ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค  (อ่าน 5664 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ภาพโดยคุณเนติ พิเคราะห์ คณะวิจิตรศิลป์
ม.เชียงใหม่

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
01.เรื่องบรรพชิต 3 รูป

 
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภบรรพชิต 3 รูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อโยเค  ยุญฺชมตฺตานํ  เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง   ที่กรุงสาวัตถี   บุตรคนเดียวของครอบครัว  ออกบวชเป็นภิกษุก่อน ไปอยู่ในสำนักของภิกษุ ต่อมาบิดาก็ออกบวชตามบุตร  ไปอยู่ในสำนักของภิกษุเช่นเดียวกับบุตร  ต่อมามารดาก็ตามสามีและบุตรไปบวชเป็นภิกษุณี
อยู่ในสำนักภิกษุณี   ทั้งสามคนแม้จะบวชแล้วก็ยังไปมาหาสู่กัน  วันๆหมดไปด้วยการไปพบปะสนทนากันอยู่เป็นประจำ  ในสำนักของภิกษุบ้าง  ในสำนักของภิกษุณีบ้าง  จนเป็นที่เดือดร้อนรบกวนแก่ภิกษุและภิกษุณีอื่นๆ  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพฤติกรรมของบรรพชิตทั้งสามแด่พระศาสดา   และพระศาสดาได้ตรัสเรียกบรรพชิตทั้งสามรูปนั้นมาว่ากล่าวตักเตือน  แล้วตรัสว่า “ชื่อว่าการทำเช่นนี้  จำเดิมแต่กาลแห่งตนบวชแล้ว  ไม่ควร  เพราะว่า  การเห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก  และการเห็นสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก  เป็นทุกข์โดยแท้  เหตุนั้น  การทำสัตว์และสังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง  ให้เป็นที่รัก  หรือไม่ให้เป็นที่รัก  ย่อมไม่ควร
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สามพระคาถานี้ว่า

อโยเค  ยุญชมตฺตานํ
โยคสฺมิญฺจ  อโยชยํ
อตฺถํ  หิตฺวา  ปิยคฺคาหี
ปิเหตตฺตานุโยคินํ  ฯ

(อ่านว่า)
อะโยโค  ยุนชะมัดตานัง
โยคัดสะมินเจ  อะโยชะยัง
อัดถัง  หิดตะวา  ปิยักคาฮี
ปิเหตัดตานุโยคินัง.

มา  ปิเยหิ  สมาคญฺฉิ
อปฺปิเยหิ  กุทาจนํ
ปิยานํ  อทสฺสนํ  ทุกฺขํ
อปฺปิยานญฺจ  ทสฺสนํ ฯ

(อ่านว่า)
มา  ปิเยหิ   สะมาคันฉิ
อับปิเยหิ  กุทาจะนัง
ปิยานัง  อะทัดสะนัง  ทุกขัง
อับปิยานันจะ  ทัดสะนัง.
 

ตสฺมา  ปิยํ  น  กยิราถ
ปิยาปิโย  หิ  ปาปโก
คนฺถา  เตสํ  น  วิชฺชนฺติ
เยสํ  นตฺถิ  ปิยาปิยํ ฯ

(อ่านว่า)
ตัดสะหมา  ปิยัง  นะ  กยิราถะ
ปิยาปิโย  หิ  ปาปะโก
คันถา  เตสัง  นะ  วิดชันติ
เยสัง  นัดถิ  ปิยาปิยัง.

(แปลว่า)
บุคคล  ประกอบตนไว้ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ
และไม่ประกอบไว้ในสิ่งอันควรประกอบ
ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์
ถือเอาอารมณ์อันเป็นที่รัก
ย่อมทะเยอทะยาน
ต่อบุคคลผู้ตามประกอบตน.

บุคคลอย่าสมาคมกับสัตว์และสังขารทั้งหลาย
อันเป็นที่รัก(และ) อันไม่เป็นที่รัก ในกาลไหนๆ
เพราะว่า  การไม่เห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก  เป็นทุกข์.


