ผู้เขียน หัวข้อ: ตัณหา,สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์,เจตสิก 52  (อ่าน 3170 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



bbby เขียน:
ขอถามความคิดเห็น ในมุมมองของท่านกัลยาณมิตรทั้งหลายค่ะ
คุณคิดว่ากิเลสใน4ข้อ รัก-โลภ-โกรธ-หลง นี้
คุณคิดว่ากิเลสตัวไหน ที่จะทำให้คนเข้าถึงธรรมะได้ช้าค่ะ


**********

รัก-โลภ-โกรธและหลง มันเกิดมาพร้อมกับรูปนามหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ
มนุษย์ทุกคนย่อมมีรัก-โลภ-โกรธและหลง สิ่งที่ว่ามันเป็นกระบวนการขันธ์ห้า
มันเกิดตามเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยของกระบวนการขันธ์ก็คือรูปและนาม
รัก โลภ โกรธและหลงเป็นอาการของจิตเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์

จิตที่เป็นกิเลสคือ จิตที่มีอาการรัก โลภ โกรธและหลงไปยึดเอาตัณหาในกระบวนการปฏิจสมุบาท
จนทำให้สังขารขันธ์เปลี่ยนเป็น อุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ตัวนี้แหล่ะที่เรียกว่า จิตมีกิเลส

และการไม่ให้จิตที่มีความโลภโกรธและหลง ไปยึดตัวตัณหาได้ ก็ด้วยวิธีการเปลี่ยน
ตัวโลภ โกรธ หลงให้เป็นสติ นั้นหมายความว่า เมื่อเกิดความโลภ โกรธและหลงขึ้นมา
ก็ให้รู้ทันอารมณ์ที่ว่า สติก็จะเกิด ตัณหาก็ไม่สามารถมาบ่งการจิตได้

สังเกตุให้ดี อารมณ์รัก โลภ โกรธและหลงมันเป็นคนละตัวกับ ตัณหา
โลภ โกรธ หลง เป็นอาการของจิตเกิดตามเหตุปัจจัย นั้นก็คือ เวทนาและสัญญา
ส่วนสติก็เป็นอากรของจิตเช่นกัน มีไว้คอยระลึกรู้ไม่ให้ความโลภ โกรธและหลง
ไปยึดตัณหา การจะมีสติได้ต้องอาศัยอารมณ์ที่เกิดปัจจุบันนั้น เช่น จะดับความ
โลภ โกรธและหลง ก็ต้องอาศัยไปรู้ ความโลภ โกรธและหลง
ตามที่บอกมาความรักโลภ โกรธและหลง จึงจะยังไม่ใช่กิเลส ตัวกิเลสที่แท้คือ ตัณหา

จิตที่มี รัก โลภ โกรธและหลง ถ้ามีสติระลึกรู้ทัน จิตก็ยังเป็นจิตประภัสสร
แต่ถ้าจิตเกิด รัก โลภโกรธและหลงไปยึดตัณหาเข้า จึงจะเรียกว่า จิตมีกิเลส

พูดถึงทุกข์ ความรัก โลภ โกรธหลง ก็ไม่ใช่เหตุที่แท้จริง มันเป็นเพียงเหตุปัจจัยร่วม
มันยังต้องอาศัยเหตุปัจจัยอื่นมาร่วมนั้นก็คือ ตัณหา
ถ้าจิตเกิด รัก โลภ โกรธและหลงแต่อย่างเดียวมันก็ไม่ทุกข์

ทุกข์ในความหมายของพระพุทธเจ้า นั้นก็คือ การอยู่ภายใต้กฎวัฏสงสาร
การทุกข์กายทุกข์ใจไม่ใช่ตัวทุกข์ในความหมายของพระพุทธเจ้า

และอีกอย่างที่บอกว่าทุกข์กายมันไม่ถูก กายทุกข์ไม่ได้ กายเป็นได้แค่
อายตนะรับรู้ความรู้สึก ความทุกข์จึงเกิดได้ทีใจเพียงอย่างเดียว

ทุกข์ใจเป็นเหตุให้เกิด วัฎสงสาร
เราจะแยกความทุกข์ทางใจได้อย่างไร ดูได้จากเกิดการคิดนึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ
จินตนาการไปนอกเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในกระบวนการขันธ์ห้า นั้นแหล่ะกำลังทุกข์ใจ
และมันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ของวัฏสงสาร

สาเหตุที่เราไปเข้าใจผิดในเรื่องกิเลสแต่ต้น หลงไปเข้าใจว่า รัก โลภ โกรธหลงเป็น
กิเลส จึงทำให้ไม่ยอมรับอารมณ์ที่ว่า แท้จริงแล้วมันเป็นเพียงอาการของจิต เกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยแห่งรูปนามมันหลีกเลี่ยงไม่ได้(แต่ดับได้)

