทต่อไปกันเลยครับ
รูปการรุกจนที่ต้องรู้ การไล่ และหมากขั้นต่ำที่สามารถไล่เพื่อสร้างรูปการรุกจน

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:45:04 am »
.

รายละเอียดเป็นลิงค์ให้ศึกษาค่อนข้างเยอะครับ
-http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=8-

กระดานหมากรุก
ขุน
โคน
เม็ด-เบี้ยหงาย
เบี้ยคว่ำ
ม้า
เรือ
เริ่มฝึกการเดินตัว...ให้คล่อง
หมากรุกไทย เข้าใจตรงกันเสียก่อน(กติกา)
การรุก รุกจน การผูก
การแพ้ชนะ,การเสมอ
รุกล้อ การอับ
การไล่ การนับ
การนับศักดิ์กระดาน
การนับศักดิ์หมาก
พื้นฐานการเล่นหมากรุกไทย
โครงสร้างการรุกจน การไล่ การแก้ที และหมากขั้นต่ำ
รูปรุกจนโดย เรือ ,1ม้า1เม็ด ,1ม้า2เม็ด ,2ม้า1เม็ด,เม็ด
รูปรุกจนโดย 1โคน ,2โคน ,1โคน1เม็ด(หน้าโคน)
รูปรุกจนหลังโคนโดย 1โคน1เบี้ยหงาย(ทั้งตรงมุมและไม่ตรงมุมเบี้ยหงาย)
การรุกจนโดย สองเบี้ย
การไล่ และหมากกลที่ควรรู้
ค่าของหมาก หน้าที่ของหมาก
การได้เปรียบเสียเปรียบ 1
การได้เปรียบเสียเปรียบ 2
มองการได้เปรียบให้เป็น
ฝึกคิดแต้มให้เป็น โดยอาศัยหมากกล
เรียนรู้ในแนวลึกเชิงทฤษฎีของหมากรุกไทย 1
เรียนรู้ในแนวลึกเชิงทฤษฎีของหมากรุกไทย 2

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=8
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: หมากรุกไทย
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:46:27 am »
สอนวิธีการเล่นหมากรุกไทยอย่าเซียน และวิธีนับตาเดิน

-http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=29F7CECB9685ABT41EFVDSZ82W[WFQ-

.

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=29F7CECB9685ABT41EFVDSZ82W[WFQ

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)