ผู้เขียน หัวข้อ: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย  (อ่าน 11510 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย

ที่มา สภากาชาดไทย


http://board.palungjit.com/f108/การบริจาคเลือด-ดวงตา-อวัยวะ-ร่างกาย-ให้สภากาชาดไทย-32274.html
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บริจาคดวงตา
คุณประโยชน์
ช่วยผู้ป่วยกระจกตาพิการ ซึ่งอาจแบ่งเป็น
- กระจกตาขุ่นเป็นฝ้าขาว เช่น เป็นแผลเป็น หรือกระจกตาบวมจากอุบัติเหตุสารเคมี การติดเชื้อ โรคกระจกตาที่เป็นแต่กำเนิด เป็นต้น
- กระจกตามีความโค้งนูนผิดปกติ
- กรณีฉุกเฉิน เช่น เป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ไม่สามารถควบคุมด้วยการใช้ยารักษาได้ หรือรายที่กระจกตากำลังทะลุ หรือทะลุแล้ว สาเหตุใดก็ตาม ต้องรีบตัดกระจกตาส่วนที่ติดเชื้อ แล้วใส่กระจกตาบริจาคแทนที่เพื่อรักษาดวงตาไว้ก่อน
- ทำเพื่อความสวยงามเป็นการทำให้ฝ้าขาวที่ตาดำหายไปโดยไม่คำนึงว่ามองเห็นหรือไม่ วิธีนี้ไม่นิยมทำในเมืองไทย เพราะดวงตาบริจาคมีน้อย จำเป็นต้องเก็บไว้ทำการผ่าตัดให้ผู้ที่ทำแล้วจะทำให้เห็นดีขึ้นเท่านั้น
วิธีการ
ภายหลังถึงแก่กรรม ดวงตาจะเริ่มเสื่อมคุณภาพและเน่าเปื่อยเหมือนอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรีบเก็บดวงตาให้เร็วที่สุด อย่างช้าไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมง ถ้าช้าเกินไปดวงตาจะใช้ไม่ได้ และไม่ควรอนุญาตให้ฉีดน้ำยากันเน่าเปื่อยของศพ ก่อนที่จะผ่าตัดเก็บดวงตา
ขั้นตอนการแสดงความจำนงอุทิศดวงตา
1. กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาให้ชัดเจน
2. เมื่อศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ได้รับใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาจากท่านแล้ว ศูนย์ฯจะส่งบัตรประจำตัวให้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้
3. หากย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนสถานภาพใดๆ กรุณาแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
ข้อควรปฏิบัติภายหลังการอุทิศดวงตา
1. แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ
2. เก็บบัตรอุทิศดวงตาไว้กับตัวหรือในที่หาง่าย
3. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 7
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2252-8131-9 , 0-2258-8181-9, 0-2256-4039 และ 0-2256-4040
ต่อศูนย์ดวงตา ตลอด 24 ชั่งโมง
E-mail: eyebank@redcross.or.th
แสดงความจำนงบริจาคดวงตาผ่านระบบเครือข่าย
แบบฟอร์มใบสำคัญแสดงการยินยอมมอบดวงตาให้สภากาชาดไทย(PDF)
แบบฟอร์มขอรับดวงตา (สำหรับแพทย์) (PDF)
แบบฟอร์ม "Donor information form" (สำหรับแพทย์) (PDF)
แบบฟอร์ม "Recipient information" (สำหรับแพทย์) (PDF)

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บริจาคอวัยวะคุณประโยชน์
ปัจจุบันมีผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ วิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ด้วยอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของบุคคลนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นมาปลูกถ่าย จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมีชีวิตอยู่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคมต่อไปได้
อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ ซึ่งได้มาจากการนำอวัยวะใหม่เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และการผ่าตัดนั้นจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้อวัยวะใหม่นั้นทำงานแทนอวัยวะเดิม

ขั้นตอนการบริจาค
1. กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้ชัดเจน ที่อยู่ควรจะตรงกับทะเบียนบ้าน (หากต้องการให้ส่งบัตรประจำตัวไปยังสถานที่อื่น กรุณาระบุ)
2. พิมพ์ใบแสดงความจำนงบริจาค ส่งเอกสารมายังศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ตามที่อยู่ด้านล่าง และเมื่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ได้รับใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะของท่านแล้ว ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้
3. หลังจากที่ท่านได้รับบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ แล้ว อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาคลงในบัตร
4. กรุณาเก็บบัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้กับตัวท่าน หากสูญหายกรุณาติดต่อกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ
1. ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
2. เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
7. กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบด้วย