ดังนั้นด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ทำให้เราหลงไปปฏิบัติผิดที่ผิดทาง
โดยไม่รู้ว่า ความรัก โลภ โกรธ หลง เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ
มันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญา



สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์
มี ๑๐ อย่าง คือ
 
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;

- http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.ph ... 2%AA%B9%EC


เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต,
สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต,
อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ) โมหะ โทสะ โลภะ ล้วนเป็นตัวเจตสิก

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

[355] เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
       ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว - the Common-to-Each-Other; general mental factors)
           1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
               1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
               2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
               3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
               4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
               5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
               6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
               7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)

           2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง - particular mental factors; the Secondary)
               8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ - initial application; thought conception; applied thought)
               9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ - sustained application; discursive thinking; sustained thought)
               10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ - determination; resolution)
               11. วิริยะ (ความเพียร - effort; energy)
               12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ - joy; interest)
               13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ - conation; zeal)

       ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล - immoral or unwholesome mental factors; unprofitable mental factors)
           1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง - universal immorals; the Primary)
               14. โมหะ (ความหลง - delusion)
               15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป - shamelessness; lack of moral shame)
               16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป - fearlessness; lack of moral dread)
               17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน - restlessness; unrest)

           2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต - particular immorals; the Secondary)
               18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ - greed)
               19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด - wrong view)
               20. มานะ (ความถือตัว - conceit)
               21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - hatred)
               22. อิสสา (ความริษยา - envy; jealousy)

               23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ - stinginess; meanness)
               24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ - worry; remorse)
               25. ถีนะ (ความหดหู่ - sloth)
               26. มิทธะ (ความง่วงเหงา - torpor)
               27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย - doubt; uncertainty; scepsis)

       ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม - beautiful mental factors; lofty mental factors)
           1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง - universal beautiful mental factors; the Primary)
               28. สัทธา (ความเชื่อ - confidence; faith)
               29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ - mindfulness)
               30. หิริ (ความละอายต่อบาป - moral shame; conscience)
               31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป - moral dread)

               32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์ - non-greed)
               33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย - non-hatred)
               34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ - equanimity; specific neutrality)
               35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
               36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)

               37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
               38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
               39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
               40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
               41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)

               42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
               44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
               45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
               46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)

           2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น - abstinences)
               47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ - right speech)
               48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ - right action)
               49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ - right livelihood)

           3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา - boundless states)
               50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ - compassion)
               51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข - sympathetic joy)

           4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
               52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)

- http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355

กิเลสสามารถทำให้เกิด อาการของจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล
การเกิดกิเลสตัวใดขึ้น แล้วรู้ตัว อาการของจิตก็เป็นกุศล
ตรงข้ามถ้าเกิดกิเลสแล้วหลงไปปรุงแต่ง อาการของจิตเป็นอกุศล

อย่าลืมกิเลสเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล

                           

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2012, 01:05:53 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ความหมายของคำว่า"กิเลส" ,ระดับของกิเลส
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 03:39:45 pm »

-http://flickrhivemind.net/User/Mig_T_One/Recent

ความหมายของคำว่า"กิเลส"

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า
" เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้
กิเลสหนา กิริยามารยาท ในคำว่า กิเลสหยาบ"

พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) ให้ความหมายว่า " สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง,
ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์"

พุทธทาสภิกขุ ให้ความหมายว่า "ความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูก็ตาม เป็นของกูก็ตาม
นี่แหละคือ แม่บทของกิเลสทั้งปวง"

พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ให้ความหมายว่า " คำว่ากิเลสตรงกับคำว่าโรค กิเลสเป็นโรค
ของจิต หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตเสื่อมโทรมนั่นเอง"

สุชีพ ปุญญานุภาพ ให้ความหมายว่า " คือความไม่ดีไม่งาม หรือความเศร้าหมอง
ในจิตใจ อันกล่าวโดยย่อ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง"

ดังพุทธพจน์ที่ว่า " ปภสรมิทํ ภิกขเว จิตตํอาคนตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฎฐํ"
แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ถูกกิเลสที่จรมาทำให้เศร้าหมอง

มีหลายศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันกับกิเลสหรือเป็นไวพจน์ของกิเลส เช่น ตัณหา
โอฆะ สังโยชน์ คันถะ โยคะ อาสวะ เป็นต้น

