ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ
ร่วมกันต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
sithiphong:
ทุจริตคอร์รัปชั่น
-http://www.dailynews.co.th/article/439/171277-
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2555 เวลา 10:25 น.
วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีจะเป็นวันต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นสากล ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล ได้จัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี 2555 พบว่าประเทศไทยได้เพียง 37 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 อยู่ในอันดับที่ 88 จากการสำรวจทั้งหมด 176 ประเทศทั่วโลก การชี้วัดดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้ประชาชนและรัฐบาลผู้บริหารประเทศได้รับทราบว่าจะต้องแก้ไขภาพลักษณ์อย่างไรเพื่อให้สายตาขององค์กรสากลที่เฝ้าติดตามดูสามารถรับรู้ได้ว่าประเทศไทยมีความโปร่งใสมากกว่าคอร์รัปชั่นที่ทั่วโลกไม่มีความปรารถนา
อย่างไรก็ดี ล่าสุดกรุงเทพฯ โพล ก็ได้สำรวจความคิดเห็นของคน กทม. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากผลสำรวจดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นการตอกย้ำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้รับรู้มากยิ่งขึ้นว่าประชาชนได้มองถึงระดับความรุนแรงของการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย เพราะคนกรุงร้อยละ 88 เห็นว่ารัฐบาลนี้มีความไม่โปร่งใสมาก ส่วนผู้ที่เห็นว่าโปร่งใสอยู่ในระดับน้อยเพียงแค่ร้อยละ 12 เท่านั้น ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสสากลได้ชี้วัดภาพลักษณ์ของประเทศไทยออกมาให้ชาวโลกได้รับรู้
ต้นเหตุสำคัญของการคอร์รัปชั่นผลสำรวจร้อยละ 62.9 ระบุว่า คือ นักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น และร้อยละ 50.1 ระบุว่าตัวกฎหมายมีช่องโหว่ล้าสมัย นอกจากนี้คนกรุงร้อยละ 64.2 เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญน้อยในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น และพอใจค่อนข้างน้อยต่อการแก้ไขปัญหาทุจริตของรัฐบาลถึงร้อยละ 69.9 ส่วนประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ประชาชนร้อยละ 79.1 ไม่ต้องการประชานิยมของรัฐบาลที่มาพร้อมกับการคอร์รัปชั่น ผลสำรวจในเรื่องโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพบว่าคนกรุงมีความรู้สึกตรงกับฝ่ายค้านที่ได้พยายามจี้เน้นให้เห็นว่ามีปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด
ผลสำรวจทั้งในและต่างประเทศที่ออกมานั้น ทั้งรัฐบาล นักการเมืองทุกระดับ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนจะต้องตระหนักสำนึกให้ดีเพื่อที่จะได้ทำความโปร่งใสให้ประชาชนได้เห็นมากกว่าเรื่องคอร์รัปชั่น สำหรับปัญหาเรื่องทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวนั้นที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยได้ตอกย้ำถึงเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นแทบทุกวัน ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะพยายามย้ำเช่นกันว่าโครงการนี้ชาวนาได้ประโยชน์เต็มที่ไม่มีโกง เพราะฉะนั้นรัฐบาลจะต้องทำเรื่องรับจำนำข้าวให้ประชาชนได้เห็นถึงความโปร่งใสมากที่สุด ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับทุจริตเพียงนิดเดียว รัฐบาลก็สอบตกการแก้ไขคอร์รัปชั่นและจะถูกประจานดิสเครดิตตลอดไป.
http://www.dailynews.co.th/article/439/171277
.
sithiphong:
นักธุรกิจไทยเชื่อภาคเอกชนช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2556 11:27 น.
