ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?  (อ่าน 10232 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2016, 08:08:46 am »
                 

ตอบปัญหาแบบเซ็น(อ.พุทธทาส)
ช่วงปี 2521-2522 มีโอกาสอยู่ใกล้ชิด กับ หลวงพ่อพุทธทาส
ที่สวนโมกข์ 9เดือน ทุกวันศุกร์หัวค่ำ เป็นเวลา"พบท่านอาจารย์"
ใครมีปัญหาอะไร ก็ ถามท่านไ้ด้ ที่ถูกใจ มีหลากหลาย
วันนี้สรุปเรื่อง บุญ บาป โทษ คุณ

1.บุญ
วันหนึ่งมีคณะกฐิน ที่ไปทอดกระฐิน จากกทม. มาแวะ
และรายงานท่านอาจารย์
ถามว่า บุญอนิสงค์จากการทำกฐินมีมากแค่ไหน
ท่านอาจารย์จึงตอบแบบ เซ็นว่า
บุญคือใจที่ปกติ หากทำแล้ว ใจไม่ปกติ ก็ยังไม่ได้บุญ

2.บาป
มีโยม มาตัดสินใจ เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ทิ้งไว้ที่"บ่อเสือ"
นะ โรงปั้น ที่หลางตาไสวดูแล มากราบลากลับ
แล้วถามว่า บาป ที่เคยทำ เลิกแล้ว จะมีผลต่อชีวิตไหม
ท่านอาจารย์ ก็ตอบแบบเซ็นว่า
บาป กับตะบะ มาจากรากศัพย์เดียวกันคือ "บันใด"
บาป เป็นบันใด ลงสู่ที่เราจากมา
คือ ที่ร้อนๆ คืออบายภูมิ ต่ำสุดก็นรก
...ตะบะ เป็นบันใด
ที่นำชีวิตออกจาก ความวุ่น สู่ความสงบ สงัด
แต่ว่าตอนทำต้อง"เผา" ทิ้งขยะในจิตให้สิ้น

3.โทษ
มีครูพานักเรียนตัวน้อย มาถามว่า อะไรคือโทษ
ท่านอาจารย์ หัวเราะ แล้วบอกว่า
เอาประสบการณ์ตรง ลองเขกหัวตัวเอง แต่อย่าแรงมาก
แล้วอาจารย์ ถามว่า"เจ็บไหม?"
ทุกคนตอบว่าเจ็บ
ใช่เจ็บแน่ๆ อะไรที่ทำแล้ว เจ็บทั้ง กาย ว่า ใจ ตนและผู้อื่น
ล้วนเป็นโทษ ยกว้นความอดทนฝึกตนสู่ทางสว่างนะ

3. คุณ
อะไรคือคุณ ครูถามแทนนักเรียน
คุณคือสิ่งที่ทำแล้ว ให้ประโยชน์มาก
ทั้งเดี่ยวนี้ ต่อไป และสูงสุด
คุณสามง่ายๆ ที่ควรทำคือ
-รู้ว่าชั่วก็ละ
-รู้ว่าเป็นกุศล ก็เจริญให้ยิ่ง
-รู้ว่า ทำแล้ว จิตปกติเย็น มีสติปัญญา ก็ทำจนเป็นนิสัย
...............................................

บุญ บาป โทษ คุณ แบบเซ็น ของหลวงพ่ออาจารย์พุทธทาส
ใครเอาไปใช้ ท่านคง พอใจ ยินดี ขอบคุณกับพวกเราแน่ๆ
สมหวังในสิ่งประเสริฐ แข็งแรงทุกด้าน ดีด้วยกันทุกคนนะครับ..สาธุ

The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
12.5.2016

Originally shared by Suraphol Kruasuwan _ June 2017
55555+
นิทานเซน ยามเย็น
นักธุรกิจ เครียดจาก ความไม่ได้ดังใจ
เพื่อนแนะนำ ให้ไปวัดเซน
ที่วัดก็ไม่ได้สอนอะไร แต่จัดที่พัก อาหารให้
อยู่ได้สามวัน ก็เกิด"ซาโตริ" บรรลุธรรม
หน้าบาน ไปหาหลวงพ่อ ลากลับ
"หลวงพ่อครับ ผมเข้าใจแล้วครั้บว่า
ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนว่างเปล่า
แต่ผม ก็ยังไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ควรจะวางภาระกิจลง
หลวงพ่อ "เอาโยมถือถ้วยชาไว้นะ"
หลวงพ่อ ค่อยๆรินชาร้อนๆ ใส่ถ้วยของโยม ไปเรื่อยๆ
จน โยมทนไม่ไหว ก็วางลง สบัดมือ 55555+
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
จบแค่นี้แหละ 55555+

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2017, 08:27:10 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 01:20:26 pm »


Originally shared by Suraphol Kruasuwan
มุมกาแฟ เช้า 21/5/17
"พวกเธอ จงท่องไปในหมู่คาม
ใช้ชีวิตสมณะ เห็นคุณค่า
ความสงบ สงัด สันติสุข สันติธรรม
ดั่งผี้เสื้อในอุทยานดอกไม้
มีปีกเสรี ดื่มด่ำกับน้ำหวาน โดยไม่ทำให้ดอกไม้ชอกช้ำ"
(พุทธพจน์)
https://www.youtube.com/watch?v=ObrLvszJQh8

