อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

108 เคล็ดกิน

<< < (80/85) > >>

sithiphong:
"น้ำมันมะกอก" แก้นอนกรน

-http://campus.sanook.com/1376101/-



นอนกรน เป็นเรื่องธรรมชาติ!

แต่บ่อยครั้ง...ธรรมชาติก็เป็นเรื่องที่โหดร้าย

ฟี้เล็กๆ ยังพอรับได้ แต่ถ้ามาเป็นหวูดรถไฟ น่าคิดว่าจะทนไปได้นานสักแค่ไหน

จริงๆ แล้วมีกลวิธีง่ายๆ ในการขจัดเสียงกรน โดยไม่ต้องใช้หมอน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจที่มาของการกรนเสียก่อน

โดยปกติ เวลาคนเรานอนหลับ กล้ามเนื้อที่ลิ้นและที่โคนลิ้นจะคลายตัวลงไปด้วย ทำให้ลิ้นตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ แต่ไม่ได้ปิดสนิท ทำให้อากาศที่เราหายใจผ่านจมูก และผ่านลงไปยังโพรงจมูกด้านหลัง ผ่านไปไม่สะดวกนัก เกิดคล้ายการกระพือบริเวณที่โคนลิ้น เป็นที่มาของเสียงกรน

แต่วันไหนที่ทำงานมาเหนื่อยๆ แล้วนอนหลับสนิทมากๆ "ลิ้น" ที่ว่าจะตกลงไปมาก ทำให้ยิ่งกรนหนักขึ้น ยิ่งเป็นคนอ้วน เสียงยิ่งดังสนั่น

วิธีแก้แบบปัจจุบันทันด่วน...เพียงแค่ให้เจ้าตัวนอนในท่าตะแคง หรือเกือบๆ คว่ำ ช่วยลดเสียงกรนลงได้

ส่วนวิธีแก้แบบระยะยาว "น้ำมันมะกอก" ช่วยได้ โดยใช้น้ำมันมะกอกชนิดสำหรับทำอาหาร (จะให้ดีควรเลือกแบบ Extra virgin olive oil) กิน 4-5 หยดก่อนนอน ที่สำคัญควรทำควบคู่กับการคุมน้ำหนักตัว

เท่านี้โลกก็กลับมาสงบอีกครั้ง...อาเมน


--------------------------------------------------------------------



คัดข่าวดี  ภัยเงียบจากการนอนกรน นาทีที่ 0.20

-http://ch3.sanook.com/43343/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%99-

อากาศที่หนาวเย็นในช่วงนี้ อาจทำให้หลายคนรู้สึกอยากนอนทั้งวัน แต่การนอนสำหรับใครบางคนอาจส่งเสียงรบกวนคนข้าง ๆ “การนอนกรน” ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบกับคนข้าง ๆ แล้ว ที่น่าห่วงก็คืออาการหยุดหายใจในขณะหลับนั่นเอง

คุณหมอจากโรงพยาบาลพระราม 9 กล่าวว่า หลัก ๆ แล้วการนอนกรน มี 2 แบบ คือ การนอนกรนธรรมดา ซึ่งทำให้เกิดเสียงรบกวนต่อคนรอบข้างเท่านั้น กับ การนอนกรนร่วมกับภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย ถือว่าอันตรายและพบมากในวัยกลางคนอายุระหว่าง 30-60 ปี โดยพบในผู้ชายประมาณร้อยละ 4 และผู้หญิงร้อยละ 2 สัดส่วนของเด็กๆจะพบประมาณร้อยละ 1-2 ซึ่งสาเหตุที่พบในเด็กนั้นมักเกิดจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต และในกรณีเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ความผิดปกติทางโครงสร้างกะโหลกศรีษะและใบหน้า โรคอ้วนและพันธุกรรม