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000067253-
การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักธุรกิจระดับผู้บริหารที่เชื่อมั่นว่า "ปัญหาทุจริตของไทย" สามารถแก้ไขให้ลดลงได้ในอนาคต และนักธุรกิจส่วนใหญ่พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการ / กิจกรรม ของภาคเอกชนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น นี่เป็นผลการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจที่ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา
ดร.บัณฑิต นิจถาวร
ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) กล่าวว่า “มากกว่า ร้อยละ 25 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,066 ซึ่งต่างเป็นบรรดาผู้นำในบริษัทธุรกิจ ต่างแสดงความเชื่อมั่นว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นสามารถทำได้ในอนาคตอันใกล้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจของครั้งที่แล้วในปี 2553 มีเพียง ร้อยละ 12 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,007”
การสำรวจความคิดเห็นของผู้นำในบริษัทธุรกิจครั้งนี้ ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง IOD กับบริษัท GFK Marketwise ซึ่งแบบสำรวจความคิดเห็นนี้ทำในนามของโครงการแนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thailand's Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption ;CAC) โดยการจัดทำการสำรวจครั้งแรก จัดทำโดย IOD ในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2553 โดยครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Center for International Private Enterprise (CIPE) ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และหลังจากนั้นไม่นาน IOD ถึงจะตั้งโครงการ CAC ในเดือนพฤศจิกายน 2553
ดร.บัณฑิต กล่าวว่า “เกือบ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ภาคเอกชนคือผู้เล่นตัวสำคัญในการลดการทุจริตคอร์รัปชั่นและต่างเห็นพ้องว่า พวกเขายินดีที่จะมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยจะนำแนวปฎิบัติธุรกิจที่ดีไปปรับใช้ และปฎิเสธการให้สินบนทุกรูปแบบ ข้อมูลกระตุ้นให้เห็นว่า แม้แต่ผู้นำในภาคเอกชนเองต่างรับทราบดีถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก และตอนนี้นักธุรกิจชั้นนำเหล่านั้นต่างก็เชื่อมั่นว่าสามารถจะรับมือและแก้ไขปัญหานี้ได้"
จากผลการสำรวจยังพบว่า ร้อยละ 75 ของผู้นำภาคเอกชนเห็นว่า ภาคเอกชนมีบทบาทที่สำคัญแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนของผู้นำภาคธุรกิจที่แสดงความพร้อมจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น จากเดิมที่สำรวจเมื่อปี 2553 มีเพียงร้อยละ 69 แต่ในการสำรวจครั้งนี้ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 97 ในขณะเดียวกัน เมื่อถามต่อไปว่า บริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
แนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC)” หรือไม่ ก็พบว่า จำนวนของผู้นำภาคเอกชนที่แสดงความประสงค์ต้องการเข้าร่วม CAC เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 51 จากเดิมมีเพียงร้อยละ 14 ในการสำรวจเมื่อ 2553
ปัจจุบันมีบริษัทที่ลงนามแสดงเจตนารมณ์เป็นสมาชิกแนวร่วมปฎิบัติฯ ทั้งสิ้น 166 บริษัท ซึ่งทุกบริษัทต่างให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตทุกรูปแบบ ในขณะเดียวกันบริษัทที่ประกาศเจตนารมณ์แล้วก็จะทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ ตามหลักการของแนวร่วมปฎิบัติฯ ในการที่จะลดความเสี่ยงคอร์รัปชั่นในระบบของบริษัทตนเอง พร้อมกันนั้นก็สร้างพื้นที่การทำธุรกิจที่ขาวสะอาดมากยิ่งขึ้น
สำหรับบริษัทที่ลงนามประกาศเจตนารมณ์แล้วนั้นยังจะได้รับการฝึกอบรมที่จัดโดย IOD เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการสร้างนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการวางระบบตรวจสอบให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น บริษัทใดก็ตามที่สามารถปฎิบัติได้ครบถ้วนตามแนวทางที่กำหนดไว้ ก็จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วมปฎิบัติฯ