สถานที่ติดต่อ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5
ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทร. 1666
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์
การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาสร้างกุศลทานอันยิ่งใหญ่ ด้วยการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาการให้ หรือ การบริจาคย่อมทำให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้มีความสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นผู้เสียสละ ผู้รับมีความสุข ที่ได้รับสิ่งจำเป็นที่สุดที่ตนเองยังขาดแคลน
การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา ผู้บริจาคเป็นผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่ ยอมสละร่างกายของตนเอง ให้ผู้ที่ไม่เคยได้รู้จักมาก่อนได้ศึกษาโดยเพียงแต่มุ่งหวังว่า ผู้ที่ศึกษาร่างของตนจะนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปช่วยมวลมนุษย์ชาติต่อไป ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาได้สร้างกุศลทานครั้งสุดท้ายของชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยได้แต่หวังว่า ผู้อยู่เบื้องหลังจะไม่ต้องทนทุกข์จากอาการเจ็บป่วย ตนเองมิได้หวังสิ่งตอบแทนใดใด นอกจากได้เป็นผู้"ให้"เท่านั้น
คุณประโยชน์
การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา เป็นการสร้างประโยชน์ทั้งด้านวิชาการ ด้านสาธารณสุข ด้านจริยธรรมและการเสริมสร้างสังคมอันจะนำไปสู่พัฒนาการที่ดีต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในการศึกษาทางการแพทย์บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากร่างกายของมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
การศึกษาจากร่างกายผู้อุทิศร่างกาย ใช้ประโยชน์หลายกรณี อาทิเช่น
1. เพื่อใช้ในการศึกษาของนิสิตแพทย์
2. เพื่อใช้ในการศึกษาของแพทย์เฉพาะทาง
3. เพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล
4. เพื่อใช้ในการศึกษาของนิสิตเทคนิคการแพทย์
5. เพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษารังสีเทคนิค
6. เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์
7. เพื่อใช้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์
วิธีการ
ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายสามารถยื่นความจำนงได้ 2 แบบ คือ
1. ยื่นความจำนงโดยตรงที่ ฝ่ายอุทิศร่างกาย แผนกเลขานุการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โดยกรอกข้อความ ตามแบบฟอร์ม ทั้ง 3 ฉบับ เก็บไว้ที่ผู้อุทิศร่างกาย 1 ฉบับพร้อมทั้ง ใบประกาศของโรง
พยาบาล 1 ฉบับ และให้เจ้าหน้าที่เก็บไว้ 2 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ไว้เป็น
หลักฐาน
2. ยื่นความจำนงทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อความในใบอุทิศร่างกายทั้ง 3 ฉบับ แล้วส่งมา
ทางไปรษณีย์ 2 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะส่งบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ภายหลัง
เมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม ทายาท มีสิทธิ์คัดค้านไม่มอบศพให้กับโรงพยาบาลได้โดยต้องแจ้ง
การคัดค้านไม่มอบศพกับโรงพยาบาลฯภายใน 24 ชั่วโมง
เมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับมรดกยินยอมพร้อมใจกันจะมอบศพให้โรงพยาบาลฯ
ขอให้ติดต่อโรงพยาบาลฯเพื่อจัดเจ้าหน้าที่ไปรับศพ โดยเจ้าหน้าที่จะให้กรอกใบสำคัญยินยอมมอบศพให้
โรงพยาบาลเพื่อการศึกษาไว้เป็นหลักฐาน โดยติดต่อแจ้งการรับศพได้ที่
1. ในเวลาราชการติดต่อที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์
2564281 หรือ 2527028 หรือ 2528181-9 ต่อ 3247
2. นอกเวลาราชการติดต่อที่ ตึกห้องพักศพ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการรับศพ หมายเลขโทรศัพท์
2564317
โรงพยาบาลจะสามารถรับร่างของผู้อุทิศร่างกายได้ก็ต่อเมื่อ มีใบมรณบัตรซึ่งออกโดย นายทะเบียน
ท้องถิ่นที่ผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรมแล้วเท่านั้น
โรงพยาบาลจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับร่างผู้อุทิศร่างกายเฉพาะที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
เมื่อโรงพยาบาลรับร่างผู้อุทิศร่างกายมาแล้ว ไม่สามารถอนุญาตให้ญาตินำกลับไปบำเพ็ญกุศล
ก่อน เพราะจะทำให้ไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการศึกษา
เมื่อเจ้าหน้าที่ไปรับร่างผู้อุทิศร่างกาย ทายาทควรให้ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุดไว้กับเจ้าหน้าที่
เพื่อให้สามารถติดต่อได้เมื่อนิสิตศึกษาร่างผู้อุทิศร่างกายเสร็จเรียบร้อยแล้วและหากมีการเปลี่ยนแปลงที่
อยู่ต้องแจ้งให้ทราบ
ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ จะจัดให้มีการศึกษาร่างของผู้อุทิศร่างกายในกรณีต่างๆต่อไปนี้ ตามความ
เหมาะสม
1. เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
2. เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
เมื่อฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศึกษาร่างผู้อุทิศฯศึกษาเรียบร้อยแล้ว
จะมีคณะกรรมการดำเนินการจัดงานฌาปนกิจ และขอพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ)
คุณสมบัติของผู้บริจาค
ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป กรณีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความ
ยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
โรงพยาบาลจะไม่รับศพผู้อุทิศร่างกายในกรณีดังนี้
- ถึงแก่กรรมเกิน 24 ชั่วโมง ยกเว้นได้เก็บไว้ในห้องเย็นของโรงพยาบาล
- ผู้อุทิศร่างกายที่ได้รับการผ่าตัด หรือมีรอยเสียหายจากอุบัติเหตุ บริเวณศีรษะและ
สมอง
- ผู้อุทิศร่างกายที่ถึงแก่กรรมจากสาเหตุจากโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและ สมอง หรือติดเชื้อ โรคร้ายแรงเช่น เอดส์ ไวรัสลงตับ และวัณโรค
- ผู้อุทิศร่างกายที่มีคดี เกี่ยวข้องกับคดี หรือมีการผ่าพิสูจน์ ยกเว้นการผ่าพิสูจน์บริเวณช่องท้องที่แพทย์นำไปใช้ในทางการศึกษาทางการแพทย์เท่านั้น
- ผู้อุทิศฯที่ผ่านกระบวนการเก็บรักษาด้วยน้ำยาแล้ว
ในกรณีที่รับร่างผู้อุทิศฯมาแล้ว มีการตรวจพบว่าอยู่ในกรณีดังกว่าวข้างต้น โรงพยาบาลจะติดต่อญาติให้นำกลับไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีต่อไป
สถานที่ติดต่อ
ฝ่ายเลขานุการ ตึกอำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เขตปทุมวัน กทม. 10330 ในวัน เวลาราชการ
หลักฐานที่ต้องเตรียมมามีดังนี้
1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บริจาคโลหิต
เนื่องจากโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่มาทดแทนโลหิตได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้โลหิตจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งด้วยการบริจาคนั่นเอง
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้
ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่ออยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะเก็บโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

