ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานและบทสวดบูชาพระอุปคุต  (อ่าน 3858 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ตำนานและบทสวดบูชาพระอุปคุต
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 01:27:54 pm »



ตำนานและบทสวดบูชาพระอุปคุต

บทสวดบูชาพระอุปคุต
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะวิยากะโต
มารัญ จะ มาระพะลัญ จะ
โสอิทานิมะหาเถโร นะมัสสิตตะวา
ปะติฏฐิโต อะหังวันทามิ อิทาเนวะ
อุปะคุตตัง จะ มหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง 
ชาตัง อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม



ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย) พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราช (พระเจ้าอโศกมหาราช) ได้ผ่านพิภพมไหสวรรค์ราชสมบัติ พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงสถาปนาสร้างพระวิหารและพระสถูปนัยว่าถึงแปดหมื่นสี่พันแห่งทั่วชมภูทวีป และได้ทรงขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุมาไว้เพื่อนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง เมื่อได้ทรงขุดค้นรวบรวมหมดแล้ว ก็อัญเชิญไปสู่นครปาตลีบุตร ทรงกระทำการสักการะสัมมานะโดยเอนกประการ แล้วทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือเข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่อีก ๑ องค์สูงถึงกึ่งโยชน์ที่ฝั่งแม่น้ำคงดา ใกล้นครปาตลีบุตร แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่นั้นและก็ทราบว่ามีบางส่วนที่ส่งไปบรรจุไว้ในต่างแคว้น

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงปรารภที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสีพันองค์นั้น เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ในระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้การฉลองสมโภชเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากอุปสรรค จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพที่ทรงอิทธิฤทธิ์ เป็นผู้คุ้มครองงานให้ปราศจากการรบกวนจากมาร้ายต่าง ๆ พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร ไม่มีองค์ใดที่จะรับเป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ได้ โดยเฉพาะพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ องค์ ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์

ซึ่งจำพรรษาอยู่กลางมหาสมุทรมาช่วยรักษาความปลอดภัยในงานมิให้งานสมโภชองค์พระสถูปเจดีย์พบอุปสรรค ให้ดำเนินไปโดยตลอดปลอดภัยทุกประการ เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์จากผู้แทนพระสงฆ์เมืองปาตลีบุตรแล้ว ก็เดินทางมานมัสการและรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบผู้จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาการงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ พระสงฆ์แนะนำพระอุปคุตเถระให้ทรงทราบ

เมื่อพระองค์ทรงทรงทราบผู้จะมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในงานแล้ว ก็ทรงนึกแคลงพระทัย เนื่องจากพระอุปคุตเถระมีลักษณะอ่อนแอร่างกายผ่ายผอมเกรงจะทำหน้าที่ไม่ได้สมบูรณ์แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร รุ่งขึ้นวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชใคร่จะทดสอบดูฤทธิ์พระเถระ จึงทรงปล่อยช้างซับมัน ( ช้างตกมัน ) ให้เข้าทำร้ายพระเถระพระมหาอุปคุตเห็นดังนั้นจึงสะกดช้างที่กำลังวิ่งเข้ามาให้หยุดอยู่กับที่ ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส จึงเสด็จไปขอขมาโทษพระเถระ ที่ได้กระทำการล่วงเกิน โดยเจตนาจะทดลอง พระมหาอุปคุตเถระ ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชและพญาคชสาร พญาศรีธรรมาโศกมหาราชทรงพอพระทัย ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์ ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคาสว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพและพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดพุทธศาสนิกชน ทั้งในนครปาตลีบุตรและต่างแดนจากจตุรทิศ ได้เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน ต่างก็มีเครื่องสักการะบูชาอยู่ในมือเพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์ และเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

