ผู้เขียน หัวข้อ: ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง หรือโรคปวดท้องน้อยช่วงล่างเรื้อรังในผู้ชาย  (อ่าน 1736 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง หรือโรคปวดท้องน้อยช่วงล่างเรื้อรังในผู้ชาย
-http://www.dailynews.co.th/article/1490/167050-
 - หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ
วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2555





โรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังหรือโรคปวดท้องน้อยช่วงล่างเรื้อรังในผู้ชาย มีคำย่อเรียกว่า “โรคซีพีพีเอส”  (CPPS) เป็นโรคเรื้อรังที่มีความรู้สึกไม่ค่อยสบายอยู่ตลอดเวลา หรือมีอาการปวดเรื้อรังรำคาญจากความรู้สึกในบริเวณเชิงกรานหรือท้องน้อยส่วนล่าง ส่วนใหญ่เป็นบริเวณฐานของอวัยวะเพศและรอบทวารหนัก โดยทั่วไปมักให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง เมื่อมีอาการปวดท้องน้อยช่วงล่างเรื้อรังอย่างน้อยสามเดือนภายในหกเดือนก่อนหน้านั้น

สาเหตุของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังยังไม่เข้าใจอย่างเต็มที่หรือชัดเจนนัก มีหลายทฤษฎีถูกนำมาอธิบาย ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อของต่อมลูกหมากที่ยังไม่ได้รับการระบุชนิดของเชื้อโรค อันมีผลต่อเส้นประสาทของต่อมลูกหมาก ปัญหาภูมิคุ้มกันของต่อมลูกหมาก (สำหรับบางเหตุผลอาจอธิบายว่าภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามปกติเพื่อต่อสู้การติดเชื้อ อาจโจมตีเซลล์ของต่อมลูกหมากเอง) การอักเสบหรือติดเชื้อที่เกิดจากปัสสาวะอาจถูกทำให้ย้อนกลับขึ้นไปยังต่อมลูกหมากในเวลาที่ปัสสาวะ

คำว่า “ต่อมลูกหมากอักเสบ” นั้นแท้จริงแล้วหมายถึงการอักเสบและหรือการติดเชื้อของต่อมลูกหมาก แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของรูปแบบต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังยังไม่ทราบและมีการตอบสนองหลายรูปแบบต่อยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดชนิดยาแก้อักเสบ แต่ด้วยเหตุผลเหล่านี้ แพทย์บางท่านนิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มอาการปวดท้องน้อยส่วนล่างเรื้อรัง” ฉะนั้น การใช้คำนี้ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าปัญหาที่แท้จริงมาจากปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
อาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังหรือกลุ่มอาการโรคปวดท้องน้อยส่วนล่างเรื้อรังมีอะไรบ้าง

อาการมักจะมีถึงปัจจุบันอย่างน้อยสามเดือนภายในหกเดือนก่อน ซึ่งอาการประกอบด้วย

1) อาการปวดมักจะอยู่โดยรอบฐานของอวัยวะเพศ รอบทวารหนัก ในบริเวณท้องน้อยและด้านหลังส่วนล่าง บางครั้งอาการปวดอาจกระจายลงไปที่ปลายของอวัยวะเพศและหรือเข้าไปในอัณฑะ

2) อาการปวดเป็นอาการหลักในต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง ความรุนแรงของอาการปวดอาจแตกต่างกันจากแบบวันต่อวัน ซึ่งบางครั้งอาจมีความสัมพันธ์กับความเครียด ซึ่งการพักผ่อนน้อยเป็นปัจจัยสำคัญของอาการปวด

3) อาการเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่นอาการปวดอย่างมากเมื่อจะปัสสาวะ ต้องรีบปัสสาวะเมื่อปวด ต้องเบ่งเมื่อเริ่มจะปัสสาวะหรือความแรงปัสสาวะไม่มากพอ ซึ่งดูเหมือนเป็นโรคต่อมลูกหมากโต

4) ปัญหาทางเพศ อาจมีอาการโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ กล่าวคือองคชาตไม่สามารถแข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่เต็มที่ การหลั่งน้ำอสุจิบางครั้งอาจมีอาการเจ็บอย่างมาก และในผู้ป่วยบางรายอาการปวดจะเลวร้ายมากขึ้นหลังการมีเพศสัมพันธ์

5) อาการอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อยและมีอาการปวดเมื่อยตามตัวทั่วไป ไม่สามารถระบุตำแหน่งชัดเจน
มีการตรวจทดสอบอะไรบ้างสำหรับการวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง

1) การตรวจต่อมลูกหมาก เนื่องจากต่อมลูกหมากอยู่หน้าต่อจากทวารหนัก แพทย์จะใช้นิ้วมือที่สวมถุงมือและทาสารหล่อลื่นด้านนอกสอดเข้าไปทางทวารหนักและแพทย์จะสามารถตรวจพบได้ว่าต่อมลูกหมากโตมากผิดปกติ รวมทั้งการมีก้อนนูนผิดปกติหรือไม่ อาจมีอาการปวดต่อมลูกหมากระหว่างการตรวจโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง อย่างไรก็ตามอาจไม่เป็นเช่นนั้นทุกราย ในปัจจุบันอาจตรวจเพิ่มเติมด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยในการวินิจฉัยการอักเสบหรือการมีแคลเซียมมาเกาะที่ต่อมลูกหมาก

2) การตรวจปัสสาวะ เพื่อแยกการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การตรวจวิธีนี้เป็นสิ่งสำคัญพิเศษสำหรับต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังจากแบคทีเรีย ถึงแม้ระหว่างมีอาการปวด อาจตรวจไม่พบอาการติดเชื้อ

3) การตรวจทดสอบไตและระบบทางเดินปัสสาวะ ถ้าแพทย์สงสัยว่ามีต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง อาจแนะนำให้มีการทดสอบต่อไปเพื่อแยกออกจากปัญหาอื่น ๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะที่อาจเป็นที่มาของการติดเชื้อ เช่น การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของไตเพื่อหาสิ่งผิดปกติ

4) การตรวจทดสอบเพื่อแยกสาเหตุอื่น ๆ สำหรับอาการของผู้ป่วย

4.1) อาการต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังอาจทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำหรับเหตุผลดังกล่าว ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยง
ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจแบบใช้ไม้ป้ายเชื้อหรือตรวจจากปัสสาวะเพื่อแยกจากโรคนี้ อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่าโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

4.2) การทดสอบอื่น ๆ เพื่อแยกโรคอื่นของต่อมลูกหมากหรืออวัยวะใกล้เคียงถ้าอาการนั้นไม่ปกติ เช่นบางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเลือด

ถ้าแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง การประเมินขั้นตอนต่อไปคือการเก็บของเหลวจากต่อมลูกหมากเพื่อแยกว่ามีการอักเสบของต่อมลูกหมากอักเสบหรือไม่ แพทย์จะนวดต่อมลูกหมากเบา ๆ ด้วยการใช้นิ้วชี้ที่สวมถุงมือเข้าไปในทวารหนัก จะได้ของเหลวจากต่อมลูกหมากถูกผลักออกไปในท่อปัสสาวะและออกมาจากอวัยวะเพศ ซึ่งสามารถจะเก็บรวบรวมและนำไปเพาะเชื้อ ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง จะไม่พบแบคทีเรียในของเหลวของต่อมลูกหมาก

ฉบับหน้ามาติดตามกันต่อถึงแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังหรือโรคปวดท้องน้อยช่วงล่างเรื้อรังในผู้ชาย

คลินิกสุขภาพเพศชาย สาขาวิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ “มาดูแลสุขภาพชาย เพื่อวันพ่อกันเถิด” ครั้งที่ 6 ในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 06.30-12.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 และ 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ภายในงานสามารถรับการเจาะเลือดตรวจค่าพีเอสเอ เพื่อหามะเร็งต่อมลูกหมาก และวัดระดับเทสโทสเทอโรนเพื่อดูภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฟรี!! ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (จำกัดเพียง 250 ท่าน) ได้ที่ คุณนงลักษณ์ สารสิทธิ์ โทรศัพท์ 08-7809-6126 ในวันและเวลาราชการ.

รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงส์โกศล

http://www.dailynews.co.th/article/1490/167050

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)