โลหิตคืออะไร
โลหิตมีส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่า น้ำเหลือง มีสีเหลืองอ่อนใสมีโปรตีนและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดและส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตซึ่งมีเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก ซึ่งได้แก่ กระดูกแขน กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง กระโหลกศีรษะ กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายของมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000-5,000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) หรือสามารถคำนวณง่ายๆ คือ
น้ำหนักตัวสุทธิ x 80 = ปริมาณโลหิตที่มีในร่างกายโดยประมาณ (หน่วยเป็น ซี.ซี.)
โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. เม็ดโลหิต จะมีอยู่ประมาณ 45 % ของโลหิตทั้งหมด ซึ่งมี 3 ชนิด คือ
- เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ใช้สันดาปอาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 120 วัน
- เม็ดโลหิตขาว ทำหน้าที่ปกป้องและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารที่เป็นอันตรายอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนทหารป้องกันประเทศ เม็ดโลหิตขาวมีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 10 ชั่วโมง
-เกล็ดโลหิต ทำหน้าที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัวตรงจุดที่มีการฉีกขาดของเส้นโลหิต มีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 5-10 วัน
2. พลาสมา (Plasma ) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง จะมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 55 ของโลหิตทั้งหมด มีหน้าที่ควบคุมระดับความดันและปริมาตรของโลหิตป้องกันเลือดออก และเป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย พลาสมานี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำประมาณ 92 % และส่วนที่เป็นโปรตีนประมาณ 8 % ซึ่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่
- แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ
- อิมมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่างๆ ที่จะเข้าสูร่างกาย เกร็ดความรู้
ถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง 96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ 2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกายจะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000 เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดโลหิตแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านเซลล์) อยู่ภายในร่างกายในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์ จะถึงกำหนดหมดอายุขัย ถูกขับถ่ายออกมาขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศรีษะ และกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่

จากชีวิตสู่ชีวิต มอบโลหิตช่วยผู้ป่วย
บริจาค
1. บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
2. บริจาคพลาสมา (Plasma)
3. บริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
4. บริจาคเม็ดโลหิตแดง (Single Donor Red Cell)
5. ตารางเวลาหน่วยรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่
6. LOGO โครงการ BRAND'S YOUNG BLOOD

บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
คุณประโยชน์
1. ได้รับความภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความสุขใจ
2. ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุก 3 เดือน
3. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองทั้งระบบ เอ บี โอ และ ระบบ อาร์เอช
4. โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ เหมือนกับการที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่นๆ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้น เพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต โดยจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกครั้งที่ 1,7,16,24,36,48,60,72,84,96 และ 108 ตามลำดับ

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
ผู้มีความประสงค์จะบริจาคโลหิตควรตรวจสอบคุณสมบัติตนเองก่อนบริจาค ดังนี้
1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
4. ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น
6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

ดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต
*ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
*ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ
*ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
*งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
*งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
*สุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์
*การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต

ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต
*นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
*ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
*ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
*หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม
*หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์พยาบาล
*งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
*รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
*หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ

ผู้บริจาคโลหิตโปรดทราบ ท่านที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ควรงดการบริจาคโลหิตคือ
*ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
*เคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
*รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์

ทุกท่านมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการรับบริจาคโลหิต ใช้ครั้งเดียวสำหรับคนเดียวแล้วทิ้ง

สถานที่ติดต่อ
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
วันจันทร์ - วันพุธ, วันศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน)08.00-16.30 น.วันพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน)07.30-19.30 น.วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์08.00-12.00 น.วันอาทิตย์12.00-16.00 น.
หน่วยเคลื่อนที่ประจำ
สวนจตุจักร ทุกวันเสาร์
(รถจอดริมถนนพหลโยธิน)10.00-15.00 น.สนามหลวง วันอาทิตย์
(รถจอดบริเวณด้านหน้ากรมศิลปากร)09.00-14.00 น.ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รถจอดหน้าสำนักงาน)10.00-15.00 น.มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ทุกวันจันทร์และวันอังคาร
(รถจอดบริเวณข้างหอสมุดด้านคณะนิติศาสตร์)10.00-15.00 น.สถานีกาชาด 11"วิเศษนิยม" บางแค
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคาร ข้างฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค)09.00-15.00 น.ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคารหน้าร้าน S.B. เฟอร์นิเจอร์ ชั้น 2)
13.00-17.00 น.ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ทุกวันศุกร์และวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณลานโยโย่ ชั้น 3)
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาบางพลี
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณด้านหน้าห้าง)
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
โทร.0-2468-1116-20สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก รพ.พระมงกุฎเกล้าโทร.0-2245-8154สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ตำรวจ โทร. 0-2252-8111 ต่อ 4146สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.รามาธิบดี โทร. 0-2246-1057-87สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช โทร.0-2531-1970-99 ต่อ 27109-10สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
โทร. 0-2243-0151-64และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ (ในวันและเวลาราชการ)


