ผู้เขียน หัวข้อ: "โลหิตจาง" ภัยเงียบที่ต้องรับรู้  (อ่าน 4994 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
"โลหิตจาง" ภัยเงียบที่ต้องรับรู้
-http://www.dailynews.co.th/article/1490/171301-

- ชีวิตและสุขภาพ
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2555

หากท่านพบว่ามีอาการเหล่านี้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เยื่อบุตาหรือ ริมฝีปากซีด  ให้สงสัยว่าอาจมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษากับแพทย์เพื่อวินิจฉัย และได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด  เพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากไม่ใส่ใจ และปล่อยทิ้งไว้จนเป็นมาก อาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 
   
โลหิตจาง หรือ ภาวะซีด หมายถึง การที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลงหรือระดับความเข้มข้นของเลือดลดลง ปัญหาโลหิตจางในประเทศไทยที่พบบ่อย ได้แก่
   
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เช่น ไม่รับประทานอาหารโปรตีน ตับ เลือดหมู หรือมีการเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น โรคพยาธิปากขอ ภาวะเลือดออกเรื้อรังในทางเดินอาหาร ริดสีดวงทวาร  หรือ สูญเสียเลือดมากผิดปกติทางประจำเดือน   ในการป้องกันโรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู นม ไข่ ผักใบเขียว และ ธัญพืช เช่น ถั่ว งา เมล็ดฟักทอง ลูกเดือย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และทารกควรบำรุงอาหารเหล่านี้ให้มากหรือให้กินยาบำรุงโลหิตเสริม
   
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กนี้ ยังเป็นปัญหาสำคัญในการจัดหาโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จากข้อมูลการจัดหาโลหิตในปีงบประมาณ 2555  พบว่ามีผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิต  จำนวน  693,262 คน แต่ไม่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ  และการตรวจร่างกายเบื้องต้น จำนวน  96,146 คน คิดเป็น 13.9%  โดยส่วนใหญ่ไม่ผ่านการคัดกรอง  เนื่องจากมีระดับความเข้มข้นโลหิต หรือระดับฮีโมโกลบินไม่ผ่านเกณฑ์  แบ่งเป็นผู้บริจาคเก่า 3%  และผู้บริจาครายใหม่ 1.3%  ของผู้ไม่ผ่านการคัดกรองทั้งหมด  ดังนั้นผู้บริจาคโลหิตควรให้ความสำคัญกับการรับประทานยาธาตุเหล็ก ซึ่งศูนย์บริการโลหิตฯ ได้จัดให้กับผู้บริจาคโลหิตรับประทานในรูปของยาเม็ด ferrous fumarate 50 เม็ด  ซึ่งมีส่วนประกอบของวิตามินซีและบีช่วยในการดูดซึมอยู่ด้วย ผู้บริจาคโลหิตควรรับประทาน วันละ 1 เม็ด ก่อนนอนจนหมด รวมถึง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีธาตุเหล็กสูง เพื่อให้มีความเข้มข้นโลหิตเพียงพอที่จะบริจาคโลหิตทุกครั้ง และระบบโลหิตในร่างกายมีโลหิตใหม่หมุนเวียนทดแทนโลหิตเก่า ผิวพรรณสดใส สุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงด้วย
   
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มีอาการซีดเหลืองเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องได้รับความผิดปกติทางพันธุกรรมมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่เป็นโรค  แต่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมนั้นแฝงอยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป ในบ้านเราพบว่ามีคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือที่เรียกว่าพาหะของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมากประมาณ 20 ล้านคน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจมีพาหะของโรคนี้สูง ถึง 40% ของประชากรทั่วไป ส่วนผู้ที่เป็นโรคนี้อย่างชัด ๆ มีประมาณ 1 ใน 100 คนของประชากรในประเทศ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการซีด เหลือง ในรายที่เป็นชนิดรุนแรงจะมีการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า การเจริญเติบโตช้าและมีตับม้ามโตร่วมด้วย ชนิดของโรคแบ่งออกเป็นหลายชนิด มีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป 
   
แนวทางการรักษาต้องได้รับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เมื่อไม่สบายให้มาพบแพทย์  ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเท่าที่จะทำได้ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีโปรตีนสูง ผักสดต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาหารที่มีวิตามินที่เรียกว่า “โฟเลท” อยู่มาก จะถูกนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้ โดยแพทย์จะสั่งยาวิตามินโฟเลท (Folate) ให้ผู้ป่วย และไม่ควรซื้อยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กรับประทานเอง ในรายที่อาการรุนแรงต้องได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีภาวะเหล็กเกินในร่างกายต้องให้ยาขับธาตุเหล็ก ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายขาดโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต แพทย์จะพิจารณาเมื่อมีข้อบ่งชี้ซึ่งจะทำเฉพาะรายที่มีอาการรุนแรง ข้อแนะนำเพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ได้แก่
             