ประเภทของกิเลส

พระพุทธเจ้าตรัสแสดงกิเลสไว้มากมายหลายประเภท โดยต่างเวลา สถานที่ และบุคคล จึงไม่อาจทราบจำนวนทั้งหมดของกิเลสว่ามีจำนวนเท่าใด อาจเป็นไปได้ว่าการที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสจำนวนสุทธิของกิเลสนั้น เพราะว่ากิเลสมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนและสรรพสัตว์มีกิเลสแตกต่างกันและไม่เท่าเทียมกันตามระดับของสภาพจิตที่ไม่เหมือนกัน สังเกตได้จากหลักธรรมที่ทรงแสดงนั้นอนุกูลหรือเหมาะแก่จริตหรืออัชฌาศัยของผู้ฟังเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอัชฌาศัยของผู้ฟังก่อนแสดงธรรม เหตุนี้ทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรม คงเป็นเพราะเหตุนี้ กิเลสจึงถูกแสดงไว้ตามที่ปรากฎในหลายสูตรและมีหลายหมวดหมู่เหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง

ในพุทธปรัชญา คำว่า " กิเลส " เป็นคำที่มีความหมายกว้าง หมายถึงสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมองทุกประเภท
แต่กิเลสที่เป็นอกุศลมูลหรือต้นเค้าของกิเลสทั้งหมด มี ๓ ประเภท คือ:

-โลภะ คือ ความทะยานอยาก
-โทสะ คือ ความคับแค้น
-โมหะ คือ ความลุ่มหลง

ระดับของกิเลส

เกี่ยวกับระดับของกิเลสนี้ ท่านจำแนกไว้ ๓ ระดับ คือ :
๑. กิเลสอย่างหยาบ (วีติกกมกิเลส) คือ กิเลสระดับต้นที่เป็นเหตุให้แสดงพฤติกรรมที่เร่าร้อนและรุนแรงทางกายและวาจาของบุคคลผู้หมุกมุ่นในกามคุณ ๕ อย่างรุนแรง กิเลสระดับนี้ ได้แก่ อกุศลกรรมบท ๑๐ อย่าง มี การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยศีล

๒. กิเลสอย่างกลาง ( ปริยุฎฐานกิเลส) คือ กิเลสระดับกลางที่เป็นปฎิปักข์ต่อความสงบแห่งใจ คอยขัดขวางไม่ให้ใจเกิดสมาธิ กิเลสระดับนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕ มี กามฉันทะ พยาบาท เป็นต้น และอุปกิเลส ๑๖ มีความโกรธ ความถือตัว เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยสมาธิ

๓. กิเลสอย่างละเอียด (อนุสัยกิเลส) คือ กิเลสระดับสูงสุดที่หมักหมมนอนเนื่องแนบแน่นในส่วนลึกแห่งใจจนเกิดความรู้สึกว่ากิเลสหมดแล้ว แต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ต่อเมื่อใจถูกอารมณ์อันเป็นปฎิปักข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ กิเลสระดับนี้จะปรากฎขึ้นทันที เปรียบเหมือนตะกอนที่นอนนิ่งในน้ำ หากน้ำถูกรบกวนอยางรุนแรงมันจะฟูฟุ้งขึ้นทันทีตามแรงกระทบของน้ำนั้นๆ กิเลสระดับนี้ ได้แก่ อนุสัยกิเลส ๗ มี กามราคะ ปฎิฆะ เป็นต้น วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มี โอภาส ญาณ เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยปัญญา

ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
1.   กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5
2.   ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง
3.   วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความคิดที่ผิด (อุจเฉททิฐิ)

ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
1.   รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
2.   สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
3.   คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
4.   รสตัณหา คือ อยากได้รส
5.   โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
6.   ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)

- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42707&p=300373#p300373


49996.ว่าด้วยอสังขตะและทางให้ถึงอสังขตะ
สำหรับพระธรรมคำสอน การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานนี่ เป็นการฝึกละในความอยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านั้น หากยังมีเหตุปัจจัยของการเกิดอยู่ ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์

เวลาทำความเพียร จงระลึกไว้เสมอว่า การทำความเพียรนี้ เพียรเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน คือ การไม่เกิด
เวลาเจอผัสสะต่างๆ จะได้มีกำลังที่จะสู้กับตัณหา ความทะยานอยากที่เกิดขึ้น ประมาณว่า ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์

เมื่อไม่อยากเกิด ต้องอดทนอดกลั้น ต่อผัสสะที่มีเกิดขึ้น ซึ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ไม่ว่าจะมีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือ ขณะทำความเพียรอยู่ ก็ตาม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=49996

นั่นไม่ใช่ของเรา  นั่นไม่เป็นเรา   นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2015, 11:22:50 am โดย ฐิตา »