ผู้เขียน หัวข้อ: นานาสังวาสกะและสมานสังวาสกะ :สมเด็จพระญาณสังวร  (อ่าน 1377 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




นานาสังวาสกะและสมานสังวาสกะ
พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
วัดบวรนิเวศวิหาร

เมื่อเกิดความแตกแยกแห่งสงฆ์ในกรุงโกสัมพีขึ้น จนทำให้พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกสู่ป่ารักขิตวัน หรือป่าเลไลยกะ จนทำให้ชาวกรุงโกสัมพีต่างโกรธแค้นเหล่าภิกษุที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทจนทำให้พวกตนสูญเสียประโยชน์จากการได้เห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงต่างก็พร้อมใจกันไม่ให้การอุปถัมภ์พระภิกษุเหล่านั้น

ในฝ่ายภิกษุบริษัท พระสารีบุตรซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า จะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสให้ดำรงอยู่โดยธรรม พระสารีบุตรก็ได้กราบทูลถามว่า จะพึงรู้ว่าเป็นธรรมหรือว่าอธรรมอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสว่า

ภิกษุที่เป็นอธรรมวาที
คือ ผู้กล่าวไม่เป็นธรรมนั้น พึงทราบได้ด้วยวัตถุ ๑๘ ข้อ เมื่อรวมเป็นคู่ก็ได้ ๙ คู่ คือ
คู่ที่  ๑  แสดงอธรรม ว่า ธรรม
แสดงธรรม   ว่า อธรรม
คู่ที่  ๒  แสงดอวินัย  ว่า วินัย 
แสดงวินัย    ว่า อวินัย
คู่ที่  ๓  แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้   ว่า มิได้ตรัส
แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัส ว่า ตรัสไว้
คู่ที่  ๔  แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงประพฤติ ว่า ทรงประพฤติ
แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ      ว่า มิได้ทรงประพฤติ
คู่ที่  ๕  แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติ  ว่า ทรงบัญญัติ
แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ       ว่า มิได้ทรงบัญญัติ
คู่ที่  ๖  แสดงอนาบัติ  ว่า อาบัติ
แสดงอาบัติ   ว่า อนาบัต
คู่ที่  ๗  แสดงอาบัติเบา  ว่า อาบัติหนัก
แสดงอาบัติหนัก ว่า อาบัติเบา
คู่ที่  ๘  แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือ    ว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
คู่ที่  ๙  แสดงอาบัติชั่วหยาบ    ว่า ไม่ชั่วหยาบ
แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่า เป็นอาบัติที่ชั่วหยาบ
ภิกษุที่มีวาทะดังกล่าวมานี้ก็ให้พึงรู้ว่าเป็นอธรรมวาที กล่าวไม่เป็นธรรม

ภิกษุที่เป็นธรรมวาที
ส่วนภิกษุที่เป็นธรรมวาที คือ กล่าวเป็นธรรมนั้น ก็พึงทราบด้วยวัตถุ ๑๘ ข้อ
อันมีอรรถ คือ เนื้อความตรงกันข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว คือ

คู่ที่  ๑  แสดงอธรรม ว่า อธรรม
แสดงธรรม   ว่า  ธรรม
คู่ที่  ๒  แสงดอวินัย  ว่า อวินัย 
แสดงวินัย    ว่า วินัย
คู่ที่  ๓  แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้   ว่า ได้ตรัสไว้
แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัส ว่า มิได้ตรัส
คู่ที่  ๔  แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงประพฤติ ว่า มิได้ทรงประพฤติ
แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ      ว่า ได้ทรงประพฤติ
คู่ที่  ๕  แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติ  ว่า มิได้ทรงบัญญัติ
แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ       ว่า ได้ทรงบัญญัติ
คู่ที่  ๖  แสดงอนาบัติ  ว่า อนาบัติ
แสดงอาบัติ   ว่า อาบัต
คู่ที่  ๗  แสดงอาบัติเบา  ว่า อาบัติเบา
แสดงอาบัติหนัก ว่า อาบัติหนัก
คู่ที่  ๘  แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือ    ว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
คู่ที่  ๙  แสดงอาบัติชั่วหยาบ    ว่า ชั่วหยาบ
แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่า เป็นอาบัติที่ไม่ชั่วหยาบ
ภิกษุที่มีวาทะดังกล่าวมานี้รวมเรียกว่า เป็น ธรรมวาที

กล่าวเป็นธรรมวัตถุ ฝ่ายอธรรมวาที ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการวิวาทกันจนแตกร้าวกัน
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เภทกรณวัตถุ แปลว่า วัตถุเป็นเครื่องทำให้แตกกัน ส่วนวัตถุฝ่ายธรรมวาทีย่อมเป็นเครื่องทำให้ไม่แตกกัน ทำให้ปรองดองกัน โดยตรงกันข้าม และวัตถุฝ่ายอธรรมวาที ๑๘ ข้อ ๙ คู่ ดังกล่าวมานี้ เป็นมูลเหตุแห่งวิวาทาธิกรณ์ ในคณะสงฆ์ คือ อธิกรณ์ที่เกิดขึ้นจากการวิวาทกัน การวิวาทกันนี้มิใช่วิวาทด้วยเรื่องส่วนตัวของใครผู้ใดผู้หนึ่ง แต่วิวาทคือทุ่มเถียงกันว่า นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัยเป็นต้น ตามคู่ทั้ง ๙ นั้น

เมื่อวิวาทกันแม้เพียงคู่ใดคู่หนึ่งก็เรียกว่าเป็นวิวาทที่จะก่อให้เกิดเรื่องราว
อันเรียกว่า อธิกรณ์ ขึ้นได้ และเมื่อเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์แล้ว ก็ย่อมจะปันสงฆ์ออกเป็น ๒ ฝ่าย
คือ ฝ่ายที่มีความเห็นข้างนี้ ฝ่ายที่มีความเห็นข้างโน้น ก็เลยแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย แตกกันจนแยกกันทำ
สังฆกรรม และเมื่อแยกกันทำสังฆกรรมก็เรียกว่าเป็น สังฆเภท คือ ความแตกของสงฆ์ ถ้ายังไม่ถึงกับ
แยกกันทำสังฆกรรม ก็ยังไม่เป็นสังฆเภท แต่เรียกว่าเป็น สังฆราชี ซึ่งความแตกของสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น

   เรียกว่า นานาสังวาสกะ คือ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมต่างกัน เป็นนานาสังวาสกะของกันและกัน
   ส่วน สมานสังวาสกะ คือ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน เป็นความพร้อมเพรียงปรองดองกันของสงฆ์

สังฆสามัคคีอุโบสถ คือ อุโบสถสวดพระปาติโมกข์ เป็นการทำสังฆสามัคคี ตามที่กล่าวมานี้ไม่ได้กำหนดว่าเป็นวันไหนเหมือนอย่างอุโบสถที่กำหนดทำอยู่โดยปกติ เมื่อเกิดสังฆเภทขึ้นและสงฆ์มาปรองดองกันเป็นสังฆสามัคคีเมื่อใด ก็ทำอุโบสถสวดปาติโมกข์ขึ้นเมื่อนั้น เรียกว่า สังฆสามัคคีอุโบสถ

           

ที่มา  :  ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
-http://www.phuttha.com/stupa/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-10