อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
۞๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞
ฐิตา:
۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞
สุภูติเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับจิตหลุดพ้น
[๑๓๘] ได้ยินว่า ท่านพระสุภูติเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ดูกรฝน
กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีเครื่องป้องกันอันสบายมิดชิดดี ท่านจงตกลงมา
ตามสะดวกเถิด จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
เราเป็นผู้มีความเพียรอยู่ เชิญตกลงมาเถิดฝน.
มหาโกฏฐิตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความสงบ
[๑๓๙] ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า บุคคล
ผู้สงบ งดเว้นจากการทำความชั่วพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาป
ธรรมทั้งหลาย เหมือนลมพัดใบไม้ให้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น.
กังขาเรวตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับปัญญา
[๑๔๐] ได้ยินว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ท่านจง
ดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ
พระตถาคตเหล่าใด ย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มา
เฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้แสงสว่าง
เป็นผู้ให้ดวงตา.
ปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการคบคนดี
[๑๔๑] ได้ยินว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
บุคคลควรสมาคมกับสัปบุรุษ ผู้เป็นบัณฑิตชี้แจงประโยชน์เท่านั้น
เพราะธีรชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ย่อมได้
บรรลุถึงประโยชน์อย่างใหญ่ ประโยชน์อย่างลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
ละเอียด สุขุม.
ทัพพเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกอบรม
[๑๔๒] ได้ยินว่า ท่านพระทัพพเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า เมื่อก่อน
พระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่น ฝึกฝนได้โดยยาก แต่
เดี๋ยวนี้พระทัพพมัลลบุตรองค์นั้น เป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝนด้วย
การฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว
เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว.
ฐิตา:
สีตวนิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความสันโดษ
[๑๔๓] ได้ยินว่า ท่านพระสีตวนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุใดมา
สู่ป่าสีตวันแล้ว ภิกษุนั้นเป็นผู้อยู่แต่ผู้เดียว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น ชนะ
กิเลส ปราศจากขนลุกขนพอง มีปัญญารักษากายาคตาสติอยู่.
ภัลลิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับผู้ชนะ
[๑๔๔] ได้ยินว่า ท่านพระภัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ผู้ใดกำจัด
เสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่ กำจัดสะพานไม้อ้ออันแสนจะ
ทรุดโทรม ฉะนั้น ก็ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว
มีตนอันฝึกฝนแล้วมีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้แล้ว.
วีรเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการชนะกิเลส
[๑๔๕] ได้ยินว่า ท่านพระวีรเถระได้ภาษิตคาถานี้ ในเวลาภรรยาเก่าไปเล้าโลม
เพื่อให้สึก ว่า
เมื่อก่อน ผู้ใดเป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ผู้นั้นอัน
พระผู้มีพระภาคฝึกฝนได้ดีแล้ว เป็นนักปราชญ์มีความสันโดษ ข้ามความ
สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลสมาร ปราศจากขนลุกขนพอง ปราศจาก
ความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้แล้ว.
ปิลินทวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการฟังธรรม
[๑๔๖] ได้ยินว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า การที่เรา
มาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่
เราคิดไว้ว่าจักฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วจักบวช เป็น
ความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกธรรม
ทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐแล้ว.
ปุณณมาสเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการไม่ติดในสิ่งทั้งปวง
[๑๔๗] ได้ยินว่า พระปุณณมาสเถระได้ภาษิตคาถานี้อย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่ทะเยอ
ทะยานในโลกนี้หรือโลกอื่น ผู้นั้นเป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ
สำรวมแล้ว ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปของโลก.
ฐิตา:
จูฬวัจจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความยินดีในธรรม
[๑๔๘] ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ในธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว
พึงบรรลุสันตบทอันเป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข.
มหาวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับไตรสิกขา
[๑๔๙] ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน
มีสติ บริโภคโภชนะตามมีตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ ซึ่ง
กาลปรินิพพานในศาสนานี้.
วนวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับรมณียสถาน
[๑๕๐] ภูเขาทั้งหลายอันล้วนแล้วด้วยหิน มีสีเขียวดังเมฆ ดูรุจิเรกงามดี มี
ธารวารีเย็นใสสะอาด ดารดาษไปด้วยแมลงค่อมทอง ภูเขาเหล่า
นั้นย่อมทำให้เรารื่นรมย์ใจ.
วนวัจฉสามเณรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการอยู่ป่า
[๑๕๑] พระอุปัชฌาย์ของเราได้กล่าวกะเราว่า ดูกรสีวกะ เราจะไปจากที่นี้
กายของเราอยู่ในบ้าน แต่ใจของเราไปอยู่ในป่า แม้เรานอนอยู่ก็
จักไป ความเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แจ้งชัด.
กุณฑธานเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการข้ามโอฆะ
[๑๕๒] ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕ พึงเจริญ
อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุผู้ก้าวล่วงธรรมเป็น
เครื่องข้อง ๕ ประการได้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้ามโอฆะ
ได้แล้ว.
ฐิตา:
เพลัฏฐสีสเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับวันคืน
[๑๕๓] โคอาชาไนยผู้สามารถเทียมไถแล้ว ย่อมลากไถไปได้โดยไม่ลำบาก
ฉันใด เมื่อเราได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลาย
ย่อมผ่านพ้นเราไปโดยยาก ฉันนั้น
ทาสกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความเกียจคร้าน
[๑๕๔] เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ง่วงเหงาและกินมากมักนอนหลับกลิ้งเกลือกไปมา
เมื่อนั้นเขาเป็นคนเขลา ย่อมเข้าห้องบ่อยๆ เหมือนสุกรใหญ่ที่เขา
ปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น.
สิงคาลปิตาเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับพุทธทายาท
[๑๕๕] ภิกษุผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้ด้วยความสำคัญว่า
กระดูกทั้งสิ้นเป็นอารมณ์จักได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า
จะละกามราคะได้โดยเร็วพลัน.
กุฬเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับหน้าที่บัณฑิต
[๑๕๖] พวกคนไขน้ำก็ไขน้ำไป ช่างศรก็ดัดลูกศร พวกช่างถากก็ถากไม้
พวกบัณฑิตผู้มีวัตรอันงาม ก็ฝึกฝนตน.
อชิตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความตาย
[๑๕๗] เราไม่มีความกลัวตาย ไม่มีความอาลัยในชีวิต จักเป็นผู้มี
สติสัมปชัญญะ ละทิ้งกายนี้ไป.
ฐิตา:
นิโครธเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับทางดำเนินชีวิต
[๑๕๘] เราไม่กลัวภัย พระศาสดาของเราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาดในธรรมอันไม่ตาย
ภัยย่อมไม่ตั้งอยู่ในหนทางใด ภิกษุทั้งหลายย่อมไปโดยหนทางนั้น.
จิตตกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับผู้เจริญฌาน
[๑๕๙] นางนกยูงทั้งหลายมีขนเขียว ขนคองาม หงอนงาม พากันร่ำร้อง
อยู่ในป่าการวี นางนกยูงเหล่านั้นพากันร่ำร้องในเวลามีลมหนาวเจือ
ด้วยฝน ย่อมปลุกบุคคลผู้เจริญฌานซึ่งหลับอยู่ให้ตื่น.
โคสาลเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการเจริญวิเวก
[๑๖๐] เราฉันข้าวมธุปายาสที่พุ่มกอไผ่แล้ว พิจารณาความเกิดและความเสื่อม
ไปแห่งขันธ์ทั้งหลายโดยความเคารพ จักกลับไปสู่สานุบรรพตที่เรา
เคยอยู่มาแล้ว เจริญวิเวกต่อไป.
สุคันธเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสอน
[๑๖๑] ภิกษุบวชมายังไม่ทันครบพรรษา ได้เห็นธรรมเป็นธรรมดีงาม บรรลุ
วิชชา ๓ ได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.
นันทิยเถรคาถา
สุภาษิตเตือนมาร
[๑๖๒] จิตของภิกษุใดได้บรรลุผลญาณ สว่างรุ่งเรืองอยู่เป็นนิตย์ ท่านมา
เบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า จักได้รับทุกข์แน่นอน นะมาร.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version