เพราะเหตุนั้น  บุคคลไม่พึงกระทำสัตว์หรือสังขาร  ให้เป็นที่รัก
เพราะความพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เป็นการต่ำทราม
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย  ของเหล่าบุคคลผู้มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก  ย่อมไม่มี
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดปัตติผลเป็นต้น  ฝ่ายชนทั้ง 3  นั้นคิดว่า  พวกเราไม่อาจอยู่พรากกันได้  ไปสึกออกไปอยู่บ้านตามเดิม.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 04:43:00 pm »


                     
                       ผลงานของ ผศ.สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์

02. เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ปิยโต  ชายเต  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  กุฏุมพีผู้หนึ่งเสียใจเมื่อบุตรถึงแก่ความตาย   เขาจึงมักเข้าไปร้องไห้อยู่ในป่าช้า  ในเช้าวันหนึ่ง  พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลก ในเวลาใกล้รุ่ง  ทรงเห็นว่ากุฎุมพีนั้นจักได้บรรลุโสดาปัตติผล  เมื่อทรงกลับจากบิณฑบาตแล้ว  ได้ทรงพาภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ(พระติดตาม)รูปหนึ่ง  เสด็จไปที่ประตูบ้านของกุฎุมพีนั้น  เมื่อกุฎุมพีทราบว่าพระศาสดาเสด็จมา  จึงอัญเชิญพระศาสดาให้เสด็จเข้าบ้าน  ปูอาสนะตรงกลางบ้าน  เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว  ก็เข้าถวายบังคม แล้วนั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง  พระศาสดาตรัสถามกุฎุมพีว่ามีความทุกข์ด้วยเรื่องอะไร  เมื่อกุฎุมพีตอบว่าทุกข์เพราะพลัดพรากจากบุตรที่เสียชีวิต   ตรัสว่า “อย่าคิดไปเลย  อุบาสก  ชื่อว่าความตายนี้ มิใช่มีอยู่ในที่เดียว  และมิใช่มีจำเพาะแก่บุคคลเดียว ก็ชื่อว่าความเป็นไปของภพภูมิ ยังมีอยู่เพียงใด  ความตายก็ย่อมมีแก่สรรพสัตว์เพียงนั้นเหมือนกัน  แม้แต่สังขารอันหนึ่ง  ที่ชื่อว่าเที่ยง  ย่อมไม่มี  เพราะเหตุนั้น  ท่านพึงพิจารณาโดยอุบายอันแยบคายว่า ธรรมชาติมีความตายเป็นธรรมดา  ตายเสียแล้ว  ธรรมชาติมีความแตกเป็นธรรมดา  แตกเสียแล้ว  ก็ไม่พึงเศร้าโศก  เพราะว่า  โบราณกาลบัณฑิตทั้งหลาย  ในกาลที่ลูกตายแล้ว  พิจารณาว่า  ธรรมชาติมีความตายเป็นธรรมดา  ตายเสียแล้ว  ธรรมชาติมีความแตกเป็นธรรมดา  แตกเสียแล้ว  ดังนี้แล้ว  ไม่ทำความเศร้าโศก  เจริญมรณสติอย่างเดียว”  ทรงนำอุรคชาดกมาตรัสเล่า ซึ่งมีความตอนหนึ่งเป็นคำปลุกปลอบใจแก่ตนเองของคนที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักว่า  คนตายก็เหมือนกับงูลอกคราบเก่าไปใช้คราบใหม่  คนเราเมื่อตายแล้ว  ถูกนำไปเผา  ไม่มีความรู้สึกใดๆแล้ว  แม้พวกญาติจะไปร้องไห้คร่ำครวญถึง ก็ไม่รับรู้ทั้งสิ้น  ดังนั้น  เราไม่ควรแสดงความเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว  เขาไปตามทางของเขา  และได้ตรัสในตอนท้ายกับกุฎุมพีนั้นว่า “ท่านอย่าคิดว่า  ลูกรักของเรากระทำกาละแล้ว  แท้จริงความโศกก็ดี  ภัยก็ดี  เมื่อจะเกิด  ย่อมอาศัยของรักนั่นเองเกิด
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ปิยโต  ชายเต  โสโก
ปิยโต  ชายเต  ภยํ
ปิยโต  วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ  โสโก  กุโต  ภยํ ฯ

(อ่านว่า)
ปิยะโต  ชายะเต  โสโก
ปิยะโต  ชายะเต  พะยัง
ปิยะโต  วิบปะมุดตัดสะ
นัดถิ  โสโก  กุโต  พะยัง.