หลวงพ่อ อ.พุทธทาสภิกขุ
เป็นผู้เปิดโลกทัศน์ ให้คนไทยรู้จัก คำสั่งสอนของพุทธเจ้า
จากนิกายเซ็น ที่ผ่านจากอินเดีย จีน สู่ญี่ปุ่น
โดย ท่านนาคารชุนะ ที่เน้น
สติปัญญา สมาธิ ตื่น เห็นอนัตตาธรรมทุกลมหายใจเข้าออก
คือแก่นแท้ ของ พุทธรรม
เซ็น มาจากคำว่าฌาน คือ มีความหนักแน่นทุกขณะจิต
หนักแน่นในโพธิจิต โพธิปัญญา และโพธิธรรม ที่ตื่นแล้ว
อยู่เหนืออารมณ์ ทุกข์ สุข กลัว หดหู่ ฟุ่งซ่าน ลังเล

1.โพธิจิต คือจิตที่มีความสุขจากการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน
ให้ชีวิตอื่นเป็นสุข ตรงกับ
"หิตายะ สุขายะ"การช่วยให้ชีวิตอื่นเป็นสุข
เราก็รับอนิสงค์สุขนั้นด้วย

2.โพธิปัญญา
เซ็น บอกว่า มนุษย์มีสองจิต
-จิตปรุงแต่ง อธิจิต เป็นจิตที่ต้องคิด พูด ทำ ธรรมดา
-จิตแท้จิตเดิม โพธิปัญญา เป็นจิตที่สว่างราวดวงอาทิตย์พันดวง
ส่องเห็น อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตา ในทุกสรรพสิ่ง
หรือเห็นความไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้ ของสิ่งที่มีการเกิด
ทุกครั้งที่สัมผัส โลก ธรรม ที่มีคนรู้วิธีปลุกให้ตื่น
หรือหลับ อยู่ใต้อิทธิพล อธิจิตจนตาย

วิธีปลุกของเซ็น เช่นการขบคิดปริศนาธรรม(โกอาน)
เช่น"เสียงจากการตบมือข้างเดียว"
หรือการทำสมาธิแบบลืมตา (ซาเซ็น)
หรือ มีสติทุกลมหายใจเข้าออก เห็น การทำงาน
จิตปรุงแต่ง คือ เห็นความคิด อารมณ์ อุดมคติ ความรู้
ปรุงบุคลิกภาพต่าง ตลอดเวลา และ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวเรา ของเราจริงๆ

3.โพธิธรรม หนักแน่นเหนือทุก อารมณ์ที่มนุษย์รู้จัก
ธาตุเซ็นคือ ธาตุเด็ดเดียว มีอารมณ์ขัน
เป็นศูนย์กลาง เหนือ ชอบ ชัง ทุกข์ สุข กลัว
เพราะมีโพธิธรรม ที่เป็น อริยธรรม อยู่เหนือ
โลกุตระธรรมปรมัตถ์ธรรม โลกียะธรรม ทุกขณะจิต
เช่น มีอาจารย์เซ็น สามท่าน ดื่มน้ำชา วันฝนตก
ฟ้าผ่าเปรี้ยง ลงใกล้ๆ ต่างหัวเราะ พร้อมกัน....55555+
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ดังนั้น ใครมีโพธิจิต โพธิปัญญา โพธิธรรม ที่ตื่นตลอดเวลา
ชีวิตมีชีวาทุกขณะจิต
-มีสุขจากจิตเอื้อเฟื้อ
-มีปัญญาเห็นไตรลักษ์
-มีอารมณ์ขัน ต่อมายาโลก ธรรม
ก็พอจะเป็นศิษย์เซ็นได้บาง สาธุ
..
..

เล่านิทานเซน เด็กในวัดเซน
https://www.youtube.com/watch?v=qKUJMW4lrQI&list=PLd91rcaNKk5_pCJZSkTyf1e9g9dsHSOFb&index=4
..
..
คาดวัดเซนในญี่ปุ่นหลายหมื่นแห่งอาจปิดตัวลงใน 25 ปี
https://www.youtube.com/watch?v=kyba02mp4Ug
เซน เป็นปรัชญาชีวิต ที่รวมแนวคิด พุทธมหายาน เต๋า ขงจื้อ บูชิโด ของญี่ปุ่น
แต่ เวลาผ่านไป ก็มี"วัด" และ"ใหญ่โต" และ"พิธีกรรม"ที่ไกลจากอุดมคติ
และ กลายเป็น"ภาระ" แทนที่จะปลดเปลื้องภาระ จนเข้าสู่"ความว่าง"
.....เสียงขลุ่ย ย่อมกับไปสู่กอไผ่
.....ภาพจากคลิป ธรรมชาติ และกิจมนุษย์
https://www.youtube.com/watch?v=19uks0YagCY
..
..
Samsara :May 31 2016
https://www.youtube.com/watch?v=rVc0bk2sDW8
Samsara วัฏฏะสงสาร
การเวียนว่าย ตายเกิดของทุกข์และธรรม
..........................................
ในการประสบธรรมะ ระดับชนะดับเหตุแห่งการปรุงแต่งสร้างอารมณ์ทุกข์ได้ สูงสุดคือ
ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ
ผู้ แตกฉานโลก
แตกฉานธรรม
แตกฉานภาษา
มีปฏิภาณไหวพริบ
เพราะมีประสบการณ์ตรงทั้งโลกและธรรม