ท่านสามารถสอบถามหน่วยเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้ที่
โทรศัพท์ 0-2252-6116,0-2252-1637 ,0-2252-4106-9 ต่อ 113, 157
E-mail : blood@redcross.or.th
"3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง รวมพลังบริจาคโลหิต"
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บริจาคพลาสมา(Plasma)
คุณประโยชน์
พลาสมาจะนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดน้ำเหลือง มีอาการช็อคเนื่องจากน้ำร้อน ลวก ไฟไหม้ หรือช็อคในผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก
วิธีการ
เจาะโลหิตออกจากร่างกายผ่านตัวกรอง หรือตัวปั่น เพื่อทำการแยกพลาสมาออกจากเม็ดโลหิต จากนั้นส่วนที่เป็นพลาสมาจะถูกแยกส่งไปยังถุงบรรจุ ที่รองรับอยู่ ส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตแดงไหลกลับเข้าสู่ร่างกายผู้บริจาค
การบริจาคพลาสมา สามารถทำได้ทุก 14 วัน บริจาคครั้งละ 500 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) พลาสมาที่ได้รับบริจาค นอกจากจะใช้ในรูปของส่วนประกอบโลหิตที่นำไปช่วยชีวิตผู้ป่วยเฉพาะโรคแล้ว ยังนำไปผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต เช่นแอลบูมิน (Albumin) แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น แฟคเตอร์ 9 เข้มข้น อิมมูโนกลอบบูลิน ชนิดฉีดเข้าเส้น เซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2251-3111 ต่อ 113, 114, 161, 162

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การบริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
เกล็ดโลหิต เป็นเซลล์เม็ดโลหิตชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็กมาก แต่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะช่วยทำให้โลหิตแข็งเป็นลิ่ม และอุดรอยฉีกขาดของเส้นโลหิตเวลาที่ถูกของมีคมบาด โดยปกติเกล็ดโลหิต มีอายุในการทำงานประมาณ 5-10 วัน ในร่างกายมนุษย์เราจะมีเกล็ดโลหิตประมาณ 1-5 แสน/1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร ถ้ามีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำมากจะทำให้โลหิตออกง่าย นอกจากนี้ยังมีโรคหลายโรคที่ทำให้เกล็ดโลหิตต่ำ เช่นโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคที่เกี่ยวกับไขกระดูกไม่ทำงาน โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคไข้เลือดออก เป็นต้น
</B>ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้เกล็ดโลหิตรักษา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะเปิดรับบริจาคเกล็ดโลหิต เฉพาะที่มีการร้องขอจากโรงพยาบาลเท่านั้น มิได้เปิดรับบริจาคทั่วไปเหมือนรับบริจาคโลหิต หรือพลาสมา ทั้งนี้เพราะเกล็ดโลหิตเมื่อเจาะออกมานอกร่างกายแล้ว จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง - 5 วัน ตามลักษณะและกรรมวิธีในการเจาะเก็บและต้องเก็บรักษาไว้ในตู้ซึ่งควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 22 องศาเซลเซียส พร้อมกับมีการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา

การรับบริจาคเกล็ดโลหิต
จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะถูกเจาะโลหิตจากแขนข้างหนึ่งผ่านเข้าเครื่องแยกอัตโนมัติ เพื่อแยกเกล็ดโลหิตออกจากเม็ดโลหิตแดง เมื่อได้เกล็ดโลหิตแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ จะถูกคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย ระยะเวลาในการบริจาคเกล็ดโลหิต ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

คุณประโยชน์
</B>เกล็ดโลหิตใช้รักษาโรคในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ และมีปัญหาเลือดออกไม่หยุด เช่นโรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

วิธีการ
การรับบริจาคเกล็ดโลหิต จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะถูกเจาะโลหิตจากแขนข้างหนึ่งผ่านเข้าเครื่องแยกอัตโนมัติ เพื่อแยกเกล็ดโลหิตออกจากเม็ดโลหิตแดง เมื่อได้เกล็ดโลหิตแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ จะถูกคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย ระยะเวลาในการบริจาคเกล็ดโลหิต ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

คุณสมบัติพิเศษสำหรับผู้บริจาคเกล็ดโลหิต
*หมู่โลหิตจะต้องตรงกับผู้ป่วยที่ต้องการเกล็ดโลหิต
*เส้นโลหิตตรงข้อพับแขนชัดเจน
*ไม่รับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน ในระยะเวลา 5 วันก่อนบริจาค
และควรเป็นผู้ที่บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ
ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะไม่อ่อนเพลีย สามารถปฏิบัติภารกิจการงาน ได้ตามปกติยกเว้นในกรณีจำเป็น อาจให้บริจาคได้ทุก 3 วัน หลังจากบริจาคเกล็ดโลหิตไปแล้ว 1 เดือน สามารถบริจาคโลหิตได้ตามปกติ

