อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
108 เคล็ดกิน
sithiphong:
กะเพรา...ราชินีแห่งสมุนไพร / รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
โดย MGR Online
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000002818-
9 มกราคม 2559 14:00 น.
ในภาษาฮินดี เรียกกะเพราว่า Tulsi มีความหมายว่า “ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบได้” คนอินเดียเชื่อว่าใบกะเพราเป็นร่างหนึ่งของเทพเจ้า จึงปลูกกะเพราไว้กราบไหว้บูชา เก็บมาใช้เป็นยา และยกย่องให้กะเพราเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (Queen of Herbs)
กะเพรา เป็นทั้งอาหารและยาชั้นเลิศ ที่มีใช้ทางการแพทย์อายุรเวทมายาวนานกว่า 5000 ปี กะเพราแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ กะเพราขาว ที่เรานิยมใช้ทำอาหาร กิ่งก้านใบจะเป็นสีเขียว กลิ่นไม่ฉุนมาก และกะเพราแดง ซึ่งมีฤทธิ์ทางยาสูง กิ่งก้านใบจะเป็นสีแดงคล้ำออกม่วงๆ กลิ่นฉุนกว่ากะเพราขาว เพราะมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่า
ประโยชน์ของกะเพราต่อร่างกายมีมากมาย โดยจำแนกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านสมอง - อารมณ์ การแพทย์อายุรเวทโบราณมีการใช้กะเพรามายาวนานในด้านการปรับดุลจิตใจ คลายเครียด ทำให้สงบ ในการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่า กะเพรามีฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับ และยังมีงานวิจัยในคนที่เป็นโรควิตกกังวล (Anixety) ให้ทานสารสกัดกะเพรา 500 มิลลิกรัม วันละ 2 เวลา หลังอาหารเช้าเย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 60 วัน พบว่ากะเพราช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียด และอาการซึมเศร้าได้ จึงไม่แปลกเลยที่จะเห็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากกะเพรามากมายหลายยี่ห้อในต่างประเทศ ที่มีข้อบ่งใช้ทานเพื่อหวังผลลดความเครียด ปรับสมดุลธาตุในร่างกายและจิตใจ
ด้านการมองเห็น มีการศึกษาพบว่า สารสกัดด้วยน้ำจากกะเพราแดง มีฤทธิ์ต้านการเกิดต้อกระจก ในหลอดทดลอง โดยทำให้กระบวนการต้านอนุมูลอิสระของร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น และป้องกันการขุ่นของแก้วตาในหนูทดลอง โดยพบว่าหนูที่ตาเสื่อมจากเบาหวาน หลังได้รับสารสกัดกะเพราแดง ร่วมกับวิตามินอี เป็นเวลา 16 สัปดาห์ พบว่าการบวมของจอประสาทตา ภาวะเลือดออกที่จอประสาทตา รวมถึงไขมันที่รั่วออกจากเส้นเลือดในจอประสาทตาได้หายไปหมด มีการฟื้นคืนกลับของจอประสาทตา และมีการมองเห็นที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจกแล้ว ก็ควรได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลัก เพราะผลการศึกษานี้ยังเป็นเพียงข้อมูลในสัตว์ทดลอง แต่หากจะลองทานน้ำกะเพราะแดงควบคู่กันไปเพื่อชะลอความเสื่อมก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะในคนไข้เบาหวานที่ยังไม่เป็นโรคต้อกระจก เพื่อบำรุงสายตาเอาไว้แต่เนิ่นๆ หรือคนที่กำลังมองหาสมุนไพรเพื่อบำรุงสายตา ก็แนะนำให้รับประทานกระเพราแดงไว้เป็นประจำ เพราะในกะเพราแดงมีสารที่สำคัญต่อการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ลูทีน และซีแซนทีน นอกจากนี้ กะเพราแดงยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้ด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกได้อีกทางหนึ่ง