ย่อมมีโอกาส ที่ชนะวัฏฏะสงสาร
การหมุนเวียนของ ทุกข์ ที่ เกิด แก่ เจ็บตาย
เป็นบุคลิกภาพต่างๆในตัวเรา
เกิด ดับ วันละหลายแสนรอบ

เมื่อเราเอาสิ่งที่เราผัสสะ กับความทรงจำ ความอยาก
ความยึดติด ปรงแต่ง เป็นความรู้สึก อารมณ์
จนเราต้องสวมบทบุคลิกภาพนั้นๆ เพื่อการปรับตัว
แต่เราไม่เคยสังเกตุุเห็น และคนที่มีสมาธิระดับสูง
ก็อาจตามไปทั้น นอกจาก ปฏิบัติตามหลัก
ธรรมมะภาคปฏิบัติ สู่การบรรลุธรรมอันไม่เนิ่นช้า
นิปปปัญจธรรม(โพธิปักขิยะธรรม38)
..
..
รวม เซน
http://www.dhammajak.net/zen/2.html
..
..
ฝนอิฐเป็นกระจกเงา.
ศิษย์วอนถาม อาจารย์ ฐานร้อนใจ
"ทำอย่างไร ไปนิพพาน อาจารย์ขา"
"อ๋อ มันง่าย นี่กระไร บอกให้นา
คือคำว่า ฝนอิฐเป็น กระจกเงา"

"อาจารย์ครับ เขาคงว่า เราบ้าใหญ่
แม้ฝนไป ฝนไป ก็ตายเปล่า".
"นั่นแหละเน้อ มันสอนไห้ แล้วไม่เบา
ว่าให้เรา หยุดหา หยุดบ้าไป.

ไม่มีใคร ฝนอิฐ เป็นกระจก
ไม่ต้องยก มากล่าว เข้าใจไหม
นิพพานนั้น ถึงได้ เพราะไม่ไป
หมดตนไซร้ ว่างเห็น เป็นนิพพาน.

ถ้าฝนอิฐ ก็ฝนให้ ไม่มีเหลือ
ไม่มีเชื้อ เวียนไป ในสงสาร
ฝนความวุ่น เป็นความว่าง อย่างเปรียบปาน
ฝนอิฐด้านให้เป็นเงา เราบ้าเอง"ฯ
---
อันนี้เป็นปริศนาธรรมของเซ็น ทำอย่างไรจะไปนิพพาน
 คำถามนี้ตอบโดยการฝนหินให้เป็นกระจก
 ซึ่งหมายถึงการเสียแรงเปล่า ฝนไปจนตายหินก็ไม่อาจเป็นกระจก
 เช่นกัน การถึงนิพพานนั้นถ้ามีความคิดอยู่ว่าจะต้องมีการไป
 และ มีการถึง หรือต้องมีการปฏิบัติ
 และ มีการบรรลุ ก็ยังเป็นการคิดผิดอยู่
เพราะยังมีการแสวงหาอยู่จึงถึงนิพพานไม่ได้
 เพราะหมดการแสวงหาจึงจะถึงนิพพาน - อธิบายโดย ramsat

"ยิ่งวิ่งไล่ยิ่งยืดไกลออกไป นี่คือตัณหาล่ะ
 ให้เหนื่อยหอบ. ยิ่งอยาก "ยิ่ง" ไม่ได้ ;หยุด แม้อยากเป็นพระอรหันต์
;เพราะพระอรหันต์ คือ ผู้ "หมดอยาก" และเป็นผู้หยุดสนิทแล้ว.
 เอาธาตุอยาก วิ่งไล่ธาตุหยุดอยาก ฉันใด,
 ฝนอิฐเป็นกระจกก็เหนื่อยเปล่าฉันนั้น.