1. ให้ผู้ป่วยกินอาหารจำพวกโปรตีน และมีกรดโฟลิกสูง เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ มาก ๆ เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
         
2. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า โรคนี้เป็นโรคกรรมพันธุ์ติดตัวไปตลอดชีวิต ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องอาจมีชีวิตยืนยาวได้
         
3.  ควรรักษาที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านเป็นประจำ ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ที่ทำการรักษา หรือย้ายโรงพยาบาล กรณีเป็นชนิดรุนแรงมีวิธีเดียวที่รักษาให้หายขาดคือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic Stem Cell Transplantation)
   
4. แนะนำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็นธาลัสซีเมีย คุมกำเนิดหรือผู้ที่มีประวัติว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ไม่ควรแต่งงานกัน หรือ จำเป็นต้องแต่งงานก็ไม่ควรมีบุตร  เพราะลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 (ร้อยละ 25) ทำให้เกิดภาวะยุ่งยากในภายหลังได้  ถ้าหากมีการตั้งครรภ์ ปัจจุบันมีวิธีการเจาะเอาน้ำคร่ำมาตรวจดูว่าทารกเป็นโรคนี้หรือไม่ เรียกว่า “การวินิจฉัยก่อนคลอด” (Prenatal diagnosis) ถ้าพบว่าผิดปกติ อาจพิจารณาทำแท้ง
   
ปัจจุบันสามารถใช้วิธีตรวจพิเศษ เพื่อหาพาหะของโรคนี้ ถ้าเป็นไปได้ก่อนแต่งงาน ควรตรวจหาในคู่สมรสให้แน่นอน
   
ภาวะพร่องจีซิกพีดี (G6PD deficiency) เอนไซม์ จี-6-พีดี (G-6-PD) ย่อมาจาก Glucose-6-phosphate dehydrogenase เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดเอนไซม์ชนิดนี้ จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้ มักมีสาเหตุจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงอาการในผู้ชาย ส่วนผู้หญิง อาจพบได้แต่น้อยกว่าผู้ชายมาก

โรคนี้เฉลี่ยทั่วประเทศพบได้ประมาณ 12% ของประชากรทั่วไป ทางภาคอีสานพบได้ 12-15% ของประชากรทั่วไป และภาคเหนือพบได้ 9-15% ของประชากรทั่วไป ผู้ป่วยจะมีอาการซีดลงหลังภาวะติดเชื้อ หรือได้รับยาบางชนิด เช่น ยารักษามาลาเรีย ยาซัลฟา เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ ผู้ป่วยจะมีอาการซีด มีไข้จากภาวะติดเชื้อง่าย และมีจุดเลือดออก หรือเลือดออกง่าย เป็นต้น
     
ภาวะดังกล่าวสามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงยา หรือสารเคมีที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้มีการแตกของเม็ดเลือดแดง และควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อการวินิจฉัย โดยการเจาะเลือดตรวจดูระดับเอนไซม์ จี-6-พีดี และให้การรักษาตามอาการ ถ้าซีดมากอาจต้องให้เลือด ถ้าพบมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มาลาเรีย และไทฟอยด์ ให้ทำการรักษาพร้อมกันไปด้วย แต่ต้องระวังยาที่อาจทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกมากขึ้น และผู้ป่วยควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันมิให้ไตวาย
     
โดยสรุปแล้ว หากสังเกตว่ามีอาการซีด เพลีย เหนื่อยง่าย ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักถึงภัยอันตรายของโลหิตจาง

ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศ  สมาคม
โลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จัดงานเสวนาโลหิตวิทยาพบประชาชน ครั้งที่ 3  เรื่อง “โลหิตจาง : ภัยเงียบที่ต้องรับรู้”  วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 เวลา 09.00-12.00 น.ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 10 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งฟรี พร้อมรับของที่ระลึก ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โทร. 0-2256-4300, 0-2263-9600-99 ต่อ 1101 และสมาคมโลหิตวิทยาฯ  โทร. 0-2716-5977-8 ภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2555  (ที่นั่งมีจำนวนจำกัด)
   
ข้อมูลจาก สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)