วิธีการสังเกตุว่าแบบไหนคือการนอนกรนธรรมดา และการนอนกรนแบบหยุดหายใจร่วมด้วย คุณหมอมีคำแนะนำแบบนี้ว่า หากเป็นการนอนกรนธรรมดาเสียงกรนจะสม่ำเสมอ นอนหลับได้ปกติ และหลังตื่นนอนจะรู้สึกสดชื่นเหมือนปกติ แต่หากเป็นการนอนกรนที่มีอันตรายนั้น เสียงกรนจะขาดหายเป็นช่วง มีลักษณะหยุดหายใจที่เกิน 5 ครั้งใน 1 ชั่วโมง มีอาการนอนหลับไม่สนิท หลังตื่นนอนจะรู้สึกไม่สดใสสดชื่น มีอาการง่วงนอนระหว่างวัน ทั้งนี้ในเด็กอาจพบว่ามีการปัสสาวะรดที่นอนร่วมด้วย

สาเหตุที่ทำให้การนอนกรนแล้วมีภาวะหยุดหายใจไปด้วย คุณหมออธิบายว่าในช่วงที่มีภาวะหยุดหายใจระดับออกซิเจนในเลือดแดง อาจจะต่ำกว่าปกติ ทำให้หัวใจ ปอด และสมองทำงานหนักมากขึ้น และอาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะตีบตันของหลอดเลือดในสมอง และความดันโลหิตสูงของหลอดเลือดในปอด สำหรับเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการที่ไม่ดี จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปด้วย

ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเพื่อห่างไกลจากการนอนกรนที่เป็นอันตราย ก็คือ การดูแลตัวเองไม่ให้อ้วน ซึ่งค่า BMI ต้องไม่เกิน 23 ด้วยการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่และยานอนหลับหรือยาที่กดประสาทส่วนกลาง และหากพบว่ามีลักษณะการนอนกรนเข้าข่ายเป็นอันตรายก็ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินการรักษาและรักษาได้อย่างทันท่วงที


sithiphong:
8 ข้อควรรู้! กิน “ถั่ว” อย่างไรให้ได้ประโยชน์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9580000010630-


เมื่อพูดถึง “ถั่ว” เชื่อได้ว่าคงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ชื่นชอบของใครหลายคน เนื่องจากรสของถั่วนั้นมีความมัน ทำให้ยิ่งกินยิ่งเพลินจนหยุดไม่ได้
       
       พืชตระกูลถั่วนั้นเรียกได้ว่ามีหลากหลายชนิด และการกินถั่วไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เพราะถั่วเป็นอาหารที่ค่อนข้างที่จะย่อยยาก และถ้ากินไม่ถูกต้องก็อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
       
       “นิตยสารหมอชาวบ้าน” ได้แนะนำการกินถั่วให้ถูกวิธีและให้ได้ประโยชน์มา 8 ข้อด้วยกันดังนี้
       
       1.สำหรับผู้ที่พึ่งหัดกินถั่วใหม่ๆ หรือปกติไม่ได้กินถั่วเป็นประจำนั้น ให้เริ่มกินแต่น้อยๆ เช่น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จากนั้นจึงค่อยเพิ่มความถี่ให้มากขึ้น เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายปรับตัว
       2.ควรแช่เมล็ดถั่วในน้ำเปล่า เป็นเวลา 12 - 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปปรุงอาหาร จะช่วยให้แป้งหรือ oligo-saccharide บางส่วนที่ย่อยยากนั้นสามารถย่อยได้มากขึ้น
       3.เลือกชนิดของถั่วที่จะนำมากิน ทั้งนี้ถั่วแต่ละชนิดนั้นทำให้เกิดแก๊สไม่เท่ากัน เช่น ถั่วขาวและถั่วเหลืองจะมีแก๊สมาก ส่วนถั่วดำ ถั่วแดงและถั่วเขียวจะมีแก๊สน้อยกว่า นอกจากนี้ “ถั่วเมล็ดแห้ง” ก็จะทำให้เกิดแก๊สในท้องมากกว่าถั่วสำเร็จรูปที่บรรจุกระป๋อง
       4.เวลากินถั่วควรเคี้ยวให้ละเอียดมากที่สุด เพราะเอนไซม์ในน้ำลายนั้นจะทำหน้าที่ช่วยย่อยแป้งได้ดี
       
       5.เนื่องจากในถั่วมีสารประเภทกรดไฟติก หรือไฟเทต ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น เหล็ก สังกะสี และแคลเซียม ดังนั้นจึงควรกินถั่วที่ปรุงสุกแล้ว ถั่วที่ผ่านการงอก หรือกระบวนการหมักมาแล้ว เพื่อลดปริมาณสารไฟเทต
       6.ปริมาณที่แนะนำในการกินถั่วคือ ครึ่งถ้วย หรือ 64 กรัม และใน 1 สัปดาห์ควรกินให้ได้ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์
       7.การเลือกซื้อถั่ว ให้เลือกถั่วที่ผลิตใหม่ๆ เมล็ดสมบูรณ์ ไม่ลีบ ไม่ฝ่อ หรือการกัดแทะของแมลง โดยเฉพาะถั่วลิสงจะมีเชื้อรา “อะฟลาท็อกซิน” จะขึ้นได้ง่าย หากเมล็ดของถั่วมีการแตกหัก หรือมีความชื้นสูง ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อถั่วเก็บไว้เป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราหรือสร้างสารพิษอะฟลาท็อกซินได้
       8.สำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรืออาการไม่พึงประสงค์หลังกินถั่วเมล็ดแห้ง ถ้าปฏิบัติตามข้อ 1, 2 และ 3 แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น อาจเลือกกินถั่วในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการงอก หรือถั่วที่ผ่านกระบวนการหมักมาแล้ว จะทำให้อาการดีขึ้น
       
       และนี่ก็เป็น 8 ข้อควรรู้ในการกิน “ถั่ว” ให้ถูกวิธี ไม่ว่าอาหารชนิดใดหากกินในปริมาณที่มากเกินไป หรือกินไม่ถูกวิธีก็สามารถทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายได้ ดังนั้นควรที่จะกินในปริมาณที่พอดีเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ รู้อย่างนี้แล้วต่อไปก็สามารถกินถั่วได้อย่างถูกต้องและได้ประโยชน์แล้วล่ะ!
       
       *หมายเหตุ ข้อมูลจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน



(ภาพประกอบจาก www.goodfoodgoodlife.in.th)

.

sithiphong:
สะเดา ผักพื้นบ้านมากสรรพคุณ

-http://health.mthai.com/howto/thai-medicine/10099.html-

สะเดา ไทยมี 2 ชนิดด้วยกัน  คือ  สะเดายอดเขียวและสะเดายอดแดง ซึ่ง สะเดา ยอดเขียวจะมีความขมน้อยกว่าหรือบางต้นอาจจะขมน้อยจนได้ชื่อว่า สะเดาหวานหรือ สะเดามัน  แต่สะเดายอดแดงจะมีความขมมากกว่า

ส่วนของ สะเดา ที่ชาวบ้านนิยมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ ยอดและดอก  ซึ่งกำลังออกมากในช่วงนี้  ใช้รับประทานเป็นผักช่วยให้เจริญอาหาร  ซึ่งมีคุณค่าทาง โภชนาการ ดังนี้ ยอด สะเดา 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 76 กิโลแคลอรี  ประกอบด้วยน้ำ 77.9 กรัม  คาร์โบไฮเดรต 12.5  กรัม  โปรตีน 5.4 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม  มีกาก 2.2 กรัม  แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส  26 มิลลิกรัม  เหล็ก 4.6  มิลลิกรัม  เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม  วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม  วิตามินซี 194 มิลลิกรัม

Neem leaves and flowers

สรรพคุณของ สะเดา

    ดอก ยอดอ่อน  –  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
    ขนอ่อน – ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
    เปลือกต้น – แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
    ก้านใบ – แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
    กระพี้ – แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
    ยาง – ดับพิษร้อน
    แก่น – แก้อาเจียน ขับเสมหะ
    ราก – แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
    ใบ,ผล – ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
    ผล มีสารรสขม – ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
    เปลือกราก – เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
    น้ำมันจากเมล็ด – ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง

วิธีและปริมาณที่ใช้

    เป็นยาขมเจริญอาหาร

ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว

    ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

สะเดา ให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย

ข้อควรระวัง

    ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจาก สะเดา จะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
    สะเดา มีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
    ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rspg.or.th
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดนครราชสีมา
ไทยสมุนไพร.net

