ริมระเบียงรับลมโชย > ห้องกีฬาและนันทนาการ

หมากรุกไทย

(1/4) > >>

sithiphong:
หมากรุกไทย

 :08:  :08:  :08:
 :02:  :02:  :02:
 :19:  :19:  :19:  :19:  :19:
 :13:  :13:  :13:  :13:  :13:

.

sithiphong:
หมากรุกไทย > กระดาน ตัวหมาก และวีธีเดิน

-http://www.thenpoor.ws/chess/board_chess.html-


หมากรุกไทย ภูมิปัญญาไทย โดดเด่นแตกต่างจากชาติอื่น ๆ มีสักกี่ประเทศ ที่มีรูปแบบหมากรุก เป็น ของตัวเอง ประเทศที่มีหมากรุก แบบฉบับเฉพาะตัว ล้วนเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงทั้งสิ้น ประเทศไทย คือ ๑ ประเทศที่มีเอกลักษณ์นั้น การเรียนรู้หมากรุกไทย จึงเป็นการเรียนรู้ ความเป็นไทยที่ชัดเจนอีกแขนง

 

ปล. หลายคนบอกประเทศไทยได้รูปแบบหมากรุกมาจากอินเดีย แต่จน ทุกวันนี้ยังไม่เคยเห็น การเล่น หมากรุกแบบอินเดียเลย อาจสาปสูญไปแล้ว ก็ได้

 

 
กระดานหมากรุกไทย

 

กระดานของหมากรุกไทย เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบ่งเป็นทางกว้าง ๘ ช่อง ทางยาว ๘ ช่อง แต่ละช่อง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังนั้นในกระดานแผ่นหนึ่ง จึงมีตาตารางอยู่ทั้งหมด ๖๔ ช่อง

 
ตารางกระดานหมากรุกไทย


การเรียกชื่อตารางหมากรุกไทยนั้นไม่แน่นอน แล้วแต่ความพอใจของเจ้าของตำราหมากรุก เป็นสำคัญ บางคน เรียกไล่ไปตามลำดับ จาก ๑ จนถึง ๖๔



บางแห่ง แบ่งไปอีกแบบหนึ่ง คือ ทางแนวตั้ง หรือแนวนอน เรียกเป็นตัวอักษรไทย คือ ก ข ค ง จ ฉ ช ญ และ ทางอีกแนว หรืออีกแกน เรียกเป็น ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ รวมเป็น ๖๔ ช่องเหมือนกัน เวลาจะเรียก ก็ เรียก ช่อง ก๑ , ญ๘ เป็นต้น

 
กระดานหมากรุกกำหนดตัวเลขปนอักษร



.

sithiphong:
หมากรุกไทย > กระดาน ตัวหมาก และวีธีเดิน

-http://www.thenpoor.ws/chess/board_chess.html-


ตัวหมากรุกไทย

 
ทิศทางการเดินของตัวหมากรุกไทย ทั้ง ๖ ประเภท

 
๑. ขุน

ทำหน้าที่เป็นนายพล หรือ จอมทัพ เดินได้ทีละตา โดยรอบทั้ง ๘ ทิศ มีตาเดินได้ทั้งหมด ๘ ตา

 
ทางเดินของขุน เดินได้ทุกทาง ครั้งละ ๑ ตา มี ๘ ตา




๒. เม็ด

หน้าที่หลักเป็นองครักษ์ของขุน เดินเป็นแนวเฉียง โดยรอบ มี ๔ ตา

 
ทางเดินของเม็ด มี ๔ ตา


 

 
๓. โคน

ทำหน้าที่คล้าย แม่ทัพ รองลงมาจากขุน มีทางเดินเหมือนกับเม็ด แต่เพิ่มอีกหนึ่งตา คือ เมื่อขึ้นไปข้าง หน้า ก็เดินในทางตรงได้ ๑ ตา รวม ๕ ตา

 
ทางเดินของโคน มี ๕ ตา


 

โคน แม้ว่าจะมีแนวทางเดินเพียงสั้น ๆ แต่มีความสำคัญในการเล่นอยู่มาก มีคำกล่าวว่า "ถ้ามีโคนคู่แล้ว ก็เปรียบเสมือนหนึ่งมีขุนอยู่ถึง ๓ ขุนด้วยกัน" คำกล่าวนี้ เป็นความจริง เพราะโคนมีอำนาจ ในการ ป้องกันขุน และสามารถกระทำการรุก ให้อีกฝ่ายหนึ่งหมดทางเดิน และขุนอีกฝ่าย จะไม่สามารถขยับ เขยื้อน เมื่อถูกรุก ทำให้ต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด

 

 
๔. ม้า

เป็นหมากตัวสำคัญมาก ในกระบวนทัพของหมากรุกไทย เพราะเหตุว่า ม้ามีทางเดินไกลกว่าเม็ดหรือโคน แนวทางเดินของม้า จะเฉียงไปก่อน แล้วจึงเดินขึ้นไปในแนวตรง

 
ทางเดินของม้า มี ๘ ตา


หรือ ให้ขึ้นแนวตรงก่อน ๑ ตา แล้วจึงเฉียงไปสองด้านในแนวขวาและซ้ายอีก ๑ ตา หรือ ขึ้นตรงไป 2 ตา ก่อน แล้ววางด้านตาขวาหรือตาซ้ายตามต้องการ ก็ได้่

 





 

ม้าจึงมีแนวทางเดินทั้งหมดจากจุดเดียวถึง ๘ ทางด้วยกัน นักเล่นหมากรุกไทย ที่มีความเก่งกล้าสามารถ บางท่าน ยินยอมเสียเรือ เพื่อเอาม้าไว้ เพราะถ้าได้จังหวะเมื่อไร ก็อาจจะรุกฆาตฝ่ายตรงข้าม และกินฟรี จนมีชัยชนะ แก่ฝ่ายตรงข้ามในที่สุด

 

หมากจะดีหรือไม่ ก็อยู่ที่ม้าเป็นตัวหมากที่สำคัญตัวหนึ่ง ซึ่งบทบาทของม้าในหมากรุกไทยมีอยู่มากด้วยกัน มีคำกล่าวว่า

 

คนที่จะเดินม้าให้เก่งแล้ว ต้องสามารถเดินม้าให้ครบทั้ง ๖๔ ตาของกระดาน
โดยไม่ให้ซ้ำกันเลย แม้แต่ครั้งเดียว

 

สำหรับผู้ที่ฝึกฝน และสนใจในวิชาหมากรุกไทย ก็ลองกระทำดูบ้าง เพราะม้าเป็นยุทธปัจจัย ที่สำคัญอย่าง หนึ่ง ของกระบวนหมากรุกไทย

 

 
๕. เรือ

เป็นอาวุธ หรือหมากที่มีการเดินทางได้ยาวที่สุด มีวิธีการเดินในแนวตรงโดยตลอด อาจจะเดินจากปลาย กระดาน ด้านหนึ่งไปจดปลายอีกด้านหนึ่งของกระดานได้ ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งกีดขวาง หรือหมากตัวอื่น กัน ทาง เดินเอาไว้ เรือจึงเป็น ตัวหมากที่สำคัญมาก นักเล่นหมากรุกที่เพิ่งเล่นเป็นใหม่ ๆ จะไม่ยอมเสียเรือ แลกกับฝ่ายตรงข้ามเลย ทีเดียว เพราะ ส่วนใหญ่ผู้ที่เล่นหมากรุกเป็น จะต้องหัดเดินเรือให้ชำนาญ เสีย ก่อน จึงจะหัดเดินตัวหมากอื่นต่อไป

 
ทางเดินของเรือ แนวตรง ๔ ทิศทาง


 

รูปทางเดินของเรือไปในแนวตรงตามทิศทั้งสี่ จะเดินช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ การเดินของเรือนั้น จะ เดินกี่ช่องก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของผู้เดินเป็นสำคัญ

 

 
๖. เบี้ย

หากจะกล่าวกันแล้ว เบี้ยคือพลทหารประจำในแนวรบนั่นเอง เพราะในหมากรุกทั้งหมด เบี้ยมีจำนวนมาก ที่สุด และ ตั้งแถวหน้ากระดานอยู่เบื้องหน้านายทัพนายกองทั้งปวง ที่เป็นเช่นนี้ก็เข้าหลักการรบของไทย หรือของประเทศ ส่วนใหญ่ ซึ่งต้องพิทักษ์รักษาจอมทัพไว้เบื้องหลัง ส่วนทหารเลว ก็ตายเป็นจำนวนไม่ น้อย แต่ ถ้าหากเบี้ยเดินไปถึง ที่มั่นของฝ่ายพลทหารหรือเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามแล้ว เบี้ยก็มีศักดิ์หงาย หรือกลายเป็น เม็ดได้ ดังนั้น เบี้ยเมื่อเลื่อนตำแหน่งแล้ว ก็เปรียบเสมือนหนึ่งองครักษ์ของขุน ในโอกาส ต่อไป ทางเดินเของเบี้ย ให้คืบหน้าไปในแนวตรงโดยตลอดทีละหนึ่งตา ห้ามถอยหลังโดยเด็ดขาด