ณ ปัจจุบัน มี 4 บริษัทที่ผ่านการรับรอง ได้แก่ บริษัท ไพร้ชวอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์ จำกัด บริษัท เอไอเอ (ประกันชีวิต) จำกัด บริษัท เอไอเอ (ประกันวินาศภัย) จำกัด และ บริษัท ซีเมนส์ ประเทศไทย จำกัด
โครงการแนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก องค์กรชั้นนำ 8 แห่ง ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ซึ่งทำหน้าที่ในฐานเลขานุการโครงการฯ หอการค้าไทย หอการค้านานาชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียน สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ผู้นำภาคเอกชนส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องกันว่า การคอร์รัปชั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ลดขีดความสามารถในการแข่งขันและลดศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบด้านลบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศ
รวมทั้งทำลายค่านิยม จริยธรรมของสังคม การทุจริตคอร์รัปชั่นยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนการประกอบธุรกิจต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 10 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
ประเด็นการแก้ไขปัญหาทุจริต
ผลการสำรวจพบว่า ผู้นำภาคเอกชนส่วนใหญ่ต่างเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนของสังคมร่วมมือกันช่วยแก้ไขปัญหาทุจริต โดยมีรัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ผู้เกียวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายทุกคน รวมทั้ง สถาบันทางสังคมต่างๆ สื่อสารมวลชน สถาบันศาสนา และ สมาคมของภาคธุรกิจต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำภาคเอกชนยังประมาณการว่า ถ้าหากประเทศไทยสามารถลดการทุจริตคอร์รัปชั่นลงได้ จะทำให้การเจริญเติบโตของประเทศไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50
ดร. บัณฑิจ ย้ำว่า “IOD และองค์กรร่วม ตั้งเป้าที่จะสำรวจปัญหาการทุจริตในประเทศไทยเป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการติดตามสถานการณ์ของการทุจริตคอร์รัปชั่นและทัศนคติของภาคเอกชนที่มีต่อปํญหาที่มีความซับซ้อนนี้"
sithiphong:
เผยผลสำรวจสิ่งที่คนไทยขาดความเชื่อมั่นมากที่สุด พร้อมทางออกแก้ทุจริตจากนักวิชาการ-ภาคธุรกิจ
วันพฤหัสบดี 13 มีนาคม 2557 เวลา 09:22 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/222574/%E0%B9%81%E0%B8%89%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4-
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ท่ามกลางสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมีเหตุร้ายเกิดขึ้นรายวัน ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นในสายตาต่างชาติ แต่หากบ้านเมืองกลับสู่ความสงบ ไร้การชุมนุมและความรุนแรง ปัญหาเรื้อรังที่น่าปวดหัวไม่แพ้กันก็คือ การทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งหลายคนรู้สภาพดังกล่าวเป็นอย่างดี เมื่อเป็นเช่นนี้ องค์กรต่อต้านการคอร์รัปชั่นร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) จัดสัมมนา "ดัชนีชี้วัดสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศ" หวังระดมความคิดจากฝ่ายวิชาการและภาคธุรกิจร่วมกันประเมินสถานการณ์และช่วยกันเสนอทางออก
"เดลินิวส์ออนไลน์" ได้ติดตามการสัมมนาแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นดังกล่าว พร้อมสรุปความเห็นสำคัญจากนักวิชาการที่เข้าร่วม เริ่มจาก ดร.บุญวรา สุมะโน นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เผยถึงดัชนีการทุจริตคอร์รัปชั่นของไทย ที่ต่างประเทศเข้าทำสำรวจความคิดเห็นประชาชนไทย ซึ่งผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า...
