อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

108 เคล็ดกิน

<< < (10/85) > >>

sithiphong:
“ไซบูทรามีน” ภัยจากกาแฟลดความอ้วน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 ธันวาคม 2553 14:24 น.

จากที่ได้เห็นการโฆษณากาแฟลดความอ้วนจากหลากหลายทาง ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอรเน็ต หรือแม้แต่ตามร้านค้าทั่วไป ซึ่งหลายคนก็คงอยากจะลองใช้ดูบ้าง

แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็เพิ่งมีข่าวการเข้าจับกุมแหล่งขายกาแฟลดความ อ้วนที่ผสมสารอันตรายหลายยี่ห้อ ซึ่งเมื่อได้นำมาตรวจสอบแล้วก็พบสารไซบูทรามีน (Sibutramine) ผสมอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์

สารไซบูทรามีนจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ใช้ในคลินิก สำหรับลดความอ้วน ซึ่งตอนนี้องค์การอาหารและยาได้ประกาศยกเลิกตำรับยาแล้ว เพราะมีอันตรายที่อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ โดยอยู่ระหว่างการเรียกคืนจากร้านขายยา คลินิกและโรงพยาบาลทุกแห่ง ยี่ห้อการค้าในท้องตลาดคือรีดัคทิล (Reductil)

วิธีการสังเกตว่ากาแฟที่กินอยู่ผสมสารไซบูทรามีนหรือไม่ ให้ดูจากการอวดอ้างสรรพคุณ ซึ่งกาแฟกลุ่มนี้จะอวดอ้างสรรพคุณเรื่องรูปร่างดี เมื่อกินเข้าไปเริ่มแรกจะมีอาการใจสั่น หวิวๆ รู้สึกไม่สบายคล้ายจะเป็นลม ตามมาด้วยไม่อยากกินอาหาร โดยอาการจะเกิดภายหลังรับประทานเพียง 1-2 แก้ว ซึ่งอาการใจสั่นจะรุนแรงกว่าการกินกาแฟทั่วๆ ไป หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดกินทันที และส่งตัวอย่างกาแฟให้ อย. เพื่อตรวจสอบและดำเนินคดีต่อไป

ส่วนการกินกาแฟเพื่อลดความอ้วนนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความรู้ไว้ว่า ตัวกาแฟไม่สามารถลดความอ้วนได้อยู่แล้ว ฉะนั้น หากมีการอวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วนจะต้องมีการผสมสารบางอย่างลงไป และสำหรับการลดความอ้วนที่จำเป็นต้องใช้ยา จะต้องอยู่ภายใต้คำสั่งการดูแลของแพทย์เท่านั้น

หลักในการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน จะต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง วันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3 วัน และปรับพฤติกรรมการกินอาหาร ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ที่รสไม่หวาน กินให้ครบ 5 หมู่แต่พอเพียง ซึ่งจะเป็นการลดความอ้วนตามหลักการแพทย์ที่ถูกต้อง

สาวๆ (หรือหนุ่มๆ) คนไหนที่อยากจะลดหุ่นให้ดูดีตามที่ใจต้องการ ก็ไม่ต้องไปพึ่งพากาแฟเหล่านั้น เพียงแต่กินอาหารให้ถูกสัดส่วน และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ก็เพียงพอแล้ว

http://www.manager.co.th/Travel/View...=9530000183546
.



.

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม

sithiphong:
เคล็ดลับเลือกเนื้อวัว เพื่ออาหารจานอร่อย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 มกราคม 2554 15:44 น.



 เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า การเลือกเนื้อวัวมาทำอาหารสักจานนั้น ต้องเลือกเนื้อที่สด สะอาด ออกสีแดงๆ กดลงไปแล้วเนื้อไม่บุ๋ม ไม่มีน้ำเลือดไหลซึมออกมา ไม่มีสีคล้ำอมเขียว และเมื่อดมแล้วไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
       
       แต่เนื้อวัวก็มีอยู่หลายส่วนให้เลือกกิน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัน ซี่โครง สะโพก เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ซึ่งก็จะเหมาะกับการทำอาหารแตกต่างเมนูกัน “108 เคล็ดกิน” จึงอยากแบ่งแยกให้เห็นกัน ดังนี้
       
       เนื้อส่วนคอ (Chuck) เหมาะสำหรับทำอาหารประเภออบ เนื้อบด ทำซุป หรือสตูว์
       
       เนื้อกระพุ้งแก้ม นำไปตุ๋นจนเปื่อยจะได้เนื้อนุ่มอร่อยเป็นส่วนที่มีน้อยและหายาก
       
       ลิ้นวัว เหมาะที่จะนำมาเคี่ยวทำสตูว์
       
       เนื้อไหล่ เหมาะสำหรับทำสุกี้ยากี้ ชาบุชาบุ หรืออาหารที่ใช้เนื้อเป็นก้อน
       
       เนื้อสันใน (Tenderloin) เนื้อส่วนนี้นุ่มและมีไขมันน้อย เหมาะสำหรับน้ำมาผัด หรือย่างทั้งก้อน
       
       เนื้อสันนอก (Sirloin) เนื้อนุ่มเหมาะสำหรับทำสต็กที่สุด
       
       เนื้อติดซี่โครง (Rib) เนื้อนุ่ม ลายไขมันเป็นลายหินอ่อน เหมาะกับการอบ ทอด และย่าง
       
       เนื้อสะโพก (Rump) เหมาะกับการอบ ย่าง ทำเนื้อบด หรือสเต็ก
       
       เนื้อส่วนท้อง (Plate&Flank) มีไขมันเยอะ รสชาติเข้มข้น จึงเหมาะกับการทำสตูว์ น้ำสต๊อก ทำเนื้อเปื่อย หรือ เนื้อตุ๋น
       
       เนื้อท่อนขา (FORE SHANK ) เป็นส่วนที่เหนียว เหมาะที่จะสตูว์ น้ำซุป ย่าง หรือตุ๋น
       
       หางวัว เป็นเนื้อส่วนที่มีคอลลาเจนมาก เหมาะสำหรับนำไปตุ๋น นิยมทำเป็นซุปหางวัว
       
       กระดูกวัว เหมาะที่จะนำมาต้มทำน้ำซุป
       
       คราวนี้ก็ได้รู้แล้วว่า เนื้อวัวส่วนไหน เหมาะกับอาหารจานใด ต่อไปนี้ถ้าหากจะเข้าครัวปรุงอาหาร จะได้เลือกให้ถูกส่วน เพื่อเพิ่มความเอร็ดอร่อยให้กับอาหารจานนั้นๆ

sithiphong:
กินบาร์บีคิวอย่างไร ให้ปลอดภัย



กินบาร์บีคิวให้ปลอดภัย (แม่บ้าน)

          อาหารประเภทบาร์บีคิว ถึงจะมีชื่อเป็นภาษาต่างชาติ แต่วิธีการปรุงและการกินใกล้เคียงกับอาหารปิ้งย่างของไทย จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเหตุใดอาหารประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมของเรา โดยมีบาร์บีคิวตั้งแต่ระดับภัตตาคารสุดหรู โรงแรมสารพัดดาว ร้านอาหารทั่วไป จนถึงแผงลอย รถเข็น และตลาดนัด แถมยังมีหลากหลายสัญชาติให้เลือก นอกจากรสชาติแล้ว บาร์บีคิวยังเป็นอาหารที่ปรุงง่าย กินง่าย สะดวกรวดเร็ว และยังเป็นอาหารเชื่อมสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนฝูง ครอบครัว ในแบบทำเองกินเองทั้งที่ร้านหรือที่บ้าน ช่วงนี้เริ่มปลอดฝนแล้ว คุณผู้อ่านอาจจะสนใจล้อมวงทำบาร์บีคิวกินกัน ดังนั้นเรามาลองดูกันดีกว่าว่าจะเลือกปรุง เลือกกินอย่างไรให้ปลอดจากพิษภัย