 
ทางเดินของเบี้ย ใช้การคืบหน้าทีละ ๑ ช่อง ห้ามถอยหลัง


 

แต่เมื่อถึงการกินหรือการทำลายกัน การกินหรือกำจัดฝ่ายตรงข้ามให้กระทำในแนวเฉียงทั้งด้านขวา และ ด้านซ้าย ทางหนึ่งทางใดก็ได้
 
เวลากินหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม กินแนวเฉียง ทั้ง 2 ทาง


 

ในเรื่องของหมากรุกไทยนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งสามารถกินหรือทำลายอีกฝ่ายหนึ่งลงได้แล้ว หมากของอีกฝ่าย หนึ่ง ต้องถูกกำจัดออกไปจากกระดานทันที

.

sithiphong:
หมากรุกไทย > กระดาน ตัวหมาก และวีธีเดิน

-http://www.thenpoor.ws/chess/board_chess.html-


จำนวนตัวหมาก

 
ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องมี ๑๖ ตัว

ก. ขุน ฝ่ายละ ๑ ตัว

ข. เม็ด ฝ่ายละ ๑ ตัว

ค. โคน ฝ่ายละ ๒ ตัว

ง. ม้า ฝ่ายละ ๒ ม้า

จ. เรือ ฝ่ายละ ๒ ลำ

ฉ. เบี้ย ฝ่ายละ ๘ เบี้ย

 

 
ตำแหน่ง การวางหมากรุกไทย

 
กระบวนหมากรุกไทย กำหนดการตั้งหมาก ดังนี้

ก. เรือทั้ง ๒ ลำ วางชิดขอบกระดานด้านริมสุด ทั้งซ้ายและขวา
ข. ม้าทั้ง ๒ ม้า วางชิดกับเรือ ถัดเข้ามา ทั้งซ้ายและขวา
ค. โคนทั้ง ๒ วางเรียงถัดม้าเข้ามา ทั้ง ซ้ายและขวา
ง. ตรงกลาง เหลือ ๒ ตำแหน่ง เป็นที่ตั้ง ขุน กับ เม็ด หลักควรจำคือ เม็ดต้องวางทางขวาของขุน
จ. เบี้ยวางเรียงตามลำดับในช่อง โดยเว้นช่องว่างระหว่างตัวหมากจากเรือทางซ้ายจรดเรือทางขวา ๑ ช่อง

 
การเรียงตัวหมากรุกไทย จึงมีลักษณะนี้



.

sithiphong:
กฏ กติกา การเล่นหมากรุกไทย
-http://www.oknation.net/blog/seri1324/2009/05/14/entry-2-

กลหมากรุก เป็นรูปแบบของหมากรุกทั้งสองฝ่าย ที่ปรมาจารย์หรือผู้ชำนาญได้ค้นคว้า หรือมีประสบการณ์ว่า ถ้าหมากทั้งสองฝ่ายตั้งอยู่ในรูปที่กำหนด ฝ่ายใดเดินก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ และชนะในกี่ทีเรียกว่าเป็นกลหมากรุก และยังมีกุญแจกลเพื่อบอกวิธีการเดินทั้งการไล่ และการหนีที่ดีที่สุดไว้ด้วย มักจะเป็นหมากรุกที่เล่นไปกินไปจนเหลือหมากน้อยตัว เรียกว่า หมากรุกปลายกระดาน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า end play เมื่อสนใจกลหมากรุกใดก็จะตั้งตัวหมากรุกให้ตรงตามกล แล้วพยายามไล่ให้จนตามกำหนด ฝ่ายหนีก็ต้องหนีให้ได้นานตามกำหนด

กลหมากรุก ที่ผู้ชำนาญได้ค้นคว้าไว้นั้น หลายกลจะมีชื่อกำกับไว้ด้วย ชื่อของกลอาจชี้ให้เข้าใจถึง รูปแบบของการตั้งหมาก หรือเป็นคำอธิบายลักษณะการเดิน เช่น จรเข้ข้ามฟาก ปลาดุกยักเงี่ยง พระรามเข้าโกษฐ์ เป็นต้น

หนังสือกลหมากรุกซึ่งมีคุณค่า และถูกอ้างอิงบ่อยที่สุดเล่มหนึ่งคือ ตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เจ้าพระยาอภัยราชา มหายุติธรรมธรให้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2465 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไท ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คำนำ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2465 ซึ่งในบทความนี้ก็ได้อัญเชิญทั้งคำนำ และตำนานหมากรุกไทยไว้ทั้งหมด และเป็นอักขระ สะกด การันต์ตามของเดิมด้วย