ท่ามกลางบรรดานักแสวงบุญ ที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณงานนั้น พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร ( เทพบุตรที่เป็นมาร ) ได้โอกาสงามเช่นนี้ ก็แปลงร่างจากปรนิมมิตตะวัสสวดีเทวโลก อันเป็นที่อยู่ของตน ปนเปกับนักบุญทั้งหลายเพื่อทำลายพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่นั้น ในขณะนั้นพระมหาเถระอุปคุต ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในบริเวณงานทั้งหมด หยั่งทราบด้วยญาณอันวิเศษ ถึงมหาภัยที่กำลังคุกคามอยู่เบื้องหน้า ที่ปลอมมาในรูปของนักบุญจึงเนรมิตร่างสุนัขเน่าที่กำลังขึ้นหนอน อธิฐานให้เข้าไปคล้องไว้กับคอพญามารแล้วอธิฐานว่า แม้เทพดามหาพรหมยมยักษ์ภูตผีปีศาจที่มีฤทธิ์เข็ดขลัง ก็อย่าสามารถนำร่างสุนัขเน่านี้ออกจากคอพญามารได้ แล้วขับพญามารหนีออกจากบริเวณงานทันทีพญามารพยายามแก้ร่างสุนัขเน่าด้วยฤทธานุภาพอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ออกได้

พญาวัสสวดีมาร ยอมแพ้แก่พระอุปคุตเถระผู้ทรงฤทธิ์ เมื่อสิ้นคิดที่จะแก้ไข ก็ยอมออกจากบริเวณงานโดยดีแต่ขอร้องให้มหาอุปคุตเถระแก้ร่างสุนัขเน่าออกจากคอของตน เพราะทนต่อกลิ่นเหม็นไม่ได้พระมหาอุปคุตป์ก็อนุโลมตามแต่ไม่ไว้ใจพญามารสนิทนัก เพราะเกรงพญามารอาจคิดกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง จึงอธิษฐานประคตเอวให้เป็นดังโซ่เหล็กผูกพญามารติดไว้กับเขาลูกหนึ่งนอกบริเวณงาน แล้วบอกแก่พญามารว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ

เมื่องานฉลองสมโภชมหาเจดีย์ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน สิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย พระมหาเถระจึงได้ไปหาพญามารที่เขานอกเมือง เพื่อสังเกตดูว่าพญามารจะสิ้นพยศหรือยัง ก็ทราบว่าสิ้นพยศแล้วทั้งยังกล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าว่า “ สมเด็จพระพุทธชินสิห์” องค์ใด ทรงมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้นเป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์โดยประการต่างๆ แต่พระองค์ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบแก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้ สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุตไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย กระทำกับข้าพเจ้าให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งถ้าหากว่า ข้ายังมีบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิฐานปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต

เมื่อพระอุปคุตเถระ ได้ยินคำกล่าวสดุดีพระพุทธคุณและแสดงความเสียใจของพญามารออกมาเช่นนั้น ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่เหล็กออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง

พระอุปคุตนั้น เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี เราไม่ทราบภูมิเดิมของพระมหาเถระอุปคุตละเอียดเท่าที่ควร ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร ที่ไหน เท่าที่สันนิษฐานตามตำนานพระเถระอุปคุตน่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหารได้ร่ำลือมาจนทุกวันนี้ ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตรเรือนแก้ว ( กุฎแก้ว ) ขึ้นในท้องทะเลหลวง ( สะดือทะเล ) แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฎแก้วตลอดเวลา และคงจะขึ้นมาบิณฑบาตที่นครปาตลีบุตรเป็นประจำ เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ เมื่อมีผู้นิมนต์ท่านก็ขึ้นช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2014, 01:27:18 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนานและบทสวดบูชาพระอุปคุต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 02:04:08 pm »



ตำนาน พระอุปคุต

     ท่านเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก) เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ ๆ มาแต่ครั้งโบราณ
(พระ คาถา อุปคุตผูกผี ท่องนะโมก่อน๓หน อุปปะคุตโตจะมหาเถโร อุปปะคุตตังจะมหาเถรัง พันธะเวระมาระพันธานุภาเวนะอิมังกายะพันทะนังอฐิษฐามิฯ เวลาใช้งายๆให้เดินไปที่ๆวิญญาณสิงอยู่ด้ยสายสิญพันพร้อมท่อง๓หนพันให้เสร็จ พร้องพระคาถาเพื่อสะกดมิให้วิญญาณอาละวาด ใด้ผลชงัดนัก)
ทุกพระคาถาขึ้นนะโมก่อนทุกครั้งครับ

เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
เมื่อ ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ตามตำนานกล่าวว่า ได้ทรงสร้างพระวิหารและพระสถูป มากมายทั่วทั้งชมพูทวีป (เค้าว่ามากถึงแปดหมื่นสี่พันองค์) เป็นผู้รวบรวมและขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อจะนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงปรารภ ที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมดนั้น เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน และเพื่อให้การฉลองสมโภช เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรค จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพ ที่ทรงอิทธิฤทธิ์ มาเป็นผู้คุ้มครองงาน ให้ปราศจากการรบกวนจากมารร้ายต่าง ๆ

แต่พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร ไม่มีรูปใดที่จะสามารถ เป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ให้พ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวงได้ (โดยเฉพาะภัยจากพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย) นอกเสียจากพระอุปคุตเถระผู้เดียวเท่านั้น พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ รูป ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์ มาช่วยรักษาความปลอดภัย ในงานสมโภชครั้งนี้ ซึ่งกล่าวกันว่า พระอุปคุตเถระองค์นี้ มีปกติสันโดษอยู่องค์เดียว เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุข อยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ภายในปราสาทแก้วที่เนรมิตขึ้น เหนือรัตนะบัลลังก์ จะออกจากสมาบัติ เหาะขึ้นมาบิณฑบาต ในโลกมนุษย์ ในวันพุธเพ็ญกลางเดือนเท่านั้น

และในครั้งนี้เอง พระอุปคุตเถระ ถูกพระภิกษุสองรูป ผู้ได้อภิญญาสมาบัติ ชำแรกมหาสมุทร ลงมาถึงตัวท่านแจ้งว่า ให้ท่านจงเป็นธุระ ป้องกันพญามารอย่าให้รบกวนงานฉลองพระสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์ ก็เดินทางมานมัสการ และรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบเรื่อง ผู้จะที่จะมาทำหน้าที่รักษาการ งานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงทราบ ว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ คือพระอุปคุตเถระ ก็ทรงนึกแคลงพระทัย เนื่องจากพระอุปคุตเถระนั้น มีร่างกายผ่ายผอมดูอ่อนแอ ก็ทรงไม่แน่ใจ เกรงจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร



ครั้นรุ่งเช้าวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระ ออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช ใคร่จะทดสอบฤทธิ์พระเถระ จึงทรงปล่อยช้างซับมัน (ช้างตกมัน) ให้เข้าทำร้ายพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระเห็นดังนั้น จึงสะกดช้าง ที่กำลังวิ่งเข้ามา ให้หยุดอยู่กับที่ ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา พระเจ้าอโศกมหาราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส จึงเสด็จไปขอขมาพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระ ก็ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าอโศกมหาราช และพญาคชสาร

เมื่อเห็นว่าพระอุปคุตเถระ มีฤทธิ์เดชมาก พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ทรงวางพระทัย ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์ ทำให้ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคา สว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่กำหนดไว้ บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพ และพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ทั้งในนครปาตลีบุตร และต่างแดนจากจตุรทิศ ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน พร้อมเครื่องสักการบูชา เพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์ และเจดีย์ ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

และในเวลานี้เอง พญามาร (พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร) ก็มุ่งหน้าเข้ามาในงานกับเค้าเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อความวุ่นวาย ต่างๆ นานา ทั้งบันดาลให้เกิดลมพายุ ทั้งแปลงร่างเป็นสัตว์ป่า และสัตว์หิมพานต์ แต่ทุกครั้งก็โดนพระอุปคุตเถระ กำราบได้หมด และสุดท้าย เพื่อให้พญามาร ออกไปจากบริเวณพิธี พระอุปคุตเถระ จึงเนรมิตร่างหมาเน่าขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วดึงประคตจากเอวของท่าน ออกมาผูกร่างหมาเน่านั้น คล้องคอพญามารไว้ แล้วสำทับว่าไม่ว่าใครก็ตาม (นอกจากท่านเอง) จะเอาหมาเน่านี้ออก จากคอพญามารไม่ได้ แล้วขับพญามารออกไป จากบริเวณงานทันที