-------------------------------------


สะเดา

-http://www.vegetweb.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B2/-


สะเดา เป็นไม้โตเร็ว เจริญได้ดีในแถบร้อน ที่มีปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 400-1,200 มม. เป็นพืชทน อากาศแห้งแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่จะเจริญเติบโตเร็ว ในสภาพดินที่ไม่ชื้นแฉะ และปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 800 มม.
การขยายพันธุ์สะเดา

ใช้วิธีเพาะเมล็ด ซึ่งสามารถทำได้จำนวนมาก เพราะปริมาณของ ผลสะเดามีมากในทุก ๆ ปี แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้นาน เพราะเมล็ดจะสูญเสียเปอร์เซ็นต์ความงอกงามได้เร็วมาก หลังจาก เก็บผล สุกมาและเอาเนื้อออกหมดแล้วล้างเมล็ดให้สะอาด นำไปเพาะทันที จะงอก ได้ดีมาก เมื่อสะเดาเจริญเติบโตจะติดผลเมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป และให้ผลผลิต เต็มที่เมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไปปริมาณของผลสะเดาจะอยู่ระหว่าง 10-50 กก./ต้น/ ปี
ชนิดของสะเดา

สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. สะเดาอินเดีย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟีนเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลมโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลมเรียวแคบมากคล้ายเส้นขร ผลสุกในเดือน ก.ค.-ส.ค.
2. สะเดาไทย มีลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม ผลสุกในเดือน เม.ย.- พ.ค.
3. สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม ขอบใบจะเรียบ หรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ปลายเป็นติ่งแหลม ขนาดใบและผลใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก ผลสุกในเดือน พ.ค.- ส.ค.
** ต้นสะเดาอินเดีย และสะเดาไทย เป็นชนิด (species) เดียวกัน แต่ต่างพันธุ์ (variety) ส่วนสะเดาช้างหรือต้นเทียม ไม้เทียม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับสะเดาไทย และสะเดาอินเดีย แต่คนละชนิด (species) สะเดาทั้ง 3 ชนิด นี้จะมีลักษณะ ใบและต้นแตกต่าง กันดังกล่าวมาแล้ว
ประโยชน์ของสะเดา

1. เนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา เข็ม และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดี
2. เป็นอาหารและพืชสมุนไพร เช่น ในดอก และยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร และยาเจริญอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกำเดา บำรุงธาตุ ผลแก้โรคหัวใจ ยางดับพิษร้อน เปลือกแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาสมานแผล ผลอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ เมล็ดใช้รักษาโรคเบาหวาน
3. เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลง สะเดามีสารชนิดหนึ่งชื่อ กะซ้าหอยแรคติหน สามารถนำมาสกัด เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงได้ พบมากที่สุดในส่วนของเมล็ด
4. ปลูกเพื่อเป็นแนวกันลมและให้ร่ม เนื่องจากมีใบหนาทึบ รากลึก ทนแล้ง ทนดินเค็ม และผลัดใบในเวลาสั้น
5. อื่นๆ เช่น น้ำมันจากเมล็ดสะเดาใช้ทำเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เปลือกมีสารแทนนิน ใช้ในอุตสาหะกรรมฟอกหนัง กากสะเดาใช้เป็นปุ๋ย ผสมเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
การปลูกสะเดา

- การเตรียมพื้นที่ ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ เก็บเศษไม้และวัชพืช สุมเผาใน ช่วงฤดูร้อน แล้วปักหลักกำหนดระยะปลูก
- ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก เช่น ต้องการไม้ขนาดเล็ก ใช้ระยะปลุก 1×2 หรือ 2×2 เมตร ต้องการไม้ใหญ่ สำหรับใช้ในการก่อสร้างและ ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ระยะปลูก 2×4 หรือ 4×4 เมตร ต้องการเมล็ดไปทำสารฆ่าแมลง ใช้ระยะปลูก 6×6 เมตร แต่เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่ อาจปลูกระยะถี่ก่อน เมื่อเรือนยอด เบียดชิดกันจึงตัดสะเดาบางส่วนไปใช้ประโยชน์ ให้ต้นสะเดาที่เหลือ มีระยะห่างตาม วัตถุประสงค์การปลูกต่อไป
- หลุมปลูก ขนาดที่เหมาะสม คือ กว้างxยาวxลึก ประมาณ 25×25x25 ซม.
- วิธีปลูก หลังจากขุดหลุมปลูกแล้ว ตากดินประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรค ในดิน แล้วจึงใส่ปุ่ยร็อคฟอสเฟส รองก้นหลุม อัตรา 150-200 กรัมต่อหลุม หรือครึ่งกระป๋องนม แล้วนำกล้าไม้ที่เตรียมไว้ ย้ายลงปลูก ขนาดกล้าไม้ที่ เหมาะสมควรสูง 8-12 นิ้ว อายุประมาณ 4-5 เดือน ฤดูปลูก ควรเป็นฤดูฝน โดยเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตกหนัก ฉีกถุงพลาสติกใส่กล้าออก วางกล้าลงตรง กลางหลุม กลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น
การดูแลรักษา

1. การกำจัดวัชพืช ในปีแรกจำเป์นต้องเอาใจใส่กำจัดวัชพืชออกบ้าง เพื่อไม่ให้สูงคลุมเบียดบังแย่งแสง และอาหาร ต้นสะเดา
2. การใส่ปุ๋ย เมื่อกล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวแล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อน กาแฟ โดยการ พรวนดินรอบโคนต้น แล้วปุ๋ยตาม
3. การริดกิ่ง หากต้องการให้สะเดามีลำต้นตรงเปลา ใช้ประโยชน์ในการแปรรูปได้มากขึ้น ควรหมั่นริดกิ่งอยู่ สม่ำเสมอ
4. การป้องกันไฟ ควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 6-8 เมตร รอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันไฟไหม้ ในฤดูแล้ง
การเก็บเกี่ยวผลสะเดา

สะเดาจะเริ่มติดผลเมื่ออายุ 3-5 ปี ให้ทำการเก็บผลสะเดาสุกจากต้นหรือผลที่ ร่วงใหม่ๆ รีบนำมาแยกเนื้อหุ้มผลออกจากเมล็ด แล้วล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำ เมล็ดไปตากแดด 1-2 วัน แล้วนำไป ผึ่งลมในที่ร่มจนแห้งสนิท จึงค่อยบรรจุใส่ภาชนะ ที่มีอากาศถ่ายเท ได้ดี เช่นกระสอบป่าน ถุงตาข่ายไนล่อน เป็นต้น เก็บไว้ในที่แห้งเย็น ไม่อับชื้น เพื่อป้องกันเชื้อรา

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



2 สูตรน้ำจิ้มลูกชิ้นปิ้ง รสแซ่บ เจอแบบนี้ซื้อลูกชิ้นมารอเลย

-http://cooking.kapook.com/view110862.html-
http://cooking.kapook.com/view110862.html

.


sithiphong:
หัวหอมใหญ่ยาครอบจักรวาล

-http://guru.sanook.com/9502/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A5/-


ทราบหรือไม่ว่า...การทานหัวหอม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงอาหาร แล้วจะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคหัวใจ และไขมันอุดตัน ซึ่งในปัจจุบันการทานอาหารมีวิธีการทานที่จะต้องแข่งกับเวลาซะเป็นส่วนใหญ่ อาหารที่ได้รับในแต่ละวันจึงไม่ตรงกับความต้องการของร่างกายตัวเอง งั้นคุณลองหันมาทาน "หัวหอมใหญ่" ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ ดีกว่าค่ะ

หอมหัวใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตก มีสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพร มีสารสำคัญคือ ฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) ซึ่งมีคุณสมบัติขัดขวางไขมัน ไม่ให้เกาะตามผนังเส้นเลือด ซึ่งถ้าเกาะมากๆ จะเกิดภาวะเส้นโลหิตอุดตันทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่ยังช่วย "ลดไขมันในเลือด" ได้อีก ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นโรคอ้วน

น่าสนใจมากที่ปัจจุบัน นิยมนำหอมหัวใหญ่มาทำเป็นน้ำมันหอมระเหย หรือที่เราเรียกกันว่า การบำบัดแบบ "อโรมาเทอราปี" โดยหอมหัวใหญ่ที่สุกจะมีน้ำมันหอมที่ชื่อว่า "อัล ลิลิก ไดซัลไฟด์ (Allilic disulfides)" ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ ถ้าสูดดมมากๆ จะช่วยกระตุ้นการขับปัสสาวะ บรรเทาอาการหวัด และลดเสมหะได้ หรือน้ำคั้นจากหอมหัวใหญ่ ก็จะช่วยลดอาการอักเสบบวม หรือลดความดันโลหิตและน้ำตาลในเส้นเลือด เนื่องจากหอมหัวใหญ่มีธาตุฟอสฟอรัสที่สูง จึงช่วยทำให้ความจำดีขึ้นอีก และยังสามารถนำหอมหัวใหญ่ไปใช้เป็นยาทาภายนอก ช่วยลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรียใช้แก้พิษแมลงกัดอาการปวดบวมตามข้อหรือทาแก้สิวได้ด้วย

           หอมหัวใหญ่ คนไทยนำมาประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ยำต่างๆ ข้าวผัด สลัด ไข่เจียว ซุปหรือสตูต่างๆ ซึ่งถ้ารับประทานกันแบบสดๆ จะมีรสชาติกรอบ เผ็ดร้อน แต่ถ้านำไปปรุงอาหาร หรือถูกความร้อนก็จะมีรสชาติหวาน เนื่องจากสารที่ชื่อ "อัลลิลโปรบิลซัลไฟต์" ระเหยไประหว่างที่ถูกความร้อนและได้สารที่มีรสหวานมาแทน ว่ากันว่า...ถ้ารับประทานหอมหัวใหญ่วันละครึ่งหัวทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือน จะช่วยลดอาการโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

แทบจะเรียกได้ว่าเป็นยาครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้ เมื่อคุณทราบกันแล้วว่าหัวหอมดีอย่างไร อย่าลืมทุกครั้งที่ทำอาหาร ให้คุณลองเติมเมนูที่มีหอมหัวใหญ่ไปด้วย เพื่อสุขภาพของคนที่คุณรักนะคะ

ที่มาข้อมูล myhomeveg.com


ที่มารูปภาพ thaiza.com



sithiphong:
กระเฉด กรุบกรอบ กินดี แต่มีอันตรายจริงหรือ

-http://campus.sanook.com/1376577/-


ผักกรุบกรอบ ที่ขึ้นชื่อว่า มีกลิ่นติดปากมากพอพอสมควร บางคนก็ชอบกิน บางคนก็เลี่ยงที่จะกิน สังเกตุง่ายๆ เวลากินยำวุ้นเส้น ยำรวมมิตร จะมีคนที่ไม่ใส่ผักกระเฉด เพราะไม่ชอบที่ใบมันติดฟัน หรือไม่ก็กลิ่นค่อนข้างแรง แต่สำหรับคนที่ชอบ นี่สารพัดจะเลือกเมนูเพื่อให้ได้ลิ้มรส และความกรุบกรอบของผักกระเฉดนี้


กระเฉดถือเป็นผักน้ำชนิดหนึ่ง ลำต้นทอดเสมอผิวน้ำ ระหว่างข้อปล้องของผักกระเฉดจะมีกระเปาะ หรือที่เรียกว่านม ลักษณะคล้ายฟองน้ำหุ้มอยู่ทำให้ลอยน้ำได้ ผักชนิดนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งที่ไม่คุ้นหูสักเท่าไรว่า "ผักรู้นอน"


กระเฉดอุดมคุณค่า แร่ธาตุและวิตามิน

ผักกระเฉดนั้นนำมาทำอาหารได้หลายชนิด จะยำ จะแกงส้ม หรือแค่นำไปผัดไฟแดงก็อร่อยอย่าบอกใคร ซึ่งคุณประโยชน์ของผักกระเฉดนั้นก็มีมากมาย ถือเป็นผักที่สารพัดแร่ธาตุ และวิตามินที่ดีต่อร่างกายทั้งนั้น

