ผู้เขียน หัวข้อ: 40 เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพ (ตอนที่ 1)  (อ่าน 1725 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

40 เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพ (ตอนที่ 1)

-http://hilight.kapook.com/view/73419-

-http://www.fotoinfomag.com/-




สรุปข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

         ใครที่รักการถ่ายภาพ วันนี้เรามีเทคนิคการถ่ายภาพจากช่างภาพมืออาชีพ กับ 40 เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพ ที่สามารถเปลี่ยนภาพถ่ายธรรมดา ให้เป็นภาพถ่ายที่สวยงามมีลูกเล่นภายในพริบตา โดยบทความนี้ จะแบ่ง 40 เทคนิค ออกเป็น 2 ตอน ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านพร้อมแล้ว ก็สามารถอ่าน 40 เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพ (ตอนที่ 1) อย่างคร่าว ๆ ได้เลยครั



1. As Fast, As it move

         การถ่ายภาพเคลื่อนไหว มีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ การถ่ายแบบสต็อปแอ็คชั่น โดยใช้ชัตเตอร์สูง หรือการถ่ายแบบให้วัตถุมีการเคลื่อนไหว ใช้ชัตเตอร์ต่ำ พร้อมกับแพนกล้องไปด้วย ก็จะทำให้พื้นหลังภาพเกิดการเบลอ ขณะที่จุดโฟกัสของภาพก็จะชัดขึ้น

  2. แพนกล้อง กับเลนส์มุมกว้าง

         ปกติการแพนกล้อง ถ่ายภาพวัตถุในแนวระนาบเดียวกัน โดยใช้เลนส์เทเล ที่มีความยาวโฟกัสสูง หากปรับความเร็วชัตเตอร์ให้อยู่ในระดับต่ำ จะทำให้ภาพดูเคลื่อนไหว ได้เช่นกัน แม้ว่าจะไม่สามารถไปถ่ายภาพในระยะใกล้ ๆ ได้ก็ตาม แต่ข้อเสียคือ ฉากหลังของภาพจะถูกบีบให้แคบ จนไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ ดังนั้นจึงลองเปลี่ยนไปใช้เลนส์มุมกว้าง แทนเลนส์เทเล ก็อาจจะช่วยให้เก็บรายละเอียดในฉากหลังได้ดียิ่งขึ้น

  3. ระยะโฟกัสใกล้สุด

         แม้ว่าเลนส์มุมกว้างจะมีสัดส่วนที่บิดเบือน แต่ก็มีข้อดีตรงที่ เลนส์นี้มีระยะโฟกัสระยะสั้น ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดความคมชัดของระยะใกล้ ๆ ได้มาก และเก็บรายละเอียดของพื้นหลังได้กว้างด้วย สำหรับวิธีการถ่ายภาพ ให้ปรับระบบโฟกัสแบบแมนนวล และหมุนวงแหวนโฟกัสไประยะใกล้สุด

  4. flash hilight

         แสงแฟลชไม่ได้มีดีเพียงแค่การช่วยทำให้ถ่ายภาพในที่มืดสว่างเท่านั้น แต่สามารถทำให้ภาพที่ถ่ายในที่สว่าง โดดเด่นยิ่งกว่าเดิมได้ เพียงแค่เปิดรูรับแสงให้กว้าง และยิงแฟลชไปที่วัตถุที่ต้องการถ่าย ก็จะทำให้ภาพโดดเด่นแล้ว แต่ข้อผิดพลาดที่คนมักทำกันคือ ทำให้ฉากหลังติดแสงแฟลชไปด้วย ซึ่งจะทำให้ความโดดเด่นของวัตถุนั้นหมดไป



5. Fundmental Conceptual

         การเพิ่มคุณค่าของภาพที่ถ่าย มีวิธีที่นิยมใช้กันคือ การระบุคอนเซ็ปต์ของภาพ หรือ conceptual แบบในงานศิลปะ เพื่อทำให้ภาพถ่ายดูเป็นศิลปะมากขึ้น และที่สำคัญคือตรงกับวัตถุประสงค์อีกด้วย ซึ่งการระบุคอนเซ็ปต์ของภาพ ต้องทำงานกันเป็นทีม เช่น ซับเจ็กต์ในภาพ ช่างทำผม แต่งหน้า หรือเสื้อผ้า ก็ต้องเข้าใจคอนเซ็ปต์ของภาพที่จะถ่ายไปในทิศทางเดียวกัน งานถึงจะผ่านไปได้ด้วยดี



6. เล่นกับแสงและเงา จากธรรมชาติ

         การเล่นแสงและเงาจากธรรมชาติ ส่วนมากใช้กับภาพถ่ายในที่ร่ม แต่มีแสงจากธรรมชาติลอดผ่านมาเล็กน้อย ซึ่งการจัดตำแหน่งของ subject ภาพให้เหมาะสม คือการยืนตำแหน่งที่เฉียงจากแสงที่ลอดมาจากด้านข้าง จะทำให้ ภาพดูโดดเด่น และมีมิตมากขึ้น




7. ใช้แฟลชเปลี่ยนโทนภาพ เปลี่ยนอารมณ์ภาพ

         ปัจจุบันเทคนิคแยกแฟลช ถือเป็นสิ่งที่ช่างภาพหลายคนใช้กันมาก และหน้าที่หลักของแฟลชคือ ใช้ในเวลาต้องการแสงสว่างเนื่องจากฉากมืด อย่างไรก็ตาม แฟลชก็สามารถใช้ในกรณีที่ฉากสว่างได้เช่นกัน ถือเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทำให้โทนภาพเปลี่ยน หรือวัตถุในภาพ เด่นขึ้นมาได้ ก็คือ ทำให้ตัวซับเจ็กต์สว่างขึ้น ส่งผลให้ฉากหลังมีโทนที่มืดลง ทำให้อารมณ์ของภาพเปลี่ยนได้เช่นกัน



8. สร้างแววตาง่าย ๆ จากชายคา

         การถ่ายภาพบุคคล สิ่งที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ของภาพที่สุด นั่นคือ แววตา โดยเฉพาะภาพครึ่งตัว หรือภาพที่ถ่ายแต่ใบหน้า จะยิ่งชัดเจนที่สุด ซึ่งการถ่ายภาพดวงตาให้สื่ออารมณ์ออกมาดี ก็มีเทคนิคเช่นเดียวกันคือ การสร้างเงาสะท้อนดวงตาขึ้นมา เพียงแค่หาวัตถุที่มีความสว่าง เช่น รถสีขาว ม้าหิน ฯลฯ มาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้พื้นที่เกิดความสว่าง อย่างไรก็ตาม เทคนิคที่ดีที่สุด คือ การถ่ายภาพจากใต้ชายคา ด้วยการหันหลังชิดกำแพง จะได้แววตาที่โดดเด่น จากแสงที่พ้นชายคาออกไปนั่นเอง



9. Street Portrait

         ภาพแนว Street Portrait เป็นการถ่ายภาพแบบวิถีชีวิตในแบบธรรมชาติในอริยาบถต่าง ๆ ปราศจากการปรุงแต่ง เหมือนกับไม่มีใครกำหนดชะตาชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต้องการรู้จักถึงตัวตนของบุคคลที่เราแอบถ่ายจริง ๆ ก็จะมองหาจังหวะ เพื่อสานสัมพันธ์กับบุคคลนั้นต่อไป



10. คุณชัดเจนพอหรือยัง?

         มีเทคนิคหนึ่งสำหรับช่างถ่ายภาพที่ทำให้ตัวบุคคลเกิดความโดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ การเปิดรูรับแสงให้กว้าง ทว่า ปัญหาที่พบคือ ถ้าเปิดจากจอคอมพิวเตอร์ ก็จะทำให้ภาพดังกล่าวชัดแค่บางส่วน แต่บางส่วนไม่ชัด โดยเฉพาะภาพคู่ของคนสองคน ที่บางครั้งคนหนึ่งอาจจะชัด แต่คนที่อยู่ข้าง ๆ ไม่ชัดเลย ดังนั้นการเปิดรูรับแสงก็ควรเช็คสักนิดว่า พอดีหรือยัง เพื่อภาพที่สมบูรณ์



11. Profile Portrait

         การถ่ายภาพบุคคล ถือเป็นการแสดงออกถึงบุคลิกลักษณะของบุคคลที่เราถ่าย แต่ทั้งนี้ ก็มีการถ่ายภาพอีกแนวหนึ่ง เรียกว่า Profile Portrait  ที่เป็นการถ่ายภาพบุคคลจากด้านข้าง ในลักษณะที่แสงธรรมชาติมาทางด้านหลัง ทำให้เห็นโครงใบหน้าตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เห็นเส้นขอบของอวัยวะต่าง ๆ อย่างชัดเจน เพื่อการสื่ออารมณ์ของภาพได้ดียิ่งขึ้น



12. แสงเงาแห่งชีวิต

         ผู้เขียนได้เดินผ่านบ้านหลังหนึ่ง มีแสงเงาทอดผ่าน พื้นไม้กระดานวาววับ ด้านหลังเป็นพื้นที่โปร่ง ซึ่งเป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตอย่างหนึ่งได้อย่างดีทีเดียว




13. การใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อถ่ายภาพคน

         การถ่ายภาพที่ถ่ายทอดอารมณ์ของคนได้ดี ดูมีมิติ ไม่แบน มักปล่อยให้แสงกระทบลงมาจากด้านข้างของใบหน้าทำมุม 45 องศา แต่การใช้เลนส์มุมกว้างไปด้วย ก็ทำให้เกิดผลดีได้เช่นกัน แม้ว่าเลนส์มุมกว้าง จะทำให้ภาพผิดสัดส่วน เพียงแค่ใช้เวลาจัดวางมุมดี ๆ และแยกให้ออกว่าอันไหนคือ พื้นหลัง อันไหนคือ ด้านหน้าก็เพียงพอแล้ว





14. หยอดแสงแฟลช

         แม้ว่าแสงธรรมชาติจะมีคุณภาพสูงกว่าแสงแฟลชก็ตาม แต่ในบางครั้ง แสงธรรมชาติ ก็ต้องการแสงแฟลชช่วย เพื่อทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น โดยการหยอดแสงแฟลช ลงในตัววัตถุ เพื่อทำให้ตัววัตถุเด่นขึ้นนั่นเอง



  15. SNAP PORTRAIT

         หมายถึง การถ่ายภาพบุคคลในอากัปกิริยาที่เป็นธรรมชาติ เพื่อต้องการสื่ออารมณ์อะไรบางอย่างออกมา โดยที่บุคคลที่ถูกถ่ายอาจจะไม่รู้ตัวเลย ซึ่งการถ่ายภาพ SNAP PORTRAIT มักเป็นวิธีที่ดีสำหรับคนที่ต้องการถ่ายบุคคลที่ไม่ใช่นางแบบนายแบบมืออาชีพ เนื่องจากคนเหล่านี้ มักโพสท่าได้ไม่เป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม หลักสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพแนวนี้คือ การถ่ายภาพต้องไม่ทำให้บุคคลในภาพเสื่อมเสียชื่อเสียง



 
  16. SHOOT LARGE PEOPLE

         เทคนิคการถ่ายภาพคนอ้วนให้ออกมาแล้วดูดี เพรียวกว่าตัวจริง มี 6 วิธีด้วยกัน คือ

         ถ้าเป็นไปได้ควรใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงสุด เพราะจะทำให้ภาพถูกบีบแน่นมากขึ้น
         ห้ามถ่ายภาพคนอ้วนจากมุมต่ำ
         ควรถ่ายภาพจากมุมสูง จะช่วยให้ตัวดูเพรียวขึ้นได้
         ถ้าถ่ายภาพบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถใช้คนเล็กกว่า บังบางส่วนของคนที่ตัวใหญ่กว่าได้
         เลี่ยงการถ่ายภาพร่างกายทั้งหมด แต่เน้นเฉพาะส่วน เช่น ถ่ายตั้งแต่ไฟล่ขึ้นไป
         ถ่ายภาพบุคคลหลาย ๆ คนมาก ๆ ควรจัดท่าให้เบียด ๆ กัน เพื่อลดการเห็นทุกส่วนของร่างกาย




  17. Size Does Matter

         การถ่ายวัตถุชนิดใหญ่ ๆ ในบางครั้ง เกิดอาการที่คาดไม่ถึงคือ วัตถุที่ถ่าย แม้ว่าจะใหญ่ แต่กลับไม่รู้สึกโดดเด่น ซึ่งมีวิธีแก้อย่างง่าย ๆ คือการนำวัตถุเล็ก ๆ ไปอยู่ในองค์ประกอบ เพื่อทำให้วัตถุใหญ่มีตัวเปรียบเทียบนั่นเอง




  18. การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ โดยเทคนิคการใช้ฉากหน้า

         การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ส่วนมากมักถ่ายโดยใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อถ่ายเก็บรายละเอียดทั้งหมดให้ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ถ่ายภาพแบบนี้ มักทำให้ภาพขาดความโดดเด่น ดูเวิ้งว้าง ดังนั้นวิธีแก้คือ หาฉากหน้าให้แก่ภาพ ซึ่งจะเป็นฉากหน้าแบบธรรมชาติหรือทำเองก็ได้ โดยที่หาจุดโฟกัสที่ตำแหน่ง 1 ใน 3 ของภาพ




  19. รอยคลื่น ริ้วฟ้า และหมอกแห่งท้องทะเล

         การถ่ายภาพในช่วงเวลาทองที่สุด คือการถ่ายภาพแสงเวลาเช้าและเย็น เพราะแสงจะสวยงามกว่าเวลาอื่น ซึ่งการถ่ายภาพแสงเวลาเช้า-เย็น จะสวยงามที่สุด เมื่อถ่ายคู่กับเกลียวคลื่น หรือ Seascape โดยการถ่ายในจังหวะที่คลื่นกำลังวิ่งเข้าหาฝั่ง และปรับค่าหน้ากล้องให้ได้สปีดต่ำ ๆ จะทำให้คลื่นที่ซัดเข้ามา ออกมาเป็นหมอกควัน




  20. Star Trail เส้นทางของดวงดาวและผืนฟ้ายามค่ำ

         นอกจากการถ่ายภาพแสงอาทิตย์ยามเช้าและยามเย็นแล้ว การถ่ายภาพดวงดาวในยามค่ำคืน ก็เป็นการถ่ายภาพธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง ที่สวยงามไม่แพ้กัน เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการถ่ายภาพดวงดาวบนท้องฟ้าให้น่าสนใจ นั่นคือการจัดหน้าฉาก หาทิศที่เหมาะสม ซึ่งส่วนมากจะหันไปทางทิศเหนือ ใช้ดาวเหนือเป็นหลัก และขณะที่ถ่ายก็ควรปรับค่า ISO กล้องเหลือ 100 ค่าเอฟสตอปที่ f/5.6 หรือ f/8


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
-http://www.fotoinfomag.com/-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)