การนับ

เมื่อเล่นหมากรุกไปจนทั้งสองฝ่ายต่างเหลือตัวน้อยได้เปรียบเสียเปรียบกันไม่มาก และทั้งสองฝ่ายต้องไม่มีเบี้ยคว่ำ หากจะให้เล่นต่อไปโดยไม่มีกำหนดก็จะเป็นการเสียเวลา จึงกำหนดให้มี การนับ โดยฝ่ายที่เป็นรองจะขอให้มีการนับ และจะเริ่มนับเมื่อมีการร้องขอ ในกรณีนี้จะนับตั้งแต่ 2 เมื่อถูกขอให้นับไปจนถึง 64 เท่ากับจำนวนตาในกระดานหมากรุก เรียกการนับแบบนี้ว่า นับตาม ศักดิ์กระดาน ถ้านับไปถึง 64 แล้วฝ่ายไล่ยังไม่สามารถไล่ให้จนได้ ถือเป็นเสมอกัน

ถ้าฝ่ายเสียเปรียบเหลือ เพียงขุนตัวเดียว ฝ่ายได้เปรียบมีตัวมากกว่าและไม่มีเบี้ยคว่ำ กติกากำหนดให้มีการนับ วิธีนับ ต้องนับตัวหมากรุกทั้งหมดที่มีอยู่ในกระดาน รวมขุนทั้งสองฝ่าย เมื่อฝ่ายหนีเดินครั้งแรกก็ ให้นับต่อจากจำนวนตัวหมากรุกที่มีอยู่ในกระดานขณะนั้น และนับต่อไปจนถึงกำหนดสูงสุดตามศักดิ์ของตัวหมากรุกที่ฝ่ายไล่มีอยู่เรียกว่า ศักดิ์หมาก โดยใช้เกณฑ์ดังนี้ มีหลักจำง่ายๆว่า เรือ 26 โคน 44 ม้า เม็ดหรือเบี้ยหงาย 64 มีรายละเอียดคือ

เรือคู่นับ 8  เรือเดี่ยวนับ 16  โคนคู่นับ 22  โคนเดี่ยวนับ 44  ม้าคู่นับ 32  ม้าเดี่ยวนับ 64   เบี้ยหงายไม่ว่ากี่ตัว 64

(โคน 2 ม้า 2 เบี้ยหงาย 2 นับ 22   ม้า 2 เบี้ยหงาย 3 นับ 32   เรือ 2 เบี้ยหงาย 2 นับ 8 ถือการนับหมากที่มีศักดิ์สูงที่สุด)

ตัวอย่าง ฝ่ายขาวเป็นฝ่ายเดินก่อน รูปที่ 2 ยังไม่เริ่มนับเพราะฝ่ายดำยังมีเบี้ยคว่ำอยู่ สมมติฝ่ายขาวเดินเรือกินเบี้ยคว่ำ จะมีหมากเหลือรวม 5 ตัว ตามรูปที่ 2 ฝ่ายดำเมื่อเดินหนีครั้งแรกจะเริ่มนับ 6 เมื่อนับไปถึงทีที่ 8 ถ้าฝ่ายขาวรุกจนได้ ถือว่าฝ่ายดำแพ้ ถ้าฝ่ายดำสามารถเดินนับ 9 ได้ ถือว่าเสมอกัน โดยไม่ต้องเดินต่อ ตามตัวอย่างนี้ ถ้าฝ่ายขาวยังไม่กินเบี้ยคว่ำในตอนแรก ก็สามารถไล่ให้จนได้โดยไม่ต้องนับ

กิน

หมายถึง การเดินหมากของฝ่ายหนึ่งในเขตอำนาจของหมากตัวนั้น ไปกินหมากฝ่ายตรงกันข้ามได้ โดยฝ่ายกินต้องวางหมากลงไปบนตาของหมากที่ถูกกิน และยกหมากตัวที่ถูกกินออกนอกกระดาน หมากตัวที่จะถูกกินต้องอยู่ในเขตอำนาจของหมากที่จะกิน ฝ่ายตรงข้ามก็จะกินตอบแทนได้ในทำนองเดียวกัน

ในกรณีกินปกติ หมากตัวใดเดินได้อย่างไรก็กินได้ตามตาที่สามารถเดินไปได้แต่มีข้อยกเว้นคือเบี้ยคว่ำซึ่ง เวลาเดินเดินตรงไปข้างหน้าทีละตา แต่เวลากิน ต้องกินตาทะแยงด้านหน้าซ้ายหรือขวาได้สองทิศ แต่ถ้าเบี้ยคว่ำตัวนั้นหงายเป็นเบี้ยหงายแล้ว สามารถเดินและกินตาทะแยงได้ทั้งสี่ทิศ และไม่อาจเดินตรงๆเหมือนเบี้ยคว่ำ

