อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

108 เคล็ดกิน

<< < (40/85) > >>

sithiphong:
อาหาร 9 ชนิดช่วยสร้างเกราะกันภัยหนาว
-http://campus.sanook.com/1370116/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-9-%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7/-



เมื่อฤดูหนาวมาเยือนอาจทำให้ป่วยได้ โดยสุขภาพที่มากับหน้าหนาวนี้มีผลกระทบต่ออวัยวะหลักๆคือผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร อย่างผิวหนังก็ทำให้แห้งแตก ทางเดินหายใจก็ทำให้เป็นหวัด ภูมิแพ้กำเริบและสุดท้ายทางเดินอาหารก็ต้องระวังเพราะหน้าหนาวมีไวรัสที่หนีหนาวมาอยู่กับอาหารมากทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ ดังนั้นการกินให้ปลอดจากภัยหน้าหนาวจึงช่วยได้มาก วันนี้มีอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหรือป้องกันภัยหนาวให้กับร่างกายมาแนะนำกันเพื่อให้คุณ ๆ ผู้อ่านได้มีสุขภาพแข็งแรงในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ค่ะ เริ่มกันที่กินต้านหวัดควรเลือกอาหารที่มีสารอาหารในการป้องกันหวัดช่วยเพิ่มภูมิต้านทานได้แก่



1.ฝรั่งสดและเสาวรส เพื่อให้ได้วิตามินซีเข้มข้นและสดพอที่จะเสริมคอลลาเจนเส้นเลือด

2.ปลาทูและซีฟู้ด เพื่อให้ได้ "ซิงค์" คือสังกะสีไปช่วยเสริมภูมิทหารคุ้มกันร่างกาย

3.น้ำขิง เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันการอักเสบและฆ่าเชื้อในคอเสมือนยาแก้หวัดจากธรรมชาติ



อากาศที่หนาวเย็นบางครั้งการอาบน้ำอุ่นจะทำให้ผิวแห้งง่ายกว่าอาบน้ำเย็น เพราะน้ำมันที่ผิวหนังจะถูกชะล้างออกไปรวมทั้งความชื้นของอากาศที่ลดลง ก็จะเพิ่มให้ผิวแห้งแตกและคันได้ง่าย ดังนั้นเราควรจะดูแลร่างกายในช่วงหน้าหนาวนี้เป็นพิเศษ โดยการกินกันผิวแห้ง ได้แก่

1.น้ำใบบัวบก มีสารช่วยต้านการอักเสบที่ผิว ทำงานเสริมกับคอลลาเจน ช่วยให้แผลสดและรอยแผลเป็นสมานได้ดีขึ้น

2.งาดำและน้ำมันมะพร้าว เพื่อให้ได้วิตามินอีช่วยผิวชุ่มชื้น ป้องกันการแห้งแตกเป็นรอยยับ

3.น้ำมันปลา ลดการอักเสบทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นดี ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่มาทำร้ายผิว




นอกจากรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ก็ควรเลือกอาหารที่มีสารอาหารในการป้องกันหวัดช่วยเสริมสร้างทางเดินอาหาร ได้แก่

1.กะเพราและโหระพา ในใบกะเพราและโหระพามีน้ำมันธรรมชาติที่ช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้และทำให้ลำไส้บีบตัวดี

2. หัวหอมและต้นหอม มีส่วนของเส้นใยอาหารที่ทำงานได้ดีในลำไส้ เป็นใยอาหารชนิด "อินนูลิน" ที่ช่วยบำรุงจุลินทรีย์ดีในทางเดินอาหาร

3. กล้วยน้ำว้าห่าม มีสาร "แทนนิน" ช่วยระงับอาการท้องเสียและทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ มีวิตามินบีกับโพแทสเซียมช่วยบำรุงแร่ธาตุที่เสียไป ส่วนแมกนีเซียมช่วยการบีบตัวของลำไส้

sithiphong:
ภัยจาก “สารกันบูด“

-http://club.sanook.com/12369/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%94-