ด้วยความอับอาย พญามารก็ออกมาจากบริเวณงาน และพยายามแก้ร่างสุนัขเน่า ออกด้วยฤทธานุภาพ แต่ทำอย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเมื่อเอามือทั้งสอง ต้องสายประคตที่คล้องคอทีไร ต้องมีไฟลุกขึ้นไหม้คอ และมือทันที สุดจะแก้ไขด้วยตนเองได้ ก็ไปหาที่พึ่งอื่น (ที่คิดว่าน่าจะช่วยได้) แต่ถึงแม้จะไปหาท้าวมหาราชทั้งสี่ พระอินทร์ ท้าวยามา ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมิตเทวราช ตลอดจนท้าวสหัสบดีพรม ก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ ต่างได้แต่แนะนำว่า ให้พญามารไปขอขมา และขอความเมตตา จากพระเถระผู้นั้นเสียดีกว่า

พญามารเห็นดังนั้น จึงจำใจต้องกลับไปหาพระเถระ อ้อนวอน ให้ช่วยเอาซากหมาเน่าออกจากคอให้ แล้วจะไม่มารบกวน การจัดงานอีก พระอุปคุตเถระก็อนุโลมตาม แต่ยังไม่ไว้ใจพญามารนัก เกรงพญามาร จะกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง จึงเดินนำพญามาร ไปยังเขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วเอาร่างหมาเน่าทิ้งลงเหว และเนรมิตให้สายประคตยาวขึ้น แล้วพันคอพญามาร ไว้กับเขาลูกนั้น พร้อมทั้งแจ้งว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภช พระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ (7 ปี 7 เดือน 7 วัน) เวลาผ่านไปตามที่ตกลงกัน การจัดงานสมโภชน์ ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พระอุปคุตเถระ จึงกลับมาหาพญามาร โดยแอบอยู่ห่างๆ เพื่อฟังเสียงพญามารว่า ละพยศร้ายหรือยัง

พญามารเอง เมื่อจากทิพยวิมานอันบรมสุข มารับทุกขเวทนาเช่นนี้ ก็ละพยศร้ายในสันดาน หวนนึกถึงพระพุทธโคดม จึงกล่าวสดุดี ในความเมตตากรุณา ของพระพุทธเจ้า ในเรื่องที่ทรงมีมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ว่า “ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้น เป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์ โดยประการต่างๆ แต่พระองค์ ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบ แก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้ สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุต ไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย กระทำกับข้าพเจ้า ให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และได้รับความอับอาย เป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าข้ายังมีบุญกุศล ที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต ดังเช่นพระองค์ต่อไป” พระยามารแท้จริงคือพระโพธิสัตว์

กล่าวได้ว่า การตกระกำลำบากในครั้งนี้ ทำให้พญามาร ซึ่งความจริงแล้ว ในอดีตชาติ (ในยุคของพระกัสสปพุทธเจ้า) เคยมีจิตตั้งมั่น ที่จะบำเพ็ญเพียร ให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน แต่ที่ได้กระทำการขัดขวาง พุทธศาสดาของพระพุทธโคดม ก็ด้วยความริษยา พระพุทธโคดม (มีมิจฉาทิฐิ) เนื่องด้วยพระองค์ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก่อนตน ทั้งๆ ที่ตนบำเพ็ญบารมี มามากพอสมควรเหมือนกัน แต่การกระทำในแต่ละครั้ง ก็มิได้ล่วงเกิน ทำบาปหนักแต่ประการใด

เมื่อพระอุปคุตเถระ ได้ยินคำปรารภดังนั้น ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ พร้อมทั้งขอขมาพญามาร และบอกว่า การกระทำครั้งนี้ ก็เพื่อให้พญามาร ระลึกได้ถึงพุทธภูมิ ที่ท่านเคยปรารถนาไว้เท่านั้นเอง มิได้มีเจตนา ที่จะล่วงเกินประการใด ซึ่งพญามารก็เข้าใจด้วยดี ต่อจากนั้นพระเถระ ก็ได้ขอให้พญามาร เนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์ เพื่อจะได้เห็น เป็นพุทธานุสติบ้าง ซึ่งพญามารก็รับคำ แต่ขอร้องว่า เมื่อเห็นเขาเนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์แล้ว อย่าหลงกราบไหว้เป็นอันขาด เพราะจะให้เขาบาปหนัก

ครั้นเมื่อพญามารเนรมิตกาย เป็นพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ และฉัพพรรณรังสี อันวิจิตร มีพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา แวดล้อมด้วย มหาสาวกทั้งหลายเป็นบริวาร เสด็จเยื้องย่าง ด้วยพุทธลีลาอันงดงามยิ่ง พระเถระ และบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเช่นนั้น ก็ลืมตัวพากันถวายนมัสการ ทำเอาพญามารตกใจ รีบคืนร่างเดิม และท้วงติงว่า ทำให้ตนมีบาปหนัก แต่พระเถระ ก็กล่าวให้พญามารสบายใจว่า ทุกคนกราบไหว้พระพุทธเจ้า และพญามารก็ไม่บาปหรอก จะได้กุศลมากกว่า


จากนั้นพญามาร ก็กลับคืนสู่สวรรค์ ชั้นที่ 6 วิมานของตน และนับแต่นั้นมา พญามารได้มีจิตอ่อนน้อมเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา หมดสิ้นน้ำใจริษยา และบำเพ็ญบารมี เพื่อพุทธภูมิต่อไป

ศรัทธาของพระเจ้าอโศก
กิตติศัพท์ด้านความรู้ความสามารถของท่านได้แพร่สะพัดไป จนทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ จึงตั้งพระทัย จะเสด็จไปอาราธนา ท่านพระอุปคุตให้มาโปรดยังกรุง ปาฏลีบุตร แต่วิสัยของพระอรหันต์ผู้ยิ่งด้วยอภิญญาเฉกเช่นท่านพระอุปคุตนั้น เพียงแค่พระเจ้าอโศกทรงดำริเท่านั้น ท่านก็ทราบแล้ว จึงได้รีบลงเรือเดินทางมาสู่กรุงปาฏลีบุตรในทันที ฝ่ายพระเจ้าอโศก เมื่อทรงทราบว่า ท่านพระอุปคุต ได้เดินทางมาแล้ว จึงได้โปรดให้ตั้งพิธีต้อนรับ และเสด็จมารับ ท่านพระอุปคุต ด้วยพระองค์เอง อันเป็นตำนาน ที่ปรากฎอยู่ ใน คัมภีร์อโศอวทาน

หมายเหตุ
เนื้อเรื่องได้กล่าวถึง พระพระกัสสปพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อความเข้าใจ ในการอ่าน ขอเสริมว่าตามตำนาน โลกเรานั้น แบ่งช่วงเวลาเป็นกัลป์ ซึ่งแต่ละช่วง ในแต่ละกัลป์ ก็จะมีพระพุทธเจ้า ที่มาตรัสรู้ โปรดบรรดาสัตว์โลก เป็นคราวไป ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงมีหลายพระองค์ ซึ่งเวลาหนึ่งกัลป์นั้นนานนัก (กัลป์ที่เราอยู่นี้ มีพระพุทธเจ้า มาตรัสรู้แค่ 5 พระองค์ และมีหลายๆ ช่วงในแต่ละกัลป์ ที่ปราศจากพระพุทธศาสนา โดยสิ้นเชิง ดังนั้นถือว่าเราโชคดีมาก ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชาตินี้