คนไทยขาดความเชื่อมั่นในนักการเมืองมากที่สุด รองลงมาคือตำรวจ ในทางตรงกันข้าม ประชาชนได้ให้ความเชื่อมั่นกับสถาบันการเงินและภาคธุรกิจ ศาสนา และฝ่ายยุติธรรม ตามลำดับ และแม้ภาคธุรกิจของประเทศไทยจะได้รับความเชื่อมั่นจากต่างชาติมากเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียด้วยแล้ว แต่ร้อยละ 68 ของภาคธุรกิจ ยังมองว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาต่อการภาคธุรกิจอย่างมาก เพราะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55
ในขณะที่ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า จากการศึกษาของต่างประเทศระบุว่าประเทศที่เพิ่งเริ่มใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในช่วง 40 ปีแรก ระดับการทุจริตคอร์รัปชั่นจะไม่ต่างจากประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการนัก แต่ใน 40 ปีหลังจากนั้น ระดับของการคอร์รัปชั่นจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นหากนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 จนถึงปัจจุบัน จะถือว่า ประเทศไทยใช้ระบอบประชาธิปไตยนานกว่า 80 ปีแล้ว แต่สถานการณ์คอร์รัปชั่นยังไม่ลดลงเลย อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะแย่ลงเรื่อยๆ แม้จะมีความพยายามในการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ แต่ต้องยอมรับว่า องค์กรเหล่านี้มีข้อจำกัดในการทำงาน ไม่เว้นแม้แต่องค์กรอิสระต่างๆ ที่ยังต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐบาล
ด้าน ผศ.ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็นจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า เนื่องจากการศึกษาของต่างประเทศระบุ ประเทศใดที่มีการติดสินบนหรือการทุจริตเรื่องเล็กๆน้อยๆ จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นขนาดใหญ่ได้ นิด้าจึงได้ทำการสำรวจถึงประสบการณ์การกระทำผิดกฎหมายของคนไทย โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยอมรับว่า...
เคยขับรถผิดกฎจราจร ยอมถูกรีดไถ่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และรับเงินเพื่อลงคะแนนเสียงให้กับนักการเมือง และ1 ใน 4 ของจำนวนผู้กระทำความผิดระบุว่า จะยังคงกระทำความผิดดังกล่าวอีกในอนาคต ซึ่งแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ผู้ถูกสำรวจมองว่าเป็นเพราะการบังคับใช้กฎหมายไม่เด็ดขาด ล่าช้า กฎหมายมีช่องโหว่ และระบบพรรคพวกเอื้อต่อการทุจริต
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงตามข้อมูลจากนิด้า คือ ผลสำรวจที่บ่งชี้ว่า คนไทยต้องการให้มีการดำเนินโครงการใหญ่ๆ ทั้งที่รู้ว่าจะมีการคอร์รัปชั่น จึงเห็นว่า ควรมีการปลูกจิตสำนึกให้สังคมปฏิเสธโครงการที่รู้ว่าจะมีการคอร์รัปชั่น
ส่วน รศ.ดร.เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า สถานการณ์การคอร์รัปชั่นในช่วง10 ปีที่ผ่านมา เกิดถี่ขึ้นและเริ่มกระจายตัวเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ดึงงบประมาณจากโครงการรัฐไปกว่าร้อยละ 30 จากเดิมเคยอยู่ที่ร้อยละ 5-10 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่เยอะมาก สถานการณ์การคอร์รัปชั่นในไทยจึงอยู่ในระดับสาหัส และจะกลายเป็นปัญหาอย่างมากต่อการแข่งขันของประเทศเมื่อเปิดการค้าเสรี แต่ปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มที่ดี คนไทยเริ่มให้ตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นน่าเป็นห่วงมากกว่ากลุ่มอื่น เพราะผลการสำรวจพบว่า วัยเด็กจะคิดว่าการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่ผิด แต่จากการสำรวจล่าสุด พบว่า วัยรุ่นคิดเช่นนั้นน้อยลง
