ผู้เขียน หัวข้อ: สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์  (อ่าน 1432 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นกายในกาย
อยู่เป็นประจำก็ดี, เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
อยู่เป็นประจำก็ดี; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี;
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี;
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้; สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไป
ตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์
ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ;
ภิกษุนั้นเมื่อเป็น ผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมทำการเลือก
ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่
ทำการเลือกเฟ้น ทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา,
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความ
เต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญ
ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอยู่ ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน
ก็ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อัน
ภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาได้ปรารภแล้ว;
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์; สมัยนนั้
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง
การเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว
เช่นนั้น ปีติอันเป็นนิรามิส (ไม่อิงอามิส) ก็เกิดขึ้น.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่
ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว;
สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของ ภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้นเมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของ
ภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ;
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น
ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกาย
อันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น;
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์; สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี;
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความ
เต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุ ทั้งลาย. ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.


-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841?fref=ts


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2012, 09:07:31 am »




๑๐. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน

[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มี พระภาคประทับ อยู่ในแคว้นกุรุ มีนิคมหนึ่ง ของ แคว้นกุรุ ชื่อว่า
กัมมาสธรรม ณ ที่นั่น พระผู้มี พระภาค ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย. ภิกษุ เหล่า
นั้นทูล รับพระผู้มี พระภาคแล้ว.

[๑๓๒] พระผู้มี พระภาค ได้ตรัส พระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็น ที่ไป
อันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของ เหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศก และ ปริเทวะ เพื่อ ความดับสูญ แห่ง
ทุกข์และ โทมนัส เพื่อบรรลุธรรม ที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพาน ให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน
๔ ประการ. ๔ ประการ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌา และ โทมนัสใน โลกเสียได้ ๑ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

               

ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น
ภิกษุ ทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะ
และ เสียงเยินยอเป็น อานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความ ถึงพร้อมด้วย ศีลเป็น อานิสงส์,
พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อม ด้วยสมาธิเป็น อานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มี
ความถึง พร้อมด้วย ญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! ก็เจโตวิมุตติ ที่ไม่ กำเริบอันใดมีอยู่,
พรหมจรรย์นี้มี สิ่งนั้น นั่นแหละ เป็น ประโยชน์ที่มุ่งหมาย เป็นแก่นสาร
 เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์แล.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือน บุรุษผู้ ต้องการด้วย แก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้
เที่ยวค้นหา แก่นไม้ จนถึงต้นไม้ ใหญ่มี แก่นแล้ว ตัดเอาแก่น ถือไปด้วยมั่นใจว่า
‘นี่เป็น แก่นแท้’ ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า
“ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น, รู้จักกระพี้, รู้จักเปลือกสด, รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก,
รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง. จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้

เสาะหา แก่นไม้ เที่ยวค้นหา แก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็ตัดเอา
แก่นแท้ถือ ไปด้วย มั่นใจว่า ‘นี่ เป็นแก่นแท้’ ดังนี้.
สิ่งที่เขาจะ ต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์ เป็นแท้”ดังนี้.
มู. ม. ๑๒/๓๗๐/๓๕๑.





จงสงเคราะห์ ผู้อื่นด้วย การให้รู้
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอ เอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ
เป็นผู้ที่ เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็น มิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม
ญาติหรือ สายโลหิตก็ตาม;
ชนเหล่านั้น อันเธอพึง ชักชวนให้ เข้าไปตั้งมั่น
ในความจริง อันประเสริฐสี่ประการ
ด้วยปัญญา อันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง

ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ?
สี่ประการคือ
ความจริง อันประเสริฐคือ ทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
และความจริง อันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะ เหตุนั้นในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบ โยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”ดังนี้.
มหาวาร. ส°. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖


             

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
เรื่องพ้นจากบ่วง
[๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาครับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้ว
จากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอ ก็พ้นแล้ว จากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็น ของมนุษย์ พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่
ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุข แก่ทวยเทพ และ มนุษย์
พวกเธออย่า ได้ไปรวม ทางเดียวกัน สองรูป จงแสดงธรรม งามใน เบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง
งามในที่สุด จงประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ครบ บริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลาย
จำพวกที่มีธุลี คือ กิเลสใน จักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อม ผู้รู้ ทั่วถึงธรรม จักมี
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้เราก็จักไป ยัง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.

เรื่องพ้นจากบ่วง จบ.




เรื่องมาร
[๓๓] ครั้งนั้น มารผู้มีใจ บาปเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลพระ ผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นผู้ อันบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็น ของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ผูกพันไว้แล้ว ท่าน
เป็นผู้ อันเครื่องผูก ใหญ่ รัดรึงแล้ว แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.
พระผู้มี พระภาค ตรัสตอบว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่ เป็นของทิพย์ ทั้งที่
เป็นของมนุษย์ เราเป็น ผู้พ้นแล้วจาก เครื่องผูกใหญ่ ดูกรมาร ท่านถูก เรากำจัดเสีย แล้ว.
มาร กราบทูลว่า บ่วงนี้เที่ยวไปได้ในอากาศ เป็นของ มีในจิต สัญจรอยู่ เราจักผูกรัด
ท่าน ด้วยบ่วงนั้น แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.

พระผู้มี พระภาค ตรัสตอบว่า เราปราศจากความพอใจใน อารมณ์ เหล่านี้ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ รื่นรมย์ใจ ดูกรมาร ท่านถูก เรากำจัดเสียแล้ว
.
ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปรู้ว่า พระผู้มี พระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต ทรงรู้จักเรา
ดังนี้แล้ว มีทุกข์ เสียใจ หายไปใน ที่นั้นเอง.
เรื่องมาร จบ.

           
       :http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841?fref=ts

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 14, 2012, 12:36:07 pm โดย ฐิตา »