ในระยะนี้หลายๆคนคงได้ยินข่าว ที่เกี่ยวกับที่มีผู้ค้าขายนำอาหารหรือขนมที่ใส่สารกันบูดมาจำหน่าย ซึ่งผู้ค้าเองก็อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์นำมาจำหน่ายให้  ซึ่งสารกันบูดในอาหาร ผู้ค้าขาย ลูกค้า เองก็อาจนั้นก็ไม่อาจทราบได้ว่าใส่ไปเยอะมากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งนึงที่ทำให้ตกใจคืออาหารเหล่านี้ที่ใส่สารกันบูด สามารถที่จะอยู่ได้เป็นเดือนๆ  โดยไม่เน่า ไม่เสีย ซึ่งถ้าเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เกิดทานเข้าไปก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย ดังนั้นเพื่อเป็นการรับมือกับอันตรายใกล้ตัวนี้  เราเลยมีบทความที่มีสาระประโยชน์มากๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับอันตรายของสารกันบูดและวิธีการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารกันบูดมาฝากกันค่ะ

 

สารกันบูด

 

สารกันบูด (preservatives) คือสารเคมีหรือของผสม ของสารเคมีที่ใช้ในการถนอมอาหาร โดยอาจจะใส่ลงในอาหาร พ่น- ฉาบรอบๆผิวของอาหารหรือภาชนะ บรรจุสารดังกล่าวจะทำหน้าที่ยับยั้ง หรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหาร เน่าเสียโดยอาจจะไปออกฤทธิ์ต่อ ผนังเซลล์รบกวนการทำงานของ เอนไซม์หรือกลไกทางพันธุกรรม (genetic mechanism) ในเซลล์ ยังผลให้จุลินทรีย์ไม่สามารถเพิ่ม จำนวนได้หรือตายในที่สุด

สารกันบูดที่ดีควรจะออกฤทธิ์ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้ อาหารเน่าเสียมากกว่าที่จะออกฤทธิ์ยับยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ ทำให้อาหารเป็นพิษ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิด สายพันธุ์ต้านทาน (resistant strain) นอกจากนี้สารกันบูดไม่ควรจะเสื่อมคุณภาพเพิ่มใส่ลงในอาหาร ยกเว้นสารกันบูดประเภทที่ฆ่าเชื้อได้ ควรจะถูกเปลี่ยนสภาพให้เป็นสาร ไม่มีพิษหรือถูกทำลายได้ด้วยการหุงต้ม

สารกันบูด (Preservatives) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัตถุกันเสีย คือวัตถุเจือปนอาหาร เป็นสารเคมีที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ช่วยในการถนอมอาหารได้ เพราะช่วยชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวที่นิยมกันมากคือ พวกกรดอ่อนต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอท เพราะมีราคาถูกและไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยน มักเติมลงในเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ซอส ผักดอง แยม เยลลี่ ผลไม้แช่อิ่ม และเครื่อแกงสำเร็จรูป สำหรับกรดโปรปิโอนิก และเกลือโปรปิโอเนตเหมาะสำหรับใช้ป้องกันการเจริญของเชื้อรา และเกิดเมือกหรือยางเหนียวในโด (dough) หรือแป้งขนมปังที่ผ่านการนวดแล้ว จึงเหมาะที่จะใช้ในอาหารประเภทขนมปัง เค้ก และเนยแข็งชนิดต่างๆ ส่วนกรดซิตริกเป็นส่วนประกอบของผลไม้สามารถป้องกันแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี เหมาะสำหรับใส่ในเครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม เยลลี่ แยม เป็นต้น

การใช้วัตถุเจือปนอาหารซึ่งรวมถึงวัตถุกันเสียด้วย จะต้องใช้ในปริมาณแค่มากพอทำให้เกิดผลตามต้องการ คือไม่ใส่เกินขนาด เพราะผู้บริโภคจะได้สารเหล่านั้นมากเกินความจำเป็น ดังนั้นจึงมีประกาศกระทรวงสาธาณสุข ห้ามใช้วัตถุกันเสียในอาหารที่ไม่จำเป็นที่ต้องใช้สารกันบูดเลยนั่นก็คืออาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เรียบร้อยแล้ว สำหรับอาหารอื่นผู้บริโภคจะอ่านได้จากฉลากอาหารว่ามีการใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ มีส่วนประกอบอะไรเท่าไหร่