(เมื่อพระอุปคุตสามารถปราบพญามารได้ มารอื่น ๆ ย่อมไม่มีฤทธิ์เหนือพญามาร ผู้ที่ต้องการชนะอุปสรรค ชนะมารที่มาผจญชีวิต หรือธุรกิจการค้าขายของตน ก็มักบูชาพระอุปคุตอยู่เป็นประจำ )

บางตำรากล่าวกิตติศัพท์ด้านความรู้ความสามารถของท่านได้แพร่สะพัดไป จนทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ จึงตั้งพระทัย จะเสด็จไปอาราธนา ท่านพระอุปคุตให้มาโปรดยังกรุง ปาฏลีบุตร

แต่วิสัยของพระอรหันต์ผู้ยิ่งด้วยอภิญญาเฉกเช่นท่านพระอุปคุตนั้น เพียงแค่พระเจ้าอโศกทรงดำริเท่านั้น ท่านก็ทราบแล้ว จึงได้รีบลงเรือเดินทางมาสู่กรุงปาฏลีบุตรในทันที ฝ่ายพระเจ้าอโศก เมื่อทรงทราบว่า ท่านพระอุปคุต ได้เดินทางมาแล้ว จึงได้โปรดให้ตั้งพิธีต้อนรับ และเสด็จมารับ ท่านพระอุปคุต ด้วยพระองค์เอง อันเป็นตำนาน ที่ปรากฎอยู่ ใน คัมภีร์อโศอวทาน

ประวัติเพิ่มเติมตามตำนาน พระอุปคุต คัมภีร์อโศกอวทาน
ประวัติเพิ่มเติมตามตำนาน พระอุปคุต คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์



ที่มา -http://phuketindex.com/travel/photo-stories/other/buddha-oppakut/index.htm
-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4047.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2014, 01:38:42 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนานและบทสวดบูชาพระอุปคุต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 29, 2013, 09:50:10 pm »


ภาพ: พระอรหันต์อุปคุต
 
3 พระอรหันต์แห่งโชคลาภ
พระอรหันต์ 3 พระองค์คือ
พระอรหันต์สิวลี พระอรหันต์สังกัจจายน์ พระอรหันต์อุปคุต


*******หัวใจพระสีวลี*******

นะ หมายถึง นอบน้อม มีสัมมาคาราวะ
ชา หมายถึง ขวนขวายเรื่องการงาน
ลี หมายถึง ไม่นอนมาก ไม่นอนดึก ไม่ตื่นสาย
ติ หมายถึง ว่าโดยทั้งหมด

"นะชาลีติ ประสิทธิลาภา"


พระอรหันต์สิวลี
ผู้ใดได้บูชาหรือมีติดบ้าน สถานที่ประกอบการค้าที่ทำงาน
จะบังเกิดมหาโชคลาภ


พระอรหันต์สังกัจจายน์
ผู้ใดได้บูชาหรือมีติดบ้านสถานที่ประกอบการค้าที่ทำงาน
จะพบแต่ความอุดมสมบูรณ์ ร่ำรวยทั้งชีวิตมีแต่รอยยิ้ม
ความสุขและมีปัญญาธรรมในชีวิตทุกคน




พระอรหันต์อุปคุต
ผู้ใดได้บูชาหรือมีติดบ้าน สถานที่ประกอบการค้า ที่ทำงาน
จะพบแต่ความสำเร็จ อุปสรรคความขัดข้อง ความไม่มีต่างๆ
จะมลายหายไป

บทความโดย ธ.ธรรมรักษ์



ธรรมมะ แบ่งปัน
originally shared to พุทธพจน์ พระศาสดา

ทำไมพระมหาอุปคุตจึงปราบมารได้ ? ?

วันนี้ที่เชียงใหม่มีการแห่กระทงใหญ่ อลังการมาก ตามบ้านและวัดวาอารามก็ยังมีการจุดผางผะตี๊ด (ประทีป) โคมไฟ กันอีกหนึ่งวัน ท่านที่ไม่ได้ไปเที่ยวก็อยู่บ้านจุดประทีปหรือเทียนก็ได้ บูชาพระรัตนตรัย การปล่อยโคมลอย จุดบอกไฟ (บั้งไฟ) ตามความหมายเดิม เพื่อบูชา พระเกศแก้วจุฬามณี ซึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เวลาท่านจะจุดดอกไม้เพลิง บ้องไฟ หรือปล่อยโคม ก็ควรไหว้อธิษฐาน...ให้เป็นพุทธบูชา..ก็จะได้บุญกุศล...และสนุกสนานด้วย......การจุดบอกไฟ(บั้งไฟ)ได้บุญจริงหรือ ? ? ? ?

ขอเล่าตำนานในอดีตให้ฟัง....ในอดีตกาลนานมาแล้วมีวัดอยู่วัดหนึ่งมีสมภารปกครองอยู่ สมภารได้ใช้ให้สามเณรน้อยรูปหนึ่งปัดกวาดลานพระเจดีย์ให้สะอาด สามเณรก็ก็ทำตามที่สั่งทุกประการ แต่วันนั้นมีสุนัขมาถ่ายมูลอุจจาระบริเวณนั้น เมื่อสมภารมาเห็นใส่ จึงเรียกสามเณรมาดุด่าว่ากล่าว เณรก็ก็บอกว่าทำความสะอาดแล้วแต่สุนัขมาถ่ายทีหลัง สมภารก็ไม่เชื่อได้ลงโทษสามเณร

สามเณรเกิดความน้อยใจและโกรธแค้นมาก จึงหาทางเอาชนะสมภารให้ได้ จึงไปหาอุปกรณ์มาทำบอกไฟ(บั้งไฟ)เพื่อตั้งสัจจะอธิษฐานถวายเป็นพุทธบูชา ฝ่ายสมภารรู้ว่าสามเณรทำบ้องไฟเพื่ออธิษฐาน จึงได้ให้คนไปเก็บเอาหวายที่ใช้รัดบอกไฟมาเก็บไว้ทั้งหมด สามเณรเมื่อทำบอกไฟจำเป็นต้องใช้หวายรัดบอกไฟ ไปหาที่ไหนก็ไม่มี พอรู้ว่าสมภารเอาหวายไปเก็บไว้หมด จึงเข้าไปขอหวาย สมภารก็ยอมให้หวายแก่สามเณร แต่ก่อนที่จะมอบให้สามเณรสมภารได้อธิษฐานก่อนว่า "ไม่ว่าสามเณรจะอธิษฐานว่าอย่างไร ก็ขอให้พ่ายแพ้แก่ตน เหมือนหวายซึ่งใช้รัดบอกไฟนี้ แม้บอกไฟจะมีอานุภาพพลังพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ แต่ก็อยู่ในอำนาจของหวาย

สามเณรเมื่อได้หวายมาก็ทำบอกไฟสำเร็จ ก่อนจะจุดบอกไฟสามเณรอธิษฐานขอถวายบอกไฟนี้เป็นพุทธบูชา ขอให้เกิดทุกภพทุกชาติขอให้มีอำนาจ ยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ประดุจดังอนุภาพแห่งบอกไฟนี้ แล้วก็จุดบูชาขึ้นไปในอากาศ ต่อมาในสมัยพระโคตมะพระพุทธเจ้าของเรา สามเณรรูปนั้นได้มาเกิดเป็นพญามาร มีอานุภาพมาก มารตนนี้ได้ติดตามกลั่นแกล้งพระพุทธเจ้ามาตลอด พระพุทธเจ้าก็ไม่สามารถกลับใจมารตนนี้ได้ แต่พระองค์ได้พยากรณ์เอาไว้ หลังจากที่พระองค์ได้ปรินิพพานไป 200 ปี จะมีสาวกของพระองค์ชื่อมหาอุปคุตเป็นผู้มาปราบมารตนนี้

