ผู้เขียน หัวข้อ: 24 กันยายน วันมหิดล :สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  (อ่าน 2457 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




24 กันยายน วันมหิดล
:สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ตามรอยพระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
                                     
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 24 กันยายน เป็น "วันมหิดล" อันเป็น วันคล้ายวันทิวงคต ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า"พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์

ตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ทรงอุทิศพระองค์ในแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างล้นเหลือ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆอันได้แก่ ทรงพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ "ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์" เพื่อให้บุคคลไปศึกษาวิชาต่างประเทศ  อีกทั้งยังทรงพระราชทานทุนเพื่อค้นคว้า และการสอนในโรงพยาบาลศิราราช อันเป็นทุนแรกของทุนประเภทนี้ในประเทศไทย และเพื่อปรับปรุงการศึกษาแพทย์และพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล จึงทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลทำการติดต่อมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ให้ทำการช่วยเหลือการแพทย์และพยาบาลของไทย ซึ่งทางมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการส่งอาจารย์แพทย์ มามาถึง 6 ท่าน

รวมทั้งทรงพระราชทานทุนทรัพย์รวมทั้งที่ดินและอาคารส่วนพระองค์ เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน หอผู้ป่วย และหอพักนักศึกษาแพทย์และพยาบาล รวมทั้งทรงปรับปรุงวชิรพยาบาลเมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ทรงริเริ่มโครงการเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังทรงพระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลแมคคอมิค สำหรับจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ รพ.แมคคอร์มิค และ รพ.สงขลา และมรดกอีกจำนวนหนึ่งที่พระราชทานเพื่อประโยชน์ของการแพทย์ตลอดระยะเวลากว่าสิบปี รวมทั้งที่มอบไว้เป็นหนึ่งเพื่อใช้ในการให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่างประเทศนั้น รวมแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณหนึ่งล้านสี่แสนบาท


ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
                   สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434  (ก่อนปี 2484 วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับวันที่ 1 เม.ย. ดังนั้นเดือน ม.ค. 2534 ซึ่งเป็นเดือนพระราชสมภพยังคงนับตามปฏิทินเก่า เมื่อเทียบกับปฏิทินสากลที่ใช้ในปัจจุบันจึงตรงกับ ม.ค.2435)


ทรงศึกษาในโรงเรียนราชกุมารตั้งแต่ก่อนโสกันต์จนถึงพระชนมายุได้ 13 ปี 4 เดือน
เป็นที่น่าอัศจรรย์ด้วยว่าพระชนมายุยังน้อย ทว่าทรงมีความรู้กว้างขวางในภาษาไทยยิ่งนัก และทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก แต่เป็นเพียงเพื่อทรงรับการฝึกหัดท่ามือเปล่าให้ได้ทรงรู้จักกิริยาท่าทางของทหารบ้างเท่านั้น มิได้ทรงเข้าศึกษาวิชชาในชั้นต่างๆ

                 เมื่อพฤษภาคม พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ ในส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสนั้น ได้เสด็จไปทรงเริ่มเล่าเรียนที่ประเทศอังกฤษก่อนทุกพระองค์ จึงได้เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสอีก ๓ พระองค์ ทรงเล่าเรียนที่โรงเรียนแฮโรว์ ต่อมาพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสได้แยกย้ายกันไปศึกษาวิชชาการทหาร ณ ประเทศเยอรมัน และด้วยความรู้ภาษาอังกฤษที่ได้ศึกษามานั้น นับเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาวิชชาในกองทัพเรือ

ทูลกระหม่อมได้ทรงศึกษาตั้งแต่เป็นคะเด็ตทหารเรือ จนเลื่อนยศเป็นเรือตรีรวมเวลาทั้งสิ้น 3 ปีครึ่ง จึงจะนับว่ามีความรู้ความชำนาญ เป็นเรือตรีแห่งราชนาวีเยอรมันได้ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่ทรงปรารถนาที่จะลงประจำเรือรบแห่งราชนาวีเยอรมัน เพื่อดูการปฏิบัติการจริง จึงได้ทรงเสด็จกลับประเทศ