ด้านระบบเมตาบอลิซึม (น้ำตาลในเลือด / ไขมันในเลือด) ชาวอินเดียและชาวปากีสถาน มีการใช้กะเพราทั้งแบบต้มน้ำกิน และแบบผงเพื่อรักษาเบาหวาน หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน พบว่ามีการลดลงของน้ำตาล และไขมันในเลือด เมื่อได้รับสารสกัดกะเพรา ติดต่อกัน 4 เดือน อีกทั้งยังมีงานศึกษาวิจัยยืนยันในคน โดยทำการศึกษาในคนไข้เบาหวาน โดยทานใบกะเพรา 2.5 กรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าสามารถลดระดับนำตาลได้ถึง 17.6% และลดโคเลสเตอรอลได้เฉลี่ย 6.5%
ด้านระบบทางเดินหายใจ ใบกะเพรามีเอกลักษณ์ด้านกลิ่นและรส คือ กลิ่นฉุนรสออกเผ็ดร้อน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในกะเพรา มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นน้ำมันหอมระเหย ที่สำคัญ คือ eugenol (62%) และ methyleugenol (86%) ซึ่งส่งผลดีต่อระบบทางเดินหายใจ ตำรายาไทยระบุว่ากะเพราช่วยขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ไข้ และมีการศึกษาในคนไข้หอบหืดยืนยันว่า กะเพราทำให้ปอดมีการทำงานดีขึ้น การหายใจสะดวกขึ้น และยังมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย
ด้านระบบทางเดินอาหาร ในตำรายาไทย ใช้ใบและยอดกระเพราเป็นยาบำรุงธาตุ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใส่ใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ สำหรับงานวิจัยในปัจจุบันพบว่า กะเพรามีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรด และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
สรรพคุณอื่นๆ คนไทยโบราณและตำรับยาพื้นบ้านของอินเดียใช้น้ำคั้นใบกระเพราทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ในชวาใช้ใบปรุงอาหาร รับประทานเพื่อขับน้ำนม และมีการศึกษาเบื้องต้นในหนูทดลองพบว่ากะเพรามีฤทธิ์แก้ปวดลดอักเสบได้
ขนาดและวิธีการใช้เป็นยา สำหรับการนำกะเพรามาใช้ ทำได้ง่ายๆ เพียงใช้ใบ ยอด ต้นสด หรือแห้งของกะเพราแดงมาต้ม หรือปั่นดื่ม วันละ 1-3 แก้วเป็นประจำ
ข้อควรระวัง ควรระวังการใช้กะเพราในขนาดสูงในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ชัดเจน แต่ยังสามารถทานเป็นอาหารได้ตามปกติ หรือในผู้ป่วยเบาหวานรายที่มีการคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีอยู่แล้ว ก็ต้องระวังการใช้กะเพราขนาดสูง ควรมีการปรับขนาดการทานตามความเหมาะสม ที่จะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป โดยอาการน้ำตาลตกสังเกตได้จากอาการรู้สึกหิว กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด เป็นลมและอาจชัก หรือหมดสติได้
sithiphong:
10 อาหารต้านมะเร็ง ยิ่งทานยิ่งสตรอง!
-http://health.sanook.com/2601/-
ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นโรคมะเร็งใช่ไหมคะ แต่จะให้ซื้อยา หรืออาหารเสริมมาทานก็ไม่แน่ใจในเรื่องของประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง หรือแม้กระทั่งราคาที่แพงลิบลิ่ว Sanook! Health จึงขอแนะนำอาหารธรรมดาๆ หาได้ตามท้องตลาด แต่ต้านมะเร็งได้อยู่หมัดมาให้เลือกทานกันตามใจชอบเลยค่ะ
1. ผัก
ผักหลายชนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น
- ผักสีเข้ม ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว ส้ม แดง ม่วง เช่น ผักโขม แครอท มะเขือเทศ
- กะหล่ำต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี บล็อกโคลี กะหล่ำดอก
- หัวหอม และกระเทียม
2. ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ที่นอกจากจะช่วยต้านมะเร็งแล้ว ยังดีต่อสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนที่ดี และกากใยอาหารตามธรรมชาติ ขับถ่ายได้สะดวกอีกด้วย
3. ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาเล่ย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ต้านมะเร็งก็ดี วิตามินบีก็ได้ ลดความดันโลหิตก็เยี่ยม
4. สาหร่ายทะเล เป็นแหล่งแร่ธาตุชั้นดี เต็มไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกายมากมาย มีให้เลือกทานหลายชนิด แต่ควรเลือกทานสลับชนิดกันไปเรื่อยๆ ไม่ควรทานสาหร่ายชนิดเดียวติดต่อกันนานเกินไป หรือใครอยากลองสาหร่ายพวงองุ่นก็ดีนะคะ เทรนด์กำลังมาเลยล่ะ (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ประโยชน์ของสาหร่ายพวงองุ่น ที่นี่)
5. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ทั้งสตอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เชอร์รี่ ทั้งอร่อยสดชื่น และมีประโยชน์มากมาย ทั้งวิตามินต่างๆ และกากใยอาหาร ทานสดจะได้คุณค่าสูงสุดค่ะ
6. ปลาน้ำเย็น ส่วนใหญ่จะเป็นปลาทะเล เช่น แซลมอน ที่มีโอเมก้า 3 และไขมันที่ดีต่อร่างกาย ปลาคอท ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน
7. เครื่องเทศต่างๆ เช่น เก๋ากี้ (หรือโกจิเบอร์รี่) พริกไทย กระเทียม หัวหอม ขิง โรสแมรี่ สามารถนำมาทำอาหาร หรือทานสดได้ (หากทานได้) ช่วยต้านมะเร็ง และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย
8. โยเกิร์ต ไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องการขับถ่าย และช่วยควบคุมน้ำหนักได้เท่านั้น แต่ยังช่วยต้านมะเร็ง เพราะมีสารอนุมูลอิสระ ช่วยการหมุนเวียนของโลหิต และชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย หรือจะลองกรีกโยเกิร์ต ที่เข้มข้นกว่า สารอาหารมากกว่า และมีโปรไบโอติกส์ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ดีกว่าด้วย
9. เห็ดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดออรินจิ และอื่นๆ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด มีเส้นใยอาหารที่ช่วยเรื่องการย่อย และการขับถ่ายให้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินต่างๆ ที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย
10. น้ำดื่มธรรมดาๆ นี่แหละ น้ำดื่มสะอาด ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้คล่องตัวขึ้น เป็นตัวกลางสำคัญที่จะทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการนำพาเอาของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้นอีกด้วย
เห็นไหมคะว่าอาหารแต่ละอย่างอยู่รอบตัวเราทั้งนั้น แค่ปลานึ่ง ผักต้ม น้ำพริก แกงจืด ยำเห็ด ตบด้วยน้ำผลไม้ปั่น ทุกอย่างรสชาติดี และมีประโยชน์ในราคาสบายกระเป๋า เพราะฉะนั้นเรามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีด้วยกันดีกว่าค่ะ
sithiphong:
องค์ประกอบ “น้ำมันรำข้าว” ใกล้เคียงน้ำมันที่ดีที่สุด
โดย MGR Online
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000013168-
5 กุมภาพันธ์ 2559 19:24 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2559 22:41 น.)
นักโภชนาการแนะใช้ “น้ำมัน” ทำกับข้าวให้เหมาะสม ชี้ “น้ำมันรำข้าว” ใกล้เคียงน้ำมันที่ดีที่สุด มีองค์ประกอบกรดไขมันอิ่มตัว ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน และ เชิงเดี่ยว อัตราเกือบเป็น 1 ต่อ 1 ต่อ 1
ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวเรื่อง “น้ำมันดี น้ำมันเลว มีจริงไหม” ว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดว่าในแต่ละวันประชาชนทั่วไปควรบริโภคไขมันทั้งหมด 15 - 30% ของพลังงานทั้งหมด โดยแยกเป็น 1. ไขมันอิ่มตัว หรือประเภทแช่เย็นแล้วเป็นไข ควรรับต่ำกว่า 10% ของพลังงานทั้งหมด ข้อไม่ดี คือ ทำให้ค่าแอลดีแอล หรือ คอเรสเตอรอล ที่ไม่ดีเพิ่มขึ้น แต่ข้อดี คือ ไม่หืน เมื่อนำไปใช้ในการทอดจะเปลี่ยนสภาพน้อย มีความกรอบมาก จึงเป็นน้ำมันที่เหมาะกับการทอด 2. ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง หรือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน มีข้อดี ทำให้แอลดีแอลลดลง แต่ข้อเสียคือ หืนง่าย หากทำให้อุณหภูมิสูงจะเกิดควัน และอนุมูลอิสระ มีสารก่อมะเร็งและเซลล์เสื่อม จึงไม่เหมาะกับการทอด 3. โอเมก้า-6 หรือไขมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัว 2 ตำแหน่ง ควรได้รับ 5 - 8% ของพลังงานทั้งหมด 4. โอเมก้า-3 หรือที่มีไขมันไม่อิ่มตัว 3 ตำแหน่ง ควรได้รับ 1 - 2% ของพลังงานทั้งหมด และ 5. ไขมันทรานส์ ควรได้รับต่ำกว่า 1% ของพลังงานทั้งหมด หรือได้รับยิ่งต่ำยิ่งดี เพราะทำให้แอลดีแอลเพิ่ม และเอชดีแอลที่เป็นคอเรสเตอรอบที่ดีลดลง จึงแย่กว่าไขมันอิ่มตัว
“น้ำมันที่ดีต้องมีส่วนประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว 1 ส่วน ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1 ส่วน ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 1 ส่วน ซึ่งจากข้อมูลพบว่า น้ำมันรำข้าวมีสัดส่วนที่ใกล้เคียง 1 ต่อ 1 ต่อ 1 มากที่สุด จึงมีความอเนกประสงค์ในการใช้ได้มากกว่าน้ำมันอื่น ส่วนน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากจะเหมาะกับการทอด ส่วนถ้ามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากเหมาะกับการผัด การได้รับไขมันที่เหมาะสมต่อร่างกายไม่ควรน้อย หรือมากกกว่าเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นไขมันที่มาจากพืช หรือสัตว์ และควรใช้ปรุงอาหารให้เหมาะกับคุณสมบัติของน้ำมันแต่ละชนิด” ศ.ดร.วิสิฐ กล่าว
ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สัดส่วนของกรดไขมันในน้ำมันชนิดต่าง ๆ 16 ชนิดของสถาบันโภชนาการ พบว่า มีกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โดยประมาณ ดังนั้น
1. ดอกคำฝอย 10%, 12% ,78%
2. วอลนัท 12%, 18% , 70%
3. เมล็ดทานตะวัน 11%, 25%, 64%
4. ข้าวโพด 16%, 26%, 58%
5. ถั่วเหลือง 16%, 22%, 62%
6. เมล็ดฝ้าย 27%, 19%, 54%
7. รำข้าว 23%, 45%, 32%
8. งา 17%, 41%, 42%
9. ถั่วลิสง 20%, 51%, 29%
10. แคโนลา 8%, 64%, 28%
11.มะกอก 15%, 74%, 11%
12. ปาล์มโอเลอีน 48%, 40%, 12%
13. มะพร้าว 90%, 7%, 3%
14. น้ำมันหมู 44%, 46%, 10%
15. ไขมันไก่ 44%, 48%, 16%
และ 16. ไขมันวัว 67%, 25% และ 8%
โดยน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากจะเหมาะกับการทอดและน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากเหมาะกับการใช้ผัด
“แหล่งไขมันส่วนหนึ่งมาจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม เนย เพราะฉะนั้น การได้รับไขมันต่อวันไม่เกิน 65 กรัมของพลังงานทังหมด จะต้องคำนึงถึงการได้ไขมันจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใน 1 วัน จึงแบ่งเป็นไขมันจากเนื้อสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวไปแล้ว 1 ส่วน ราว 6 - 9 ช้อนกินข้าว จึงมีการแนะนำให้ใช้น้ำมันจากพืชในการสร้างสมดุลได้อีก 5 - 7 ช้อนกินข้าว” ผศ.ดร.วันทนีย์ กล่าวและว่า สำหรับน้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเหมาะกับการใช้ทอด แต่กลับพบว่า มีการนำมารับประทานแบบเพียวเป็นอาหารเสริมนั้น แม้น้ำมันมะพร้าวจะมีไขมมันอิ่มตัวมาก แต่เป็นมีความแตกต่างจากน้ำมันอื่น ตรงที่ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวประมาณครึ่งหนึ่งมีความยาวโมเลกุลปานกลาง เมื่อร่างกายได้รับจะย่อยง่าย และดูดซึมได้ง่าย ทำให้มีการสะสมในร่างกายน้อยกว่าน้ำมันอื่นที่มีกรดไขมันอิ่มตัวเช่นเดียวกัน แต่หากกินน้ำมันมะพร้าวร่วมกับน้ำมันอื่นจนได้รับต่อวันเกินเกณฑ์ก็ไม่ดีต่อสุขภาพ ควรใช้ในการประกอบอาหาร ไม่ควรกินเป็นอาหารเสริม
sithiphong:
6 สูตรน้ำจิ้มซีฟู้ด รวมความแซ่บจัดจ้านที่ใคร ๆ ก็ทำกินได้
http://cooking.kapook.com/view127999.html
-http://cooking.kapook.com/view127999.html-
7 สูตรน้ำจิ้มแจ่ว รสจัดจ้านหลากสไตล์ เลือกให้โดนท้าให้ลอง
http://cooking.kapook.com/view130001.html
-http://cooking.kapook.com/view130001.html-
2 สูตรน้ำจิ้มลูกชิ้น รสแซ่บ เจอแบบนี้ซื้อลูกชิ้นมารอเลย
http://cooking.kapook.com/view110862.html
-http://cooking.kapook.com/view110862.html-
sithiphong:
“น้ำเต้า” พืชผักสารพัดประโยชน์
โดย MGR Online
-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000066555-
22 กรกฎาคม 2559 15:57 น.
“น้ำเต้า” เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มักจะเห็นวางขายกันอยู่ตามตลาดทั่วไป หลายคนอาจจะเห็นน้ำเต้าที่มีรูปทรงแตกต่างกัน นั่นก็เพราะน้ำเต้านั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับน้ำเต้า “108 เคล็ดกิน” จะชวนมาแนะนำให้รู้จักกัน
“น้ำเต้า” เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งตระกูลเดียวกับฟักและฟักทอง ผลมีรูปต่างๆ หลากหลายมาก ตั้งแต่กลมก้นแป้นตั้งได้ไปจนเป็นทรงรีหรือยาวมาก ตรงขั้วผลอาจมีคอคอดลงไปหรือไม่มีก็ได้ เมื่อผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่สีจะจางลง และอาจกลายเป็นสีขาวครีมเมื่อผลแห้ง
คนไทยเราจัดว่าน้ำเต้าเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ต้มจิ้มน้ำพริก นำไปแกงจืด ทำแกงส้ม ผัดน้ำเต้า เป็นต้น
นอกจากมีประโยชน์ในการนำไปปรุงอาหารอร่อยๆ แล้ว น้ำเต้าก็ยังมีสรรพคุณทางยาอีกหลายประการ เช่น ใบสด นำไปโขลก คั้นเอาแต่น้ำ ทาแก้ฟกช้ำ แก้โรคผิวหนัง แก้ผิวหนังพุพอง ใบแห้ง นำไปปรุงเป็นยาเขียวดับพิษไข้ แก้ตัวร้อน กระหายน้ำ เนื้อหุ้มเมล็ด ใช้ทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย เมล็ด เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้บวมน้ำ เป็นต้น
ผลของน้ำเต้าเมื่อยังอ่อน ก็สามารถนำมาทำเมนูต่างๆ ได้หลากหลาย แต่พอแก่เต็มที่แล้วผลจะแห้งจนภายในผลกลวง สามารถนำไปทำเป็นภาชนะสำหรับบรรจุน้ำได้ โดยเป็นภาชนะใส่น้ำที่มนุษย์รู้จักใช้กันมานับหมื่นปีแล้ว
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version