 ถ้าจะฝนต้องฝนให้หมดไม่มีเหลือ ไม่เป็นอิฐ
 ไม่เป็นกระจกอีกเลย." - อธิบายโดยท่านพุทธทาส
http://www.oknation.net/blog/all-about-rice/2009/07/04/entry-5
.............................................................................
ศีล..................................มีไว้ควบคุมสัญชาติญาณดิบ ไม่ตกต่ำสู่อบาย
สมาธิ..............................มีไว้ควบคุมอารมณ์ ให้เย็น มั่นคง
สติ ปัญญา......................มีไว้ควบคุมความคิด ไม่หลงในมายากระแสโลก
จิตแท้ จิตเดิม..................มีไว้ปลุกให้ตื่น มาควบคุมจิตปรุงแต่ง(อธิจิต)ฯ
..........................................................
ศีล.......................................ใช่มีไว้เพื่อ อวด อีโก้
สมาธิ................................,..ไม่ได้มีไว้โชว์ สิทธิอำนาจเหนือธรรมชาติ
สติ ปัญญา...........................ไม่ได้มีไว้ อวดอ้างความฉลาด
ยังตกเป็นทาส จิตปรุงแต่ง.....เสียเวลา เรียนรู้ พุทธธรรมฯ
..................................................
..
..
ศรัทธา..........ย้ายภูเขาได้(พระคริสธรรม)
ชาวเซน........ผู้มีฌานทุกขณะจิต
ต้องรุ้จักวิธีปกป้อง ศรัทธา ในยุค โฆษณา แบบล้างสมอง โดยสื่อนานาชนิด
ศรัทธา เกิดจาก
1.ความไม่รู้
ไม่รู้ทั้งสหวิชาการ(ความรู้รอบตัว)
ไม่รู้ ขบวนการปรุงแต่งของจิต ตนเอง
2.ความกลัว
เป็นจุดขายของ หลายลัทธิ ศาสนา การเมือง และ นักการตลาด
3.ความภักดี
ในสิ่งที่เรา ชอบ เชื่อ และได้ประโยชน์ มีจุดยืนในสังคม
4.รูปลักษ์ กิจกรรม บุคคลต้นแบบ เหนือมนุษย์ คนเหนือคน
5.หลักการ เหตุผล ระบบ ที่น่าเชื่อถือ
6.การตื่นของ ปรีชาญาณฉลาดเลือก
มาศึกษา เข้าใจเหตุผล ทดลองปฏิบัติ รับรู้ผลด้วยตนเอง
ทดลอง ทำซ้ำได้ ไม่ขึ้นกับเวลา
.............................................
เชื่อ ก่อนเกิดปัญญา ชีวิตยังไม่ปลอดภัย
เชื่อเมื่อ ปรีชาญญาณฉลาดเลือกตื่น
เราต้องฝึกฝนด้วยตนเอง
ปลุกปรีชาญาณฉลาดเลือกตื่น
เพื่อให้ เรามี"ฌานทุกขณะจิต"
เป็นชาวเซนที่แท้จริง สาธุ
(ขอบคุณเจ้าของภาพ)
..
..

"อย่างนั้นหรอกหรือ?"
       ปัญญาเซน : การไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก มีลาภ-เสื่อมลาภ
มียศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์ ล้วนไม่จีรัง
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมจึงจะเป็นมงคลชีวิตแก่ตน
       
       ที่มา : หนังสือ 《一日一禅》, 东方闻睿 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国电影出版史, 2004.8, ISBN 7-106-02204-7
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014205


ภาพนี้ อ.พุทธทาส สวนโมกข์ ได้ แปลความหมายว่า
"ข้ามสะพาน ต้องข้ามก่อนแก่ เดี๋ยวแก่ยักแย่ยักยันข้ามไม่ไหว"
หมายถึงถ้าจะข้าม ห้วงมหรรนพ ที่มี กาม ภพ ทิฎฐิ อวิชชา
ต้องรีบฝึกข้ามตอนหนุ่มๆ สาวๆ นี่แหละ _May 19 2016
..
..
The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 01:23:02 pm »


ภาษาคน ภาษาธรรม
อ.พุทธทาส ผู้ เรี่มเอาคำสอนแบบเซน มาสู่สังคมไทย
อธิบาย ภาษาคน กับภาษาธรรม ซึ่ง
สาระ มีความหมายที่ชาวโลกเข้าใจ กับความหมาย ทางธรรมะ จะต่างกัน
เช่น"โกอาน" ปริศนาธรรม ที่ชาวเซนใช้ คู่กับ ซาเซน(ฝึกสมธิแบบลืมตา)
......................................
ได้ยินพระรูปหนึ่ง ตอบปัญหาในทีวี
-อยากจะไปนิพพาน ทำอย่างไร?
-แค่อยาก ก็ผิดแล้ว
ถ้าเป็นชาวเซน ก็จะเข้าใจ
แต่เป็นชาวบ้าน ก็จะคิดว่า "ต้องไม่อยาก แม้นจะอยากพบนิพพาน"
จะหลงทาง คิดแต่จะหยุด ไม่ก้าวหน้าในการ ขยันฝึกตน

จริงๆ ความอยาก มีสองแบบ
1.อยากโดย อธิจิต
มีกิเลส ตัณหาอุปทาน ปรุงแต่งจริต  ผลัก เช่น
อยากชนะ อยากยิ่งใหญ่ อยากเป็นอมตะ อยากยึดติด อยากทำลาย
2.อยากโดยโพธิจิต
อยากจะเข้าใจ ธรรมะที่สูงละเอียดขึ้น
อยากเข้าสู่วิมุติธรรม
อยากช่วยให้ชีวิตอื่นพ้นทุกข์
เป็นความอยากที่ เป็นกุศล และช่วยละอกุศล จน ถึงชำระใจให้วิสุทธิ์
สาธุ
..
..

https://www.youtube.com/watch?v=LxPNcovXKdg
ภาพลวงตา
ทุกสิ่งเป็นภาพลวงตาจากมายาธรรมชาติ
การมองผ่าน กฎไตรลักษ์ อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา
ทำให้ สติปัญญาฉลาดเลือกตื่น และปรับตัวอยู่กับโลก
แบบผู้ชนะ สิ่งเร้า และอารมณ์ภายในตน สาธุ
..
..

