ZEN มีฌานทุกขณะจิต
ฌาณ คือ ความหนักแน่นของจิต
1.-หนักแน่นทาง อารมณ์ รูปฌานสี่ ปิติ สุข อุเบกขา เอกจิต
2.-หนักแน่น ทางวิสัยทัศน์
ยอมรับหน้าที่ของธรรมชาติ สี่ประการ
(จักรวาล ไม่สิ้นสุด ความรู้จักรวาล ไม่สิ้ินสุด
จักรวาล ขับเคลื่อนด้วยของคู่ตรงข้ามกัน
จักรวาล มีบทที่เขียน ให้เล่น และเปลี่ยนแปลงได้)
3.-หนักแน่น ในความคิด หน้าที่สูงสุดของตน พ้นเพลิงทุกข์เพลิงกิเลส มีวิชชาจรณะ ในตน
ด้วยการล้างขยะปรุงแต่จิต(ทำอาสวะให้สิ้น)วิปัสสนา มรรค ผล วิมุติ
4.หนักแน่น ในการตัดสินใจ มีสติปัญญากุมสภาพจิต ให้อยู่ในทางกุศล วิมุติ
ความหนักแน่นใน อารมณ์ วิสัยทัศน์ ความคิด การตัดสินใจ
จนไม่เป็นทาสเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส
จึงเป็น จุดสูงสุด ของการฝึกตน
เป็นหน้าที่สูงสุด ของ มนุษย์
.................................
ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพาน อันมีลักษณะเป็น
สุญญตะ (ว่าง เพราะเห็นเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ขับเคลื่อน สังขาร และธรรม จนจิตว่าง จากกิเลส ตัณหา อุปาทาน)
อนิมิตตะ(ว่างเพราะเห็น สิ่งปรุงแต่งย่อมเปลี่ยนแปลง)
และอัปปณิหิตะ(ว่างเพราะเห็น ความตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ไม่ได้)
หรือมีปัญญาเห็นใน อนัตตา อนิจจัง ทุกขขัง นั่นเอง
อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌาน 2 ประเภท [แก้]
แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา ( อัปปนาสมาธิ )
อรูปฌาน 4 ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
เมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน 4" จะหมายถึง รูปฌาน 4 และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า "ฌาน 8" จะหมายถึง รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน ได้มีการรวบรวมไว้เป็น กรรมฐาน 40 สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้เกิดฌาน คือ นิวรณ์ 5
ฌานสมาบัติ [แก้]
สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ เป็นต้น
สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ 8 อันได้แก่ ฌาน 8 (รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4)
ในบางกรณี รูปฌาน 4 อาจถูกจำแนกใหม่ในรูปแบบของ ปัญจมฌาน เป็นการจำแนกตามแบบพระอภิธรรม เรียกว่า ปัญจกนัย การจำแนกตามแบบพระสูตร เรียกว่า จตุกนัย ที่ต้องจำแนกเป็นปัญจมฌาน เนื่องจากฌานลาภี(ผู้ได้ฌาน)มี 2 ประเภท คือ ติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) และ มันทบุคคล (ผู้รู้ช้า)
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 หมายถึง สมาบัติ 8 กับ นิโรธสมาบัติ
อ้างอิง [แก้]
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
(วิกิพีเดีย)
พลิกจิต ว่องไวดุจสายฟ้า มีฌานทุกขณะจิต
ฝึก......
-พลิกอารมณ์
-พลิกวิสัยทัศน์
-พลิกความคิด
-พลิกการตัดสินใจเลือกทางกุศล และเย็นต่อชีวิต
ใครทำได้ การเกิดมาพบพุทธรรมไม่สุญเปล่า สาธุครับ
Suraphol Kruasuwan originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล): //-พุทธทาส เอาหลักของ"เซน" มีฌานทุกขณะจิต
(รูปฌาน อรูปฌาน โลกุตตระฌาน)
และจิตว่าง ว่างจากสิ่งที่ไม่ควรมีในจิตที่มีคุณภาพ
คือ ว่างจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่ท่านใช้คำว่า"ว่างจากตัวกูของกู"
มาเป็นแก่นแท้ ของทางชีวิตที่มีชีวา อาจไม่ถูกใจ บางคน
//-ที่สุด ถ้าเรายัง ไม่มี สัมมาสติโพธิปัญญาตื่น
มาล้างขยะปรุงแต่งจิต สถาปนาจิตใหม่ ให้มีชีวาในชีวิต มีสติกุมสภาพจิต ตลอดเวลา
ความปิติ สุข เป็นกลาง เย็น ให้คุณค่าแก่
ตนเอง ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นสมาชิกที่ดีของจักรวาล
ประมาทใน เวลา กรรม มัจจุราช สังขารธรรม
เราก็คงเป็น
-คนนับโค(จำพระไตรปิฎก คำสั่งสอนได้)
-คนเลี้ยงโค(พร่ำสั่งสอนผู้อื่น)
-ไม่เคยรู้จักรสชาตินมโค
ชีวิตไม่เคย เย็นกาย เย็นใจ เย็นวาจา เย็นจากเมตตากรุณา อภัย
เย็นจากศีล สมาธิ ปัญญา ทักษะพลิกจิตที่ฝึกดีแล้ว
จากจิตแผลเก่า เป็นจิตที่พลิกสู่กุศล วิมุติ ดุจสายฟ้า เป็นจิตที่เป็นเพชร อยู่เหนือดอกบัว
(ทุกข์คือนรก สุขคือสวรรค์ นิพพานคือเย็น ไม่เป็นทาส จากไฟราคะ โทสะโมหะ อิจฉา)แน่แท้
สาธุ
Wisdom'bird
นกฮูกเป็นนกที่เห็นในที่มืด จึงเป็นตัวแทนแห่งปรีชาญาณ
เช่นเดียวกับ สติปัญญาให้แสงส่วาง แก่ชีวิตได้ตลอดเวลา
Suraphol Kruasuwan