(แปลว่า)
ความโศก  ย่อมเกิดแต่ของที่รัก
ภัย  ย่อมเกิดแต่ของที่รัก
ความโศก  ย่อมไม่มีแก่(ปลดเปลื้องได้จากของที่รัก
ภัยจักมีแต่ไหน
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  กุฎุมพีบรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 04:50:49 pm »


03.เรื่องนางวิสาขาอุบาสิกา

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภนางวิสาขาอุบาสิกา  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  เปมโต  ชายเต  เป็นต้น

วันหนึ่ง   หลานสาวของนางวิสาขาชื่อว่า สุทัตตี เสียชีวิต  นางวิสาขามีความเสียใจ นำศพของหลานสาวไปฝังแล้ว ก็ร้องไห้เศร้าโศกรำพึงรำพันถึงเป็นอันมาก   นางได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  และได้กราบทูลว่านางเศร้าโศกเพราะคิดหลานสาวที่ตายจากไป  พระศาสดาตรัสว่า  วิสาขา  เธอไม่ตระหนักบ้างหรือว่า  มีคนหลายคนตายในกรุงสาวัตถีทุกวัน  หากเธอรักคนเหล่านั้นเหมือนกับที่เธอรักหลานสาว  เธอก็ต้องร้องไห้โศกเศร้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ทั้งกลางคืนและกลางวันทีเดียว  พระศาสดาตรัสในช่วงท้ายของพระดำรัสว่า “ถ้ากระนั้น  เธออย่าเศร้าโศก  ความโศกก็ดี  ความกลัวก็ดี  ย่อมเกิดแต่ความรัก
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

เปมโต  ชายเต  โสโก
เปมโต  ชายเต  ภยํ
เปมโต  วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ  โสโก  กุโต  ภยํ ฯ


(อ่านว่า)
เปมะโต  ชายะเต  โสโก
เปมะโต  ชายะเต  ภะยัง
เปมะโต  วิบปะมุดตัดสะ
นตฺถิ  โสโก  กุโต  พะยัง.

(แปลว่า)
ความโศก  ย่อมเกิดแต่ความรัก
ภัย  ย่อมเกิดแต่ความรัก
ความโศก ย่อมไม่มี  แก่ผู้พ้นวิเศษจากความรัก

ภัยจักมีแต่ไหน
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 05:01:09 pm »


04.เรื่องเจ้าลิจฉวี

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในเมืองเวสาลี  ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา  ทรงปรารภพวกเจ้าลิจฉวี   ตรัสธรรมเทศนานี้ว่า  รติยา  ชายเต  เป็นต้น

ในวันแสดงมหรสพวันหนึ่ง  เจ้าลิจฉวี  ต่างองค์ต่างประดับด้วยเครื่องประดับไม่เหมือนกัน  ดำเนินออกจากเมืองจะเสด็จไปที่อุทยาน  พระศาสดา  เสด็จเข้าไปบิณฑบาต  พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย  ทรงเห็นเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น  จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงดูพวกเจ้าลิจฉวี  พวกที่ไม่เคยเห็นเทวดาชั้นดาวดึงส์   ก็จงดูเจ้าลิจฉวีเหล่านี้เถิด”  แล้วเสด็จเข้าไปในเมือง

พวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น  พาหญิงนครโสเภณีเข้าไปในอุทยานด้วย  แล้วเกิดความหึงหวง  แย่งยิ่งนางงามนี้  จนเกิดการต่อสู้   ประหัตถ์ประหาร  ถึงกับบางคนเลือดตกยางออก  ถูกหามออกมาจากอุทยาน  สวนทางเข้ากับพระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ที่เพิ่งเสด็จกลับจากบิณฑบาต  ภิกษุกราบทูลพระศาสดาว่า  “พระเจ้าข้า  พวกเจ้าลิจฉวี เมื่อเช้าตรู่ ประดับประดาแล้ว  ออกจากพระนครราวกะพวกเทวดา  บัดนี้  อาศัยหญิงคนหนึ่ง  ถึงความพินาศนี้แล้ว”  พระศาสดาตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย  ความโศกก็ดี  ภัยก็ดี  เมื่อจะเกิด  ย่อมอาศัยความยินดีนั่นเองเกิด
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

รติยา  ชายเต  โสโก
รติยา  ชายเต  ภยํ
รติยา  วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ  โสโก  กุโต  ภยํ  ฯ

(อ่านว่า)
ระติยา  ชายะเต  โสโก
ระติยา  ชายะเต  ภะยัง
ระติยา  วิบปะมุดตัดสะ
นัดถิ  โสโก  กุโต  พะยัง ฯ

(แปลว่า)
ความโศก ย่อมเกิดแต่ความยินดี
ภัย  ย่อมเกิดแต่ความยินดี
ความโศกย่อมไม่มี  แก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจากความยินดี

ภัยจักมีแต่ไหน
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 05:21:18 pm »


05. เรื่องอนิตถิคันธกุมาร

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภอนิตถิคันธกุมาร  ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า  กามโต  ชายเต  เป็นต้น

อนิตถคันธกุมาร  จุติจากพรหมโลก มาเกิดในตระกูลร่ำรวยตระกูลหนึ่ง  ในกรุงสาวัตถี  ตั้งแต่วันที่เกิดมาแล้ว  ไม่ต้องการจะเข้าใกล้ผู้หญิง  เมื่อถูกผู้หญิงจับตัวก็จะร้องไห้  เวลาจะให้นมบุตร  มารดาต้องเอาผ้าหนาๆมารองไม่ให้ถูกเนื้อต้องตัวบุตร  เมื่อกุมารนั้นเจริญวัย  มารดายายามเกลี้ยกล่อมจะให้แต่งงาน  แต่เขาปฏิเสธเรื่อยมาว่าไม่ชอบผู้หญิง  แต่ในที่สุดทนการเซ้าซี้ของมารดาไม่ไหว  จึงให้ช่างทองมาหล่อรูปทองของผู้หญิงที่มีความงดงามมาก ยากจะหาหญิงที่มีชีวิตจริงๆในโลกนี้ได้  แต่เมื่อส่งคนตระเวนหาไปตามเมืองต่างๆแล้ว ได้ไปพบหญิงที่มีรูปลักษณ์ตรงกับรูปปั้นทองของช่างทอง  อยู่ที่เมืองสาคคลนคร แคว้นมัททะ จึงได้ทำการสู่ขอเพื่อจะนำตัวมาแต่งงานกับอนิตถคันธกุมาร  แต่ทว่าในระหว่างการเดินทาง  นางงามเกิดเจ็บป่วยและได้เสียชีวิตลง   เมื่ออนิตถคันธกุมารทราบข่าวว่าหญิงงามที่สู่ขอมานั้นเสียชีวิต  ก็มีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก

พระศาสดา  ทรงเห็นกุมารผู้นี้เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์ ในเวลาใกล้รุ่ง  และทรงทราบว่าเขาอยู่ในภาวะสุกงอมที่จะได้บรรลุธรรม  สมควรจะเสด็จไปโปรด  ดังนั้น เมื่อเสด็จไปบิณฑบาต  จึงเสด็จไปยังประตูบ้านของเขา  มารดาบิดาของกุมารนั้น  อัญเชิญพระศาสดาเสด็จไปภายในบ้าน  ได้อังคาส(ถวายภัตตาหาร)โดยเคารพแล้ว

เมื่อเสร็จภัตตกิจ  พระศาสดาตรัสถามถึงอนิตถคันธกุมาร  มารดาบิดากราบทูลว่า  อดอาหาร นอนอยู่ในห้อง  จึงรับสั่งให้ไปเรียกมาเฝ้า  ตรัสถามและทรงทราบถึงสาเหตุนั้นแล้ว  ตรัสว่า “กุมาร  ความโศกมีกำลัง  เกิดขึ้นแก่เธอ เพราะอาศัยกาม  เพราะความโศกก็ดี  ภัยก็ดี  ย่อมเกิดขึ้น  เพราะอาศัยกาม
จากนั้น  พระศาสดา  ได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

กามโต  ชายเต  โสโก
กามโต  ชายเต  ภยํ
กามโต  วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ  โสโก  กุโต  ภยํ ฯ


(อ่านว่า)
กามะโต  ชายะเต  โสโก
กามะโต  ชายะเต  พะยัง
กามะโต  วิบปะมุดตัดสะ
นัดถิ  โสโก  กุโต  พะยัง.

(แปลว่า)
ความโศก ย่อมเกิดแต่กาม
ภัย  ย่อมเกิดแต่กาม
ความโศก  ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากกาม
ภัยจักมีแต่ไหน.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   อนิตถคันธกุมาร  บรรลุโสดาบัน.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 05:27:51 pm »


06.เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ตณหาย  ชายเต  เป็นต้น

พราหมณ์ผู้หนึ่ง  อยู่ที่เมืองสาวัตถี   เป็นมิจฉาทิฏฐิ   มืได้นับถือพุทธศาสนา  ในเช้าวันหนึ่ง  พราหมณ์ผู้นี้มาปรากฏอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์  และทรงทราบว่า  เขามีภาวะสุกงอมที่จะได้บรรลุธรรม  ดังนั้น พระองค์จึงได้เสด็จไปโปรด  ในวันแรกที่เสด็จไป  เป็นช่วงที่พราหมณ์นั้นกำลังไถนา  ตรัสถามว่า  กำลังทำอะไร  กราบทูลว่า กำลังไถนา  แล้วพระองค์ก็เสด็จกลับ  ในวันต่อมาๆ   เสด็จไปที่นั่นอีก  เป็นช่วงๆของการทำนา  คือ  ช่วงหว่าน  ช่วงไขน้ำ  ช่วงดูแลข้าวกล้า   และก็ได้ตรัสถามในแต่ละช่งนั้น  ซึ่งพราหมณ์ก็ได้กราบทูลว่า  กำลังไถนา  ...กำลังไขน้ำ  ...กำลังดูแลต้นข้าว  เมื่อตรัสถามและได้รับคำตอบแล้วพระศาสดาก็เสด็จกลับเช่นเดิม  มีอยู่วันหนึ่ง  เมื่อพระศาสดาเสด็จมา  พราหมณ์ได้กราบทูลว่า  “พระโคดมผู้เจริญ  ท่านมาแล้ว  ตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าแผ้วถางนา  ถ้าข้าวกล้าของข้าพเจ้าจักเผล็ดผล  ข้าพเจ้าจักแบ่งปันแก่ท่านบ้าง  ยังไม่ให้ท่าน  ข้าพเจ้าก็จักยังไม่กิน  ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป  ท่านเป็นสหายของข้าพเจ้า”

อยู่ต่อมา  ข้าวกล้าของพราหมณ์นั้นก็สุกเต็มที่ พราหมณ์นั้นก็จะทำการเก็บเกี่ยว  และคิดว่า “ข้าวกล้าของเราเผล็ดผลแล้ว  เราจักให้เกี่ยวตั้งแต่พรุ่งนี้ไป”  แต่ทว่า ในคืนนั้นเอง  เกิดฝนตกหนักตลอดคืน  น้ำพัดพาข้าวกล้าเสียหายหมด  เหลือให้เห็นแต่ผืนดิน  เมื่อพราหมณ์ไปดูนาในตอนเช้า  พบว่าข้าวที่กะว่าจะเก็บเกี่ยวนั้นถูกน้ำฝนพัดมาไปจนหมดสิ้น  ก็เกิดความเสียใจ  ยิ่งมานึกถึงคำพูดของตนที่เคยทูลพระศาสดาเอาไว้   ก็ยิ่งเสียใจหนักขึ้น  ถึงกับอดอาหาร  นอนแซ่วอยูบนเตียงนอนในบ้าน

พระศาสดาได้เสด็จไปที่ประตูบ้านของพราหมณ์นั้น  และพราหมณ์นั้นก็ได้สั่งคนในบ้านอัญเชิญพระศาสดาเข้ามาข้างในบ้าน  เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว  ทรงสอบถามถึงพราหมณ์  ทรงทราบว่าพราหมณ์นอนอดข้าวอยู่ในห้องนอน  จึงรับสั่งให้คนไปเชิญออกมาพบ  ทรงสอบถามถึงสาเหตุของการอดข้าว  เมื่อทรงทราบแล้วก็ได้ตรัสถามว่า  “อะไรทำให้เกิดความโศก”  เมื่อพราหมณ์ทูลว่า  “ไม่ทราบ”  จึงตรัสว่า  “พราหมณ์  ความจริง  ความโศกก็ดี  ภัยก็ดี  เมื่อจะเกิด  ย่อมอาศัยตัณหาเกิดขึ้น
จากนั้น  พระศาสดา  ได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ตณฺหาย  ชายเต  โสโก
ตณฺหาย  ชายเต  ภยํ
ตณฺหาย  วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ  โสโก  กุโต  ภยํ  ฯ


(อ่านว่า)
ตันหายะ  ชายะเต  โสโก
ตันหายะ  ชายะเต  พะยัง
ตันหายะ  วิบปะมุดตัดสะ
นัดถิ  โสโก  กุโต  พะยัง.

(แปลว่า)
ความโศก  เกิดเพราะตัณหา
ภัย  ย่อมเกิดเพราะตัณหา
ความโศก  ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากตัณหา

ภัยจักมีแต่ไหน. 


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  พราหมณ์ได้บรรลุโสดาปัตติผล.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 05:34:43 pm »


07.เรื่องเด็ก 500 คน

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภเด็ก  500 ในระหว่างทาง  ตรัสพระธรรมเทศนาว่า  สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ  เป็นต้น

ในวันแสดงมหรสพวันหนึ่ง  พระศาสดาได้เสด็จเข้าไปกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต พร้อมด้วยอสีติมหาสาวก  ในระหว่างเสด็จได้ทอดพระเนตรเห็นเด็ก 500 คน ออกจากเมืองเข้าไปในสวน  พวกเด็กเหล่านั้นกำลังยกตะกร้าขนมไปด้วย  แต่ก็ไม่ได้สนใจที่จะถวายขนมแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย พระศาสดาได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  แม้ว่าเด็กเหล่านั้นจะไม่นิมนต์เราและพวกเธอฉันขนมก็จริง  แต่ภิกษุผู้เป็นเจ้าของขนมกำลังเดินทางมา ตามหลังมา  เราและพวกเธอก็จะได้ฉันขนมกัน”  ตรัสแล้วก็ทรงพาภิกษุสงฆ์ไปประทับนั่งใต้ร่มเงา  ที่ใต้โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง

ต่อมาไม่นาน พระมหากัสสปเถระก็เดินมาถึง  พอพวกเด็กแลเห็น  ก็พากันวางตะกร้าขนมลง  เข้าไปนั่งกราบพระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์  แล้วก็ยกกระเช้าขนมเข้าไปถวายพระเถระ พร้อมกับกล่าวว่า  “นิมนต์รับเถิด ขอรับ
พระเถระกล่าวกับเด็กเหล่านั้นว่า “โน่น  พระศาสดาทรงพาพระภิกษุสงฆ์ไปประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้  พวกเธอจงถือตะกร้าขนมไปแบ่งถวายภิกษุสงฆ์เถิด”  พวกเด็กตอบว่า  “ขอรับ”  แล้วเดินตามพระเถระไปถวายขนมแด่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์  เมื่อพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ฉันขนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก็ได้ถวายน้ำฉันอีกด้วย
 
ภิกษุทั้งหลายได้พูดตั้งเป็นข้อสังเกตว่า  พวกเด็กมีความลำเอียง  ไม่ยอมถวายขนมแด่พระศาสดาและพระอสีติมหาสาวก  พอเห็นพระมหากัสสปะ ก็รีบถือกระเช้าขนมเข้าไปถวาย
พระศาสดาตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุผู้เช่นกับมหากัสสปะ  ผู้บุตรของเรา  ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดาและมนุษย์  เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ย่อมบูชาด้วยปัจจัย  4  แก่เธอโดยแท้
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ
ธมฺมฏฺฐํ  สจฺจวาทินํ
อตฺตโน  กมฺมกุพฺพานํ
ตํ  ชโน  กุรุเต  ปิยํ  ฯ


(อ่านว่า)
สีละทัดสะนะสำปันนัง
ทำมัดถัง  สัดจะวาทินัง
อัดตะโน  กำมะกุบพานัง
ตัง  ชะโน  กุรุเต  ปิยัง .

(แปลว่า)
ชน ย่อมทำท่านผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัสสนะ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม  ผู้มีปกติกล่าววาจาสัตย์
ผู้กระทำการงานของตนนั้น  ให้เป็นที่รัก
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  เด็กเหล่านั้นทุกคน  บรรลุโสดาปัตติผล.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 05:40:28 pm »


08. เรื่องพระอนาคามิเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระเถระผู้อนาคามีองค์หนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ฉนฺทชาโต  เป็นต้น

วันหนึ่ง   พวกสัทธิวิหาริก  ถามพระเถะผู้อุปัชฌายะว่า  “ท่านอาจารย์  ท่านบรรลุธรรมพิเศษอะไรแล้วหรือยัง ?” พระเถระผู้อุปัชฌายะไม่ได้ตอบอะไร ทั้งๆที่ท่านเป็นผู้ได้บรรลุอนาคามี  ที่พระเถระไม่บอกเพราะตั้งใจไว้ว่าจะบอกก็ต่อเมื่อท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วเท่านั้น  แต่ในที่สุดพระเถระได้มรณภาพโดยที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล  และท่านก็ยังไม่ได้บอกเรื่องบรรลุคุณวิเศษแก่เหล่าสัทธิวิหาริก

พวกสัทธิวิหาริก คิดกันว่าอุปัชฌายะของพวกตนมรณภาพโดยที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลใดๆ  ก็มีความเสียใจ  พากันไปเข้าเฝ้าพระศาสดา แล้วทูลถามที่เกิดของอุปัชฌายะของพวกตน  พระศาสดาตรัสว่า  อุปัชฌายะของพระเหล่านั้น  เป็นพระอนาคามีก่อนจะมรณภาพ  และได้ไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส  ในตอนท้ายได้ตรัสว่า “วางใจเสียเถิด  ภิกษุทั้งหลาย  อุปัชฌายะของพวกเธอ  ถึงความเป็นผู้มีจิตไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลาย  มีกระแสในเบื้องบน
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ฉนฺทชาโต  อนกฺขาเต
มนสา  จ  ผุโฏ  สิยา
กาเมสุ  อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
อุทฺธํโสโตติ  วุจจติ ฯ


(อ่านว่า)
ฉันทะชาโต  อะนักขาเต
มะนะสา  จะ  ผุโต  สิยา
กาเมสุ  อับปะติพัดทะจิดโต
อุดทังโสโตติ  วุดจะติ.

(แปลว่า)
ภิกษุ  ผู้มีฉันทะเกิดแล้ว
ในพระนิพพานอันใครๆบอกไม่ได้
พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี
ผู้มีจิตไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลายก็ดี

ท่านเรียกว่า  ผู้มีกระแสในเบื้องบน.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุเหล่านั้น  บรรลุพระอรหัตตผล  พระธรรมเทศนา  เป็นประโยชน์แก่มหาชน.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 06:06:36 pm »



09.เรื่องนายนันทิยะ

พระศาสดา   เมื่อประทับอยู่ในป่าอิสิปตนะ  ทรงปรารภนายนันทิยะ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  จิรปฺปวาสึ  เป็นต้น

นายนันทิยะ  เป็นบุตรเศรษฐี  อยู่ที่กรุงพารณสี   หลังจากที่เขาได้ฟังธรรมของพระศาสดา  ว่าด้วยอานิสงส์ของการสร้างวัดวาอารามถวายภิกษุสงฆ์แล้ว  นายนันทิยะก็ได้ก่อสร้างวัดใหญ่แห่งหนึ่งที่ป่าอิสิปตนะ  และได้สร้างสิ่งก่อสร้างในวัด  เป็นศาลาจัตุรมุขหลังหนึ่ง  ประกอบด้วยห้องสี่ห้อง  และอุปกรณ์ใช้สอยของพระสงฆ์มีเตียงและตั้งเป็นต้น ก่อนจะมอบถวายวัดใหญ่แห่งนี้  ก็ได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์  มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  แล้วหลั่งน้ำทักขิโณทกแด่พระศาสดา  ทันทีที่ได้ถวายอาวาสแห่งนี้แด่พระศาสดา  พระคัมภีร์บอกว่า ก็มีปราสาททิพย์  สำเร็จด้วยรัตนะ  7 ประการ  พรั่งพร้อมด้วยนางอัปสร  มีเส้นผ่าศูนย์กลาง  12 โยชน์  สูง 100 โยชน์  ผุดขึ้นในเทวโลกชั้นดาวดึงส์  พร้อมกับที่ได้หลั่งน้ำทักขิโณทกถวายแด่พระศาสดา

วันหนึ่ง  พระมหาโมคคัลลานะ  ได้ขึ้นไปที่เทวโลกชั้นดาวดึงส์  และได้เห็นปราสาททิพย์หลังนี้  เต็มไปด้วยหมู่นางเทพอัปสร  ก็ได้เข้าไปสอบถามเทพบุตรทั้งหลายว่า  เป็นปราสาททิพย์ของผู้ใด  ก็ได้รับคำตอบจากเทพบุตรเหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญ  วิมานนั่น  เกิดรอรับบุตรคฤหบดี ชื่อนันทิยะ  ผู้ให้สร้างวิหารถวายพระศาสดา  ในป่าอิสิปตนะ”  ฝ่ายหมู่นางอัปสร  เห็นพระเถระนั้นแล้ว  ก็ลงจากปราสาทมากล่าวว่า   พวกนางเกิดในปราสาทนี้เพื่อเป็นนางบำเรอของนายนันทิยะ  แต่ไม่เห็นนายนันทิยะมาเสียที  ได้แต่รอแล้วรอเล่า   ขอฝากบอกพระคุณเจ้าไปถึงนายนันทิยะด้วยว่า  มนุษยสมบัติเปรียบเหมือนถาดดิน  ส่วนทิพยสมบัตินั้นเปรียบเหมือนถาดทองคำ

เมื่อพระมหาโมคคัลลานะ  ลงจากเทวโลกแล้ว  ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลถามว่า  “พระเจ้าข้า  ทิพยสมบัติเกิดรอบุคคลผู้ทำความดีที่ยังอยู่ในโลกมนุษย์มีหรือไม่”  พระศาสดาตรัสว่า  “เธอไปเห็นปราสาททิพย์ที่ผุดรอนายนันทิยะที่ยังอยู่ในโลกมนุษย์มาแล้วมิใช่หรือ  จะมาถามทำไม?”    เมื่อพระเถระทูลว่า “พระเจ้าข้า” พระศาสดาตรัสว่า  สภาพก็เหมือนกับคนเราในโลกมนุษย์   ยืนอยู่ที่ประตูบ้านเรือน  เห็นบุตรหรือพีน้อง ที่เดินทางไปอยู่ต่างประเทศมานาน แล้วกลับมาถึงบ้านเรือนของตน  ก็มีความยินดีปรีดา  ร้องทักทาย ต้อนรับบุคคลผู้นั้น  ข้อนี้ก็เหมือนกับเหล่าเทวดา  ต่างถือเครื่องบรรณการอันเป็นทิพย์ 10 อย่าง  แย่งชิงกันออกมาต้อนรับ  แสดงความยินดีกับสตรีหรือบุรุษ  ผู้ทำความดีไว้ในโลกมนุษย์  แล้วตายไปเกิดในปรโลก  ฉันใดก็ฉันนั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

จิรปฺปวาสึ  ปุริสํ
ทูรโต  โสตฺถิมาคตํ
ญาตี  มิตฺตา  สุหชฺชา  จ
อภินนฺทติ  อาคตํ  ฯ


(อ่านว่า)
จิรับปะวาสิง  ปุริสัง
ทูระโต  โสดถิมาคะตัง
ยาตี  มิดตา  สุหัดชา  จะ
อะพินันทะติ  อาคะตัง.

ตเถว  กตปุญฺญํปิ
อสฺมา  โลกา  ปรํ  คตํ
ปุญญานิ  ปฏิคฺคณฺหนฺติ
ปิยํ  ญาตีว  อาคตํ ฯ


(อ่านว่า)
ตะเถวะ  กะตะปุนยังปิ
อัดสะหมา  โลกา  ปะรัง  คะตัง
ปุนยานิ  ปะติกคันหันติ
ปิยัง  ยาตีวะ  อาคะตัง.

(แปลว่า)
ญาติ  มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย
เห็นบุรุษผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน
มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี
ย่อมยินดียิ่งว่า  มาแล้ว  ฉันใด
 
บุญทั้งหลาย  ก็ย่อมต้อนรับ
แม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้
ซึ่งไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า

ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว
ต้อนรับอยู่ ฉะนี้แล.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
 
-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/2008/11/17/entry-8