                 จากนั้นเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ ต่อมาทรงมีอาการประชวรเรื้อรัง ไม่ทรงสามารถรับราชการหนัก เช่นการทหารเรือได้ ประกอบกับทรงพระดำริว่า ยังมีกิจการอย่างอื่นที่ทรงเห็นว่าสำคัญ และจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า คือ การสาธารณสุข และการแพทย์ ดังนั้นพระองค์ท่านจึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ลาออกจากราชการทหารเรือแล้วเสด็จออกไปยังต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยมีพระราชดำรัสก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่ต่างประเทศว่า" ฉันจะไปเรียนหมอหละ เพราะเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจนคนมั่งมี และเจ้านายต่าง ๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศล ในการรักษาพยาบาลได้ดี เมืองไทยเราถ้าเจ้านายทรงทำหน้าที่อย่างสามัญชนเข้าบ้างเขาว่าเสียพระเกียรติ ฉันรู้สึกว่ามัวแต่รักษาพระเกียรติอยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน" ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด



สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สวรรคตเมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒
รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน


การพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯพระบรมชนก
ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2472

                21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้เสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ผู้ที่ได้รับทุนของพระองค์ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ผู้ที่เคยได้รับพระมหากรุณาในประการอื่นๆ ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไปไ ด้ร่วมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการร่วมกันน้อมสำนึกพระเมตตาคุณพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย  โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง และมีศาสตราจารย์ศิลป พีรพศรี เป็นผู้ควบคุมงาน

                  โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชนุสาวรีย์เมื่อวันที 24 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชานุสาวรีย์นี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมครั้งแรกเมื่อปี 2517 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสร้างรากฐานและบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อให้ถาวร สง่างามและสมพระเกียรติยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้


"วันมหิดล" กับกองทัพเรือ
                 นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจที่ได้รทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขแล้ว พระองค์ก็ทรงมีคุณูปการแก่กองทัพเรืออย่างใหญ่หลวง กองทัพเรือยังถือว่าใน "วันมหิดล" จะเป็นวันที่ร่วมรำลึกถึง จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อกองทัพเรือเป็นอเนกอนันต์ กองทัพเรือจึงได้จัดพิธีทำบุญวันมหิดลเป็นประจำทุกปี

ตอนปลายเดือนมีนาคมนั้นเอง ทูนกระหม่อมได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นร้อยโท ในราชนาวี และได้ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๕๘ เป็นเวลาทั้งสิ้น ๙ เดือนครึ่ง

                   ถึงแม้พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือเป็นระยะเวลาไม่นานนัก แต่ด้วยความที่ทรงเชี่ยวชาญทางเรือดำน้ำและเรือตอร์ปิโดรักษาฝั่ง สายพระเนตรอันกว้างไกลพระองค์ได้ทรงเสนอแนวคิดและโครงการสร้างกองเรือรบที่กองทัพเรือควรจะมีไว้ประจำการต่อเสนาธิการทหารเรือ จึงทำให้เกิดการสร้างกำลังรบทางเรือไว้ป้องกันประเทศชาติในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการมีเรือดำน้ำและเรือรบประเภทต่าง ๆนั้นทำให้ประเทศไทยสามารถป้องกันและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมีศักยภาพและรักษาสันติสุขของชาติไว้ได้อย่างมั่นคง ดั่งที่ทหารเรือทั่วโลกในเวลานี้ต่างก็เล็งเห็นถึงความสำคัญ





noway2know -http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=6698.0


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด








คำสอนของสมเด็จพระบรมราชชนก

 
ในปี พ.ศ. 2448 โปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรส 3 พระองค์
เสด็จไปทรงศึกษาต่อในยุโรป จากซ้าย
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา

 

 

- http://www.princemahidolfoundation.com/




คำสอนของสมเด็จพระบรมราชชนก
รวบรวมจากหนังสือ คำสอนของสมเด็จพระบรมราชชนก
จัดทำโดย งานคุณธรรมและจริยธรรม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล



1.True Success is not in the learning,
but in its application to the benefit of mankind.
(คติพจน์ ที่ทรงบันทึกไว้ที่แผ่นแรกของสมุดปฏิบัติการวิชา Bacteriology ของพระองค์ท่าน)

2. I do not want you to be only a doctor but I also want you to be a man.
(ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๑ เล่าโดย ศ.นพ.อำนวย เสมรสุต)

3. เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้วมันจะไม่กลับมาอีก
ถ้าเรามีโอกาสใช้มันให้เป็นประโยชน์แล้วเราไม่ใช้ มันก็น่าเสียดาย
(ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๑)

4. พวกเธอทั้งหลาย การเล่นเป็นของดี การเรียนนั้นก็เป็นของดีและสำคัญ
แต่การที่จะให้ดีกว่านั้น คือคนที่เรียนก็ดีและเล่นก็ดีด้วย
(ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญา รุ่นที่ ๒)

5. วิชาแพทย์เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
(ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