https://www.youtube.com/watch?v=BW31YyMeoio
เซน ก็เหมือน วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในโลก
นานๆไป ก็จะมี ความคิดเห็น และวัฒนธรรมเดิมของ อาจารย์แทรกเข้ามา
กลายเป็นรูปแบบใหม่ๆ ศิลป์ ที่อยู่อาศัย การใช้ชีวิตจนไกลแก่นแท้ของเซน
ที่การมี ญาณ ฌาน ทุกขณะจิต จิตว่องไวดุจสายฟ้า
จิตมีเจโตวิมุต ปัญญาวิมุติ ทุกปัจจุบันขณะจิต
สรุปไปติดรูปแบบ แต่ละสำนัก แทนที่จะเข้าถึงแก่นแท้
 ที่ตนเองต้องฝึกปลุก สติ สมาธิ จนโพธิปัญญาตื่น ด้วยตนเอง
สาธุ
..
..
บางเรื่องสำหรับบางคน
แม่น้ำไม่เคยไหลไปสู่ผู้หิวกระหาย
มีวรรรณกรรม นอกพระไตรปิฎก เล่าถึง
พระพุทธเจ้า เตือนเหล่าสาวก ที่ออกไป เผยแพร่ ธรรมะ
เพื่อการชนะ อุปทานที่สร้างอารมณ์ทุกข์ว่า
ไม่ควรสนทนาธรรมะ ในกรณีต่างนี้
1.ผู้ยืนค้ำหัว(ไม่มีสัมคารวะ)
2.ผู้ถืออาวุธ(ในการดื่มชาแบบพิธีเซน จึงเก็บดาบก่อน)
3.ผู้มีกิจเร่งด่วน
4.ผู้ทุกข์ทรมาน เจ็บป่วยสาหัส
5.เด็กไม่รู้ความ
6.สาวเทื้อ(น่าจะหมายถึงพวกวัยฮอร์โมนว้าวุ่น)
7.วันนี้ขอแถม ว่า พวกอีโก้สูง
หลงใน ยศ อำนาจ วานา บารมีเทียมๆ ครับผม
.....................................
ภาพจากอวกาศทะเลแดง ทะเลอาหรับ ขอบคุณเจ้าของภาพครับผม
..
..
ทฤษฏีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything
"เราไม่สามารถหาความจริงแท้ได้จากการสังเกตุการณ์
 เพราะแค่ไปดู มันก็เปลี่ยนตัวตนและสถานะของมันไปก่อนแล้ว
 ทุกสิ่งไม่เคยเกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง จนกว่าเราจะไปสังเกตการณ์มัน!"
เหมือนโกอาน(ปริศนาธรรม)ของชาวเซน
..
..
ทุกขณะจิตของชาวเซน คือ
มีสติตื่น ปัญญาเห็น คุณค่าความสงบ สงัด สันโดษ สมถะ กรุณา วาง
ว่าง จากอุปธิทั้งปวง จนพบ
กายวิเวก
-จิตตวิเวก
 อุปธิวิเวก
เป็นความรู้สึก ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
......................................
 อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา นี้ได้แก่ อุปธิ ๔ อย่าง คือ
๑กามูปธิ (อุปธิคือกาม)  คือความติดในสิ่วที่พอใจ เข้าครอบครองจิต
๒ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์) ความหลงในชีวะยนต์ที่ประกอบเป็นเรา คืออัตตา
๓กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) คืออารมณ์ ที่ทำให้จิตขุ่น ร้อนรน เศร้าหมอง พยาบาท
๔อภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร) คือความคิดปรุงแต่ง ให้หดหู่ ฟุ้งซ่าน
เพราะขาด สัมมาสติโพธิปัญญากำกับ
และ ปรีชาญญาณฉลาดเลือก หลับอยู่
......................................
การจะพบ กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก อยู่ที่การฝึกต่อเนื่องยาวนาน
จนกลายเป็นธรรมชาติ ธรรมดา ของ ชีวิตตนเอง สาธุ
..
..
ซาเซ็น (Zazen)
เป็นหนึ่งในหลัก ปฏิบัติ ของชาวเซน
คือ การทำสมาธิแบบลืมตา
แต่จริงๆคือการหรี่ตาก้มมอง
ทอดสายตาห่างจากตัวประมาณ หนึ่งศอก หนึ่งคืบของตนเอง
ซาเซนจะรับรู้ปรากฎการณ์ภายนอก
 และรู้ถึง ปรากฎการณ์ ที่เกิดในจิต
ในทุกปัจจุบันขณะ พร้อมๆกัน
เมื่อพบ การปรุงแต่งจิต ในทางอกุศล(อาสวะ)
 กุศล(สาสวะ) ก็ดี ก็ปล่อยว่าง
ให้จิตดิ่งสู่ความ ว่าง จนพบประสบการณ์"วิสังขาร"
คือไม่มีการ ปรุงแต่ง ให้เกิดอุปาทานทุกข์
เป็นอนาสวะ
https://plus.google.com/+SurapholKruasuwan/posts/FGJKPnAcqYJ
มีนิทานขำๆ ของชาวเซนเรื่องหนึ่ง
วันหนึ่งศิษย์เซน จอมขี้ยั๋ว มาปรึกษา อาจารย์ ช่วยแก้อารมณ์โทสะในตน
อาจารย์ ก็ให้ไปทำซาเซน และจินตนาการว่า
ตนเองเป็น มหาเมตตากรุณา
ประดุจหนึ่ง น้ำ ไอน้ำ เมฆ ฝน ที่นำความสดชื่น ชื่นฉ่ำ
มาแบ่งปันให้ ทุกสรรพชีวิต ไม่มีอคติ มายาคติ
ผ่านไปหนึ่งคืน ศิษย์ ก็ หน้าบาน มากราบลาอาจารย์
"อาจารย์ครับ จิตเมตตาเสมอน้ำของกระผม บรรลุแล้วครับ"
"เธอก็เจริญ เมตตา กับปัญญา จนสติ รู้ทันไม่ปรุงแต่งอารมณ์โกธร ได้อีก"
"ครับผม ผมจะเป็นน้ำ น้ำฝน ธารน้ำ
ให้ความสุข สดชื่นชีวิตชีวา แด่ทุกสรรพสัตว์
ยกเว้น คนข้างบ้าน เพราะผมคิดว่า มันเอี้ยสุดๆ"
55555+
..
..