เพราะมารตนนี้มีเวรกรรมผูกพันกับพระอุปคุตมาตั้งแต่อดีต ครั้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีการสร้างสถูปเจดีย์ 84,000 องค์ มีการฉลองเจดีย์ 7 ปี พระเจ้าอโศกเกรงว่าจะมีมารมาขัดขวางงานฉลองจึง ขอคำแนะนำจากคณะสงฆ์ว่า สมควรให้ผู้ใดมารักษาความสงบในงานฉลอง พระสงฆ์ทั้งหลายมีฉันทามติ ให้ไปนิมนต์พระมหาอุปคุต เป็นผู้มาคุ้มครองรักษาความสงบ แล้วจึงให้พระที่มีอภิญญาไปอาราธนานิมนต์พระมหาอุปคุตซึ่งได้ไปเจริญอาโปกสินอยู่ใต้สะดือทะเล

พระมหาอุปคุตก็รับนิมนต์มา เมื่อมีงานฉลองสถูปเจดีย์ พญามารก็มาก่อกวน พระมหาอุปคุต ก็แก้ไขเหตุการณ์ได้ทุกครั้ง จนครั้งสุดท้าย พระมหาอุปคุตได้จับเอาพญามารมัดไว้ติดกับภูเขารอจนงานฉลองเจดีย์เสร็จจึงปล่อยตัวพญามาร พญามารซึ่งไม่เคยพ่ายแพ้แก่ใคร ขนาดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังถูกมารกลั่นแกล้งครั้งแล้วครั้งเล่า แต่มาเจอ พระสาวกพระพุทธเจ้ารูปนี้ไม่มีโอกาสสู้ได้เลย ก็เลยยอมแพ้ ขอกลับใจมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

>>> F/B อุบาสก ผู้หนึ่ง /18.11.56
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2014, 11:03:21 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนานและบทสวดบูชาพระอุปคุต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 15, 2014, 10:53:12 pm »



ตำนานตักบาตรเที่ยงคืน (ตักบาตรอุปคุต)

ต๋ามต๋ำนาน โบราณก่อนป๊น ขอเล่าแต่ต้น มาแต่หนไกล๋
เจ้าอะโศกะ ราชาสมัย หื้อแป๋งปอยไป ฉลองธาตุเจ้า
แต่กลั๋วหมู่มาร มาผาญควีเฝ้า จิ่งนิมนต์เอา สังฆะ

มาสวดมนต์ตั๋น ป้องกันสัพพะ เถระบ่แป้ มารองค์
ติสสะเณรน้อย จิ่งค่อยกล่าวจ๋ง ว่ามีผู้คง ฤทธีแก่กล้า
อุปคุตต๋น อยู่หนใต้หล้า ทะเลอาณา ลึกล้ำ

พระอุปคุต เลยรุดมาก๊ำ ออกจากเถื่อนถ้ำ ทะเล
มาปราบมารร้าย หื้อย้ายหันเห แล้วกลับทะเล วันเป็งปุ๊ดเจ้า
ศรัทธาสืบหน เดือนวนเป็งเข้า สิบห้าค่ำเอา วันปุ๊ด

จาวพุทธศรัทธา ได้ดาเร่งรุด บ่หยุดใส่เข้า บาตรเณร
เที่ยงคืนดึกหว้าย ดักใส่ต๋นเถร แถลงเป็นเณร มารับบาตรเข้า
มาโผดมาผาย ญิงจายใหญ่เฒ่า ศรัทธายังเนา อยู่ยั้ง

หื้อมีโจคจัย ไหล่มาหล่อหลั้ง ต๋ามจิตเจตตั้ง ขอมา
ประเพณีนี้ สอนมีผญ๋า หื้อทานเวลา ในค่ำคืนได้
ขอผลนาบุญ อุดหนุนเตื่อมใกล้ ผู้ศรัทธาใน ต๋นพระ

อุปคุตต๋น จุ่งหนอย่าละ สัพพะพรหื้อ มงคล
พุทธมนต์ จุ่งหนอย่าลี้
ขอเล่าสุดเต๊านี้ เต๊าอี้สู่กันฟังก่อนแลนายเหย

หนานชาติ ใจแก้ว
18 ก.ย.2554


>>> F/B หนานชาติ คนเขียนค่าว