อนึ่ง กติกาหมากรุกไทยไม่ได้บังคับว่าเมื่อถึงตากินแล้ว ต้องกิน จะกินหรือไม่กินก็แล้วแต่ผู้เล่น

กินรุกกิน

ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่ง และตาที่กินนั้นเป็นตาที่รุกขุนได้ด้วย เรียกว่า กินรุก(กินด้วย รุกด้วย)

กินสอง

ในการเล่นปกติถ้าฝ่ายหนึ่ง กินหมากของอีกฝ่ายหนึ่งไปหนึ่งตัว อีกฝ่ายหนึ่ง ก็น่าจะกินหมากของปรปักษ์เป็นการตอบแทน เรียกว่ากินแลกเปลี่ยนกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด สามารถกินหมากฝ่ายตรงข้ามได้สองตัว โดยเสียหมากของตนไปเพียงหนึ่งตัวเรียกว่า กินสอง ถือเป็นการได้เปรียบอย่างหนึ่ง ถ้าตัวที่ได้กินสองตัวมานั้นมีศักดิ์สูง ฝ่ายที่เสียหมากไปสองตัว โดยได้กินคืนมาเพียงตัวเดียวเรียกว่า เสียสอง

แก้ที เป็นที

ในการไล่หมากรุกปลายกระดาน จะมีขณะหนึ่งซึ่งตัวหมากจะตั้งเหมือนกัน แต่ถ้าฝ่ายไล่เดินก่อน จะไล่จนโดยเร็ว ฝ่ายหนีเดินก่อนจะยังไม่จน เรียกว่า หมากเป็นที ฝ่ายไล่ถ้ามีประสบการณ์ก็จะมีวิธีแก้ทีได้ ฝ่ายหนีก็ต้องพยายามหนีให้เป็นที เพื่อฝ่ายไล่ที่ประสบการณ์น้อยจะได้ไล่ไม่จนเร็ว

เมื่อหมากเป็นที ฝ่ายไล่จะต้อง แก้ที คือปรับจังหวะการเดินให้ถูก เพื่อให้สามารถไล่จนได้ในเวลาอันรวดเร็ว การแก้ที มีหลักว่า พยายามบังคับขุนฝ่ายหนีให้เดินอยู่ในตาที่จำกัด เช่น ฝ่ายไล่จะเดินขุนให้เป็นรูปสามเหลี่ยม คือเดินตาตรงสองครั้ง เดินทะแยงหนึ่งครั้ง หรือถ้ามีหมากหลายตัว ฝ่ายไล่อาจเดินหมากตัวอื่นเสียหนึ่งครั้ง เป็นการปรับจังหวะ ขุนฝ่ายหนีจำเป็นต้องเดิน และจะเป็นการแก้ที แบบง่ายๆ การแก้ทีนี้ บางกรณีสลับซับซ้อนผู้สนใจต้องดูจากกลหมากรุก ที่ผู้ชำนาญได้ค้นคว้าแสดงไว้

ตัวอย่าง ทั้งสองรูปฝ่ายขาวเดินก่อน ถ้าดำเดินก่อนจะต้องเดินขุนดำเข้ามุม ฝ่ายขาวจะรุกด้วยโคนทีเดียวจน แต่เมื่อฝ่ายขาวต้องเดินก่อน จึงเรียกว่า หมากเป็นที หรือ เป็นที ในรูปที่ 2 มีหมากตัวอื่นด้วย ฝ่ายขาวเพียงเดินเบี้ยหงายหลังโคนไปตาใดก็ได้ ฝ่ายดำก็จะต้องเดินขุนเข้ามุม ฝ่ายขาวรุกด้วยโคนจน เรียกว่า เป็นการแก้ที หรือแก้จังหวะเดินอย่างง่าย ในรูปที่ 2 ไม่มีหมากตัวอื่น ต้องเดินขุนขาวเป็นรูปสามเหลี่ยม คือเดินตาตรงสองครั้งตาทะแยงหนึ่งครั้ง ขุนขาวจะกลับที่เดิม แต่ขุนดำจะเปลี่ยนที่ หายเป็นที ฝ่ายขาวก็จะรุกจนได้

