อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
۞๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞
ฐิตา:
อภัยเถรคาถา
สุภาษิตสรรเสริญพุทธภาษิต
[๑๖๓] เราได้ฟังพระวาจาอันเป็นสุภาษิตของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พระอาทิตย์ จึงได้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งธรรมอันละเอียด เหมือน
บุคคลยิงปลายขนทรายด้วยลูกศร ฉะนั้น.
โลมสกังคิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับวิเวก
[๑๖๔] เราจักเอาอุระแหวกป่าหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา แฝก
หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย พอกพูนวิเวก
ชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับศีล
[๑๖๕] ท่านเป็นผู้ขวนขวายในเรื่องผ้าหรือไม่ ยินดีในเครื่องประดับหรือไม่
ท่านทำกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีลฟุ้งไปใช่ไหม? หมู่ชนนอกนี้ ไม่อาจ
ทำกลิ่นให้สำเร็จด้วยศีลฟุ้งไปได้.
หาริตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการปรับตัว
[๑๖๖] แน่ะท่านหาริตะ ท่านจงยกตนของท่านขึ้นจากความเกียจคร้าน
เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น ท่านจงทำจิตให้ตรงแล้ว
ทำลายอวิชชาเสีย.
อุตติยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความไม่ประมาท
[๑๖๗] เมื่ออาพาธบังเกิดขึ้นแก่เรา สติก็เกิดขึ้นแก่เราว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่
เราแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่เราไม่ควรประมาท
ฐิตา:
คหุรตีริยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความอดทน
[๑๖๘] บุคคลถูกยุงและเหลือบกัดแล้วในป่าใหญ่ พึงเป็นผู้มีสติอดทนต่อสัมผัส
แห่งยุงและเหลือบในป่าใหญ่นั้น เหมือนช้างอดทนต่อการถูกอาวุธใน
สงคราม ฉะนั้น.
สุปปิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความเพียร
[๑๖๙] บุคคลผู้มีความเพียร ถึงจะแก่ แต่เผากิเลสให้เร่าร้อน พึงบรรลุ
นิพพานอันไม่รู้จักแก่ ไม่มีอามิส เป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง
เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.
โสปากเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับเมตตา
[๑๗๐] บุคคลพึงมีเมตตาในคนเดียวผู้เป็นที่รัก ฉันใด ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์
ทั้งปวงในที่ทุกสถาน ฉันนั้น.
โปสิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการออกบวช
[๑๗๑] หญิงเหล่านี้ดีแต่เมื่อยังไม่เข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ นำความ
ฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว เราเดินออกจากป่ามาสู่บ้าน เข้าไปสู่
เรือนแห่งญาติแล้ว ไม่ได้อำลาใครๆ ออกจากเรือนนั้นหนีมาแล้ว.
สามัญญกานิเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับเกียรติยศ
[๑๗๒] บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้สมควรแก่ความสุขนั้น
ย่อมได้ความสุข ผู้ใดเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘
เป็นทางตรง เพื่อมรรลุอมตธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญและเจริญ
ด้วยยศ.
ฐิตา:
กุมาปุตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความดี
[๑๗๓] การฟัง เป็นความดี ความประพฤติมักน้อย เป็นความดี การอยู่โดย
ไม่มีห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อ การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี
การทำตามโอวาทโดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้
เป็นเครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล
กุมาปุตตเถรสหายกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความเจริญฌาน
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลายไม่สำรวมกาย วาจา ใจ พากันเที่ยวไปสู่ชนบท
ต่างๆ ทอดทิ้งสมาธิ การเที่ยวไปสู่แคว้นต่างๆ จักสำเร็จ
ประโยชน์อะไรเล่า เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงกำจัดความแข่งดี อย่าให้
มิจฉาวิตกและกิเลสมีตัณหาเป็นต้นครอบงำ พึงเจริญฌาน.
ควัมปติเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการพ้นกิเลส
[๑๗๕] เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันนอบน้อมพระควัมปติ ผู้ห้ามแม่
น้ำสรภูให้หยุดไหลได้ด้วยฤทธิ์ ไม่ติดอยู่ในกิเลสและตัณหาไรๆ
ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งอะไรทั้งสิ้น เป็นผู้ผ่านพ้นเครื่องข้องทั้งปวง เป็น
มหามุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ.
ติสสเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสติ
[๑๗๖] บุรุษถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม แล้วรีบรักษา
ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อละความกำหนัดยินดีใน
กาม ฉันนั้น.
วัฑฒมานเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสติ
[๑๗๗] บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม แล้วรีบรักษา
ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพ
ฉันนั้น.
ฐิตา:
สิริวัฑฒเถรคาถา
[๑๗๘] สายฟ้าแลบส่องลอดเข้าไปตามช่องแห่งภูเขาเวภาระ และภูเขาปัณฑวะ
ฉันใด ภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งพระพุทธเจ้าผู้คงที่ ไม่มีผู้เปรียบ
ปาน อยู่ในช่องแห่งภูเขาเจริญฌานอยู่ ฉันนั้น.
ขทิรวนิยเถรคาถา
[๑๗๙] ดูกรสามเณรีหลา อุปหลา สีสุปหลา ท่านทั้งสามเป็นผู้มีสติ
เฉพาะหน้าอยู่หรือ พระสารีบุตรผู้เป็นลุงของพวกท่าน มีปัญญา
ว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้โดยถูกต้องแม่นยำ เปรียบดังนายขมังธนู
ผู้ชำนาญยิงปลายขนทรายมาแล้ว.
สุมังคลเถรคาถา
[๑๘๐] เราพ้นดีแล้วๆ เราเป็นผู้พ้นดีแล้วจากความค่อมทั้ง ๓ คือ เราพ้น
แล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการไถนา จากการถางหญ้า ถึงแม้ว่า
กิจมีการเกี่ยวหญ้าเป็นต้น จะอยู่ในที่ใกล้ๆ เรานี้เอง แต่ก็ไม่สม
ควรแก่เราทั้งนั้น ท่านจงเจริญฌานไปเถิดสุมังคละ จงเจริญฌานไปเถิด
สุมังคละ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิดสุมังคละ.
สานุเถรคาถา
[๑๘๑] คุณโยมจ๋า ชนทั้งหลายเขาพากันร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว ร้องไห้
ถึงคนที่ยังเป็นอยู่ แต่หายหน้าจากไป ส่วนฉันยังมีชีวิตอยู่
ทั้งปรากฏตัวอยู่ เหตุไรคุณโยมจึงมาร้องไห้ถึงฉันเล่า?
รมนียวิหารีเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความพลาดพลั้ง
[๑๘๒] โคอาชาไนยผู้สมบูรณ์พลาดล้มแล้ว ย่อมกลับลุกขึ้นตั้งตัวได้ ฉันใด
ท่านทั้งหลายจงจำเราไว้ว่า เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ฉันนั้นเถิด.
ฐิตา:
สมิทธิเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความไม่กลัวมาร
[๑๘๓] เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา มีสติและปัญญาอันเจริญ มี
จิตตั้งมั่นดีแล้ว ดูกรมาร ถึงท่านจักบันดาลรูปต่างๆ ที่น่ากลัว
ให้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทำให้เราสะดุ้งกลัวได้เลย.
อุชชยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการพึ่งพระพุทธเจ้า
[๑๘๔] ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสิ่งทั้งปวง เมื่อข้าพระองค์อยู่ในพระ
บัญชาของพระองค์ จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่เป็นสุขสำราญ.
สัญชยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการบวช
[๑๘๕] ตั้งแต่เราออกบวชเป็นบรรพชิต เราไม่รู้สึกถึงความดำริอันไม่ประ-
เสริฐประกอบด้วยโทษเลย.
รามเณยยกเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับพลังจิต
[๑๘๖] ดูกรมาร บุคคลบางจำพวก ย่อมสะดุ้งกลัวเพราะเสียงคำรามของ
ท่าน และเสียงร้องคำรามแห่งเทวดา แต่จิตของเราไม่หวั่นไหว
เพราะเสียงเหล่านั้น เพราะจิตของเรายินดีในความเป็นผู้เดียว.
วิมลเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสมาธิจิต
[๑๘๗] แผ่นดินชุ่มชื่นด้วยน้ำฝน ลมก็พัด สายฟ้าก็แลบไปในท้องฟ้า
วิตกทั้งหลายย่อมสงบไป จิตของเราตั้งมั่นแล้วเป็นอันดี.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version