จากผลสำรวจของทั้ง 2 สถาบันที่สอดคล้องกัน ทำให้ ดร.ธานี ชัยวัฒน์ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ สรุปปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยว่า จากผลสำรวจในระดับปัจเจกบุคคลของนิด้า และในภาพรวมของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยบ่งชี้ให้เห็นว่า คนไทยมีความตื่นตัวต่อการคอร์รัปชั่นมากขึ้น และพร้อมจะเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำในตอนนี้ คือ การทำความพร้อมให้กลายเป็นความจริง ด้วยการเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ระบบหรือกฎหมายจะสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ และควรมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐต่อสาธารณชนอย่างชัดเจน
นอกจากนักวิชาการแล้ว ด้านภาคธุรกิจก็มีการสำรวจความคิดเห็นเช่นกัน โดยนายกิตติเดช ฉันทังกูล จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย เผยผลสำรวจว่า ภาคธุรกิจมองว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก อันมีผลบั่นทอนกำลังการแข่งขันและทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ รวมถึงคุณค่าที่ดีของสังคม เชื่อว่าเป็นเพราะกฎระเบียบที่มีช่องโหว่ เอื้อให้ผู้มีอำนาจใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง โดยธุรกิจที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 51 ของภาคธุรกิจมีความพร้อมเข้าร่วมตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการทุจริตที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ด้วย
ตัวแทนจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ อย่าง รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า ป.ป.ช.กำลังขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐในระดับกรมให้ทำรายงานการดำเนินงาน เพื่อแสดงความโปร่งใส่ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถตรวจสอบได้จริง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากอธิบดีกรมเป็นอย่างดี นอกจากนี้ในส่วนของบริษัทเอกชนที่เป็นคู่ค้ากับหน่วยงานรัฐ จะต้องเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งบริษัทที่เข้าร่วมการประมูลงาน การกำหนดราคากลาง ต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนอย่างชัดเจน
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ป.ป.ช.ควรให้เข้าตรวจสอบการดำเนินงานในโครงการใหญ่มากกว่าโครงการที่มีงบประมาณ 1-2 แสนบาท นั้น ป.ป.ช.เห็นด้วยและจะรับไว้เพื่อนำไปเสนอต่อที่ประชุมต่อไป แต่อยากให้เข้าใจว่า เป้าหมายว่า ป.ป.ช.ต้องการให้ครอบคลุมถึงการปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งถือเป็นระดับปฏิบัติการของเครือข่ายคอร์รัปชั่นด้วย
“เชื่อว่าในประเทศไทย คนที่ทุจริตคอร์รัปชั่นมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่คนเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่สามารถกระทำการได้อย่างกว้างขวาง ขณะนี้ป.ป.ช.กำลังวางแผนเชื่อมโยงจากระดับผู้ปฏิบัติการ เพื่อสาวให้ถึงระดับสั่งการ” ที่ปรึกษาป.ป.ช. กล่าว
อย่างไรก็ตาม วานนี้ (12มี.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญเพิ่งมีมติชี้ว่า พร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนด้านคมนาคมนั้น ขัดรัฐธรรมนูญ และกระบวนการตราไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สะท้อนให้เห็นว่า ภาพในอดีตเกี่ยวกับเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปมถ่วงการลงทุนพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
sithiphong:
คุณตำรวจมีเรดาร์แต่ผมมีกล้อง!!
คุณตำรวจมีเรดาร์แต่ผมมีกล้อง!!
-http://www.youtube.com/watch?v=JqqrxOxi56k-
---------------------------------------------------------
ตำรวจไทย กับภารกิจยัดข้อหา สุดท้ายเงิบเพราะรถติดกล้อง
ตำรวจไทย กับภารกิจยัดข้อหา สุดท้ายเงิบเพราะรถติดกล้อง
-http://www.youtube.com/watch?v=uSN6nKnim2k-
.