ขาด

หมายถึง ตัวหมากที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของหมากฝ่ายเดียวกัน คือไม่มีหมากตัวอื่นมาผูก ถ้าฝ่ายตรงข้ามมากินหมากตัวนี้ได้ ก็จะไม่มีโอกาสกินตอบแทน ถือว่าถูกกินเปล่า หรือกินฟรี ถ้าหมากตัวนั้นอยู่ไกลจากขุนหรือหมากตัวอื่นฝ่ายเดียวกัน บางครั้งเรียกว่า ลอย หรือหมากลอย

ขึ้น

หมายถึงการเดินหมากรุกตัวแรก ตอนต้นกระดาน อาจมีการเสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นก่อน หรือเดินก่อน หรือขึ้นหมากก่อน แต่ละคนก็จะมีลีลาการเดินในตอนต้นเกมของตนเอง ตัวอย่างเช่น เปิดหมากหรือขึ้นหมากแบบม้าผูก ในรูปที่ 2 ขึ้นหมากแบบม้าเทียมในรูปที่ 2

ขุนอับ

หมายถึง การที่ขุนไม่สามารถเดินได้ หรือไม่มีตาเดิน โดยไม่ถูกรุก ถ้าขุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอับ และต้องไม่มีหมากตัวอื่นเดินได้ด้วย ให้ถือว่าหมากรุกกระดานนั้นเสมอกัน ไม่ว่าจะมีหมากได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร ตามตัวอย่างในรูปแรก ถือว่าเสมอกัน เพราะขุนอับ และไม่มีหมากตัวอื่นที่จะเดินได้ แต่ถ้ายังมีหมากตัวอื่นเดินได้ตามรูปที่ 2 ก็ต้องเดินหมากตัวอื่น และฝ่ายตรงข้าม อาจเดินหมากมารุกขุนที่อยู่ในที่อับนั้นให้จนได้ และถือเป็นแพ้ ไม่ใช่เสมอ

โคน

เป็นชื่อของตัวหมากรุกไทย ฝ่ายหนึ่งจะมีโคน สอง ตัว บางทีเรียกว่า คน เพราะเข้าใจว่าน่าจะเป็นเหล่าทัพ มีทัพม้า ทัพเรือ และทัพคน แต่ปัจจุบันส่วนมากเรียกว่า โคน บางตำราที่เรียกว่าโคน อธิบายว่าได้พัฒนามาจากตัวหมากรุกสมัยโบราณ เดิมเป็นช้าง

คน ดูโคน

คู่

หมายความว่ามีสองตัว ภาษาหมากรุกมักใช้คำว่า คู่ แทนสองตัว เช่น โคนคู่ ม้าคู่ เรือคู่

จน

หมายความว่า ขุนถูกรุกและไม่มีตาเดิน ไม่สามารถเดินหนีออกจากตารุกได้ถือว่าจน และเป็นฝ่ายแพ้

รุก

หมายความว่า ฝ่ายหนึ่งเดินหมากตัวใดตัวหนึ่ง ยกเว้นขุน เดินเข้าไปถึงตาที่ขุนของฝ่ายตรงข้าม อยู่ในเขตอำนาจของหมากตัวนั้น หรือหมากตัวที่มารุก จะมากินขุนนั่นเอง ขุนฝ่ายที่ถูกรุก จะต้องแก้ไขด้วยการหนีไปจากตาที่ถูกรุกนั้น หรือกินหมากตัวที่มารุก หรือในกรณีเรือ อาจหาหมากตัวอื่นมาปิดทางเรือ เป็นต้น ถ้าไม่มีตาหนี และไม่สามารถแก้ไขให้การรุกยุติได้ ถือเป็นแพ้ เรียกว่า จน ขุนจะรุกขุนด้วยกันเองไม่ได้

จับตัววางตาย

เป็นภาษาพูดหรือกติกา กำหนดว่าถ้าจับหมากตัวไหนต้องเดินตัวนั้น และเมื่อวางลงไปตาไหน ให้ถือว่าเดินไปตานั้นเป็นแน่นอน เปลี่ยนไม่ได้

ตากด

ฝ่ายหนึ่ง เดินเรือไปไว้ในแถวเดียวกับขุนฝ่ายตรงข้าม เรียกว่า เรือกด เป็นการเดินหมากเชิงได้เปรียบ เพราะขุนฝ่ายที่อยู่ในตากด ไม่อาจเดินหมากตัวที่อยู่หน้าขุนได้ เพราะถูกเรือกดบังคับรุกอยู่ ตามตัวอย่าง

ตาโป่ง

ปกติม้าจะต้องเดินตามแบบตาม้า แต่บางครั้งผู้เล่นมือใหม่ หรือมือเก่าอาจเผลอเดินม้าเป็นตาทะแยงมุม เรียกว่าเดินตาโป่ง หรือตาโปร่ง ตามตัวอย่าง

ถูกมุม

มักใช้กับเบี้ยหงาย หรือเม็ดถ้าเบี้ยหงายตัวใด สามารถเดินเข้าตามุมกระดานได้ เรียกว่า เบี้ยถูกมุม ถ้าไม่สามารถเดินเข้ามุมได้ เรียกว่าเบี้ยไม่ถูกมุม ถ้าเป็นเบี้ยคู่หนึ่งผูกกัน เรียกว่า เบี้ยผูก ถ้าเข้ามุมได้ก็เรียก เบี้ยผูกถูกมุม ตามตัวอย่าง มีประโยชน์ในการไล่ตอนปลายกระดาน เบี้ยถูกมุม ไม่ถูกมุมมีวิธีการไล่แตกต่างกัน

ตามตัวอย่าง เบี้ยหงายขาวถูกมุม ซึ่งจะถูกมุมที่อยู่ตรงกันข้ามด้วย แต่ถ้าเดินมาที่มุมด้านขวา เบี้ยหงายตัวเดียวกันนี้ จะเป็นเบี้ยหงายไม่ถูกมุม และจะไม่ถูกมุมที่มุมตรงกันข้ามด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น บางครั้งการไล่ที่จำเป็น ต้องใช้เบี้ยหงายที่ถูกมุมจึงจะไล่ให้จนได้ ผู้ชำนาญจะหนีไปมุมที่เบี้ยหงายไม่ถูกมุม แต่ผู้ไล่ที่ชำนาญต้องพยายามไล่บังคับฝ่ายหนี ให้ไปมุมที่เบี้ยหงายถูกมุม เรื่องนี้เป็นจุดเด่นน่าสนใจของหมากรุกไทย

นางแพลม หรือ อังแพลม

เบี้ยคว่ำของฝ่ายหนึ่ง ถ้าเดินไปหรือกินหมากของฝ่ายตรงข้าม พอดีถึงแถวตั้งเบี้ยคว่ำของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ก็จะมีสิทธิหงาย และจะมีอำนาจเหมือนเม็ด ในขณะที่เบี้ยคว่ำจะหงายเป็นเบี้ยหงายนั้นเรียกว่า อังแพลม อีแพลม นังแพลม หรือนางแพลม และถ้าเบี้ยคว่ำที่เพิ่งหงายนั้นไปทำหน้าที่ด้วยเช่น รุก หรือว่ารุกจน จะเรียกว่า รุกด้วยอังแพลม หรือรุกจนด้วยอังแพลม

ผูก

หมายความว่า หมากตัวหนึ่ง อยู่ในเขตอำนาจของหมากตัวอื่นคุมอยู่ ถ้าฝ่ายตรงข้ามมากินหมากตัวนั้น หมากฝ่ายเดียวกันที่ผูกอยู่หรือคุมอยู ่ก็จะสามารถกินตอบแทนได้ทันที เช่น เบี้ยคว่ำอาจผูกหรือคุมม้าอยู่ ขุนของอีกฝ่ายไม่อาจมากินม้าได้ เป็นต้น ม้าอาจผูกเรือไว้ เบี้ยหงายคู่หนึ่งของฝ่ายเดียวกัน ถ้าอยู่ในตาทะแยง สามารถคุมหรือผูกกันเองได้ เรียกว่า เบี้ยผูก หรือม้าฝ่ายเดียวกันคู่หนึ่ง ต่างอยู่ในตาม้าของกันและกันก็เรียกว่า ม้าผูก

ฝ่ายไล่

ถ้าสองฝ่ายมีตัวหมากรุกไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีกำลังมากกว่า จะได้เปรียบหรือหมากเป็นต่อ เรียกว่าเป็นฝ่ายไล่

ฝ่ายหนี

ฝ่ายที่มีหมากรวมแล้วมีกำลังด้อยกว่า หรือหมากเป็นรองจะเป็นฝ่ายหนี

เดิน

คือการเคลื่อนกำลังของตัวหมากรุกไปตามเขตอำนาจ แต่ละฝ่ายต้องผลัดกันเดินคนละครั้ง สำหรับการเดินคร้งแรกในการแข่งขันต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เป็นผู้เดินก่อนหรือขึ้นก่อน เพราะการเดินก่อนอาจช่วงชิงความได้เปรียบได้

เดินก่อน

ในการแข่งขัน ผู้ที่เสี่ยงทายแล้วได้เป็นผู้เดินหมากก่อนเรียกว่าเป็นผู้เดินก่อน

เดี่ยว

หมายถึง มีหนึ่งตัวหรือตัวเดียว ในภาษาหมากรุกมักใช้คำว่าเดี่ยวแทนหนึ่งตัว หรือตัวเดียว เช่น ม้าเดี่ยว โคนเดี่ยว

เทียม

หมายความว่า อยู่เรียงหน้าเสมอกันคู่กัน ถ้าเป็นเบี้ยหงายฝ่ายเดียวกันคู่หนึ่งถ้าเดินมาชิดกันได้เรียกว่าเบี้ยเทียม ถ้าเดินมาใกล้กันในรูปทะแยงจะเรียกว่าเบี้ยผูก หรือเดินม้ามาอยู่เรียงกัน ก็เรียกว่าม้าเทียม ถ้าม้าอยู่ตาม้าด้วยกันเรียกม้าผูก

เบี้ยผูก

เบี้ยสองตัวหรือหลายตัวเมื่อเดินมาใกล้กันไม่อาจมาเรียงติดกันได้ แต่อยู่ตาทะแยง

เบี้ยสูง

หลังจากการขึ้นหมากแล้ว ฝ่ายหนึ่งสามารถเดินเบี้ยคว่ำขึ้นไปสูงอีกหนึ่งแถวได้ เรียกว่าขึ้นเบี้ยสูง ถ้าสามารถรักษาไว้ไม่ให้เสียเบี้ยสูงนั้นไปถือว่าเป็นการได้เปรียบ

เบี้ยหงาย

ตัวหมากรุกตามปกติจะมีเฉพาะเบี้ยคว่ำ แต่เบี้ยคว่ำของฝ่ายหนึ่ง ถ้าสามารถเดินขึ้นไปถึงแถวตั้งของเบี้ยคว่ำของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ก็จะได้รับการสถาปนาเป็นเบี้ยหงาย ทำหน้าที่เหมือนเม็ด ในขณะที่เบี้ยคว่ำเปลี่ยนสภาพเป็นเบี้ยหงายนั้นเรียก อังแพลม

เป็นต่อ

เมื่อเล่นหมากรุกไประยะหนึ่ง ฝ่ายที่เหลือหมากมีกำลังรวมมากกว่า เรียกว่าเป็นต่อ หรือแม้มีหมากไล่เรี่ยกันแต่มีทางเดินที่ดีกว่าหรือได้เปรียบกว่า ก็เรียกว่าเป็นต่อ ฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังน้อยกว่าหรืออยู่ในทางเดินที่ไม่ดี เรียกว่าเป็นรอง

เป็นที

ในการไล่หมากรุกปลายกระดานจะมีขณะหนึ่งซึ่งตัวหมากจะตั้งเหมือนกัน แต่ถ้าฝ่ายไล่เดินก่อนจะไล่จนโดยเร็ว ฝ่ายหนีเดินก่อนจะยังไม่จน เรียกว่าหมากเป็นที ฝ่ายไล่ถ้ามีประสบการณ์ก็จะมีวิธีแก้ทีได้ ดูแก้ที ฝ่ายหนีก็ต้องพยายามหนีให้เป็นที เพื่อฝ่ายไล่ที่ประสบการณ์น้อยจะได้ไล่ไม่จนเร็ว

ตัวอย่าง ทั้งสองรูป ฝ่ายขาวเดินก่อน ถ้าดำเดินก่อน จะต้องเดินขุนดำเข้ามุม ฝ่ายขาวจะรุกด้วยโคนทีเดียวจน แต่เมื่อฝ่ายขาวต้องเดินก่อน จึงเรียกว่า หมากเป็นที หรือ เป็นที ในรูปที่ 2 มีหมากตัวอื่นด้วย ฝ่ายขาวเพียงเดินเบี้ยหงายหลังโคนไปตาใดก็ได้ ฝ่ายดำก็จะต้องเดินขุนเข้ามุม ฝ่ายขาวรุกด้วยโคนจน เรียกว่าเป็นการ แก้ที หรือแก้จังหวะเดินอย่างง่าย ในรูปที่ 2 ไม่มีหมากตัวอื่น ต้องเดินขุนขาวเป็นรูปสามเหลี่ยม คือเดินตาตรงสองครั้งตาทะแยงหนึ่งครั้ง ขุนขาวจะกลับที่เดิม แต่ขุนดำจะเปลี่ยนที่ หายเป็นที ฝ่ายขาวก็จะรุกจนได้

เป็นรอง

ฝ่ายที่เหลือหมากมีกำลังรวมน้อยกว่า หรืออยู่ในทางเดินที่แคบกว่า

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version