           ต้นตำรับบาร์บีคิว

          ไม่ว่าจะเป็นบาร์บีคิวสัญชาติใด การปรุงอาหารด้วยวิธีนี้ หมายถึงการทำให้อาหารสุกโดยใช้ความร้อนจากเตาถ่าน เตาก๊าซ หรือเตาไฟฟ้าในลักษณะการปิ้งหรือย่าง เตาบาร์บีคิวที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ก็มี ซึ่งน่าจะเอามาใช้ในเมืองไทยเพราะแดดแรงเหลือทนคำนี้ใช้เรียกอุปกรณ์ (เตา) และตัวอาหารที่เตรียมโดยใช้วิธีนี้ด้วย มีรากศัพท์มาจากคำที่มีความหมายว่า “หลุมไฟศักดิ์สิทธิ์” แม้ต้นกำเนิดของบาร์บีคิวจะไม่ชัดเจน แต่คาดว่ามีกำเนิดมานานไม่น้อยกว่าสองศตวรรษ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังพบวิธีการทำบาร์บีคิวหลากหลายรูปแบบ บางแห่งเป็นการปิ้งหรือย่างบนไฟแรงให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่บางแห่งการทำบาร์บีคิวหมายถึงการให้ความร้อนแบบทางอ้อม (ความร้อนไม่สูงมาก) เช่น การอบหรือรมควัน เป็นต้น เพื่อให้อาหารสุกอย่างช้า ๆ อาหารที่จะนำมาทำบาร์บีคิวอาจหมักหรือทาเครื่องเทศหรือซอสด้วยก็ได้

           มีอะไรที่ควรระวัง

          หากจะพิจารณาในเชิงสุขภาพ มีประเด็นที่ควรระวังเกี่ยวกับการเตรียมและบริโภคอาหารประเภทบาร์บีคิวอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ อาหารเป็นพิษ สารก่อมะเร็ง และมลภาวะ

          โอกาสที่จะเกิดอาหารเป็นพิษ ส่วนมากเกิดในกรณีที่ใช้เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์น้ำเป็นวัตถุดิบ เนื้อสัตว์เหล่านี้มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ตามธรรมชาติ ปัญหาอาจเกิดขึ้นเมื่อการปิ้งย่างทำให้อาหารสุกไม่ทั่วถึงหรือสุกไม่พอ จุลินทรีย์ที่ก่อโรคไม่ได้ถูกทำลายให้หมดไป บางครั้งเนื้อสัตว์ที่เตรียมไว้ถูกวางทิ้งรอปิ้งอยู่เป็นเวลานาน ทำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าปกติ

          นอกจากนี้อาจเป็นการปนเปื้อนระหว่างอาหารสุกกับอาหารดิบ เนื่องจากใช้ภาชนะ อุปกรณ์ (มีด ส้อม เขียง จาน ฯลฯ) ปะปนกันถึงแม้จะไม่ใช่เนื้อสัตว์ คืออาจเป็นผักต่างๆ มันฝรั่ง มันเทศ ผลไม้ เป็นต้น การปนเปื้อนก็เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มาจากดิน และฝุ่นละอองที่ติดมากับอาหารเหล่านั้น แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าพืชผักมักจะบูดเสียยากกว่าเนื้อสัตว์

          การเกิดสารก่อมะเร็งจากการปิ้งย่าง เป็นเรื่องที่นักวิชาการออกมาเตือนให้ระวังกันอยู่เสมอ บาร์บีคิวและอาหารปิ้งย่างอื่นๆ ที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันติด อาจเป็นต้นตอของสารก่อมะเร็งได้ เพราะในระหว่างการปิ้ง ความร้อนจากเตาจะทำให้ไขมันจากอาหารหลอมตัว และหยดลงบนเตาที่ร้อน ส่วนหนึ่งกลายเป็นสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons) ซึ่งชื่อยาวจนยากที่จะจำ จึงเรียกกันย่อๆ ว่าสารกลุ่มพีเอเอช (PAH) สารพีเอเอชจะลอยขึ้นไปกับควันและจับบนอาหารที่ปิ้งอยู่ เมื่อเรากินเข้าไป อาหารที่ไหม้เกรียมและมีควันดำจับนั้น จะพาสารก่อมะเร็งเข้าไปในร่างกายด้วย สารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือ สารกลุ่มเฮเทอโรไซคลิก เอมีน (Heterocyclic amines) หรือเอชซีเอ (HCA) จะเกิดจากการเผาไหม้ของโปรตีนในเนื้อสัตว์

         การเกิดมลภาวะเป็นพิษทางอากาศ การเผาไหม้ของถ่านในเวลาปิ้งย่างอาหารทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ เหมือนอย่างที่ออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ รวมทั้งเกิดสารพิษอื่น เช่น เบนซีน โทลูอีน เมทิลีนคลอไรด์ และคลอโรฟอร์ม เป็นต้น ยิ่งเป็นการปิ้งย่างในอาคาร (โดยเฉพาะที่ติดเครื่องปรับอากาศ) ยิ่งเกิดการสะสมของสารพิษเหล่านี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นปัญหากับผู้ที่ทำงานในร้านอาหารประเภทดังกล่าวมากกว่าลูกค้า ที่ไปนั่งกินเป็นครั้งคราว

           กินให้ปลอดภัย

          ที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเลิกกินบาร์บีคิวหรืออาหารปิ้งย่าง แต่ควรกินอย่างมีสติ (ว่าเข้าไปนั่น) เริ่มตั้งแต่การดูแลรักษาความสะอาดในระหว่างการเตรียมและปรุง เรื่องของสุขลักษณะเราต้องใส่ใจเสมอไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาหารด้วยวิธีใด อย่าหวังพึ่งความร้อนในการฆ่าเชื้อโรคที่ปลายทางเพียงอย่างเดียว และควรปิ้งให้สุกทั่วทั้งชิ้น

          อาหารสดที่เตรียมไว้รอการปิ้ง ไม่ควรทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน ๆ ถ้าจะทำในปริมาณมากน่าจะใส่ตู้เย็นไว้ แล้วทยอยแบ่งออกมาปิ้ง เวลาปิ้งอย่าปล่อยให้อาหารไหม้เกรียมหรือเกิดควันมาก เนื้อสัตว์ควรเลาะเอาส่วนที่ติดมันออก ลองเปลี่ยนมาทำบาร์บีคิวผักบ้างเพื่อลดส่วนที่มีไขมัน ใช้ไฟอ่อนและลดเวลาที่ใช้ในการปิ้งโดยทำให้อาหารสุกระดับหนึ่งก่อน เช่น อบในเตาอบ หรือเตาไมโครเวฟ เป็นต้น อาหารจะได้ไม่ไหม้ หากมีส่วนที่ไหม้เกรียมก็ควรตัดออก

          บาร์บีคิวเป็นอาหารที่ทำง่าย อร่อยและสนุก สามารถทำกิน (หรือพากันไปกิน) ในครอบครัว ระหว่างเพื่อนฝูง เพียงแต่มีข้อที่ควรระวังอยู่บ้าง หากใส่ใจจะสามารถอิ่มอร่อย ได้อย่างมีประโยชน์ และไม่เกิดโทษต่อสุขภาพ หน้าหนาวนี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการทำ (หรือกิน) บาร์บีคิวก็แล้วกัน พบกันใหม่ฉบับหน้า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.maeban.co.th/

.

http://health.kapook.com/view20681.html

.




ฐิตา:


หลากสาระน่ารู้ มีประโยชน์จริงค่ะ..
เพิ่งทราบว่า บอนหวานใบเขียวกว่าไม่มีนวลที่ก้านใบ
ขอบคุณน้องหนุ่มสำหรับการแบ่งปันนะคะ อนุโมทนาค่ะ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version