ชนิดของสารกันบูด

1. กรดและเกลือของกรดบางชนิด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโปรปิโอนิก ฯลฯ และเกลือของกรดเหล่านี้ส่วนใหญ่นิยมใช้ในรูป เกลือของกรด เพราะละลายน้ำได้ง่าย เมื่อใส่ในอาหารเกลือเหล่านี้จะเปลี่ยน ไปอยู่ในรูปของกรด หากอาหารนั้นมีความเป็นกรดสูง กรดจะคงอยู่ในรูป ที่ไม่แตกตัว ซึ่งเป็นรูปที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำลายหรือยับยั้งเชื้อ ดังนั้นอาหารที่จะใช้สารกันบูดชนิดนี้ควรจะเป็นอาหารที่มีความเป็นกรด ประมาณ 4-6 ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของกรด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม แยม ผักดองชนิดต่างๆ ขนมปัง ฯลฯ สารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะให้ผลยับยั้งราและ ยีสต์มากกว่าแบคทีเรีย ข้อดีของสารกลุ่มนี้คือมีความเป็นพิษต่ำ เพราะ ร่างกายคนสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสารอื่นที่ไม่มีพิษและขับถ่ายออกจาก ร่างกายได้

2. พาราเบนส์ (parabens) เป็นสารกันบูดที่มีประสิทธิภาพยับยั้ง หรือทำลายราและยีสต์ได้ดีกว่าแบคทีเรีย และจะมีประสิทธิภาพสูงในช่วง ความเป็นกรดด่าง (pH) กว้างกว่าสารกลุ่มแรกคือประมาณ 2-9 อาหาร ที่นิยมใส่พาราเบนส์ ได้แก่ น้ำหวานผลไม้ น้ำผลไม้ แยม ขนมหวานต่างๆ สารปรุงแต่งกลิ่นรส ฯลฯ ร่างกายคนจะมีกระบวนการขจัดพิษของพาราเบนส์ ได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรลีซิส (hydrolysis)

3. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ กลไกในการทำลายเชื้อของ สารกันบูดชนิดนี้จะคล้ายคลึงกับสารกันบูดกลุ่มแรกและจะมีประสิทธิภาพสูง ในอาหารที่มีความเป็นกรดด่างปริมาณน้อยกว่า 4 ลงมา จึงนิยมใส่ในไวน์ น้ำผลไม้ต่างๆ ผักและผลไม้แห้ง ฯลฯ สำหรับความปลอดภัยต่อผู้บริโภคนั้น พบว่าแม้สารนี้จะถูกขับออกมาจากร่างกายได้ แต่หากร่างกายได้รับสารนี้ มากเกินไป สารดังกล่าวจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายได้ นอกจากนี้สารกันบูดกลุ่มนี้ยังทำลายไธอามีน (thiamine) หรือวิตามิน B1 ในอาหารด้วย

4. สารปฏิชีวนะ ข้อดีของสารปฏิชีวนะคือ ความเป็นกรดด่างของ อาหาร ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของสาร ซึ่งอาหารที่นิยมใส่สารปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ อาจจะพบว่าใช้กับผักและผลไม้สดด้วย สารปฏิชีวนะจะทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ได้หลายชนิดขึ้นกับชนิดที่ใช้ ข้อเสียของสารกันบูดชนิดนี้คือมักจะก่อให้เกิดสายพันธุ์ต้านทานขึ้น

สำหรับปริมาณของสารกันบูดที่ใช้นั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับชนิดของอาหาร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำหนดปริมาณ ที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้ โดยทั่วไปปริมาณที่อนุญาตให้ใช้จะมีฤทธิ์แค่เพียง ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในอาหารเท่านั้น ดังนั้นในระหว่างกรรมวิธีผลิต จะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์สู่อาหารให้น้อยที่สุด เพราะ ถ้าหากมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนมากหรืออาหารเน่าเสียมาก่อน การใส่สารกันบูด ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

อันตรายจากสารกันบูด

นพ.เอี่ยม วิมุติสุนทร ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตอาหารมีการนำสารเคมีชนิดต่างๆ มาใช้ปรุงแต่งอาหาร และสารกันบูดก็เป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใส่ในอาหาร เพื่อช่วยป้องกันหรือช่วยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้เจริญเติบโตทำให้อาหารนั้นอยู่ได้นาน

การใช้สารกันบูดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น สารกันบูดในกลุ่มของดินประสิว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หากใช้ในปริมาณที่เกินกำหนด จะมีผลทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เม็ดเลือดแดงหมดสภาพในการพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จะเกิดอาการตัวเขียวหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ นอกจากนี้ดินประสิวยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย

“โซเดียมเบนโซเอต” เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้

นอกจากนี้การ ใช้ในปริมาณที่สูงจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร พิษกึ่งเฉียบพลันคือจะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่างๆเลือดออกในร่างกาย ตับ ไตใหญ่ขึ้น เป็นอัมพาตและตายในที่สุด ถ้าได้รับสารนี้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์และทารกในครรภ์มีรูปวิปริต

ดังนั้นผู้ผลิตอาหารที่ใช้สารกันบูดผสมลงในอาหารต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค เลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหารแต่ละประเภทในปริมาณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ใช้เท่านั้น ทั้งนี้ผู้ผลิตอาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหาร

เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีในอาหาร ดังนี้ เวลาซื้ออาหารสำเร็จรูปที่บรรจุในกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ควรดูสลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ไม่มีการระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ผนึกขายในถุงพลาสติก หรือกล่องพลาสติกที่ไม่ได้ขายหมดวันต่อวัน หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง กุนเชียง และน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการใช้วัตถุกันเสียในการถนอมอาหารตามสัดส่วนที่ อย.ระบุว่าปลอดภัยแม้ว่าจะไม่มีอันตราย แต่การหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย เช่นน้ำผลไม้ ,ซอสฯ ,ฯลฯ ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อสุขภาพร่างกายของเรา ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆนอกจากจะดู วันผลิต วันหมดอายุแล้ว ควรอ่านฉลากอาหารว่ามีวัตถุกันเสียหรือไม่ มากน้อยเพียงใด การรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติและให้ครบ 5 หมู่ ก็จะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีได้

 

ที่มา
พุทธรินทร์ วรรณิสสร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

Credit : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย)

sithiphong:
เห็ดสามอย่างช่วยชะล้างสารพิษในร่างกาย

-http://campus.sanook.com/1370152/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/-





หลายคนอาจเคยทราบมาก่อนแล้วว่าถ้านำเห็ดอย่างน้อย 3 ชนิดใดก็ได้เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร ความมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นและเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ให้ทั้งความอร่อยและสุขภาพนั่นคือ "เมนูเห็ดล้างพิษ" จะเป็นเห็ดสด หรือ เห็ดแห้งก็ได้โดยนำมาปรุงอาหารแล้วกินได้ทั้งเนื้อเห็ดและนํ้าต้มเห็ดแล้วจะได้โปรตีนจากเห็ดที่ร่างกายดูดซึมไปใช้งานได้ง่ายกว่าเนื้อสัตว์

ประโยชน์ของเห็ด 3 อย่าง เมื่อนำมารวมกันปรุงอาหาร คือ

สามารถช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ ทั้งจากอาหารและสารเคมี เช่น พิษจากสุรา สารตกค้างในเนื้อสัตว์
สารเคมีจากเครื่องสำอาง (ลิปสติกสีสด ยาย้อมผม)สามารถช่วยให้การทำงานของตับแข็งแรงขึ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงดีส่งผลทำให้อารมณ์ดี
สามารถช่วยล้างพิษพวกอนุมูลอิสระ ซีสต์ เนื้องอก มะเร็ง อัลฟาท็อกซิล ไวรัสตับอักเสบ สเก็ดเงิน
สามารถช่วยล้างไขมันในตับ

วิธีการปรุง

นำเห็ดที่ทานได้อย่างน้อย 3 อย่าง เช่น เห็ดหูหนูต่างๆ เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดเข็มทอง
ปรุงเป็นอาหาร เช่น ยำ ใส่ในแกงจืด แกงเลียง แกงส้ม ไข่ตุ๋น
ต้มน้ำดื่มจะผสมใบมะตูม ใบเตยหรือเพิ่มน้ำตาลกรวด

**ข้อควรหลีกเลี่ยง การผัดกับน้ำมันพืช

sithiphong:
“ขนมชั้น” กับสิ่งดีๆที่แฝงอยู่

-http://club.sanook.com/12453/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%86%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81-


“ขนมชั้น” กับสิ่งดีๆที่แฝงอยู่

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมขนมไทย อย่าง “ขนมชั้น” นั้นถึงได้มีวิธีการทำโดยแบ่งเป็นชั้นๆ และคนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้สำหรับพิธีมงคลต่างๆ ตามประเพณี

 

ขนมชั้น

“ขนมชั้น” นั้นจัดเป็นขนมโบราณที่ใช้สำหรับในพิธีมงคลมาแต่สมัยโบราณ โดยวิธีการทำขนมไทย ส่วนใหญ่มักมีการแอบแฝงข้อคิด หรือเรื่องดีๆ อยู่ในวิธีการทำหรือการตั้งชื่ออยู่เสมอ  ซึ่ง “ขนมชั้น” ก็เช่นกัน ที่มีการแอบแฝงความเชื่อที่เป็นมงคลไว้ โดยมีเรื่องเล่าตามความเชื่อกันว่าการทำขนมชั้นนั้นถ้าหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น หรือมากกว่า จะเป็นศิริมงคลและทำให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งในบางแห่งอาจจะเรียก “ขนมชั้น” ในอีกชื่อหนึ่งคือ “ขนมชั้นฟ้า”

 

Credit : Wikipedia

sithiphong:
ประโยชน์ของเนย ที่คุณอาจไม่เคยรู้

-http://campus.sanook.com/1370160/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/-


เนยก้อนที่ใช้ประกอบอาหารและขนมแสนอร่อยซึ่งมีความมันและหล่อลื่นสูงก็ช่วยแก้ปัญหาในงานบ้านได้หลายอย่างนะ



- รอยด่างบนไม้ที่เกิดจากน้ำซึมปาดเนยลงไปบนจุดเกิดเหตุ ทิ้งไว้ข้ามคืนจากนั้น ใช้ผ้าขนหนูเช็ดออกในตอนเช้า

- หมึกเลอะบนพลาสติก ใช้เนยป้ายลงบนคราบ นำไปผึ่งแดดสัก 2-3 วัน แล้วนำมาทำความสะอาดอีกครั้งด้วยสบู่ และน้ำ

- ยืดอายุให้ชีสก้อน ใช้เนยทาเคลือบขอบนอกของก้อนชีสให้ทั่วก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ชีสขึ้นราเร็วนัก

- หัวหอมใหญ่ ที่ใช้ไปเพียงครึ่งหัวแล้วต้องเก็บไว้ สามารถยืดอายุให้นานขึ้นได้แค่ป้ายเนยบนพลาสติก นำไปห่อหัวหอมแล้วห่อซ้ำอีกครั้งด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์

- หม้อที่ต้มน้ำแล้วเดือดเร็วมาก ใส่เนยละลายลงไปประมาณหนึ่งช้อนโต๊ะเพื่อหยุดไม่ให้น้ำเดือดเกินไป

- หมากฝรั่งติดผม ถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ลองใช้เนยป้ายตรงที่เกิดเหตุทิ้งไว้ให้เซ็ตตัว แล้วค่อยๆ ใช้ผ้าเช็ดหมากฝรั่งออกไป

- กาวติดมือเหนียวเหนอะหนะ ป้ายเนยลงบนรอยเหนียวๆ แล้วใช้ผ้าขนหนูเช็ดออกก่อนล้างมือให้สะอาด

- สายสร้อยพันกัน เพิ่มความลื่นบนสร้อยด้วยเนย ก็จะทำให้คุณแกะคลายปมออกง่ายขึ้นนอกจากนี้ เนยยังช่วยให้คุณถอดแหวนคับๆ ออกจากนิ้วได้ง่ายขึ้นด้วย


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version