ประสบการณ์ของความตื่น  "ซาโตริ" หรือภาวะรู้แจ้ง ของเซ็น
ถ้าจะเปรียบกับ ทางเถรวาทคือ การ ตื่นของปรีชาญาณฉลาดเลือก
ที่พัฒนาการมาตามลำดับ จน เข้าใจแจ้ง ในปรากฎการณ์ในจิตตน
และสัมมาสติ โพธิปัญญาตื่น มาล้างขยะปรุงแต่งจิต
จนไม่เหลือเชื้อแห่งอุปาทานทุกข์ หมดอารมณ์ทุกข์ อย่างถาวร

ดวงตา เกิดขึ้น(มีวิสัยทัศน์ใหม่)
ญาณ เกิดขึ้น(มีความรู้ใหม่ ที่เกิดจากสติปัญญา เห็นวงจรสร้างอารมณ์ทุกข์ และทางดับ)
ปัญญา เกิดขึ้น(มีปัญญาที่พัฒนายกระดับ จากโลกียะ สู่โลกุตตระ)
แสงสว่าง เกิดขึ้น
( การตื่น ของปรีชาญาณฉลาดเลือก หรือการตื่นของจิตแท้จิตเดิม มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง)
"ซาโตริ หรือการบรรลุโดยไม่เนิ่นช้า จึงเป็นประสบการณ์ตรง ของแต่ละคน"
ที่ดับอารมณ์ทุกข์ ด้วยตนเอง
จากจิตปุถุชน แบบ แผลเก่า
เป็นจิต ทีว่องไวดุจสายฟ้า
มาเป็นจิต ที่แข็งแกร่ง ประดุจเพชร
คือการพัฒนา ยก ระดับภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา..ที่เป็นหัวใจของพุทธรรม
ไม่ว่าจะเรี่มต้นจาก คำสอนอาจารย์ ลัทธิ นิกายใดๆ สาธุ
..
..
เซน เป็นการปลุก"วิชชา"ให้ตื่นจนรู้แจ้งจิตตนเอง
ควบคุมจิตปรุงแต่ง สู่ทางสว่างได้
ไม่ใช่"วิชา" ที่เราเรียนรู้ เกิดความรอบรู้ทุกสิ่ง แต่ไม่มีสติรู้
ความคิด อารมณ์ อุดมคติ ความรู้ สัญชาติญาณ ที่ปรุงแต่ง"ตัวตนเทียม"
ที่เราคิดว่า เป็น"เรา" และวางอุปทานนั้น ลงอย่างถาวร
..........................................................
https://plus.google.com/+SurapholKruasuwan/posts/bmC4xdZxxmY
..
..
เซน มีฌาน ทุกขณะจิต คือมีสติที่แข็งแรง
เมื่อมีฌาน ญาณ คือปัญญา ที่สามารถเอาความรู้มาใช้ ก็จะตามมาด้วย
สติ ปัญญา มาจากการฝึกๆๆๆๆ จนกลายเป็นทักษะ
"ศีลห้า มีอะไรบ้าง?"
"เด็ก ก็รู้"
"ใช่เด็กรู้แต่ผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ทำไม่ได้?"
เพราะ จำได้ แต่ไม่เคยฝึก สาธุ
..
..

ดอกไม้จัดคน
https://www.youtube.com/watch?v=oOOEU3O-FQI
สิ่งที่เราครอบครอง มองอีกมุม คือเจ้านายเรา สาธุฃ
..
..
การใช้ชีวิต ตามธรรมะ มีลำดับ
1.ระดับ ที่เป็นธรรมชาติทั่วไป
คือยังตกอยู่ในอำนาจ ของคู่(นันทวันธรรม)
คือ ทุกข์/สุข.....ดี/ชั่ว.....ชอบ/ชัง....ชาย/หญิง....
ที่จิตปรุงแต่ง(อธิจิต) ซึ่งความคิดเป็นหัวหน้า

2.ระดับ สติปัญญาฉลาดเลือก กุมภาพจิตปรุงแต่งได้แล้ว
สติปัญญา อยู่กับ ปัจจุบันทุกขณะจิต
หรือ มีฌาน ญาณทุกขณะจิต....นั่นคือชีวิตแบบ เซนแท้ สาธุ
ก็เห็น ทุกกระแสธาตุ ธรรม และปรับตัวอย่าง ไม่เป็นตามอำนาจของคู่

ใช้สติปัญญาฉลาดเลือก และวาง ทุกอย่างไว้ตรงนั้น
ไม่เก็บมาแบกให้หนักใจ
"แบก ก็หนัก
วางก็เบา
ไม่เอาก็หลุดพ้น(จากทุกอุปาทาน)"
..
..