6. หัวใจของการเรียน อยู่ที่ “ PRACTICE”
(ลายพระหัตถ์ ถึง มจ.พูนศรีเกษม เกษมศรี)

7. เราควรให้ lab work ตรงกับ lecture course
(ลายพระหัตถ์ ถึง มจ.พูนศรีเกษม เกษมศรี เรื่องการจัดหลักสูตรเตรียมแพทย์)

8. คนที่ไปถึงเมืองไหนแล้วไม่ไปดูมิวเซียม คนๆนั้นไม่ศิวิไล
(ทรงสอน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์)

9. เมืองไทยเรายังไม่มีอะไรเลย เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว ควรพยายามคิดค้นทางวิชาการให้กว้างขวางขึ้น
จะได้เทียบเคียงกับต่างประเทศเขา ถ้าไม่รู้จะทำอะไรใหม่
ก็ให้ศึกษาหาสิ่งธรรมดา ให้รู้ว่าคนไทยเรามีอะไรเป็นธรรมดาซึ่งเป็นมาตรฐาน
(ทรงสอนนักเรียนแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒ เล่าโดย นพ.ฝน แสงสิงแก้ว และ นพ.ประพนธ์ เสรีรัตน์)

10. อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวยควรเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่แพทย์
อาชีพแพทย์ต้องยึดมั่นในอุดมคติ คือ เมตตา กรุณา
(ทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นที่ ๒)

11. ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ์
(ลายพระหัตถ์ ประทาน นพ.สวัสดิ์ แดงสว่าง)

12. การที่เรียนจบหลักสูตรวิชาชีพแพทย์นั้น ไม่ได้หมายความว่านักเรียนผู้นั้นได้เรียนรู้การแพทย์หมดแล้ว
แต่เป็นการตรงกันข้าม การที่เรียนจบนั้นเป็นแต่เพียงขั้นหนึ่งของการศึกษาทางการแพทย์
(ลายพระหัตถ์ถึง ศ.เอ.จี.เอลลิส เรื่องประทานทุนสอนและค้นคว้า)

13. จะเป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในภายหน้าไม่ได้ นอกจากแพทย์ผู้นั้น
จะรู้สึกว่าตนจะต้องยังคงเป็นนักเรียนอยู่ตลอดเวลาที่ทำการแพทย์
(ลายพระหัตถ์เรื่อง ประทานทุนสอนและค้นคว้า)

14. คุณลักษณะของการเป็นแพทย์นั้นคือความเชื่อถือและไว้ใจ
๑. ท่านต้องมีความเชื่อในความสามารถของตนเอง คือความมั่นใจ
๒. ท่านต้องมีความไว้ใจระหว่างแพทย์กันเอง คือความเป็นปึกแผ่น
๓. ท่านต้องได้ความเชื่อถือจากคนไข้ของท่าน คือความไว้ใจของคณะชน
(ลายพระหัตถ์ ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับข้อ ๑๕ ถึงข้อ ๑๘)

15. ขอให้ท่านถือสุภาษิตว่า “ใจเขาใจเรา” ท่านอยากได้ความสบายแก่ตัวท่านอย่างไร
ก็ควรพยายามให้ความสบายแก่คนไข้อย่างนั้น
(ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

16. แพทย์ผู้ที่ไม่เชื่อในสิ่งที่ตนทำ และพูดหลอกให้คนไข้เชื่อนั้น คือแพทย์ทุจริต
(ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

17. ความจริงเป็นยาอันประเสริฐ ได้ผลคือความเชื่อ ถ้าท่านหลอกคนไข้แล้ว ท่านก็ต้องรักษาเขาได้หนเดียว
(ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

18. ความลับของการรักษาคนไข้นั้นคือ ความรักคนไข้
(ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

19. ท่านควรยกย่องคณะที่ให้การศึกษาแก่ท่าน ท่านควรมีความภาคภูมิใจในคณะของท่าน
และท่านไม่ควรเรียนวิชาขึ้นใจแล้ว ใช้เป็นเครื่องมือหากินเท่านั้น ควรเก็บคำสอนใส่ใจ และประพฤติตาม
ผู้ที่จะบำบัดทุกข์ต้องเป็นตัวอย่างความประพฤติซึ่งจะนำมาแห่งสุขภาพ
แพทย์ที่ไม่ประพฤติตามวิธีที่ตัวเองสอนแก่คนไข้แล้ว จะหาความไว้ใจจากคนไข้ได้อย่างไร
(ลายพระหัตถ์ถึงสมาชิกสโมสรแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)



-สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก.
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.

 :13: :19: