ผู้เขียน หัวข้อ: พระกาลกินคน  (อ่าน 4458 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
พระกาลกินคน
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2012, 06:18:41 pm »




พระกาลกินคน
โดย...นาวาเอก(พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ
พิมพ์ลงในนิตยสาร “ธรรมจักษุ”
ปีที่ 89 ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2547

พระกาลกินคน
พระกาลตามคติโบราณเป็นเทวรูปองค์หนึ่ง
ลักษณะมี 4 กร ทรงนกแสกเป็นพาหนะ
ชาวบ้านถือกันว่า
ถ้านกแสกร้องแซ้ก บินถาข้ามหลังคาเรือนของใครในเวลาดึก
เป็นสัญญาณบอกให้รู้ล่วงหน้าว่า
คนที่นอนป่วยอยู่ในเรือนนั้น จะต้องตายในไม่ช้า
แสดงว่า
เวลานกแสกบินผ่านมาก็เป็นลางว่าพระกาลท่านเสด็จมา
เพื่อจะคร่าเอาชีวิตคนเจ็บไป
คนทั้งหลายจึงกลัวนกแสกร้องในเวลากลางคืน

คติทางพระพุทธศาสนา
กล่าวถึงพระกาลองค์นี้ลักษณะเป็นปริศนาธรรมว่า

"มียักษ์อยู่ตนหนึ่ง
มีตาอยู่ 2 ข้าง ข้างหนึ่งสว่าง อีกข้างหนึ่งริบหรี่
มีปากอยู่ 12 ปาก มีฟันไม่มาก แต่ละปากมี 30 ซี่
กินสัตว์ทั่วทั่งปฐพี ยักษ์ตนนี้คือใคร?"


ท่านถอดใจความไว้ว่า
ยักษ์ตนนี้ก็คือพระกาล ซึ่งหมายถึงกาลเวลานั่นเอง
ที่ว่ามีตา 2 ตา
ท่านหมายถึงเวลากลางวันและกลางคืน
ที่ว่ามีปากอยู่ 12 ปาก
หมายถึงในรอบ 1 ปี มี 12 เดือน
และที่ว่ามีฟัน 30 ซี่
หมายถึงแต่ละเดือนมี 30 วัน
เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป
มันกลืนกินชีวิตมนุษย์ และสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเองด้วย


พระพุทธองค์ทรงแนะให้พุทธบริษัทพิจารณาทุกวันๆ ว่า
เรามีความแก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความแก่ เจ็บ ตายไปได้
และเมื่อถึงวาระนั้น ต้องละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ศฤงคาร ยศ ศักดิ์ และฐานะ
มีแต่ผลของกรรมเท่านั้นที่ติดตัวไปได้
จึงควรทำความดีให้มาก
ขณะมีชีวิตอยู่  ควรสำรวจตนเองอยู่เสมอว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่

และสิ่งที่ทำนั้นคุ้มค่ากับชีวิต และเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่เพียงไร
ถ้าคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ นั่นหมายถึงว่า
เราไม่ยอมปล่อยให้กาลเวลากลืนกินเราฝ่ายเดียว
แต่เรากลับกินกาล คือใช้มันไปอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ที่สุด.


คำอธิบายภาพ...
รูปสลักทวารบาล "มหากาล" ในศิลปะแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
บนผนังติดกรอบประตูข้างเคียงกับรูปนนทิเกศวร ปราสาทพระขรรค์ เมืองเสียมเรียบ


อ้างอิง*** - http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/05/30/entry-1
อาจารย์ศุภศรุต

ส่วนเทพทวารบาลที่สถิตอยู่ทางด้านซ้ายของทวาร
คือ “มหากาล” หรือ “อสูรทวารบาล”
มีลักษณะใบหน้าที่ดุร้าย นัยน์ตาโปน จมูกแบน ริมฝีปากหนา
แสดงอาการแสยะยิ้ม มีเคราเล็กน้อย

อาภรณ์เครื่องประดับสวมกะบังหน้าและชฎามงกุฎ ปล่อยผมยาวคลุมไหล่
สวมต่างหูทรงกลมขนาดใหญ่
สร้อยคอทำเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่มีอุบะเล็ก ๆ ห้อยประดับ
ที่แขนและท้ามีกำไลรัดต้นแขน กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้าประดับ
จำหลักอยู่ในท่ายืนกุมกระบองไว้ด้านหน้าวางอยู่ที่กึ่งกลาง

ชื่อของ “มหากาล พระกาฬ พระกาล กาล”
แปลความหมายว่า
“เวลา - กาลเวลา” ที่มืดมิดไม่อาจมองเห็นหรือหยั่งรู้ ไม่อาจฉุดรั้งหรือต้านทาน
พระกาลจะกลืนกินทุกสรรพสิ่งโดยไม่มีใครรู้ตัว

ทุกชีวิตจึงไม่เคยหลุดพ้นจากอำนาจแห่งกาลเวลา
กาลเวลาจึงเป็น “สมมุติ – เทพ” ที่น่าเกรงกลัวและหวาดหวั่นของมนุษย์
ด้วยอำนาจแห่งกาลที่ไม่มีที่สิ้นสุด
มนุษย์จึงได้สร้างรูปแห่งกาลเวลาขึ้นมาเป็นเทพเจ้าพระกาลผู้มีกายสีดำทะมึน
และเป็นเทพแห่งที่ตาย ของทุกสรรพสิ่ง
.
.
.
เมื่อตระหนักถึงพลังอำนาจ
พระกาลจึงถูกเลือกมาเป็นเทพผู้พิทักษ์วิมานพระศิวะ
คู่กับ “นนทิเกศวร” เทพบุตรผู้ถือกำเนิดจากสีข้างขององค์พระศิวะ
มีพระนามว่า “มหากาฬ – กาล”

ตามเทวาลัยพระศิวะจึงปรากฏรูปสลักเทพทวารบาลทั้งสององค์
ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าของประตูทางเข้า
เป็นรูปลักษณะของเทพบุตรแทนเทพทวารบาลนนทิเกศวร
และรูปยักษ์ แทนเทพทวารบาลมหากาฬ



- http://www.oknation.net/blog/Aug-saraporn/2012/06/20/entry-1


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


       

พังพระกาฬในประวัติศาสตร์ศรีวิชัย
ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดด์ ประเทศอังกฤษ มีหนังสือภาพเขียนระบายสีเล่มหนึ่ง อธิบายขยายความหลักอภิปรัชญาในคัมภีร์ “ปรัชญาปารมิตา” ของศาสนาพุทธินิกายมหายาน ได้ไปจากเนปาลไปเก็บรักษาไว้ในหนังสือภาพเขียนระบายสีเล่มนั้น มีรูปภาพและคำอธิบายประกอบว่า “สุวรรณปุเร ศรีวิชัยปุเร โลกนาถ”

ศาสตราจารย์ ประนะวิธาน ให้คำอธิบายข้อความนี้ว่า พระโลกนาถแห่งศรีวิชัยปุระในสุวรรณประทีปทำให้สืบสาวราวเรื่องได้ว่า ในรัชกาลพระเจ้าศรีจุฬามณีวรรมะเทวะ ครองราชย์สมบัติอยู่ในกรุงศรีวิชัย เมื่อราว พ.ศ.1514 ในสมัยนั้น พระธรรมกิรติเถระ ดำรงสมณะศักดิ์เป็นพระสังฆราชแห่งอาณาจักศรีวิชัยประทับอยู่ที่ สุวรรณสุคติสถูป ซึ่งคงหมายถึง วัดบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช พระธรรมกิรติเถระ ได้รจนาคัมภีร์สำคัญมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นเล่มหนึ่งมีชื่อว่า “อภิสมยาลังกร” ขึ้นชื่อลือเลื่องขจรขจายไปทั่วจนได้รับสมญานามว่า “คุรุแห่งสุวรรณทวีป” ภิกษุมีชื่อเสียงระดับมหาบัณฑิตชาวอินเดียหลายองค์เป็นต้นว่า รัตนากรสันติ, ญานศรีมิตร, บัณฑิตภูมิสาระ เดินทางมาศึกษาปรัชญาปารมิตา อันเป็นต้นเค้าให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก โดยอาศัยหลักโพธิจิต ทำให้สำเร็จเป็นโพธิสัตว์

หนังสือพุทธศาสนาของอินเดียกล่าวถึง เจ้าชายอติษะ ราชโอรสของพระเจ้ากัลยาณีศรี แห่งวังครัฐ หรือแคว้นเบงกอล ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ผู้มีจิตใจเลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้สละราชสมบัติออกบวชตั้งแต่พระชนมายุได้ 6 พรรษา ต่อจากนั้นได้เสด็จไปศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ในสำนักมีชื่อเสียงต่างๆ ทั่วอินเดีย จนมีความรู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้รับอุปสมบทจึงได้รับฉายาว่า “ภิกษุทีปังกระศรีฌานะ” ดำรงอธิการบดีมหาวิทยาลัยวิกรมศีลาวิหาร ขึ้นชื่อถือนามกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สองในโลก (ทีปังกระ) ได้รับยกย่องว่าเป็นมหาบัณฑิต เป็นที่ชื่นชมของศาสนิกทั้งในนิกายหินยาน และนิกายมหายาน ประสงค์จะศึกษาปรัชญาปารมิตาและปลูกโพธิจิตกับ คุรุแห่งสุวรรณทวีปจึงลงเรือเดินทางมาพร้อมด้วยสานุศิษย์ 125 รูป เมื่อ พ.ศ. 1554 จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1566 เป็นเวลา 12 ปี

ครั้นภิกษุอติษะสำเร็จวิทยาการจากสุวรรณทวีปได้เดินทางกลับอินเดีย พร้อมกับนำพระคัมภีร์อภิสมยาลังกรไปเผยแพร่ ภายหลังภิกษุผู้มีชื่อเสียงรูปนี้ได้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนาในทิเบตคัมภีร์สมยาลังกร จึงได้แปลถ่ายทอดเป็นภาษาทิเบต อันเป็นรากฐานการนับถือศาสนาพุทธนิกายลามะสืบมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากหลักการปลูก โพธิจิต อันมีชื่อเสียงของท่านคุรุแห่งสุวรรณทวีปแล้ว หลักปรัชญาของอาจารย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยยังอาศัยหลักธรรมชาติวิทยาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดาวเคราะห์ อันเป็นต้นเหตุของมูลรูปขนาดเล็กที่เรียกว่า ปรมณู และวิชชุรูป คือแรงดึงดูดให้มูลรูปเกิดการรวมตัวและหมุนเวียนไปรอบๆจุดศูนย์กลาง เหมือนกับดาวเคราะห์ถูกบังคับโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ และยังมีสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นตัวการปรุงแต่งแปลงสภาพธาตุทั้งหลายในโลกก็คือ “อากาศธาตุ” ที่สถิตอยู่ในช่องว่างภายในแรงดึงดูดแห่งมูลรูป ส่วนประกอบของมูลรูปขนาดเล็กเหล่านี้จึงรวมตัวเป็นมูลรูปวัตถุขนาดใหญ่ และมวลชีวิต คือ มนุษย์ สัตว์ พืช ย่อมพึ่งพาอาศัยถ่ายเทธาตุในลักษณะพึ่งพาอาศัยกันในรูปวงจรที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” หรือ “มายาอุปาทาน” อันเปรียบดังวงโซ่ที่ร้อยรัดมวลชีวิตให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ตกอยู่ภายใต้อำนาจของการโคจรแห่งดวงดาวในจักรวาล จึงสรุปเหตุแห่งการเกิดว่า “กรรม” ย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายไปตามแรงเจตนาที่สร้างสมขึ้น

การล่วงรู้ความลับของจักรวาล และความเป็นไปในโลกอย่างถ่องแท้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกล้วนแต่ถูกปรุงแต่งแปลงสภาพมาจาก ระบบธาตุในโลก กับ คลื่นพลังแสงดาวในจักรวาลคลุกเคล้าเข้ากับอากาศธาตุ ด้วยเหตุนี้มวลชีวิตและวัตถุทั้งหลายในโลก จึงถูกบังคับให้ดำเนินไปตามอำนาจของดวงดาวในจักรวาล อันเป็นรากฐานของวิชา “โลกธาตุ” หรือ “โลกศาสตร์” ซึ่งแต่เดิมเรียกกันว่า “ศิวศาสตร์” หรือ “ไศวศาสตร์” แปลว่าวิทยาการแห่งโลกแต่คำอินเดียอาจไม่ถูกปากถูกใจคนไทย จึงแปลงถ้อยคำให้สอดคล้องกับรสนิยมของตนเองว่า “ไสยศาสตร์” ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบความหมายที่แท้จริงว่า ไสยศาสตร์ แปลว่าอย่างไร จนก่อให้เกิดการเข้าใจผิดว่าเป็นความเชื่อในเรื่องผีสางคาถาอาคมที่งมงายไร้เหตุผล แท้จริงแล้วเป็นความรอบรู้เกี่ยวกับจักรวาล และวิถีชีวิตตลอดจนการต่อสู้เพื่อการอยู่รอด รวมทั้งความเข้าใจในเรื่อง จิตวิญญาณ อย่างน่ามหัศจรรย์ ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาริย์ สิ่งที่เหลือเชื่อทั้งหลาย ส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากความรู้ในด้านไสยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกฉานเกี่ยวกับ วิชาโหราศาสตร์ เป็นพื้น การทำพิธีปลุกเสกเป็นแต่เพียงพิธีการเพื่อเสริมความเชื่อของสังคมเท่านั้น

ด้วยความรอบรู้ความลับของจักรวาลดังกล่าว จึงขนานนามพระโพธิสัตว์ผู้ตรัสรู้ธรรมว่า “พังพระกาฬ” คือผู้ล่วงรู้การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสิ่งทั้งหลายว่า เวลา เป็นตัวกำหนดอายุขัย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นสิ่งมีชีวิตก็จะสิ้นลม เพราะหยุดการหายใจ มูลรูปก็จะแตกสลายกลายเป็นปรมณูธาตุดังเดิมจึงเรียก วันเวลาแห่งอายุขัยของชีวิตว่า “พระกาฬ” หรือ “พระกาล” หมายความว่าเจ้าแห่งความตาย

การล่วงรู้อนาคตด้วยวิธีการทางโหราศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญเพียงประการเดียว ที่ช่วยให้มนุษย์ล่วงรู้เหตุการณ์ดังกล่าวได้ดีที่สุด เช่นเดียวกับแพทย์ที่ทราบว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเรานั้นหนักเบาประการใด อาการโรคที่ถูกคุกคามอยู่นั้น พอที่จะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ หรือจะมีอายุยืนยาวไปได้ขนาดไหน พระโพธิสัตว์ผู้ตรัสรู้ธรรมและล่วงรู้เส้นทางโคจรของดวงดาวในจักรวาล ก็ย่อมทราบว่า ใครเคราะห์หามยามร้ายชะตาจะถึงฆาตหรือไม่ มีหนช่วยเหลือบรรเทาประการใด ชาวศรีวิชัยโบราณขนานนามผู้มีญาณวิเศษนั้นว่า “พระพังพระกาฬ”

สันนิษฐานว่า พระศรีมหาราช จุฬามณีวรรมะเทวะ แห่งอาณาจักรศรีวิชัยในสมัยนั้น คงได้รับยกย่องว่าเป็น พระเทวะโพธิสัตว์พังพระกาฬ จึงได้มีการสร้างวัตถุมงคลมีลักษณะเป็นรูปคนนั่งขัดสมาธิเพชร ปิดหน้าตาด้วยสองฝ่ามือ ทำเป็นรูปพระปรางค์เหมือนดังมงกุฎสวมเหนือศีรษะ มีรูปงูเป็นสัญลักษณ์ บนศีรษะทำเป็นรูปมุ่นมวยผมมีลักษณะ 8 แฉก เรียกว่า “จันทร์ 8 แฉก” อันเป็นสัญลักษณ์ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่มาอุบัติขึ้นในโลก ดุจดังพระนารายณ์อวตารเสด็จมาดับยุคเข็ญในโลกมนุษย์

รูปพระพังพระกาฬ ประติมากรรมเก่าแก่ของศรีวิชัยซึ่งสร้างขึ้นกว่า 1,000 ปีก่อน คงหายสาบสูญไปหมดสิ้น แม้มีอยู่ก็ไม่มีใครทราบว่าเป็นพระอะไร เพราะแตกต่างไปจากพระพุทธรูปที่เรานับถือกันอยู่ในปัจจุบันนี้ จตุคามรามเทพ มีความประสงค์ให้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อชาวนครศรีธรรมราชร่วมแรงร่วมใจกันสร้างหลักเมืองใน พ.ศ.2530 จึงได้พบเห็น พระพังพระกาฬ ในแบบพิสดารเหลือเชื่อดังที่เคยเล่าให้ฟัง

 เรียบเรียงโดย
พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
- http://www.baanjomyut.com/library/2552/history_srivichai.html


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระกาลกินคน :Kalachakra
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2012, 06:57:57 pm »




Kalachakra
The wheel or circle of time is a symbol of perfect creation.
Eight spokes of the Kalachakra wheel (Wheel of Time)
mark the directions in time and each one is governed by a deity,
or by a specific aspect of Shakti.

To learn more about Kalachakra, click here.
- http://www.freebsd.nfo.sk/hinduism/symbols.htm


Vajra Guruda in prayer mudra, Yangleshö cave, Lower Pharping, Nepal



-http://www.flickriver.com/photos/wonderlane/tags/statue/












Kalachakra Mandala with Five Dhyani Buddhas


“The Dalai Lama and His People” to New York’s Tibet House
"Dismantling the sand mandala during a Kalachakra Initiation,
Santa Monica, 1989," by Don Farber


Kalachakra Mandala (made in the USA by Arjia Rinpoche)

********************

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2012, 10:55:34 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



อรรถกถา มูลปริยายชาดก
ว่าด้วย กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ สุภควัน อาศัยอุกกัฏฐธานี ทรงปรารภมูลปริยายสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาโล ฆสติ ภูตานิ ดังนี้.
               ได้ยินว่า ในกาลนั้นมีพราหมณ์ ๕๐๐ จบไตรเพทแล้ว ออกบวชในพระศาสดา เรียนพระไตรปิฎก เป็นผู้มัวเมาด้วยความทะนงตน คิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้พระไตรปิฎก แม้เราก็รู้พระไตรปิฎก เมื่อเป็นอย่างนี้ เรากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต่างกันอย่างไร จึงไม่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์.
               อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดา เมื่อภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในสำนักของพระองค์ ตรัสมูลปริยายสูตรประดับด้วยภูมิ ๘. ภิกษุเหล่านั้นกำหนดอะไรไม่ได้ จึงมีความคิดว่า พวกเราทะนงตนว่า ไม่มีใครฉลาดเท่ากับพวกเรา แต่บัดนี้พวกเราไม่รู้อะไรเลย ชื่อว่าผู้ฉลาดเช่นกับพระพุทธเจ้าย่อมไม่มี ชื่อว่าพระพุทธคุณน่าอัศจรรย์. ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุเหล่านั้นก็หมดความทะนงตน สิ้นความหลงผิด ดังงูพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้วฉะนั้น.

               พระศาสดาประทับอยู่ ณ อุกกัฏฐธานี ตามพระสำราญ แล้วเสด็จไปกรุงเวสาลี ตรัสโคตมกสูตรที่โคตมกเจดีย์ ทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นฟังโคตมกสูตรนั้นแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต.
               เมื่อจบมูลปริยายสูตร พระศาสดายังประทับอยู่ ณ อุกกัฏฐธานีนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ พระพุทธานุภาพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้ภิกษุเหล่านั้น เป็นพราหมณ์ออกบวช มัวเมาด้วยความทะนงตนอย่างนั้น หมดความทะนงตน ด้วยมูลปริยายเทศนา.
               พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำภิกษุเหล่านั้นผู้มีหัวรุนแรงด้วยความทะนงตน ให้หมดความทะนงตนแล้ว ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

               ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยสำเร็จไตรเพท เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐. มาณพทั้ง ๕๐๐ นั้น ครั้นเรียนจบศิลปะ ผ่านการซักซ้อมสอบทานในศิลปะทั้งหลายแล้ว เกิดกระด้างด้วยความทะนงตนว่า พวกเรารู้เท่าใด แม้อาจารย์ก็รู้เท่านั้นเหมือนกัน ไม่มีความพิเศษกว่ากัน ไม่ไปสำนักอาจารย์ ไม่กระทำวัตรปฏิบัติ.
               ครั้นวันหนึ่ง เมื่ออาจารย์นั่งอยู่โคนต้นพุทรา พวกมาณพเหล่านั้นประสงค์จะดูหมิ่นอาจารย์ จึงเอาเล็บมือเคาะต้นพุทราพูดว่า ต้นไม้นี่ไม่มีแก่น. พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่าดูหมิ่นตน จึงกล่าวกะอันเตวาสิกว่า เราจักถามปัญหาพวกท่านข้อหนึ่ง. มาณพเหล่านั้นต่างดีอกดีใจกล่าวว่า จงถามมาเถิด พวกผมจักแก้.
               อาจารย์ เมื่อจะถามปัญหา ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-
               กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว.

               ในบทเหล่านั้น บทว่า กาโล ได้แก่ เวลาเป็นต้น เช่นเวลาก่อนอาหาร หลังอาหาร.
               บทว่า ภูตานิ นี้เป็นชื่อของสัตว์ กาลมิได้ถอนหนังและเนื้อเป็นต้นของสัตว์ไปกิน เป็นแต่ยังอายุวรรณและพละของสัตว์เหล่านั้นให้สิ้นไป ย่ำยีวัยหนุ่มสาว ทำความไม่มีโรคให้พินาศ เรียกว่ากินสัตว์ คือเคี้ยวกินสัตว์ ก็กาลที่กินสัตว์อยู่อย่างนี้ ไม่เว้นใครๆ ย่อมกินหมดทั้งนั้น.
               อนึ่ง มิได้กินแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น ย่อมกินแม้ตนเองด้วย กาลก่อนอาหารย่อมไม่เหลืออยู่ในเวลาหลังอาหาร. ในเรื่องเวลาหลังอาหารเป็นต้น ก็นัยเดียวกัน. ที่ว่า สัตว์ผู้กินกาลนั้น หมายถึงพระขีณาสพ. จริงอยู่ พระขีณาสพนั้นเรียกว่าผู้กินกาล เพราะยังกาลปฏิสนธิต่อไปให้สิ้นด้วยอริยมรรค.
               บทว่า ส ภูตปจนึ ปจิ ความว่า พระขีณาสพนั้นเผา คือทำให้ไหม้เป็นเถ้าซึ่งตัณหาที่เผาสัตว์ในอบาย ด้วยไฟคือญาณ.

               พวกมาณพเหล่านั้นฟังปัญหานี้แล้ว ไม่มีผู้สามารถจะรู้ได้แม้คนเดียว. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าได้เข้าใจว่า ปัญหานี้มีอยู่ในไตรเพท พวกท่านสำคัญว่าอาจารย์รู้สิ่งใด เราก็รู้สิ่งนั้นทั้งหมด จึงได้เปรียบเราเช่นกับด้วยต้นพุทรา พวกท่านมิได้รู้ว่า เรารู้สิ่งที่พวกท่านยังไม่รู้อีกมาก จงไปเถิด เราให้เวลา ๗ วัน จงช่วยกันคิดปัญหานี้ตามกาลกำหนด. มาณพเหล่านั้นไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน แม้คิดกันตลอด ๗ วัน ก็มิได้เห็นที่สุด มิได้เห็นเงื่อนงำแห่งปัญหา.

               ครั้นวันที่ ๗ จึงพากันมาหาอาจารย์ไหว้แล้วนั่งลง เมื่ออาจารย์ถามว่า พวกท่านมีหน้าตาเบิกบาน รู้ปัญหานี้หรือ กล่าวว่า ยังไม่รู้.
               พระโพธิสัตว์ เมื่อจะตำหนิมาณพเหล่านั้นอีก จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
               ศีรษะของนรชนปรากฏว่ามีมาก มีผมดำยาว ปกคลุมถึงคอ บรรดาคนทั้งหลายนี้จะหาคนที่มีปัญญาสักคนก็ไม่ได้.

               ความของคาถานั้นว่า ศีรษะคนปรากฏมีมากหลาย และศีรษะเหล่านั้นมีผมดกดำประถึงคอ เอามือจับดูไม่เหมือนผลตาล บุคคลเหล่านั้นไม่มีข้อแตกต่างกันด้วยธรรมเหล่านี้เลย. บทว่า กณฺณวา คือผู้มีปัญญา. ก็ช่องหูจะไม่มีแก่ใครๆ ก็หามิได้.

               พระโพธิสัตว์ติเตียนพวกมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านเป็นคนโง่ มีแต่ช่องหูเท่านั้น ไม่มีปัญญา ฉะนี้แล้วจึงแก้ปัญหา มาณพเหล่านั้นฟังแล้วกล่าวว่า ธรรมดาอาจารย์เป็นผู้ยิ่งใหญ่อย่างน่าอัศจรรย์ ขอขมาอาจารย์แล้ว ต่างก็หมดความทะนงตน ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว
ทรงประชุมชาดก.
มาณพทั้ง ๕๐๐ ในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุเหล่านี้

ส่วนอาจารย์ คือ เราตถาคต นี้แล.

จบ อรรถกถามูลปริยายชาดกที่ ๕   

           
.. อรรถกถา มูลปริยายชาดก ว่าด้วย กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง จบ
-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=340
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2017, 06:43:47 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระกาลกินคน / กาลจักร คัมภีร์มรณะ ธิเบต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2014, 10:48:58 pm »


กาลจักร คัมภีร์มรณะ ธิเบต
การหมุน กาลจักรมีสองแบบ

1.-แบบ"ตามกระแส โลก ธรรม"
โดยมี อวิชชา นำพาให้เกิดการปรุงแต่ง
ความคิด อารมณ์ ปลุก กิเลส ตัณหา อุปทาน นำไปสู่ภพ ภูมิ
ที่สุดทำให้ จิตแล่นไปในภพภูมิ ที่มนุษย์ทั่วไป ทำอยู่เป็นปกติเช่น
-ฉกามาวจรภูมิ...คือ อบายภูมิ มนุษย์ เทวดา
-รูปภพ..คือรูปพรหม ทั้งหมด
-อรูปภพ..คือ อรูปพรหม ทั้งหมด

2.แบบ ทวนกระแสโลก
-โดยมิ"วิชชา" คือเห็นอดีต(ตกผลึกความคิด)
-รู้เท่าทันในปัจจุบัน(สติ กำหนดรู้ ทันความคิด อารมณ์ที่กำลังปรุงแต่ง)
-เห็นผลที่เกิดในอนาคต(รู้ทางที่ ความคิด อารมณ์ ที่ปรุงโดยขาดสติ ปัญญา พาไปเกิดในภูมิต่างๆ)

......................
//-เมื่อจิตใจ เกิด ความ ตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว ย้ำคิด ย้ำทำ ย้ำแค้น
ให้หายใจยาวๆ ช้าๆ กำหนดรู้"รู้สึก" ของอารมณ์นั้น
จ้องหน้า ดูว่า หน้าตา อารมณ์นั้น จริงๆ เป็นอย่างไร?
ไม่คิด ไม่หนี ไม่สู้ ดู ให้เห็น
พระอนิจจัง
พระทุกขัง
พระอนัตตา
ทำลาย อารมณ์นั้น(สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมดับ
ด้วยอำนาจไตรลักษ์ และอำนาจ จิตที่ฝึกดีแล้ว)
จนเห็นเป็นเรื่อง ขำๆ หรรษา เกิดปิติ
นั่นคือทาง"หมุนกาลจักร ทวนกระแส"

-ทุกข์นั้น.....ต้องกำหนดรู้
-เหตุแห่งทุกข์ คือ อุปทานในตัณหา ต้องละโดยเด็ดขาด
-ความเย็นแห่งชีวิต พ้นทุกข์ เหนือสุข
เพราะสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เหตุทุกข์
ต้องประจักษ์ เป็นประสบการณ์ตรงแก่ตนเอง

-ทางแห่งการฝึกฝน ปัญญา วาจา กาย ใจ
ชำระใจให้เกิด เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ทำอาสวะสิ้น ต้องรีบทำเอยฯ
เมื่อชนะอารมณ์ ตื่นเต้น กังวล กลัว ที่เป็นอาหารของอสูร ได้แล้ว
ก็ลองฝึกจัดการอารมณ์อื่นๆ ที่ไม่พึงปรารถนา ต่อไป สาธุ

"เวลา จากตื่น ถึงหลับ
เวลาจากเกิดถึงตาย
เราจะใช้ทำอะไร?
จะวิ่งหนีทุกข์ ซบอกความสุข
หรือ ทำความเย็นแห่งชีวิตให้ปรากฎ ด้วยตนเอง"
เวลา กรรม มัจจุราช ไม่เคยคอยใคร?
..................
ใช้ชีวิต"ตามกระแสโลก"มาเยอะ ด้วย"อวิชชา"
ลองมาใช้ชีวิต แบบ"ทวนกระแสโลก" บ้างนะ ด้วย"วิชชา"สาธุ
.................


      ॐ Om Mani PadMe Hum ॐ

Suraphol Kruasuwan
originally shared to คนรัก สุขภาพ และจักรยาน (การสนทนา):
 
สุขภาพที่ดีมีสี่มิติ
1.สุขภาพกาย ดูแลตามหลักสุขนิสัยที่ดี
2.สุขภาพจิต ฝึกฝนจิตมีพลังฝ่ายดี แข็งแรง
3.สุขภาพวิญญาณ ฝึกฝน อัพเดทความรู้
รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง รู้ จน ไม่เป็นทาส กระแสโลก กระแสกิเลสภายใน
4.สุขภาพสิ่งแวดล้อม ทั้ง โลก สังคม จักรวาล ต้อง ดีด้วยกัน

Suraphol Kruasuwan
originally shared to คนรัก สุขภาพ และจักรยาน (การสนทนา):

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2017, 06:53:23 pm โดย ฐิตา »