ใบผักกระเฉด 100 กรัม จะประกอบด้วยแคลเซียมสูงถึง 387 มิลลิกรัม มีเบตาแคโรทีน 478 ไมโครกรัม มีธาตุเหล็ก 5.3 มิลลิกรัม มีวิตามินบี3, 3.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 34 มิลลิกรัม และเส้นใยอาหาร 3.8 กรัม ซึ่งสารอาหารทั้งหมดจะมีคุณค่าต่อร่างกาย โดย...

วิตามินซี - มีความสำคัญกับตา ช่วยในการมองเห็นโดยเฉพาะภาวะที่มีแสงน้อย นอกจากนั้นยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างเป็นปกติ และที่สำคัญยังในการเจริญโตและ ช่วยในระบบสืบพันธ์ ไม่อยากเป็นหมันก็ลองทานผักกระเฉดดู

แคลเซียม - เสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปรกติ

ธาตุเหล็ก - มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด หากขาดธาตุเหล็ก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

เบตาแคโรทีน - ช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ สาเหตุของโรคมะเร็ง และช่วยต้านความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ ไปจนกระทั่งถึงความเสื่อมของอวัยวะสำคัญภายใน

วิตามินบี3 - ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant ช่วยต่อทำลายพิษหรือ ท็อกซินจากมลพิษ ลดความอยากดื่มแอลกอฮอล์ และ ยาเสพติด รวมถึงช่วยลดการสร้างเมลานินที่ทำให้สีผิวเข้มขึ้น

เส้นใยอาหาร - ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ดึงดูดและรวมตัวกับน้ำทำให้เกิดของเหลวลักษณะเหมือนเจลระหว่างกระบวนการย่อย รวมถึงยังช่วยเพิ่มปริมาตรของอาหารโดยไม่เพิ่มแคลอรี่ ลดจำนวนของคอเลสเตอรอลและไขมัน LDL ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

สรรพคุณของผักกระเฉด


ไม่เพียงแต่ประโยชน์ด้านโภชนาการเท่านั้น ผักกระเฉดยังจัดเป็นสมุนไพรด้วย โดยตามตำราสมุนไพรไทยแล้ว ผักกระเฉดจะเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ และก็ยังมีสูตรยาโบราณ ที่นำผักกระเฉด ตำผสมกับสุราแล้วหยอดบริเวณฝันที่ปวด ซึ่งเชื่อว่าสามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้

กระเฉด กินดี แต่อาจมีอันตราย


แม้กระเฉดจะเป็นผักที่มีคุณค่า แต่ว่า ก็มีคำเตือนจากกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ประชาชนระวังการบริโภคผักบุ้ง ผักกระเฉด

แต่อย่าพึ่งตระหนกตกใจ อันตรายที่ว่านี้ไม่ใช่อันตายของผัก แต่เป็นอันตรายจากว่าอาจจะได้รับอันตรายจากศัตรูตัวใหม่ที่เรียกว่า "ไข่ปลิง" ที่จะอยู่ในพืชน้ำเหล่านี้

ในการทานผักกระเฉดที่ไม่ผ่านการต้มเดือดถึง 500 องศาเซลเซียส อาจเสี่ยงที่จะรับทานไข่ปลิงเข้าไปได้ ทางที่ดีควรต้มให้เดือนมากๆ เป็นชั่วโมงเสียก่อนจึงจะปลอดภัย เพราะเจ้าไข่ปลิงตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูงมาก ใครที่จะทานก็ระมัดระวัง ในการปรุงอาหารก่อนรับประทาน จะได้ไม่เป็นอันตราย

พืชผัก และอาหาร มีประโยชน์ แต่ก็มีโทษมีอันตรายด้วยกันทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือความสะอาด และการทานแต่พอดี ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป แล้วจะเกิดประโยชน์กับร่างกาย

ที่มา : http://www.emaginfo.com/?p=66193


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version