ภาพจาก>ก่อพงศ์ T.chaiyo
>>หนังสือ ปรัชญาจากภาพ โดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์
...ขอบคุณครับ....
The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2017, 03:05:26 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 03:00:32 pm »


มุมกาแฟยามเช้า 25/5/17
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ของความเป็นมนุษย์
ไม่ใช่ชนะภายนอก เพียงอย่างเดียว
แต่ชนะ จิตปรุงแต่งภายในตัวเราเอง
คือชัยชนะ ของสติปัญญา ปรีชาญาณฉลาดเลือก
ที่ตื่น รู้ สว่าง สงบ สงัด เบิกบาน มั่นคง ว่องไว มีพลัง
มาดูแลจิตปรุงแต่ง ให้เลิกสร้างอารมณ์ทุกข์
ซ้ำเติม เวทนา สภาวะทุกข์ ที่ปรุงแต่งเป็น"ตัวเรา"
เกิดจาก
มีวิสัยทัศน์
ฝึกสติติดตามลมหายใจ
กำหนดรู้
ดูปัจจัยปรุงแต่ง
และแยก ออกจากกัน
จนเหลือแต่ความว่าง จากอุปทานในสังขาร (วิสังขาร)
1.ชนะความคิด
2.ชนะอารมณ์
3.ชนะอุดมคติ
4.ชนะความรู้
5.ชนะสัญชาติญาณดิบ
6.ชนะอวิชชา
ของตนเอง
..
..

Originally shared by Suraphol Kruasuwan
55555+
"แค่ ลมปากพัดผ่านเบาๆ
ไฟในอกก็คุกรุ่นแล้ว"
ไปอ่านนิทานเซ็นกัน นะครับ
:http://palungjit.org/threads/รวมยอดนิทานเซน 禅, ぜん.294200/
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
"สุราอาหารผ่านลำไส้ ไม่เกี่ยวกับใจ"
พระเพี้ยน เป็นสมณ สายเซ็น มีชีวิตเมื่อ 600-700ปี
เต้าจี้ฉานซือ (จีนตัวย่อ: 道济禅师; จีนตัวเต็ม: 道濟禪師; พินอิน: dào jì chán shī) (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (จีนตัวย่อ: 济公; จีนตัวเต็ม: 濟公; พินอิน: Jìgōng, อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ (จีนตัวย่อ: 济公活佛; จีนตัวเต็ม: 濟公活佛; พินอิน: Jìgōng huófó "จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘)
...........................................................
หลี่ ซิวหยวน บวชเป็นภิกษุที่วัดหลิงอิ่น เมืองหางโจว มีพระอาจารย์ฮุ่ยหย่วนเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่าเต้าจี้
แม้เป็นภิกษุ แต่พระเต้าจี้มักมีพฤติกรรมแปลกจากจารีต คือชอบฉันเนื้อสุนัข ดื่มสุรา ครองจีวรที่เป็นผ้าขี้ริ้วสกปรก จึงคณะสงฆ์ถูกขับออกจากวัด และใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ข้างถนน แต่พระเต้าจี้มีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ เช่น เจ็บป่วย หรือถูกรังแก จึงเป็นที่นับถือของประชาชน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าท่านสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ และเชื่อว่าท่านเป็นพระนนทิมิตร หนึ่งในพระอรหันต์สิบแปดองค์กลับชาติมาเกิด
หลังจากพระเต้าจี้ถึงแก่มรณภาพในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1207 ลัทธิเต๋าได้ยกย่องท่านเป็นเทพเจ้า จากนั้นไม่นานคณะสงฆ์จึงรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน(วิกีพีเดีย)
.......................................................

ตำนาน กล่าวว่า ท่านสามารถ กลับใจ คนห้าคน
ที่ พระโพธิสัตว์กวนอิม โปรดไม่ได้
(คือ อย่าใช้ความเมตตากับบุคลิกภายในใจเรา)

1.โสเภณี
ความหลงไหลในราคะ แผ่เมตตาไม่ได้
เพราะ เมตตากับราคะ เป็น พลังดึงดูดพวกเดียวกัน
เพียงแต่ เมตตารับใช้กุศล
ราคะรับใช้อกุศล

2.มหาโจร อมหิต
มนุษย์เป็นนักล่าโดยกำเนิด
การเบี่ยงเบนพฤติกรรม ไปล่า
ลาภ ยศสรรเสริญ สุขทางวัตถุ
แทนการล่า มนุษย์ ด้วย วาจา ใจกาย

3.เศรษฐี ขี้งก
หิตายะ สุขขายะ
การช่วยให้ชีวิตอื่นเป็นสุขเราก็รับอนิสงค์สุขนั้นด้วย
และสุดท้ายคือ จาคะ
คือทิ้ง ทั้ง อสาวะ(ยึดติดในกิเลส ตัณหา ความชั่ว)
สาวะ(ยึดติดในความดี)

4.พระทุศีล
พระแท้ อยู่ที่ใจ
อย่าให้ลูกชาวบ้านที่ห่มเหลือง
ลวงตาว่าเป็นพระ

เพราะพระแท้ต้องมีสมณสัญญา
-เราเป็นสมณะเพศมีเพศต่างจากชาวบ้าน
-เราอาศัยข้าวสุกชาวบ้านอยู่
-เราฝึกตนเป็นอาริยะบุคคลแล้วยัง
-เรา ไม่เอาของที่ชาวบ้าน มอบให้เรา
ไป หมุนเวียนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้จำเป็น
เป็นของตน และพวก
(พุทธทาส)

5.ขอทาน
คือ ความเกียจคร้าน มองโลกด้วย
อภิชฌา และโทมัส
มองโลก ด้วยความอิจฉา น้อยเนื้อต่ำใจ
มือไม่พายเอาน้ำเท้าราน้ำ
................................

โสเภณี มหาโจร เศรษฐีขี้งก พระทุศีล ขอทาน
คือบุคลิกภาพที่อยู่ในตัวเราทุกคน หรือไม่ใช่ 55555+
.................................
จี้กง เป็นสัญญาลักษ์ของสมณะแบบเซ็น
คือ มี ญาณ ฌานทุกขณะจิต
สติปัญญา ว่องไวดุจสายฟ้า
หลักธรรมแข็งแรงมั่นคง ดุจเพชร
ไม่ใช่ จิตดังแผลเก่า สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
เซ็น ความหมายเดียวกับฌาน..
มีฌานทุกขณะจิต
ฌานคือความหนักแน่น ของ
อารมณ์ และสติปัญญา
(อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน)
1.อารมณ์สงบเย็น เบิกบาน มั่นคง
2.สติปัญญา เห็นความไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้ ของทุกสรรพสิ่ง
และวางอุปทานนั้นลง สาธุ

........................................................

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
# [7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
       1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
       2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

       วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
       มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
       ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
       ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา. #


The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan

..
..
Suraphol Kruasuwan
The Zen - วิถีเซน
Oct 20, 4:28 AM

มุมกาแฟ ยามเย็น 19/10/17
.......คุยกันเรื่องเซน......
โรนิน(ซามูไรไร้นาย) สองคน โดนทั้งฝน และหิว
จึงแวะ อาศรม หลวงพ่อดี
หลวงพ่อ ก็ ต้มข้าว ใส่เห็ด ถั่ว เท่าที่มี อิ่มแปร์
สักพัก มีโจยท์(ศัตรูเก่า) มาสอง
หลวงพ่อจึงให้ไปซ่อนตัวในห้อง ข้างหลัง
มาถึงก็ ถามว่า มีอะไรกิน
หลวงพ่อก็บอกว่า มีข้าวต้มเหลือ
กินไปอิ่มแล้ว ก็ถามหลวงพ่อว่า บวชนานแล้วยัง
...จำไม่ได้
...พระยวนนี่หว่า ชักดาบ
...เพื่อน อีกคนก็ห้าม แล้วบอกว่า เดินทางต่อ
...สักพักหลวงพ่อ ก็บอกว่า โยมจะเดินทาง ก็เดินทางต่อได้
มาที่นี่เห็นอะไรบ้าง
โรนินจึงตอบว่า
เห็นสวรรค์ และนรก
เห็นสวรรค์ ตอนไหน
ตอนที่หลวงพ่อ เลี้ยงข้าว
และเห็นนรกตอนไหน
ตอน นักดาบ กำลังชักดาบ
55555+
จบแบบนี้แหละ
..
..


Suraphol Kruasuwan
The Zen - วิถีเซน
13.5.2561
! No longer available
เซ็น มีฌานทุกขณะจิต
ฌาน แปลว่า หนักแน่น มั่นคง
ทั้งอารมณ์ และ สติปัญญา
เซ็นมีวิธีสอน ชนิดหนึ่ง ชื่อ "โกอาน"
คือปริศนาธรรม เอาไปตีความเอาเอง
........................
จิตปรุงแต่ง ที่สร้างเพลิงอารมณ์ทุกข์
ใช้ สองสิ่ง
1.กิเลสกาม ที่อยู่ภายในตะกอนจิต
2.วัตถุกาม คือ ปรากฎการณ์ที่ อยู่ข้างนอก

เสียงของการตบมือข้างเดียว
คือ ใจไม่มีกิเลสกาม ก็ไม่มีการปรุงแต่ง เพลิงอารมณ์ทุกข์
แม้นว่า ทั้งโลก จะอุดมด้วย วัตถุกาม
ชีวิตก็จะ"เย็น" เช่นนั้นเอง
สาธุ สาธุ สาธุ
สมหวังในสิ่งประเสริฐทุกท่านนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2018, 09:19:34 am โดย ฐิตา »