sithiphong:
ตำรวจเข้มจราจร ใช้นโยบาย 5 จริง ยกจริง ล็อกจริง จับจริง
-http://hilight.kapook.com/view/103393-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สปริงนิวส์
ผู้บังคับการตำรวจจราจร ยัน นโยบาย 5 จริง ยกจริง ล็อกจริง จับจริง ขังจริง สุภาพจริง เร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาจราจร พร้อมกวดขันรถจักรยานยนต์รับจ้างที่มีการเรียกเก็บค่าโดยสารเกินกว่าที่กำหนด
วันนี้ (6 มิถุนายน 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผู้บังคับการตำรวจจราจร กล่าวว่า จะดำเนินการคุมเข้มห้ามจอดรถในที่ห้ามจอด ตามนโยบาย "5 จริง" คือ ยกจริง ล็อกจริง จับจริง ขังจริง สุภาพจริง รวมทั้งกำชับให้ตำรวจกวดขันรถจักรยานยนต์รับจ้างที่มีการเรียกเก็บค่าโดยสารเกินกว่าที่กำหนด และจะนำเสนอผลการทำงานในรอบ 1 เดือน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจร อุบัติเหตุ และสถิติการจับกุมในเดือนพฤษภาคม พร้อมกันนี้ยังได้มีการเสนอแผนงานที่จะดำเนินการในเดือนต่อไป (กรกฎาคม) ด้วย
นอกจากนี้ พล.ต.ต.จิรสันต์ ยังมีแผนที่จะปรับภาพลักษณ์ตำรวจจราจรให้ปฏิบัติหน้าที่โดยให้แสดงตัวอย่างชัดเจน จัดตำรวจจราจรสนับสนุนงานฝ่ายความมั่นคงจากสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน รวมถึงมีการเตรียมแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบนพื้นผิวจราจรในช่วงหน้าฝน และจัดชุดเคลื่อนที่เร็วสำหรับเข้าไปแก้ไขกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และยังจะเดินหน้าต่อไปในการจัดสรรงบประมาณมาปรับปรุงเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในงานด้านจราจรต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก-http://news.springnewstv.tv/49140/%E0%B8%9A%E0%B8%81-%E0%B8%88%E0%B8%A3-%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A3-5-%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-
.
--------------------------------------------------------------------------------
คลิปชัดๆ ตร.จราจรโบกจับ-รับเงินปล่อย !
-http://auto.sanook.com/6792/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%86-%E0%B8%95%E0%B8%A3.%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2/-
ขณะนี้ในโลกออนไลน์มีการแชร์คลิปตำรวจ เรียกผู้ขับขี่รถยนต์ และจักรยานยนต์ ที่ทำผิดกฎจราจรเพื่อเขียนใบสั่ง แต่ตร.ไม่ได้เขียนใบสั่งและรับเงินจากผู้ขับขี่ก่อนปล่อยไป
เพจ The Irrawaddy (Burmese Version) ได้โพสต์คลิปความยาว 4:03 นาที เป็นคลิปเหตุการณ์ตำรวจนายหนึ่ง เรียกผู้ขับขี่รถยนต์ และจักรยานยนต์ ที่ทำผิดกฎจราจรเพื่อเขียนใบสั่ง แต่ตร.ไม่ได้เขียนใบสั่งและรับเงินจากผู้ขับขี่ก่อนปล่อยไป โดยตำรวจนายนี้สวมหมวกหมายเลข 6636 สน.บางนา ภายในระยะเวลา 4 นาทีมีการเรียนรถยนต์ 1 คัน รถแท็กซี่ 1 คัน และรถจักรยานยนต์ 2 คัน
คลิปตำรวจรับเงินเห็นจะๆชัดๆ ปรับปรุงสำนักงานตำรวจแห่งชาติด่วน
-http://www.youtube.com/watch?v=jAY2W9hS7Z0-
(ขอบคุณเนื้อหาจาก VoiceTV และคลิปจากเฟซบุ๊ค IrrawaddyBurmese)
http://auto.sanook.com/6792/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%86-%E0%B8%95%E0%B8%A3.%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2/
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version