สถานที่ติดต่อ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2251-3111 ต่อ 113, 114, 161, 162
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บริจาคเม็ดโลหิตแดง(Single Donor Red Cell)
ตุณประโยชน์
เม็ดโลหิตแดงใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือซีดจากมีความผิด ปกติของเม็ดโลหิตแดง เช่นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
วิธีการ
1. สามารถเตรียมเม็ดโลหิตแดงได้จำนวนยูนิตมากขึ้น จากผู้บริจาคโลหิตที่มีหมู่โลหิตหายาก และไม่มีผู้บริจาคเพียงพอที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วย ถ้าให้ผู้บริจาคโลหิตบริจาคแบบปกติ
2. สามารถเตรียมโลหิตสำรองไว้สำหรับการผ่าตัดตนเองครั้งเดียวได้ 2 ถุง
3. เป็นโลหิตที่เตรียมจากผู้บริจาครายเดียว เป็นการลดอัตราเสี่ยงจากการติดเชื้อจากการรับบริจาคโลหิตจากผู้บริจาคหลายๆราย
คุณสมบัติของผู้บริจาค
- คุณสมบัติเบื้องต้นเช่นเดียวกับผู้บริจาคโลหิตทั่วไป เช่น อายุระหว่าง 17-60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างรับประทานยาต่างๆ สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สำหรับคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากการบริจาคโลหิตทั่วไปดังนี้
ชาย น้ำหนักมากกว่า
59 กิโลกรัมส่วนสูงมากกว่า 155 เซนติเมตรหญิง น้ำหนักมากกว่า 68 กิโลกรัมส่วนสูงมากกว่า 165 เซนติเมตร
- มีค่าความเข้มข้นโลหิต หรือค่า Hct มากกว่า 40%
- มีค่า Body Index คือ ค่าอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อพื้นผิว น้อยกว่า 25
- สามารถบริจาคได้ทุก 16 สัปดาห์ หรือทุก 4 เดือน
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2251-3111 ต่อ 113, 114, 161, 162
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
คำถามที่เกี่ยวกับสภากาชาดไทยครับ
http://www.redcross.or.th/faq/index.php4

(เข้าไปดูตามลิงค์ นะครับ)

คำถามประจำของสภากาชาดไทยคำถามประจำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำไมไม่รับบริจาคโลหิตกับคนที่เคยเป็นมะเร็ง ถึงแม้รักษาหายขาดแล้ว [ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ]
เป็นเบาหวานบริจาคโลหิตได้หรือไม่ [ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ]
เป็นโรคผิวหนัง และเป็นโรคภูมิแพ้บริจาคโลหิตได้หรือไม่ [ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ]
เคยผ่าตัดต้อกระจกมาแล้ว จะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ? [ศูนย์ดวงตา]
เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตาบอดมาหลายปีจะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ? [ศูนย์ดวงตา]

คำถาม : ทำไมไม่รับบริจาคโลหิตกับคนที่เคยเป็นมะเร็ง ถึงแม้รักษาหายขาดแล้ว
คำตอบ : คนที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็ง ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาถึงขั้นที่คิดว่าหายขาดแล้วก็ตาม แต่สภาพคนที่เป็นมะเร็งจะอ่อนแอกว่าคนปกติ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้สูง หากบริจาคโลหิตจะทำให้ความเข้มข้นโลหิตเจือจางได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สุขภาพเสื่อมลง จึงของดบริจาค
กลับสู่ด้านบน คำถาม : เป็นเบาหวานบริจาคโลหิตได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ ถ้าสามารถควบคุมน้ำตาลให้ปกติได้ หรือหากอาการไม่รุนแรงถึงขั้นฉีดอินซูลิน และไม่มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจ เป็นต้น ทั้งนี้ สุขภาพอื่นๆต้องพร้อมด้วย
กลับสู่ด้านบน คำถาม : เป็นโรคผิวหนัง และเป็นโรคภูมิแพ้บริจาคโลหิตได้หรือไม่
คำตอบ : 1. กรณีโรคภูมิแพ้ ถ้าแพ้อากาศมีอาการจาม น้ำมูกไหลเวลาอากาศเย็นๆ และต้องรับประทานยาแก้แพ้ เช่น Antihistamine ก็สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่ถ้ามีการติดเชื้อทางเดินหายใจร่วมด้วย เช่น ไข้หวัดใหญ่ ลำคออักเสบ ต้องใช้ยาปฏิชีวนะก็ต้องงดไว้ก่อน จนกว่าจะรับประทานยาครบชุดหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จึงมาบริจาคได้
2. ส่วนโรคผิวหนังเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับโรคอะไร และมีแผลตรงไหน ถ้ามีแผลบริเวณข้อพับแขนทั้งสองข้าง ต้องงดไว้ก่อนจนกว่าแผลจะหาย โรคผิวหนังอื่นๆและการใช้ยารักษาโรคผิวหนัง ต้องให้แพทย์ผู้ตรวจร่างกายพิจารณาเป็นรายๆไป
กลับสู่ด้านบน คำถาม : เคยผ่าตัดต้อกระจกมาแล้ว จะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ?
คำตอบ : ได้ เพราะกระจกตาดำยังดีอยู่
กลับสู่ด้านบน คำถาม : เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตาบอดมาหลายปีจะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ?
คำตอบ : ได้ เพราะกระจกตาดำยังดีอยู่


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บริจาคดวงตาชาติหน้าจะตาบอด

....คัดจากหนังสือหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ตอบปัญหาธรรมะ...

คำถาม
1. ผู้ที่บริจาคดวงตาให้กับโรงพยาบาลมีอานิสงส์ไหม
2. เมื่อบริจาคดวงตา ถ้าเป็นบุญบารมี จะเป็นปัจจัยให้ได้ดวงตาเห็นธรรมได้หรือเปล่า
3. จะเป็นอานิสงส์ให้ได้ถึงฌานสมาบัติได้ไหมสุดท้ายพระนิพพานด้วย
4. สมมติผู้บริจาคมีศรัทธา บริจาคมอบให้โรงพยาบาลแล้ว อยู่มาอีกเป็นสิบปีจึงสิ้นชีวิต ลูกหลานเกิดเบี้ยว
หรือไม่ยอมบอกให้หมอมาเอาดวงตา หรือลูกหลานลืมไม่ได้นึกถึงจึงไม่ได้เรียกหมอมาเอาดวงตา
กรณีเช่นนี้ผู้ตาย หรือผู้บริจาคจะได้บุญ หรืออานิสงส์ไหม
5. มีผู้คนเขาพูดว่าให้ดวงตาเขาไปแล้ว เมื่อไปเกิดชาติหน้าภพหน้าจะเป็นคนพิการ หรือไม่
6. บางคนก็ว่าสละดวงตาไปแล้วเป็นวิญญาณก็ดี หรือเป็นผี และไปเกิดในภพสัมภเวสีจะไม่มีลูกตา
ดวงตา จริงหรือไม่
7. เมื่อหมอเอาดวงตาไปแล้วใส่ให้ผู้อื่นเกิดใช้ไม่ได้ และดวงตานั้นเกิดเสียหาย หรือหมอทำผิดพลาด
ด้วยเหตุใดๆ ก็ดี จนดวงตาที่เอาไปนั้นใช้ไม่ได้ เหตุการณ์เช่นนี้ผู้สละดวงตาจะได้อานิสงส์ไหม
8. ผู้ที่บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล เพื่อให้บรรดาหมอ และพยาบาลไปเรียนหรือศึกษาจะได้อานิสงส์
ผลบุญหรือไม่อย่างไรเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว และชาติเบื้องหน้า
9. เมื่อบริจาคดวงตา และร่างกายให้โรงพยาบาลโดยได้ทำการจดชื่อลงชื่อมอบให้แล้วกลับมาบ้านจะ
นิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญบ้าน แล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ผู้บริจาคได้
ทำเอาไว้กับสัตว์นั้นจะได้ หรือไม่ จะถูกต้องหรือไม่
10. ถ้าถูกต้องทำได้ และถ้าทำบุญกรวดน้ำ ที่ได้บริจาคดวงตา หรือร่างกายไปแล้วภายหลังลูกหลานหรือ
หมอโรงพยาบาลเกิดทำผิดพลาด หรือลืมไป ไม่ได้เอาดวงตาร่างกายไปทำประโยชน์ดังที่ผู้บริจาค
ตั้งใจไว้ เมื่อผู้นั้นได้สิ้นชีวิตไปแล้ว เช่นนี้จะเป็นเวรเป็นกรรมเป็นบาปแก่ผู้บริจาค และลูกหลาน
ต่อไปหรือไม่ประการใด เพราะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแล้ว
11. กระผมอยากทราบว่า สมัยพระพุทธโคดม ท่านยังทรงพระชนม์อยู่พระอรหันต์ที่เป็นภิกษุณีองค์
แรกคือใคร มีพระนามว่ากระไรครับ

คำตอบ
1. ผู้บริจาคดวงตาให้กับโรงพยาบาล มีอานิสงส์มาก
2. เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้กุศลเป็นส่วนไหนนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับผู้ปรารถนานายกอุทาหรณ์ เช่น
นางอุบลวรรณถวายดอกบัวต่อพระปัจเจกฯ แล้วก็ปรารถนาว่า ข้าพเจ้าเกิดมาในภพใดชาติใด
ขอให้สีกายเหมือนดอกบัว และก็ได้รับผลอย่างนั้นจริง จนได้ชื่อว่าอุบลวรรณานั่นเอง
คำว่าอุบลแปลว่าดอกบัว คำว่าวรรณาแปลว่าผิพรรณ สีกายเหมือนดอกบัวอยู่ห้าร้อยชาติติดๆ กัน ดังนี้
ส่วนที่จะได้ดวงตาเห็นธรรม หรือไม่นั้นก็ต้องอธิษฐานว่า " ขอให้ข้าพเจ้าได้ดวงตาเห็น
ธรรม " อย่างนี้ก็จะได้จริงสมคำดังปรารถนาดังผลทาน
3. จะเป็นอานิสงส์ให้ได้ถึงฌาน หรือไม่นั้น มันก็ขึ้นกับคำปรารถนาดังกล่าวแล้วนั้นเองตลอดทั้ง
พระนิพพานด้วย
4. ในกรณีที่ตกลงบริจาคไว้แล้วไม่ได้พลิกคืนก็เท่ากับว่าบริจาคแล้ว ก็ต้องได้บุญซิ
5. ให้ดวงตาเขาไปแล้ว เกิดชาติหน้าไม่พิการ เพราะเชื่อผลศีลผลทาน เพราะผลศีลผลทานไม่ทำให้คน
มีรูปขี้เหร่
6. และผู้ที่ไปเกิดไม่มีดวงตานั้น เป็นผู้มีบุพกรรมแต่ชาติก่อนเป็นต้นว่าได้ทำตาให้เขาบอดเป็นต้น
เช่นพระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ตาบอด เพราะได้ไปวางยาให้เขาตาบอด เพราะโกรธว่าเขา
ไม่ให้ค่ารักษา ที่เรารักษาตาให้หายแล้ว อันนี้พูดย่อเต็มที ในชีวประวัติของพระจักขุบาลยืดยาวนัก
7. เมื่อหมอเอาตาไปแล้วใส่ให้ผู้อื่นเกิดใช้ไม่ได้ หรือดวงนั้นเกิดเสียหาย หรือหมอทำผิดพลาดใดๆ
ก็ดีจนดวงตาที่เอาไปนั้นใช้ไม่ได้ เหตุการณ์เช่นนี้ผู้สละดวงตาก็ได้ผลตามเดิม เพราะจิตใจไม่ได้
พลิกคืนว่าจะไม่ให้
8. ผู้ที่ทานร่างกายให้โรงพยาบาลเพื่อให้บรรดาหมอ และพยาบาลไปเรียน หรือศึกษาก็ต้องได้บุญ
เต็มส่วนของเจตนานั้นๆ
9. เมื่อบริจาคดวงตา และร่างกายให้โรงพยาบาลโดยไปทำการจดชื่อลงชื่อมอบให้แล้วมาบ้าน
นิมนต์พระมาทำบุญ แล้วกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ที่ผู้บริจาคได้ทำเอาไว้กับ
สัตว์ จะได้หรือไม่นั้นก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก เขาจะได้รับ หรือไม่ได้รับก็เป็นการเสี่ยงบุญ
เพราะเขาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ถ้าหากว่าเขาเป็นเปรตสัมภเวสีเขาจึงจะได้รับ ส่วนเขาจะได้รับ
หรือไม่นั้นผลของบุญมาหาเราตามเดิม ถึงแม้เขาจะจองเวรเราอยู่ก็ตามผลบุญส่วนนั้น
ก็ต้องมาหาเราอยู่ ในบาลีจึงยืนยันว่า " ปัตติทานมัย " บุญสำเร็จด้วยการให้บุญ ดังนี้…
10. ถ้าเราบริจาคแล้ว ผู้อยู่ข้างหลังไม่ทำตามคำสั่งเสีย ก็เป็นความผิดของเขา แต่เราได้บุญตามเดิมอยู่
ผู้เขาลืมเขาก็ต้องเป็นบาปบ้าง
11. นางภิกษุณี องค์แรก คือนางปชาบดีโคตมี เป็นพระอรหันต์ก่อนเพื่อน
ที่มา http://www.geocities.com/pralaah/otherQ16_20.htm
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
http://www.redcross.or.th/donation/moneydonate.php4

บริจาคเงินให้สภากาชาดไทยสิทธิประโยชน์พิเศษจากการบริจาค นอกจากเป็นกุศลบุญของผู้บริจาคแล้ว สภากาชาดไทยยังมอบสิทธิประโยชน์พิเศษแก่ท่าน ดังนี้
บริจาคเงินหรือสิ่งของ สิทธิที่จะได้รับ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) ได้รับสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์ 1 ท่าน200,000 บาท (สองแสนบาท) ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 จำนวน 1 ท่าน หรือได้รับสิทธิสมาชิก กิตติมศักดิ์ 400,000 บาท (สี่แสนบาท) ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1 จำนวน 1 ท่าน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หรือได้รับสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์ ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย
1. ได้รับลดหย่อน ค่าห้องพิเศษ ค่าผ่าตัด และค่าผ่าตัดคลอดบุตรกึ่งหนึ่ง ของอัตราที่กำหนด เมื่อเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จตพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาของสภากาชาดไทย และได้รับลดหย่อน ค่ารักษาพยาบาล ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข2. ประดับเข็มได้ทั่วไป และประดับเข็มเข้าชมงานกาชาดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตู3. กรณีที่ท่านเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย ไม่ว่าประเภทใด ทั้งสามีและภรรยา บุตรธิดาของท่าน ที่มีอายุที่ต่ำกว่า 12 ปี จะได้รับสิทธิตามข้อ 1 ด้วยเช่นกันกรุณาเลือกรูปแบบการบริจาคเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พิมพ์แบบฟอร์มการบริจาคเงิน(เพื่อนำไปชำระเงินทางธนาคาร)


บริจาคโลหิต
เนื่องจากโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่มาทดแทนโลหิตได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้โลหิตจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งด้วยการบริจาคนั่นเอง
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้
ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่ออยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะเก็บโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

โลหิตคืออะไร
โลหิตมีส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่า น้ำเหลือง มีสีเหลืองอ่อนใสมีโปรตีนและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดและส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตซึ่งมีเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก ซึ่งได้แก่ กระดูกแขน กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง กระโหลกศีรษะ กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายของมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000-5,000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) หรือสามารถคำนวณง่ายๆ คือ
น้ำหนักตัวสุทธิ x 80 = ปริมาณโลหิตที่มีในร่างกายโดยประมาณ (หน่วยเป็น ซี.ซี.)
โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. เม็ดโลหิต จะมีอยู่ประมาณ 45 % ของโลหิตทั้งหมด ซึ่งมี 3 ชนิด คือ
- เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ใช้สันดาปอาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 120 วัน
- เม็ดโลหิตขาว ทำหน้าที่ปกป้องและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารที่เป็นอันตรายอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนทหารป้องกันประเทศ เม็ดโลหิตขาวมีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 10 ชั่วโมง
-เกล็ดโลหิต ทำหน้าที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัวตรงจุดที่มีการฉีกขาดของเส้นโลหิต มีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 5-10 วัน
2. พลาสมา (Plasma ) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง จะมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 55 ของโลหิตทั้งหมด มีหน้าที่ควบคุมระดับความดันและปริมาตรของโลหิตป้องกันเลือดออก และเป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย พลาสมานี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำประมาณ 92 % และส่วนที่เป็นโปรตีนประมาณ 8 % ซึ่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่
- แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ
- อิมมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่างๆ ที่จะเข้าสูร่างกาย เกร็ดความรู้
ถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง 96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ 2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกายจะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000 เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดโลหิตแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านเซลล์) อยู่ภายในร่างกายในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์ จะถึงกำหนดหมดอายุขัย ถูกขับถ่ายออกมาขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศรีษะ และกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่

จากชีวิตสู่ชีวิต มอบโลหิตช่วยผู้ป่วย
บริจาค
1. บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
2. บริจาคพลาสมา (Plasma)
3. บริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
4. บริจาคเม็ดโลหิตแดง (Single Donor Red Cell)
5. ตารางเวลาหน่วยรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่
6. LOGO โครงการ BRAND'S YOUNG BLOOD


http://www.redcross.or.th/donation/b...holeblood.php4



บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
คุณประโยชน์
1. ได้รับความภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความสุขใจ
2. ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุก 3 เดือน
3. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองทั้งระบบ เอ บี โอ และ ระบบ อาร์เอช
4. โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ เหมือนกับการที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่นๆ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้น เพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต โดยจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกครั้งที่ 1,7,16,24,36,48,60,72,84,96 และ 108 ตามลำดับ


คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
ผู้มีความประสงค์จะบริจาคโลหิตควรตรวจสอบคุณสมบัติตนเองก่อนบริจาค ดังนี้
1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
4. ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น
6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์


ดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต
*ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
*ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ
*ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
*งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
*งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
*สุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์
*การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต


ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต
*นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
*ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
*ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
*หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม
*หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์พยาบาล
*งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
*รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
*หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ


ผู้บริจาคโลหิตโปรดทราบ ท่านที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ควรงดการบริจาคโลหิตคือ
*ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
*เคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
*รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์


ทุกท่านมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการรับบริจาคโลหิต ใช้ครั้งเดียวสำหรับคนเดียวแล้วทิ้ง


สถานที่ติดต่อ
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่



ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

วันจันทร์ - วันพุธ, วันศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน)08.00-16.30 น.วันพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน)07.30-19.30 น.วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์08.00-12.00 น.วันอาทิตย์12.00-16.00 น.
หน่วยเคลื่อนที่ประจำ


สวนจตุจักร ทุกวันเสาร์
(รถจอดริมถนนพหลโยธิน)
10.00-15.00 น.สนามหลวง วันอาทิตย์
(รถจอดบริเวณด้านหน้ากรมศิลปากร)
09.00-14.00 น.ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รถจอดหน้าสำนักงาน)
10.00-15.00 น.มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ทุกวันจันทร์และวันอังคาร
(รถจอดบริเวณข้างหอสมุดด้านคณะนิติศาสตร์)
10.00-15.00 น.สถานีกาชาด 11"วิเศษนิยม" บางแค
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคาร ข้างฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค)
09.00-15.00 น.ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคารหน้าร้าน S.B. เฟอร์นิเจอร์ ชั้น 2)

13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ทุกวันศุกร์และวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณลานโยโย่ ชั้น 3)

13.00-17.00 น.

ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาบางพลี
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณด้านหน้าห้าง)

13.00-17.00 น.

ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )

13.00-17.00 น.

ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )

13.00-17.00 น.

สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า

โทร.0-2468-1116-20สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก รพ.พระมงกุฎเกล้าโทร.0-2245-8154สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ตำรวจ โทร. 0-2252-8111 ต่อ 4146สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.รามาธิบดี โทร. 0-2246-1057-87สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช โทร.0-2531-1970-99 ต่อ 27109-10สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

โทร. 0-2243-0151-64และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ (ในวันและเวลาราชการ)
ท่านสามารถสอบถามหน่วยเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้ที่
โทรศัพท์ 0-2252-6116,0-2252-1637 ,0-2252-4106-9 ต่อ 113, 157
E-mail : blood@redcross.or.th
"3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง รวมพลังบริจาคโลหิต"

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)